เอแบคโพลล์: โพลล์เลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. ครั้งที่สอง : ใครนำใครตาม ใครช่วงชิงฐานเสียงของใคร

ข่าวผลสำรวจ Thursday December 25, 2008 11:40 —เอแบคโพลล์

ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลวิจัยโพลล์เลือกตั้ง เรื่อง โพลล์เลือกตั้งผู้ ว่า ฯ กทม. ครั้งที่สอง: ใครนำใครตาม ใครช่วงชิงฐานเสียงของใคร กรณีศึกษาประชาชนที่มีสิทธิเลือกตั้งในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวนตัวอย่างทั้ง สิ้น 2,063 ตัวอย่าง มีระยะเวลาการดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 19 — 24 ธันวาคม 2551 พบว่า ประชาชนที่ถูกศึกษาส่วนใหญ่หรือประมาณร้อย ละ 90 ติดตามข่าวสารผ่านสื่อมวลชนเป็นประจำทุกสัปดาห์

เมื่อถามถึงการรับทราบวันเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. และเปรียบเทียบผลสำรวจกับการวิจัยครั้งก่อน พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 68.8 ทราบ แล้วว่าวันที่ 11 มกราคม 2552 เป็นวันเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และเมื่อเทียบกับผลวิจัยครั้งแรกพบว่า ประชาชนรับทราบวันเลือกตั้งเพิ่มขึ้น

ที่น่าสนใจคือ เมื่อถามถึงผู้สมัครรับเลือกตั้งที่ประชาชนตั้งใจจะเลือกเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครคนต่อไป พบว่า อันดับแรก หรือร้อย ละ 35.6 ตั้งใจจะเลือก ม.ร.ว.สุขุมพันธ์ บริพัตร อันดับสอง คือร้อยละ 29.6 ตั้งใจจะเลือก ม.ล.ณัฎฐกรณ์ เทวกุล และอันดับสามหรือร้อยละ 25.8 ตั้งใจจะเลือก นายยุรนันท์ ภมรมนตรี ซึ่งผลสำรวจที่ออกมาเช่นนี้ในทางสถิติ เมื่อเปรียบเทียบกับผลสำรวจครั้งก่อน อาจกล่าวได้ว่า ม.ร.ว. สุขุมพันธ์ มีฐานสนับสนุนจากประชาชนที่ตั้งใจจะเลือกเท่าเดิม แต่ฐานสนับสนุนจะเลือก ม.ล.ณัฎฐกรณ์ ลดลง โดยไปเพิ่มที่ฐานสนับสนุนตั้งใจจะเลือก นายยุรนันท์ ภมรมนตรีสูงขึ้นจากการสำรวจครั้งก่อนที่เคยได้รับร้อยละ 17.3

เมื่อจำแนกตามลักษณะทางประชากรศาสตร์ พบว่า ร้อยละ 36.5 ในกลุ่มผู้ชาย และร้อยละ 35.0 ในกลุ่มผู้หญิง ตั้งใจจะเลือก ม.ร.ว. สุขุมพันธ์ ในขณะที่ร้อยละ 28.0 ในกลุ่มผู้ชาย และร้อยละ 30.7 ในกลุ่มผู้หญิงตั้งใจจะเลือก ม.ล.ณัฎฐกรณ์ นอกจากนี้ ร้อยละ 25.5 ในกลุ่มผู้ชาย และร้อยละ 26.2 ในกลุ่มผู้หญิง ตั้งใจจะเลือก นายยุรนันท์ ภมรมนตรี ตามลำดับ

เมื่อจำแนกตามช่วงอายุ พบว่า ม.ร.ว.สุขุมพันธ์ ได้รับความนิยมในกลุ่มคนที่อายุ 50 ปีขึ้นไปสูงสุดคืออยู่ที่ร้อยละ 41.3 ในขณะที่ ม.ล. ณัฎฐกรณ์ ได้รับความตั้งใจจะเลือกจากประชาชนมากที่สุดในกลุ่มคนช่วงอายุ 30 — 39 ปีอยู่ร้อยละ 35.1 แต่มีฐานสนับสนุนน้อยในกลุ่มคนที่อายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไปที่มีอยู่ร้อยละ 28.1 และเมื่อพิจารณากลุ่มคนที่ตั้งใจจะเลือก นายยุรนันท์ พบว่ามีสัดส่วนไม่ค่อยแตกต่างกันนักในแต่ละช่วงอายุคืออยู่ระหว่าง ร้อยละ 25 บวกลบไม่เกินร้อยละ 5 ในการสำรวจครั้งนี้ โดยมีกลุ่มคนอายุระหว่าง 40 - 49 ปี ร้อยละ 28.0 เป็นค่าสูงสุดของนายยุรนันท์ แต่ยังต่ำ กว่า ม.ร.ว.สุขุมพันธ์

ประเด็นที่น่าสนใจคือ เมื่อจำแนกตามระดับการศึกษา พบว่า ม.ร.ว.สุขุมพันธ์ ยังคงได้คะแนนนิยมตั้งใจจะเลือกจากกลุ่มคนการศึกษา ระดับปริญญาตรีและสูงกว่าปริญญาตรี คือร้อยละ 40.2 และร้อยละ 48.6 และได้รับจากกลุ่มคนที่มีการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรีร้อยละ 33.4 ในขณะที่ ม.ล.ณัฎฐกรณ์ ได้รับคะแนนความตั้งใจจะเลือกจากกลุ่มคนที่มีการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรีร้อยละ 29.1 กลุ่มปริญญาตรีร้อยละ 31.6 และสูงกว่าปริญญา ตรีร้อยละ 32.4 อย่างไรก็ตาม ที่น่าพิจารณาคือ ฐานสนับสนุนตั้งใจจะเลือก นายยุรนันท์ ในกลุ่มคนที่มีการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรีร้อยละ 29.7 คนที่มี การศึกษาปริญญาตรีร้อยละ 16.3 และสูงกว่าปริญญาตรีร้อยละ 10.8 เท่านั้น

ดร.นพดล กล่าวว่าข้อมูลที่ค้นพบเช่นนี้อาจตั้งสมมติฐานได้ว่า ฐานสนับสนุนตั้งใจจะเลือกนายยุรนันท์ เพิ่มสูงมากขึ้นในกลุ่มคนที่มีการศึกษา ต่ำกว่าปริญญาตรีและเป็นฐานส่วนใหญ่ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งของคนกรุงเทพมหานคร ดังนั้น ถ้าฐานสนับสนุนเหล่านี้ขยายตัวต่อไป ก็อาจทำให้นายยุรนันท์มี โอกาสสูงที่จะชนะการเลือกตั้งได้เช่นกัน

ดร.นพดล กล่าวว่า การเปลี่ยนแปลงตัวเลขฐานสนับสนุนของประชาชนในกลุ่มนี้มีนัยต่อการแพ้ชนะของการเลือกตั้งสูงเพราะ กลุ่มคนที่มี การศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรีเป็นคนส่วนใหญ่ที่มีสิทธิเลือกตั้ง ถึงแม้ ม.ล.ณัฎฐกรณ์ จะได้รับการสนับสนุนเพิ่มขึ้นในกลุ่มคนมีการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีใน การสำรวจครั้งนี้ แต่คนกลุ่มนี้มีจำนวนน้อย การเปลี่ยนแปลงที่เพิ่มขึ้นจึงไม่มีนัยอะไรต่อการแพ้ชนะมากนัก

เมื่อจำแนกออกตามกลุ่มอาชีพ พบว่า ม.ร.ว.สุขุมพันธ์ ยังคงรักษาฐานสนับสนุนคนที่ตั้งใจจะเลือกเอาไว้ได้ในทุกกลุ่มอาชีพ ยกเว้น กลุ่ม นักเรียนนักศึกษา ที่พบตัวเลขลดลงจากร้อยละ 37.4 เหลืออยู่ร้อยละ 28.6 ในขณะที่ ม.ล.ณัฎฐกรณ์ เสียฐานสนับสนุนไปเกือบทุกกลุ่มอาชีพ ยกเว้น กลุ่มนักเรียนนักศึกษา กับกลุ่มแม่บ้าน เกษียณอายุที่พบว่ามีอยู่ร้อยละ 32.1 และร้อยละ 43.0 ในการสำรวจครั้งนี้ ในขณะที่ นายยุรนันท์ มีฐานสนับสนุน เพิ่มขึ้นในทุกกลุ่มอาชีพ โดยเฉพาะกลุ่มผู้ใช้แรงงานทั่วไป เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 21.7 มาอยู่ที่ร้อยละ 34.4

เมื่อจำแนกออกตามรายได้ พบว่า ม.ร.ว.สุขุมพันธ์ ยังคงรักษาฐานสนับสนุนไว้ได้ในกลุ่มคนที่มีรายได้สูงกว่า 20,000 บาทต่อเดือนขึ้น ไป ร้อยละ 44.0 และในกลุ่มคนที่มีรายได้น้อยต่ำกว่า 5,000 บาทต่อเดือนร้อยละ 32.2 ในขณะที่ ม.ล.ณัฎฐกรณ์ มีฐานสนับสนุนลดลงในกลุ่มระดับ รายได้ แต่ยังได้รับฐานสนับสนุนมากสุดในกลุ่มคนที่มีรายได้ต่ำกว่า 5,000 บาทต่อเดือนคืออยู่ที่ร้อยละ 34.2 ในขณะที่นายยุรนันท์ ภมรมนตรี กลับได้รับ ฐานสนับสนุนเพิ่มขึ้นในทุกกลุ่มระดับรายได้

เมื่อจำแนกตามจุดยืนทางการเมือง พบประเด็นที่น่าสนใจคือ คนที่มีจุดยืนสนับสนุนรัฐบาลระดับชาติในนามพรรคประชาธิปัตย์ร้อยละ 60.1 ตั้งใจจะเลือก ม.ร.ว.สุขุมพันธ์ แต่ ม.ร.ว.สุขุมพันธ์ ได้รับฐานสนับสนุนลดลงในกลุ่มคนที่เป็นพลังเงียบจากร้อยละ 36.7 เหลือร้อยละ 27.7 ในขณะ ที่ ม.ล.ณัฎฐกรณ์ ยังคงรักษาฐานสนับสนุนจากกลุ่มคนพลังเงียบไว้ได้ที่ร้อยละ 36.2 แต่กลุ่มคนไม่สนับสนุนรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ร้อยละ 34.3 เท่า นั้นที่สนับสนุน ม.ล.ณัฎฐกรณ์ โดยไปเพิ่มฐานสนับสนุนให้กับนายยุรนันท์ ภมรมนตรี ร้อยละ 57.9 ของคนที่ไม่สนับสนุนรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ใน เขตกรุงเทพมหานคร สิ่งที่ ม.ร.ว.สุขุมพันธ์ และพรรคประชาธิปัตย์ต้องพิจารณาคือ ในฐานสนับสนุนรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ร้อยละ 16.9 ตั้งใจจะ เลือก ม.ล.ณัฎฐกรณ์ และร้อยละ 15.0 ตั้งใจจะเลือกนายยุรนันท์

ดร.นพดล กล่าวต่อว่า หากพิจารณาตัวเลขที่ค้นพบครั้งนี้ อาจกล่าวได้ว่า ฝ่ายการเมืองที่สนับสนุนนายยุรนันท์ ภมรมนตรีเริ่มปฏิบัติงานใน การได้ฐานสนับสนุนคนมีสิทธิเลือกตั้งในเขตกรุงเทพมหานครมากขึ้นในลักษณะช่วงชิงฐานสนับสนุนจาก ม.ล.ณัฎฐกรณ์ โดยเฉพาะในกลุ่มคนที่ไม่สนับสนุน พรรคประชาธิปัตย์ และในกลุ่มคนที่เป็นพลังเงียบอีกด้วย คือเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 16.0 มาอยู่ที่ร้อยละ 25.6

“โดยสรุป ภาพรวมตัวเลขที่ค้นพบครั้งนี้ พบว่า ระยะเวลาอีกประมาณสองถึงสามสัปดาห์ข้างหน้า โอกาสที่จะพลิกผันในกลุ่มผู้สมัครทั้งสาม คนยังคงมีสูง เพราะมองได้หลายมิติ อย่างน้อยสี่มิติ คือ

มิติที่หนึ่ง อาจมองได้ว่า ม.ร.ว.สุขุมพันธ์ มีโอกาสสูงที่จะชนะการเลือกตั้งเพราะกำลังอยู่ในสถานะ “ตาอยู่” เนื่องจาก ฐานสนับสนุน ของ ม.ล.ณัฎฐกรณ์ กับ นายยุรนันท์ ช่วงชิงฐานสนับสนุนกัน

มิติที่สอง ถ้าฐานสนับสนุนของนายยุรนันท์ สามารถทะลุผ่านร้อยละ 35 ขึ้นมาได้ในช่วงโค้งสุดท้าย ก็น่าติดตามลุ้นต่อว่าจะชนะการเลือกตั้ง ผู้ว่าฯกทม. ครั้งนี้ได้หรือไม่ ตามคำกล่าวที่ว่า คนกรุงเทพฯ มักจะเลือกผู้ว่าที่เป็นคนละขั้วกันกับพรรครัฐบาลระดับชาติ

มิติที่สาม คือ ม.ล.ณัฎฐกรณ์ จะชนะโดยเสียงส่วนใหญ่มาจากกลุ่มคนพลังเงียบที่การสำรวจครั้งนี้ ม.ล.ณัฎฐกรณ์สามารถรักษาระดับการ สนับสนุนไว้ได้ โดยคนกลุ่มนี้ไม่สนับสนุนผู้สมัครของพรรคการเมืองทั้งสองพรรค ก็เป็นมุมมองที่สามารถมองจากตัวเลขที่ค้นพบครั้งนี้ได้เช่นกัน

และมิติที่สี่ ถ้าฐานสนับสนุนของ “ผู้สมัครชายหนุ่มสองคนรวมตัวกันได้” โอกาสจะชนะ “ผู้สูงอายุ” มีถึงประมาณร้อยละ 20 เลยที เดียว” ผ.อ.เอแบคโพลล์ กล่าว

ระเบียบวิธีการทำโพลล์

โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้เรื่อง โพลล์เลือกตั้งผู้ว่า ฯ กทม. ครั้งที่สอง: ใครนำใครตาม กรณีศึกษาประชาชนที่มีสิทธิเลือกตั้งในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวนตัวอย่างทั้งสิ้น 2,063 ตัวอย่าง มีระยะเวลาการดำเนินโครงการ ระหว่างวันที่ 19 — 24 ธันวาคม 2551 เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น และกำหนดลักษณะของ ตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากรเป้าหมายจากการทำสำมะโน ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการ กำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์ หลัง จากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูลและงบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย โดยมีคณะผู้ วิจัย จำนวนทั้งสิ้น 74 คน

ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง

จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่างร้อยละ 56.2 เป็นเพศหญิง

ร้อยละ 43.8 เป็นเพศชาย

ร้อยละ 4.4 ระบุอายุต่ำกว่า 20 ปี

ร้อยละ 16.0 อายุระหว่าง 20 — 29 ปี

ร้อยละ 22.9 อายุระหว่าง 30 — 39 ปี

ร้อยละ 27.0 อายุระหว่าง 40 — 49 ปี

และร้อยละ 29.7 อายุ 50 ปีขึ้นไป

ตัวอย่าง ร้อยละ 72.7 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี

รองลงมาคือร้อยละ 24.5 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี

และร้อยละ 2.8 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี

ตัวอย่าง ร้อยละ 5.5 อาชีพข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ

ร้อยละ 10.8 เป็นพนักงานเอกชน/ลูกจ้างเอกชน

ร้อยละ 42.5 มีธุรกิจส่วนตัว/อาชีพอิสระ/ค้าขาย

ร้อยละ 4.3 เป็นนักเรียน/นักศึกษา

ร้อยละ 22.0 รับจ้างทั่วไป

ร้อยละ 14.9 เป็นพ่อบ้าน/เกษียณอายุ/ไม่มีรายได้/ไม่ประกอบอาชีพ

โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้

ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการติดตามข่าวสารผ่านสื่อมวลชนในช่วง 30 วันที่ผ่านมา
ลำดับที่          การติดตามข่าวสารผ่านสื่อมวลชนในช่วง 30 วันที่ผ่านมา          ค่าร้อยละ
1          ทุกวัน/เกือบทุกวัน                                        65.1
2          3-4 วันต่อสัปดาห์                                        16.7
3          1-2 วันต่อสัปดาห์                                         8.6
4          ติดตามเป็นบางสัปดาห์                                      7.7
5          ไม่ได้ติดตามเลย                                          1.9
          รวมทั้งสิ้น                                              100.0

ตารางที่  2  แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ การรับทราบวันเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ลำดับที่          การรับทราบวันเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร     8 ธันวาคม 51ค่าร้อยละ     22 ธันวาคม 51ค่าร้อยละ
1          ทราบว่าเป็นวันที่ 11  มกราคม 2552                          18.7                    68.8
2          ไม่ทราบ                                                81.3                    31.2
          รวมทั้งสิ้น                                               100.0                   100.0

ตารางที่ 3   แสดงแนวโน้มค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ประชาชนที่ตั้งใจจะเลือกผู้สมัครเป็น ผู้ว่าฯ กทม.
ลำดับที่          รายชื่อ ผู้สมัครรับเลือกตั้ง                    8 ธันวาคม 51ค่าร้อยละ     22 ธันวาคม 51ค่าร้อยละ
1          ม.ร.ว.สุขุมพันธ์  บริพัตร                              36.4                    35.6
2          ม.ล.ณัฎฐกรณ์   เทวกุล                               37.0                    29.6
3          นายยุรนันท์   ภมรมนตรี                               17.3                    25.8
4          นายแก้วสรร อติโพธิ                                     -                     4.4
5          อื่นๆ อาทิ นายสุเมธ   ตันธนาศิริกุล/นางลีน่า   จังจรรจา/
           ร.อ.เมตตา  เต็มชำนาญ/นายกงจักร  ใจดี เป็นต้น           9.3                     4.6
          รวมทั้งสิ้น                                          100.0                   100.0

หมายเหตุ ค่าความคลาดเคลื่อน +/- ร้อยละ 5

ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งที่ตั้งใจจะเลือกเป็น ผู้ว่าฯ กทม. จำแนกตามเพศ
ลำดับที่          รายชื่อ ผู้สมัครรับเลือกตั้ง                                    ชาย          หญิง
1          ม.ร.ว.สุขุมพันธ์  บริพัตร                                       36.5          35.0
2          ม.ล.ณัฎฐกรณ์   เทวกุล                                        28.0          30.7
3          นายยุรนันท์   ภมรมนตรี                                        25.5          26.2
4          นายแก้วสรร อติโพธิ                                            5.4          3.7
5          อื่นๆ อาทิ นายสุเมธ   ตันธนาศิริกุล /นางลีน่า จังจรรจา เป็นต้น          4.6          4.4
          รวมทั้งสิ้น                                                   100.0          100.0

หมายเหตุ ค่าความคลาดเคลื่อน +/- ร้อยละ 5

ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งที่ตั้งใจจะเลือกเป็น ผู้ว่าฯ กทม. จำแนกตามช่วงอายุ
ลำดับที่          รายชื่อ ผู้สมัครรับเลือกตั้ง                     ต่ำกว่า 20 ปี   20—29 ปี   30—39 ปี   40—49 ปี   50 ปีขึ้นไป
1          ม.ร.ว.สุขุมพันธ์  บริพัตร                               35.0      36.2      28.2      36.1       41.3
2          ม.ล.ณัฎฐกรณ์   เทวกุล                                31.7      30.5      35.1      25.7       28.1
3          นายยุรนันท์   ภมรมนตรี                                26.7      23.5      25.6      28.0       24.7
4          นายแก้วสรร อติโพธิ                                    3.3       4.7       7.2       4.3        2.2
5          อื่นๆ อาทิ นายสุเมธ  ตันธนาศิริกุล นางลีน่า จังจรรจา เป็นต้น    3.3       5.1       3.9       5.8        3.7
          รวมทั้งสิ้น                                           100.0     100.0     100.0     100.0      100.0

หมายเหตุ ค่าความคลาดเคลื่อน +/- ร้อยละ 5

ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งที่ตั้งใจจะเลือกเป็น ผู้ว่าฯ กทม. จำแนกตามระดับการศึกษา
ลำดับที่          รายชื่อ ผู้สมัครรับเลือกตั้ง                     ต่ำกว่าปริญญาตรี       ปริญญาตรี    สูงกว่าปริญญาตรี
1          ม.ร.ว.สุขุมพันธ์  บริพัตร                                 33.4          40.2            48.6
2          ม.ล.ณัฎฐกรณ์   เทวกุล                                  29.1          31.6            32.4
3          นายยุรนันท์   ภมรมนตรี                                  29.7          16.3            10.8
4          นายแก้วสรร อติโพธิ                                      3.2          7.7              8.1
5          อื่นๆ อาทิ นายสุเมธ   ตันธนาศิริกุล นางลีน่า จังจรรจา เป็นต้น     4.6          4.2              0.1
          รวมทั้งสิ้น                                             100.0          100.0          100.0

หมายเหตุ ค่าความคลาดเคลื่อน +/- ร้อยละ 5

ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งที่ตั้งใจจะเลือกเป็น ผู้ว่าฯ กทม. จำแนกตามกลุ่มอาชีพ
ลำดับที่          รายชื่อ ผู้สมัครรับเลือกตั้ง                        ข้าราชการ   พนักงาน     ค้าขาย   นักเรียน   รับจ้าง      แม่บ้าน

รัฐวิสาหกิจ บริษัทเอกชน ส่วนตัว นักศึกษา ใช้แรงงาน เกษียณอายุ

1          ม.ร.ว.สุขุมพันธ์  บริพัตร                               38.8     42.6      39.4     28.6     29.6       30.4
2          ม.ล.ณัฎฐกรณ์   เทวกุล                                31.3     27.7      27.8     32.1     27.4       43.0
3          นายยุรนันท์   ภมรมนตรี                                22.4     18.4      23.4     25.0     34.4       21.5
4          นายแก้วสรร อติโพธิ                                    4.5      7.1       4.4      7.1      4.4        2.2
5          อื่นๆ อาทิ นายสุเมธ  ตันธนาศิริกุล นางลีน่า จังจรรจา เป็นต้น    3.0      4.2       5.0      7.2      4.2        2.9
          รวมทั้งสิ้น                                           100.0    100.0     100.0    100.0    100.0      100.0

หมายเหตุ ค่าความคลาดเคลื่อน +/- ร้อยละ 5

ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งที่ตั้งใจจะเลือกเป็น ผู้ว่าฯ กทม. จำแนกตามช่วงรายได้
ลำดับที่          รายชื่อ ผู้สมัครรับเลือกตั้ง                     ต่ำกว่า 5,000    5,000—      10,001—     15,001—    มากกว่า

บาท/เดือน 10,000 บ. 15,000 บ. 20,000 บ. 20,000 บ.

1          ม.ร.ว.สุขุมพันธ์  บริพัตร                                32.2       35.2        33.1       34.6       44.0
2          ม.ล.ณัฎฐกรณ์   เทวกุล                                 34.2       27.9        31.0       29.2       24.7
3          นายยุรนันท์   ภมรมนตรี                                 25.7       26.6        31.0       23.8       23.6
4          นายแก้วสรร อติโพธิ                                     2.0        5.5         3.5        8.5        3.3
5          อื่นๆ อาทิ นายสุเมธ   ตันธนาศิริกุล นางลีน่า จังจรรจา เป็นต้น    5.9        4.8         1.4        3.9        4.4
          รวมทั้งสิ้น                                            100.0      100.0       100.0      100.0      100.0

หมายเหตุ ค่าความคลาดเคลื่อน +/- ร้อยละ 5

ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งที่ตั้งใจจะเลือกเป็น ผู้ว่าฯ กทม. จำแนกตามจุดยืนทางการเมือง
ลำดับที่          รายชื่อ ผู้สมัครรับเลือกตั้ง                    สนับสนุนรัฐบาล   ไม่สนับสนุนรัฐบาล    ขออยู่ตรงกลาง
                                                       (ประชาธิปัตย์)    (ประชาธิปัตย์)      (พลังเงียบ)
1          ม.ร.ว.สุขุมพันธ์  บริพัตร                               60.1            3.6           27.7
2          ม.ล.ณัฎฐกรณ์   เทวกุล                                16.9           34.3           36.2
3          นายยุรนันท์   ภมรมนตรี                                15.0           57.9           25.6
4          นายแก้วสรร อติโพธิ                                    5.0            0.7            4.9
5          อื่นๆ อาทิ นายสุเมธ  ตันธนาศิริกุล นางลีน่า จังจรรจา เป็นต้น    3.0            3.5            5.6
          รวมทั้งสิ้น                                           100.0          100.0          100.0

หมายเหตุ ค่าความคลาดเคลื่อน +/- ร้อยละ 5

--เอแบคโพลล์--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ