ศูนย์วิจัยเอแบค นวัตกรรมทางสังคม การจัดการและธุรกิจ
มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
เสนอผลสำรวจภาคสนาม เรื่อง
สำรวจพฤติกรรมการติดตามข่าวสารของคนมีเงินชนรุ่นใหม่ (นิวเจน) กับการวางแผนชีวิตและการเงินในสภาวะเศรษฐกิจถดถอย ยุควิกฤตแฮมเบอร์เกอร์:
กรณีศึกษาตัวอย่างผู้มีรายได้ 75,000 บาทต่อเดือนขึ้นไป อายุระหว่าง 30 — 49 ปี
ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเอแบคนวัตกรรมทางสังคม การจัดการและธุรกิจ มหาวิทยาลัย อัสสัมชัญ
เปิดเผยผลสำรวจพฤติกรรมการติดตามข่าวสารของคนมีเงินชนรุ่นใหม่ (นิวเจน) กับการวางแผนชีวิตและการเงิน
ในสภาวะเศรษฐกิจถดถอย ยุควิกฤตแฮมเบอเกอร์ กรณีศึกษาตัวอย่างผู้มีรายได้ 75,000 บาทต่อเดือนขึ้นไป อายุ
ระหว่าง 30 — 49 ปี จำนวนทั้งสิ้น 447 ราย ดำเนิน โครงการวิจัยระหว่างวันที่ 1 ธันวาคม 2551 ถึง 18
มกราคม 2552 พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่หรือร้อยละ 73.3 ติดตามข่าวสารเกี่ยวกับการ ลงทุนผ่านทางโทรทัศน์
(ช่องฟรีทีวี) รองลงมาคือร้อยละ 65.5 ระบุหนังสือพิมพ์ แต่ที่น่าสนใจคือคนกลุ่มที่มีรายได้ 75,000 บาทขึ้นไป
ในช่วงอายุ 30 — 49 ปีเหล่านี้ติดตามข่าวสารผ่านทางอินเทอร์เน็ตมากกว่าทางวิทยุ คือร้อยละ 41.9 ต่อร้อยละ
23.4 ตามลำดับ และร้อยละ 14.2 ติดตามผ่านทางเคเบิลทีวี ทีวีดาวเทียม ร้อยละ 13.5 ติดตามผ่านทาง
นิตยสาร และร้อยละ 6.3 ติดตามผ่านทางแผ่นพับ โบรชัวร์ ตามลำดับ
ผลสำรวจยังได้พบความแตกต่างในเรื่องการติดตามข่าวสารเกี่ยวกับการลงทุนในกลุ่มคนที่มีระดับรายได้ต่างกัน
คือ กลุ่มคนที่มี รายได้เกินกว่า 105,000 บาทต่อเดือน (กว่าหนึ่งแสนห้าพันบาทต่อเดือน) มักติดตามข่าวการ
ลงทุนผ่านทางหนังสือพิมพ์ มากกว่าผ่านทาง โทรทัศน์คือ ร้อยละ 72.3 ต่อร้อยละ 65.2 และกว่าร้อยละ 40
ทั้งกลุ่มคนที่มีรายได้ ระหว่าง 75,000 - 90,000 บาทต่อเดือนกับกลุ่มคนที่มีราย ได้เกินกว่า 105,000 บาท
ต่อเดือน ยังติดตามข่าวสาร การลงทุนผ่านทางอินเทอร์เน็ตอีกด้วย
ที่น่าสนใจคือผลสำรวจพบว่าส่วนใหญ่หรือร้อยละ 67.6 มีการจัดสรรรายได้ไว้บางส่วนเพื่อการออมและการลงทุน
ในขณะที่ร้อยละ 17.7 จัดสรรรายได้บางส่วนไว้เพื่อการออมเพียงอย่างเดียวและร้อยละ 6.3 มีการจัดสรร
รายได้ไว้เพื่อการลงทุนเพียงอย่างเดียว อย่างไรก็ตาม ร้อยละ 8.4 ใช้จ่ายโดยไม่มีเงินเดือนเหลือเก็บออม
แต่ที่น่าพิจารณาคือ เมื่อสอบถามถึงแนวทางปฏิบัติ เมื่อต้องการตัดสินใจใช้เงินพบว่าส่วนใหญ่หรือร้อยละ 80.8
จะเห็น “ความจำ เป็น” และ “ประโยชน์” ก่อนจึงตัดสินใจใช้เงิน ในขณะที่ร้อยละ 9.7 จะรอให้ราคาลดลง
แล้วตัดสินใจ ร้อยละ 6.6 จะตัดสินใจทันทีที่ต้องการ และร้อยละ 2.9 จะเปรียบเทียบราคาก่อน และขึ้นอยู่กับ
ความพร้อม เป็นต้น
เมื่อสอบถามถึงสัดส่วนของรายรับและรายจ่ายในแต่ละเดือน ผลสำรวจพบว่าส่วนใหญ่หรือร้อยละ 70.8 ระบุมี
รายจ่ายน้อยกว่าราย รับในขณะที่ ร้อยละ 16.3 ระบุรายจ่ายเท่ากับรายรับ และร้อยละ 12.9 ระบุรายจ่าย
มากกว่า รายรับ ตามลำดับ
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า สิ่งที่น่าเป็นห่วงคือ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 65.5 ระบุว่า สถานการณ์การเมืองภายใน
ประเทศเป็นปัจจัยที่ส่งผล ทำให้กังวลต่อฐานะทางการเงินระดับมากถึงมากที่สุด รองลงมาคือ ร้อยละ 64.6
ระบุเป็น สภาวะเศรษฐกิจโลก ร้อยละ 39.9 ระบุเป็นราคา สินค้าอุปโภค บริโภค ร้อยละ 37.8 ระบุหน้า
ที่การงานไม่แน่นอน ร้อยละ 37.2 ระบุราคาน้ำมัน ร้อยละ 32.0 ระบุอัตราดอกเบี้ย และร้อยละ 27.0
ระบุอัตราเงินเฟ้อที่เป็นปัจจัยทำให้ กังวลต่อฐานะทางการเงินระดับมากถึงมากที่สุด
นอกจากนี้ กลุ่มตัวอย่างเกินกว่าครึ่งหรือร้อยละ 53.4 ระบุระยะเวลาของเงินสดที่เก็บสำรองไว้จะหมดไป
ในระยะเวลาไม่เกิน 1 ปี หากเกิดเหตุฉุกเฉินไม่คาดฝันขึ้น เช่น ตกงาน เจ็บป่วย คนในครอบครัวเสียชีวิต
เป็นต้น ในขณะที่ ร้อยละ 42.5 ระบุมากกว่า 1 ปีขึ้นไปที่เงินเก็บสำรองไว้จะหมดไป และร้อยละ 4.1 ระบุ
ยังไม่มีเงินเก็บสำรองไว้ สำหรับเหตุฉุกเฉินไม่คาดฝัน
อย่างไรก็ตาม ผลสำรวจพบว่า กลุ่มตัวอย่างคนรุ่นใหม่ที่มีรายได้สูงเหล่านี้เกินครึ่งหรือร้อยละ 52.5 สนใจต่อ
รูปแบบการวางแผน ทางการเงินด้วยการออมเงินฝากกับธนาคารระดับมากถึงมากที่สุด รองลงมาคือร้อยละ
45.5 วางแผน ทางการเงิน เพื่อการศึกษาของ บุตร ระดับมากถึงมากที่สุด ร้อยละ 41.3 วางแผนการเงิน
เพื่อวัยเกษียณระดับมาก ถึงมากที่สุด ร้อยละ 34.0 วางแผนการเงินในรูปแบบประกัน ชีวิตระดับมากถึงมากที่สุด
ร้อยละ 29.9 วางแผนการเงิน เพื่อที่อยู่อาศัยระดับมากถึงมากที่สุด ในขณะที่ ร้อยละ 23.1 สนใจลงทุนผ่าน
กองทุนรวมระดับมาก ถึงมากที่สุด และร้อยละ 21.6 สนใจซื้อทองคำ เพชร และสังหาริมทรัพย์อื่นๆระดับมาก
ถึงมากที่สุด แต่ที่น่าพิจารณาคือ ส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 65.1 สนใจลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ เช่น ซื้อหุ้นอยู่ใน
ระดับน้อยถึงน้อยที่สุด และร้อยละ 56.5 สนใจซื้อ พันธบัตรรัฐบาลอยู่ในระดับน้อยถึงน้อยที่สุดเช่นกัน
แต่เมื่อถามในกลุ่มตัวอย่างที่มีบุตรเกี่ยวกับระดับการศึกษาที่ตั้งใจจะสนับสนุนด้านการเงินให้แก่บุตร พบว่า ส่วนใหญ่
หรือร้อยละ 76.0 จะให้บุตรเรียนจบสูงกว่าปริญญาตรี คือปริญญาโท และเอก ในขณะที่ร้อยละ 23.7 จะสนับสนุน
การเงินให้เรียนจบระดับปริญญาตรี และเพียงร้อยละ 0.3 เท่านั้นที่จะสนับสนุนบุตรของตนให้เรียนจบ ต่ำกว่า
ปริญญาตรี
ทั้งนี้ตัวอย่างมากกว่าครึ่งหนึ่งหรือร้อยละ 57.4 ตั้งใจจะสนับสนุนด้านการเงินให้บุตรได้ศึกษาชั้นสูงสุดในสถาบัน
การศึกษาภายใน ประเทศ ในขณะที่ ร้อยละ 42.6 จะสนับสนุนให้บุตรศึกษาในต่างประเทศ
ประเด็นที่น่าสนใจคือ เมื่อสอบถามถึงระดับความตั้งใจในการวางแผนทางการเงินเพื่อชีวิตในอนาคตนั้น พบว่า
ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 81.1 มีความตั้งใจในระดับมากถึงมากที่สุด ในขณะที่ ร้อยละ 17.8 ตั้งใจระดับปานกลาง
โดยมีเพียงร้อยละ 1.1 เท่านั้นที่มีความตั้งใจในการ วางแผนทางการเงินเพื่อชีวิตในอนาคตในระดับน้อยถึงน้อยที่สุด
สำหรับรายได้ต่อเดือนที่คาดหวังหลังเกษียณอายุการทำงานนั้น พบว่า ร้อยละ 47.9 คาดหวังจะมีรายได้ต่อเดือน
หลังการเกษียณ อายุการทำงานมากกว่า 50,000 บาทขึ้นไป ในขณะที่ร้อยละ 44.5 คาดหวังรายได้ต่อเดือน
ระหว่าง 10,001 — 50,000 บาทต่อเดือน ทั้งนี้มีเพียงร้อยละ 7.6 ที่คาดหวังไว้ไม่เกิน 10,000 บาทต่อเดือนตามลำดับ
ผอ.ศูนย์วิจัยฯ กล่าวต่อไปว่า ผลวิจัยครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า กลุ่มคนมีรายได้สูงรุ่นใหม่อายุระหว่าง 30 — 49 ปีเหล่านี้
ส่วนใหญ่ค่อนข้าง มีการวางแผนใช้จ่ายเงินอย่างรัดกุม มีความระมัดระวังในการใช้เงินที่ต้องเห็นถึง “ความจำ
เป็นและ ประโยชน์” ก่อนตัดสินใจมีรายรับมากกว่า รายจ่าย มีพฤติกรรมเก็บออมเงินสดของตนไว้กับธนาคารมาก
ที่สุด โดยมีเพียง ส่วนน้อยที่นำไปลงทุนในรูปแบบอื่นๆ ผลสำรวจที่ค้นพบเช่น นี้อาจมองปัจจัยได้อย่างน้อยสามด้านคือ
ด้านที่หนึ่ง ธนาคารและสถาบันการเงินยังคงเป็นองค์กรที่ได้รับความเชื่อถือจากประชาชนคนที่มีรายได้สูงกลุ่มนี้
อยู่เพราะเห็นว่ามี ความเสี่ยงต่ำจึงนำเงินไปเก็บออมไว้แม้อัตราดอกเบี้ยที่จะได้รับต่ำมากก็ตาม
ด้านที่สอง สถานการณ์การเมืองภายในประเทศขณะนี้และสภาวะเศรษฐกิจโลกในยุควิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ทำให้
คนกลุ่มนี้มีความ กังวลสูงต่อฐานะการเงินของตน ทำให้ไม่กล้านำเงินสดออกมาลงทุนในรูปแบบอื่นๆ
ด้านที่สาม คนกลุ่มนี้อาจยังไม่มีข้อมูลที่จะช่วยสร้างความเชื่อมั่นได้มากเพียงพอ ยิ่งไปกว่านั้น รัฐบาลและ
องค์กร ที่เกี่ยวข้อง กับ การสร้างความเชื่อมั่นในผลตอบแทนการลงทุนยังทำงานได้ไม่ตรงใจของกลุ่มคนที่ถูกศึกษา
ครั้งนี้ ในการชี้แนะพัฒนาบริการและผลิตภัณฑ์ ทางการเงินในการบริหารความเสี่ยงในการลงทุนอย่างมีประสิทธิภาพ
จนทำให้คนที่มีเงินเหล่านี้โยกย้ายเม็ดเงินที่ฝากไว้ในธนาคารให้เข้าสู่ระบบการลงทุนเพื่อหวังผลตอบแทนที่จะ
งอกเงยในอนาคต
“หากมองสิ่งที่คนมีเงินเหล่านี้คิดและวางแผนแบบผิวเผินอาจดูดี เช่น จะตัดสินใจใช้เงินเมื่อเห็นความจำเป็นและ
ประโยชน์ก่อน ฝากเงินไว้กับธนาคารเป็นส่วนใหญ่ ตั้งใจจะสนับสนุนเงินด้านการศึกษาของบุตรจนเรียนจบปริญญาโท
และปริญญาเอก ต้องการวางแผน ใช้เงินหลังเกษียณอายุการทำงาน ตั้งใจซื้อที่อยู่อาศัย และลงทุนในการซื้อ
ประกันชีวิต เป็นต้น แต่ถ้าจะปล่อยให้คิดและวางแผนเช่นนี้ต่อไป เม็ดเงินในธนาคารอาจกลายเป็นเพียงเศษ
กระดาษและโลหะที่มี มูลค่าเพิ่มน้อยมาก เพราะเม็ดเงินของประชาชน แต่ละคนไม่ถูกนำมาขับ เคลื่อนเศรษฐกิจ
ระดับปัจเจกชนและระดับสังคม ส่วนรวมที่คุ้มค่ามากกว่า ดังนั้น รัฐบาล และ หน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องน่า จะทำ
อย่างน้อย สามแนวทาง คือ
แนวทางแรก เร่งสร้างความเชื่อมั่นให้เกิดขึ้นโดยลดทอนความวิตกกังวลของประชาชนต่อสถานการณ์การเมือง
ภายในประเทศและ ชี้ให้เห็นข้อมูลที่เชื่อถือได้ว่าผลกระทบที่แท้จริงจากสภาวะเศรษฐกิจโลกในยุควิกฤตแฮมเบอร์
เกอร์นี้ มีขนาดใหญ่โตหรือไม่เพียงไร จะนานแค่ไหน และมีธุรกิจใดบ้างที่น่าจะไปได้รอดในสถานการณ์เศรษฐกิจ
เช่นนี้
แนวทางที่สอง คือ รัฐควรมีมาตรการตอบสนองผลประโยชน์ให้กับประชาชนที่มีรายได้สูงในรูปของผลตอบแทน
การลงทุนใน โครงการต่างๆ ที่รัฐถือหุ้นเพิ่มเติม โดยการชี้ชวนให้ประชาชนนำเงินออกมาร่วมลงทุน
และแนวทางที่สามคือ รัฐบาลและองค์กรเอกชนที่เกี่ยวข้องน่าจะระดมบุคลากรผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้าน
การวางแผน การ ใช้ จ่ายเงินมาร่วมจัดตั้ง “ศูนย์ฮอตไลน์ข้อมูลแบบบูรณาการบริหารความเสี่ยงและบริการ
ให้ความรู้ ด้านการลงทุน” แก่ประ ชา ชนผู้มีรายได้สูง เหล่านี้ใช้ประกอบการพิจารณาตัดสินใจใช้เม็ดเงินที่
มีอยู่ให้เกิดดอกออกผล งอกเงย เป็นผลดีต่อเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและสังคมต่อไป” ดร.นพดล กล่าว
โปรดพิจารณารายละเอียดของโครงการสำรวจ
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1.เพื่อสำรวจพฤติกรรมการวางแผนชีวิตและการเงินในกลุ่มผู้มีรายได้ 75,000 บาทต่อเดือนขึ้นไป ที่มีอายุ
ระหว่าง 30 ถึง 49 ปี
2. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการดำเนินโครงการ
โครงการสำรวจภาคสนามของศูนย์วิจัยเอแบคนวัตกรรมทางสังคม การจัดการและธุรกิจ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
ครั้งนี้ เรื่อง สำรวจพฤติกรรมการติดตามข่าวสารของคนมีเงินชนรุ่นใหม่ (นิวเจน) กับการวางแผนชีวิตและ
การเงินในสภาวะ เศรษฐกิจถดถอย ยุควิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ กรณีศึกษาตัวอย่างผู้มีรายได้ 75,000 บาทต่อ
เดือนขึ้นไป อายุระหว่าง 30 — 49 ปี จำนวนทั้งสิ้น 447 ราย ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจในระหว่างวันที่
1 ธันวาคม 2551 ถึง 18 มกราคม 2552 ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ
(Survey Research) กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนผู้มีรายได้ 75,000 บาทต่อเดือนขึ้นไป
อายุระหว่าง 30 — 49 ปี เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล
คือ การสัมภาษณ์ หลังจากนั้น คณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ ของแบบสอบถามก่อนนำเข้าวิเคราะห์
ข้อมูล
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่าร้อยละ 54.6 เป็นชาย ในขณะ ที่ร้อยละ 45.4 เป็นหญิง ตัวอย่างร้อยละ 39.8 อายุต่ำกว่า 35 ปี ร้อยละ 43.3 อายุระหว่าง 35 — 44 ปี และร้อยละ 16.9 อายุมากกว่า 44 ปี ในขณะที่ตัวอย่างร้อยละ 15.3 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี ร้อยละ 49.1 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี และร้อยละ 35.6 สูงกว่าปริญญาตรี
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ แหล่งของข้อมูลข่าวสารการลงทุนที่ใช้ติดตามจากสื่อมวลชน ค่าร้อยละ 1 โทรทัศน์ (ช่องฟรีทีวี) 73.3 2 หนังสือพิมพ์ 65.5 3 อินเทอร์เน็ต 41.9 4 วิทยุ 23.4 5 เคเบิลทีวี ทีวีดาวเทียม 14.2 6 นิตยสาร 13.5 7 แผ่นพับ โบรชัวร์ 6.3 ตารางที่ 2 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ แหล่งข้อมูลข่าวสารในการติดตามข่าวสารเกี่ยวกับการลงทุน ในช่วง 30 วันที่ผ่านมา
โดยจำแนกตามระดับรายได้ต่อเดือน (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ แหล่งของข้อมูลข่าวสารการลงทุน ที่ใช้ติดตามจากสื่อมวลชน 75,000 — 90,000 บาทต่อเดือน 90,001 — 105,000 บาทต่อเดือน มากกว่า 105,000 บาทต่อเดือนขึ้นไป 1 โทรทัศน์ (ช่องฟรีทีวี) 78.6 67.1 65.2 2 หนังสือพิมพ์ 63.3 61.4 72.3 3 อินเทอร์เน็ต 43.2 37.1 43.8 4 วิทยุ 22.7 21.4 24.1 5 เคเบิลทีวี ทีวีดาวเทียม 12.2 11.4 20.5 6 นิตยสาร 10.9 15.7 17.9 7 แผ่นพับ โบรชัวร์ 4.4 11.4 7.1 ตารางที่ 3 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ การจัดสรรรายได้แต่ละเดือนของการใช้ชีวิต ลำดับที่ การจัดสรรรายได้แต่ละเดือนของการใช้ชีวิต ค่าร้อยละ 1 จัดสรรรายได้ไว้บางส่วนเพื่อการออมและการลงทุน 67.6 2 จัดสรรรายได้บางส่วนไว้เพื่อการออมเพียงอย่างเดียว 17.7 3 จัดสรรบางส่วนไว้เพื่อการลงทุนเพียงอย่างเดียว 6.3 4 ใช้จ่ายโดยไม่มีเงินเดือนเหลือเก็บออม 8.4 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 4 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ แนวทางปฏิบัติ เมื่อต้องการตัดสินใจใช้เงิน ลำดับที่ แนวทางปฏิบัติ เมื่อต้องการตัดสินใจใช้เงิน ค่าร้อยละ 1 เห็นความจำเป็นและประโยชน์ จึงตัดสินใจใช้เงิน 80.8 2 รอให้ราคาลดลง แล้วตัดสินใจ 9.7 3 ตัดสินใจทันทีที่ต้องการ 6.6 4 อื่นๆ เช่น เปรียบเทียบราคาก่อน ขึ้นกับความพร้อม เป็นต้น 2.9 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 5 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ สัดส่วนของรายรับ กับรายจ่ายในแต่ละเดือน ลำดับที่ สัดส่วนของรายรับ กับรายจ่ายในแต่ละเดือน ค่าร้อยละ 1 รายจ่าย เท่ากับ รายรับ 16.3 2 รายจ่าย น้อยกว่า รายรับ 70.8 3 รายจ่าย มากกว่า รายรับ 12.9 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 6 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ปัจจัยที่ส่งผลทำให้กังวลต่อฐานะทางการเงิน (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) ลำดับที่ ปัจจัยที่ส่งผลทำให้กังวลต่อฐานะทางการเงิน มากถึงมากที่สุด ปานกลาง น้อยถึงน้อยที่สุด 1 สถานการณ์ทางการเมืองภายในประเทศ 65.5 23.5 11.0 2 สภาวะเศรษฐกิจโลก 64.6 21.0 14.4 3 ราคาสินค้าอุปโภค บริโภค 39.9 36.0 24.1 4 หน้าที่การงานไม่แน่นอน 37.8 22.4 39.8 5 ราคาน้ำมัน 37.2 32.1 30.7 6 อัตราดอกเบี้ย 32.0 29.9 38.1 7 อัตราเงินเฟ้อ 27.0 36.3 36.7 ตารางที่ 7 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ระยะเวลาของเงินสดที่เก็บสำรองไว้จะหมดไป เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินไม่คาดฝันขึ้น เช่น ตกงาน เจ็บป่วย คนในครอบครัวเสียชีวิต เป็นต้น ลำดับที่ ระยะเวลาของเงินสดที่เก็บสำรองไว้จะหมดไป เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินไม่คาดฝันขึ้น ค่าร้อยละ 1 ไม่เกิน 1 ปี 53.4 2 มากกว่า 1 ปีขึ้นไป 42.5 3 ยังไม่มีเงินสดสำรองไว้สำหรับเหตุฉุกเฉินไม่คาดฝัน 4.1 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 8 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ระดับความสนใจต่อรูปแบบการวางแผนทางการเงิน ลำดับที่ รูปแบบการวางแผนทางการเงิน มากถึงมากที่สุด ปานกลาง น้อยถึงน้อยที่สุด 1 ออมเงินฝากกับธนาคาร 52.5 30.2 17.3 2 วางแผนทางการเงินเพื่อการศึกษาของบุตร 45.5 23.7 30.8 3 วางแผนการเงินเพื่อวัยเกษียณ 41.3 29.6 29.1 4 วางแผนการเงินในรูปแบบประกันชีวิต 34.0 34.3 31.7 5 วางแผนการเงินเพื่อที่อยู่อาศัย 29.9 34.1 36.0 6 ลงทุนผ่านกองทุนรวม 23.1 23.8 53.1 7 ซื้อทองคำ เพชร และสังหาริมทรัพย์อื่นๆ 21.6 27.9 50.5 8 ซื้อพันธบัตรรัฐบาล 17.1 26.4 56.5 9 ลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ เช่น ซื้อหุ้น 16.0 18.9 65.1 ตารางที่ 9 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ระดับการศึกษาที่ตั้งใจจะสนับสนุนด้านการเงินให้แก่บุตร (เฉพาะผู้ที่มีบุตร) ลำดับที่ ระดับการศึกษาของบุตรที่ตั้งใจจะสนับสนุนด้านการเงินให้แก่บุตร ค่าร้อยละ 1 ให้บุตรเรียนจบสูงกว่าปริญญาตรี คือ ปริญญาโท และเอก 76.0 2 ระดับปริญญาตรี 23.7 3 ต่ำกว่าปริญญาตรี 0.3 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 10 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ สถานศึกษาที่ตั้งใจจะสนับสนุนด้านการเงินให้บุตรได้ศึกษาชั้นสูงสุด (เฉพาะผู้ที่มีบุตร) ลำดับที่ สถานศึกษาที่ตั้งใจจะสนับสนุนด้านการเงินให้บุตรได้เรียนชั้นสูงสุด ค่าร้อยละ 1 สถานศึกษาภายในประเทศ 57.4 2 สถานศึกษาในต่างประเทศ 42.6 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 11 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ระดับความตั้งใจในการวางแผนทางการเงินเพื่อชีวิตในอนาคต ลำดับที่ ระดับความตั้งใจในการวางแผนทางการเงินเพื่อชีวิตในอนาคต ค่าร้อยละ 1 มาก ถึง มากที่สุด 81.1 2 ปานกลาง 17.8 3 น้อย ถึง น้อยที่สุด 1.1 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 12 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ วงเงินรายได้ต่อเดือนที่คาดหวัง หลังเกษียณอายุการทำงาน ลำดับที่ วงเงินรายได้ต่อเดือนที่คาดหวัง หลังเกษียณอายุการทำงาน ค่าร้อยละ 1 ไม่เกิน 10,000 บาทต่อเดือน 7.6 2 10,001 — 50,000 บาทต่อเดือน 44.5 3 มากกว่า 50,000 บาทขึ้นไป 47.9 รวมทั้งสิ้น 100.0 --เอแบคโพลล์-- -สส-