ที่มาของโครงการ
หลายฝ่ายต่างเฝ้าจับตามองท่าทีของนายกรัฐมนตรีในการออกมาตอบโต้กลุ่มผู้ชุมนุม ภายหลังการออกมาเคลื่อนไหวชุมนุมของนายสนธิ ลิ้ม
ทองกุล เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2549 ที่ผ่านมา ซึ่งความสนใจดังกล่าวของสาธารณชน และโดยเฉพาะอย่างยิ่งสื่อมวลชนน่าจะอยู่ที่คำพูด หรือ “วา
ทะ” ของนายกรัฐมนตรีในการชี้แจงเรื่องความสงสัยแคลงใจเกี่ยวกับการขายหุ้นชินฯ และการออกมาตอบโต้กลุ่มผู้เข้าร่วมชุมนุมดังกล่าว ซึ่งพบว่า
คำพูดที่นายกรัฐมนตรีออกมาตอบโต้กลุ่มผู้ชุมนุมนั้น มีหลายคำพูด หลายวาทะที่ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์ จากสาธารณชน ถึงความเหมาะสม ความน่า
เชื่อถือ ตลอดจนการยอมรับในคำพูดเหล่านั้น นอกจากนี้ยังมีการวิพากษ์กันต่อไปว่า วาทะของนายกรัฐมนตรีดังกล่าวเหล่านั้นอาจนำมาซึ่งการจุด
ชนวนให้สถานการณ์ความขัดแย้งบานปลายออกไปยิ่งขึ้น
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงได้ทำการสำรวจภาคสนามหาข้อมูลเชิงสถิติศาสตร์ จากประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพ
มหานครและปริมณฑล ถึงประเด็นการรับรู้และความคิดเห็นของประชาชนต่อสถานการณ์ดังกล่าว ด้วยการจัดส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่ และพนักงาน
เก็บรวบรวมข้อมูลลงพื้นที่ตัวอย่างที่ถูกสุ่มได้ตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจความคิดเห็นและทัศนคติของประชาชนเกี่ยวกับวาทะของนายกรัฐมนตรีในประเด็นต่าง ๆ
2. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อนายกรัฐมนตรีในการตัดสินใจเพื่อดำเนินการใดๆ ต่อไป
3. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อสื่อมวลชนในการนำเสนอข่าวความขัดแย้งระหว่างนายกรัฐมนตรีและนายสนธิ ลิ้มทองกุล
4. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้เรื่อง “สำรวจ 9 วาทะ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชิน
วัตร ในวันที่ 4 กุมภาพันธ์ และการทำหน้าที่ของสื่อมวลชนในทรรศนะของประชาชน : กรณีศึกษาประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล”
ซึ่งมีระยะเวลาการดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 5-6 กุมภาพันธ์ 2549
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนทั่วไปที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่างได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ (Stratified Sampling)
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ คือ 1,377 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูลและงบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 54.8 เป็นหญิง
ร้อยละ 45.2 เป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 10.3 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 24.6 อายุระหว่าง 20—29 ปี
ร้อยละ 23.1 อายุระหว่าง 30—39 ปี
ร้อยละ 21.8 อายุระหว่าง 40—49 ปี
และร้อยละ 20.2 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ซึ่งตัวอย่าง ร้อยละ 76.5 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 21.4 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 2.1 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 28.2 ระบุอาชีพค้าขาย /ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 19.4 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 17.9 ระบุอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน
ร้อยละ 12.3 ระบุอาชีพข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 6.1 ระบุเป็นนักศึกษา
ร้อยละ 13.4 ระบุเป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ
และร้อยละ 2.7 ไม่ได้ประกอบอาชีพ
บทสรุปผลสำรวจ
ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้เปิดเผยว่า ผลสำรวจเรื่อง “สำรวจ 9 วาทะ
พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร ในวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2549 และการทำหน้าที่ของสื่อมวลชนในทรรศนะของประชาชน” ในครั้งนี้ ได้ดำเนินการเก็บรวบรวม
ข้อมูลจากประชาชนที่พักอาศัยในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวนทั้งสิ้น 1,377 ตัวอย่าง โดยมีระยะเวลาการดำเนินโครงการระหว่างวันที่
5-6 กุมภาพันธ์ 2549 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจมีดังต่อไปนี้
ผลการสำรวจความรู้สึกของตัวอย่างต่อคำพูดของนายกรัฐมนตรีที่ว่า “พอผมเข้าสู่การเมือง ผมก็ถูกโจมตีว่าผลประโยชน์ทับซ้อน ทั้ง ๆ ที่
หุ้นเหล่านี้ได้ถูกขายให้ลูกซี่งบรรลุนิติภาวะ และบริหารอย่างมืออาชีพเป็นบริษัทมหาชนไปแล้ว” นั้นพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 45.9 ระบุยอมรับคำชี้แจงนี้
ได้ ในขณะที่ร้อยละ 30.6 ระบุยอมรับไม่ได้ และร้อยละ 23.5 ไม่ระบุความคิดเห็น
ตัวอย่างร้อยละ 47.8 ระบุวาทะของนายกรัฐมนตรี กรณี“ผมต้องการให้คนซึ่งเคยศรัทธาผม ไม่ผิดหวังในตัวผม เพราะผมเป็นคนซึ่งจะ
เสียใจมากถ้าไปทำให้คนที่เรารักผิดหวัง เพราะผมเป็นคนจริงใจ และไม่ต้องการหักหลังใคร ไม่ต้องการทำร้ายใคร” มีความน่าเชื่อถือ ในขณะที่
ร้อยละ 33.2 ระบุวาทะนี้ไม่น่าเชื่อถือ และร้อยละ 19.0 ไม่ระบุความคิดเห็น
สำหรับความรู้สึกของตัวอย่างต่อวาทะของนายกรัฐมนตรี ที่ว่า “นายกฯก็ตาม ครอบครัวนายกฯ ก็ตาม ไม่สามารถอยู่เหนือกฎหมาย เจ้า
หน้าที่ทำหน้าที่ของตนเองไปเลย ผิดเป็นผิด ถูกเป็นถูกไม่มีใครอยู่เหนือกฎหมาย” นั้น พบว่าตัวอย่างร้อยละ 56.8 ระบุน่าเชื่อถือ ในขณะที่ร้อยละ
30.2 ระบุไม่น่าเชื่อถือ และร้อยละ 13.0 ไม่ระบุความคิดเห็น
ตัวอย่างร้อยละ 32.0 ระบุเชื่อในคำชี้แจงของนายกรัฐมนตรี ที่ว่า “ถ้าเป็นผม ผมไม่ซื้อ เพราะอะไร ได้แค่หุ้นบริษัทไป แต่บริษัทนี้เป็น
ผู้รับสัญญาณจากรัฐบาล วงดาวเทียมโคจร ตัวดาวเทียมเป็นของรัฐ วันนี้โทรศัพท์มือถือ เครือข่ายทั้งหมดเป็นของรัฐ บริษัทมีสิทธิ์เพียงแค่การลงทุน ใน
การบริหารแล้วก็เก็บกำไรเท่านั้นเอง” อย่างไรก็ตาม ตัวอย่างร้อยละ 41.3 ระบุไม่เชื่อ และร้อยละ 26.7 ไม่ระบุความคิดเห็น
นอกจากนี้ ผลสำรวจความรู้สึกของตัวอย่างต่อคำพูดของนายกรัฐมนตรี ที่ว่า “ถ้าพระเจ้าอยู่หัวกระซิบรับสั่งกับผมคำเดียว ทักษิณออก
เถอะ รับรองกราบพระบาทออกแน่นอนครับ” นั้นพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 48.3 ระบุคำพูดดังกล่าวไม่เหมาะสม ในขณะที่ร้อยละ 35.0 ระบุเหมาะ
สม และร้อยละ 16.7 ไม่ระบุความคิดเห็น
และเมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามตัวอย่างถึง ความรู้สึกต่อคำพูดของนายกรัฐมนตรี ที่ว่า “มีอยู่วันหนึ่ง วันเกิดนายสนธิหรือวันเกิดหนังสือพิมพ์ผู้
จัดการ ผมจำไม่ได้ เค้ากินข้าวกลางวัน ผมยังแอบนัดไปกินข้าวด้วย วันนั้นก็พูดกันดี เพราะวันนั้นนายสนธิต้องการให้ผมสนับสนุนเรื่องสปอนเซอร์” นั้น
พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 35.5 ระบุเชื่อว่าสิ่งที่นายกพูดเป็นเรื่องจริง ในขณะที่ร้อยละ 24.8 ระบุไม่เชื่อว่าเป็นเรื่องจริง และร้อยละ 39.7 ไม่
ระบุความคิดเห็น
สำหรับความคิดเห็นของตัวอย่างต่อคำพูดของนายกรัฐมนตรี ที่ว่า “ผมจะไม่ยอมพ่ายแพ้ จะทำหน้าที่ให้ดีที่สุด และที่สำคัญผมไม่ยอมให้พี่
น้องประชาชนที่ศรัทธาผม เลือกผม ผิดหวังจากผม ตัวผมแน่นอน ผมจะมุ่งทำแต่สิ่งดี ๆ จะแก้ปัญหาของชาติ” นั้น ตัวอย่างร้อยละ 54.0 ระบุคิดว่า
นายกรัฐมนตรีพูดด้วยความจริงใจ ในขณะที่ร้อยละ 28.8 ระบุคิดว่าไม่จริงใจ และร้อยละ 17.2 ไม่ระบุความคิดเห็น
ประเด็นสำคัญที่น่าสนใจอีกประการหนึ่งก็คือความรู้สึกต่อคำพูดของนายกรัฐมนตรี ที่ว่า “บรรดาอาจารย์ทั้งหลาย ท่านก็รู้วิชาการของ
ท่าน แต่เรื่องของประเทศมันมีหลายวิชา ท่านอยากจะทำวิจัย ท่านอยากจะมาคุยกันกับผม ท่านรวมตัวกันคุยกับผมสิ ท่านก็คือข้าราชการนะ” ซึ่งพบ
ว่า ตัวอย่างร้อยละ 61.5 ระบุเห็นด้วย ในขณะที่ร้อยละ 20.0 ระบุไม่เห็นด้วย และร้อยละ 18.5 ไม่ระบุความคิดเห็น
นอกจากนี้ ผลการสำรวจความรู้สึกของตัวอย่างต่อคำพูดของนายกรัฐมนตรี ที่ว่า “พรรคประชาธิปัตย์ อยากจะปฏิรูปการเมือง มาคุยกัน
ได้ มาคุยกันได้ทุกคน ผมพร้อมที่จะพูดคุยกับทุก ๆ คน ผมอยากเห็นการปรองดองให้เกิดขึ้น” นั้นพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 47.5 ระบุเชื่อว่านายกรัฐมนตรี
มีความจริงใจ ในขณะที่ร้อยละ 30.1 ระบุไม่จริงใจ และร้อยละ 22.4 ไม่ระบุความคิดเห็น
ประเด็นสำคัญอย่างยิ่งที่ค้นพบจากการสำรวจในครั้งนี้คือ การเปรียบเทียบผลสำรวจสามครั้งที่ผ่านมาพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่หันกลับ
มาสนับสนุนนายกรัฐมนตรีให้ทำงานต่อไปเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 30 ต้นๆ มาเป็นร้อยละ 59.3 ในขณะที่สัดส่วนของผู้ต้องการให้นายกรัฐมนตรีลาออกกับยุบ
สภายังคงเท่าเดิมไม่แตกต่างกัน และกลุ่มผู้ไม่แสดงความคิดเห็นลดลงจากการสำรวจครั้งนี้ หมายความว่ากลุ่มประชาชนที่ระบุไม่มีความเห็นหันกลับ
มาสนับสนุนให้นายกรัฐมนตรีทำงานต่อไป แต่มีเงื่อนไขว่าต้องทำงานอย่างโปร่งใสและสามารถตรวจสอบได้ รวมทั้งต้องเร่งแก้ไขปัญหาความยากจน/
ต้องสามารถตอบข้อสงสัยของประชาชนได้ทุกข้อ /ต้องทำงานด้วยความจริงใจ และรักษาผลประโยชน์ของประเทศชาติ และต้องยอมรับฟังความคิด
เห็นของกลุ่มผู้ที่มาชุมนุมประท้วง
สำหรับความคิดเห็นของตัวอย่างต่อการนำเสนอข่าวของสื่อมวลชน กรณีความขัดแย้งระหว่างนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และ
นายสนธิ ลิ้มทองกุล นั้นพบว่า เมื่อคณะผู้วิจัยให้ตัวอย่างระบุคะแนนการนำเสนอข่าวของสื่อมวลชนแต่ละด้านนั้น จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน แต่
ละด้านมีคะแนนเฉลี่ยดังนี้
ความถูกต้อง-เชื่อถือได้ คะแนนเฉลี่ย 6.60 คะแนน
ความเป็นกลาง คะแนนเฉลี่ย 6.22 คะแนน
ความเป็นอิสระจากการเมือง คะแนนเฉลี่ย 6.29 คะแนน
ความรวดเร็ว ฉับไว คะแนนเฉลี่ย 7.60 คะแนน
การใช้ภาษา/ภาษาข่าว คะแนนเฉลี่ย 6.80 คะแนน
“ผลการประเมินการทำหน้าที่ของสื่อมวลชนโดยภาพรวมในทรรศนะของประชาชนครั้งนี้ถึงแม้ว่าจะสอบผ่านเพราะได้คะแนนเฉลี่ย 6
กว่าๆ จาก 10 คะแนนเต็ม แต่คงต้องปรับปรุงหลายด้านเช่น ความเป็นกลางในการนำเสนอข่าว ความเป็นอิสระจากการเมือง และความถูกต้องเชื่อ
ถือได้ ให้ได้คะแนนสูงเท่าๆ กับคะแนนด้านความรวดเร็วฉับไว” ดร.นพดล กล่าว
ดร.นพดล กรรณิกา ผ.อ.เอแบคโพลล์ กล่าวต่อว่า ผลสำรวจโดยภาพรวมครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่าวาทะของ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ในรายการ
นายกพบประชาชนผ่านทางวิทยุโทรทัศน์ของกรมประชาสัมพันธ์วันที่ 4 กุมภาพันธ์ซึ่งเป็นช่วงเช้าก่อนการชุมนุมของประชาชนที่ลานพระบรมรูปทรงม้านั้น
น่าจะเป็นปัจจัยสำคัญอีกประการหนึ่งที่ทำให้อารมณ์ความรู้สึกของประชาชนคลี่คลายไปในทางที่ดีขึ้น อย่างไรก็ตาม มีเพียงวาทะเดียวของนายกรัฐมนตรีที่
สร้างความรู้สึกไม่ดีเกิดขึ้นในกลุ่มประชาชนคือการกล่าวถึงในหลวงอันเป็นที่รักสูงสุดของประชาชนคนไทยทั่วไปทั้งประเทศโดยไม่เหมาะกับกาลเทศะของ
การพูด นายกรัฐมนตรีควรแก้ไขจุดอ่อนประการนี้อย่างเร่งด่วน ซึ่งถ้าผู้นำประเทศรู้จักคำว่าขอโทษหรือขออภัยน่าจะทำให้ความนิยมศรัทธาของ
ประชาชนกลับคืนมาได้เพิ่มไปอีก
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า จากการสำรวจล่าสุดพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่หันกลับมาสนับสนุนนายกรัฐมนตรีถึงประมาณร้อยละ 60 ทั้งๆ ที่ใน
การสำรวจก่อนหน้านี้การสนับสนุนของประชาชนต่อนายกรัฐมนตรีเหลือเพียงร้อยละ 30 กว่าๆ เท่านั้น น่าจะเป็นเพราะปัจจัยสำคัญอย่างน้อยสาม
ประการคือ ประการแรก พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตรและคนในรัฐบาลชุดปัจจุบันได้สร้างผลงานที่เด่นชัดหลายโครงการเช่น หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ การ
แก้ไขปัญหาหนี้สินและความยากจน การแก้ไขปัญหายาเสพติดและกลุ่มผู้มีอิทธิพลหรือมาเฟีย เป็นต้น ยิ่งไปกว่านั้นก่อนการชุมนุมไม่กี่สัปดาห์ ภาพของความ
เหน็ดเหนื่อยในการลงพื้นที่อำเภออาจสามารถของนายกรัฐมนตรียังปรากฎในใจของประชาชน น่าจะส่งผลให้ประชาชนจำนวนมากหันกลับมาเทคะแนน
ความเห็นใจกลับเข้ามาสนับสนุนนายกรัฐมนตรี
“คนไทยจำนวนมากมีลักษณะเห็นอกเห็นใจคนที่มีภาพของการทำประโยชน์ให้กับตนเองและสังคม เมื่อโดนโจมตีอย่างหนักหน่วงมากๆ ก็จะ
เกิดความรู้สึกสงสารเห็นใจ แต่ถ้าอารมณ์ของสังคมอยู่ในช่วงรัฐบาลเผด็จการแบบช่วง 14 ตุลาคม 2516 หรือ 6 ตุลาคม 2519 การสูญเสียน่าจะมาก
ที่สุดในประวัติศาสตร์ของประเทศไทย” ดร.นพดล กล่าว
ปัจจัยสำคัญอีกประการหนึ่งคือ สื่อโทรทัศน์ที่ประชาชนส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ 90 ของคนกรุงเทพมหานครและปริมณฑลใช้ติดตามข่าวสาร
และบันเทิง อาจจะสนับสนุนรัฐบาลทั้งทางตรงและทางอ้อมโดยไม่ให้ความสำคัญกับการชุมนุมวันที่ 4 กุมภาพันธ์มากเป็นพิเศษ ส่งผลให้อารมณ์ความรู้สึก
ของประชาชนและสังคมอยู่ในวงจำกัด ถ้าประชาชนไม่ได้รับรู้สถานการณ์ที่เกิดขึ้น ประชาชนจำนวนมากจะคิดว่าไม่มีอะไรเกิดขึ้น ซึ่งอาจตรงกันข้ามกับ
บรรดาคอการเมืองที่จะเกิดความวิตกว่าสถานการณ์จะเลวร้ายหรือไม่ และเป็นการปิดกันสิทธิเสรีภาพการรับรู้ข่าวสารของประชาชน
ปัจจัยประการที่สามคือ การปรับท่าทีที่เคยแข็งกร้าวของนายกรัฐมนตรีมาเป็นการประนีประนอมเปิดโอกาสให้มีการพูดคุยหันหน้ามาเจรจา
กัน น่าจะเป็นปัจจัยส่งเสริมด้านบวกทำให้ประชาชนคนไทยที่มีจิตใจรักความสงบอยู่แล้วยอมรับนายกรัฐมนตรีมากขึ้น
“นายกรัฐมนตรีกำลังพยายามแก้ไขปรับปรุงตัวเองในทิศทางที่ถูกต้องแล้วเพราะการแสดงพฤติกรรมที่แข็งกร้าวไม่สามารถใช้ได้กับภาวะ
ความเป็นผู้นำทุกสถานการณ์ การเป็นผู้นำที่แสดงอาการแข็งกร้าวใช้ได้เฉพาะบางสถานการณ์เช่น การทำสงครามยาเสพติด และการปราบปรามกลุ่มผู้มี
อิทธิพลต่างๆ แต่เรื่องของคุณสนธิ และกลุ่มต่อต้านรัฐบาลในเวลานี้มันเป็นเรื่องของแนวคิดการบริหารประเทศตามระบอบประชาธิปไตย ดังนั้นนายก
รัฐมนตรีและคนในรัฐบาลกำลังปรับปรุงแก้ไขตัวเองในทางที่เหมาะสมแล้ว” ดร.นพดล กล่าว
ความนิยมขึ้นๆ ลงๆ ของประชาชนต่อนายกรัฐมนตรีเหมือนน้ำและตะกอนในแก้วสามใบ
ดร.นพดล กล่าวเสริมอีกว่า ปรากฎการณ์ความนิยมขึ้น-ลง ของประชาชนต่อนายกรัฐมนตรี มีปัจจัยสำคัญอยู่ที่ตัวนายกรัฐมนตรีและคนใน
รัฐบาลเอง ซึ่งต้องทำความเข้าใจกับตัวเลขฐานความนิยมและกระแสต่อต้านการบริหารประเทศของรัฐบาลให้ชัดเจน จะเปรียบเทียบได้กับน้ำและ
ตะกอนในแก้วสามใบ แก้วใบที่หนึ่งเป็นของพรรคไทยรักไทยมีตะกอนตกอยู่ประมาณร้อยละ 30 กว่าๆ แก้วใบที่สองเป็นของฝ่ายต่อต้านแนวคิดการบริหาร
ของรัฐบาลมีตะกอนตกอยู่ประมาณร้อยละ 15-20 และแก้วใบที่สามเป็นแก้วของฝ่ายที่ไม่ยุ่งเกี่ยวกับการเมืองมีตะกอนตกอยู่ประมาณร้อยละ 10-15 ที่
เหลือเป็นน้ำเหนือตะกอนประมาณร้อยละ 40 ที่มีคุณสมบัติไหลมาเทมาได้ง่าย คนในกลุ่มร้อยละ 40 นี้มักจะต้องรอการชี้แจงและมีข้อมูลที่ชัดเจนของแต่
ละฝ่ายก่อนตัดสินใจอย่างหนึ่งอย่างใด ถือว่าเป็นตัวแปรสำคัญในสถานการณ์การเมืองขณะนี้ และผลสำรวจล่าสุดพบว่า คนกลุ่มนี้หันกล้บไปสนับสนุนนายก
รัฐมนตรีและรัฐบาลให้ทำงานต่อไป
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความรู้สึกต่อคำชี้แจงของนายกรัฐมนตรี ที่ว่า “พอผมเข้าสู่การเมือง
ผมก็ถูกโจมตีว่าผลประโยชน์ทับซ้อน ทั้ง ๆ ที่หุ้นเหล่านี้ได้ถูกขายให้ลูกซี่งบรรลุนิติภาวะ และบริหาร
อย่างมืออาชีพเป็นบริษัทมหาชนไปแล้ว”
ลำดับที่ ความรู้สึกต่อคำชี้แจงของนายกรัฐมนตรี ค่าร้อยละ
1 ยอมรับคำชี้แจงนี้ได้ 45.9
2 ยอมรับไม่ได้ 30.6
3 ไม่มีความคิดเห็น 23.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความรู้สึกต่อวาทะของนายกรัฐมนตรี ที่ว่า “ผมต้องการให้คนซึ่งเคย
ศรัทธาผม ไม่ผิดหวังในตัวผม เพราะผมเป็นคนซึ่งจะเสียใจมากถ้าไปทำให้คนที่เรารักผิดหวัง เพราะผม
เป็นคนจริงใจ และไม่ต้องการหักหลังใคร ไม่ต้องการทำร้ายใคร”
ลำดับที่ ความรู้สึกต่อวาทะของนายกรัฐมนตรี ค่าร้อยละ
1 น่าเชื่อถือ 47.8
2 ไม่น่าเชื่อถือ 33.2
3 ไม่มีความคิดเห็น 19.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความรู้สึกต่อวาทะของนายกรัฐมนตรี ที่ว่า “นายกฯก็ตาม ครอบครัว
นายกฯ ก็ตาม ไม่สามารถอยู่เหนือกฎหมาย เจ้าหน้าที่ทำหน้าที่ของตนเองไปเลย ผิดเป็นผิด ถูกเป็นถูก
ไม่มีใครอยู่เหนือกฎหมาย”
ลำดับที่ ความรู้สึกต่อวาทะของนายกรัฐมนตรี ค่าร้อยละ
1 น่าเชื่อถือ 56.8
2 ไม่น่าเชื่อถือ 30.2
3 ไม่มีความคิดเห็น 13.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความรู้สึกต่อคำชี้แจงของนายกรัฐมนตรี ที่ว่า “ถ้าเป็นผม ผมไม่ซื้อ
เพราะอะไร ได้แค่หุ้นบริษัทไป แต่บริษัทนี้เป็นผู้รับสัญญาณจากรัฐบาล วงดาวเทียมโคจร ตัวดาวเทียม
เป็นของรัฐ วันนี้โทรศัพท์มือถือ เครือข่ายทั้งหมดเป็นของรัฐ บริษัทมีสิทธิ์เพียงแค่การลงทุน ในการ
บริหารแล้วก็เก็บกำไรเท่านั้นเอง”
ลำดับที่ ความรู้สึกต่อคำชี้แจงของนายกรัฐมนตรี ค่าร้อยละ
1 เชื่อในคำชี้แจง 32.0
2 ไม่เชื่อ 41.3
3 ไม่มีความคิดเห็น 26.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความรู้สึกต่อคำพูดของนายกรัฐมนตรี ที่ว่า “ถ้าพระเจ้าอยู่หัวกระซิบ
รับสั่งกับผมคำเดียว ทักษิณออกเถอะ รับรองกราบพระบาทออกแน่นอนครับ”
ลำดับที่ ความรู้สึกต่อคำพูดของนายกรัฐมนตรี ค่าร้อยละ
1 เหมาะสม 35.0
2 ไม่เหมาะสม 48.3
3 ไม่มีความคิดเห็น 16.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความรู้สึกต่อคำพูดของนายกรัฐมนตรี ที่ว่า “มีอยู่วันหนึ่ง วันเกิดนาย
สนธิหรือวันเกิดหนังสือพิมพ์ผู้จัดการ ผมจำไม่ได้ เค้ากินข้าวกลางวัน ผมยังแอบนัดไปกินข้าวด้วย วันนั้น
ก็พูดกันดี เพราะวันนั้นนายสนธิต้องการให้ผมสนับสนุนเรื่องสปอนเซอร์”
ลำดับที่ ความรู้สึกต่อคำพูดของนายกรัฐมนตรี ค่าร้อยละ
1 เชื่อว่าเป็นเรื่องจริง 35.5
2 ไม่เชื่อ 24.8
3 ไม่มีความคิดเห็น 39.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความรู้สึกต่อคำพูดของนายกรัฐมนตรี ที่ว่า “ผมจะไม่ยอมพ่ายแพ้
จะทำหน้าที่ให้ดีที่สุด และที่สำคัญผมไม่ยอมให้พี่น้องประชาชนที่ศรัทธาผม เลือกผม ผิดหวังจากผม
ตัวผมแน่นอน ผมจะมุ่งทำแต่สิ่งดี ๆ จะแก้ปัญหาของชาติ”
ลำดับที่ ความรู้สึกต่อคำพูดของนายกรัฐมนตรี ค่าร้อยละ
1 จริงใจ 54.0
2 ไม่จริงใจ 28.8
3 ไม่มีความคิดเห็น 17.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความรู้สึกต่อคำพูดของนายกรัฐมนตรี ที่ว่า “บรรดาอาจารย์ทั้งหลาย
ท่านก็รู้วิชาการของท่าน แต่เรื่องของประเทศมันมีหลายวิชา ท่านอยากจะทำวิจัย ท่านอยากจะมาคุยกัน
กับผม ท่านรวมตัวกันคุยกับผมสิ ท่านก็คือข้าราชการนะ”
ลำดับที่ ความรู้สึกต่อคำพูดของนายกรัฐมนตรี ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วย 61.5
2 ไม่เห็นด้วย 20.0
3 ไม่มีความคิดเห็น 18.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความรู้สึกต่อคำพูดของนายกรัฐมนตรี ที่ว่า “พรรคประชาธิปัตย์
อยากจะปฏิรูปการเมือง มาคุยกันได้ มาคุยกันได้ทุกคน ผมพร้อมที่จะพูดคุยกับทุก ๆ คน ผมอยากเห็น
การปรองดองให้เกิดขึ้น”
ลำดับที่ ความรู้สึกต่อคำพูดของนายกรัฐมนตรี ค่าร้อยละ
1 จริงใจ 47.5
2 ไม่จริงใจ 30.1
3 ไม่มีความคิดเห็น 22.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 10 แสดงการเปรียบเทียบค่าร้อยละของตัวอย่างที่เสนอทางออกให้กับนายกรัฐมนตรีในการตัดสินใจ
เพื่อดำเนินการต่อไป
ลำดับที่ ข้อเสนอแนะของตัวอย่าง สำรวจครั้งที่ 1(1-2 ก.พ.49) สำรวจครั้งที่ 2(3-4 ก.พ.49) สำรวจครั้งที่ 1 (5-6 ก.พ. 49)
1 ทำงานต่อ 37.3 33.6 59.3
2 ลาออก 15.5 14.6 14.5
3 ยุบสภา 7.0 7.2 8.8
4 อื่นๆ อาทิ ให้หันหน้ามาเจรจากับนายสนธิ /
ให้ไตร่ตรองการทำงานอย่างรอบคอบ /ให้แถลงข้อเท็จจริงให้ประชาชนรับทราบ 4.9 6.2 0.9
5 ไม่มีความเห็น 35.3 38.4 16.5
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0
ตัวอย่างที่ระบุว่า ต้องการให้นายกรัฐมนตรีทำงานต่อ ระบุเงื่อนไขว่า.......
- ต้องทำงานอย่างโปร่งใสและสามารถตรวจสอบได้
- ต้องเร่งแก้ไขปัญหาความยากจน/ต้องสามารถตอบข้อสงสัยของประชาชนได้ทุกข้อ
- ต้องทำงานด้วยความจริงใจ และรักษาผลประโยชน์ของประเทศชาติ
- ยอมรับฟังความคิดเห็นของกลุ่มผู้ที่มาชุมนุมประท้วง ฯลฯ
ตารางที่ 11 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุคะแนนความคิดเห็นที่มีต่อการนำเสนอข่าวของสื่อมวลชนในด้าน
ต่าง ๆ กรณีความขัดแย้งของนายกรัฐมนตรีกับนายสนธิ ลิ้มทองกุล
ลำดับที่ คะแนนความคิดเห็นโดยเฉลี่ย จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน คะแนนเฉลี่ย
1 ความถูกต้อง-เชื่อถือได้ 6.60
2 ความเป็นกลาง 6.22
3 ความเป็นอิสระจากการเมือง 6.29
4 ความรวดเร็ว ฉับไว ในการนำเสนอข่าว 7.60
5 การใช้ภาษา/ภาษาข่าว 6.80
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-
หลายฝ่ายต่างเฝ้าจับตามองท่าทีของนายกรัฐมนตรีในการออกมาตอบโต้กลุ่มผู้ชุมนุม ภายหลังการออกมาเคลื่อนไหวชุมนุมของนายสนธิ ลิ้ม
ทองกุล เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2549 ที่ผ่านมา ซึ่งความสนใจดังกล่าวของสาธารณชน และโดยเฉพาะอย่างยิ่งสื่อมวลชนน่าจะอยู่ที่คำพูด หรือ “วา
ทะ” ของนายกรัฐมนตรีในการชี้แจงเรื่องความสงสัยแคลงใจเกี่ยวกับการขายหุ้นชินฯ และการออกมาตอบโต้กลุ่มผู้เข้าร่วมชุมนุมดังกล่าว ซึ่งพบว่า
คำพูดที่นายกรัฐมนตรีออกมาตอบโต้กลุ่มผู้ชุมนุมนั้น มีหลายคำพูด หลายวาทะที่ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์ จากสาธารณชน ถึงความเหมาะสม ความน่า
เชื่อถือ ตลอดจนการยอมรับในคำพูดเหล่านั้น นอกจากนี้ยังมีการวิพากษ์กันต่อไปว่า วาทะของนายกรัฐมนตรีดังกล่าวเหล่านั้นอาจนำมาซึ่งการจุด
ชนวนให้สถานการณ์ความขัดแย้งบานปลายออกไปยิ่งขึ้น
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงได้ทำการสำรวจภาคสนามหาข้อมูลเชิงสถิติศาสตร์ จากประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพ
มหานครและปริมณฑล ถึงประเด็นการรับรู้และความคิดเห็นของประชาชนต่อสถานการณ์ดังกล่าว ด้วยการจัดส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่ และพนักงาน
เก็บรวบรวมข้อมูลลงพื้นที่ตัวอย่างที่ถูกสุ่มได้ตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจความคิดเห็นและทัศนคติของประชาชนเกี่ยวกับวาทะของนายกรัฐมนตรีในประเด็นต่าง ๆ
2. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อนายกรัฐมนตรีในการตัดสินใจเพื่อดำเนินการใดๆ ต่อไป
3. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อสื่อมวลชนในการนำเสนอข่าวความขัดแย้งระหว่างนายกรัฐมนตรีและนายสนธิ ลิ้มทองกุล
4. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้เรื่อง “สำรวจ 9 วาทะ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชิน
วัตร ในวันที่ 4 กุมภาพันธ์ และการทำหน้าที่ของสื่อมวลชนในทรรศนะของประชาชน : กรณีศึกษาประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล”
ซึ่งมีระยะเวลาการดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 5-6 กุมภาพันธ์ 2549
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนทั่วไปที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่างได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ (Stratified Sampling)
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ คือ 1,377 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูลและงบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 54.8 เป็นหญิง
ร้อยละ 45.2 เป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 10.3 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 24.6 อายุระหว่าง 20—29 ปี
ร้อยละ 23.1 อายุระหว่าง 30—39 ปี
ร้อยละ 21.8 อายุระหว่าง 40—49 ปี
และร้อยละ 20.2 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ซึ่งตัวอย่าง ร้อยละ 76.5 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 21.4 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 2.1 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 28.2 ระบุอาชีพค้าขาย /ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 19.4 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 17.9 ระบุอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน
ร้อยละ 12.3 ระบุอาชีพข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 6.1 ระบุเป็นนักศึกษา
ร้อยละ 13.4 ระบุเป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ
และร้อยละ 2.7 ไม่ได้ประกอบอาชีพ
บทสรุปผลสำรวจ
ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้เปิดเผยว่า ผลสำรวจเรื่อง “สำรวจ 9 วาทะ
พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร ในวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2549 และการทำหน้าที่ของสื่อมวลชนในทรรศนะของประชาชน” ในครั้งนี้ ได้ดำเนินการเก็บรวบรวม
ข้อมูลจากประชาชนที่พักอาศัยในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวนทั้งสิ้น 1,377 ตัวอย่าง โดยมีระยะเวลาการดำเนินโครงการระหว่างวันที่
5-6 กุมภาพันธ์ 2549 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจมีดังต่อไปนี้
ผลการสำรวจความรู้สึกของตัวอย่างต่อคำพูดของนายกรัฐมนตรีที่ว่า “พอผมเข้าสู่การเมือง ผมก็ถูกโจมตีว่าผลประโยชน์ทับซ้อน ทั้ง ๆ ที่
หุ้นเหล่านี้ได้ถูกขายให้ลูกซี่งบรรลุนิติภาวะ และบริหารอย่างมืออาชีพเป็นบริษัทมหาชนไปแล้ว” นั้นพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 45.9 ระบุยอมรับคำชี้แจงนี้
ได้ ในขณะที่ร้อยละ 30.6 ระบุยอมรับไม่ได้ และร้อยละ 23.5 ไม่ระบุความคิดเห็น
ตัวอย่างร้อยละ 47.8 ระบุวาทะของนายกรัฐมนตรี กรณี“ผมต้องการให้คนซึ่งเคยศรัทธาผม ไม่ผิดหวังในตัวผม เพราะผมเป็นคนซึ่งจะ
เสียใจมากถ้าไปทำให้คนที่เรารักผิดหวัง เพราะผมเป็นคนจริงใจ และไม่ต้องการหักหลังใคร ไม่ต้องการทำร้ายใคร” มีความน่าเชื่อถือ ในขณะที่
ร้อยละ 33.2 ระบุวาทะนี้ไม่น่าเชื่อถือ และร้อยละ 19.0 ไม่ระบุความคิดเห็น
สำหรับความรู้สึกของตัวอย่างต่อวาทะของนายกรัฐมนตรี ที่ว่า “นายกฯก็ตาม ครอบครัวนายกฯ ก็ตาม ไม่สามารถอยู่เหนือกฎหมาย เจ้า
หน้าที่ทำหน้าที่ของตนเองไปเลย ผิดเป็นผิด ถูกเป็นถูกไม่มีใครอยู่เหนือกฎหมาย” นั้น พบว่าตัวอย่างร้อยละ 56.8 ระบุน่าเชื่อถือ ในขณะที่ร้อยละ
30.2 ระบุไม่น่าเชื่อถือ และร้อยละ 13.0 ไม่ระบุความคิดเห็น
ตัวอย่างร้อยละ 32.0 ระบุเชื่อในคำชี้แจงของนายกรัฐมนตรี ที่ว่า “ถ้าเป็นผม ผมไม่ซื้อ เพราะอะไร ได้แค่หุ้นบริษัทไป แต่บริษัทนี้เป็น
ผู้รับสัญญาณจากรัฐบาล วงดาวเทียมโคจร ตัวดาวเทียมเป็นของรัฐ วันนี้โทรศัพท์มือถือ เครือข่ายทั้งหมดเป็นของรัฐ บริษัทมีสิทธิ์เพียงแค่การลงทุน ใน
การบริหารแล้วก็เก็บกำไรเท่านั้นเอง” อย่างไรก็ตาม ตัวอย่างร้อยละ 41.3 ระบุไม่เชื่อ และร้อยละ 26.7 ไม่ระบุความคิดเห็น
นอกจากนี้ ผลสำรวจความรู้สึกของตัวอย่างต่อคำพูดของนายกรัฐมนตรี ที่ว่า “ถ้าพระเจ้าอยู่หัวกระซิบรับสั่งกับผมคำเดียว ทักษิณออก
เถอะ รับรองกราบพระบาทออกแน่นอนครับ” นั้นพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 48.3 ระบุคำพูดดังกล่าวไม่เหมาะสม ในขณะที่ร้อยละ 35.0 ระบุเหมาะ
สม และร้อยละ 16.7 ไม่ระบุความคิดเห็น
และเมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามตัวอย่างถึง ความรู้สึกต่อคำพูดของนายกรัฐมนตรี ที่ว่า “มีอยู่วันหนึ่ง วันเกิดนายสนธิหรือวันเกิดหนังสือพิมพ์ผู้
จัดการ ผมจำไม่ได้ เค้ากินข้าวกลางวัน ผมยังแอบนัดไปกินข้าวด้วย วันนั้นก็พูดกันดี เพราะวันนั้นนายสนธิต้องการให้ผมสนับสนุนเรื่องสปอนเซอร์” นั้น
พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 35.5 ระบุเชื่อว่าสิ่งที่นายกพูดเป็นเรื่องจริง ในขณะที่ร้อยละ 24.8 ระบุไม่เชื่อว่าเป็นเรื่องจริง และร้อยละ 39.7 ไม่
ระบุความคิดเห็น
สำหรับความคิดเห็นของตัวอย่างต่อคำพูดของนายกรัฐมนตรี ที่ว่า “ผมจะไม่ยอมพ่ายแพ้ จะทำหน้าที่ให้ดีที่สุด และที่สำคัญผมไม่ยอมให้พี่
น้องประชาชนที่ศรัทธาผม เลือกผม ผิดหวังจากผม ตัวผมแน่นอน ผมจะมุ่งทำแต่สิ่งดี ๆ จะแก้ปัญหาของชาติ” นั้น ตัวอย่างร้อยละ 54.0 ระบุคิดว่า
นายกรัฐมนตรีพูดด้วยความจริงใจ ในขณะที่ร้อยละ 28.8 ระบุคิดว่าไม่จริงใจ และร้อยละ 17.2 ไม่ระบุความคิดเห็น
ประเด็นสำคัญที่น่าสนใจอีกประการหนึ่งก็คือความรู้สึกต่อคำพูดของนายกรัฐมนตรี ที่ว่า “บรรดาอาจารย์ทั้งหลาย ท่านก็รู้วิชาการของ
ท่าน แต่เรื่องของประเทศมันมีหลายวิชา ท่านอยากจะทำวิจัย ท่านอยากจะมาคุยกันกับผม ท่านรวมตัวกันคุยกับผมสิ ท่านก็คือข้าราชการนะ” ซึ่งพบ
ว่า ตัวอย่างร้อยละ 61.5 ระบุเห็นด้วย ในขณะที่ร้อยละ 20.0 ระบุไม่เห็นด้วย และร้อยละ 18.5 ไม่ระบุความคิดเห็น
นอกจากนี้ ผลการสำรวจความรู้สึกของตัวอย่างต่อคำพูดของนายกรัฐมนตรี ที่ว่า “พรรคประชาธิปัตย์ อยากจะปฏิรูปการเมือง มาคุยกัน
ได้ มาคุยกันได้ทุกคน ผมพร้อมที่จะพูดคุยกับทุก ๆ คน ผมอยากเห็นการปรองดองให้เกิดขึ้น” นั้นพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 47.5 ระบุเชื่อว่านายกรัฐมนตรี
มีความจริงใจ ในขณะที่ร้อยละ 30.1 ระบุไม่จริงใจ และร้อยละ 22.4 ไม่ระบุความคิดเห็น
ประเด็นสำคัญอย่างยิ่งที่ค้นพบจากการสำรวจในครั้งนี้คือ การเปรียบเทียบผลสำรวจสามครั้งที่ผ่านมาพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่หันกลับ
มาสนับสนุนนายกรัฐมนตรีให้ทำงานต่อไปเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 30 ต้นๆ มาเป็นร้อยละ 59.3 ในขณะที่สัดส่วนของผู้ต้องการให้นายกรัฐมนตรีลาออกกับยุบ
สภายังคงเท่าเดิมไม่แตกต่างกัน และกลุ่มผู้ไม่แสดงความคิดเห็นลดลงจากการสำรวจครั้งนี้ หมายความว่ากลุ่มประชาชนที่ระบุไม่มีความเห็นหันกลับ
มาสนับสนุนให้นายกรัฐมนตรีทำงานต่อไป แต่มีเงื่อนไขว่าต้องทำงานอย่างโปร่งใสและสามารถตรวจสอบได้ รวมทั้งต้องเร่งแก้ไขปัญหาความยากจน/
ต้องสามารถตอบข้อสงสัยของประชาชนได้ทุกข้อ /ต้องทำงานด้วยความจริงใจ และรักษาผลประโยชน์ของประเทศชาติ และต้องยอมรับฟังความคิด
เห็นของกลุ่มผู้ที่มาชุมนุมประท้วง
สำหรับความคิดเห็นของตัวอย่างต่อการนำเสนอข่าวของสื่อมวลชน กรณีความขัดแย้งระหว่างนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และ
นายสนธิ ลิ้มทองกุล นั้นพบว่า เมื่อคณะผู้วิจัยให้ตัวอย่างระบุคะแนนการนำเสนอข่าวของสื่อมวลชนแต่ละด้านนั้น จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน แต่
ละด้านมีคะแนนเฉลี่ยดังนี้
ความถูกต้อง-เชื่อถือได้ คะแนนเฉลี่ย 6.60 คะแนน
ความเป็นกลาง คะแนนเฉลี่ย 6.22 คะแนน
ความเป็นอิสระจากการเมือง คะแนนเฉลี่ย 6.29 คะแนน
ความรวดเร็ว ฉับไว คะแนนเฉลี่ย 7.60 คะแนน
การใช้ภาษา/ภาษาข่าว คะแนนเฉลี่ย 6.80 คะแนน
“ผลการประเมินการทำหน้าที่ของสื่อมวลชนโดยภาพรวมในทรรศนะของประชาชนครั้งนี้ถึงแม้ว่าจะสอบผ่านเพราะได้คะแนนเฉลี่ย 6
กว่าๆ จาก 10 คะแนนเต็ม แต่คงต้องปรับปรุงหลายด้านเช่น ความเป็นกลางในการนำเสนอข่าว ความเป็นอิสระจากการเมือง และความถูกต้องเชื่อ
ถือได้ ให้ได้คะแนนสูงเท่าๆ กับคะแนนด้านความรวดเร็วฉับไว” ดร.นพดล กล่าว
ดร.นพดล กรรณิกา ผ.อ.เอแบคโพลล์ กล่าวต่อว่า ผลสำรวจโดยภาพรวมครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่าวาทะของ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ในรายการ
นายกพบประชาชนผ่านทางวิทยุโทรทัศน์ของกรมประชาสัมพันธ์วันที่ 4 กุมภาพันธ์ซึ่งเป็นช่วงเช้าก่อนการชุมนุมของประชาชนที่ลานพระบรมรูปทรงม้านั้น
น่าจะเป็นปัจจัยสำคัญอีกประการหนึ่งที่ทำให้อารมณ์ความรู้สึกของประชาชนคลี่คลายไปในทางที่ดีขึ้น อย่างไรก็ตาม มีเพียงวาทะเดียวของนายกรัฐมนตรีที่
สร้างความรู้สึกไม่ดีเกิดขึ้นในกลุ่มประชาชนคือการกล่าวถึงในหลวงอันเป็นที่รักสูงสุดของประชาชนคนไทยทั่วไปทั้งประเทศโดยไม่เหมาะกับกาลเทศะของ
การพูด นายกรัฐมนตรีควรแก้ไขจุดอ่อนประการนี้อย่างเร่งด่วน ซึ่งถ้าผู้นำประเทศรู้จักคำว่าขอโทษหรือขออภัยน่าจะทำให้ความนิยมศรัทธาของ
ประชาชนกลับคืนมาได้เพิ่มไปอีก
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า จากการสำรวจล่าสุดพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่หันกลับมาสนับสนุนนายกรัฐมนตรีถึงประมาณร้อยละ 60 ทั้งๆ ที่ใน
การสำรวจก่อนหน้านี้การสนับสนุนของประชาชนต่อนายกรัฐมนตรีเหลือเพียงร้อยละ 30 กว่าๆ เท่านั้น น่าจะเป็นเพราะปัจจัยสำคัญอย่างน้อยสาม
ประการคือ ประการแรก พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตรและคนในรัฐบาลชุดปัจจุบันได้สร้างผลงานที่เด่นชัดหลายโครงการเช่น หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ การ
แก้ไขปัญหาหนี้สินและความยากจน การแก้ไขปัญหายาเสพติดและกลุ่มผู้มีอิทธิพลหรือมาเฟีย เป็นต้น ยิ่งไปกว่านั้นก่อนการชุมนุมไม่กี่สัปดาห์ ภาพของความ
เหน็ดเหนื่อยในการลงพื้นที่อำเภออาจสามารถของนายกรัฐมนตรียังปรากฎในใจของประชาชน น่าจะส่งผลให้ประชาชนจำนวนมากหันกลับมาเทคะแนน
ความเห็นใจกลับเข้ามาสนับสนุนนายกรัฐมนตรี
“คนไทยจำนวนมากมีลักษณะเห็นอกเห็นใจคนที่มีภาพของการทำประโยชน์ให้กับตนเองและสังคม เมื่อโดนโจมตีอย่างหนักหน่วงมากๆ ก็จะ
เกิดความรู้สึกสงสารเห็นใจ แต่ถ้าอารมณ์ของสังคมอยู่ในช่วงรัฐบาลเผด็จการแบบช่วง 14 ตุลาคม 2516 หรือ 6 ตุลาคม 2519 การสูญเสียน่าจะมาก
ที่สุดในประวัติศาสตร์ของประเทศไทย” ดร.นพดล กล่าว
ปัจจัยสำคัญอีกประการหนึ่งคือ สื่อโทรทัศน์ที่ประชาชนส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ 90 ของคนกรุงเทพมหานครและปริมณฑลใช้ติดตามข่าวสาร
และบันเทิง อาจจะสนับสนุนรัฐบาลทั้งทางตรงและทางอ้อมโดยไม่ให้ความสำคัญกับการชุมนุมวันที่ 4 กุมภาพันธ์มากเป็นพิเศษ ส่งผลให้อารมณ์ความรู้สึก
ของประชาชนและสังคมอยู่ในวงจำกัด ถ้าประชาชนไม่ได้รับรู้สถานการณ์ที่เกิดขึ้น ประชาชนจำนวนมากจะคิดว่าไม่มีอะไรเกิดขึ้น ซึ่งอาจตรงกันข้ามกับ
บรรดาคอการเมืองที่จะเกิดความวิตกว่าสถานการณ์จะเลวร้ายหรือไม่ และเป็นการปิดกันสิทธิเสรีภาพการรับรู้ข่าวสารของประชาชน
ปัจจัยประการที่สามคือ การปรับท่าทีที่เคยแข็งกร้าวของนายกรัฐมนตรีมาเป็นการประนีประนอมเปิดโอกาสให้มีการพูดคุยหันหน้ามาเจรจา
กัน น่าจะเป็นปัจจัยส่งเสริมด้านบวกทำให้ประชาชนคนไทยที่มีจิตใจรักความสงบอยู่แล้วยอมรับนายกรัฐมนตรีมากขึ้น
“นายกรัฐมนตรีกำลังพยายามแก้ไขปรับปรุงตัวเองในทิศทางที่ถูกต้องแล้วเพราะการแสดงพฤติกรรมที่แข็งกร้าวไม่สามารถใช้ได้กับภาวะ
ความเป็นผู้นำทุกสถานการณ์ การเป็นผู้นำที่แสดงอาการแข็งกร้าวใช้ได้เฉพาะบางสถานการณ์เช่น การทำสงครามยาเสพติด และการปราบปรามกลุ่มผู้มี
อิทธิพลต่างๆ แต่เรื่องของคุณสนธิ และกลุ่มต่อต้านรัฐบาลในเวลานี้มันเป็นเรื่องของแนวคิดการบริหารประเทศตามระบอบประชาธิปไตย ดังนั้นนายก
รัฐมนตรีและคนในรัฐบาลกำลังปรับปรุงแก้ไขตัวเองในทางที่เหมาะสมแล้ว” ดร.นพดล กล่าว
ความนิยมขึ้นๆ ลงๆ ของประชาชนต่อนายกรัฐมนตรีเหมือนน้ำและตะกอนในแก้วสามใบ
ดร.นพดล กล่าวเสริมอีกว่า ปรากฎการณ์ความนิยมขึ้น-ลง ของประชาชนต่อนายกรัฐมนตรี มีปัจจัยสำคัญอยู่ที่ตัวนายกรัฐมนตรีและคนใน
รัฐบาลเอง ซึ่งต้องทำความเข้าใจกับตัวเลขฐานความนิยมและกระแสต่อต้านการบริหารประเทศของรัฐบาลให้ชัดเจน จะเปรียบเทียบได้กับน้ำและ
ตะกอนในแก้วสามใบ แก้วใบที่หนึ่งเป็นของพรรคไทยรักไทยมีตะกอนตกอยู่ประมาณร้อยละ 30 กว่าๆ แก้วใบที่สองเป็นของฝ่ายต่อต้านแนวคิดการบริหาร
ของรัฐบาลมีตะกอนตกอยู่ประมาณร้อยละ 15-20 และแก้วใบที่สามเป็นแก้วของฝ่ายที่ไม่ยุ่งเกี่ยวกับการเมืองมีตะกอนตกอยู่ประมาณร้อยละ 10-15 ที่
เหลือเป็นน้ำเหนือตะกอนประมาณร้อยละ 40 ที่มีคุณสมบัติไหลมาเทมาได้ง่าย คนในกลุ่มร้อยละ 40 นี้มักจะต้องรอการชี้แจงและมีข้อมูลที่ชัดเจนของแต่
ละฝ่ายก่อนตัดสินใจอย่างหนึ่งอย่างใด ถือว่าเป็นตัวแปรสำคัญในสถานการณ์การเมืองขณะนี้ และผลสำรวจล่าสุดพบว่า คนกลุ่มนี้หันกล้บไปสนับสนุนนายก
รัฐมนตรีและรัฐบาลให้ทำงานต่อไป
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความรู้สึกต่อคำชี้แจงของนายกรัฐมนตรี ที่ว่า “พอผมเข้าสู่การเมือง
ผมก็ถูกโจมตีว่าผลประโยชน์ทับซ้อน ทั้ง ๆ ที่หุ้นเหล่านี้ได้ถูกขายให้ลูกซี่งบรรลุนิติภาวะ และบริหาร
อย่างมืออาชีพเป็นบริษัทมหาชนไปแล้ว”
ลำดับที่ ความรู้สึกต่อคำชี้แจงของนายกรัฐมนตรี ค่าร้อยละ
1 ยอมรับคำชี้แจงนี้ได้ 45.9
2 ยอมรับไม่ได้ 30.6
3 ไม่มีความคิดเห็น 23.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความรู้สึกต่อวาทะของนายกรัฐมนตรี ที่ว่า “ผมต้องการให้คนซึ่งเคย
ศรัทธาผม ไม่ผิดหวังในตัวผม เพราะผมเป็นคนซึ่งจะเสียใจมากถ้าไปทำให้คนที่เรารักผิดหวัง เพราะผม
เป็นคนจริงใจ และไม่ต้องการหักหลังใคร ไม่ต้องการทำร้ายใคร”
ลำดับที่ ความรู้สึกต่อวาทะของนายกรัฐมนตรี ค่าร้อยละ
1 น่าเชื่อถือ 47.8
2 ไม่น่าเชื่อถือ 33.2
3 ไม่มีความคิดเห็น 19.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความรู้สึกต่อวาทะของนายกรัฐมนตรี ที่ว่า “นายกฯก็ตาม ครอบครัว
นายกฯ ก็ตาม ไม่สามารถอยู่เหนือกฎหมาย เจ้าหน้าที่ทำหน้าที่ของตนเองไปเลย ผิดเป็นผิด ถูกเป็นถูก
ไม่มีใครอยู่เหนือกฎหมาย”
ลำดับที่ ความรู้สึกต่อวาทะของนายกรัฐมนตรี ค่าร้อยละ
1 น่าเชื่อถือ 56.8
2 ไม่น่าเชื่อถือ 30.2
3 ไม่มีความคิดเห็น 13.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความรู้สึกต่อคำชี้แจงของนายกรัฐมนตรี ที่ว่า “ถ้าเป็นผม ผมไม่ซื้อ
เพราะอะไร ได้แค่หุ้นบริษัทไป แต่บริษัทนี้เป็นผู้รับสัญญาณจากรัฐบาล วงดาวเทียมโคจร ตัวดาวเทียม
เป็นของรัฐ วันนี้โทรศัพท์มือถือ เครือข่ายทั้งหมดเป็นของรัฐ บริษัทมีสิทธิ์เพียงแค่การลงทุน ในการ
บริหารแล้วก็เก็บกำไรเท่านั้นเอง”
ลำดับที่ ความรู้สึกต่อคำชี้แจงของนายกรัฐมนตรี ค่าร้อยละ
1 เชื่อในคำชี้แจง 32.0
2 ไม่เชื่อ 41.3
3 ไม่มีความคิดเห็น 26.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความรู้สึกต่อคำพูดของนายกรัฐมนตรี ที่ว่า “ถ้าพระเจ้าอยู่หัวกระซิบ
รับสั่งกับผมคำเดียว ทักษิณออกเถอะ รับรองกราบพระบาทออกแน่นอนครับ”
ลำดับที่ ความรู้สึกต่อคำพูดของนายกรัฐมนตรี ค่าร้อยละ
1 เหมาะสม 35.0
2 ไม่เหมาะสม 48.3
3 ไม่มีความคิดเห็น 16.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความรู้สึกต่อคำพูดของนายกรัฐมนตรี ที่ว่า “มีอยู่วันหนึ่ง วันเกิดนาย
สนธิหรือวันเกิดหนังสือพิมพ์ผู้จัดการ ผมจำไม่ได้ เค้ากินข้าวกลางวัน ผมยังแอบนัดไปกินข้าวด้วย วันนั้น
ก็พูดกันดี เพราะวันนั้นนายสนธิต้องการให้ผมสนับสนุนเรื่องสปอนเซอร์”
ลำดับที่ ความรู้สึกต่อคำพูดของนายกรัฐมนตรี ค่าร้อยละ
1 เชื่อว่าเป็นเรื่องจริง 35.5
2 ไม่เชื่อ 24.8
3 ไม่มีความคิดเห็น 39.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความรู้สึกต่อคำพูดของนายกรัฐมนตรี ที่ว่า “ผมจะไม่ยอมพ่ายแพ้
จะทำหน้าที่ให้ดีที่สุด และที่สำคัญผมไม่ยอมให้พี่น้องประชาชนที่ศรัทธาผม เลือกผม ผิดหวังจากผม
ตัวผมแน่นอน ผมจะมุ่งทำแต่สิ่งดี ๆ จะแก้ปัญหาของชาติ”
ลำดับที่ ความรู้สึกต่อคำพูดของนายกรัฐมนตรี ค่าร้อยละ
1 จริงใจ 54.0
2 ไม่จริงใจ 28.8
3 ไม่มีความคิดเห็น 17.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความรู้สึกต่อคำพูดของนายกรัฐมนตรี ที่ว่า “บรรดาอาจารย์ทั้งหลาย
ท่านก็รู้วิชาการของท่าน แต่เรื่องของประเทศมันมีหลายวิชา ท่านอยากจะทำวิจัย ท่านอยากจะมาคุยกัน
กับผม ท่านรวมตัวกันคุยกับผมสิ ท่านก็คือข้าราชการนะ”
ลำดับที่ ความรู้สึกต่อคำพูดของนายกรัฐมนตรี ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วย 61.5
2 ไม่เห็นด้วย 20.0
3 ไม่มีความคิดเห็น 18.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความรู้สึกต่อคำพูดของนายกรัฐมนตรี ที่ว่า “พรรคประชาธิปัตย์
อยากจะปฏิรูปการเมือง มาคุยกันได้ มาคุยกันได้ทุกคน ผมพร้อมที่จะพูดคุยกับทุก ๆ คน ผมอยากเห็น
การปรองดองให้เกิดขึ้น”
ลำดับที่ ความรู้สึกต่อคำพูดของนายกรัฐมนตรี ค่าร้อยละ
1 จริงใจ 47.5
2 ไม่จริงใจ 30.1
3 ไม่มีความคิดเห็น 22.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 10 แสดงการเปรียบเทียบค่าร้อยละของตัวอย่างที่เสนอทางออกให้กับนายกรัฐมนตรีในการตัดสินใจ
เพื่อดำเนินการต่อไป
ลำดับที่ ข้อเสนอแนะของตัวอย่าง สำรวจครั้งที่ 1(1-2 ก.พ.49) สำรวจครั้งที่ 2(3-4 ก.พ.49) สำรวจครั้งที่ 1 (5-6 ก.พ. 49)
1 ทำงานต่อ 37.3 33.6 59.3
2 ลาออก 15.5 14.6 14.5
3 ยุบสภา 7.0 7.2 8.8
4 อื่นๆ อาทิ ให้หันหน้ามาเจรจากับนายสนธิ /
ให้ไตร่ตรองการทำงานอย่างรอบคอบ /ให้แถลงข้อเท็จจริงให้ประชาชนรับทราบ 4.9 6.2 0.9
5 ไม่มีความเห็น 35.3 38.4 16.5
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0
ตัวอย่างที่ระบุว่า ต้องการให้นายกรัฐมนตรีทำงานต่อ ระบุเงื่อนไขว่า.......
- ต้องทำงานอย่างโปร่งใสและสามารถตรวจสอบได้
- ต้องเร่งแก้ไขปัญหาความยากจน/ต้องสามารถตอบข้อสงสัยของประชาชนได้ทุกข้อ
- ต้องทำงานด้วยความจริงใจ และรักษาผลประโยชน์ของประเทศชาติ
- ยอมรับฟังความคิดเห็นของกลุ่มผู้ที่มาชุมนุมประท้วง ฯลฯ
ตารางที่ 11 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุคะแนนความคิดเห็นที่มีต่อการนำเสนอข่าวของสื่อมวลชนในด้าน
ต่าง ๆ กรณีความขัดแย้งของนายกรัฐมนตรีกับนายสนธิ ลิ้มทองกุล
ลำดับที่ คะแนนความคิดเห็นโดยเฉลี่ย จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน คะแนนเฉลี่ย
1 ความถูกต้อง-เชื่อถือได้ 6.60
2 ความเป็นกลาง 6.22
3 ความเป็นอิสระจากการเมือง 6.29
4 ความรวดเร็ว ฉับไว ในการนำเสนอข่าว 7.60
5 การใช้ภาษา/ภาษาข่าว 6.80
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-