เอแบคโพลล์: ความชอบธรรมในระบอบประชาธิปไตย กับ การเข้าสู่อำนาจของพรรคประชาธิปัตย์ ในสายตาประชาชน

ข่าวผลสำรวจ Monday January 5, 2009 08:32 —เอแบคโพลล์

ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลวิจัยเรื่อง ความชอบธรรมในระบอบ ประชาธิปไตย กับการเข้าสู่อำนาจของพรรคประชาธิปัตย์ ในสายตาประชาชน กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งใน 18 จังหวัดของประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ ปทุมธานี ชลบุรี ฉะเชิงเทรา ศรีสะเกษ หนองบัวลำภู ขอนแก่น สกลนคร เชียงใหม่ อุตรดิตถ์ สุโขทัย เพชรบูรณ์ กาญจนบุรี เพชรบุรี สุราษฎร์ธานี ระนอง และพัทลุง จำนวนทั้งสิ้น 3,169 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 26 ธันวาคม 2551 — 3 มกราคม 2552 ผลสำรวจพบว่า ส่วนใหญ่หรือกว่าร้อยละ 70 ติดตามข่าวการเมืองเป็นประจำทุกสัปดาห์

เมื่อถามถึงการคาดการณ์ต่อสังคมไทยในปี พ.ศ. 2552 ในมุมมองของประชาชนต่อเรื่องบรรยากาศทางการเมือง สถานการณ์เศรษฐกิจ ความสัมพันธ์ของคนในสังคม วัฒนธรรมประเพณีไทย และความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ว่าจะดีขึ้น ดีเหมือนเดิม แย่เหมือนเดิม หรือว่าแย่ลง ผล สำรวจพบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 57.5 ระบุว่า คาดว่าบรรยากาศทางการเมืองจะแย่ลง และร้อยละ 24.6 คาดว่าจะแย่เหมือนเดิม

ยิ่งไปกว่านั้น ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 68.3 คาดว่าสถานการณ์ด้านเศรษฐกิจจะแย่ลงไปอีก และร้อยละ 20.0 คาดว่าจะแย่เหมือนเดิม นอก จากนี้ ร้อยละ 58.5 คาดว่าความสัมพันธ์ของคนในสังคมจะแย่ลง และร้อยละ 22.4 คาดว่าจะแย่เหมือนเดิม

อย่างไรก็ตาม เมื่อประชาชนที่ถูกศึกษานึกถึงวัฒนธรรมประเพณีไทย ผลสำรวจพบว่า ประชาชนจำนวนมากหรือร้อยละ 42.2 คาดว่าจะยัง คงดีเหมือนเดิม และร้อยละ 10.8 จะดีขึ้น ในขณะที่ ร้อยละ 22.3 คาดว่าจะแย่ลง และร้อยละ 17.4 คาดว่าจะแย่เหมือนเดิม และเมื่อคาดการณ์ถึง ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน พบว่า ร้อยละ 35.3 คาดว่าจะแย่ลง ร้อยละ 25.0 คาดว่าจะแย่เหมือนเดิม ในขณะที่ร้อยละ 28.7 คาดว่าจะดีเหมือนเดิม และเพียงร้อยละ 4.2 เท่านั้นที่คาดว่าความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนจะดีขึ้น

ที่น่าพิจารณาคือ เมื่อถามถึงความชอบธรรมของพรรคประชาธิปัตย์ในการเข้าสู่อำนาจหลังการเมืองเปลี่ยนขั้ว ผลสำรวจพบว่า ส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 70.9 ระบุว่ามีความชอบธรรมตามระบอบประชาธิปไตย ในขณะที่ร้อยละ 14.4 ระบุว่าไม่มีความชอบธรรม และร้อยละ 14.7 ระบุไม่มี ความเห็น

เมื่อจำแนกกลุ่มผู้ตอบแบบสอบถามออกตามภูมิภาค พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ในทุกภูมิภาคมองว่า พรรคประชาธิปัตย์มีความชอบธรรมในการ เข้าสู่อำนาจหลังการเมืองเปลี่ยนขั้ว คือภาคเหนือร้อยละ 68.0 ภาคกลางร้อยละ 73.8 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยละ 55.2 ภาคใต้ร้อยละ 88.8 และกรุงเทพมหานคร ร้อยละ 63.1 อย่างไรก็ตาม ที่น่าสังเกตคือ ประชาชนในสามภูมิภาคคือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 29.7 กรุงเทพมหานคร ร้อยละ 23.8 และภาคเหนือร้อยละ 16.2 ที่มองว่าไม่มีความชอบธรรม ที่เหลือไม่มีความเห็น โดยประชาชนในภาคกลางมีประชาชน ที่ไม่ออกความเห็นร้อยละ 18.8 ภาคเหนือร้อยละ 15.8 และกรุงเทพมหานคร ร้อยละ 13.1 ที่ไม่แสดงความเห็นต่อประเด็นคำถามดังกล่าว

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าประชาชนส่วนใหญ่เห็นว่าการเข้าสู่อำนาจเป็นรัฐบาลของพรรคประชาธิปัตย์มีความชอบธรรมในระบอบประชาธิปไตย แต่เมื่อถามถึง จุดยืนทางการเมืองของประชาชนว่า อยู่ฝ่ายใด ผลสำรวจพบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 67.9 ขออยู่ตรงกลาง ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด คือ ขอเป็นพลังเงียบ ในขณะที่ ร้อยละ 26.4 สนับสนุนรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ และเพียงร้อยละ 5.7 ไม่สนับสนุน

เมื่อจำแนกกลุ่มตัวอย่างออกเป็นกลุ่มคนที่ใช้อินเทอร์เน็ตเป็นประจำ กลุ่มคนที่ใช้อินเทอร์เน็ตบ้าง และกลุ่มคนที่ไม่เคยใช้เลย ผลสำรวจพบ ว่า ส่วนใหญ่ขออยู่ตรงกลาง ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด คือคนใช้อินเทอร์เน็ตเป็นประจำร้อยละ 58.6 คนใช้อินเทอร์เน็ตบ้าง ร้อยละ 70.1 และคนที่ไม่ เคยใช้อินเทอร์เน็ตเลย ร้อยละ 69.2 ขอเป็นพลังเงียบ แต่ที่น่าสนใจคือ คนที่ใช้อินเทอร์เน็ตเป็นประจำมีสัดส่วนสูงกว่าทุกกลุ่มที่แสดงจุดยืนสนับสนุน รัฐบาล พรรคประชาธิปัตย์ คือ ร้อยละ 34.5 ส่วนคนที่ใช้อินเทอร์เน็ตบ้าง และกลุ่มคนที่ไม่เคยใช้อินเทอร์เน็ตเลย มีอยู่ ร้อยละ 25.3 และร้อยละ 25.2 ที่สนับสนุนรัฐบาล ส่วนร้อยละที่เหลือคือประมาณร้อยละ 5 ของทุกกลุ่มที่ไม่สนับสนุนรัฐบาล ในผลวิจัยครั้งนี้

และเมื่อจำแนกจุดยืนทางการเมืองของประชาชนออกตามเขตพื้นที่ คือกลุ่มคนในเขตเทศบาล กลุ่มคนที่อยู่นอกเขตเทศบาล และกลุ่มคนที่อยู่ ในกรุงเทพมหานคร พบว่า คนส่วนใหญ่ในทุกพื้นที่ขออยู่ตรงกลาง ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด ขอเป็นพลังเงียบ เช่นกัน

ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ กล่าวต่อว่า ผลวิจัยครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า ประชาชนส่วนใหญ่ยังคงคาดการณ์ว่าสังคม ไทยในปี 2552 ยังคงมีปัญหาย่ำแย่ในเรื่องหลักๆ หลายด้าน เช่น บรรยากาศทางการเมือง สถานการณ์ทางเศรษฐกิจ ความสัมพันธ์ของประชาชนใน สังคม อย่างไรก็ตาม ในมิติด้านวัฒนธรรมประเพณีไทย น่าจะเป็นทางออกทางหนึ่งที่สำคัญสำหรับการฟื้นฟูบรรยากาศทางการเมืองและสังคมไทยได้ดี ถ้า หากวัฒนธรรมประเพณีไทย จะนำมาซึ่ง ความรักความสามัคคี การช่วยเหลือเกื้อกูล มีน้ำใจ ไมตรีจิตต่อกัน และการมีส่วนร่วมทำกิจกรรมทางศาสนา ด้วยกัน เช่นทำบุญ ตักบาตร เข้าวัดฟังธรรม เป็นต้น ดังนั้น รัฐบาลน่าจะอาศัยช่องทางในบทบาทของกระทรวงวัฒนธรรมและหน่วยงานราชการอื่นๆ ด้านสังคม เป็นตัวเชื่อมประสาน “ใจร้าว” และร่องรอยของความแตกแยกในสังคมของประชาชนที่มีจุดยืนทางความคิดหรืออุดมการณ์ที่แตกต่าง

“นอกจากนี้ นัยสำคัญของข้อมูลผลวิจัยที่ค้นพบในครั้งนี้อีกประการหนึ่งคือ จำนวนของประชาชนที่มีจุดยืนทางการเมืองหลังเปลี่ยนขั้วรัฐบาล แตกต่างไปจากการสำรวจก่อนหน้านี้ คือ หลังเปลี่ยนขั้วสลับข้างการเป็นรัฐบาลของฝ่ายการเมือง ก็มีประชาชนกลุ่มหนึ่งหันมาสนับสนุนพรรคประชาธิปัตย์ ในจำนวนพอๆ กันกับช่วงสมัยที่อดีตพรรคพลังประชาชนเคยได้รับ แต่ที่แตกต่างไปจากการวิจัยก่อนหน้านี้คือ กลุ่มคนไม่สนับสนุนผู้ที่เป็นรัฐบาลลดลงเหลือ เพียงประมาณร้อยละ 5 เท่านั้น จากเดิมที่เคยพบประมาณร้อยละ 10 — 15 และบางครั้งสูงถึงร้อยละ 20 เลยทีเดียว ซึ่งนัยของตัวเลขครั้งนี้อาจสอด คล้องกับแนวคิดของประชาชนบางกลุ่มที่เคยสัมภาษณ์เจาะลึกไว้ว่า “ใครก็ได้มาเป็นรัฐบาลหรือเป็นนายกรัฐมนตรี แต่ขอให้ทำประเทศชาติสงบสุข ประชาชนอยู่ดีมีสุข” ดังนั้น พรรคประชาธิปัตย์และกลุ่มการเมืองร่วมรัฐบาลต้องใช้โอกาสนี้เร่งแสดงผลงานให้ปรากฏต่อสาธารณชน ทำงานรวดเร็วฉับ ไวแก้ไขความเดือดร้อนของประชาชนอย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกันในทุกภูมิภาค อย่าทำให้ประชาชนผิดหวังซ้ำซากอีกต่อไป” ผ.อ.เอแบคโพลล์ กล่าว

รายละเอียดงานวิจัย

วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย

1. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อความชอบธรรมในระบอบประชาธิปไตย กับการเข้าสู่อำนาจของพรรคประชาธิปัตย์ในสาย ตาประชาชน

2. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป

ระเบียบวิธีการทำโพลล์

โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้เรื่อง ความชอบธรรมในระบอบประชาธิปไตย กับ การเข้าสู่อำนาจของพรรคประชาธิปัตย์ ในสายตาประชาชน กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งใน 18 จังหวัดของประเทศ ได้แก่ กรุงเทพ มหานคร สมุทรปราการ ปทุมธานี ชลบุรี ฉะเชิงเทรา ศรีสะเกษ หนองบัวลำภู ขอนแก่น สกลนคร เชียงใหม่ อุตรดิตถ์ สุโขทัย เพชรบูรณ์ กาญจนบุรี เพชรบุรี สุราษฎร์ธานี ระนอง และพัทลุง จำนวนทั้งสิ้น 3,169 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 26 ธันวาคม 2551 — 3 มกราคม 2552 ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง การสุ่ม ตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากรเป้าหมายจากการทำสำมะโน ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ใน ระดับ ร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบ สอบถาม วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์ หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ ข้อมูลและงบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย โดยมีคณะผู้ดำเนินโครงการวิจัยทั้งสิ้น 152 คน

ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง

จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า

ตัวอย่าง ร้อยละ 53.5 เป็นหญิง

ร้อยละ 46.5 เป็นชาย

ตัวอย่าง ร้อยละ 8.2 อายุต่ำกว่า 20 ปี

ร้อยละ 20.3 อายุระหว่าง 20 — 29 ปี

ร้อยละ 23.1 อายุระหว่าง 30 — 39 ปี

ร้อยละ 22.7 อายุระหว่าง 40 — 49 ปี

และ ร้อยละ 25.7 อายุ 50 ปีขึ้นไป

ตัวอย่าง ร้อยละ 78.2 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี

รองลงมาคือร้อยละ 17.3 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี

และร้อยละ 4.5 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี

ตัวอย่าง ร้อยละ 7.8 อาชีพข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ

ร้อยละ 15.7 เป็นพนักงานเอกชน/ลูกจ้างเอกชน

ร้อยละ 22.4 มีธุรกิจส่วนตัว/อาชีพอิสระ/ค้าขาย

ร้อยละ 7.3 เป็นนักเรียน/นักศึกษา

ร้อยละ 40.1 เกษตรกร / รับจ้างใช้แรงงาน

ร้อยละ 6.7 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ /ว่างงาน/ไม่มีรายได้/ไม่ประกอบอาชีพ

โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้

ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการติดตามข่าวการเมืองผ่านสื่อมวลชนในช่วง 30 วันที่ผ่านมา
ลำดับที่          การติดตามข่าวการเมืองผ่านสื่อมวลชนในช่วง 30 วันที่ผ่านมา  ค่าร้อยละ
1          ทุกวัน/เกือบทุกวัน                                        52.9
2          3-4 วันต่อสัปดาห์                                        11.4
3          1-2 วันต่อสัปดาห์                                        13.2
4          ติดตามเป็นบางสัปดาห์                                     10.4
5          ไม่ได้ติดตามเลย                                         12.1
          รวมทั้งสิ้น                                              100.0

ตารางที่  2  แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ การคาดการณ์ต่อสังคมไทยในปี 2552
ลำดับที่          การคาดการณ์ต่อสังคมไทยในปี 2552  ดีขึ้น    ดีเหมือนเดิม    แย่เหมือนเดิม          แย่ลง   ไม่มีความเห็น
1          บรรยากาศทางการเมือง               7.7          3.7          24.6          57.5          6.5
2          สถานการณ์ด้านเศรษฐกิจ               3.1          3.9          20.0          68.3          4.7
3          ความสัมพันธ์ของคนในสังคม             3.8          8.9          22.4          58.5          6.4
4          วัฒนธรรมประเพณีไทย                10.8         42.2          17.4          22.3          7.3
5          ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน         4.2         28.7          25.0          35.3          6.8

ตารางที่  3  แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความชอบธรรมของพรรคประชาธิปัตย์จากการเปลี่ยนขั้วทางการเมืองเข้าสู่

อำนาจของพรรคประชาธิปัตย์ในระบอบประชาธิปไตย

ลำดับที่          ความชอบธรรมของพรรคประชาธิปัตย์          ค่าร้อยละ
1          มีความชอบธรรม ตามระบอบประชาธิปไตย          70.9
2          ไม่มีความชอบธรรม                           14.4
3          ไม่มีความเห็น                               14.7
          รวมทั้งสิ้น                                  100.0

ตารางที่  4  แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความชอบธรรมของพรรคประชาธิปัตย์จากการเปลี่ยนขั้วทางการเมืองเข้าสู่

อำนาจของพรรคประชาธิปัตย์ในระบอบประชาธิปไตย จำแนกตามภูมิภาค

ลำดับที่          ความชอบธรรมของพรรคประชาธิปัตย์    ภาคเหนือ       ภาคกลาง   ตะวันออกเฉียงเหนือ     ภาคใต้    กรุงเทพฯ
1          มีความชอบธรรม ตามระบอบประชาธิปไตย       68.0          73.8          55.2          88.8       63.1
2          ไม่มีความชอบธรรม                        16.2           7.4          29.7           6.7       23.8
3          ไม่มีความเห็น                            15.8          18.8          15.1           4.5       13.1
          รวมทั้งสิ้น                               100.0         100.0          100.0        100.0      100.0

ตารางที่  5  แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ จุดยืนทางการเมือง หลังการเปลี่ยนขั้วรัฐบาล
ลำดับที่          จุดยืนทางการเมืองของประชาชน หลังเปลี่ยนขั้วรัฐบาล          ค่าร้อยละ
1          สนับสนุนรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์                                26.4
2          ไม่สนับสนุน                                                 5.7
3          ขออยู่ตรงกลาง ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด (พลังเงียบ)                 67.9
          รวมทั้งสิ้น                                                 100.0

ตารางที่  6  แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ จุดยืนทางการเมือง หลังการเปลี่ยนขั้วรัฐบาล จำแนกตามกลุ่มคนที่ใช้

อินเทอร์เน็ต

ลำดับที่          จุดยืนทางการเมืองของประชาชนหลังเปลี่ยนขั้วรัฐบาล    ใช้เป็นประจำ         ใช้บ้าง    ไม่เคยใช้เลย
1          สนับสนุนรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์                             34.5          25.3          25.2
2          ไม่สนับสนุน                                              6.9           4.6           5.6
3          ขออยู่ตรงกลาง ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด (พลังเงียบ)              58.6          70.1          69.2
          รวมทั้งสิ้น                                              100.0         100.0         100.0

ตารางที่  7  แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ จุดยืนทางการเมือง หลังการเปลี่ยนขั้วรัฐบาล จำแนกตามเขตพื้นที่
ลำดับที่          จุดยืนทางการเมืองของประชาชนหลังเปลี่ยนขั้วรัฐบาล    ในเขตเทศบาล   นอกเขตเทศบาล   กรุงเทพมหานคร
1          สนับสนุนรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์                              26.3           26.4           26.7
2          ไม่สนับสนุน                                               6.4            5.3            5.4
3          ขออยู่ตรงกลาง ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด (พลังเงียบ)               67.3           68.3           67.8
          รวมทั้งสิ้น                                               100.0          100.0          100.0

--เอแบคโพลล์--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ