เอแบคโพลล์: ภาพลักษณ์ตำรวจไทยกับการเมืองระดับประเทศ

ข่าวผลสำรวจ Wednesday January 21, 2009 09:24 —เอแบคโพลล์

ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลวิจัยเรื่อง ภาพลักษณ์ตำรวจไทยกับการเมือง ระดับประเทศ: กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดปริมณฑล จำนวนทั้งสิ้น 2,231 ราย ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 19 — 20 มกราคม 2552 พบว่า ประชาชนจำนวนมากหรือร้อยละ 40.8 ระบุในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมาเคยใช้บริการที่สถานีตำรวจ เช่น แจ้งความ เสียค่าปรับ เป็นผู้ต้องหา พบญาติ และเพื่อน เป็นต้น ในขณะที่ร้อยละ 59.2 ไม่เคยใช้บริการ

เมื่อสอบถามถึงประสบการณ์ทางด้านที่ดี (ด้านบวก) ในการใช้บริการที่สถานีตำรวจ ในรอบ 6 เดือนที่ผ่านมา (ค่าร้อยละเฉพาะผู้ใช้ บริการ) พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 82.9 ระบุเจ้าหน้าที่ตำรวจมีมนุษยสัมพันธ์ดี ยิ้มแย้มเป็นมิตรกับประชาชน ในขณะที่ร้อยละ 76.1 ระบุ ให้บริการ ดี ให้คำแนะนำที่ดี ร้อยละ 64.8 ระบุเจ้าหน้าที่ขยันและตั้งใจทำงาน ร้อยละ 58.4 ระบุตำรวจเสี่ยงชีวิตเพื่อช่วยเหลือประชาชน ร้อยละ 57.2 ระบุ เจ้าหน้าที่ทำงานด้วยความยุติธรรม ร้อยละ 53.8 ระบุเจ้าหน้าที่เข้าถึงที่เกิดเหตุอย่างรวดเร็วฉับไว และร้อยละ 41.7 ระบุเจ้าหน้าที่เปิดกว้างให้ ประชาชนมีส่วนร่วม ในการประเมินผลงานอย่างตรงไปตรงมา

อย่างไรก็ตาม ที่น่าพิจารณาคือ ประสบการณ์ของประชาชนในทางลบที่พบในการทำงานของข้าราชการตำรวจระดับสถานีตำรวจ คือ ร้อย ละ 39.6 จำนวนเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติหน้าที่ไม่เพียงพอ รองลงมาคือ ร้อยละ 34.7 ระบุตำรวจขาดวัสดุอุปกรณ์ที่ทันสมัย ร้อยละ 16.9 ระบุ ไม่ค่อย ยิ้มแย้มแจ่มใส ร้อยละ 14.4 ระบุเจ้าหน้าที่พูดจาคุกคาม ข่มขู่ ร้อยละ 13.9 ระบุประพฤติตัวไม่เหมาะสม เช่น ดื่มสุรา แต่งตัวไม่เรียบร้อย ร้อยละ 9.1 ระบุมีการเรียกรับผลประโยชน์ และ ร้อยละ 5.5 มีการซ้อมผู้ต้องหา ผู้ต้องขัง

แต่เมื่อสอบถามถึงความพึงพอใจโดยภาพรวมจากตัวอย่างทั้งหมดที่เคยมีประสบการณ์ใช้บริการที่สถานีตำรวจพบว่า ร้อยละ 47.8 พอใจ ร้อยละ 20.5 ค่อนข้างพอใจ ร้อยละ 14.5 ไม่ค่อยพอใจ ร้อยละ 9.8 ไม่พอใจ และร้อยละ 7.4 ไม่มีความเห็น

ประเด็นที่น่าเป็นห่วงคือ ประชาชนที่ถูกศึกษาส่วนใหญ่หรือร้อยละ 74.9 ระบุคิดว่า ข้าราชการตำรวจถูกแทรกแซงจากฝ่ายการเมืองมา โดยตลอดทุกรัฐบาล ในขณะที่ ร้อยละ 25.1 ไม่คิดว่า ถูกแทรกแซงอะไร อย่างไรก็ตาม ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 71.6 เห็นด้วยว่าควรปฏิรูป ระบบข้าราชการตำรวจให้ปลอดการแทรกแซงของฝ่ายการเมือง ในขณะที่ร้อยละ 18.1 ไม่เห็นด้วย และร้อยละ 10.3 ไม่มีความเห็น

ผ.อ.เอแบคโพลล์ กล่าวด้วยว่า ผลสำรวจครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า ในช่วงระยะเวลา 2 ปีที่ผ่านมาตำรวจอยู่ท่ามกลางความขัดแย้งทางการ เมืองที่รุนแรง ระหว่างคนไทยด้วยกันเอง แต่ประชาชนที่เคยสัมผัสตรงกับการให้บริการของตำรวจที่สถานีตำรวจส่วนใหญ่เห็นว่าตำรวจมีมนุษยสัมพันธ์ที่ ดี เป็นมิตรกับประชาชน ให้บริการและแนะนำที่ดี ถึงแม้ในภาพใหญ่ภาพลักษณ์ของตำรวจจะถูกมองว่าฝ่ายการเมืองในทุกรัฐบาลเข้ามาแทรกแซงการทำ งาน โดยมักจะใช้ตำรวจเป็นเครื่องมือรักษาฐานอำนาจของตนก็ตาม และการแต่งตั้งโยกย้ายก็มีบัญชีเด็กฝากจำนวนมาก แต่หากปล่อยไว้เช่นนี้ ข้า ราชการตำรวจทั้งระดับนโยบายและระดับท้องที่จะไม่สามารถมีความเป็นตัวของตัวเองในการแก้ไขสถานการณ์ปัญหาสำคัญของสังคมและมีข้อจำกัดในการ บำบัดทุกข์บำรุงสุขของประชาชนในชุมชนทุกหมู่เหล่าอย่างเท่าเทียมได้ตามอุดมการณ์ของตำรวจในอุดมคติ ผลที่ตามมาคือ สามัญชนทั่วไปส่วนใหญ่ก็จะไม่ สามารถเรียกหาความเป็นธรรมและความสงบสุขแท้จริงจากประตูของกระบวนการยุติธรรมแห่งนี้ ดังนั้น เมื่อพิจารณาข้อมูลผลวิจัยที่ค้นพบครั้งนี้ประกอบ กับผลวิจัยที่เคยทำเรื่องปฏิรูประบบงานตำรวจ จึงมีข้อเสนอที่น่าพิจารณาร่วมกัน คือ

ประการแรก สำนักงานตำรวจแห่งชาติน่าจะเป็นอิสระปลอดจากการแทรกแซงทางการเมืองและกลุ่มผู้มีอิทธิพล โดยมีคณะกรรมการระดับ ชาติเป็นผู้กลั่นกรองการสั่งการที่อาจไม่ชอบของฝ่ายการเมืองและตรวจสอบการทำงานของข้าราชการตำรวจ และเพื่อให้มีความเป็นกลางทางการเมือง จำนวนสมาชิกของคณะกรรมการที่มีเสียงข้างมากต้องไม่มาจากพรรคการเมืองหรือกลุ่มการเมืองฝ่ายเดียวกัน นอกจากนี้ คุณสมบัติของคณะกรรมการที่น่า พิจารณาคือภายในระยะเวลา 5 ปีก่อนเป็นคณะกรรมการต้องไม่เคยรับราชการตำรวจหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐในกระบวนการยุติธรรม เพื่อให้มีช่องว่าง ของความสัมพันธ์กับข้าราชการตำรวจในองค์กรพอสมควร นอกจากนี้ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติน่าจะผ่านการคัดเลือกจากรัฐสภามากกว่าการตัดสินใจ ของฝ่ายรัฐบาลเพียงลำพัง

ประการที่สอง ควรขจัดบัญชีเด็กฝาก หรือเด็กตั๋วจากฝ่ายการเมืองและผู้มีอำนาจต่างๆ ให้หมดไป แต่หันมาใช้การสอบแข่งขันโดยคณะ กรรมการจัดทำข้อสอบที่เชื่อถือได้ ประกอบกับระบบอาวุโสและผลงานที่ผ่านมาในอดีตของข้าราชการตำรวจ สร้างระบบคุณธรรมและความเป็นธรรมที่แท้ จริงให้เกิดขึ้นในองค์กรตำรวจ

ประการที่สาม ควรมีการประเมินผลงานการปฏิบัติราชการของข้าราชการตำรวจเป็นระยะอย่างต่อเนื่องทั้งจากภายในและภายนอกองค์กร ตำรวจ โดยทำวิจัยสอบถามความเชื่อมั่นและความพึงพอใจต่อการปฏิบัติราชการตำรวจในแต่ละพื้นที่ของกองบัญชาการต่างๆ จากประชาชนและกลุ่มบุคคล ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรม เช่น ตำรวจ ทนายความ อัยการ และผู้พิพากษา เป็นต้น

รายละเอียดงานวิจัย

วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
          1.          เพื่อสำรวจความคิดเห็นต่อภาพลักษณ์ตำรวจไทยกับการเมืองระดับประเทศ
          2.          เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป

ระเบียบวิธีการทำโพลล์

โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้เรื่อง ภาพลักษณ์ตำรวจไทยกับการเมืองระดับ ประเทศ กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดปริมณฑล จำนวนทั้งสิ้น 2,231 ราย ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 19 — 20 มกราคม 2552 เทคนิคการสุ่มตัวอย่างคือ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากร เป้าหมายจากการทำสำมะโน ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อย ละ 5 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์ หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความ ถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูลและงบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย โดยมีคณะผู้วิจัย จำนวนทั้งสิ้น 102 คน

ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง

จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่างร้อยละ 52.9 เป็นเพศหญิง

ร้อยละ 47.1 เป็นเพศชาย

ร้อยละ 7.8 อายุต่ำกว่า 20 ปี

ร้อยละ 25.7 อายุ 20 — 29 ปี

ร้อยละ 28.5 อายุ 30 — 39 ปี

ร้อยละ 23.0 อายุ 40 — 49 ปี

และร้อยละ 15.0 อายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป

โดยส่วนใหญ่หรือร้อยละ 69.9 มีการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี

ร้อยละ 27.6 ปริญญาตรี

และร้อยละ 2.5 สูงกว่าปริญญาตรี

นอกจากนี้ ตัวอย่างร้อยละ 40.7 ระบุอาชีพค้าขาย อาชีพอิสระ

ร้อยละ 20.6 ระบุอาชีพรับจ้างใช้แรงงานทั่วไป

ร้อยละ 16.6 ระบุอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน

ร้อยละ 8.1 เป็นนักเรียน นักศึกษา

ร้อยละ 8.4 เป็นแม่บ้าน เกษียณอายุ ไม่ได้ประกอบอาชีพ

และร้อยละ 5.6 ระบุอาชีพข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ

โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้

ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ประสบการณ์เคยใช้บริการที่สถานีตำรวจในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา
ลำดับที่          ประสบการณ์ของตัวอย่าง                                                    ค่าร้อยละ
1          เคยใช้บริการที่สถานีตำรวจ เช่น แจ้งความ เสียค่าปรับ ผู้ต้องหา พบญาติและเพื่อน เป็นต้น          40.8
2          ไม่เคยใช้                                                                      59.2
          รวมทั้งสิ้น                                                                      100.0

ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ประสบการณ์ทางบวกในการไปใช้บริการที่สถานีตำรวจ ในรอบ 6 เดือนที่ผ่านมา
(ค่าร้อยละของตัวอย่างประชาชนเฉพาะผู้ที่เคยรับบริการระดับสถานีและตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่          ประสบการณ์ทางบวกในการไปใช้บริการที่สถานีตำรวจ                  ค่าร้อยละ
1          เจ้าหน้าที่มีมนุษยสัมพันธ์ดี ยิ้มแย้มเป็นมิตรกับประชาชน                        82.9
2          ให้บริการที่ดี /ให้คำแนะนำที่ดี                                         76.1
3          เจ้าหน้าที่ขยันและตั้งใจทำงาน                                         64.8
4          ตำรวจเสี่ยงชีวิตเพื่อช่วยเหลือประชาชน                                  58.4
5          เจ้าหน้าที่ทำงานด้วยความยุติธรรม                                      57.2
6          เจ้าหน้าที่เข้าถึงที่เกิดเหตุอย่างรวดเร็วฉับไว                              53.8
7          เจ้าหน้าที่เปิดกว้างให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการประเมินผลงานอย่างตรงไปตรงมา   41.7

ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ประสบการณ์ทางลบในการไปใช้บริการที่สถานีตำรวจ
ในรอบ 6 เดือนที่ผ่านมา (ค่าร้อยละของตัวอย่างประชาชนผู้มารับบริการในระดับสถานี และตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่          ประสบการณ์ทางลบในการไปใช้บริการที่สถานีตำรวจ                   ค่าร้อยละ
1          จำนวนเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติหน้าที่ไม่เพียงพอ                              39.6
2          ตำรวจขาดวัสดุอุปกรณ์ที่ทันสมัย                                         34.7
3          ไม่ค่อยยิ้มแย้มแจ่มใส                                                16.9
4          เจ้าหน้าที่พูดจาคุกคาม ข่มขู่                                           14.4
5          ประพฤติตัวไม่เหมาะสม เช่น ดื่มสุรา เล่นการพนัน                          13.9
6          มีการเรียกรับผลประโยชน์จากประชาชนผู้มาติดต่อ                            9.1
7          มีการซ้อมผู้ต้องหา/ผู้ต้องขัง                                            5.5
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความพึงพอใจโดยภาพรวมต่อการปฏิบัติหน้าที่ของข้าราชการตำรวจระดับสถานี
ตำรวจ  (ค่าร้อยละของตัวอย่างประชาชนเฉพาะผู้ที่เคยรับบริการระดับสถานี)
ลำดับที่          ระดับความพึงพอใจโดยภาพรวมต่อการปฏิบัติหน้าที่ของตำรวจระดับสถานีตำรวจ   ค่าร้อยละ
1          พอใจ                                                              47.8
2          ค่อนข้างพอใจ                                                        20.5
3          ไม่ค่อยพอใจ                                                         14.5
4          ไม่พอใจ                                                             9.8
5          ไม่มีความเห็น                                                         7.4
          รวมทั้งสิ้น                                                           100.0

ตารางที่  5  แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นต่อภาพลักษณ์ของตำรวจไทยกับการเมืองระดับประเทศ
ลำดับที่          ความคิดเห็น                                          ค่าร้อยละ
1          คิดว่า ตำรวจถูกแทรกแซงจากฝ่ายการเมือง มาโดยตลอดทุกรัฐบาล        74.9
2          ไม่คิดว่า ถูกแทรกแซงอะไร                                     25.1
          รวมทั้งสิ้น                                                  100.0

ตารางที่  6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นต่อ แนวทางปฏิรูประบบข้าราชการตำรวจให้ปลอดการแทรกแซงจากฝ่ายการเมือง
ลำดับที่          ความคิดเห็น                                          ค่าร้อยละ
1          เห็นด้วย                                                   71.6
2          ไม่เห็นด้วย                                                 18.1
3          ไม่มีความเห็น                                               10.3
          รวมทั้งสิ้น                                                  100.0

--เอแบคโพลล์--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ