ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการศูนย์เครือข่ายวิชาการเพื่อสังเกตการณ์และวิจัยความสุขชุมชน หรือ ศูนย์วิจัยความสุขชุมชน (ABAC ANCHOR POLL) มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลสำรวจภาคสนาม เรื่อง ผลวิจัยเพื่อประมาณการจำนวนผู้ใช้ยาเสพติดในยุคตอนต้นรัฐบาลพรรคประ ชาธิปัตย์ภายใต้การนำของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และสถานการณ์ปัญหาของประชาชนในชุมชนเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร กรณีศึกษาประชาชนอายุ 12 — 65 ปี จำนวนทั้งสิ้น 2,452 ครัวเรือน ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 2 — 17 มกราคม 2552 ที่ผ่านมา พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 55.1 ระบุความเป็นมิตรต่อกันของคนในชุมชนอยู่ในระดับน้อยถึงไม่มีเลย ขณะที่ร้อยละ 26.9 ระบุความเป็นมิตรต่อกันของคนในชุมชนอยู่ในระดับมากถึงมากที่ สุด และร้อยละ 18.0 ระบุความเป็นมิตรของคนในชุมชนอยู่ในระดับปานกลางเท่านั้น
เมื่อถามถึงระดับการช่วยกันสอดส่องดูแลชุมชน พบว่า ร้อยละ 43.6 ระบุมีน้อยถึงไม่มีเลย ร้อยละ 16.8 ระบุระดับปานกลาง และร้อย ละ 39.6 ระบุระดับมากถึงมากที่สุด และเมื่อถามถึงระดับการช่วยดูแลทรัพย์สินสาธารณะในชุมชน เช่น ตู้โทรศัพท์ ไฟส่องทางเดิน และถังดับเพลิง เป็นต้น พบว่า ร้อยละ 42.4 ระบุมีน้อยถึงไม่ช่วยกันเลย ร้อยละ 17.4 ระบุช่วยกันระดับปานกลาง และร้อยละ 40.2 ระบุช่วยกันระดับมาก ถึงมากที่สุด
เมื่อถามถึงระดับการช่วยป้องกันและแก้ปัญหาอาชญากรรมในชุมชนร่วมกัน พบว่า ร้อยละ 50.7 ระบุช่วยกันน้อยมากถึงไม่ช่วยกันเลย ร้อย ละ 15.1 ระบุช่วยกันระดับปานกลาง และร้อยละ 34.2 ระบุช่วยกันระดับมากถึงมากที่สุด ที่น่าเป็นห่วงคือ เมื่อถามถึงระดับการช่วยกันป้องกันและแก้ ปัญหายาเสพติดในชุมชนร่วมกัน พบว่า ร้อยละ 53.6 ระบุช่วยกันน้อยมาก ถึง ไม่ช่วยกันเลย ร้อยละ 15.2 ระบุช่วยกันระดับปานกลาง และร้อยละ 31.2 ระบุช่วยกันระดับมาก ถึงมากที่สุด
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า สิ่งที่น่าเป็นห่วงอย่างยิ่ง คือ ผลวิจัยตามหลักสถิติประมาณการจำนวนประชาชนอายุระหว่าง 12 — 65 ปีใน กรุงเทพมหานครที่เป็นกลุ่มเป้าหมายจำนวนทั้งสิ้น 4,274,757 คน หรือกว่าสี่ล้านสองแสนคน พบว่า มีผู้เคยทดลองสารเสพติดที่ไม่นับรวมเหล้าและ บุหรี่ มีจำนวนทั้งสิ้น 593,314 คน (ประมาณหกแสนคน) ที่เคยทดลองใช้ยาเสพติดในการศึกษาครั้งนี้ โดยในกลุ่มนี้ 256,388 คน หรือกว่าสองแสนห้า หมื่นคน ยังคงใช้ยาเสพติดในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา และ197,338 คน หรือประมาณสองแสนคน ที่ยังคงใช้ยาเสพติดในช่วง 30 วันที่ผ่านมา
ดร.นพดล กล่าวด้วยว่า ตัวยาเสพติดที่ถูกค้นพบว่ามีคนเคยใช้มากที่สุด คือ 363,576 คน เคยเสพกัญชา รองลงมาคือ ยาบ้า จำนวน 235,027 คน กระท่อม จำนวน 171,330 คน ยาไอซ์ จำนวน 127,006 คน สารระเหย จำนวน 67,848 คน ยาอียาเลิฟ จำนวน 48,530 คน ผงขาว เฮโรอีน จำนวน 44,277 คน ฝิ่นจำนวน 42,878 คน ยาเค จำนวน 32,729 คน และโคเคนจำนวน 25,466 คน
แต่เมื่อวิเคราะห์ตัวยาเสพติดที่กำลังถูกใช้อยู่ในช่วง 30 วันที่ผ่านมา พบความน่าห่วงใยในกลุ่มเด็กและเยาวชนที่อายุระหว่าง 12 — 24 ปี ที่พบเด็กและเยาวชนที่ยังคงเสพกัญชาอยู่จำนวน 23,981 คน ยาบ้าจำนวน 22,226 คน ยาไอซ์ จำนวน 18,168 คน กระท่อมจำนวน 13,347 คน และสารระเหย จำนวน 6,795 คน
และเมื่อถามถึงปัญหากลุ่มคนที่ก่อความเดือดร้อนในชุมชน พบว่า อันดับแรกหรือร้อยละ 54.4 ระบุคือการลักเล็กขโมยน้อย รองลงมาคือ ร้อยละ 53.7 ระบุมีกลุ่มคนส่งเสียงดังเดือดร้อนรำคาญ ร้อยละ 43.3 ระบุตั้งกลุ่มมั่วสุม ร้อยละ 42.9 ระบุก่อเรื่องทะเลาะวิวาท ร้อยละ 38.0 ระ บุแกงค์มอเตอร์ไซค์ซิ่ง ร้อยละ 25.3 ระบุการทำลายทรัพย์สิน และร้อยละ 22.2 ระบุการแข่งรถซิ่ง ตามลำดับ
ผอ.ศูนย์วิจัยความสุขชุมชน กล่าวต่อว่า ผลวิจัยครั้งนี้ยืนยันให้เห็นชัดเจนว่า ปัญหายาเสพติดในชุมชนกลับฟื้นคืนชีพมารุนแรงเหมือนที่เคย เกิดขึ้นในอดีต และชี้ให้เห็นว่าช่วงเวลาที่รัฐบาลทักษิณเคยทำสงครามยาเสพติดนั้นเป็นเพียงช่วงเวลาแห่งการพักร้อนของขบวนการค้ายาเสพติดและการ หยุดชะงักงันชั่วคราวของกลุ่มผู้เสพเท่านั้น ดังนั้นการค้นพบจำนวนประชาชนโดยเฉพาะกลุ่มเด็กและเยาวชนที่ใช้ยาเสพติดครั้งนี้จึงเป็นปัญหาใหญ่ที่ท้าทาย รัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ ภายใต้การนำของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะและผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครคนใหม่ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร โดยอาจมี สาเหตุเป็นองค์ประกอบกันอย่างน้อยสามประการ คือ
ประการแรก มีการเปลี่ยนรัฐบาลหลายครั้ง หัวหน้าหน่วยผู้กำกับดูแลนโยบายเปลี่ยนตัวบ่อยหลายคน ส่งผลทำให้รูปแบบการบริหารจัดการ ปัญหายาเสพติดเปลี่ยนแปลงไปตามผู้นำรัฐบาล มีผลทำให้หน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องขาดความต่อเนื่องในการแก้ปัญหา และเมื่อการทำสงครามยาเสพ ติดกลายเป็นปัญหาที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์เรื่องการฆ่าตัดตอนและการละเมิดสิทธิมนุษยชนทำให้นายกรัฐมนตรีของรัฐบาลที่ผ่านมาหลายคนไม่กล้าทำหน้าที่นั่งหัว โต๊ะสั่งการด้วยตนเอง ส่งผลให้การทำงานของเจ้าหน้าที่รัฐตอบสนองนโยบายได้ไม่เต็มที่นัก การมุ่งเน้นแต่เรื่องปราบปรามอย่างเดียวจะไม่สามารถ แก้ไขปัญหายาเสพติดและอาชญากรรมได้อย่างยั่งยืน
ประการที่สอง เจ้าหน้าที่ของรัฐระดับท้องที่ในชุมชนละเลยปัญหาเดือดร้อนของประชาชนไม่สนใจการแจ้งเบาะแสของประชาชนอย่างจริง จัง การทำงานของเจ้าหน้าที่รัฐเหล่านั้นไม่มีระบบติดตามแก้ปัญหาแบบถอนรากถอนโคนให้หมดไปจากชุมชนและไม่รวดเร็วฉับไวต่อการแจ้งข่าวของ ประชาชน ส่งผลให้ประชาชนขาดความไว้เนื้อเชื่อใจการทำงานของเจ้าหน้าที่รัฐระดับท้องที่ในชุมชน
ประการที่สาม ได้แก่ การแก้ปัญหายาเสพติดในภาคประชาชนอ่อนแอในห้วงเวลาสองถึงสามปีที่ผ่านมา เนื่องจากสถานการณ์ความขัดแย้ง ทางการเมืองที่รุนแรง การแบ่งฝักแบ่งฝ่ายแตกแยกของผู้คนในสังคม ส่งผลทำให้ความสัมพันธ์ของคนในชุมชนพื้นที่กรุงเทพมหานครที่ไม่ค่อยสู้ดีอยู่แล้ว เพราะต่างคนต่างอยู่ ยิ่งทำให้ความสัมพันธ์ของประชาชนในชุมชนกลับแย่และเลวร้ายลงไปอีก ผลวิจัยที่ค้นพบครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า ความร่วมมือกันในการ ป้องกันและแก้ปัญหายาเสพติดและปัญหาอาชญากรรมของภาคประชาชนมีน้อยมากจนถึงขั้นไม่ยอมช่วยเหลือกันเลย ส่งผลให้ปัญหายาเสพติดกลับมาเป็น ปัญหาใหญ่ที่มีขบวนการค้าและอิทธิพลผลประโยชน์เกินขอบเขตความสามารถของภาคประชาชนจะจัดการเองได้เพียงลำพัง
ดังนั้น แนวทางแก้ไขที่น่าจะเป็นไปได้ คือ รัฐบาลต้องประกาศให้พื้นที่กรุงเทพมหานครและจังหวัดรอยต่อปริมณฑลของกรุงเทพมหานคร เป็น “เขตภัยพิบัติด้านยาเสพติด”ที่ทำลายล้างคุณภาพเด็กและเยาวชน จึงต้องยกให้เป็น “วาระแห่งชาติ” อีกวาระหนึ่ง เพราะกรุงเทพมหานครกำลัง กลายเป็นพื้นที่แห่งผลประโยชน์ของขบวนการค้ายาเสพติดที่นายกรัฐมนตรีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และ ม.ร.ว.สุขุมพันธ์ ต้องถูกถามหาสภาวะความเป็น ผู้นำทั้งระดับชาติและระดับพื้นที่ในการเร่งป้องกันและปราบปราม แก้ไขฟื้นฟูสถานการณ์ปัญหายาเสพติดควบคู่ไปกับปัญหาอาชญากรรมอื่นๆ อย่างจริงจัง สะสางปัญหาความทุกข์ของประชาชนเรื่องยาเสพติดอย่างต่อเนื่องด้วยความรวดเร็วฉับไว โดยบูรณาการทุกหน่วยงานเชื่อมประสานกับการหนุนเสริม ความเข้มแข็งภาคประชาชนอย่างเป็นระบบทีมงานเดียวกันอีกครั้งหนึ่ง
โปรดพิจารณารายละเอียดของโครงการสำรวจ วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. เพื่อประมาณการจำนวนผู้ใช้ยาเสพติดอายุระหว่าง 12 — 65 ปี ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร 2. เพื่อสำรวจสถานการณ์แวดล้อมและปัญหายาเสพติดระดับชุมชนและครัวเรือน 3. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป ระเบียบวิธีการดำเนินโครงการ
โครงการสำรวจภาคสนามของศูนย์วิจัยความสุขชุมชน มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ครั้งนี้เรื่อง ผลวิจัยเพื่อประมาณการจำนวนผู้ใช้ยาเสพติดใน ยุคตอนต้นรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ภายใต้การนำของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะและสถานการณ์ปัญหาของประชาชนในชุมชนเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร กรณี ศึกษาประชาชนอายุ 12 — 65 ปี จำนวนทั้งสิ้น 2,452 ครัวเรือน ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 2 — 17 มกราคม 2552 ประเภทของการสำรวจ วิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนอายุ 12 - 65 ปีในเขตกรุงเทพมหานคร เทคนิค วิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากรเป้าหมายจากการทำ สำมะโน ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5 เครื่องมือที่ใช้ใน การเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์ หลังจากนั้น คณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบ สอบถามก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูลและงบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่างพบ ว่าร้อยละ 53.4 เป็นหญิง
ในขณะที่ร้อยละ 46.6 เป็นชาย
นอกจากนี้ ร้อยละ 24.6 อายุระหว่าง 12 — 24 ปี
ร้อยละ 46.2 อายุระหว่าง 25 — 44 ปี
และร้อยละ 29.2 อายุระหว่าง 45 - 65 ปี ตามลำดับ
โดยตัวอย่าง ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 82.1 มีการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี
ร้อยละ 15.8 มีการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 2.1 มีการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
และกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 30.0 ค้าขายและอาชีพอิสระ
ร้อยละ 23.9 รับจ้างใช้แรงงานทั่วไป
ร้อยละ 16.3 เป็นข้าราชการ พนักงาน รัฐวิสาหกิจและเอกชนทั่วไป
ร้อยละ 13.3 เป็นนักเรียนนักศึกษา
ร้อยละ 10.5 เป็นแม่บ้าน เกษียณอายุ
และร้อยละ 6.0 ไม่ได้ประกอบอาชีพ / ว่างงาน
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบ
ลำดับที่ ระดับความเป็นมิตรต่อกันของคนในชุมชน ค่าร้อยละ 1 มาก ถึง มากที่สุด 26.9 2 ปานกลาง 18.0 3 น้อย ถึง ไม่มีเลย 55.1 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 2 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ระดับการช่วยกันสอดส่องดูแลชุมชน ลำดับที่ ระดับการช่วยกันสอดส่องดูแลชุมชน ค่าร้อยละ 1 มาก ถึง มากที่สุด 39.6 2 ปานกลาง 16.8 3 น้อย ถึง ไม่มีเลย 43.6 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 3 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ระดับการช่วยดูแลทรัพย์สินสาธารณะในชุมชน เช่น ตู้โทรศัพท์ ไฟส่องทางเดิน ถังดับเพลิง ลำดับที่ ระดับการช่วยดูแลทรัพย์สินสาธารณะในชุมชน ค่าร้อยละ 1 มาก ถึง มากที่สุด 40.2 2 ปานกลาง 17.4 3 น้อย ถึง ไม่มีเลย 42.4 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 4 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ระดับการช่วยป้องกันและแก้ปัญหาอาชญากรรมในชุมชนร่วมกัน ลำดับที่ ระดับการช่วยป้องกันและแก้ปัญหาอาชญากรรมในชุมชนร่วมกัน ค่าร้อยละ 1 มาก ถึง มากที่สุด 34.2 2 ปานกลาง 15.1 3 น้อย ถึง ไม่มีเลย 50.7 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 5 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ระดับการช่วยป้องกันและแก้ปัญหายาเสพติดในชุมชนร่วมกัน ลำดับที่ ระดับการช่วยป้องกันและแก้ปัญหา ยาเสพติดในชุมชนร่วมกัน ค่าร้อยละ 1 มาก ถึง มากที่สุด 31.2 2 ปานกลาง 15.2 3 น้อย ถึง ไม่มีเลย 53.6 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 6 ผลวิจัยทางสถิติประมาณการจำนวนประชาชนอายุระหว่าง 12 - 65 ปี ที่ใช้สารเสพติดแต่ละชนิด สารเสพติด เคยทดลอง เคยในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา เคยในช่วง 30 วันที่ผ่านมา (เรียงอันดับ ตาม ตัวยาที่เคยทดลองใช้) จำนวน ค่าร้อยละ จำนวน ค่าร้อยละ จำนวน ค่าร้อยละ สารเสพติดชนิดใดชนิดหนึ่ง 593,314 13.88 256,388 6 197,338 4.62 1.กัญชา 363,576 8.51 106,428 2.49 61,971 1.45 2.ยาบ้า 235,027 5.5 75,421 1.76 57,178 1.34 3.กระท่อมหรือสารผสม กระท่อม 171,330 4.01 81,840 1.91 61,108 1.43 4.ไอซ์ 127,006 2.97 81,487 1.91 59,884 1.4 5.สารระเหย 67,848 1.59 11,955 0.28 8,165 0.19 6.ยาอี/ยาเลิฟ 48,530 1.14 14,892 0.35 9,461 0.22 7.ผงขาว/เฮโรอีน 44,277 1.04 8,856 0.21 5,411 0.13 8.ฝิ่น 42,878 1 8,286 0.19 7,045 0.16 9.ยาเค 32,729 0.77 6,785 0.16 5,008 0.12 10.โคเคน 25,466 0.6 3,588 0.08 2,504 0.06 หมายเหตุ จำนวนกลุ่มเป้าหมายประชาชนอายุระหว่าง 12 — 65 ปีในการวิจัยครั้งนี้ รวมทั้งสิ้น 4,274,757 คน ตารางที่ 7 ผลวิจัยทางสถิติประมาณการจำนวนประชาชนที่ใช้ยาเสพติดมากสุดใน 5 อันดับแรก ในช่วง 30 วันที่ผ่านมา จำแนกตามช่วงอายุ อันดับที่ ชนิดยาเสพติดที่ใช้ในช่วง 30 วันที่ผ่านมา 12 — 24 ปี(จำนวนคน) 25 -44 ปี(จำนวนคน) 45 — 65 ปี(จำนวนคน) 1 กัญชา 23,981 31,667 6,323 2 ยาบ้า 22,226 31,388 3,564 3 ยาไอซ์ 18,168 26,835 14,881 4 กระท่อม 13,347 36,606 11,155 5 สารระเหย 6,795 1,370 - หมายเหตุ จำนวนกลุ่มเป้าหมายประชาชนอายุระหว่าง 12 — 65 ปีในการวิจัยครั้งนี้ รวมทั้งสิ้น 4,274,757 คน ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ปัญหากลุ่มคนก่อความเดือดร้อนในชุมชน (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) กลุ่มคนที่ก่อความเดือดร้อนให้คนในหมู่บ้าน/ชุมชน ค่าร้อยละ 1. ลักเล็กขโมยน้อย 54.4 2. มีกลุ่มคนส่งเสียงดังเดือดร้อนรำคาญ 53.7 3. ตั้งกลุ่มมั่วสุม 43.3 4. ก่อเรื่องทะเลาะวิวาท 42.9 5. แกงค์มอเตอร์ไซค์ซิ่ง 38.0 6. ทำลายทรัพย์สิน 25.3 7. การแข่งรถซิ่ง 22.2 --เอแบคโพลล์-- -พห-