ที่มาของโครงการ
เด็กและเยาวชนถือเป็นกำลังสำคัญต่อการพัฒนาประเทศในอนาคต แต่ในสภาพสังคมไทยปัจจุบันมีปัจจัยหลายด้านที่ส่งผลกระทบที่เป็นปัญหา
และอุปสรรคต่อการสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีของเด็กและเยาวชนไทย เช่น การก่อทะเลาะวิวาท การมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร การมั่วสุมทางเพศ
การติดเกมออนไลน์ สารเสพติด อบายมุข เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีสิ่งกระตุ้นยั่วเย้าทางด้านวัตถุนิยมและสิ่งมอมเมาให้เยาวชนหลงใหลคลั่งไคล้ใน
การบริโภคนิยม ขณะเดียวกันปัจจัยที่จะสนับสนุนการพัฒนาเยาวชนอย่างสร้างสรรค์ก็มีอยู่อย่างจำกัด ไม่สามารถตอบสนองการพัฒนาให้มีคุณภาพที่ดีได้
ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่จะต้องมีการประเมินสถานการณ์ปัญหาต่างๆ และควรมีการเฝ้าระวังรักษาคุณภาพเยาวชนอย่างต่อเนื่อง ปัญหาการมีเพศ
สัมพันธ์ก่อนวัยอันควรหรือการมีเพศสัมพันธ์ในวัยเรียน /การมั่วสุมทางเพศ ถือว่าปัญหาขั้นวิกฤตของเด็กและเยาวชนในวัยเรียนที่จำเป็นต้องได้รับการ
แก้ไขและป้องกันอย่างเร่งด่วนในขณะนี้ ซึ่งนับเป็นปัญหาที่สำคัญที่สุดปัญหาหนึ่งที่นับวันยิ่งทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น
ทางสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงได้ทำการสำรวจภาคสนามหาข้อมูลเชิงสถิติศาสตร์ จากเยาวชนที่มีอายุ 15-24 ปี
ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ถึงประสบการณ์การมีเพศสัมพันธ์ โดยสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ได้จัดส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่ และพนักงานเก็บรวบ
รวมข้อมูลลงพื้นที่ที่ถูกสุ่มได้ตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์ในการทำวิจัย
1. เพื่อศึกษาถึงพฤติกรรมการมีเพศสัมพันธ์ของเยาวชนไทย
2. เพื่อศึกษาถึงความโน้มเอียงในการขายบริการทางเพศของเยาวชนไทย
3. เพื่อเป็นข้อมูลสำคัญและนำเสนอต่อรัฐบาล หน่วยงานราชการ และองค์กรเอกชนที่เกี่ยวข้องใช้ประกอบการพิจารณาตัดสินใจดำเนิน
นโยบายหรือมาตรการที่เหมาะสมในการรักษาคุณภาพที่ดีของเยาวชนไทย
ระเบียบวิธีวิจัย
การวิจัยภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง “สถานการณ์ปัญหาการคุกคามทางเพศ และเพศสัมพันธ์ในกลุ่ม
เยาวชน : กรณีศึกษาเยาวชนอายุ 15 — 24 ปี ในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล (นนทบุรี ปทุมธานี และสมุทรปราการ)” ซึ่งคณะวิจัยได้
ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 24-30 พฤษภาคม พ.ศ. 2549
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือเยาวชนที่มีอายุ 15 — 24 ปี ในเขตกรุงเทพมหานคร นนทบุรี ปทุมธานี และสมุทรปราการ
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified Sampling) ในการเลือกพื้นที่ตัวอย่าง ใน
เขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และการสุ่มตัวอย่างแบบความน่าจะเป็นตามสัดส่วนของขนาดประชากร (Probability Proportionate to
Size Sampling) ในการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายระดับครัวเรือน (household) และแหล่งที่พักอาศัยอื่นๆ อาทิ หอพัก อพาร์ตเมนต์ และ
คอนโดมิเนียม เป็นต้น
ขนาดของตัวอย่าง คือ 3,139 ตัวอย่าง
ระดับความเชื่อมั่นที่ร้อยละ 95 และความคลาดเคลื่อนจากการสุ่มตัวอย่างที่ระดับบวกลบร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องและสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล และประมาณทั้งสิ้นเป็น
ของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
ตัวอย่าง ร้อยละ 50.2 เป็นเพศชาย
ร้อยละ 49.8 เป็นเพศหญิง
ร้อยละ 33.5 ระบุอายุ 15-17 ปี
ร้อยละ 30.3 ระบุอายุ 18-20 ปี
และร้อยละ 36.2 ระบุอายุ 21-24 ปี
เมื่อพิจารณาสถานภาพทางการศึกษาของตัวอย่างพบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 5.4 ระบุไม่ได้เรียนหนังสือเลย
ในขณะที่ร้อยละ 64.7 ระบุเป็นนักเรียน/นักศึกษา
และร้อยละ 29.9 ระบุสำเร็จการศึกษาแล้วและไม่ได้ศึกษาต่อ
บทสรุปผลสำรวจ
ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้เปิดเผยว่าผลสำรวจเรื่อง “สถานการณ์ปัญหาการคุก
คามทางเพศและเพศสัมพันธ์ในกลุ่มเยาวชน” ในครั้งนี้ได้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลจากเยาวชนที่มีอายุ 15-24 ปี ที่พักอาศัยในเขตกรุงเทพมหานคร
และปริมณฑล จำนวนทั้งสิ้น 3,139 ตัวอย่าง ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจ ในวันที่ 24-30 พฤษภาคม 2549 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจดังนี้
เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามตัวอย่างถึงประสบการณ์การถูกคุกคามทางเพศ ซึ่งรวมถึงการพูดจาแทะโลมเกี่ยวกับเพศสัมพันธ์ การถูกลวนลาม
ทางเพศด้วยการสัมผัสถูกเนื้อต้องตัว การพยายามข่มขืน และการถูกข่มขืนนั้น เมื่อวิเคราะห์จำแนกตามเพศ พบว่าในเพศหญิงมีตัวอย่างเกินกว่า 2
ใน 3 คือร้อยละ 66.2 ระบุเคยถูกคุกคามทางเพศ ในขณะที่เพศชายนั้นพบว่า มีตัวอย่างร้อยละ 26.1 ระบุว่าเคยถูกคุกคามทางเพศ ทั้งนี้เมื่อ
สอบถามกลุ่มตัวอย่างที่ระบุเคยถูกคุกคามทางเพศ ถึงอายุน้อยที่สุดที่เคยถูกคุกคามทางเพศนั้นพบว่า ตัวอย่างเกินกว่าครึ่งหนึ่งของทั้งเพศหญิงและเพศ
ชายระบุเคยถูกคุกคามทางเพศในช่วงอายุ 11-14 ปี
สำหรับสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดปัญหาในการถูกคุกคามทางเพศในทรรศนะของตัวอย่างนั้นพบว่า ร้อยละ 59.2 ระบุเกิดจากปัญหาสังคม
เสื่อมโทรม รองลงมาคือ ร้อยละ 57.4 ระบุซีดี/ภาพยนตร์ลามกอนาจาร ร้อยละ 53.6 มีบทลงโทษที่ไม่รุนแรงคนผิดมักลอยนวล
ร้อยละ 51.8 ระบุการแต่งตัวในแบบรัดรูป/เปิดเผยรูปร่างของดารานักร้องนักแสดง และร้อยละ 49.3 ระบุการดื่มสุรา / เครื่องดื่ม
แอลกอฮอล์ นอกจากนี้ยังพบว่า การถูกคุกคามทางเพศแล้วไม่กล้าแจ้งความ การอยู่ในที่เสี่ยง เช่น ผับ บาร์ สถานบริการ สื่อ สิ่งพิมพ์ที่ปลุกเร้า
อารมณ์ทางเพศ การใช้ยาเสพติด ล้วนเป็นสาเหตุทำให้เกิดปัญหาดังกล่าวด้วยเช่นกัน
ดร.นพดล กล่าวว่า นอกเหนือไปจากปัญหาการถูกคุกคามทางเพศ ดังกล่าวข้างต้นแล้ว สถานการณ์ที่น่าเป็นห่วงอย่างยิ่งของเยาวชนอีก
ประการหนึ่งก็คือ พฤติกรรมการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร โดยผลสำรวจในครั้งนี้พบว่า ตัวอย่างเกินกว่า 2 ใน 3 คือ ร้อยละ 45.0 ระบุเคยมี
เพศสัมพันธ์ ในขณะที่ร้อยละ 55.0 ระบุไม่เคยมีเพศสัมพันธ์ ทั้งนี้ในกลุ่มคนที่เคยมีเพศสัมพันธ์นั้น ส่วนใหญ่คือร้อยละ 85.0 ระบุมีเพศสัมพันธ์ครั้ง
แรกกับแฟน / คู่รัก รองลงมาคือ ร้อยละ 7.5 ระบุเพื่อนร่วมโรงเรียน/สถาบัน ร้อยละ 3.5 ระบุเพื่อนต่างโรงเรียน / สถาบัน ตาม
ลำดับ ซึ่งเมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามต่อไปถึงสถานการณ์ที่เป็นตัวผลักดันให้มีเพศสัมพันธ์ครั้งแรกนั้นพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 66.9 ระบุมีเพศสัมพันธ์
ครั้งแรกเพราะความรู้สึกรัก/ชอบ รองลงมาคือร้อยละ 34.2 ระบุการที่ได้อยู่ใกล้ชิดกับเพศตรงข้าม ร้อยละ 28.8 ระบุมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรก
เพราะความอยากลอง ร้อยละ 9.9 ระบุจากการดื่มเหล้า ร้อยละ 7.1 ระบุดูหนังโป๊ / สื่อลามก และร้อยละ 4.9 ระบุเพื่อนชวน ตาม
ลำดับ
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า ผลสำรวจพบว่าบุคคลที่ตัวอย่างระบุมีเพศสัมพันธ์ด้วยในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา นั้น ตัวอย่างส่วนใหญ่ หรือร้อย
ละ 78.2 ระบุมีเพศสัมพันธ์กับแฟน/คู่รัก รองลงมาคือร้อยละ 8.4 ระบุเพื่อนต่างโรงเรียน/สถาบัน ร้อยละ 7.6 ระบุเพื่อนร่วมโรงเรียน/สถาบัน
ร้อยละ 6.6 ระบุเพื่อนใหม่ที่พบตามเธค/ผับ/สถานบันเทิง ร้อยละ 3.8 ระบุผู้ขายบริการทางเพศ และร้อยละ 6.0 ระบุอื่นๆ อาทิ เพื่อนทางอิน
เทอร์เน็ต/นักร้อง/หญิงคาราโอเกะ หรือห้องอาหาร ตามลำดับ
“ประเด็นที่น่าพิจารณา ก็คือ พฤติกรรมการใช้ถุงยางอนามัยเมื่อมีเพศสัมพันธ์ จากผลสำรวจครั้งนี้ พบว่า ตัวอย่างมีการใช้ถุงยางอนามัย
ทุกครั้ง เพิ่มขึ้นจากการสำรวจในปี 2545 จากร้อยละ 19.7 เป็นร้อยละ 27.0 และเมื่อคณะผู้วิจัยได้มีการประมาณการจำนวนเยาวชนที่มีความโน้ม
เอียงในการขายบริการทางเพศนั้น พบว่า มีความโน้มเอียงที่จะขายบริการทางเพศ จำนวน 21,479 คน ในขณะที่ไม่มีความโน้มเอียงที่จะขายบริการ
ทางเพศ มีจำนวน 956,751 คน และไม่แน่ใจ มีจำนวน 231,751 คน ทั้งนี้จากฐานประชากรเยาวชนอายุ 15-24 ปีในเขตกรุงเทพมหานคร
นนทบุรี ปทุมธานี และสมุทรปราการ มีจำนวนทั้งสิ้น 1,209,981 คน” ดร.นพดลกล่าว
\ โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุประสบการณ์การถูกคุกคามทางเพศ
ลำดับที่ ประสบการณ์ของตัวอย่าง ชาย หญิง ภาพรวม
1 เคยประสบ 26.1 66.2 46.1
2 ไม่เคยประสบ 73.9 33.8 53.9
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0
หมายเหตุ การคุกคามทางเพศในการวิจัยครั้งนี้ หมายถึง ถูกพูดจาแทะโลมเกี่ยวกับเพศสัมพันธ์ ถูกลวนลาม
ทางเพศด้วยการสัมผัสถูกเนื้อต้องตัว พยายามข่มขืน และการถูกข่มขืน
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ อายุต่ำสุดของตัวอย่างที่เคยถูกลวนลามทางเพศ
(เฉพาะกลุ่มที่ระบุเคยถูกคุกคามทางเพศ)
ลำดับที่ อายุน้อยที่สุดของตัวอย่างที่เคยถูกลวนลาม ชาย หญิง ภาพรวม
1 ไม่เกิน 5 ปี 1.8 2.1 2.0
2 6 — 10 ปี 14.9 15.6 15.2
3 11 — 14 ปี 50.2 54.7 52.4
4 15 ปีขึ้นไป 33.1 27.6 30.4
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 3 แสดง 10 อันดับค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ สาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาการถูกคุกคามทางเพศ
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ สาเหตุของปัญหาการถูกคุกคามทางเพศ ร้อยละ
1 สังคมเสื่อม คนไร้ศีลธรรมมากขึ้น 59.2
2 ซีดี ภาพยนตร์ลามกอนาจาร 57.4
3 บทลงโทษไม่รุนแรง/ คนผิดมักลอยนวล 53.6
4 การแต่งตัวในแบบรัดรูป /เปิดเผยรูปร่างของดารานักร้องนักแสดง 51.8
5 การดื่มสุรา /เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 49.3
6 คนถูกคุกคามไม่กล้าแจ้งความ 46.7
7 การพาตนเองเข้าไปอยู่ในสถานที่เสี่ยง เช่น ผับ / บาร์/สถานบริการ 40.8
8 สิ่งพิมพ์ นิตยสาร หนังสือนิยายปลุกเร้าอารมณ์ทางเพศ 35.4
9 การใช้ยาเสพติด 11.5
10 อื่นๆ อาทิ ไม่มีหน่วยงานรับผิดชอบดูแลปัญหาโดยเฉพาะ การแต่งตัวของคนที่ถูกคุกคามเอง เป็นต้น 7.8
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุประสบการณ์การมีเพศสัมพันธ์
ลำดับที่ การมีเพศสัมพันธ์ ร้อยละ
1 เคย 45.0
2 ไม่เคย 55.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของบุคคลที่ตัวอย่างมีเพศสัมพันธ์เป็นครั้งแรก (ค่าร้อยละเฉพาะตัวอย่างที่ระบุ
เคยมีเพศสัมพันธ์)
ลำดับที่ บุคคลที่มีเพศสัมพันธ์ด้วยเป็นครั้งแรก ร้อยละ
1 แฟน/คู่รัก 85.0
2 เพื่อนร่วมโรงเรียน/สถาบัน 7.5
3 เพื่อนต่างโรงเรียน/สถาบัน 3.5
4 เพื่อนทางอินเทอร์เน็ต 0.8
5 ผู้ขายบริการทางเพศ 0.6
6 อื่นๆ อาทิ เพื่อนใหม่ที่พบตามเธค/ผับ/สถานบันเทิง/นักร้อง/หญิงคาราโอเกะ หรือห้องอาหาร 2.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของสถานการณ์ที่ผลักดันให้มีเพศสัมพันธ์ครั้งแรก (ค่าร้อยละเฉพาะตัวอย่างที่ระบุ
เคยมีเพศสัมพันธ์ และตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ สถานการณ์ที่ผลักดันให้มีเพศสัมพันธ์ครั้งแรก ร้อยละ
1 ความรู้สึกรัก/ชอบ 66.9
2 อยู่ใกล้ชิดเพศตรงข้าม 34.2
3 อยากลอง 28.8
4 การดื่มเหล้า 9.9
5 การดูหนังโป๊/สื่อลามก 7.1
6 เพื่อนชวน 4.9
7 อื่น ๆ อาทิ ถูกบังคับ/ล่อลวง/การเสพสารเสพติด เป็นต้น 6.8
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุบุคคลที่มีเพศสัมพันธ์ด้วยในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา
(ค่าร้อยละเฉพาะตัวอย่างที่ระบุเคยมีเพศสัมพันธ์และตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ บุคคลที่มีเพศสัมพันธ์ด้วยในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา ร้อยละ
1 แฟน/คู่รัก 78.2
2 เพื่อนต่างโรงเรียน/สถาบัน 8.4
3 เพื่อนร่วมโรงเรียน/สถาบัน 7.6
4 เพื่อนใหม่ที่พบตามเธค/ผับ/สถานบันเทิง 6.6
5 ผู้ขายบริการทางเพศ 3.8
6 อื่น ๆ อาทิ เพื่อนทางอินเทอร์เน็ต/นักร้อง/หญิงคาราโอเกะ หรือห้องอาหาร 6.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุพฤติกรรมการใช้ถุงยางอนามัยเมื่อมีเพศสัมพันธ์
(ค่าร้อยละเฉพาะตัวอย่างที่ระบุเคยมีเพศสัมพันธ์)
ลำดับที่ การใช้ถุงยางอนามัยเมื่อมีเพศสัมพันธ์ พ.ศ. 2545ร้อยละ พ.ศ. 2549ร้อยละ
1 ใช้ทุกครั้ง 19.7 27.0
2 ใช้เป็นบางครั้ง 50.4 44.9
3 ไม่ใช้เลย 29.9 28.1
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
ตารางที่ 9 แสดงผลประมาณการจำนวนเยาวชนที่มีความโน้มเอียงในการขายบริการทางเพศ
ผลประมาณการจำนวนเยาวชนที่มีความโน้มเอียงในการขายบริการทางเพศ ผลประมาณการ
1. มีความโน้มเอียงที่จะขายบริการทางเพศ 21,479
2. ไม่มีความโน้มเอียงที่จะขายบริการทางเพศ 956,751
3. ไม่แน่ใจ 231,751
*** หมายเหตุ ฐานประชากรที่มีอายุ 15-24 ปี ในเขตกรุงเทพมหานคร นนทบุรี ปทุมธานี และ สมุทรปราการ
จำนวนทั้งสิ้น 1,209,981 คน (หนึ่งล้านสองแสนเก้าพันเก้าร้อยแปดสิบเอ็ดคน)
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-
เด็กและเยาวชนถือเป็นกำลังสำคัญต่อการพัฒนาประเทศในอนาคต แต่ในสภาพสังคมไทยปัจจุบันมีปัจจัยหลายด้านที่ส่งผลกระทบที่เป็นปัญหา
และอุปสรรคต่อการสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีของเด็กและเยาวชนไทย เช่น การก่อทะเลาะวิวาท การมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร การมั่วสุมทางเพศ
การติดเกมออนไลน์ สารเสพติด อบายมุข เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีสิ่งกระตุ้นยั่วเย้าทางด้านวัตถุนิยมและสิ่งมอมเมาให้เยาวชนหลงใหลคลั่งไคล้ใน
การบริโภคนิยม ขณะเดียวกันปัจจัยที่จะสนับสนุนการพัฒนาเยาวชนอย่างสร้างสรรค์ก็มีอยู่อย่างจำกัด ไม่สามารถตอบสนองการพัฒนาให้มีคุณภาพที่ดีได้
ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่จะต้องมีการประเมินสถานการณ์ปัญหาต่างๆ และควรมีการเฝ้าระวังรักษาคุณภาพเยาวชนอย่างต่อเนื่อง ปัญหาการมีเพศ
สัมพันธ์ก่อนวัยอันควรหรือการมีเพศสัมพันธ์ในวัยเรียน /การมั่วสุมทางเพศ ถือว่าปัญหาขั้นวิกฤตของเด็กและเยาวชนในวัยเรียนที่จำเป็นต้องได้รับการ
แก้ไขและป้องกันอย่างเร่งด่วนในขณะนี้ ซึ่งนับเป็นปัญหาที่สำคัญที่สุดปัญหาหนึ่งที่นับวันยิ่งทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น
ทางสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงได้ทำการสำรวจภาคสนามหาข้อมูลเชิงสถิติศาสตร์ จากเยาวชนที่มีอายุ 15-24 ปี
ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ถึงประสบการณ์การมีเพศสัมพันธ์ โดยสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ได้จัดส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่ และพนักงานเก็บรวบ
รวมข้อมูลลงพื้นที่ที่ถูกสุ่มได้ตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์ในการทำวิจัย
1. เพื่อศึกษาถึงพฤติกรรมการมีเพศสัมพันธ์ของเยาวชนไทย
2. เพื่อศึกษาถึงความโน้มเอียงในการขายบริการทางเพศของเยาวชนไทย
3. เพื่อเป็นข้อมูลสำคัญและนำเสนอต่อรัฐบาล หน่วยงานราชการ และองค์กรเอกชนที่เกี่ยวข้องใช้ประกอบการพิจารณาตัดสินใจดำเนิน
นโยบายหรือมาตรการที่เหมาะสมในการรักษาคุณภาพที่ดีของเยาวชนไทย
ระเบียบวิธีวิจัย
การวิจัยภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง “สถานการณ์ปัญหาการคุกคามทางเพศ และเพศสัมพันธ์ในกลุ่ม
เยาวชน : กรณีศึกษาเยาวชนอายุ 15 — 24 ปี ในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล (นนทบุรี ปทุมธานี และสมุทรปราการ)” ซึ่งคณะวิจัยได้
ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 24-30 พฤษภาคม พ.ศ. 2549
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือเยาวชนที่มีอายุ 15 — 24 ปี ในเขตกรุงเทพมหานคร นนทบุรี ปทุมธานี และสมุทรปราการ
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified Sampling) ในการเลือกพื้นที่ตัวอย่าง ใน
เขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และการสุ่มตัวอย่างแบบความน่าจะเป็นตามสัดส่วนของขนาดประชากร (Probability Proportionate to
Size Sampling) ในการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายระดับครัวเรือน (household) และแหล่งที่พักอาศัยอื่นๆ อาทิ หอพัก อพาร์ตเมนต์ และ
คอนโดมิเนียม เป็นต้น
ขนาดของตัวอย่าง คือ 3,139 ตัวอย่าง
ระดับความเชื่อมั่นที่ร้อยละ 95 และความคลาดเคลื่อนจากการสุ่มตัวอย่างที่ระดับบวกลบร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องและสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล และประมาณทั้งสิ้นเป็น
ของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
ตัวอย่าง ร้อยละ 50.2 เป็นเพศชาย
ร้อยละ 49.8 เป็นเพศหญิง
ร้อยละ 33.5 ระบุอายุ 15-17 ปี
ร้อยละ 30.3 ระบุอายุ 18-20 ปี
และร้อยละ 36.2 ระบุอายุ 21-24 ปี
เมื่อพิจารณาสถานภาพทางการศึกษาของตัวอย่างพบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 5.4 ระบุไม่ได้เรียนหนังสือเลย
ในขณะที่ร้อยละ 64.7 ระบุเป็นนักเรียน/นักศึกษา
และร้อยละ 29.9 ระบุสำเร็จการศึกษาแล้วและไม่ได้ศึกษาต่อ
บทสรุปผลสำรวจ
ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้เปิดเผยว่าผลสำรวจเรื่อง “สถานการณ์ปัญหาการคุก
คามทางเพศและเพศสัมพันธ์ในกลุ่มเยาวชน” ในครั้งนี้ได้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลจากเยาวชนที่มีอายุ 15-24 ปี ที่พักอาศัยในเขตกรุงเทพมหานคร
และปริมณฑล จำนวนทั้งสิ้น 3,139 ตัวอย่าง ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจ ในวันที่ 24-30 พฤษภาคม 2549 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจดังนี้
เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามตัวอย่างถึงประสบการณ์การถูกคุกคามทางเพศ ซึ่งรวมถึงการพูดจาแทะโลมเกี่ยวกับเพศสัมพันธ์ การถูกลวนลาม
ทางเพศด้วยการสัมผัสถูกเนื้อต้องตัว การพยายามข่มขืน และการถูกข่มขืนนั้น เมื่อวิเคราะห์จำแนกตามเพศ พบว่าในเพศหญิงมีตัวอย่างเกินกว่า 2
ใน 3 คือร้อยละ 66.2 ระบุเคยถูกคุกคามทางเพศ ในขณะที่เพศชายนั้นพบว่า มีตัวอย่างร้อยละ 26.1 ระบุว่าเคยถูกคุกคามทางเพศ ทั้งนี้เมื่อ
สอบถามกลุ่มตัวอย่างที่ระบุเคยถูกคุกคามทางเพศ ถึงอายุน้อยที่สุดที่เคยถูกคุกคามทางเพศนั้นพบว่า ตัวอย่างเกินกว่าครึ่งหนึ่งของทั้งเพศหญิงและเพศ
ชายระบุเคยถูกคุกคามทางเพศในช่วงอายุ 11-14 ปี
สำหรับสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดปัญหาในการถูกคุกคามทางเพศในทรรศนะของตัวอย่างนั้นพบว่า ร้อยละ 59.2 ระบุเกิดจากปัญหาสังคม
เสื่อมโทรม รองลงมาคือ ร้อยละ 57.4 ระบุซีดี/ภาพยนตร์ลามกอนาจาร ร้อยละ 53.6 มีบทลงโทษที่ไม่รุนแรงคนผิดมักลอยนวล
ร้อยละ 51.8 ระบุการแต่งตัวในแบบรัดรูป/เปิดเผยรูปร่างของดารานักร้องนักแสดง และร้อยละ 49.3 ระบุการดื่มสุรา / เครื่องดื่ม
แอลกอฮอล์ นอกจากนี้ยังพบว่า การถูกคุกคามทางเพศแล้วไม่กล้าแจ้งความ การอยู่ในที่เสี่ยง เช่น ผับ บาร์ สถานบริการ สื่อ สิ่งพิมพ์ที่ปลุกเร้า
อารมณ์ทางเพศ การใช้ยาเสพติด ล้วนเป็นสาเหตุทำให้เกิดปัญหาดังกล่าวด้วยเช่นกัน
ดร.นพดล กล่าวว่า นอกเหนือไปจากปัญหาการถูกคุกคามทางเพศ ดังกล่าวข้างต้นแล้ว สถานการณ์ที่น่าเป็นห่วงอย่างยิ่งของเยาวชนอีก
ประการหนึ่งก็คือ พฤติกรรมการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร โดยผลสำรวจในครั้งนี้พบว่า ตัวอย่างเกินกว่า 2 ใน 3 คือ ร้อยละ 45.0 ระบุเคยมี
เพศสัมพันธ์ ในขณะที่ร้อยละ 55.0 ระบุไม่เคยมีเพศสัมพันธ์ ทั้งนี้ในกลุ่มคนที่เคยมีเพศสัมพันธ์นั้น ส่วนใหญ่คือร้อยละ 85.0 ระบุมีเพศสัมพันธ์ครั้ง
แรกกับแฟน / คู่รัก รองลงมาคือ ร้อยละ 7.5 ระบุเพื่อนร่วมโรงเรียน/สถาบัน ร้อยละ 3.5 ระบุเพื่อนต่างโรงเรียน / สถาบัน ตาม
ลำดับ ซึ่งเมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามต่อไปถึงสถานการณ์ที่เป็นตัวผลักดันให้มีเพศสัมพันธ์ครั้งแรกนั้นพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 66.9 ระบุมีเพศสัมพันธ์
ครั้งแรกเพราะความรู้สึกรัก/ชอบ รองลงมาคือร้อยละ 34.2 ระบุการที่ได้อยู่ใกล้ชิดกับเพศตรงข้าม ร้อยละ 28.8 ระบุมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรก
เพราะความอยากลอง ร้อยละ 9.9 ระบุจากการดื่มเหล้า ร้อยละ 7.1 ระบุดูหนังโป๊ / สื่อลามก และร้อยละ 4.9 ระบุเพื่อนชวน ตาม
ลำดับ
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า ผลสำรวจพบว่าบุคคลที่ตัวอย่างระบุมีเพศสัมพันธ์ด้วยในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา นั้น ตัวอย่างส่วนใหญ่ หรือร้อย
ละ 78.2 ระบุมีเพศสัมพันธ์กับแฟน/คู่รัก รองลงมาคือร้อยละ 8.4 ระบุเพื่อนต่างโรงเรียน/สถาบัน ร้อยละ 7.6 ระบุเพื่อนร่วมโรงเรียน/สถาบัน
ร้อยละ 6.6 ระบุเพื่อนใหม่ที่พบตามเธค/ผับ/สถานบันเทิง ร้อยละ 3.8 ระบุผู้ขายบริการทางเพศ และร้อยละ 6.0 ระบุอื่นๆ อาทิ เพื่อนทางอิน
เทอร์เน็ต/นักร้อง/หญิงคาราโอเกะ หรือห้องอาหาร ตามลำดับ
“ประเด็นที่น่าพิจารณา ก็คือ พฤติกรรมการใช้ถุงยางอนามัยเมื่อมีเพศสัมพันธ์ จากผลสำรวจครั้งนี้ พบว่า ตัวอย่างมีการใช้ถุงยางอนามัย
ทุกครั้ง เพิ่มขึ้นจากการสำรวจในปี 2545 จากร้อยละ 19.7 เป็นร้อยละ 27.0 และเมื่อคณะผู้วิจัยได้มีการประมาณการจำนวนเยาวชนที่มีความโน้ม
เอียงในการขายบริการทางเพศนั้น พบว่า มีความโน้มเอียงที่จะขายบริการทางเพศ จำนวน 21,479 คน ในขณะที่ไม่มีความโน้มเอียงที่จะขายบริการ
ทางเพศ มีจำนวน 956,751 คน และไม่แน่ใจ มีจำนวน 231,751 คน ทั้งนี้จากฐานประชากรเยาวชนอายุ 15-24 ปีในเขตกรุงเทพมหานคร
นนทบุรี ปทุมธานี และสมุทรปราการ มีจำนวนทั้งสิ้น 1,209,981 คน” ดร.นพดลกล่าว
\ โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุประสบการณ์การถูกคุกคามทางเพศ
ลำดับที่ ประสบการณ์ของตัวอย่าง ชาย หญิง ภาพรวม
1 เคยประสบ 26.1 66.2 46.1
2 ไม่เคยประสบ 73.9 33.8 53.9
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0
หมายเหตุ การคุกคามทางเพศในการวิจัยครั้งนี้ หมายถึง ถูกพูดจาแทะโลมเกี่ยวกับเพศสัมพันธ์ ถูกลวนลาม
ทางเพศด้วยการสัมผัสถูกเนื้อต้องตัว พยายามข่มขืน และการถูกข่มขืน
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ อายุต่ำสุดของตัวอย่างที่เคยถูกลวนลามทางเพศ
(เฉพาะกลุ่มที่ระบุเคยถูกคุกคามทางเพศ)
ลำดับที่ อายุน้อยที่สุดของตัวอย่างที่เคยถูกลวนลาม ชาย หญิง ภาพรวม
1 ไม่เกิน 5 ปี 1.8 2.1 2.0
2 6 — 10 ปี 14.9 15.6 15.2
3 11 — 14 ปี 50.2 54.7 52.4
4 15 ปีขึ้นไป 33.1 27.6 30.4
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 3 แสดง 10 อันดับค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ สาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาการถูกคุกคามทางเพศ
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ สาเหตุของปัญหาการถูกคุกคามทางเพศ ร้อยละ
1 สังคมเสื่อม คนไร้ศีลธรรมมากขึ้น 59.2
2 ซีดี ภาพยนตร์ลามกอนาจาร 57.4
3 บทลงโทษไม่รุนแรง/ คนผิดมักลอยนวล 53.6
4 การแต่งตัวในแบบรัดรูป /เปิดเผยรูปร่างของดารานักร้องนักแสดง 51.8
5 การดื่มสุรา /เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 49.3
6 คนถูกคุกคามไม่กล้าแจ้งความ 46.7
7 การพาตนเองเข้าไปอยู่ในสถานที่เสี่ยง เช่น ผับ / บาร์/สถานบริการ 40.8
8 สิ่งพิมพ์ นิตยสาร หนังสือนิยายปลุกเร้าอารมณ์ทางเพศ 35.4
9 การใช้ยาเสพติด 11.5
10 อื่นๆ อาทิ ไม่มีหน่วยงานรับผิดชอบดูแลปัญหาโดยเฉพาะ การแต่งตัวของคนที่ถูกคุกคามเอง เป็นต้น 7.8
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุประสบการณ์การมีเพศสัมพันธ์
ลำดับที่ การมีเพศสัมพันธ์ ร้อยละ
1 เคย 45.0
2 ไม่เคย 55.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของบุคคลที่ตัวอย่างมีเพศสัมพันธ์เป็นครั้งแรก (ค่าร้อยละเฉพาะตัวอย่างที่ระบุ
เคยมีเพศสัมพันธ์)
ลำดับที่ บุคคลที่มีเพศสัมพันธ์ด้วยเป็นครั้งแรก ร้อยละ
1 แฟน/คู่รัก 85.0
2 เพื่อนร่วมโรงเรียน/สถาบัน 7.5
3 เพื่อนต่างโรงเรียน/สถาบัน 3.5
4 เพื่อนทางอินเทอร์เน็ต 0.8
5 ผู้ขายบริการทางเพศ 0.6
6 อื่นๆ อาทิ เพื่อนใหม่ที่พบตามเธค/ผับ/สถานบันเทิง/นักร้อง/หญิงคาราโอเกะ หรือห้องอาหาร 2.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของสถานการณ์ที่ผลักดันให้มีเพศสัมพันธ์ครั้งแรก (ค่าร้อยละเฉพาะตัวอย่างที่ระบุ
เคยมีเพศสัมพันธ์ และตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ สถานการณ์ที่ผลักดันให้มีเพศสัมพันธ์ครั้งแรก ร้อยละ
1 ความรู้สึกรัก/ชอบ 66.9
2 อยู่ใกล้ชิดเพศตรงข้าม 34.2
3 อยากลอง 28.8
4 การดื่มเหล้า 9.9
5 การดูหนังโป๊/สื่อลามก 7.1
6 เพื่อนชวน 4.9
7 อื่น ๆ อาทิ ถูกบังคับ/ล่อลวง/การเสพสารเสพติด เป็นต้น 6.8
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุบุคคลที่มีเพศสัมพันธ์ด้วยในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา
(ค่าร้อยละเฉพาะตัวอย่างที่ระบุเคยมีเพศสัมพันธ์และตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ บุคคลที่มีเพศสัมพันธ์ด้วยในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา ร้อยละ
1 แฟน/คู่รัก 78.2
2 เพื่อนต่างโรงเรียน/สถาบัน 8.4
3 เพื่อนร่วมโรงเรียน/สถาบัน 7.6
4 เพื่อนใหม่ที่พบตามเธค/ผับ/สถานบันเทิง 6.6
5 ผู้ขายบริการทางเพศ 3.8
6 อื่น ๆ อาทิ เพื่อนทางอินเทอร์เน็ต/นักร้อง/หญิงคาราโอเกะ หรือห้องอาหาร 6.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุพฤติกรรมการใช้ถุงยางอนามัยเมื่อมีเพศสัมพันธ์
(ค่าร้อยละเฉพาะตัวอย่างที่ระบุเคยมีเพศสัมพันธ์)
ลำดับที่ การใช้ถุงยางอนามัยเมื่อมีเพศสัมพันธ์ พ.ศ. 2545ร้อยละ พ.ศ. 2549ร้อยละ
1 ใช้ทุกครั้ง 19.7 27.0
2 ใช้เป็นบางครั้ง 50.4 44.9
3 ไม่ใช้เลย 29.9 28.1
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
ตารางที่ 9 แสดงผลประมาณการจำนวนเยาวชนที่มีความโน้มเอียงในการขายบริการทางเพศ
ผลประมาณการจำนวนเยาวชนที่มีความโน้มเอียงในการขายบริการทางเพศ ผลประมาณการ
1. มีความโน้มเอียงที่จะขายบริการทางเพศ 21,479
2. ไม่มีความโน้มเอียงที่จะขายบริการทางเพศ 956,751
3. ไม่แน่ใจ 231,751
*** หมายเหตุ ฐานประชากรที่มีอายุ 15-24 ปี ในเขตกรุงเทพมหานคร นนทบุรี ปทุมธานี และ สมุทรปราการ
จำนวนทั้งสิ้น 1,209,981 คน (หนึ่งล้านสองแสนเก้าพันเก้าร้อยแปดสิบเอ็ดคน)
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-