เอแบคโพลล์: โค้งสุดท้าย โพลล์ก่อนวันเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. 7 วัน ประชาชนเลือกใคร

ข่าวผลสำรวจ Monday January 12, 2009 09:17 —เอแบคโพลล์

ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยว่า เนื่องจาก กฎหมายเลือกตั้งได้ห้ามเผยแพร่ ผลโพลล์เลือกตั้งความนิยมของประชาชนต่อผู้สมัครรับเลือกตั้งในช่วงเวลา 7 วันก่อนวันเลือกตั้ง และการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. ครั้งนี้ สำนักวิจัยเอแบ คโพลล์ ไม่ได้ทำโพลล์หน้าหน่วยเลือกตั้ง คือ ไม่ได้ทำเอ็กซิทโพลล์ ดังนั้น ผลสำรวจครั้งนี้จึงเป็นการสำรวจก่อนวันเลือกตั้งที่เรียกกันว่า PRE- ELECTION POLL และนำเสนอหลังปิดหีบเลือกตั้งในเวลาบ่ายสามโมงที่ผ่านมา โดยโครงการสำรวจโพลล์ในช่วง 7 วันสุดท้ายก่อนวันเลือกตั้ง จำนวน ทั้งสิ้น 2,262 ตัวอย่าง ในวันที่ 4 มกราคมที่ผ่านมา พบว่า

โพลล์ช่วง 7 วันก่อนวันเลือกตั้ง ม.ร.ว.สุขุมพันธ์ บริพัตร ได้รับความนิยมสูงเป็นอันดับหนึ่งคือ ร้อยละ 44.4 รองลงมาคือ นายยุรนัน ท์ ภมรมนตรี ได้ร้อยละ 34.6 ในขณะที่ ม.ล.ณัฎฐกรณ์ เทวกุล ได้ร้อยละ 14.9 และนายแก้วสรร อติโพธิ ได้ร้อยละ 4.3 ส่วนร้อยละที่เหลือเลือกผู้ สมัครคนอื่นๆ ได้ร้อยละ 1.8 โดยมีช่วงความคลาดเคลื่อนบวกลบร้อยละ 7 จากการเลือกตัวอย่าง อย่างไรก็ตาม ผลการเลือกตั้งในวันที่ 11 มกราคมนี้ อาจเปลี่ยนแปลงไปได้เนื่องจาก ผลการเลือกตั้งที่ค้นพบครั้งนี้เกิดขึ้นก่อนวันเลือกตั้งนานถึง 7 วัน

จากผลการสำรวจข้างต้น เมื่อนำมาวิเคราะห์กับความตั้งใจจะไปใช้สิทธิ พบว่าเฉพาะคนที่ตั้งใจจะไปอย่างแน่นอน ตัวอย่างเกือบครึ่ง หนึ่ง หรือร้อยละ 49.7 ระบุเลือก ม.ร.ว.สุขุมพันธ์ บริพัตร รองลงมาร้อยละ 31.8 ระบุเลือก นายยุรนันท์ ภมรมนตรี และร้อยละ 12.7 ระบุ เลือก ม.ล.ณัฎฐกรณ์ เทวกุล อย่างไรก็ตาม กลุ่มประชาชนที่ไม่แน่ใจว่าจะไปใช้สิทธิหรือไม่ ระบุเลือกนายยุรนันท์ มากกว่า ม.ร.ว.สุขุมพันธ์ (พิจารณารายละเอียดในตารางที่ 2 )

เมื่อจำแนกตามลักษณะทางประชากรศาสตร์ พบว่า ร้อยละ 43.9 ในกลุ่มผู้ชาย และร้อยละ 46.7 ในกลุ่มผู้หญิง ตั้งใจจะเลือก ม.ร.ว. สุขุมพันธ์ ในขณะที่ร้อยละ 34.7 ในกลุ่มผู้ชาย และร้อยละ 34.4 ในกลุ่มผู้หญิงตั้งใจจะเลือก นายยุรนันท์ นอกจากนี้ ร้อยละ 13.6 ในกลุ่มผู้ชาย และ ร้อยละ 15.1 ในกลุ่มผู้หญิง ตั้งใจจะเลือก ม.ล.ณัฎฐกรณ์ ตามลำดับ

เมื่อจำแนกตามช่วงอายุ พบว่า ม.ร.ว.สุขุมพันธ์ ได้รับความนิยมในกลุ่มคนที่อายุ 50 ปีขึ้นไปสูงสุดคืออยู่ที่ร้อยละ 51.3 ในขณะที่ นายยุ รนันท์ ได้รับความนิยมในกลุ่มคนที่อายุต่ำกว่า 20 ปี สูงสุดคืออยู่ที่ร้อยละ 47.1 ส่วน ม.ล.ณัฎฐกรณ์ มีคะแนนนิยมกระจายในทุกกลุ่มอายุไม่แตกต่างกัน มากนัก แต่มีค่าร้อยละเฉลี่ยไม่เกินร้อยละ 15 ในกลุ่มคนที่ตั้งใจเลือก ม.ล.ณัฎฐกรณ์

เมื่อจำแนกตามระดับการศึกษา พบว่า ม.ร.ว.สุขุมพันธ์ ยังคงได้คะแนนนิยมตั้งใจจะเลือกจากกลุ่มคนการศึกษาระดับปริญญาตรีและสูงกว่า ปริญญาตรี คือร้อยละ 49.1 และร้อยละ 57.5 และได้รับจากกลุ่มคนที่มีการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี ร้อยละ 43.7 ในขณะที่ นายยุรนันท์ ได้รับคะแนน นิยมจากคนที่มีการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรีสูงที่สุด คือร้อยละ 37.6 รองลงมาคือปริญญาตรี ร้อยละ 25.2 และสูงกว่าปริญญาตรี ร้อยละ 17.8 ส่วน ม.ล.ณัฎฐกรณ์ มีคะแนนนิยมกระจายในทุกกลุ่มการศึกษาไม่แตกต่างกันมากนัก แต่มีค่าร้อยละเฉลี่ยไม่เกินร้อยละ 15 ในกลุ่มคนที่ตั้งใจเลือก ม.ล.ณัฎ ฐกรณ์ เช่นกัน

เมื่อจำแนกออกตามกลุ่มอาชีพ พบว่า ม.ร.ว.สุขุมพันธ์ มักได้รับความนิยมจากทุกกลุ่มอาชีพ ยกเว้นนักเรียน นักศึกษา และผู้รับจ้างใช้แรง งาน โดยมีผู้ตั้งใจจะเลือกไม่มากนัก คือร้อยละ 28.3 และ 38.5 ตรงข้ามกับนายยุรนันท์ ซึ่งมักได้รับความนิยมจากทั้งสองกลุ่มดังกล่าว ที่ร้อยละ 43.4 และ 42.7 ตามลำดับ สำหรับ ม.ล.ณัฎฐกรณ์ มีคะแนนนิยมกระจายในทุกกลุ่มอาชีพไม่แตกต่างกันมากนัก เช่นเดียวกับการจำแนกตามช่วงอายุ และระดับการศึกษาข้างต้น

เมื่อจำแนกออกตามรายได้ พบว่า ม.ร.ว.สุขุมพันธ์ ยังคงรักษาฐานสนับสนุนไว้ได้ในกลุ่มคนที่มีรายได้สูงกว่า 20,000 บาทต่อเดือนขึ้น ไป ร้อยละ 57.4 ในขณะที่ นายยุรนันท์ มักได้รับความนิยมจากผู้ที่มีรายได้ไม่เกิน 5,000 บาทต่อเดือน คือ ร้อยละ 43.1 ซึ่งมากกว่าในกลุ่มรายได้ อื่นๆ

เมื่อถามถึงปัญหาเร่งด่วนที่อยากให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครคนใหม่แก้ไขโดยเร็ว พบว่า 10 อันดับปัญหาเร่งด่วนที่ประชาชนผู้มีสิทธิ เลือกตั้งต้องการให้ผู้ว่าฯ กทม. คนใหม่แก้ไข คือ อันดับแรก ร้อยละ 82.9 ระบุปัญหาปากท้อง ราคาสินค้า ราคาอาหารสูง รองลงมาคือ ร้อยละ 79.3 ระบุปัญหารถติด ร้อยละ 64.1 ระบุปัญหาโจรผู้ร้าย ความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ร้อยละ 63.3 ระบุปัญหายาเสพติด ร้อยละ 48.4 ระบุปัญหาที่จอดรถมีไม่เพียงพอ และรองๆ ลงไปคือ ปัญหาการจัดแผงขายของไม่เป็นระเบียบ ปัญหาความสกปรก ท่อตันระบายน้ำไม่ดี น้ำท่วมขัง ปัญหา แก๊งอันธพาลและผู้มีอิทธิพล ปัญหาเจ้าหน้าที่ของรัฐเก็บเกี่ยวผลประโยชน์ และปัญหาอื่นๆ ได้แก่ สภาพตึกอาคารต่างๆ ที่ทรุดโทรม แรงงานต่างด้าว โสเภณีตามสวนสาธารณะ และรถโดยสารจอดไม่ตรงป้าย เป็นต้น

รายละเอียดงานวิจัย

ระเบียบวิธีการทำโพลล์

โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้เรื่อง “โค้งสุดท้าย ก่อนวันเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. 7 วัน ประชาชนเลือกใคร : กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตกรุงเทพมหานคร” จำนวนตัวอย่างทั้งสิ้น 2,262 ตัวอย่าง มีระยะ เวลาการดำเนินโครงการวันที่ 4 มกราคม 2552 เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น และกำหนดลักษณะ ของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากรเป้าหมายจากการทำสำมะโน ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการ กำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 7 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์ หลัง จากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูลและงบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย โดยมีคณะผู้ วิจัย จำนวนทั้งสิ้น 75 คน

ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง

จากการพิจารณาลักษณะทั่วไป

ของตัวอย่าง ร้อยละ 57.3 เป็นเพศหญิง

ร้อยละ 42.7 เป็นเพศชาย

ร้อยละ 3.6 ระบุอายุต่ำกว่า 20 ปี

ร้อยละ 14.3 อายุระหว่าง 20 — 29 ปี

ร้อยละ 19.0 อายุระหว่าง 30 — 39 ปี

ร้อยละ 25.9 อายุระหว่าง 40 — 49 ปี

และ ร้อยละ 37.2 อายุ 50 ปีขึ้นไป

ตัวอย่าง ร้อยละ 80.2 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี

รองลงมาคือร้อยละ 17.8 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี

และร้อยละ 2.0 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี

ตัวอย่าง ร้อยละ 5.6 อาชีพข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ

ร้อยละ 10.1 เป็นพนักงานเอกชน/ลูกจ้างเอกชน

ร้อยละ 40.8 มีธุรกิจส่วนตัว/อาชีพอิสระ/ค้าขาย

ร้อยละ 4.1 เป็นนักเรียน/นักศึกษา

ร้อยละ 20.2 รับจ้างทั่วไป

ร้อยละ 15.9 เป็นพ่อบ้าน/เกษียณอายุ/ไม่มีรายได้/ไม่ประกอบอาชีพ และร้อยละ 3.3 ระบุประกอบอาชีพอื่น

โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้

ตารางที่ 1 แสดงแนวโน้มค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ประชาชนที่ตั้งใจจะเลือกผู้สมัครเป็น ผู้ว่าฯ กทม.
ลำดับที่          รายชื่อ ผู้สมัครรับเลือกตั้ง   8 ธันวาคม 51 ค่าร้อยละ   22 ธันวาคม 51 ค่าร้อยละ   4 มกราคม 52 ค่าร้อยละ
1          ม.ร.ว.สุขุมพันธ์  บริพัตร              36.4                    35.6                    44.4
2          นายยุรนันท์   ภมรมนตรี               17.3                    25.8                    34.6
3          ม.ล.ณัฎฐกรณ์   เทวกุล               37.0                    29.6                    14.9
4          นายแก้วสรร    อติโพธิ                  -                     4.4                     4.3
5          ผู้สมัครคนอื่นๆ                        9.3                     4.6                     1.8
          รวมทั้งสิ้น                          100.0                   100.0                     100

หมายเหตุ ค่าความคลาดเคลื่อน +/- ร้อยละ 7

ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งที่ตั้งใจจะเลือกเป็น ผู้ว่าฯ กทม. จำแนกตามความตั้งใจไปใช้สิทธิ
ลำดับที่          รายชื่อ ผู้สมัครรับเลือกตั้ง  คิดว่าจะไม่ไป    คิดว่าจะไป          ไป   ไปอย่างแน่นอน
1          ม.ร.ว.สุขุมพันธ์  บริพัตร            25.0        36.3        43.3          49.7
2          นายยุรนันท์   ภมรมนตรี             48.5        37.8        36.9          31.8
3          ม.ล.ณัฎฐกรณ์   เทวกุล             25.0        20.5        13.5          12.7
4          นายแก้วสรร    อติโพธิ              1.5         4.6         4.0           4.6
5          ผู้สมัครคนอื่นๆ                      0.0         0.8         2.3           1.2
          รวมทั้งสิ้น                        100.0       100.0       100.0         100.0

หมายเหตุ ค่าความคลาดเคลื่อน +/- ร้อยละ

ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งที่ตั้งใจจะเลือกเป็น ผู้ว่าฯ กทม. จำแนกตามเพศ
ลำดับที่          รายชื่อ ผู้สมัครรับเลือกตั้ง       ชาย           หญิง
1          ม.ร.ว.สุขุมพันธ์  บริพัตร          43.9          46.7
2          นายยุรนันท์   ภมรมนตรี           34.7          34.4
3          ม.ล.ณัฎฐกรณ์   เทวกุล           13.6          15.1
4          นายแก้วสรร    อติโพธิ            6.0           3.0
5          ผู้สมัครคนอื่นๆ                    1.8           1.8
          รวมทั้งสิ้น                      100.0         100.0

หมายเหตุ ค่าความคลาดเคลื่อน +/- ร้อยละ 7

ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งที่ตั้งใจจะเลือกเป็น ผู้ว่าฯ กทม. จำแนกตามช่วงอายุ
ลำดับที่          รายชื่อ ผู้สมัครรับเลือกตั้ง  ต่ำกว่า 20 ปี    20 — 29 ปี      30 — 39 ปี     40 — 49 ปี      50 ปีขึ้นไป
1          ม.ร.ว.สุขุมพันธ์  บริพัตร            26.5          36.2          45.5          45.9          51.3
2          นายยุรนันท์   ภมรมนตรี             47.1          40.3          32.4          35.6          31.3
3          ม.ล.ณัฎฐกรณ์   เทวกุล             17.4          18.2          14.8          12.7          12.0
4          นายแก้วสรร    อติโพธิ              1.9           3.6           5.8           4.5           3.9
5          ผู้สมัครคนอื่นๆ                      7.1           1.7           1.5           1.3           1.5
          รวมทั้งสิ้น                        100.0         100.0         100.0         100.0         100.0

หมายเหตุ ค่าความคลาดเคลื่อน +/- ร้อยละ 7

ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งที่ตั้งใจจะเลือกเป็น ผู้ว่าฯ กทม. จำแนกตามระดับการศึกษา
ลำดับที่          รายชื่อ ผู้สมัครรับเลือกตั้ง   ต่ำกว่าปริญญาตรี       ปริญญาตรี  สูงกว่าปริญญาตรี
1          ม.ร.ว.สุขุมพันธ์  บริพัตร               43.7          49.1          57.5
2          นายยุรนันท์   ภมรมนตรี                37.6          25.2          17.8
3          ม.ล.ณัฎฐกรณ์   เทวกุล                13.4          16.4          12.3
4          นายแก้วสรร    อติโพธิ                 3.6           6.8          11.0
5          ผู้สมัครคนอื่นๆ                         1.7           2.5           1.4
          รวมทั้งสิ้น                           100.0         100.0         100.0

หมายเหตุ ค่าความคลาดเคลื่อน +/- ร้อยละ 7

ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งที่ตั้งใจจะเลือกเป็น ผู้ว่าฯ กทม. จำแนกตามกลุ่มอาชีพ
ลำดับที่          รายชื่อ ผู้สมัครรับเลือกตั้ง  ข้าราชการรัฐวิสาหกิจ   พนักงานบริษัทเอกชน   ค้าขายส่วนตัว  นักเรียน นักศึกษา  รับจ้างใช้แรงงาน   แม่บ้านเกษียณอายุ
1          ม.ร.ว.สุขุมพันธ์  บริพัตร           41.8               44.4             50.0          28.3          38.5          49.7
2          นายยุรนันท์   ภมรมนตรี            35.3               28.6             30.8          43.4          42.7          35.0
3          ม.ล.ณัฎฐกรณ์   เทวกุล            16.4               17.1             13.0          19.9          12.7          13.0
4          นายแก้วสรร    อติโพธิ             5.0                7.1              4.7           2.4           4.2           1.7
5          ผู้สมัครคนอื่นๆ                     1.5                2.8              1.5           6.0           1.9           0.6
          รวมทั้งสิ้น                       100.0              100.0            100.0         100.0         100.0         100.0

หมายเหตุ ค่าความคลาดเคลื่อน +/- ร้อยละ 7

ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งที่ตั้งใจจะเลือกเป็น ผู้ว่าฯ กทม. จำแนกตามช่วงรายได้
ลำดับที่          รายชื่อ ผู้สมัครรับเลือกตั้ง  ไม่เกิน 5,000 บาท/เดือน   5,001—10,000 บ.  10,001—15,000 บ.  15,001—20,000 บ.  มากกว่า 20,000 บ.
1          ม.ร.ว.สุขุมพันธ์  บริพัตร              40.3                  42.0           39.1               50.5             57.4
2          นายยุรนันท์   ภมรมนตรี               43.1                  38.3           36.2               26.2             20.6
3          ม.ล.ณัฎฐกรณ์   เทวกุล               11.4                  14.3           16.2               15.6             13.5
4          นายแก้วสรร    อติโพธิ                2.7                   3.6            6.4                6.9              7.1
5          ผู้สมัครคนอื่นๆ                        2.5                   1.8            2.1                0.8              1.4
          รวมทั้งสิ้น                          100.0                 100.0          100.0              100.0            100.0

หมายเหตุ ค่าความคลาดเคลื่อน +/- ร้อยละ 7

ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ 10 อันดับปัญหาเร่งด่วนที่ต้องการให้ ผู้ว่าฯ กทม. คนใหม่เร่งแก้ไข (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่          ปัญหาเร่งด่วนที่ต้องการให้ผู้ว่าฯ กทม. คนใหม่เร่งแก้ไข             ค่าร้อยละ
1          ปัญหาปากท้อง ราคาสินค้า อาหารราคาสูง                             82.9
2          รถติด                                                        79.3
3          ปัญหาโจรผู้ร้าย ความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน                      64.1
4          ปัญหายาเสพติด                                                 63.3
5          ไม่มีที่จอดรถเพียงพอ                                             48.4
6          การจัดแผงขายของไม่เป็นระเบียบ                                   46.3
7          ความสกปรก ท่อตัน การระบายน้ำเสียไม่ดี น้ำท่วมขัง                     41.6
8          ปัญหาแก๊งอันธพาล และผู้มีอิทธิพล                                    31.7
9          ปัญหากับเจ้าหน้าที่ของรัฐเก็บเกี่ยวผลประโยชน์                          23.8
10         อื่นๆ เช่น สภาพตึก อาคารต่างๆ ที่ทรุดโทรม / แรงงานต่างด้าว / -
           โสเภณีตามสวนสาธารณะ / รถโดยสารจอดไม่ตรงป้าย เป็นต้น              21.5

--เอแบคโพลล์--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ