ที่มาของโครงการ
ท่ามกลางการรอคอยและความคาดหวังถึงข้อยุติปัญหาทางการเมืองที่ยืดเยื้อมาเป็นเวลานานนั้น ในที่สุดศาลรัฐธรรมนูญก็ได้มีคำวินิจฉัยถึง
กระบวนการจัดการเลือกตั้งในวันที่ 2 เมษายนว่า การที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ให้ความเห็นเกี่ยวกับระยะเวลาจนนำไปสู่การเลือกตั้งใน
วันที่ 2 เมษายน และการจัดคูหาเลือกตั้งโดยหันหลังให้คณะกรรมการนั้น มิชอบด้วยรัฐธรรมนูญ และได้มีมติให้มีการจัดการเลือกตั้งขึ้นมาใหม่ ซึ่งนับ
ว่าเป็นนิมิตรหมายอันดีที่จะนำไปสู่แนวทางการแก้ไขปัญหาการเมืองที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ภายหลังจากศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยดังกล่าวออกมา
นั้น พรรคการเมืองต่างๆ ทั้งฝ่ายรัฐบาล และฝ่ายค้าน ตลอดจนกลุ่มเคลื่อนไหวทางการเมืองก็ได้ออกมาขานรับคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญในครั้งนี้
อย่างพร้อมเพรียงกัน อย่างไรก็ตาม สิ่งที่น่าจะได้รับความสนใจจากสาธารณชน นอกเหนือไปจากการเฝ้าคอยการจัดการเลือกตั้งใหม่ที่จะเกิดขึ้น
นั้น ก็น่าจะเป็นการออกมาแสดงความรับผิดชอบของคณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือ กกต. นั่นเอง
ทางสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงได้ทำการสำรวจภาคสนามหาข้อมูลเชิงสถิติศาสตร์ จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้น
ไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ถึงความคิดเห็น อารมณ์ และความรู้สึก ภายหลังศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยเรื่องการเลือกตั้งในวันที่ 2
เมษายน 2549 ตลอดจนความคิดเห็นของตัวอย่างต่อการออกมาแสดงความรับผิดชอบของคณะกรรมการการเลือกตั้ง โดยสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ได้จัด
ส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่ และพนักงานเก็บรวบรวมข้อมูลลงพื้นที่ที่ถูกสุ่มได้ตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจพฤติกรรมการติดตามข่าวการเมืองของประชาชนในช่วง 30 วันที่ผ่านมา
2. เพื่อสำรวจความคิดเห็น อารมณ์ และความรู้สึกของประชาชนต่อสถานการณ์การเมืองภายหลังศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยเรื่องการ
เลือกตั้งในวันที่ 2 เมษายน 2549
3. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อบทบาทของพรรคการเมืองต่างๆ ในสถานการณ์การเมืองปัจจุบัน
4. เพื่อสำรวจความเชื่อมั่นของประชาชนต่อการทำงานขององค์กรอิสระ/หน่วยงานราชการต่างๆ
5. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้เรื่อง “สำรวจความเห็นที่แตกต่างของสาธารณชน
ในเรื่องการเมืองภายหลังการวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญเรื่องการจัดการเลือกตั้ง 2 เมษายน 2549 : กรณีศึกษาประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหา
นครและปริมณฑล” ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจ ในวันที่ 8 พฤษภาคม 2549
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากร
เป้าหมายจากการทำสำมะโน
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 1,695 อย่าง
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณทั้งสิ้นเป็น
ของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 52.3 ระบุเป็นหญิง
ในขณะที่ร้อยละ 47.7 ระบุเป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 8.6 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 37.1 อายุระหว่าง 20—29 ปี
ร้อยละ 23.7 อายุระหว่าง 30—39 ปี
ร้อยละ 19.0 อายุระหว่าง 40—49 ปี
และ ร้อยละ 11.6 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 78.8 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 19.0 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 2.2 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 32.5 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 23.8 ระบุอาชีพพนักงาน/ลูกจ้างเอกชน
ร้อยละ 19.6 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 10.3 ระบุอาชีพข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 5.8 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ
ร้อยละ 6.1 เป็นนักเรียน/นักศึกษา
และร้อยละ 1.9 ระบุว่างงาน
บทสรุปผลสำรวจ
ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง “สำรวจความเห็นที่แตกต่าง
ของสาธารณชนในเรื่องการเมืองภายหลังการวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญเรื่องการจัดการเลือกตั้ง 2 เมษายน 2549” ในครั้งนี้ได้ดำเนินการเก็บรวบ
รวมข้อมูลจากประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวนทั้งสิ้น 1,695 ตัวอย่าง ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจ ในวันที่ 8 พฤษภาคม
2549 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจดังนี้
ผลสำรวจพฤติกรรมการติดตามข่าวการเมืองในช่วง 30 วันที่ผ่านมา พบว่า ตัวอย่างส่วนใหญ่ หรือคิดเป็นร้อยละ 50.6 ติดตามข่าวการ
เมืองทุกวัน / เกือบทุกวัน ร้อยละ 23.9 ติดตาม 3-4 วันต่อสัปดาห์ ร้อยละ 18.6 ติดตาม 1-2 วันต่อสัปดาห์ ในขณะที่ร้อยละ 3.0
ติดตามข่าวการเมืองน้อยกว่า 1 วันต่อสัปดาห์ และร้อยละ 3.9 ไม่ได้ติดตามเลย
ผลสำรวจความรู้สึกต่อสถานการณ์การเมืองในขณะนี้นั้น พบว่า ตัวอย่างส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 97.7 รู้สึกว่าการเมืองเป็นเรื่องสำคัญของ
ประเทศ รองลงมา คือ ร้อยละ 89.5 เรียกร้องให้ทุกฝ่ายหันมาเจรจากันถึงที่สุด ในขณะที่ร้อยละ 73.9 กำลังรู้สึกเบื่อหน่ายต่อเรื่องการเมือง
ร้อยละ 73.7 ระบุรู้สึกวิตกกังวลต่อเหตุการณ์การเมือง และร้อยละ 45.2 ระบุรู้สึกเครียดต่อเรื่องการเมือง อย่างไรก็ตาม ผลการสำรวจประเด็น
ความขัดแย้งในเรื่องการเมืองนั้น พบว่าตัวอย่างร้อยละ 18.9 ขัดแย้งกับเพื่อนบ้าน ร้อยละ 17.1 ขัดแย้งกับเพื่อนร่วมงาน และร้อยละ 13.0 ขัด
แย้งกับคนในครอบครัว
นอกจากนี้ผลการสำรวจความเชื่อมั่นของตัวอย่างที่มีต่อการทำงานขององค์กรอิสระ/หน่วยงานราชการในการทำหน้าที่ได้อย่างเป็นกลางไม่
เลือกปฏิบัติต่อพรรคการเมือง พบรายละเอียดที่น่าสนใจดังนี้
ตัวอย่างส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 69.6 ระบุเชื่อมั่นต่อการทำงานของศาลฎีกา ในขณะที่ร้อยละ 15.1 ระบุไม่เชื่อมั่น และร้อยละ 15.3 ไม่
มีความเห็น
ประชาชนส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 69.3 ระบุเชื่อมั่นต่อการทำงานของศาลปกครอง ในขณะที่ร้อยละ 15.9 ระบุไม่เชื่อมั่น และร้อยละ
14.8 ไม่มีความเห็น
ตัวอย่างส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 68.4 ระบุเชื่อมั่นต่อศาลรัฐธรรมนูญ ในขณะที่ร้อยละ 17.7 ระบุไม่เชื่อมั่น และร้อยละ 13.9 ไม่มีความ
เห็น
ตัวอย่างร้อยละ 39.9 ระบุเชื่อมั่นต่อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ในขณะที่ร้อยละ 25.8 ระบุไม่เชื่อมั่น และร้อยละ 34.3 ไม่มี
ความเห็น
ตัวอย่างร้อยละ 38.8 ระบุเชื่อมั่นต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ปปช.) ในขณะที่ร้อยละ 35.0 ระบุไม่เชื่อ
มั่น และร้อยละ 26.2 ไม่มีความเห็น
และสำหรับความเชื่อมั่นต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ผลการสำรวจ พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 31.3 ระบุเชื่อมั่นต่อ กกต. ใน
ขณะที่ร้อยละ 46.2 ระบุไม่เชื่อมั่น และร้อยละ 22.5 ไม่มีความเห็น
อย่างไรก็ตาม เมื่อสอบถามถึงบทบาทของพรรคการเมืองภายหลังการวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ เรื่องการเลือกตั้งในวันที่ 2 เมษายน
2549 นั้น พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 79.9 ระบุว่าพรรคการเมืองควรยอมรับคำวินิจฉัย ในขณะที่ร้อยละ 20.1 ระบุว่าไม่ควรยอมรับ และ
เมื่อสอบถามตัวอย่างต่อไปถึงความนิยมศรัทธาต่อพรรคการเมืองหากไม่ยอมรับคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ พบว่า ตัวอย่างส่วนใหญ่ หรือร้อยละ
73.5 ระบุว่าความนิยมต่อพรคการเมืองจะลดลง ในขณะที่ร้อยละ 26.5 ระบุว่าไม่ลดลง
สำหรับความคิดเห็นต่อกรณีความรับผิดชอบของคณะกรรมการการเลือกตั้ง ภายหลังคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ เรื่องการเลือกตั้งวันที่
2 เมษายน 2549 นั้น พบว่า ตัวอย่างเกินกว่าครึ่งหนึ่ง หรือร้อยละ 52.0 ระบุควรลาออก โดยให้เหตุผลว่า เป็นการแสดงความรับผิดชอบแสดง
สปิริต / ปัญหาวุ่นวายจะได้ยุติ / เป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่สังคมและเด็กเยาวชนรุ่นต่อไป เป็นต้น ในขณะที่ร้อยละ 48.0 ระบุว่าไม่ควรลาออก เพราะ
จะทำให้สังคมวุ่นวาย / ทำให้การเลือกตั้งล่าช้า เสียเวลา / เป็นเพียงบกพร่องโดยสุจริต เป็นต้น
ยิ่งไปกว่านั้น เมื่อสอบถามถึงความคิดเห็นต่อแนวคิดให้มีคนกลางและอิสระอย่างแท้จริงมาจัดการเลือกตั้ง พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ หรือ
ร้อยละ 75.4 ระบุเห็นด้วย เพราะ จะไม่เกิดความวุ่นวาย / เป็นการแก้ไขปัญหาวิกฤตศรัทธาของประชาชนต่อองค์กรอิสระ เป็นต้น ในขณะที่ร้อยละ
13.3 ระบุไม่เห็นด้วย เพราะ จะเกิดความวุ่นวายได้อีก / เสียเวลา / เสียงบประมาณ / หายาก เป็นต้น และร้อยละ 11.3 ไม่มีความเห็น
ผลการสำรวจของเอแบคโพลล์ ยังค้นพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 76.8 คิดว่าจะไปเลือกตั้ง ถ้ามีการเลือกตั้งในวันนี้ ในขณะที่
ร้อยละ 10.4 คิดว่าจะไม่ไป และร้อยละ 12.8 ระบุไม่แน่นอน อย่างไรก็ตาม สำหรับพรรคที่ตั้งใจจะเลือก ถ้ามีการเลือกตั้งในวันนี้ พบว่า ประชาชน
จำนวนมาก หรือร้อยละ 42.1 ระบุพรรคไทยรักไทย โดยให้เหตุผลว่า พอใจในผลงาน / พอใจนโยบายต่างๆ ที่เป็นรูปธรรมชัดเจน เป็นต้น ร้อยละ
16.5 ระบุพรรคประชาธิปัตย์ เพราะจะได้ตรวจสอบรัฐบาล / คานอำนาจรัฐบาล / มีนโยบายที่ดี เป็นต้น ร้อยละ 3.6 ระบุพรรคอื่นๆ ได้แก่ พรรค
ชาติไทย / พรรคมหาชน / พรรคประชากรไทย ในขณะที่ร้อยละ 37.8 ยังไม่ได้ตัดสินใจว่าจะเลือกพรรคใด
ประเด็นสำคัญที่ค้นพบ คือ ควรจะดำเนินการอย่างไรก่อนระหว่างการแก้ไขรัฐธรรมนูญกับการจัดการเลือกตั้งใหม่ ผลการสำรวจพบว่า
ตัวอย่างจำนวนมาก หรือร้อยละ 47.8 ระบุควรแก้ไขรัฐธรรมนูญก่อน ร้อยละ 47.5 ระบุควรจัดการเลือกตั้งใหม่ก่อน และร้อยละ 4.7 ไม่มีความเห็น
ดร.นพดล กล่าวว่า ถึงแม้ศาลรัฐธรรมนูญมีมติให้มีการจัดการเลือกตั้งใหม่แล้ว แต่อารมณ์ความรู้สึกของสาธารณชนในพื้นที่ที่ถูกศึกษายังไม่
เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมคือ ประชาชนยังคงวิตกกังวลต่อสถานการณ์ทางการเมือง มีความเครียดและเบื่อหน่ายเรื่องการเมือง อย่างไรก็ตาม ประชาชน
ส่วนใหญ่เกินกว่าร้อยละ 70 คิดว่าจะไปเลือกตั้งครั้งใหม่นี้อย่างแน่นอน ซึ่งเป็นความตั้งใจที่ดีต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตยและเป็นไปในทิศ
ทางเดียวกัน แต่เมื่อสอบถามความคิดเห็นต่อความรับผิดชอบของ กกต. ภายหลังศาลรัฐธรรมนูญมีมติว่าการเลือกตั้งที่ผ่านมามีปัญหาด้านการบริหาร
จัดการเลือกตั้ง ผลสำรวจพบว่าความเห็นของประชาชนมีลักษณะแบ่งเป็นสองกลุ่มก้ำกึ่งกันระหว่างผู้ที่เห็นว่า กกต.ควรลาออก เพื่อแสดงความรับผิด
ชอบ เป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่สังคมและเด็กเยาวชนรุ่นหลัง และความวุ่นวายจะได้ยุติลง แต่ประชาชนอีกกลุ่มหนึ่งระบุว่าไม่ควรลาออกเพราะถ้าลาออก
สังคมก็จะวุ่นวายได้อีกเช่นกัน และความผิดพลาดที่เกิดขึ้นเป็นความผิดพลาดทางเทคนิคโดยสุจริต และสังคมควรให้อภัยและให้โอกาส กกต. แก้ไขปรับ
ปรุง
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า ประเด็นผลสำรวจอีกอย่างหนึ่งที่น่าสนใจคือ ประชาชนจำนวนมากยังคงจะเลือกพรรคไทยรักไทยในการเลือกตั้ง
ครั้งต่อไปเพราะพอใจในผลงานและนโยบายประชานิยม เช่น การแก้ปัญหายาเสพติด แก้ปัญหากลุ่มผู้มีอิทธิพล หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ สามสิบบาทรักษา
ทุกโรค เป็นต้น และเห็นว่าพรรคไทยรักไทยยอมเสียสละไม่ยึดติดเพื่อให้สังคมสงบไม่วุ่นวาย ในขณะที่จะเลือกพรรคประชาธิปัตย์และพรรคอื่นๆ เพื่อให้
เข้ามาตรวจสอบรัฐบาลและคานการใช้อำนาจโดยมิชอบของรัฐบาล แต่ก็ยังมีประชาชนบางส่วนพอใจต่อนโยบายของพรรคประชาธิปัตย์ พรรคชาติไทย
พรรคมหาชน และพรรคอื่นๆ ด้วยเช่นกัน
“ความตั้งใจของประชาชนที่จะไปเลือกพรรคการเมืองเหล่านี้อาจเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลาเพราะมีประชาชนอีกจำนวนมากเกินกว่า 1
ใน 3 หรือร้อยละ 37.8 ที่ยังไม่ตัดสินใจว่าจะเลือกพรรคใด ดังนั้นสำนักวิจัยเอแบคโพลล์จึงตัดสินใจจะทำโพลล์ทำนายผลการเลือกตั้งครั้งต่อไปนี้ทั้ง
400 เขตอย่างแน่นอน โดยมีวัตถุประสงค์ให้พรรคการเมืองต่างๆ ตื่นตัวแข่งขันเชิงนโยบายให้กับประชาชนแบบเข้มข้น ซึ่งสำนักวิจัยเอแบคโพลล์จะเชิญ
สำนักข่าวต่างๆ ทุกสำนักเข้าร่วมเป็นพันธมิตรในการทำงานเพื่อรายงานผลการทำนายการเลือกตั้งที่น่าจะแม่นยำมากยิ่งขึ้นและจะแถลงข่าวแนวทางการ
ทำงานครั้งนี้อย่างเป็นทางการในโอกาสต่อไป” ดร.นพดล กล่าว
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความถี่ในการติดตามข่าวการเมือง ในช่วง 30 วันที่ผ่านมา
ลำดับที่ ความถี่ในการติดตามข่าวการเมือง ในช่วง 30 วันที่ผ่านมา ค่าร้อยละ
1 ทุกวัน/เกือบทุกวัน 50.6
2 3-4 วันต่อสัปดาห์ 23.9
4 1-2 วันต่อสัปดาห์ 18.6
5 น้อยกว่า 1 วันต่อสัปดาห์ 3.0
6 ไม่ได้ติดตาม 3.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อความรู้สึกที่ได้รับจากสถานการณ์การเมืองในขณะนี้
ลำดับที่ ความรู้สึกที่ได้รับจากสถานการณ์การเมืองในขณะนี้ ใช่ ไม่ใช่ รวมทั้งสิ้น
1 การเมืองเป็นเรื่องสำคัญของประเทศ 97.7 2.3 100.0
2 วิตกกังวลต่อเหตุการณ์การเมือง 73.7 26.3 100.0
3 เครียดต่อเรื่องการเมือง 45.2 54.8 100.0
4 ขัดแย้งกับคนในครอบครัวในเรื่องการเมือง 13.0 87.0 100.0
5 ขัดแย้งกับเพื่อนบ้านในเรื่องการเมือง 18.9 81.1 100.0
6 ขัดแย้งกับเพื่อนร่วมงานในเรื่องการเมือง 17.1 82.9 100.0
7 เบื่อหน่ายต่อเรื่องการเมือง 73.9 26.1 100.0
8 เรียกร้องให้ทุกฝ่ายหันมาเจรจากันถึงที่สุด 89.5 10.5 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความเชื่อมั่นต่อการทำงานขององค์กรอิสระ/หน่วยงานราชการ
ในการทำหน้าที่ได้อย่างเป็นกลางไม่เลือกปฏิบัติต่อพรรคการเมือง
องค์กรอิสระ/ หน่วยงานราชการ เชื่อมั่น ไม่เชื่อมั่น ไม่มีความเห็น รวมทั้งสิ้น
1. ศาลปกครอง 69.3 15.9 14.8 100.0
2. ศาลฎีกา 69.6 15.1 15.3 100.0
3. คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) 31.3 46.2 22.5 100.0
4. ศาลรัฐธรรมนูญ 68.4 17.7 13.9 100.0
5. คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ปปช.) 38.8 35.0 26.2 100.0
6. คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ 39.9 25.8 34.3 100.0
7. วุฒิสภา 31.3 37.8 30.9 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อบทบาทของพรรคการเมืองภายหลังการวินิจฉัยของ
ศาลรัฐธรรมนูญ เรื่องการเลือกตั้งในวันที่ 2 เมษายน 2549
ลำดับที่ ความคิดเห็นของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 พรรคการเมืองควรยอมรับคำวินิจฉัย 79.9
2 ไม่ควรยอมรับ 20.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความนิยมศรัทธาต่อพรรคการเมืองหากไม่ยอมรับคำวินิจฉัยของ
ศาลรัฐธรรมนูญ
ลำดับที่ ความนิยมศรัทธาต่อพรรคการเมืองหากไม่ยอมรับคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ค่าร้อยละ
1 ความนิยมลดลง 73.5
2 ไม่ลดลง 26.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นกรณีความรับผิดชอบของคณะกรรมการการเลือกตั้ง
ภายหลังคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ เรื่องการเลือกตั้งวันที่ 2 เมษายน 2549
ลำดับที่ ความรับผิดชอบของคณะกรรมการการเลือกตั้ง ค่าร้อยละ
1 ควรลาออก เพราะเป็นการแสดงความรับผิดชอบแสดงสปิริต/ ปัญหาวุ่นวายจะได้ยุติ/
เป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่สังคมและเด็กเยาวชนรุ่นต่อไป/ เคารพคำวินิจฉัยของศาล/
หาคนอื่นที่ประชาชนเชื่อมั่นมาทำหน้าที่แทน 52.0
2 ไม่ควรลาออก เพราะจะทำให้สังคมวุ่นวาย/ ทำให้การเลือกตั้งล่าช้าเสียเวลา/
เป็นเพียงบกพร่องโดยสุจริต/ เป็นเรื่องผิดพลาดทางเทคนิค/ ควรให้โอกาสแก้ไขปรับปรุง/
ควรรู้จักให้อภัยกัน 48.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อแนวคิดให้มีคนกลางและอิสระอย่างแท้จริงมา
จัดการเลือกตั้ง
ลำดับที่ ความคิดเห็นของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วย เพราะจะไม่เกิดความวุ่นวาย/ เป็นการแก้ไขปัญหาวิกฤตศรัทธาของประชาชนต่อองค์กรอิสระ/
ทุกฝ่ายจะยอมรับได้/ สังคมจะเกิดความสงบ 75.4
2 ไม่เห็นด้วย เพราะจะเกิดความวุ่นวายได้อีก/ เสียเวลา/ เสียงบประมาณ/ หายาก/
ไม่มีเกณฑ์ตัดสินความเป็นกลางที่แท้จริง 13.3
3 ไม่มีความเห็น 11.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความตั้งใจจะไปเลือกตั้ง ถ้ามีการเลือกตั้งในวันนี้
ลำดับที่ ความตั้งใจจะไปเลือกตั้ง ถ้ามีการเลือกตั้งในวันนี้ ค่าร้อยละ
1 คิดว่าจะไป 76.8
2 คิดว่าจะไม่ไป 10.4
3 ไม่แน่นอน 12.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุพรรคที่ตั้งใจจะเลือก ถ้ามีการเลือกตั้งในวันนี้
ลำดับที่ พรรคที่ตั้งใจจะเลือก ถ้ามีการเลือกตั้งในวันนี้ ค่าร้อยละ
1 พรรคไทยรักไทย เพราะพอใจในผลงาน/ พอใจนโยบายต่างๆ ที่เป็นรูปธรรมชัดเจน/
เพราะทำในสิ่งที่พูด/ ยอมเสียสละไม่ยึดติดเห็นแก่ความสงบของสังคม 42.1
2 พรรคประชาธิปัตย์ เพราะจะได้ตรวจสอบรัฐบาล/ คานอำนาจรัฐบาล/ มีนโยบายที่ดี/
จะได้เป็นประชาธิปไตย 16.5
3 พรรคอื่นๆ ได้แก่ พรรคชาติไทย /พรรคมหาชน/พรรคประชากรไทย 3.6
4 ยังไม่ตัดสินใจ 37.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อกรณี “ควรจะดำเนินการอย่างไรก่อนระหว่างการ
แก้ไขรัฐธรรมนูญกับการจัดการเลือกตั้งใหม่”
ลำดับที่ ความคิดเห็นของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 ควรแก้ไขรัฐธรรมนูญก่อน 47.8
2 ควรจัดการเลือกตั้งใหม่ก่อน 47.5
3 ไม่มีความคิดเห็น 4.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-
ท่ามกลางการรอคอยและความคาดหวังถึงข้อยุติปัญหาทางการเมืองที่ยืดเยื้อมาเป็นเวลานานนั้น ในที่สุดศาลรัฐธรรมนูญก็ได้มีคำวินิจฉัยถึง
กระบวนการจัดการเลือกตั้งในวันที่ 2 เมษายนว่า การที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ให้ความเห็นเกี่ยวกับระยะเวลาจนนำไปสู่การเลือกตั้งใน
วันที่ 2 เมษายน และการจัดคูหาเลือกตั้งโดยหันหลังให้คณะกรรมการนั้น มิชอบด้วยรัฐธรรมนูญ และได้มีมติให้มีการจัดการเลือกตั้งขึ้นมาใหม่ ซึ่งนับ
ว่าเป็นนิมิตรหมายอันดีที่จะนำไปสู่แนวทางการแก้ไขปัญหาการเมืองที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ภายหลังจากศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยดังกล่าวออกมา
นั้น พรรคการเมืองต่างๆ ทั้งฝ่ายรัฐบาล และฝ่ายค้าน ตลอดจนกลุ่มเคลื่อนไหวทางการเมืองก็ได้ออกมาขานรับคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญในครั้งนี้
อย่างพร้อมเพรียงกัน อย่างไรก็ตาม สิ่งที่น่าจะได้รับความสนใจจากสาธารณชน นอกเหนือไปจากการเฝ้าคอยการจัดการเลือกตั้งใหม่ที่จะเกิดขึ้น
นั้น ก็น่าจะเป็นการออกมาแสดงความรับผิดชอบของคณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือ กกต. นั่นเอง
ทางสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงได้ทำการสำรวจภาคสนามหาข้อมูลเชิงสถิติศาสตร์ จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้น
ไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ถึงความคิดเห็น อารมณ์ และความรู้สึก ภายหลังศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยเรื่องการเลือกตั้งในวันที่ 2
เมษายน 2549 ตลอดจนความคิดเห็นของตัวอย่างต่อการออกมาแสดงความรับผิดชอบของคณะกรรมการการเลือกตั้ง โดยสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ได้จัด
ส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่ และพนักงานเก็บรวบรวมข้อมูลลงพื้นที่ที่ถูกสุ่มได้ตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจพฤติกรรมการติดตามข่าวการเมืองของประชาชนในช่วง 30 วันที่ผ่านมา
2. เพื่อสำรวจความคิดเห็น อารมณ์ และความรู้สึกของประชาชนต่อสถานการณ์การเมืองภายหลังศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยเรื่องการ
เลือกตั้งในวันที่ 2 เมษายน 2549
3. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อบทบาทของพรรคการเมืองต่างๆ ในสถานการณ์การเมืองปัจจุบัน
4. เพื่อสำรวจความเชื่อมั่นของประชาชนต่อการทำงานขององค์กรอิสระ/หน่วยงานราชการต่างๆ
5. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้เรื่อง “สำรวจความเห็นที่แตกต่างของสาธารณชน
ในเรื่องการเมืองภายหลังการวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญเรื่องการจัดการเลือกตั้ง 2 เมษายน 2549 : กรณีศึกษาประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหา
นครและปริมณฑล” ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจ ในวันที่ 8 พฤษภาคม 2549
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากร
เป้าหมายจากการทำสำมะโน
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 1,695 อย่าง
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณทั้งสิ้นเป็น
ของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 52.3 ระบุเป็นหญิง
ในขณะที่ร้อยละ 47.7 ระบุเป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 8.6 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 37.1 อายุระหว่าง 20—29 ปี
ร้อยละ 23.7 อายุระหว่าง 30—39 ปี
ร้อยละ 19.0 อายุระหว่าง 40—49 ปี
และ ร้อยละ 11.6 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 78.8 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 19.0 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 2.2 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 32.5 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 23.8 ระบุอาชีพพนักงาน/ลูกจ้างเอกชน
ร้อยละ 19.6 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 10.3 ระบุอาชีพข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 5.8 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ
ร้อยละ 6.1 เป็นนักเรียน/นักศึกษา
และร้อยละ 1.9 ระบุว่างงาน
บทสรุปผลสำรวจ
ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง “สำรวจความเห็นที่แตกต่าง
ของสาธารณชนในเรื่องการเมืองภายหลังการวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญเรื่องการจัดการเลือกตั้ง 2 เมษายน 2549” ในครั้งนี้ได้ดำเนินการเก็บรวบ
รวมข้อมูลจากประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวนทั้งสิ้น 1,695 ตัวอย่าง ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจ ในวันที่ 8 พฤษภาคม
2549 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจดังนี้
ผลสำรวจพฤติกรรมการติดตามข่าวการเมืองในช่วง 30 วันที่ผ่านมา พบว่า ตัวอย่างส่วนใหญ่ หรือคิดเป็นร้อยละ 50.6 ติดตามข่าวการ
เมืองทุกวัน / เกือบทุกวัน ร้อยละ 23.9 ติดตาม 3-4 วันต่อสัปดาห์ ร้อยละ 18.6 ติดตาม 1-2 วันต่อสัปดาห์ ในขณะที่ร้อยละ 3.0
ติดตามข่าวการเมืองน้อยกว่า 1 วันต่อสัปดาห์ และร้อยละ 3.9 ไม่ได้ติดตามเลย
ผลสำรวจความรู้สึกต่อสถานการณ์การเมืองในขณะนี้นั้น พบว่า ตัวอย่างส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 97.7 รู้สึกว่าการเมืองเป็นเรื่องสำคัญของ
ประเทศ รองลงมา คือ ร้อยละ 89.5 เรียกร้องให้ทุกฝ่ายหันมาเจรจากันถึงที่สุด ในขณะที่ร้อยละ 73.9 กำลังรู้สึกเบื่อหน่ายต่อเรื่องการเมือง
ร้อยละ 73.7 ระบุรู้สึกวิตกกังวลต่อเหตุการณ์การเมือง และร้อยละ 45.2 ระบุรู้สึกเครียดต่อเรื่องการเมือง อย่างไรก็ตาม ผลการสำรวจประเด็น
ความขัดแย้งในเรื่องการเมืองนั้น พบว่าตัวอย่างร้อยละ 18.9 ขัดแย้งกับเพื่อนบ้าน ร้อยละ 17.1 ขัดแย้งกับเพื่อนร่วมงาน และร้อยละ 13.0 ขัด
แย้งกับคนในครอบครัว
นอกจากนี้ผลการสำรวจความเชื่อมั่นของตัวอย่างที่มีต่อการทำงานขององค์กรอิสระ/หน่วยงานราชการในการทำหน้าที่ได้อย่างเป็นกลางไม่
เลือกปฏิบัติต่อพรรคการเมือง พบรายละเอียดที่น่าสนใจดังนี้
ตัวอย่างส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 69.6 ระบุเชื่อมั่นต่อการทำงานของศาลฎีกา ในขณะที่ร้อยละ 15.1 ระบุไม่เชื่อมั่น และร้อยละ 15.3 ไม่
มีความเห็น
ประชาชนส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 69.3 ระบุเชื่อมั่นต่อการทำงานของศาลปกครอง ในขณะที่ร้อยละ 15.9 ระบุไม่เชื่อมั่น และร้อยละ
14.8 ไม่มีความเห็น
ตัวอย่างส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 68.4 ระบุเชื่อมั่นต่อศาลรัฐธรรมนูญ ในขณะที่ร้อยละ 17.7 ระบุไม่เชื่อมั่น และร้อยละ 13.9 ไม่มีความ
เห็น
ตัวอย่างร้อยละ 39.9 ระบุเชื่อมั่นต่อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ในขณะที่ร้อยละ 25.8 ระบุไม่เชื่อมั่น และร้อยละ 34.3 ไม่มี
ความเห็น
ตัวอย่างร้อยละ 38.8 ระบุเชื่อมั่นต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ปปช.) ในขณะที่ร้อยละ 35.0 ระบุไม่เชื่อ
มั่น และร้อยละ 26.2 ไม่มีความเห็น
และสำหรับความเชื่อมั่นต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ผลการสำรวจ พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 31.3 ระบุเชื่อมั่นต่อ กกต. ใน
ขณะที่ร้อยละ 46.2 ระบุไม่เชื่อมั่น และร้อยละ 22.5 ไม่มีความเห็น
อย่างไรก็ตาม เมื่อสอบถามถึงบทบาทของพรรคการเมืองภายหลังการวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ เรื่องการเลือกตั้งในวันที่ 2 เมษายน
2549 นั้น พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 79.9 ระบุว่าพรรคการเมืองควรยอมรับคำวินิจฉัย ในขณะที่ร้อยละ 20.1 ระบุว่าไม่ควรยอมรับ และ
เมื่อสอบถามตัวอย่างต่อไปถึงความนิยมศรัทธาต่อพรรคการเมืองหากไม่ยอมรับคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ พบว่า ตัวอย่างส่วนใหญ่ หรือร้อยละ
73.5 ระบุว่าความนิยมต่อพรคการเมืองจะลดลง ในขณะที่ร้อยละ 26.5 ระบุว่าไม่ลดลง
สำหรับความคิดเห็นต่อกรณีความรับผิดชอบของคณะกรรมการการเลือกตั้ง ภายหลังคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ เรื่องการเลือกตั้งวันที่
2 เมษายน 2549 นั้น พบว่า ตัวอย่างเกินกว่าครึ่งหนึ่ง หรือร้อยละ 52.0 ระบุควรลาออก โดยให้เหตุผลว่า เป็นการแสดงความรับผิดชอบแสดง
สปิริต / ปัญหาวุ่นวายจะได้ยุติ / เป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่สังคมและเด็กเยาวชนรุ่นต่อไป เป็นต้น ในขณะที่ร้อยละ 48.0 ระบุว่าไม่ควรลาออก เพราะ
จะทำให้สังคมวุ่นวาย / ทำให้การเลือกตั้งล่าช้า เสียเวลา / เป็นเพียงบกพร่องโดยสุจริต เป็นต้น
ยิ่งไปกว่านั้น เมื่อสอบถามถึงความคิดเห็นต่อแนวคิดให้มีคนกลางและอิสระอย่างแท้จริงมาจัดการเลือกตั้ง พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ หรือ
ร้อยละ 75.4 ระบุเห็นด้วย เพราะ จะไม่เกิดความวุ่นวาย / เป็นการแก้ไขปัญหาวิกฤตศรัทธาของประชาชนต่อองค์กรอิสระ เป็นต้น ในขณะที่ร้อยละ
13.3 ระบุไม่เห็นด้วย เพราะ จะเกิดความวุ่นวายได้อีก / เสียเวลา / เสียงบประมาณ / หายาก เป็นต้น และร้อยละ 11.3 ไม่มีความเห็น
ผลการสำรวจของเอแบคโพลล์ ยังค้นพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 76.8 คิดว่าจะไปเลือกตั้ง ถ้ามีการเลือกตั้งในวันนี้ ในขณะที่
ร้อยละ 10.4 คิดว่าจะไม่ไป และร้อยละ 12.8 ระบุไม่แน่นอน อย่างไรก็ตาม สำหรับพรรคที่ตั้งใจจะเลือก ถ้ามีการเลือกตั้งในวันนี้ พบว่า ประชาชน
จำนวนมาก หรือร้อยละ 42.1 ระบุพรรคไทยรักไทย โดยให้เหตุผลว่า พอใจในผลงาน / พอใจนโยบายต่างๆ ที่เป็นรูปธรรมชัดเจน เป็นต้น ร้อยละ
16.5 ระบุพรรคประชาธิปัตย์ เพราะจะได้ตรวจสอบรัฐบาล / คานอำนาจรัฐบาล / มีนโยบายที่ดี เป็นต้น ร้อยละ 3.6 ระบุพรรคอื่นๆ ได้แก่ พรรค
ชาติไทย / พรรคมหาชน / พรรคประชากรไทย ในขณะที่ร้อยละ 37.8 ยังไม่ได้ตัดสินใจว่าจะเลือกพรรคใด
ประเด็นสำคัญที่ค้นพบ คือ ควรจะดำเนินการอย่างไรก่อนระหว่างการแก้ไขรัฐธรรมนูญกับการจัดการเลือกตั้งใหม่ ผลการสำรวจพบว่า
ตัวอย่างจำนวนมาก หรือร้อยละ 47.8 ระบุควรแก้ไขรัฐธรรมนูญก่อน ร้อยละ 47.5 ระบุควรจัดการเลือกตั้งใหม่ก่อน และร้อยละ 4.7 ไม่มีความเห็น
ดร.นพดล กล่าวว่า ถึงแม้ศาลรัฐธรรมนูญมีมติให้มีการจัดการเลือกตั้งใหม่แล้ว แต่อารมณ์ความรู้สึกของสาธารณชนในพื้นที่ที่ถูกศึกษายังไม่
เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมคือ ประชาชนยังคงวิตกกังวลต่อสถานการณ์ทางการเมือง มีความเครียดและเบื่อหน่ายเรื่องการเมือง อย่างไรก็ตาม ประชาชน
ส่วนใหญ่เกินกว่าร้อยละ 70 คิดว่าจะไปเลือกตั้งครั้งใหม่นี้อย่างแน่นอน ซึ่งเป็นความตั้งใจที่ดีต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตยและเป็นไปในทิศ
ทางเดียวกัน แต่เมื่อสอบถามความคิดเห็นต่อความรับผิดชอบของ กกต. ภายหลังศาลรัฐธรรมนูญมีมติว่าการเลือกตั้งที่ผ่านมามีปัญหาด้านการบริหาร
จัดการเลือกตั้ง ผลสำรวจพบว่าความเห็นของประชาชนมีลักษณะแบ่งเป็นสองกลุ่มก้ำกึ่งกันระหว่างผู้ที่เห็นว่า กกต.ควรลาออก เพื่อแสดงความรับผิด
ชอบ เป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่สังคมและเด็กเยาวชนรุ่นหลัง และความวุ่นวายจะได้ยุติลง แต่ประชาชนอีกกลุ่มหนึ่งระบุว่าไม่ควรลาออกเพราะถ้าลาออก
สังคมก็จะวุ่นวายได้อีกเช่นกัน และความผิดพลาดที่เกิดขึ้นเป็นความผิดพลาดทางเทคนิคโดยสุจริต และสังคมควรให้อภัยและให้โอกาส กกต. แก้ไขปรับ
ปรุง
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า ประเด็นผลสำรวจอีกอย่างหนึ่งที่น่าสนใจคือ ประชาชนจำนวนมากยังคงจะเลือกพรรคไทยรักไทยในการเลือกตั้ง
ครั้งต่อไปเพราะพอใจในผลงานและนโยบายประชานิยม เช่น การแก้ปัญหายาเสพติด แก้ปัญหากลุ่มผู้มีอิทธิพล หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ สามสิบบาทรักษา
ทุกโรค เป็นต้น และเห็นว่าพรรคไทยรักไทยยอมเสียสละไม่ยึดติดเพื่อให้สังคมสงบไม่วุ่นวาย ในขณะที่จะเลือกพรรคประชาธิปัตย์และพรรคอื่นๆ เพื่อให้
เข้ามาตรวจสอบรัฐบาลและคานการใช้อำนาจโดยมิชอบของรัฐบาล แต่ก็ยังมีประชาชนบางส่วนพอใจต่อนโยบายของพรรคประชาธิปัตย์ พรรคชาติไทย
พรรคมหาชน และพรรคอื่นๆ ด้วยเช่นกัน
“ความตั้งใจของประชาชนที่จะไปเลือกพรรคการเมืองเหล่านี้อาจเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลาเพราะมีประชาชนอีกจำนวนมากเกินกว่า 1
ใน 3 หรือร้อยละ 37.8 ที่ยังไม่ตัดสินใจว่าจะเลือกพรรคใด ดังนั้นสำนักวิจัยเอแบคโพลล์จึงตัดสินใจจะทำโพลล์ทำนายผลการเลือกตั้งครั้งต่อไปนี้ทั้ง
400 เขตอย่างแน่นอน โดยมีวัตถุประสงค์ให้พรรคการเมืองต่างๆ ตื่นตัวแข่งขันเชิงนโยบายให้กับประชาชนแบบเข้มข้น ซึ่งสำนักวิจัยเอแบคโพลล์จะเชิญ
สำนักข่าวต่างๆ ทุกสำนักเข้าร่วมเป็นพันธมิตรในการทำงานเพื่อรายงานผลการทำนายการเลือกตั้งที่น่าจะแม่นยำมากยิ่งขึ้นและจะแถลงข่าวแนวทางการ
ทำงานครั้งนี้อย่างเป็นทางการในโอกาสต่อไป” ดร.นพดล กล่าว
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความถี่ในการติดตามข่าวการเมือง ในช่วง 30 วันที่ผ่านมา
ลำดับที่ ความถี่ในการติดตามข่าวการเมือง ในช่วง 30 วันที่ผ่านมา ค่าร้อยละ
1 ทุกวัน/เกือบทุกวัน 50.6
2 3-4 วันต่อสัปดาห์ 23.9
4 1-2 วันต่อสัปดาห์ 18.6
5 น้อยกว่า 1 วันต่อสัปดาห์ 3.0
6 ไม่ได้ติดตาม 3.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อความรู้สึกที่ได้รับจากสถานการณ์การเมืองในขณะนี้
ลำดับที่ ความรู้สึกที่ได้รับจากสถานการณ์การเมืองในขณะนี้ ใช่ ไม่ใช่ รวมทั้งสิ้น
1 การเมืองเป็นเรื่องสำคัญของประเทศ 97.7 2.3 100.0
2 วิตกกังวลต่อเหตุการณ์การเมือง 73.7 26.3 100.0
3 เครียดต่อเรื่องการเมือง 45.2 54.8 100.0
4 ขัดแย้งกับคนในครอบครัวในเรื่องการเมือง 13.0 87.0 100.0
5 ขัดแย้งกับเพื่อนบ้านในเรื่องการเมือง 18.9 81.1 100.0
6 ขัดแย้งกับเพื่อนร่วมงานในเรื่องการเมือง 17.1 82.9 100.0
7 เบื่อหน่ายต่อเรื่องการเมือง 73.9 26.1 100.0
8 เรียกร้องให้ทุกฝ่ายหันมาเจรจากันถึงที่สุด 89.5 10.5 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความเชื่อมั่นต่อการทำงานขององค์กรอิสระ/หน่วยงานราชการ
ในการทำหน้าที่ได้อย่างเป็นกลางไม่เลือกปฏิบัติต่อพรรคการเมือง
องค์กรอิสระ/ หน่วยงานราชการ เชื่อมั่น ไม่เชื่อมั่น ไม่มีความเห็น รวมทั้งสิ้น
1. ศาลปกครอง 69.3 15.9 14.8 100.0
2. ศาลฎีกา 69.6 15.1 15.3 100.0
3. คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) 31.3 46.2 22.5 100.0
4. ศาลรัฐธรรมนูญ 68.4 17.7 13.9 100.0
5. คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ปปช.) 38.8 35.0 26.2 100.0
6. คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ 39.9 25.8 34.3 100.0
7. วุฒิสภา 31.3 37.8 30.9 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อบทบาทของพรรคการเมืองภายหลังการวินิจฉัยของ
ศาลรัฐธรรมนูญ เรื่องการเลือกตั้งในวันที่ 2 เมษายน 2549
ลำดับที่ ความคิดเห็นของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 พรรคการเมืองควรยอมรับคำวินิจฉัย 79.9
2 ไม่ควรยอมรับ 20.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความนิยมศรัทธาต่อพรรคการเมืองหากไม่ยอมรับคำวินิจฉัยของ
ศาลรัฐธรรมนูญ
ลำดับที่ ความนิยมศรัทธาต่อพรรคการเมืองหากไม่ยอมรับคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ค่าร้อยละ
1 ความนิยมลดลง 73.5
2 ไม่ลดลง 26.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นกรณีความรับผิดชอบของคณะกรรมการการเลือกตั้ง
ภายหลังคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ เรื่องการเลือกตั้งวันที่ 2 เมษายน 2549
ลำดับที่ ความรับผิดชอบของคณะกรรมการการเลือกตั้ง ค่าร้อยละ
1 ควรลาออก เพราะเป็นการแสดงความรับผิดชอบแสดงสปิริต/ ปัญหาวุ่นวายจะได้ยุติ/
เป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่สังคมและเด็กเยาวชนรุ่นต่อไป/ เคารพคำวินิจฉัยของศาล/
หาคนอื่นที่ประชาชนเชื่อมั่นมาทำหน้าที่แทน 52.0
2 ไม่ควรลาออก เพราะจะทำให้สังคมวุ่นวาย/ ทำให้การเลือกตั้งล่าช้าเสียเวลา/
เป็นเพียงบกพร่องโดยสุจริต/ เป็นเรื่องผิดพลาดทางเทคนิค/ ควรให้โอกาสแก้ไขปรับปรุง/
ควรรู้จักให้อภัยกัน 48.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อแนวคิดให้มีคนกลางและอิสระอย่างแท้จริงมา
จัดการเลือกตั้ง
ลำดับที่ ความคิดเห็นของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วย เพราะจะไม่เกิดความวุ่นวาย/ เป็นการแก้ไขปัญหาวิกฤตศรัทธาของประชาชนต่อองค์กรอิสระ/
ทุกฝ่ายจะยอมรับได้/ สังคมจะเกิดความสงบ 75.4
2 ไม่เห็นด้วย เพราะจะเกิดความวุ่นวายได้อีก/ เสียเวลา/ เสียงบประมาณ/ หายาก/
ไม่มีเกณฑ์ตัดสินความเป็นกลางที่แท้จริง 13.3
3 ไม่มีความเห็น 11.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความตั้งใจจะไปเลือกตั้ง ถ้ามีการเลือกตั้งในวันนี้
ลำดับที่ ความตั้งใจจะไปเลือกตั้ง ถ้ามีการเลือกตั้งในวันนี้ ค่าร้อยละ
1 คิดว่าจะไป 76.8
2 คิดว่าจะไม่ไป 10.4
3 ไม่แน่นอน 12.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุพรรคที่ตั้งใจจะเลือก ถ้ามีการเลือกตั้งในวันนี้
ลำดับที่ พรรคที่ตั้งใจจะเลือก ถ้ามีการเลือกตั้งในวันนี้ ค่าร้อยละ
1 พรรคไทยรักไทย เพราะพอใจในผลงาน/ พอใจนโยบายต่างๆ ที่เป็นรูปธรรมชัดเจน/
เพราะทำในสิ่งที่พูด/ ยอมเสียสละไม่ยึดติดเห็นแก่ความสงบของสังคม 42.1
2 พรรคประชาธิปัตย์ เพราะจะได้ตรวจสอบรัฐบาล/ คานอำนาจรัฐบาล/ มีนโยบายที่ดี/
จะได้เป็นประชาธิปไตย 16.5
3 พรรคอื่นๆ ได้แก่ พรรคชาติไทย /พรรคมหาชน/พรรคประชากรไทย 3.6
4 ยังไม่ตัดสินใจ 37.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อกรณี “ควรจะดำเนินการอย่างไรก่อนระหว่างการ
แก้ไขรัฐธรรมนูญกับการจัดการเลือกตั้งใหม่”
ลำดับที่ ความคิดเห็นของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 ควรแก้ไขรัฐธรรมนูญก่อน 47.8
2 ควรจัดการเลือกตั้งใหม่ก่อน 47.5
3 ไม่มีความคิดเห็น 4.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-