พระมโน เมตฺตานนฺโท ที่ปรึกษาชมรมชีวันตารักษ์ ร่วมกับ ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์
มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง "การเผชิญความจริงเมื่ออยู่ใกล้ความตายจากการเจ็บไข้ได้ป่วย: กรณีศึกษา
ประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล" ในครั้งนี้ได้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลจากประชาชนอายุ
18 ปีขึ้นไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวนทั้งสิ้น 1,772 ตัวอย่าง ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจในระหว่างวันที่
20-27 กันยายน 2549 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจในครั้งนี้ มีดังนี้
ดร.นพดล กล่าวว่า จากการสอบถามประชาชนว่านึกถึงอะไรเป็นอันดับแรกเมื่อพูดถึงความตาย ผลสำรวจพบว่า
ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 69.2 นึกถึงว่าเป็นเรื่องปกติที่ทุกคนต้องประสบหนีไม่พ้น รองลงมาคือร้อยละ 9.5 นึกว่าเป็นเรื่องที่น่า
กลัวไม่อยากให้เกิดขึ้นกับตนเองและคนใกล้ชิด ร้อยละ 6.1 นึกถึงการดับของสังขาร สภาพที่ร่างกายหมดอายุขัยสลายตัว ที่
เหลือนึกถึงเรื่องของการพลัดพรากอย่างถาวร นึกถึงสิ่งที่ต้องเตรียมพร้อมจะเผชิญอย่างดี และนึกถึงหนทางหลุดพ้นจาก
ทุกข์ เป็นต้น
เมื่อสอบถามถึงชีวิตในปัจจุบันอยู่ใกล้หรือไกลจากความตาย พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 89.6 ระบุชีวิตอยู่ใกล้กับ
ความตาย อาจเกิดขึ้นเมื่อไรก็ได้ ที่เหลืออีกร้อยละ 10.4 ระบุชีวิตอยู่ไกลจากความตาย เป็นเรื่องไกลตัว และเมื่อสอบถาม
กลุ่มตัวอย่างว่า กลัวความตายหรือไม่ พบว่า ส่วนใหญ่ คือ ร้อยละ 66.5 ระบุไม่กลัวความตาย และที่เหลืออีกร้อยละ 33.5
ระบุกลัวความตาย
ประเด็นต่อมา คณะผู้วิจัยได้สอบถามกลุ่มตัวอย่างเกี่ยวกับการที่ผู้ป่วยควรได้รับทราบอาการป่วยโรคร้ายแรงที่เกิด
ขึ้นกับตนเองจากแพทย์ผู้รักษาอย่างตรงไปตรงมานั้น พบว่า ส่วนใหญ่ คือ ร้อยละ 69.6 ระบุเห็นด้วย อีกร้อยละ 15.9
ระบุไม่เห็นด้วย และที่เหลือร้อยละ 14.5 ไม่มีความเห็น โดยผู้ที่ระบุว่า เห็นด้วยได้ให้เหตุผลใน 3 อันดับแรก ดังนี้ 1) จะได้
รีบรักษา เตรียมหาวิธีแก้ไข ดูแลตัวเองมากขึ้น ปฏิบัติตัวได้ถูกต้อง 2) ผู้ป่วยควรได้รับรู้ความจริง ไม่ปิดบัง และ 3) ผู้ป่วย
จะได้ทำใจ หรือเตรียมตัวรับความจริงให้ได้ ส่วนผู้ที่ระบุว่า ไม่เห็นด้วยได้ให้เหตุผล ดังนี้ 1) ผู้ป่วยอาจหมดกำลังใจ เสียใจ
ทำให้อาการทรุดหนัก 2) ผู้ป่วยอาจรับความจริงไม่ได้ ทำใจไม่ได้ และ 3) ให้คนในครอบครัวบอกดีกว่าให้แพทย์บอก
ในประเด็นเกี่ยวกับการให้ผู้ป่วยควรได้ตัดสินใจด้วยตนเองในการเลือกวิธีรักษาโรคร้ายแรงที่เกิดขึ้นโดยการแนะนำ
ของแพทย์อย่างใกล้ชิด พบว่า ส่วนใหญ่ คือ ร้อยละ 75.4 ระบุเห็นด้วย อีกร้อยละ 8.0 ระบุไม่เห็นด้วย และที่เหลือร้อยละ
16.6 ไม่มีความเห็น โดยผู้ที่ระบุว่า เห็นด้วยได้ให้เหตุผลใน 3 อันดับแรก ดังนี้ 1) ชีวิตเป็นของตนเอง ควรตัดสินใจเอง
ควรเป็นผู้รับผิดชอบตัวเอง 2) แพทย์เป็นผู้เชี่ยวชาญ คอยให้คำแนะนำอย่างใกล้ชิดอยู่แล้ว และ 3) สามารถปฏิบัติตัวได้
อย่างถูกต้อง รู้ว่า ควรทำอย่างไร ส่วนผู้ที่ระบุว่า ไม่เห็นด้วยได้ให้เหตุผล ดังนี้ 1) น่าจะให้แพทย์เป็นผู้เลือกวิธีการรักษาให้
ให้แพทย์ตัดสินใจ 2) คนไข้อาจไม่มีความพร้อมหรือไม่มีความรู้มากพอ และ 3) แพทย์หรือญาติควรดูแลอย่างใกล้ชิด
เมื่อสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับการให้ผู้ป่วยได้เผชิญกับความจริงและได้ตัดสินใจด้วยตนเองในการเลือกวิธี
รักษาโรคร้ายแรงที่เกิดขึ้น โดยการแนะนำของแพทย์อย่างใกล้ชิด จะเป็นประโยชน์ต่อการรักษาผู้ป่วยในประเด็นต่างๆ
พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 93.1 เห็นว่าจะช่วยให้ผู้ป่วยตระหนักในคุณค่าของตนเองมากขึ้น ร้อยละ 92.8
ป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยปล่อยชีวิตให้ล่องลอย เอาใจใส่ดูแลตนเองมากขึ้น ร้อยละ 92.6 เห็นว่าเป็นการส่งเสริมให้ผู้ป่วยเป็นตัว
ของตัวเองและสามารถช่วยตัวเองได้ ร้อยละ 92.5 เห็นว่าจะช่วยให้ผู้ป่วยรู้จักพิจารณาว่า สิ่งใดถูกหรือผิด สิ่งใดควรทำ
หรือไม่ควรทำ ร้อยละ 92.2 เห็นว่าจะช่วยให้ผู้ป่วยรู้จักตนเองและเข้าใจว่าตนเองต้องการอะไรในชีวิต ร้อยละ 89.6 เห็นว่า
จะช่วยให้ผู้ป่วยมีส่วนรับผิดชอบชีวิตและคิดแก้ปัญหาโดยพิจารณาความเป็นจริง และร้อยละ 89.0 เห็นว่าจะช่วยให้ผู้ป่วย
ตอบสนองความต้องการของตนเองอย่างมีประสิทธิภาพ
สำหรับความเชื่อของกลุ่มตัวอย่างต่อการให้ผู้ป่วยได้เผชิญกับความจริงและได้ตัดสินใจด้วยตนเองในการเลือกวิธี
รักษาโรคร้ายแรงที่เกิดขึ้น โดยการแนะนำของแพทย์อย่างใกล้ชิด จะเป็นประโยชน์ในการรักษาผู้ป่วยให้มีประสิทธิภาพมาก
ยิ่งขึ้น พบว่า ส่วนใหญ่ คือ ร้อยละ 85.4 ระบุเชื่ออีกร้อยละ 6.3 ระบุไม่เชื่อ และที่เหลือร้อยละ 8.3 ไม่มีความเห็น
ในประเด็นสุดท้ายได้สอบถามข้อเสนอแนะของกลุ่มตัวอย่างเกี่ยวกับการดูแลช่วยเหลือทางด้านจิตใจหรือจิต
วิญญาณของผู้ป่วยโรคร้ายแรง นอกจากการรักษาด้านร่างกายแล้ว พบว่า ข้อเสนอแนะใน 5 อันดับแรกมีดังนี้ 1) ไม่พูดหรือ
ทำสิ่งที่บั่นทอนกำลังใจผู้ป่วย 2) ต้องให้ความรัก การดูแลเอาใจใส่ และกำลังใจแก่ผู้ป่วย 3) ใช้หลักธรรมในศาสนาบรรเทา
ใจผู้ป่วย แนะนำให้ผู้ป่วยยึดธรรมมะในการดำเนินชีวิต 4) ให้ผู้ป่วยทำใจให้สบาย รู้จักปล่อยวางและปลง และ 5) พูดคุยกับ
ผู้ป่วย
นอกจากนี้ พระมโน เมตฺตานนฺโท ที่ปรึกษาชมรมชีวันตารักษ์ กล่าวว่า การสำรวจครั้งนี้ให้ข้อมูลที่สำคัญในการ
พัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน โดยเฉพาะในเรื่องของการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย ซึ่งมีศัพท์เทคนิคทางการแพทย์ว่า
Palliative Care ซึ่งในภาษาไทยเป็นที่รู้จักกันในนามของ "ชีวันตารักษ์" เป็นระบบการดูแลแบบองค์รวม โดยมีผู้ป่วยเป็น
ศูนย์กลางของการเอาใจใส่ดูแลทั้งในมิติของร่างกาย จิตใจ จิตวิญญาณ สังคม ครอบครัว จารีตประเพณี และฐานะทาง
เศรษฐกิจ เพื่อให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตสูงสุด ภายใต้องค์คณะของบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข การดูแลในระบบนี้
ในปัจจุบันยังไม่เป็นที่ทราบกันในหมู่ประชาชน และบุคลากรทางการแพทย์ในประเทศไทย และเพิ่งได้รับการบรรจุใน
หลักสูตรวิชาแพทย์ศาสตร์ และพยาบาลศาสตร์ของคณะแพทยศาสตร์และวิทยาลัยพยาบาลชั้นนำในประเทศไม่นานมานี้
"ระบบการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบนี้ ขึ้นอยู่กับค่านิยมทางวัฒนธรรมและทัศนคติของประชาชนในสังคมเป็น
อย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง จุดเริ่มต้นของการดูแลที่เริ่มจากการแจ้งข่าวให้ผู้ป่วยทราบว่าเป็นโรคที่ไม่อาจรักษาให้หายขาด
ได้ จนถึงการแนะนำแนวทางเผชิญความจริงของความตายให้ผู้ป่วยบนพื้นฐานความเป็นจริงที่ผู้ป่วยและคนใกล้ชิดยอมรับ
ร่วมกัน" พระเมตตากล่าว
โปรดพิจารณารายละเอียดของโครงการสำรวจ
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. เพื่อสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับความตายและการเผชิญความจริงในกรณีเจ็บป่วยร้ายแรงในประเด็นต่างๆ
2. เพื่อสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับการพัฒนาคุณภาพการรักษาผู้ป่วยโรคร้ายแรงในประเด็นต่างๆ
3. เพื่อนำข้อมูลและข้อเสนอแนะที่ได้เป็นแนวทางในการพัฒนาคุณภาพการรักษาผู้ป่วยโรคร้ายแรงให้ดียิ่งขึ้น
4. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการดำเนินโครงการ
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง "การเผชิญความจริงเมื่ออยู่ใกล้ความตาย
จากการเจ็บไข้ได้ป่วย : กรณีศึกษาประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล" ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจ
ในระหว่างวันที่ 20-27 กันยายน 2549
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่าง
ให้สอดคล้องกับประชากรเป้าหมายจากการทำสำมะโน
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 1,772 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์ และตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามก่อนนำเข้าวิเคราะห์
ข้อมูลและงบประมาณทั้งสิ้นเป็นของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 62.0 ระบุเป็นหญิง
ในขณะที่ร้อยละ 38.0 ระบุ เป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 7.8 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 24.8 อายุระหว่าง 21--30 ปี
ร้อยละ 21.7 อายุระหว่าง 31--40 ปี
ร้อยละ 20.6 อายุระหว่าง 41-50 ปี
และร้อยละ 25.1 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 76.0 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 22.3 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 1.7 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ด้านสถานภาพ ตัวอย่าง ร้อยละ 56.3 ระบุสถานภาพสมรส
ร้อยละ 36.6 ระบุสถานภาพโสด
และร้อยละ 7.1 ระบุสถานภาพม่าย/หย่าร้าง
ตัวอย่าง ร้อยละ 39.1 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 17.2 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ
ร้อยละ 14.8 ระบุอาชีพพนักงาน/ลูกจ้างเอกชน
ร้อยละ 12.8 ระบุอาชีพรับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 8.6 เป็นนักเรียน/นักศึกษา
ร้อยละ 3.8 ระบุอาชีพข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 0.2 ระบุอาชีพเกษตรกร
และร้อยละ 3.5 ระบุว่างงาน
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบ
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความหมายของความตายในทัศนคติของตนเอง
ลำดับที่ ความหมายของความตายในทัศนคติของตนเอง ค่าร้อยละ
1 เรื่องปกติที่ทุกคนต้องประสบ หลีกเลี่ยงหรือหนีไม่พ้น 69.2
2 เรื่องน่ากลัวที่ไม่อยากให้เกิดขึ้นกับตัวเองหรือคนใกล้ชิด 9.5
3 ร่างกายหมดอายุขัยการใช้งาน ร่างกายสลายตัว 6.1
4 การพลัดพรากอย่างถาวร การสูญสิ้นตลอดไป 5.1
5 สิ่งที่ต้องเตรียมพร้อมที่จะเผชิญอย่างดี ไม่ประมาท 4.3
6 หนทางหลุดพ้นจากความทุกข์ ความเจ็บปวดทรมาน 3.1
7 การกลับไปหาพระเจ้า กลับคืนสู่สภาพเดิม 1.4
8 การลาจากโลกมนุษย์และการเกิดใหม่ในโลกหลังความตาย 1.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นกรณีชีวิตในปัจจุบันกับความใกล้หรือไกลจากความตาย
ลำดับที่ ชีวิตในปัจจุบันกับความใกล้หรือไกลจากความตาย ค่าร้อยละ
1 ชีวิตอยู่ใกล้กับความตาย อาจเกิดขึ้นเมื่อไรก็ได้ 89.6
2 ชีวิตอยู่ไกลจากความตาย เป็นเรื่องไกลตัว 10.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความกลัวต่อความตาย
ลำดับที่ ความกลัวต่อความตาย ค่าร้อยละ
1 กลัวความตาย 33.5
2 ไม่กลัวความตาย 66.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อการที่ผู้ป่วยควรได้รับทราบอาการป่วยโรคร้ายแรงที่เกิดขึ้นกับตนเอง
จากแพทย์ผู้รักษาอย่างตรงไปตรงมา
ลำดับที่ ความคิดเห็นของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วย 69.6
2 ไม่เห็นด้วย 15.9
3 ไม่มีความเห็น 14.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
เหตุผลที่ "เห็นด้วย" ต่อการที่ผู้ป่วยควรได้รับทราบอาการป่วยโรคร้ายแรงที่เกิดขึ้นกับตนเองจากแพทย์ผู้รักษาอย่างตรงไปตรงมา ได้แก่
1. จะได้รีบรักษา เตรียมหาวิธีแก้ไข ดูแลตัวเองมากขึ้น ปฏิบัติตัวได้ถูกต้อง
2. ผู้ป่วยควรได้รับรู้ความจริง ไม่ปิดบัง
3. ผู้ป่วยจะได้ทำใจ หรือเตรียมตัวรับความจริงให้ได้
เหตุผลที่ "ไม่เห็นด้วย" ต่อการที่ผู้ป่วยควรได้รับทราบอาการป่วยโรคร้ายแรงที่เกิดขึ้นกับตนเองจากแพทย์ผู้รักษาอย่างตรงไปตรงมา ได้แก่
1. ผู้ป่วยอาจหมดกำลังใจ เสียใจ ทำให้อาการทรุดหนัก
2. ผู้ป่วยอาจรับความจริงไม่ได้ ทำใจไม่ได้
3. ให้คนในครอบครัวบอกดีกว่าให้แพทย์บอก
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อการให้ผู้ป่วยควรได้ตัดสินใจด้วยตนเองในการเลือกวิธีรักษาโรคร้ายแรง
ที่เกิดขึ้นโดยการแนะนำของแพทย์อย่างใกล้ชิด
ลำดับที่ ความคิดเห็นของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วย 75.4
2 ไม่เห็นด้วย 8.0
3 ไม่มีความเห็น 16.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
เหตุผลที่ "เห็นด้วย" ต่อการให้ผู้ป่วยควรได้ตัดสินใจด้วยตนเองในการเลือกวิธีรักษาโรคร้ายแรงที่เกิดขึ้นโดยการ
แนะนำของแพทย์อย่างใกล้ชิด ได้แก่
1. ชีวิตเป็นของตนเอง ควรตัดสินใจเอง ควรเป็นผู้รับผิดชอบตัวเอง
2. แพทย์เป็นผู้เชี่ยวชาญ คอยให้คำแนะนำอย่างใกล้ชิดอยู่แล้ว
3. สามารถปฏิบัติตัวได้อย่างถูกต้อง รู้ว่า ควรทำอย่างไร
เหตุผลที่ "ไม่เห็นด้วย" ต่อการให้ผู้ป่วยควรได้ตัดสินใจด้วยตนเองในการเลือกวิธีรักษาโรคร้ายแรงที่เกิดขึ้นโดย
การแนะนำของแพทย์อย่างใกล้ชิด ได้แก่
1. น่าจะให้แพทย์เป็นผู้เลือกวิธีการรักษาให้ ให้แพทย์ตัดสินใจ
2. คนไข้อาจไม่มีความพร้อมหรือไม่มีความรู้มากพอ
3. แพทย์หรือญาติควรดูแลอย่างใกล้ชิด
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุประโยชน์ที่น่าจะเกิดขึ้นจากการให้ผู้ป่วยได้เผชิญกับความจริงและได้
ตัดสินใจด้วยตนเองในการเลือกวิธีรักษาโรคร้ายแรงที่เกิดขึ้น โดยการแนะนำของแพทย์อย่างใกล้ชิด
ลำดับที่ ประโยชน์ที่น่าจะเกิดขึ้นจากการให้ผู้ป่วยเผชิญความจริง ค่าร้อยละ
และตัดสินใจด้วยตนเอง
1 ช่วยให้ผู้ป่วยตระหนักในคุณค่าของตนเองมากขึ้น 93.1
2 ช่วยป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยปล่อยชีวิตให้ล่องลอย เอาใจใส่ดูแลตนเองมากขึ้น 92.8
3 ส่งเสริมให้ผู้ป่วยเป็นตัวของตัวเองและสามารถช่วยตัวเองได้ 92.6
4 ช่วยให้ผู้ป่วยรู้จักพิจารณาว่า สิ่งใดถูกหรือผิด สิ่งใดควรทำหรือไม่ควรทำ 92.5
5 ช่วยให้ผู้ป่วยรู้จักตนเองและเข้าใจว่าตนเองต้องการอะไรในชีวิต 92.2
6 ให้ผู้ป่วยมีส่วนรับผิดชอบชีวิตและคิดแก้ปัญหาโดยพิจารณาความเป็นจริง 89.6
7 ช่วยให้ผู้ป่วยตอบสนองความต้องการของตนเองอย่างมีประสิทธิภาพ 89.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความเชื่อต่อการให้ผู้ป่วยควรได้ตัดสินใจด้วยตนเองในการเลือกวิธีรักษา
โรคร้ายแรงที่เกิดขึ้นโดยการแนะนำของแพทย์อย่างใกล้ชิด จะเป็นประโยชน์ในการรักษาผู้ป่วยให้มี
ประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ลำดับที่ ความเชื่อของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 เชื่อ 85.4
2 ไม่เชื่อ 6.3
3 ไม่มีความเห็น 8.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการช่วยเหลือดูแลด้านจิตใจหรือจิตวิญญาณของผู้ป่วยโรคร้ายแรง
นอกจากการรักษาทางด้านร่างกาย (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ การช่วยเหลือดูแลด้านจิตใจหรือจิตวิญญาณของผู้ป่วยโรคร้ายแรง ค่าร้อยละ
1 ไม่พูดหรือทำสิ่งที่บั่นทอนกำลังใจผู้ป่วย 45.6
2 ต้องให้ความรัก การดูแลเอาใจใส่ และกำลังใจแก่ผู้ป่วย 33.5
3 ใช้หลักธรรมในศาสนาบรรเทาใจผู้ป่วย แนะนำให้ผู้ป่วยยึดธรรมมะในการ 14.6
ดำเนินชีวิต
4 ให้ผู้ป่วยทำใจให้สบาย รู้จักปล่อยวางและปลง 8.3
5 พูดคุยกับผู้ป่วย 6.2
6 ให้ผู้ป่วยยอมรับความจริง กล้าเผชิญกับความจริงอย่างกล้าหาญ 5.1
7 ให้ความร่วมมือกับแพทย์ผู้รักษาอย่างดี 5.1
8 ชวนผู้ป่วยทำกิจกรรมที่สร้างสรรค์ เช่น ออกกำลังกาย ทำบุญตักบาตร 5.0
9 ทำตามใจผู้ป่วย 1.9
10 พาผู้ป่วยไปพักผ่อนนอกสถานที่ 1.5
11 รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ 0.4
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50 www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-
มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง "การเผชิญความจริงเมื่ออยู่ใกล้ความตายจากการเจ็บไข้ได้ป่วย: กรณีศึกษา
ประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล" ในครั้งนี้ได้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลจากประชาชนอายุ
18 ปีขึ้นไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวนทั้งสิ้น 1,772 ตัวอย่าง ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจในระหว่างวันที่
20-27 กันยายน 2549 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจในครั้งนี้ มีดังนี้
ดร.นพดล กล่าวว่า จากการสอบถามประชาชนว่านึกถึงอะไรเป็นอันดับแรกเมื่อพูดถึงความตาย ผลสำรวจพบว่า
ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 69.2 นึกถึงว่าเป็นเรื่องปกติที่ทุกคนต้องประสบหนีไม่พ้น รองลงมาคือร้อยละ 9.5 นึกว่าเป็นเรื่องที่น่า
กลัวไม่อยากให้เกิดขึ้นกับตนเองและคนใกล้ชิด ร้อยละ 6.1 นึกถึงการดับของสังขาร สภาพที่ร่างกายหมดอายุขัยสลายตัว ที่
เหลือนึกถึงเรื่องของการพลัดพรากอย่างถาวร นึกถึงสิ่งที่ต้องเตรียมพร้อมจะเผชิญอย่างดี และนึกถึงหนทางหลุดพ้นจาก
ทุกข์ เป็นต้น
เมื่อสอบถามถึงชีวิตในปัจจุบันอยู่ใกล้หรือไกลจากความตาย พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 89.6 ระบุชีวิตอยู่ใกล้กับ
ความตาย อาจเกิดขึ้นเมื่อไรก็ได้ ที่เหลืออีกร้อยละ 10.4 ระบุชีวิตอยู่ไกลจากความตาย เป็นเรื่องไกลตัว และเมื่อสอบถาม
กลุ่มตัวอย่างว่า กลัวความตายหรือไม่ พบว่า ส่วนใหญ่ คือ ร้อยละ 66.5 ระบุไม่กลัวความตาย และที่เหลืออีกร้อยละ 33.5
ระบุกลัวความตาย
ประเด็นต่อมา คณะผู้วิจัยได้สอบถามกลุ่มตัวอย่างเกี่ยวกับการที่ผู้ป่วยควรได้รับทราบอาการป่วยโรคร้ายแรงที่เกิด
ขึ้นกับตนเองจากแพทย์ผู้รักษาอย่างตรงไปตรงมานั้น พบว่า ส่วนใหญ่ คือ ร้อยละ 69.6 ระบุเห็นด้วย อีกร้อยละ 15.9
ระบุไม่เห็นด้วย และที่เหลือร้อยละ 14.5 ไม่มีความเห็น โดยผู้ที่ระบุว่า เห็นด้วยได้ให้เหตุผลใน 3 อันดับแรก ดังนี้ 1) จะได้
รีบรักษา เตรียมหาวิธีแก้ไข ดูแลตัวเองมากขึ้น ปฏิบัติตัวได้ถูกต้อง 2) ผู้ป่วยควรได้รับรู้ความจริง ไม่ปิดบัง และ 3) ผู้ป่วย
จะได้ทำใจ หรือเตรียมตัวรับความจริงให้ได้ ส่วนผู้ที่ระบุว่า ไม่เห็นด้วยได้ให้เหตุผล ดังนี้ 1) ผู้ป่วยอาจหมดกำลังใจ เสียใจ
ทำให้อาการทรุดหนัก 2) ผู้ป่วยอาจรับความจริงไม่ได้ ทำใจไม่ได้ และ 3) ให้คนในครอบครัวบอกดีกว่าให้แพทย์บอก
ในประเด็นเกี่ยวกับการให้ผู้ป่วยควรได้ตัดสินใจด้วยตนเองในการเลือกวิธีรักษาโรคร้ายแรงที่เกิดขึ้นโดยการแนะนำ
ของแพทย์อย่างใกล้ชิด พบว่า ส่วนใหญ่ คือ ร้อยละ 75.4 ระบุเห็นด้วย อีกร้อยละ 8.0 ระบุไม่เห็นด้วย และที่เหลือร้อยละ
16.6 ไม่มีความเห็น โดยผู้ที่ระบุว่า เห็นด้วยได้ให้เหตุผลใน 3 อันดับแรก ดังนี้ 1) ชีวิตเป็นของตนเอง ควรตัดสินใจเอง
ควรเป็นผู้รับผิดชอบตัวเอง 2) แพทย์เป็นผู้เชี่ยวชาญ คอยให้คำแนะนำอย่างใกล้ชิดอยู่แล้ว และ 3) สามารถปฏิบัติตัวได้
อย่างถูกต้อง รู้ว่า ควรทำอย่างไร ส่วนผู้ที่ระบุว่า ไม่เห็นด้วยได้ให้เหตุผล ดังนี้ 1) น่าจะให้แพทย์เป็นผู้เลือกวิธีการรักษาให้
ให้แพทย์ตัดสินใจ 2) คนไข้อาจไม่มีความพร้อมหรือไม่มีความรู้มากพอ และ 3) แพทย์หรือญาติควรดูแลอย่างใกล้ชิด
เมื่อสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับการให้ผู้ป่วยได้เผชิญกับความจริงและได้ตัดสินใจด้วยตนเองในการเลือกวิธี
รักษาโรคร้ายแรงที่เกิดขึ้น โดยการแนะนำของแพทย์อย่างใกล้ชิด จะเป็นประโยชน์ต่อการรักษาผู้ป่วยในประเด็นต่างๆ
พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 93.1 เห็นว่าจะช่วยให้ผู้ป่วยตระหนักในคุณค่าของตนเองมากขึ้น ร้อยละ 92.8
ป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยปล่อยชีวิตให้ล่องลอย เอาใจใส่ดูแลตนเองมากขึ้น ร้อยละ 92.6 เห็นว่าเป็นการส่งเสริมให้ผู้ป่วยเป็นตัว
ของตัวเองและสามารถช่วยตัวเองได้ ร้อยละ 92.5 เห็นว่าจะช่วยให้ผู้ป่วยรู้จักพิจารณาว่า สิ่งใดถูกหรือผิด สิ่งใดควรทำ
หรือไม่ควรทำ ร้อยละ 92.2 เห็นว่าจะช่วยให้ผู้ป่วยรู้จักตนเองและเข้าใจว่าตนเองต้องการอะไรในชีวิต ร้อยละ 89.6 เห็นว่า
จะช่วยให้ผู้ป่วยมีส่วนรับผิดชอบชีวิตและคิดแก้ปัญหาโดยพิจารณาความเป็นจริง และร้อยละ 89.0 เห็นว่าจะช่วยให้ผู้ป่วย
ตอบสนองความต้องการของตนเองอย่างมีประสิทธิภาพ
สำหรับความเชื่อของกลุ่มตัวอย่างต่อการให้ผู้ป่วยได้เผชิญกับความจริงและได้ตัดสินใจด้วยตนเองในการเลือกวิธี
รักษาโรคร้ายแรงที่เกิดขึ้น โดยการแนะนำของแพทย์อย่างใกล้ชิด จะเป็นประโยชน์ในการรักษาผู้ป่วยให้มีประสิทธิภาพมาก
ยิ่งขึ้น พบว่า ส่วนใหญ่ คือ ร้อยละ 85.4 ระบุเชื่ออีกร้อยละ 6.3 ระบุไม่เชื่อ และที่เหลือร้อยละ 8.3 ไม่มีความเห็น
ในประเด็นสุดท้ายได้สอบถามข้อเสนอแนะของกลุ่มตัวอย่างเกี่ยวกับการดูแลช่วยเหลือทางด้านจิตใจหรือจิต
วิญญาณของผู้ป่วยโรคร้ายแรง นอกจากการรักษาด้านร่างกายแล้ว พบว่า ข้อเสนอแนะใน 5 อันดับแรกมีดังนี้ 1) ไม่พูดหรือ
ทำสิ่งที่บั่นทอนกำลังใจผู้ป่วย 2) ต้องให้ความรัก การดูแลเอาใจใส่ และกำลังใจแก่ผู้ป่วย 3) ใช้หลักธรรมในศาสนาบรรเทา
ใจผู้ป่วย แนะนำให้ผู้ป่วยยึดธรรมมะในการดำเนินชีวิต 4) ให้ผู้ป่วยทำใจให้สบาย รู้จักปล่อยวางและปลง และ 5) พูดคุยกับ
ผู้ป่วย
นอกจากนี้ พระมโน เมตฺตานนฺโท ที่ปรึกษาชมรมชีวันตารักษ์ กล่าวว่า การสำรวจครั้งนี้ให้ข้อมูลที่สำคัญในการ
พัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน โดยเฉพาะในเรื่องของการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย ซึ่งมีศัพท์เทคนิคทางการแพทย์ว่า
Palliative Care ซึ่งในภาษาไทยเป็นที่รู้จักกันในนามของ "ชีวันตารักษ์" เป็นระบบการดูแลแบบองค์รวม โดยมีผู้ป่วยเป็น
ศูนย์กลางของการเอาใจใส่ดูแลทั้งในมิติของร่างกาย จิตใจ จิตวิญญาณ สังคม ครอบครัว จารีตประเพณี และฐานะทาง
เศรษฐกิจ เพื่อให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตสูงสุด ภายใต้องค์คณะของบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข การดูแลในระบบนี้
ในปัจจุบันยังไม่เป็นที่ทราบกันในหมู่ประชาชน และบุคลากรทางการแพทย์ในประเทศไทย และเพิ่งได้รับการบรรจุใน
หลักสูตรวิชาแพทย์ศาสตร์ และพยาบาลศาสตร์ของคณะแพทยศาสตร์และวิทยาลัยพยาบาลชั้นนำในประเทศไม่นานมานี้
"ระบบการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบนี้ ขึ้นอยู่กับค่านิยมทางวัฒนธรรมและทัศนคติของประชาชนในสังคมเป็น
อย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง จุดเริ่มต้นของการดูแลที่เริ่มจากการแจ้งข่าวให้ผู้ป่วยทราบว่าเป็นโรคที่ไม่อาจรักษาให้หายขาด
ได้ จนถึงการแนะนำแนวทางเผชิญความจริงของความตายให้ผู้ป่วยบนพื้นฐานความเป็นจริงที่ผู้ป่วยและคนใกล้ชิดยอมรับ
ร่วมกัน" พระเมตตากล่าว
โปรดพิจารณารายละเอียดของโครงการสำรวจ
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. เพื่อสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับความตายและการเผชิญความจริงในกรณีเจ็บป่วยร้ายแรงในประเด็นต่างๆ
2. เพื่อสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับการพัฒนาคุณภาพการรักษาผู้ป่วยโรคร้ายแรงในประเด็นต่างๆ
3. เพื่อนำข้อมูลและข้อเสนอแนะที่ได้เป็นแนวทางในการพัฒนาคุณภาพการรักษาผู้ป่วยโรคร้ายแรงให้ดียิ่งขึ้น
4. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการดำเนินโครงการ
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง "การเผชิญความจริงเมื่ออยู่ใกล้ความตาย
จากการเจ็บไข้ได้ป่วย : กรณีศึกษาประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล" ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจ
ในระหว่างวันที่ 20-27 กันยายน 2549
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่าง
ให้สอดคล้องกับประชากรเป้าหมายจากการทำสำมะโน
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 1,772 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์ และตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามก่อนนำเข้าวิเคราะห์
ข้อมูลและงบประมาณทั้งสิ้นเป็นของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 62.0 ระบุเป็นหญิง
ในขณะที่ร้อยละ 38.0 ระบุ เป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 7.8 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 24.8 อายุระหว่าง 21--30 ปี
ร้อยละ 21.7 อายุระหว่าง 31--40 ปี
ร้อยละ 20.6 อายุระหว่าง 41-50 ปี
และร้อยละ 25.1 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 76.0 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 22.3 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 1.7 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ด้านสถานภาพ ตัวอย่าง ร้อยละ 56.3 ระบุสถานภาพสมรส
ร้อยละ 36.6 ระบุสถานภาพโสด
และร้อยละ 7.1 ระบุสถานภาพม่าย/หย่าร้าง
ตัวอย่าง ร้อยละ 39.1 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 17.2 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ
ร้อยละ 14.8 ระบุอาชีพพนักงาน/ลูกจ้างเอกชน
ร้อยละ 12.8 ระบุอาชีพรับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 8.6 เป็นนักเรียน/นักศึกษา
ร้อยละ 3.8 ระบุอาชีพข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 0.2 ระบุอาชีพเกษตรกร
และร้อยละ 3.5 ระบุว่างงาน
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบ
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความหมายของความตายในทัศนคติของตนเอง
ลำดับที่ ความหมายของความตายในทัศนคติของตนเอง ค่าร้อยละ
1 เรื่องปกติที่ทุกคนต้องประสบ หลีกเลี่ยงหรือหนีไม่พ้น 69.2
2 เรื่องน่ากลัวที่ไม่อยากให้เกิดขึ้นกับตัวเองหรือคนใกล้ชิด 9.5
3 ร่างกายหมดอายุขัยการใช้งาน ร่างกายสลายตัว 6.1
4 การพลัดพรากอย่างถาวร การสูญสิ้นตลอดไป 5.1
5 สิ่งที่ต้องเตรียมพร้อมที่จะเผชิญอย่างดี ไม่ประมาท 4.3
6 หนทางหลุดพ้นจากความทุกข์ ความเจ็บปวดทรมาน 3.1
7 การกลับไปหาพระเจ้า กลับคืนสู่สภาพเดิม 1.4
8 การลาจากโลกมนุษย์และการเกิดใหม่ในโลกหลังความตาย 1.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นกรณีชีวิตในปัจจุบันกับความใกล้หรือไกลจากความตาย
ลำดับที่ ชีวิตในปัจจุบันกับความใกล้หรือไกลจากความตาย ค่าร้อยละ
1 ชีวิตอยู่ใกล้กับความตาย อาจเกิดขึ้นเมื่อไรก็ได้ 89.6
2 ชีวิตอยู่ไกลจากความตาย เป็นเรื่องไกลตัว 10.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความกลัวต่อความตาย
ลำดับที่ ความกลัวต่อความตาย ค่าร้อยละ
1 กลัวความตาย 33.5
2 ไม่กลัวความตาย 66.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อการที่ผู้ป่วยควรได้รับทราบอาการป่วยโรคร้ายแรงที่เกิดขึ้นกับตนเอง
จากแพทย์ผู้รักษาอย่างตรงไปตรงมา
ลำดับที่ ความคิดเห็นของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วย 69.6
2 ไม่เห็นด้วย 15.9
3 ไม่มีความเห็น 14.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
เหตุผลที่ "เห็นด้วย" ต่อการที่ผู้ป่วยควรได้รับทราบอาการป่วยโรคร้ายแรงที่เกิดขึ้นกับตนเองจากแพทย์ผู้รักษาอย่างตรงไปตรงมา ได้แก่
1. จะได้รีบรักษา เตรียมหาวิธีแก้ไข ดูแลตัวเองมากขึ้น ปฏิบัติตัวได้ถูกต้อง
2. ผู้ป่วยควรได้รับรู้ความจริง ไม่ปิดบัง
3. ผู้ป่วยจะได้ทำใจ หรือเตรียมตัวรับความจริงให้ได้
เหตุผลที่ "ไม่เห็นด้วย" ต่อการที่ผู้ป่วยควรได้รับทราบอาการป่วยโรคร้ายแรงที่เกิดขึ้นกับตนเองจากแพทย์ผู้รักษาอย่างตรงไปตรงมา ได้แก่
1. ผู้ป่วยอาจหมดกำลังใจ เสียใจ ทำให้อาการทรุดหนัก
2. ผู้ป่วยอาจรับความจริงไม่ได้ ทำใจไม่ได้
3. ให้คนในครอบครัวบอกดีกว่าให้แพทย์บอก
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อการให้ผู้ป่วยควรได้ตัดสินใจด้วยตนเองในการเลือกวิธีรักษาโรคร้ายแรง
ที่เกิดขึ้นโดยการแนะนำของแพทย์อย่างใกล้ชิด
ลำดับที่ ความคิดเห็นของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วย 75.4
2 ไม่เห็นด้วย 8.0
3 ไม่มีความเห็น 16.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
เหตุผลที่ "เห็นด้วย" ต่อการให้ผู้ป่วยควรได้ตัดสินใจด้วยตนเองในการเลือกวิธีรักษาโรคร้ายแรงที่เกิดขึ้นโดยการ
แนะนำของแพทย์อย่างใกล้ชิด ได้แก่
1. ชีวิตเป็นของตนเอง ควรตัดสินใจเอง ควรเป็นผู้รับผิดชอบตัวเอง
2. แพทย์เป็นผู้เชี่ยวชาญ คอยให้คำแนะนำอย่างใกล้ชิดอยู่แล้ว
3. สามารถปฏิบัติตัวได้อย่างถูกต้อง รู้ว่า ควรทำอย่างไร
เหตุผลที่ "ไม่เห็นด้วย" ต่อการให้ผู้ป่วยควรได้ตัดสินใจด้วยตนเองในการเลือกวิธีรักษาโรคร้ายแรงที่เกิดขึ้นโดย
การแนะนำของแพทย์อย่างใกล้ชิด ได้แก่
1. น่าจะให้แพทย์เป็นผู้เลือกวิธีการรักษาให้ ให้แพทย์ตัดสินใจ
2. คนไข้อาจไม่มีความพร้อมหรือไม่มีความรู้มากพอ
3. แพทย์หรือญาติควรดูแลอย่างใกล้ชิด
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุประโยชน์ที่น่าจะเกิดขึ้นจากการให้ผู้ป่วยได้เผชิญกับความจริงและได้
ตัดสินใจด้วยตนเองในการเลือกวิธีรักษาโรคร้ายแรงที่เกิดขึ้น โดยการแนะนำของแพทย์อย่างใกล้ชิด
ลำดับที่ ประโยชน์ที่น่าจะเกิดขึ้นจากการให้ผู้ป่วยเผชิญความจริง ค่าร้อยละ
และตัดสินใจด้วยตนเอง
1 ช่วยให้ผู้ป่วยตระหนักในคุณค่าของตนเองมากขึ้น 93.1
2 ช่วยป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยปล่อยชีวิตให้ล่องลอย เอาใจใส่ดูแลตนเองมากขึ้น 92.8
3 ส่งเสริมให้ผู้ป่วยเป็นตัวของตัวเองและสามารถช่วยตัวเองได้ 92.6
4 ช่วยให้ผู้ป่วยรู้จักพิจารณาว่า สิ่งใดถูกหรือผิด สิ่งใดควรทำหรือไม่ควรทำ 92.5
5 ช่วยให้ผู้ป่วยรู้จักตนเองและเข้าใจว่าตนเองต้องการอะไรในชีวิต 92.2
6 ให้ผู้ป่วยมีส่วนรับผิดชอบชีวิตและคิดแก้ปัญหาโดยพิจารณาความเป็นจริง 89.6
7 ช่วยให้ผู้ป่วยตอบสนองความต้องการของตนเองอย่างมีประสิทธิภาพ 89.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความเชื่อต่อการให้ผู้ป่วยควรได้ตัดสินใจด้วยตนเองในการเลือกวิธีรักษา
โรคร้ายแรงที่เกิดขึ้นโดยการแนะนำของแพทย์อย่างใกล้ชิด จะเป็นประโยชน์ในการรักษาผู้ป่วยให้มี
ประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ลำดับที่ ความเชื่อของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 เชื่อ 85.4
2 ไม่เชื่อ 6.3
3 ไม่มีความเห็น 8.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการช่วยเหลือดูแลด้านจิตใจหรือจิตวิญญาณของผู้ป่วยโรคร้ายแรง
นอกจากการรักษาทางด้านร่างกาย (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ การช่วยเหลือดูแลด้านจิตใจหรือจิตวิญญาณของผู้ป่วยโรคร้ายแรง ค่าร้อยละ
1 ไม่พูดหรือทำสิ่งที่บั่นทอนกำลังใจผู้ป่วย 45.6
2 ต้องให้ความรัก การดูแลเอาใจใส่ และกำลังใจแก่ผู้ป่วย 33.5
3 ใช้หลักธรรมในศาสนาบรรเทาใจผู้ป่วย แนะนำให้ผู้ป่วยยึดธรรมมะในการ 14.6
ดำเนินชีวิต
4 ให้ผู้ป่วยทำใจให้สบาย รู้จักปล่อยวางและปลง 8.3
5 พูดคุยกับผู้ป่วย 6.2
6 ให้ผู้ป่วยยอมรับความจริง กล้าเผชิญกับความจริงอย่างกล้าหาญ 5.1
7 ให้ความร่วมมือกับแพทย์ผู้รักษาอย่างดี 5.1
8 ชวนผู้ป่วยทำกิจกรรมที่สร้างสรรค์ เช่น ออกกำลังกาย ทำบุญตักบาตร 5.0
9 ทำตามใจผู้ป่วย 1.9
10 พาผู้ป่วยไปพักผ่อนนอกสถานที่ 1.5
11 รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ 0.4
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50 www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-