ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเอแบค นวัตกรรมทางสังคม การจัดการและธุรกิจ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลวิจัย เรื่อง ประชาชนคิดอย่างไรต่อสภาวะความเสี่ยงของประเทศไทยในช่วงปี 2552 กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนใน 18 จังหวัดของประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ ปทุมธานี ชลบุรี ฉะเชิงเทรา ศรีสะเกษ หนองบัวลำภู ขอนแก่น สกลนคร เชียงใหม่ อุตรดิตถ์ สุโขทัย เพชรบูรณ์ กาญจนบุรี เพชรบุรี สุราษฎร์ธานี ระนอง และพัทลุง จำนวนทั้งสิ้น 2,443 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 3 — 10 มกราคม 2552 พบว่า
ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 81.8 ยังคงรู้สึกเบื่อหน่ายต่อความขัดแย้งทางการเมือง ร้อยละ 75.8 เชื่อว่าความขัดแย้งทางการเมือง จะเพิ่มขึ้น ร้อยละ 70.2 เครียดเรื่องการเมือง อย่างไรก็ตาม ร้อยละ 71.3 ยังคงมีความหวังว่าประเทศชาติจะสงบสุข และร้อยละ 95.8 อยากให้ คนไทยรักกัน
นอกจากนี้ เมื่อถามถึงความเชื่อมั่นต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตย แม้ประเทศไทยจะประสบวิกฤตการณ์ต่างๆ มากมายในเวลานี้ ผลสำรวจพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 80.9 ยังคงเชื่อมั่นต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตย แม้ประเทศไทยจะประสบวิกฤตการณ์ต่างๆ มากมาย
ที่น่าเป็นห่วงคือ ค่าคะแนนความเชื่อมั่นของประชาชนต่อรัฐบาลในการแก้ปัญหาต่างๆ ของประเทศในทุกเรื่องต่ำกว่าครึ่งหนึ่ง เมื่อคะแนน เต็ม 10 คะแนน โดยพบว่า ความเชื่อมั่นของประชาชนต่อการแก้ปัญหาเศรษฐกิจของประเทศได้ 4.47 ค่าความเชื่อมั่นต่อความสามัคคีของกลุ่มการ เมืองและพรรคร่วมรัฐบาล ได้ 3.84 ค่าความเชื่อมั่นต่อการปราบปรามปัญหาทุจริตคอรัปชั่นได้ 3.66 ค่าความเชื่อมั่นต่อการแก้ปัญหายาเสพติด ได้ 3.57
ยิ่งไปกว่านั้น ค่าคะแนนความเสี่ยงต่อวิกฤตการณ์ปัญหาต่างๆ ของประเทศในมุมมองของประชาชน พบว่า มีค่าคะแนนความเสี่ยงสูงระดับ มาก จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน พบว่า ความเสี่ยงต่อวิกฤตการณ์ปัญหาด้านเศรษฐกิจได้ 7.72 ความเสี่ยงต่อปัญหาด้านการเมือง ความขัดแย้งรุนแรง บานปลายได้ 7.49 และความเสี่ยงต่อวิกฤตด้านสังคม เช่น ปัญหายาเสพติด ปัญหาอาชญากรรม ได้ 7.15
ดร.นพดล กล่าวว่า จากผลวิจัยครั้งนี้จำเป็นต้องเร่งทำอะไรบางอย่างที่เป็นระบบในการบริหารจัดการอารมณ์ความรู้สึกของสาธารณชน โดยรัฐบาล หน่วยงานรัฐ และองค์กรเอกชนน่าจะช่วยกันสร้างระบบเฝ้าระวังติดตามอารมณ์ความรู้สึกของประชาชนที่รวดเร็วฉับไวทันต่อสถานการณ์และ สร้างสรรค์กิจกรรมรณรงค์ จัดวางยุทธศาสตร์ชาติเรื่องของจิตใจและพฤติกรรมของประชาชนกลุ่มต่างๆ ในแต่ละภูมิภาค โดยนำเอาความดีงามด้าน วัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่นและระดับประเทศเป็นตัวเชื่อมประสานร่วมประกอบกับแนวทางด้านความมั่นคงในกระบวนการยุติธรรมของประเทศ
รายละเอียดงานวิจัย
1. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อบรรยากาศทางสังคมการเมืองของประเทศและสภาวะความเสี่ยงด้านต่างๆ
2. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
โครงการสำรวจภาคสนามของศูนย์วิจัยเอแบคนวัตกรรมทางสังคม การจัดการและธุรกิจ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้ เรื่อง ประชาชน คิดอย่างไรต่อสภาวะความเสี่ยงของประเทศไทยในช่วงปี 2552 กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนใน 18 จังหวัดของประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ ปทุมธานี ชลบุรี ฉะเชิงเทรา ศรีสะเกษ หนองบัวลำภู ขอนแก่น สกลนคร เชียงใหม่ อุตรดิตถ์ สุโขทัย เพชรบูรณ์ กาญจนบุรี เพชรบุรี สุราษฎร์ธานี ระนอง และพัทลุง จำนวนทั้งสิ้น 2,443 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 3 — 10 มกราคม 2552 ประเภทของการสำรวจวิจัย ครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิ หลายชั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากรเป้าหมายจากการทำสำมะโน ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับ ร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขต ความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม วิธีการเก็บรวบรวม ข้อมูลคือ การสัมภาษณ์ หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูลและงบประมาณเป็น ของมหาวิทยาลัย โดยมีคณะผู้ดำเนินโครงการวิจัยทั้งสิ้น 89 คน
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง ร้อยละ 55.1 เป็นเพศหญิง
ร้อยละ 44.9 เป็นเพศชาย
ร้อยละ 6.2 ระบุอายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 20.7 อายุระหว่าง 20 — 29 ปี
ร้อยละ 21.4 อายุระหว่าง 30 — 39 ปี
ร้อยละ 24.6 อายุระหว่าง 40 — 49 ปี
และร้อยละ 27.1 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 73.3 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี
รองลงมาคือร้อยละ 21.9 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 4.8 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 8.4 อาชีพข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 16.0 เป็นพนักงานเอกชน/ลูกจ้างเอกชน
ร้อยละ 26.9 มีธุรกิจส่วนตัว/อาชีพอิสระ/ค้าขาย
ร้อยละ 7.2 เป็นนักเรียน/นักศึกษา
ร้อยละ 34.9 เกษตรกร / รับจ้างแรงงานทั่วไป
ร้อยละ 6.6 เป็นพ่อบ้าน/เกษียณอายุ/ไม่มีรายได้/ไม่ประกอบอาชีพ
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ลำดับที่ ความรู้สึกนึกคิดต่อบรรยากาศด้านต่างๆ ของประเทศ ค่าร้อยละ 1 ความเบื่อหน่ายต่อความขัดแย้งทางการเมือง 81.8 2 ความเชื่อเรื่องความขัดแย้งทางการเมืองจะเพิ่มขึ้น 75.8 3 ความเครียดต่อเรื่องการเมือง 70.2 4 ความหวังว่าประเทศชาติจะสงบสุข 71.3 5 อยากให้คนไทยรักกัน 95.8 ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความเชื่อมั่นต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตย แม้ประเทศไทยจะประสบ
วิกฤตการณ์ต่างๆ มากมาย
ลำดับที่ ความเชื่อมั่นต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ค่าร้อยละ 1 เชื่อมั่นต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตย แม้ประเทศไทยมีวิกฤตต่างๆ มากมาย 80.9 2 ไม่เชื่อมั่น 19.1 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ค่าคะแนนความเชื่อมั่นต่อรัฐบาลในการแก้ปัญหาด้านต่างๆ ของประเทศ
(คะแนนเต็ม 10 คะแนน)
ลำดับที่ ความเชื่อมั่นต่อรัฐบาลในการแก้ปัญหาด้านต่างๆ ของประเทศ คะแนนเต็ม 10 คะแนน 1 ความเชื่อมั่นต่อการแก้ปัญหาเศรษฐกิจของประเทศ 4.47 2 ความเชื่อมั่นต่อความสามัคคีของกลุ่มการเมืองและพรรคร่วมรัฐบาล 3.84 3 ความเชื่อมั่นต่อการปราบปรามปัญหาทุจริตคอรัปชั่น 3.66 4 ความเชื่อมั่นต่อการแก้ปัญหายาเสพติด 3.57 ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ค่าคะแนนความเสี่ยงต่อวิกฤตการณ์ปัญหาด้านต่างๆ ของประเทศ
(คะแนนเต็ม 10 คะแนน)
ลำดับที่ ความเสี่ยงต่อวิกฤตการณ์ปัญหาด้านต่างๆ ของประเทศ คะแนนเต็ม 10 คะแนน 1 วิกฤตการณ์ปัญหาด้านเศรษฐกิจ 7.72 2 ปัญหาด้านการเมือง ความขัดแย้งรุนแรงบานปลาย 7.49 3 ปัญหาด้านสังคม ยาเสพติด ปัญหาอาชญากรรม 7.15 --เอแบคโพลล์-- -พห-