ดร. นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลวิเคราะห์โครงการรายงานข้อเท็จจริง
(fact findings) โค้งแรกของการแข่งขันเอาชนะการเลือกตั้ง เรื่อง “สงครามแย่งชิงเวลาดี(ไพร์มไทม์) ของสื่อโทรทัศน์ในการนำเสนอข่าวภาค
ค่ำและเช้าในกลุ่มพรรคการเมืองต่างๆ” ได้ดำเนินการระหว่างวันที่ 1-11 สิงหาคม 2549 โดยใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยวิธีการสังเกตการณ์
(Observation Method) และจดบันทึกเทปวีดีโอข้อมูลการนำเสนอข่าวเกี่ยวกับพรรคการเมืองต่างๆ ผ่านสื่อโทรทัศน์แบบฟรีทีวี ช่อง 3 ช่อง 5
ช่อง 7 ช่อง 9 ช่อง 11 และ ITV ในช่วงข่าวภาคเช้า (06.00 น. — 08.30 น.) และช่วงข่าวภาคค่ำ (17.00 น. — 20.00 น.)
ดร.นพดล กล่าวว่า ถ้าวันที่ 15 ตุลาคม 2549 เป็นวันเลือกตั้ง ก็จะมีโค้งแห่งการแข่งขันทั้งหมด 5 โค้งด้วยกัน ซึ่งแต่ละโค้งมีช่วงเวลา
ประมาณ 2 สัปดาห์ ดังนั้นการรายงานข้อเท็จจริงฉบับนี้จึงเป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลในโค้งแรกของการแข่งขันท่ามกลางพรรคการเมืองต่างๆ เพื่อชนะ
การเลือกตั้ง ซึ่งผลการวิเคราะห์แบบแจงนับและจดบันทึกเวลาชี้ให้เห็นชัดเจนว่า ในโค้งแรกของการแข่งขัน พรรคไทยรักไทยกำลังได้เปรียบพรรคการ
เมืองอื่นๆ ในการช่วงชิงเวลาดี (ไพร์มไทม์) ของสื่อโทรทัศน์ในการนำเสนอข่าวภาคค่ำและภาคเช้า โดยพบว่า สื่อโทรทัศน์ได้นำเสนอข่าวของพรรค
ไทยรักไทยมากที่สุดคือ 369 ครั้ง รองลงมาคือ พรรคประชาธิปัตย์ 136 ครั้ง พรรคชาติไทย 46 ครั้ง พรรคประชาราช 25 ครั้ง พรรค
มหาชน 17 ครั้ง และพรรคสันติภาพไทย 1 ครั้ง
เมื่อพิจารณาระยะเวลารวมในการนำเสนอข่าว พบว่า
- พรรคไทยรักไทย ระยะเวลาของข่าวที่ถูกนำเสนอโดยรวม 1,188.48 นาที ทั้งนี้เป็นข่าวภารกิจของนายกรัฐมนตรีมากที่สุด รองลง
มาคือข่าวภารกิจของคณะรัฐมนตรี และข่าวเกี่ยวกับการสัมภาษณ์หัวหน้าพรรค
- พรรคประชาธิปัตย์ ระยะเวลาของข่าวที่ถูกนำเสนอโดยรวม 519.34 นาที ทั้งนี้เป็นข่าวการหาเสียง /สปอตโฆษณา/ ข่าวการแถลง
นโยบายมากที่สุด รองลงมาคือข่าวเกี่ยวกับการสัมภาษณ์หัวหน้าพรรค และข่าวเกี่ยวกับการสัมภาษณ์คนในพรรค
- พรรคชาติไทย ระยะเวลาของข่าวที่ถูกนำเสนอโดยรวม 145.20 นาที ทั้งนี้เป็นข่าวการให้สัมภาษณ์ของหัวหน้าพรรค รองลงมาคือ
ข่าวเกี่ยวกับการสัมภาษณ์คนในพรรค และข่าวเกี่ยวกับกรณีนายชูวิทย์ กมลวิศิษฏ์ ละเมิดศาลมากที่สุด
- พรรคประชาราช ระยะเวลาของข่าวที่ถูกนำเสนอโดยรวม 101.52 นาที ทั้งนี้เป็นข่าวเกี่ยวกับการเปิดตัวพรรคการเมืองมากที่สุด
รองลงมาคือข่าวการให้สัมภาษณ์ของหัวหน้าพรรค และข่าวเกี่ยวกับการสัมภาษณ์คนในพรรค
- พรรคมหาชน ระยะเวลาของข่าวที่ถูกนำเสนอโดยรวม 27.25 นาที ทั้งนี้เป็นข่าวการให้สัมภาษณ์ของหัวหน้าพรรค มากที่สุด รอง
ลงมาคือ ข่าวเกี่ยวกับการหาเสียง และข่าวเกี่ยวกับการสัมภาษณ์คนในพรรค
- พรรคสันติภาพไทย ระยะเวลาของข่าวที่ถูกนำเสนอโดยรวม 0.33 นาทีเท่านั้น
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า จากการวิจัยก่อนการเลือกตั้งปี พ.ศ. 2548 พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 69.4 เห็นว่าการนำเสนอข่าว
ผ่านสื่อโทรทัศน์เกี่ยวกับพรรคการเมืองต่างๆ มีส่วนชี้นำในการตัดสินใจเลือกตั้งของประชาชน ในขณะที่ร้อยละ 23.2 เห็นว่าไม่มีผล และร้อยละ 7.4
ไม่มีความเห็น พรรคการเมืองต่างๆ จึงพยายามใช้วิธีการที่แยบยลเพื่อให้ได้พื้นที่การนำเสนอพรรคผ่านสื่อโทรทัศน์เนื่องจากเป็นสื่อเดียวที่เข้าถึงครัว
เรือนเกินกว่าร้อยละ 90 ของครัวเรือนทั้งหมดทั่วประเทศ ผลการวัดครั้งนี้พบว่า พรรคไทยรักไทยหรือการทำงานของรัฐบาลที่ประชาชนทั่วไปก็ทราบว่า
เป็นของพรรคไทยรักไทยได้รับการนำเสนอผ่านสื่อโทรทัศน์ในรูปแบบของ “ข่าวภารกิจของนายกรัฐมนตรี” จำนวน 82 ครั้งรวมทั้งสิ้น 244.42 นาที
ข่าวภารกิจของคณะรัฐมนตรีได้ไป 74 ครั้งรวมทั้งสิ้น 255.33 นาที ข่าว “การให้สัมภาษณ์ของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร” ได้ไป 69 ครั้งหรือ
227.30 นาที ข่าวการให้สัมภาษณ์ของคนในพรรคไทยรักไทย ได้นำเสนอไป 57 ครั้งหรือ 159.10 นาที ข่าว “การหาเสียง” ของพรรคไทยรักไทย
ได้ไปอีก 27 ครั้งหรือ 103.08 นาที
“เมื่อเปรียบเทียบกับการได้พื้นที่ข่าวโทรทัศน์ในช่วงเวลาดี (ไพร์มไทม์) ภาคค่ำและเช้า พบว่า พรรคไทยรักไทยได้จำนวนครั้งและระยะ
เวลาทิ้งห่างพรรคการเมืองอื่นๆ ทุกพรรคเลยทีเดียว ยกเว้น เรื่องสปอตโฆษณาของพรรคประชาธิปัตย์เท่านั้นที่พรรคประชาธิปัตย์เป็นเพียงพรรคเดียวที่
มีสปอตโฆษณาในการวัดช่วงโค้งแรกของการแข่งขัน กล่าวคือ ข่าวการให้สัมภาษณ์ของหัวหน้าพรรค ไทยรักไทยได้ 69 ครั้ง 227.30 นาที หัวหน้า
พรรคประชาธิปัตย์ได้ 48 ครั้ง 177.12 นาที หัวหน้าพรรคชาติไทยได้ 17 ครั้ง 39.30 นาที หัวหน้าพรรคมหาชนได้ 8 ครั้ง 7.45 นาที พรรค
ประชาราชได้ 8 ครั้งได้ 33.35 นาที ยิ่งไปกว่านั้น ข่าวการให้สัมภาษณ์ของคนในพรรค ก็พบว่า คนของพรรคไทยรักไทยได้พื้นที่ข่าวโทรทัศน์ไป
มากกว่าทุกพรรคการเมืองหลายเท่า พบว่า คนของพรรคไทยรักไทยได้ 57 ครั้ง 159.10 นาที คนของพรรคประชาธิปัตย์ได้ 18 ครั้ง 61.08 นาที
คนของพรรคชาติไทยได้ 14 ครั้ง 37.45 นาที คนของพรรคมหาชนได้ 1 ครั้ง 1.27 นาที คนของพรรคประชาราชได้ 2 ครั้ง 12.33 นาที” ดร.
นพดล กล่าว
ที่น่าพิจารณาคือ การภาพข่าวโทรทัศน์มาสนทนากลุ่มดูเนื้อหาข่าวที่ปรากฎ พบว่า ข่าวของพรรคไทยรักไทยจำนวน 369 ครั้ง เป็นข่าวที่ดี
ต่อภาพลักษณ์ของพรรค (แง่บวก) จำนวนสูงถึง 272 ครั้ง ในขณะที่เป็นข่าวไม่ดีต่อภาพลักษณ์ของพรรค (แง่ลบ) 23 ครั้ง และเป็นข่าวไม่บวกไม่ลบ
จำนวน 74 ครั้ง (ดูรายละเอียดในตารางที่ 4)
ดร.นพดล กล่าวว่า ในการวัดพื้นที่ข่าวโทรทัศน์ช่วงเวลาดีหรือไพร์มไทม์ภาคค่ำและภาคเช้ามีทั้งหมด 5 โค้งก่อนวันเลือกตั้ง (ถ้ามีขึ้นใน
วันที่ 15 ตุลาคม) พบว่าโค้งแรกพรรคไทยรักไทยได้ชัยชนะอย่างถล่มทลายสามารถครอบครองพื้นที่ข่าวผ่านสื่อโทรทัศน์ช่วงเวลาดี (ไพร์มไทม์) เหนือ
พรรคการเมืองอื่นๆ ทุกพรรค ฝ่ายพรรคไทยรักไทยอาจอ้างความชอบธรรมว่า รัฐบาลไม่สามารถหยุดทำงานได้ซึ่งเป็นคนละประเด็นกับการนำเสนอภาพ
ข่าวการทำงานในช่วงที่พระราชกฎษฎีกาการเลือกตั้งมีผลบังคับใช้ สื่อมวลชนผ่านทางกองบรรณาธิการข่าวการเมืองและผู้บริหารระดับสูงของสื่ออาจ
พิจารณาทำให้การแข่งขันเพื่อเอาชนะการเลือกตั้งเป็นไปอย่างเที่ยงธรรมไม่เอื้อประโยชน์ให้กับภาพลักษณ์และคะแนนนิยมของพรรคการเมืองใดพรรค
การเมืองหนึ่ง โดยมีแนวทางที่น่าเป็นไปได้มีอย่างน้อยสามประการคือ
ประการแรก ควรแบ่งจำนวนครั้งและระยะเวลาในการนำเสนอคนของพรรคการเมืองไม่ว่าในฐานะรัฐบาลหรือฝ่ายค้านในสัดส่วนที่เท่าๆ กัน
ประการที่สอง ควรเลือกนำเสนอภาพข่าวที่ดูดีพอๆ กัน เวลาพรรคการเมืองลงพื้นที่ เนื่องจากเคยบันทึกพบว่า บางพรรคการเมืองได้รับ
การนำเสนอภาพข่าวที่มีคนจำนวนมากห้อมล้อมให้กำลังใจมอบดอกไม้ ในขณะที่สื่อเดียวกันนำเสนอภาพข่าวของพรรคการเมืองอื่นๆ ที่ไม่ค่อยมีคนสนับ
สนุน ทั้งๆ ที่พรรคการเมืองเหล่านั้นมีบางภาพข่าวที่ดูดีเช่นกัน
ประการที่สาม ควรนำเสนอการให้สัมภาษณ์ข้าราชการประจำแทนการสัมภาษณ์นักการเมือง กรณีที่เกี่ยวข้องกับภารกิจของรัฐบาล โดยควร
นำเสนอเฉพาะข้อเท็จจริงมากกว่าเสนอความรู้สึกชอบไม่ชอบต่อนโยบายของรัฐบาล เพื่อให้การแข่งขันการเลือกตั้งที่จะมาถึงนี้เป็นไปอย่างบริสุทธิ์
ยุติธรรมแท้จริง ซึ่งถ้าข้าราชการท่านใดจะเอนเอียงข้าราชการท่านนั้นๆ ก็จะสูญเสียเกียรติภูมิแห่งตนและวงศ์ตระกูลในสายตาของสาธารณชนเอง นอก
จากนี้ คณะกรรมการการเลือกตั้งอาจพิจารณาถึงความเหมาะสมหรือไม่เหมาะสมต่อการวางตัวของกลุ่มข้าราชการและสื่อมวลชนแขนงต่างๆ ได้เช่นกัน
ในขณะที่ช่วงเวลาที่เหลืออีก 4 โค้ง สำนักวิจัยเอแบคโพลล์จะยังคงวัดจำนวนครั้งและเวลาที่สื่อโทรทัศน์จัดสรรให้พรรคการเมืองต่างๆ
ต่อไป เพื่อเป็นข้อมูลสะท้อนไปยังกองบรรณาธิการข่าวของสถานีโทรทัศน์ช่องต่างๆ ทราบถึงอำนาจดุลยพินิจที่มีอยู่และสามารถสร้างความสมดุลให้เกิดขึ้น
ในการแข่งขันของพรรคการเมืองที่กำลังช่วงชิงอำนาจรัฐมาครอบครองเพื่อประโยชน์สุขของประชาชนหรือเพื่อพวกพ้องของตนเองหรือไม่ ยังไม่มีความ
ชัดเจนเพียงพอในสายตาของชนชั้นนำที่กำลังเคลื่อนไหวปฏิรูปการเมืองไทยอยู่ในขณะนี้
รายละเอียดของโครงการวิจัย
วัตถุประสงค์โครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจการนำเสนอข่าวของสื่อโทรทัศน์ เกี่ยวกับพรรคการเมืองต่างๆ
2. เพื่อเปรียบเทียบรูปแบบการนำเสนอข่าวของแต่ละพรรคการเมือง
3. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีวิจัย
ผลวิเคราะห์โครงการรายงานข้อเท็จจริง (fact findings) โค้งแรกของการแข่งขันเอาชนะการเลือกตั้ง ของสำนักวิจัยเอแบ
คโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง “สงครามแย่งชิงเวลาดี(ไพร์มไทม์) ของสื่อโทรทัศน์ในการนำเสนอข่าวภาคค่ำและเช้าในกลุ่มพรรคการเมือง
ต่างๆ” ได้ดำเนินการระหว่างวันที่ 1-11 สิงหาคม 2549 โดยใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยวิธีการสังเกตการณ์ (Observation Method)
และจดบันทึกข้อมูลการนำเสนอข่าวเกี่ยวกับการเลือกตั้งของพรรคการเมือง ผ่านสื่อโทรทัศน์ ช่อง 3 ช่อง 5 ช่อง 7 ช่อง 9 ช่อง 11 และ
ช่อง ITV ในช่วงข่าวภาคเช้า (06.00 น. — 08.30 น.) และช่วงข่าวภาคค่ำ (17.00 น. — 20.00 น.)
ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการวิจัย
ตารางที่ 1 แสดงความถี่และเวลารวมในการเสนอข่าวของพรรคการเมืองต่างๆ ผ่านสื่อโทรทัศน์ในช่วงระยะเวลา
ทำการสำรวจ
กลุ่มการเมือง ความถี่ในการนำเสนอข่าว(จำนวนครั้ง/ค่าร้อยละ) เวลารวมในการเสนอข่าว(นาที/ค่าร้อยละ)
พรรคไทยรักไทย 369 (62.1) 1,188.48 (60.0)
พรรคประชาธิปัตย์ 136 (22.9) 519.34 (26.2)
พรรคชาติไทย 46 (7.7) 145.20 (7.3)
พรรคมหาชน 25 (4.2) 27.25 (1.4)
พรรคประชาราช 17 (2.9) 101.52 (5.0)
พรรคสันติภาพไทย 1 (0.2) 0.33 (0.1)
รวมทั้งสิ้น 594 (100.0) 1,983.32 (100.0)
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นกรณีข่าวหาเสียงผ่านสื่อโทรทัศน์มีผลต่อการชี้นำในการ
ตัดสินใจของประชาชนในการเลือกตั้ง ส.ส.หรือไม่
ลำดับที่ ข่าวหาเสียงผ่านสื่อโทรทัศน์มีผลต่อการชี้นำในการตัดสินใจของประชาชนในการเลือกตั้ง ส.ส.หรือไม่ ค่าร้อยละ
1 มีผล 69.4
2 ไม่มีผล 23.2
3 ไม่มีความคิดเห็น 7.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ที่มา: ฐานข้อมูลโพลล์การเมือง จากการเลือกตั้ง พ.ศ. 2548 สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
ตารางที่ 3 แสดงความถี่และจำนวนนาทีในการนำเสนอข่าวผ่านสื่อโทรทัศน์ของพรรคการเมืองต่างๆ
(จำแนกตามประเภทข่าว)
ประเภทข่าว ไทยรักไทย ประชาธิปัตย์ ชาติไทย มหาชน ประชาราช พรรคสันติภาพไทย
ความถี่ จำนวนนาที ความถี่ จำนวนนาที ความถี่ จำนวนนาที ความถี่ จำนวนนาที ความถี่ จำนวนนาที ความถี่ จำนวนนาที
1. ข่าวภารกิจนายกรัฐมนตรี 82 244.42 - - - - - - - - - -
2. ข่าวภารกิจคณะรัฐมนตรี 74 255.33 - - - - - - - - - -
3. ข่าวการให้สัมภาษณ์ของหัวหน้าพรรค 69 227.30 48 177.12 17 39.30 8 7.45 8 33.35 - -
4. ข่าวการให้สัมภาษณ์ของคนในพรรค 57 159.10 18 61.08 14 37.45 1 1.27 2 12.33 - -
5. ข่าวการหาเสียง/สปอตโฆษณา/
การเปิดตัวพรรคการเมือง 27 103.08 50 216.21 1 0.50 3 10.05 13 51.24 - -
6. ข่าวอื่นๆ เช่น ข่าวรถนำขบวนนายก
รัฐมนตรีเกิดอุบัติเหตุก่อนเดินทางไปเยือนพม่า,
ข่าวกรณีนายชูวิทย์ กมลวิศิษฏ์ ละเมิดศาล,
ข่าวการกำหนดวันเปิดสนามบินสุวรรณภูมิ,
ข่าวกรณีทุจริตสวนป่ายูคาลิปตัสใน จ.มุกดาหาร ฯลฯ 60 198.45 20 64.53 14 67.15 5 8.08 2 4.20 1 0.33
ตารางที่ 4 แสดงทิศทางการนำเสนอข่าวผ่านสื่อโทรทัศน์ของพรรคการเมืองต่างๆ
พรรคการเมือง แง่บวกต่อพรรค แง่ลบต่อพรรค ไม่ใช่ทั้งบวกและลบ รวมทั้งสิ้น
ไทยรักไทย 272 23 74 369
ประชาธิปัตย์ 86 31 19 136
ชาติไทย 21 13 12 46
มหาชน 9 2 6 17
ประชาราช 9 2 14 25
สันติภาพไทย 1 - - 1
ตารางที่ 5 แสดงความถี่และจำนวนนาทีในการนำเสนอข่าว “การหาเสียงเลือกตั้ง” ผ่านสื่อโทรทัศน์ของพรรคการเมือง
ต่างๆ (จำแนกตามประเภทข่าว)
ประเภทข่าว ไทยรักไทย ประชาธิปัตย์ ชาติไทย มหาชน ประชาราช พรรคสันติภาพไทย
ความถี่ จำนวนนาที ความถี่ จำนวนนาที ความถี่ จำนวนนาที ความถี่ จำนวนนาที ความถี่ จำนวนนาที ความถี่ จำนวนนาที
1. ข่าวการปราศรัยหาเสียง 2 6.03 1 4.03 - - - - - - - -
2. ข่าวการลงพื้นที่หาเสียง 13 64.42 8 20.37 - - 1 5.63 1 1.37 - -
3. ข่าวการแถลงนโยบายพรรค 7 21.23 26 93.28 - - 1 3.23 2 9.52 - -
4. สปอตโฆษณา - - 14 94.38 - - - - - - - -
5. การเปิดตัวพรรคการเมือง - - - - - - - - 10 39.55 - -
6. ข่าวอื่นๆ เช่น ข่าวการประชุมพรรค
เพื่อเตรียมพร้อมส่งตัวผู้สมัคร
ลงเลือกตั้ง ส.ส./ ข่าวการประกาศ
เตรียมความพร้อมรับการเลือกตั้งฯลฯ 5 10.33 1 3.3 1 0.5 1 0.37 - - 1 0.33
รวมทั้งสิ้น 27 103.1 50 216.2 1 1 3 10.1 13 51.2 1 0.3
ตารางที่ 6 แสดงความถี่ของรูปแบบการนำเสนอข่าวผ่านสื่อโทรทัศน์ของกลุ่มการเมืองต่างๆ
รูปแบบการนำเสนอข่าว ความถี่ในการนำเสนอข่าว(จำนวนครั้ง / ค่าร้อยละ)
1. ผู้ประกาศข่าวรายงาน 461 (79.1)
2. ผู้สื่อข่าวรายงาน 125 (21.4)
3. สัมภาษณ์ 155 (26.6)
4. ภาพประกอบข่าว 496 (85.1)
5. สปอตโฆษณา 14 (2.4)
6. วิเคราะห์ / วิจารณ์ข่าว 56 (9.6)
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-
(fact findings) โค้งแรกของการแข่งขันเอาชนะการเลือกตั้ง เรื่อง “สงครามแย่งชิงเวลาดี(ไพร์มไทม์) ของสื่อโทรทัศน์ในการนำเสนอข่าวภาค
ค่ำและเช้าในกลุ่มพรรคการเมืองต่างๆ” ได้ดำเนินการระหว่างวันที่ 1-11 สิงหาคม 2549 โดยใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยวิธีการสังเกตการณ์
(Observation Method) และจดบันทึกเทปวีดีโอข้อมูลการนำเสนอข่าวเกี่ยวกับพรรคการเมืองต่างๆ ผ่านสื่อโทรทัศน์แบบฟรีทีวี ช่อง 3 ช่อง 5
ช่อง 7 ช่อง 9 ช่อง 11 และ ITV ในช่วงข่าวภาคเช้า (06.00 น. — 08.30 น.) และช่วงข่าวภาคค่ำ (17.00 น. — 20.00 น.)
ดร.นพดล กล่าวว่า ถ้าวันที่ 15 ตุลาคม 2549 เป็นวันเลือกตั้ง ก็จะมีโค้งแห่งการแข่งขันทั้งหมด 5 โค้งด้วยกัน ซึ่งแต่ละโค้งมีช่วงเวลา
ประมาณ 2 สัปดาห์ ดังนั้นการรายงานข้อเท็จจริงฉบับนี้จึงเป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลในโค้งแรกของการแข่งขันท่ามกลางพรรคการเมืองต่างๆ เพื่อชนะ
การเลือกตั้ง ซึ่งผลการวิเคราะห์แบบแจงนับและจดบันทึกเวลาชี้ให้เห็นชัดเจนว่า ในโค้งแรกของการแข่งขัน พรรคไทยรักไทยกำลังได้เปรียบพรรคการ
เมืองอื่นๆ ในการช่วงชิงเวลาดี (ไพร์มไทม์) ของสื่อโทรทัศน์ในการนำเสนอข่าวภาคค่ำและภาคเช้า โดยพบว่า สื่อโทรทัศน์ได้นำเสนอข่าวของพรรค
ไทยรักไทยมากที่สุดคือ 369 ครั้ง รองลงมาคือ พรรคประชาธิปัตย์ 136 ครั้ง พรรคชาติไทย 46 ครั้ง พรรคประชาราช 25 ครั้ง พรรค
มหาชน 17 ครั้ง และพรรคสันติภาพไทย 1 ครั้ง
เมื่อพิจารณาระยะเวลารวมในการนำเสนอข่าว พบว่า
- พรรคไทยรักไทย ระยะเวลาของข่าวที่ถูกนำเสนอโดยรวม 1,188.48 นาที ทั้งนี้เป็นข่าวภารกิจของนายกรัฐมนตรีมากที่สุด รองลง
มาคือข่าวภารกิจของคณะรัฐมนตรี และข่าวเกี่ยวกับการสัมภาษณ์หัวหน้าพรรค
- พรรคประชาธิปัตย์ ระยะเวลาของข่าวที่ถูกนำเสนอโดยรวม 519.34 นาที ทั้งนี้เป็นข่าวการหาเสียง /สปอตโฆษณา/ ข่าวการแถลง
นโยบายมากที่สุด รองลงมาคือข่าวเกี่ยวกับการสัมภาษณ์หัวหน้าพรรค และข่าวเกี่ยวกับการสัมภาษณ์คนในพรรค
- พรรคชาติไทย ระยะเวลาของข่าวที่ถูกนำเสนอโดยรวม 145.20 นาที ทั้งนี้เป็นข่าวการให้สัมภาษณ์ของหัวหน้าพรรค รองลงมาคือ
ข่าวเกี่ยวกับการสัมภาษณ์คนในพรรค และข่าวเกี่ยวกับกรณีนายชูวิทย์ กมลวิศิษฏ์ ละเมิดศาลมากที่สุด
- พรรคประชาราช ระยะเวลาของข่าวที่ถูกนำเสนอโดยรวม 101.52 นาที ทั้งนี้เป็นข่าวเกี่ยวกับการเปิดตัวพรรคการเมืองมากที่สุด
รองลงมาคือข่าวการให้สัมภาษณ์ของหัวหน้าพรรค และข่าวเกี่ยวกับการสัมภาษณ์คนในพรรค
- พรรคมหาชน ระยะเวลาของข่าวที่ถูกนำเสนอโดยรวม 27.25 นาที ทั้งนี้เป็นข่าวการให้สัมภาษณ์ของหัวหน้าพรรค มากที่สุด รอง
ลงมาคือ ข่าวเกี่ยวกับการหาเสียง และข่าวเกี่ยวกับการสัมภาษณ์คนในพรรค
- พรรคสันติภาพไทย ระยะเวลาของข่าวที่ถูกนำเสนอโดยรวม 0.33 นาทีเท่านั้น
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า จากการวิจัยก่อนการเลือกตั้งปี พ.ศ. 2548 พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 69.4 เห็นว่าการนำเสนอข่าว
ผ่านสื่อโทรทัศน์เกี่ยวกับพรรคการเมืองต่างๆ มีส่วนชี้นำในการตัดสินใจเลือกตั้งของประชาชน ในขณะที่ร้อยละ 23.2 เห็นว่าไม่มีผล และร้อยละ 7.4
ไม่มีความเห็น พรรคการเมืองต่างๆ จึงพยายามใช้วิธีการที่แยบยลเพื่อให้ได้พื้นที่การนำเสนอพรรคผ่านสื่อโทรทัศน์เนื่องจากเป็นสื่อเดียวที่เข้าถึงครัว
เรือนเกินกว่าร้อยละ 90 ของครัวเรือนทั้งหมดทั่วประเทศ ผลการวัดครั้งนี้พบว่า พรรคไทยรักไทยหรือการทำงานของรัฐบาลที่ประชาชนทั่วไปก็ทราบว่า
เป็นของพรรคไทยรักไทยได้รับการนำเสนอผ่านสื่อโทรทัศน์ในรูปแบบของ “ข่าวภารกิจของนายกรัฐมนตรี” จำนวน 82 ครั้งรวมทั้งสิ้น 244.42 นาที
ข่าวภารกิจของคณะรัฐมนตรีได้ไป 74 ครั้งรวมทั้งสิ้น 255.33 นาที ข่าว “การให้สัมภาษณ์ของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร” ได้ไป 69 ครั้งหรือ
227.30 นาที ข่าวการให้สัมภาษณ์ของคนในพรรคไทยรักไทย ได้นำเสนอไป 57 ครั้งหรือ 159.10 นาที ข่าว “การหาเสียง” ของพรรคไทยรักไทย
ได้ไปอีก 27 ครั้งหรือ 103.08 นาที
“เมื่อเปรียบเทียบกับการได้พื้นที่ข่าวโทรทัศน์ในช่วงเวลาดี (ไพร์มไทม์) ภาคค่ำและเช้า พบว่า พรรคไทยรักไทยได้จำนวนครั้งและระยะ
เวลาทิ้งห่างพรรคการเมืองอื่นๆ ทุกพรรคเลยทีเดียว ยกเว้น เรื่องสปอตโฆษณาของพรรคประชาธิปัตย์เท่านั้นที่พรรคประชาธิปัตย์เป็นเพียงพรรคเดียวที่
มีสปอตโฆษณาในการวัดช่วงโค้งแรกของการแข่งขัน กล่าวคือ ข่าวการให้สัมภาษณ์ของหัวหน้าพรรค ไทยรักไทยได้ 69 ครั้ง 227.30 นาที หัวหน้า
พรรคประชาธิปัตย์ได้ 48 ครั้ง 177.12 นาที หัวหน้าพรรคชาติไทยได้ 17 ครั้ง 39.30 นาที หัวหน้าพรรคมหาชนได้ 8 ครั้ง 7.45 นาที พรรค
ประชาราชได้ 8 ครั้งได้ 33.35 นาที ยิ่งไปกว่านั้น ข่าวการให้สัมภาษณ์ของคนในพรรค ก็พบว่า คนของพรรคไทยรักไทยได้พื้นที่ข่าวโทรทัศน์ไป
มากกว่าทุกพรรคการเมืองหลายเท่า พบว่า คนของพรรคไทยรักไทยได้ 57 ครั้ง 159.10 นาที คนของพรรคประชาธิปัตย์ได้ 18 ครั้ง 61.08 นาที
คนของพรรคชาติไทยได้ 14 ครั้ง 37.45 นาที คนของพรรคมหาชนได้ 1 ครั้ง 1.27 นาที คนของพรรคประชาราชได้ 2 ครั้ง 12.33 นาที” ดร.
นพดล กล่าว
ที่น่าพิจารณาคือ การภาพข่าวโทรทัศน์มาสนทนากลุ่มดูเนื้อหาข่าวที่ปรากฎ พบว่า ข่าวของพรรคไทยรักไทยจำนวน 369 ครั้ง เป็นข่าวที่ดี
ต่อภาพลักษณ์ของพรรค (แง่บวก) จำนวนสูงถึง 272 ครั้ง ในขณะที่เป็นข่าวไม่ดีต่อภาพลักษณ์ของพรรค (แง่ลบ) 23 ครั้ง และเป็นข่าวไม่บวกไม่ลบ
จำนวน 74 ครั้ง (ดูรายละเอียดในตารางที่ 4)
ดร.นพดล กล่าวว่า ในการวัดพื้นที่ข่าวโทรทัศน์ช่วงเวลาดีหรือไพร์มไทม์ภาคค่ำและภาคเช้ามีทั้งหมด 5 โค้งก่อนวันเลือกตั้ง (ถ้ามีขึ้นใน
วันที่ 15 ตุลาคม) พบว่าโค้งแรกพรรคไทยรักไทยได้ชัยชนะอย่างถล่มทลายสามารถครอบครองพื้นที่ข่าวผ่านสื่อโทรทัศน์ช่วงเวลาดี (ไพร์มไทม์) เหนือ
พรรคการเมืองอื่นๆ ทุกพรรค ฝ่ายพรรคไทยรักไทยอาจอ้างความชอบธรรมว่า รัฐบาลไม่สามารถหยุดทำงานได้ซึ่งเป็นคนละประเด็นกับการนำเสนอภาพ
ข่าวการทำงานในช่วงที่พระราชกฎษฎีกาการเลือกตั้งมีผลบังคับใช้ สื่อมวลชนผ่านทางกองบรรณาธิการข่าวการเมืองและผู้บริหารระดับสูงของสื่ออาจ
พิจารณาทำให้การแข่งขันเพื่อเอาชนะการเลือกตั้งเป็นไปอย่างเที่ยงธรรมไม่เอื้อประโยชน์ให้กับภาพลักษณ์และคะแนนนิยมของพรรคการเมืองใดพรรค
การเมืองหนึ่ง โดยมีแนวทางที่น่าเป็นไปได้มีอย่างน้อยสามประการคือ
ประการแรก ควรแบ่งจำนวนครั้งและระยะเวลาในการนำเสนอคนของพรรคการเมืองไม่ว่าในฐานะรัฐบาลหรือฝ่ายค้านในสัดส่วนที่เท่าๆ กัน
ประการที่สอง ควรเลือกนำเสนอภาพข่าวที่ดูดีพอๆ กัน เวลาพรรคการเมืองลงพื้นที่ เนื่องจากเคยบันทึกพบว่า บางพรรคการเมืองได้รับ
การนำเสนอภาพข่าวที่มีคนจำนวนมากห้อมล้อมให้กำลังใจมอบดอกไม้ ในขณะที่สื่อเดียวกันนำเสนอภาพข่าวของพรรคการเมืองอื่นๆ ที่ไม่ค่อยมีคนสนับ
สนุน ทั้งๆ ที่พรรคการเมืองเหล่านั้นมีบางภาพข่าวที่ดูดีเช่นกัน
ประการที่สาม ควรนำเสนอการให้สัมภาษณ์ข้าราชการประจำแทนการสัมภาษณ์นักการเมือง กรณีที่เกี่ยวข้องกับภารกิจของรัฐบาล โดยควร
นำเสนอเฉพาะข้อเท็จจริงมากกว่าเสนอความรู้สึกชอบไม่ชอบต่อนโยบายของรัฐบาล เพื่อให้การแข่งขันการเลือกตั้งที่จะมาถึงนี้เป็นไปอย่างบริสุทธิ์
ยุติธรรมแท้จริง ซึ่งถ้าข้าราชการท่านใดจะเอนเอียงข้าราชการท่านนั้นๆ ก็จะสูญเสียเกียรติภูมิแห่งตนและวงศ์ตระกูลในสายตาของสาธารณชนเอง นอก
จากนี้ คณะกรรมการการเลือกตั้งอาจพิจารณาถึงความเหมาะสมหรือไม่เหมาะสมต่อการวางตัวของกลุ่มข้าราชการและสื่อมวลชนแขนงต่างๆ ได้เช่นกัน
ในขณะที่ช่วงเวลาที่เหลืออีก 4 โค้ง สำนักวิจัยเอแบคโพลล์จะยังคงวัดจำนวนครั้งและเวลาที่สื่อโทรทัศน์จัดสรรให้พรรคการเมืองต่างๆ
ต่อไป เพื่อเป็นข้อมูลสะท้อนไปยังกองบรรณาธิการข่าวของสถานีโทรทัศน์ช่องต่างๆ ทราบถึงอำนาจดุลยพินิจที่มีอยู่และสามารถสร้างความสมดุลให้เกิดขึ้น
ในการแข่งขันของพรรคการเมืองที่กำลังช่วงชิงอำนาจรัฐมาครอบครองเพื่อประโยชน์สุขของประชาชนหรือเพื่อพวกพ้องของตนเองหรือไม่ ยังไม่มีความ
ชัดเจนเพียงพอในสายตาของชนชั้นนำที่กำลังเคลื่อนไหวปฏิรูปการเมืองไทยอยู่ในขณะนี้
รายละเอียดของโครงการวิจัย
วัตถุประสงค์โครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจการนำเสนอข่าวของสื่อโทรทัศน์ เกี่ยวกับพรรคการเมืองต่างๆ
2. เพื่อเปรียบเทียบรูปแบบการนำเสนอข่าวของแต่ละพรรคการเมือง
3. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีวิจัย
ผลวิเคราะห์โครงการรายงานข้อเท็จจริง (fact findings) โค้งแรกของการแข่งขันเอาชนะการเลือกตั้ง ของสำนักวิจัยเอแบ
คโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง “สงครามแย่งชิงเวลาดี(ไพร์มไทม์) ของสื่อโทรทัศน์ในการนำเสนอข่าวภาคค่ำและเช้าในกลุ่มพรรคการเมือง
ต่างๆ” ได้ดำเนินการระหว่างวันที่ 1-11 สิงหาคม 2549 โดยใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยวิธีการสังเกตการณ์ (Observation Method)
และจดบันทึกข้อมูลการนำเสนอข่าวเกี่ยวกับการเลือกตั้งของพรรคการเมือง ผ่านสื่อโทรทัศน์ ช่อง 3 ช่อง 5 ช่อง 7 ช่อง 9 ช่อง 11 และ
ช่อง ITV ในช่วงข่าวภาคเช้า (06.00 น. — 08.30 น.) และช่วงข่าวภาคค่ำ (17.00 น. — 20.00 น.)
ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการวิจัย
ตารางที่ 1 แสดงความถี่และเวลารวมในการเสนอข่าวของพรรคการเมืองต่างๆ ผ่านสื่อโทรทัศน์ในช่วงระยะเวลา
ทำการสำรวจ
กลุ่มการเมือง ความถี่ในการนำเสนอข่าว(จำนวนครั้ง/ค่าร้อยละ) เวลารวมในการเสนอข่าว(นาที/ค่าร้อยละ)
พรรคไทยรักไทย 369 (62.1) 1,188.48 (60.0)
พรรคประชาธิปัตย์ 136 (22.9) 519.34 (26.2)
พรรคชาติไทย 46 (7.7) 145.20 (7.3)
พรรคมหาชน 25 (4.2) 27.25 (1.4)
พรรคประชาราช 17 (2.9) 101.52 (5.0)
พรรคสันติภาพไทย 1 (0.2) 0.33 (0.1)
รวมทั้งสิ้น 594 (100.0) 1,983.32 (100.0)
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นกรณีข่าวหาเสียงผ่านสื่อโทรทัศน์มีผลต่อการชี้นำในการ
ตัดสินใจของประชาชนในการเลือกตั้ง ส.ส.หรือไม่
ลำดับที่ ข่าวหาเสียงผ่านสื่อโทรทัศน์มีผลต่อการชี้นำในการตัดสินใจของประชาชนในการเลือกตั้ง ส.ส.หรือไม่ ค่าร้อยละ
1 มีผล 69.4
2 ไม่มีผล 23.2
3 ไม่มีความคิดเห็น 7.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ที่มา: ฐานข้อมูลโพลล์การเมือง จากการเลือกตั้ง พ.ศ. 2548 สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
ตารางที่ 3 แสดงความถี่และจำนวนนาทีในการนำเสนอข่าวผ่านสื่อโทรทัศน์ของพรรคการเมืองต่างๆ
(จำแนกตามประเภทข่าว)
ประเภทข่าว ไทยรักไทย ประชาธิปัตย์ ชาติไทย มหาชน ประชาราช พรรคสันติภาพไทย
ความถี่ จำนวนนาที ความถี่ จำนวนนาที ความถี่ จำนวนนาที ความถี่ จำนวนนาที ความถี่ จำนวนนาที ความถี่ จำนวนนาที
1. ข่าวภารกิจนายกรัฐมนตรี 82 244.42 - - - - - - - - - -
2. ข่าวภารกิจคณะรัฐมนตรี 74 255.33 - - - - - - - - - -
3. ข่าวการให้สัมภาษณ์ของหัวหน้าพรรค 69 227.30 48 177.12 17 39.30 8 7.45 8 33.35 - -
4. ข่าวการให้สัมภาษณ์ของคนในพรรค 57 159.10 18 61.08 14 37.45 1 1.27 2 12.33 - -
5. ข่าวการหาเสียง/สปอตโฆษณา/
การเปิดตัวพรรคการเมือง 27 103.08 50 216.21 1 0.50 3 10.05 13 51.24 - -
6. ข่าวอื่นๆ เช่น ข่าวรถนำขบวนนายก
รัฐมนตรีเกิดอุบัติเหตุก่อนเดินทางไปเยือนพม่า,
ข่าวกรณีนายชูวิทย์ กมลวิศิษฏ์ ละเมิดศาล,
ข่าวการกำหนดวันเปิดสนามบินสุวรรณภูมิ,
ข่าวกรณีทุจริตสวนป่ายูคาลิปตัสใน จ.มุกดาหาร ฯลฯ 60 198.45 20 64.53 14 67.15 5 8.08 2 4.20 1 0.33
ตารางที่ 4 แสดงทิศทางการนำเสนอข่าวผ่านสื่อโทรทัศน์ของพรรคการเมืองต่างๆ
พรรคการเมือง แง่บวกต่อพรรค แง่ลบต่อพรรค ไม่ใช่ทั้งบวกและลบ รวมทั้งสิ้น
ไทยรักไทย 272 23 74 369
ประชาธิปัตย์ 86 31 19 136
ชาติไทย 21 13 12 46
มหาชน 9 2 6 17
ประชาราช 9 2 14 25
สันติภาพไทย 1 - - 1
ตารางที่ 5 แสดงความถี่และจำนวนนาทีในการนำเสนอข่าว “การหาเสียงเลือกตั้ง” ผ่านสื่อโทรทัศน์ของพรรคการเมือง
ต่างๆ (จำแนกตามประเภทข่าว)
ประเภทข่าว ไทยรักไทย ประชาธิปัตย์ ชาติไทย มหาชน ประชาราช พรรคสันติภาพไทย
ความถี่ จำนวนนาที ความถี่ จำนวนนาที ความถี่ จำนวนนาที ความถี่ จำนวนนาที ความถี่ จำนวนนาที ความถี่ จำนวนนาที
1. ข่าวการปราศรัยหาเสียง 2 6.03 1 4.03 - - - - - - - -
2. ข่าวการลงพื้นที่หาเสียง 13 64.42 8 20.37 - - 1 5.63 1 1.37 - -
3. ข่าวการแถลงนโยบายพรรค 7 21.23 26 93.28 - - 1 3.23 2 9.52 - -
4. สปอตโฆษณา - - 14 94.38 - - - - - - - -
5. การเปิดตัวพรรคการเมือง - - - - - - - - 10 39.55 - -
6. ข่าวอื่นๆ เช่น ข่าวการประชุมพรรค
เพื่อเตรียมพร้อมส่งตัวผู้สมัคร
ลงเลือกตั้ง ส.ส./ ข่าวการประกาศ
เตรียมความพร้อมรับการเลือกตั้งฯลฯ 5 10.33 1 3.3 1 0.5 1 0.37 - - 1 0.33
รวมทั้งสิ้น 27 103.1 50 216.2 1 1 3 10.1 13 51.2 1 0.3
ตารางที่ 6 แสดงความถี่ของรูปแบบการนำเสนอข่าวผ่านสื่อโทรทัศน์ของกลุ่มการเมืองต่างๆ
รูปแบบการนำเสนอข่าว ความถี่ในการนำเสนอข่าว(จำนวนครั้ง / ค่าร้อยละ)
1. ผู้ประกาศข่าวรายงาน 461 (79.1)
2. ผู้สื่อข่าวรายงาน 125 (21.4)
3. สัมภาษณ์ 155 (26.6)
4. ภาพประกอบข่าว 496 (85.1)
5. สปอตโฆษณา 14 (2.4)
6. วิเคราะห์ / วิจารณ์ข่าว 56 (9.6)
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-