เอแบคโพลล์: บทเพลงพระราชนิพนธ์ในความทรงจำและความปลื้มปิติของคนไทยกับความรักความสามัคคีของคนในชาติ

ข่าวผลสำรวจ Friday January 23, 2009 09:32 —เอแบคโพลล์

ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการศูนย์เครือข่ายวิชาการเพื่อสังเกตการณ์และวิจัยความสุขชุมชน (ศูนย์วิจัยความสุขชุมชน) มหาวิทยาลัย อัสสัมชัญ เปิดเผยผลวิจัยเรื่อง บทเพลงพระราชนิพนธ์ในความทรงจำและความปลื้มปิติของคนไทย กับความรักความสามัคคีของคนในชาติ กรณีศึกษา ประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวนทั้งสิ้น 1,209 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 10 — 22 มกราคม ที่ผ่านมา พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อย ละ 84.4 เคยฟังบทเพลงพระราชนิพนธ์ ในขณะที่ ร้อยละ 15.6 ไม่แน่ใจ

ผลสำรวจพบด้วยว่า แหล่งหรือสถานที่ที่เคยได้ฟังบทเพลงพระราชนิพนธ์อันดับแรก คือร้อยละ 68.4 ได้ฟังจากรายการโทรทัศน์ รองลงมา คือ ร้อยละ 42.1 ได้ฟังจากสถานีวิทยุ คลื่นเอฟเอ็ม ในขณะที่ ร้อยละ 16.5 ได้ฟังจากเทป ซีดี วีซีดี เอ็มพี 3 และรองๆ ลงไป ได้แก่ จากเวทีวง ดนตรีร้องเพลง จากสถานีวิทยุเอเอ็ม จากอินเทอร์เน็ต จากร้านอาหาร และอื่นๆ เช่น สถานศึกษา สถานที่ราชการ และเสียงตามสายในชุมชน เป็นต้น

เมื่อสอบถามถึงบทเพลงพระราชนิพนธ์ในความทรงจำและความปลื้มปิติของประชาชน พบว่าส่วนใหญ่หรือร้อยละ 71.0 ระบุบทเพลงพระ ราชนิพนธ์ “ใกล้รุ่ง” ในขณะที่ ร้อยละ 63.4 ระบุบทเพลงพระราชนิพนธ์ “แสงเทียน” ร้อยละ 53.2 ระบุบทเพลง “เกิดเป็นไทย ตายเพื่อไทย” ร้อยละ 50.5 ระบุบทเพลง “ยามเย็น” ร้อยละ 49.0 ระบุบทเพลง “พรปีใหม่” ร้อยละ 47.7 ระบุบทเพลง “สายฝน” ร้อยละ 43.3 ระบุบท เพลง “ความฝันอันสูงสุด” ร้อยละ 42.4 ระบุบทเพลง “เราสู้” ร้อยละ 33.3 ระบุบทเพลง “ชะตาชีวิต” และร้อยละ 31.7 ระบุบทเพลง “แผ่น ดินของเรา”

ดร.นพดล กล่าวต่อว่า เมื่อถามถึงบทเพลงพระราชนิพนธ์ที่ประชาชนผู้ตอบแบบสอบถามร้องได้จนจบ พบว่า ร้อยละ 24.8 ระบุร้องบท เพลงพระราชนิพนธ์ “ใกล้รุ่ง” ได้จนจบ ร้อยละ 21.8 ระบุบทเพลง “พรปีใหม่” ร้อยละ 20.7 ระบุบทเพลง “แสงเทียน” ร้อยละ 17.9 ระบุบท เพลง “เกิดเป็นไทยตายเพื่อไทย” ร้อยละ 17.1 ระบุบทเพลง “สายฝน” ร้อยละ 16.5 ระบุบทเพลง “ความฝันอันสูงสุด” ร้อยละ 16.0 ระบุบท เพลง “ชะตาชีวิต” ร้อยละ 14.8 ระบุบทเพลง “เราสู้” ร้อยละ 13.2 ระบุบทเพลง “ยามเย็น” และร้อยละ 21.3 ระบุอื่นๆ เช่น บทเพลงแผ่นดิน ของเรา ลมหนาว อาทิตย์อับแสง ยิ้มสู้ ราชนาวิกโยธิน เป็นต้น

ที่น่าพิจารณาคือ ประชาชนเชื่อว่ามีบทเพลงพระราชนิพนธ์ที่น่าจะนำมาเปิดเพื่อสร้างบรรยากาศให้คนไทยรักชาติบ้านเมือง ทำให้ประเทศ สงบสุข มีความรักความสามัคคีกันในหมู่ประชาชน โดยผลสำรวจพบว่า ร้อยละ 41.0 ระบุเป็นบทเพลง เกิดเป็นไทยตายเพื่อไทย ในขณะที่ร้อยละ 31.0 ระบุบทเพลง แผ่นดินของเรา ร้อยละ 22.1 ระบุบทเพลง เราสู้ ร้อยละ 16.2 ระบุบทเพลงความฝันอันสูงสุด ร้อยละ 11.4 ระบุบทเพลงใกล้ รุ่ง ร้อยละ 10.9 ระบุบทเพลงแสงเทียน ร้อยละ 7.4 ระบุบทเพลง ยิ้มสู้ ร้อยละ 7.1 ระบุบทเพลงชะตาชีวิต ร้อยละ 5.6 ระบุบทเพลงยามเย็น และที่เหลือระบุอื่นๆ เช่น บทเพลงสายฝน พรปีใหม่ เตือนใจ รัก ไกลกังวล และดวงใจกับความรัก เป็นต้น

ผ.อ.ศูนย์วิจัยความสุขชุมชน กล่าวว่า สิ่งที่ค้นพบในการศึกษาครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า บทเพลงพระราชนิพนธ์อยู่ในความทรงจำและความปลื้มปิติ ของประชาชนทุกหมู่เหล่า โดยประชาชนทั่วไปได้เล็งเห็นว่าบทเพลงพระราชนิพนธ์มีบทบาทสำคัญที่จะสร้างบรรยากาศให้คนไทยรักชาติบ้านเมือง ทำให้ ประเทศสงบสุข ประชาชนคนไทยมีความรักความสามัคคีกันและกันได้ ดังนั้น รัฐบาล หน่วยงานและสถาบันสื่อสารมวลชนที่เกี่ยวข้องอาจจะนำผลการ ศึกษาครั้งนี้ไปประกอบการพิจารณาตัดสินใจใช้บทเพลงพระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเชื่อมประสานความรักและไมตรีจิต ความช่วย เหลือเกื้อกูลกันให้เกิดขึ้นในสังคมไทย

“อย่างไรก็ตาม การช่วยเหลือเกื้อกูลกันนั้นต้องอยู่บนพื้นฐานของกฎกติกาของสังคมและเป็นไปตามเวรกรรมของแต่ละคนที่ทำกันไว้เหมือน กับเนื้อหาสาระบางตอนในบทเพลงพระราชนิพนธ์ “แสงเทียน” และสิ่งที่เป็นข้อเสนอแนะอีกประการหนึ่งคือนายกรัฐมนตรีคนใหม่ นายอภิสิทธิ์ เวชชา ชีวะ น่าจะอันเชิญบทเพลงพระราชนิพนธ์ มาในโอกาสจัดรายการพบประชาชนในทุกวันอาทิตย์ด้วย เพราะความจงรักภักดีต่อสถาบันและความรักความ สามัคคีของคนในชาติ สามารถถูกแสดงออกได้ตลอดเวลาไม่ใช่เฉพาะโอกาสใดโอกาสหนึ่งของแต่ละปีเท่านั้น” ดร.นพดล กล่าว

รายละเอียดงานวิจัย

วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย

1. เพื่อสำรวจความทรงจำและความปลื้มปิติของประชาชนที่เคยฟังบทเพลงพระราชนิพนธ์ กับความคิดเห็นต่อความรักความสามัคคี

ของคนในชาติ

2. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป

ระเบียบวิธีการทำโพลล์

โครงการสำรวจภาคสนามของศูนย์เครือข่ายวิชาการเพื่อสังเกตการณ์และวิจัยความสุขชุมชน (ศูนย์วิจัยความสุขชุมชน) มหาวิทยาลัยอัสสัม ชัญ ครั้งนี้ เรื่อง บทเพลงพระราชนิพนธ์ในความทรงจำและความปลื้มปิติของคนไทย กับความรักความสามัคคีของคนในชาติ กรณีศึกษาประชาชนใน เขตกรุงเทพมหานคร จำนวนทั้งสิ้น 1,209 ราย ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 10 — 22 มกราคม 2552 กลุ่มประชากรเป้าหมายคือประชาชนอายุ 18 — 60 ปี เทคนิคการสุ่มตัวอย่างคือ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากรเป้า หมายจากการทำสำมะโน ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์ หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้อง สมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูลและงบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย โดยมีคณะผู้วิจัย จำนวนทั้งสิ้น 93 คน

ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง

จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่างร้อยละ 51.9 เป็นหญิง

ร้อยละ 48.1 เป็นชาย

นอกจากนี้ ร้อยละ 6.8 อายุ 18 — 19 ปี

ร้อยละ 38.0 อายุ 20 — 29 ปี

ร้อยละ 27.1 อายุ 30 — 39 ปี

และร้อยละ 28.1 อายุ 40 ขึ้นไป

โดยส่วนใหญ่หรือร้อยละ 63.8 มีการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี

ร้อยละ 33.2 มีการศึกษาระดับปริญญาตรี

และร้อยละ 3.0 มีการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี

ร้อยละ 22.7 อาชีพพนักงานบริษัทเอกชน

ร้อยละ 34.6 อาชีพค้าขาย อิสระส่วนตัว

ร้อยละ 18.0 เป็นนักเรียนนักศึกษา

ร้อยละ 12.7 อาชีพรับจ้างใช้แรงงานทั่วไป

ร้อยละ 6.8 อาชีพข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ

ร้อยละ 5.2 เป็นพ่อบ้าน แม่บ้าน และว่างงาน

โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้

ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ประสบการณ์เคยฟังบทเพลงพระราชนิพนธ์
ลำดับที่          ประสบการณ์การเคยฟังบทเพลงพระราชนิพนธ์       ค่าร้อยละ
1          เคยฟัง                                         84.4
2          ไม่แน่ใจ                                        15.6
          รวมทั้งสิ้น                                       100.0

ตารางที่  2  แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ แหล่ง / สถานที่ที่เคยได้รับฟังบทเพลงพระราชนิพนธ์ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่          แหล่ง / สถานที่ที่เคยได้รับฟังบทเพลงพระราชนิพนธ์          ค่าร้อยละ
1          รายการโทรทัศน์                                           68.4
2          สถานีวิทยุคลื่น เอฟเอ็ม                                      42.1
3          ฟังจาก เทป ซีดี วีซีดี เอ็มพี 3                                16.5
4          เวทีวงดนตรีร้องเพลง                                       14.2
5          สถานีวิทยุคลื่น เอเอ็ม                                        9.3
6          อินเทอร์เน็ต                                               8.7
7          ร้านอาหาร                                                4.1
8          อื่นๆ เช่น สถานศึกษา สถานที่ราชการ และเสียงตามสายในชุมชน เป็นต้น  1.1

ตารางที่  3  แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ 10 บทเพลงพระราชนิพนธ์แรกที่อยู่ในความทรงจำและความปลื้มปิติ
ลำดับที่          10 บทเพลงพระราชนิพนธ์แรก ที่อยู่ในความทรงจำและความปลื้มปิติของประชาชน  ค่าร้อยละ
1          ใกล้รุ่ง                                                              71.0
2          แสงเทียน                                                            63.4
3          เกิดเป็นไทย ตายเพื่อไทย                                                53.2
4          ยามเย็น                                                             50.5
5          พรปีใหม่                                                             49.0
6          สายฝน                                                              47.7
7          ความฝันอันสูงสุด                                                       43.3
8          เราสู้                                                               42.4
9          ชะตาชีวิต                                                            33.3
10          แผ่นดินของเรา                                                       31.7

ตารางที่  4  แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ เพลงพระราชนิพนธ์ที่ร้องได้ (หมายถึงร้องได้จนจบเพลง)

(เฉพาะคนที่เคยฟังเพลง “พระราชนิพนธ์” และตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)

ลำดับที่          เพลงพระราชนิพนธ์ที่ร้องได้                                     ร้อยละ
1          ใกล้รุ่ง                                                        24.8
2          พรปีใหม่                                                       21.8
3          แสงเทียน                                                      20.7
4          เกิดเป็นไทยตายเพื่อไทย                                           17.9
5          สายฝน                                                        17.1
6          ความฝันอันสูงสุด                                                 16.5
7          ชะตาชีวิต                                                      16.0
8          เราสู้                                                         14.8
9          ยามเย็น                                                       13.2
10          อื่นๆ อาทิ แผ่นดินของเรา ลมหนาว อาทิตย์อับแสง ยิ้มสู้ ราชนาวิกโยธิน ฯลฯ   21.3

ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ เพลงพระราชนิพนธ์ที่เชื่อว่าจะสร้างบรรยากาศให้คนไทยรัก
ชาติบ้านเมือง ทำให้ประเทศสงบสุข มีความรักความสามัคคีกันในหมู่ประชาชน  (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่    เพลงพระราชนิพนธ์ที่เชื่อว่าจะสร้างบรรยากาศให้คนไทยรักชาติบ้านเมือง        ร้อยละ

ทำให้ประเทศสงบสุข มีความรักความสามัคคีกันในหมู่ประชาชน

1          เกิดเป็นไทยตายเพื่อไทย                                          41.0
2          แผ่นดินของเรา                                                 31.0
3          เราสู้                                                        22.1
4          ความฝันอันสูงสุด                                                16.2
5          ใกล้รุ่ง                                                       11.4
6          แสงเทียน                                                     10.9
7          ยิ้มสู้                                                          7.4
8          ชะตาชีวิต                                                      7.1
9          ยามเย็น                                                       5.6
10          อื่นๆ อาทิ พรปีใหม่ สายฝน เตือนใจ รัก ไกลกังวล ดวงใจกับความรัก ฯลฯ   29.5

--เอแบคโพลล์--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ