สุข — ทุกข์ ของคนไทย ปี2551: กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนผู้ที่พักอาศัยอยู่ใน 17 จังหวัด ของประเทศ
ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการศูนย์เครือข่ายวิชาการเพื่อสังเกตการณ์และวิจัยความสุขชุมชน (ศูนย์วิจัยความสุขชุมชน) (Academic Network for Community Happiness Observation and Research, ANCHOR) มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลวิจัยเรื่อง ประมวลภาพความสุข — ทุกข์ของคนไทย ปี 2551 กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนผู้ที่พักอาศัยใน 17 จังหวัดของประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ นนทบุรี พระนครศรีอยุธยา ราชบุรี ลพบุรี จันทบุรี สุรินทร์ อุบลราชธานี อุดรธานี ขอนแก่น หนองคาย เชียงใหม่ สุโขทัย พิษณุโลก นครศรีธรรมราช และสงขลา จำนวนทั้งสิ้น 4,122 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 20 - 27 ธันวาคม 2551 ดร.นพดล กล่าวว่า ความสุขมวลรวมของประชาชนภายในประเทศ (Gross Domestic Happiness หรือ GDH) ในช่วงเวลาของการสำรวจคือระหว่าง 20 — 27 ธันวาคมที่ผ่านมา ยังคงมีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จาก 6.55 มาอยู่ที่ 6.81 ของคะแนนเต็ม 10 คะแนน สวนทางกับแนวโน้มการคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์ ที่ชี้ให้เห็นว่า ดัชนีผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ หรือ GDP กำลังตกต่ำลง ผลวิจัยครั้งนี้จึงเป็นการตอกย้ำ สมมติฐานอีกครั้งว่า “ความสุขของประชาชนไม่ได้ขึ้นอยู่กับความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจเพียงอย่างเดียว และบางครั้งกลับมีแนวโน้มสวนทางกับแนวโน้มความมั่งคั่งทางวัตถุ”เพราะความสุขของประชาชนยังขึ้นอยู่กับ ปัจจัยอื่นๆ อีกหลายประการ โดยสำหรับคนไทยแล้ว ในผลวิจัยครั้งนี้พบความสอดคล้องกับผลวิจัยก่อนหน้านี้ว่า คนไทยยังคงมีความสุขต่อความ จงรักภักดีมาเป็นอันดับที่หนึ่ง ด้วยค่าเฉลี่ยความสุขอยู่ที่ 9.19 จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน อันดับที่สอง เป็น บรรยากาศ ความสัมพันธ์ของคนในครอบครัว ได้ 7.88 คะแนน อันดับที่สาม ได้แก่ สุขภาพกาย ได้ 7.39 อันดับที่สี่ ได้แก่ สุขภาพใจ ได้ 7.36 อันดับที่ห้า ได้แก่ สภาพแวดล้อมที่พักอาศัย เช่น สภาพถนน ไฟฟ้า ดิน อากาศ น้ำ เป็นต้น ได้ 6.78 และอันดับรองๆ ลงไปคือ วัฒนธรรมประเพณีไทย ได้ 6.76 หน้าที่การงาน และอาชีพได้ 6.65 บรรยากาศความสัมพันธ์ของคนภายในชุมชนได้ 6.31 การเข้าถึงบริการทางการแพทย์ได้ 6.28 ความเป็นธรรมทางสังคมได้ 5.72 และสภาวะเศรษฐกิจครัวเรือนได้ 4.98 เป็นต้น ดร.นพดล กล่าวต่อว่า เมื่อจำแนกความสุขมวลรวมของประชาชนออกตามภูมิภาค พบว่า คนกรุงเทพมหานครมี ค่าคะแนนความสุขเฉลี่ยสูงที่สุดในการวิจัยครั้งนี้คืออยู่ที่ 6.99 รองลงมาคือคนในภาคกลาง 6.85 ภาคตะวันออก เฉียงเหนือ 6.83 ภาคเหนือ 6.67 และภาคใต้ได้ 6.39 คะแนน นับว่าเป็นผลวิจัยที่ไม่ค่อยปรากฏให้เห็นตัว เลขแบบนี้มานานแล้ว โดยเฉพาะความสุขของคนกรุงเทพมหานครที่มักจะพบว่ามีค่าความสุขเฉลี่ยต่ำกว่าประชาชน ในภูมิภาคอื่นๆ ของประเทศ
อย่างไรก็ตาม ข่าว หรือ สิ่งที่ทำให้คนไทยมีความสุข ในช่วงปี พ.ศ.2551 ที่ผ่านมามากที่สุด ได้แก่ ร้อยละ 92.4 ระบุ การที่ได้เห็นคนไทยแสดงความจงรักภักดี รองลงมาคือ ร้อยละ 82.1 ระบุการ ยุติการชุมนุมของกลุ่ม พันธมิตร / นปช. อันดับที่สามได้แก่ ร้อยละ 80.3 ระบุ นักกีฬาไทยได้เหรียญแข่งขัน กีฬาโอลิมปิกที่ประเทศจีน อันดับที่สี่ ได้แก่ ร้อยละ 74.8 ระบุ ความรัก ความเข้าใจของคนในครอบครัว อันดับที่ห้าได้แก่ ร้อยละ 71.5 ระบุได้เห็นคนไทยรักกัน ช่วยเหลือเกื้อกูล มีน้ำใจต่อกัน และอันดับรองๆ ลงไปคือ ร้อยละ 70.3 ระบุวัฒนธรรมประเพณีอันดีงามของสังคมไทย ร้อยละ 62.9 ระบุเห็นเด็กและ เยาวชนไทย เก่ง ได้รับรางวัลต่างๆ ในต่างประเทศ ร้อยละ 58.2 ระบุการใช้ชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง ร้อยละ 54.6 ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงลดลง และร้อยละ 47.0 ระบุ การจัดตั้งรัฐบาลของพรรคประชาธิปัตย์ (นายอภิสิทธิ์ เป็นนายกรัฐมนตรี) ตามลำดับ
แต่ข่าว หรือ สิ่งที่ทำให้คนไทยเป็นทุกข์ ตลอดปี พ.ศ. 2551 ที่ผ่านมา ได้แก่ อันดับแรก หรือร้อยละ 93.7 ระบุ เหตุการณ์ 7 ตุลาคม และการปะทะกันระหว่างกลุ่มพันธมิตร กับ นปช. อันดับที่สอง ได้แก่ ร้อยละ 85.5 ระบุเศรษฐกิจ ตกต่ำ ปัญหาปากท้อง ค่าครองชีพสูงขึ้น อันดับที่สาม ได้แก่ ร้อยละ 84.1 ระบุปัญหาขัดแย้ง วุ่นวายทางการเมือง พฤติกรรมนักการเมือง อันดับที่สี่ได้แก่ ร้อยละ 76.3 ระบุ ปัญหาความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนใต้ อันดับที่ห้า ได้แก่ ร้อยละ 74.4 ระบุปัญหายาเสพติด และความ ไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน รองๆ ลงไปได้แก่ ร้อยละ 71.8 ระบุปัญหาการชุมนุมประท้วง ปิดถนน ร้อยละ 63.2 ระบุปัญหาภัยพิบัติทางธรรมชาติและมลพิษสิ่งแวดล้อม ร้อยละ 55.9 ปัญหาชายแดนไทย กับ ประเทศเพื่อนบ้าน ร้อยละ 50.7 ระบุปัญหาความไม่มั่นคงในอาชีพ / ว่างงาน และร้อยละ 48.9 ระบุ ปัญหาทุจริต คอรัปชั่น การรีดไถประชาชน ตามลำดับ
รายละเอียดงานวิจัย
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อประมวลภาพความสุข — ทุกข์ของคนไทยในช่วง ปี พ.ศ. 2551
2. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไประเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของศูนย์เครือข่ายวิชาการเพื่อสังเกตการณ์และวิจัยความสุขชุมชน (Academic Network for Community Happiness Observation and Research, ANCHOR (แองเคอร์) มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้เรื่อง “ประมวลภาพความสุข — ทุกข์ของคนไทย ปี 2551 กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนผู้พักอาศัยใน 17 จังหวัดของประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ นนทบุรี พระนครศรีอยุธยา ราชบุรี ลพบุรี จันทบุรี สุรินทร์ อุบลราชธานี อุดรธานี ขอนแก่น หนองคาย เชียงใหม่ สุโขทัย พิษณุโลก นครศรีธรรมราช และสงขลา จำนวนทั้งสิ้น 4,122 ตัวอย่าง ดำเนิน โครงการระหว่างวันที่ 20 - 27 ธันวาคม 2551 กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากรเป้า หมายจากการทำสำมะโน ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับ ร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการ กำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม วิธีการ เก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์ หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถาม ทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูลและงบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย โดยมีผู้ดำเนินโครงการวิจัยทั้งสิ้น 154 คน
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่างจากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่าตัวอย่างร้อยละ 54.4 เป็นหญิง ร้อยละ 45.6 เป็นชาย ตัวอย่าง ร้อยละ 17.5 อายุต่ำกว่า 20 ปี ร้อยละ 24.4 อายุระหว่าง 20 — 29 ปี ร้อยละ 24.3 อายุระหว่าง 30 — 39 ปี ร้อยละ 19.3 อายุระหว่าง 40 — 49 ปี และ ร้อยละ 14.5 อายุ 50 ปีขึ้นไป ตัวอย่างร้อยละ 78.7 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี รองลงมาคือร้อยละ 19.8 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี และร้อยละ 1.5 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี ตัวอย่างร้อยละ 7.4 อาชีพข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 8.4 เป็นพนักงานเอกชน/ลูกจ้างเอกชน ร้อยละ 35.2 มีธุรกิจส่วนตัว/อาชีพอิสระ/ค้าขาย ร้อยละ 12.6 เป็นนักเรียน/นักศึกษา ร้อยละ 29.0 เกษตรกร / รับจ้าง ใช้แรงงาน ร้อยละ 7.4 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ และ ว่างงาน/ไม่มีรายได้/ไม่ประกอบอาชีพ/ตกงาน
ม.ค.50 เม.ย.50 พ.ค.-ก.ค.50 ก.ย.50 ต.ค.50 เม.ย.51 ก.ค. 51 ส.ค. 51 ก.ย. 51 ต.ค. 51 พ.ย. — ธ.ค. ปลายเดือน ธ.ค.51
5.68 5.11 5.02 5.94 6.90 6.30 6.08 5.82 5.64 4.84 6.55 6.81 ค่าคะแนนเฉลี่ยความสุข มวลรวมของคนไทยภาย ในประเทศ (Gross Domestic Happiness) แผนภาพแสดงแนวโน้มค่าเฉลี่ยความสุขมวลรวมของคนไทยภายในประเทศหรือ Gross Domestic Happiness ในช่วงปลายเดือนธันวาคม 2551 ตารางที่ 2 แสดงค่าดัชนีความสุขมวลรวมของประชาชนในด้านต่างๆ จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน ลำดับที่ กลุ่มปัจจัยต่างๆ ค่าคะแนน ความสุขโดยเฉลี่ย 1 ความจงรักภักดี 9.19 2 บรรยากาศ ความสัมพันธ์ของคนในครอบครัว 7.88 3 สุขภาพกาย 7.39 4 สุขภาพใจ 7.36 5 สภาพแวดล้อมที่พักอาศัย เช่น ถนน ไฟฟ้า ดิน อากาศ น้ำ 6.78 6 วัฒนธรรมประเพณีไทย/สิ่งที่ดีงามในสังคมไทย 6.76 7 หน้าที่การงาน /อาชีพ 6.65 8 บรรยากาศความสัมพันธ์ของคนในชุมชน 6.31 9 การเข้าถึงการบริการทางการแพทย์ที่ดีที่ท่านได้รับ 6.28 10 ความเป็นธรรม/ไม่เป็นธรรมทางสังคมที่ท่านได้รับ 5.72 11 สภาวะเศรษฐกิจของตัวท่าน 4.98 12 สภาวะเศรษฐกิจของประเทศชาติ 3.26 13 สถานการณ์การเมืองโดยภาพรวมของประเทศ 3.07 14 สถานการณ์ปัจจุบันของประเทศ เช่น เหตุการณ์สามจังหวัดชายแดนใต้ การชุมนุมของกลุ่มพันธมิตร กลุ่ม นปช. เป็นต้น 2.52 ความสุขโดยรวมของคนไทยปลายเดือนธันวาคม 2551 6.81 ตารางที่ 3 แสดงค่าดัชนีความสุขมวลรวมของประชาชน จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน จำแนกตามภูมิภาคต่างๆ ของประเทศ ลำดับที่ จำแนกตามภูมิภาคต่างๆ ของประเทศ เหนือ กลาง ตะวันออกเฉียงเหนือ ใต้ กทม. ความสุขโดยรวมของคนไทยปลายเดือนธันวาคม 2551 6.67 6.85 6.83 6.39 6.99 ตารางที่ 4 แสดงการจัด 10 อันดับค่าร้อยละที่ ข่าวเด่น / สิ่งที่ทำให้คนไทยมีความสุข ในช่วง ปี พ.ศ. 2551 ลำดับที่ ข่าวเด่น / สิ่งที่ทำให้คนไทยมีความสุข ร้อยละ 1 เห็นคนไทยแสดงความจงรักภักดี 92.4 2 การยุติการชุมนุมของ กลุ่ม พันธมิตร / นปช. 82.1 3 นักกีฬาไทยได้เหรียญแข่งขันกีฬาโอลิมปิกที่ประเทศจีน 80.3 4 ความรัก ความเข้าใจของคนในครอบครัว 74.8 5 เห็นคนไทยรักกัน ช่วยเหลือเกื้อกูล มีน้ำใจต่อกัน 71.5 6 วัฒนธรรม ประเพณีอันดีงามของสังคมไทย 70.3 7 เห็นเด็กและเยาวชนไทย เก่ง ได้รับรางวัลต่างๆ ในต่างประเทศ 62.9 8 การใช้ชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง 58.2 9 ราคาน้ำมัน เชื้อเพลิงลดลง 54.6 10 การจัดตั้งรัฐบาลของพรรคประชาธิปัตย์ (นายอภิสิทธิ์ เป็นนายกรัฐมนตรี) 47.0 ตารางที่ 5 แสดงการจัด 10 อันดับค่าร้อยละที่ ข่าวเด่น / สิ่งที่ทำให้คนไทยมีความทุกข์ ในช่วง ปี พ.ศ. 2551 ลำดับที่ ข่าวเด่น / สิ่งที่ทำให้คนไทยมีความทุกข์ ร้อยละ 1 เหตุการณ์ 7 ตุลาคม และการปะทะกันระหว่างกลุ่มพันธมิตร กับ กลุ่ม นปช. 93.7 2 เศรษฐกิจตกต่ำ ปัญหาปากท้อง ค่าครองชีพสูงขึ้น 85.5 3 ปัญหาขัดแย้ง วุ่นวายทางการเมือง พฤติกรรมนักการเมือง 84.1 4 ปัญหาความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนใต้ 76.3 5 ปัญหายาเสพติด และความไม่ปลอดภัยในชีวิต ทรัพย์สิน 74.4 6 ปัญหาการชุมนุมประท้วง ปิดถนน 71.8 7 ปัญหาภัยพิบัติธรรมชาติ และมลพิษสิ่งแวดล้อม 63.2 8 ปัญหาชายแดนไทย กับประเทศเพื่อนบ้าน 55.9 9 ปัญหาความไม่มั่นคงในอาชีพ / ว่างงาน 50.7 10 ปัญหาทุจริต คอรัปชั่น การรีดไถประชาชน 48.9 ศูนย์เครือข่ายวิชาการเพื่อสังเกตการณ์และวิจัยความสุขชุมชน (ศูนย์วิจัยความสุขชุมชน) มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1550 www.anchor.au.edu
--เอแบคโพลล์--