เอแบคโพลล์: ประชาชนคิดอย่างไรต่อ การอภิปรายของรัฐสภาและจุดอ่อนจุดแข็งในจุดตั้งต้นของรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์

ข่าวผลสำรวจ Monday February 2, 2009 07:43 —เอแบคโพลล์

ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลวิจัยเชิงสำรวจเรื่อง ประชาชนคิดอย่างไร ต่อ การอภิปรายของรัฐสภาและจุดอ่อนจุดแข็งในจุดตั้งต้นของรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ กรณีศึกษาประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน ตัวอย่างทั้งสิ้น 1,869 ตัวอย่าง มีระยะเวลาการดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 27-31 มกราคม 2552 ผลสำรวจพบว่า

ประชาชนที่ถูกศึกษาเกินกว่าครึ่งหนึ่งเล็กน้อยหรือร้อยละ 53.3 ได้รับชม รับฟัง ติดตามข่าวการอภิปรายในรัฐสภาเมื่อช่วงสัปดาห์ที่ผ่าน มา ในขณะที่ ร้อยละ 46.7 ไม่ได้รับชม ไม่ได้สนใจติดตามเลย และเมื่อถามถึงความคิดเห็นต่อการอภิปรายระหว่างฝ่ายค้านกับฝ่ายรัฐบาลในกลุ่มคนที่ ติดตามข่าว พบว่า ร้อยละ 46.8 เห็นว่ายังไม่สร้างสรรค์มากเพียงพอ ในขณะที่ร้อยละ 24.7 คิดว่าเป็นไปอย่างสร้างสรรค์แล้ว และร้อยละ 28.5 ไม่มีความเห็น

ส่วนนักการเมืองที่ชอบการอภิปรายในรัฐสภา ผลสำรวจพบว่า ร้อยละ 50.2 ชอบนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี รองลงมาคือ ร้อยละ 43.9 ชอบ ร.ต.อ.ดร.เฉลิม อยู่บำรุง ร้อยละ 11.7 ชอบนายจตุพร พรหมพันธุ์ ร้อยละ 9.3 ชอบนายสุนัย จุลพงศธร ร้อยละ 6.6 ชอบ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ และร้อยละ 14.4 ชอบคนอื่นๆ เช่น นายกษิต ภิรมย์/นายจุลินทร์ ลักษณะวิศิษฎ์/นายสาธิต วงศ์หนองเตย/นายกรณ์ จาติก วณิช เป็นต้น

เมื่อขอให้ประเมินผลการอภิปรายของฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้าน จากคะแนนเต็ม 10 คะแนนในกลุ่มคนที่ติดตามข่าว พบว่า รัฐบาลได้ 6.41 คะแนน ในขณะที่ ฝ่ายค้านได้ 5.75 คะแนน

นอกจากนี้ ผลสำรวจพบด้วยว่า ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 67.0 มองว่าสถานการณ์การเมืองภายหลังรัฐบาลชุดใหม่เข้าบริหาร ประเทศเริ่มดีขึ้นบ้าง ในขณะที่ ร้อยละ 7.0 มองว่าดีขึ้นมาก อย่างไรก็ตาม ร้อยละ 26.0 มองว่าแย่ลง ที่น่าพิจารณาคือ ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อย ละ 89.8 เห็นด้วยต่อการออกมาตรการที่เข้มงวดขึ้นในการดูแลความปลอดภัยของสถานที่สำคัญทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมของประเทศ เช่น สนามบิน และทำเนียบรัฐบาล เป็นต้น ในขณะที่เพียงร้อยละ 10.2 ไม่เห็นด้วย

นอกจากนี้ ผลสำรวจยังพบด้วยว่า ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 61.2 ชอบนโยบายด้านการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการในรัฐบาล พรรคประชาธิปัตย์มาเป็นอันดับที่ 1 คือให้เรียนฟรี 15 ปี แจกหนังสือ ให้ทุนการศึกษา รองลงมาคือร้อยละ 29.6 ชอบนโยบายแก้ปัญหาเศรษฐกิจ มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ร้อยละ 25.6 ชอบนโยบายเกี่ยวกับสวัสดิการสังคมช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อย การให้เงินสงเคราะห์ ร้อยละ 5.2 ชอบ นโยบายกระจายรายได้สู่ชุมชน ร้อยละ 4.5 ชอบมาตรการช่วยเหลือคนว่างงาน และร้อยละ 8.3 ชอบนโยบายอื่นๆ เช่นมาตรการส่งเสริมการท่อง เที่ยว การรักษาพยาบาล นโยบายด้านภาษี การปฏิรูปสื่อ เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม ประชาชนที่ถูกศึกษาร้อยละ 35.1 ยังไม่ชอบและยังไม่เห็นความชัดเจนในการแก้ปัญหาของนโยบายด้านเศรษฐกิจ อาทิ การกระตุ้นการใช้จ่ายของประชาชน ค่าครองชีพ ปัญหาหนี้สินของประชาชน และความยากจน นอกจากนี้ ร้อยละ 24.7 ยังไม่ชอบและไม่เห็นความ ชัดเจนในนโยบายด้านสวัสดิการสังคม อาทิ เงินผู้สูงอายุ ผู้พิการ และคนว่างงาน ในขณะที่ร้อยละ 17.5 ยังไม่ชอบและไม่เห็นความชัดเจนในนโยบาย ด้านการแก้ปัญหายาเสพติดและอาชญากรรม และร้อยละ 9.6 ระบุไม่เห็นความชัดเจนในการส่งเสริมความรัก ความสามัคคีของคนในชาติ ตามลำดับ

ยิ่งไปกว่านั้น ผลสำรวจพบด้วยว่า ประชาชนก่ำกึ่งกันคือร้อยละ 50.9 กับร้อยละ 49.1 เห็นว่า รัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ ภายใต้การนำ ของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะให้ความสำคัญกับการปฏิรูปการเมืองใหม่ระดับมากถึงมากที่สุด อย่างไรก็ตาม ประชาชนอีกประมาณครึ่งเช่นกันที่เห็นว่า รัฐบาลให้ความสำคัญกับการปฏิรูปการเมืองใหม่ระดับน้อยถึงไม่ให้ความสำคัญเลย

สำหรับจุดอ่อนหรือข้อเสียของรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ ที่ประชาชนรับทราบผ่านสื่อมวลชน คือ ร้อยละ 22.2 ระบุตัดสินใจไม่เด็ดขาด ร้อยละ 18.6 ระบุปัญหาทุจริตคอรัปชั่น ร้อยละ 18.5 ความไม่เป็นเอกภาพ ไม่มีเสถียรภาพ และจุดยืน ร้อยละ 18.1 ระบุความไม่เหมาะสมใน การแต่งตั้งรัฐมนตรีบางกระทรวง ร้อยละ 12.0 ระบุความไม่ชัดเจนในนโยบาย ร้อยละ 11.5 ระบุยังไม่มีประสบการณ์ในการบริหารประเทศ และ ร้อยละ 9.7 ระบุเห็นแก่พวกพ้อง ตามลำดับ

ส่วนจุดแข็งหรือข้อดีของรัฐบาลชุดปัจจุบัน พบว่า ร้อยละ 54.1 ระบุคุณสมบัติที่ดีของนายกรัฐมนตรี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ รองลงมา คือ ร้อยละ 17.1 ระบุมีนโยบายทำงานชัดเจน ร้อยละ 12.0 ความซื่อสัตย์ ไม่คดโกง ร้อยละ 7.9 ระบุมีทีมเศรษฐกิจที่เข้มแข็ง ร้อยละ 7.4 ระบุ ไม่ละเลยประชาชนผู้มีรายได้น้อย และร้อยละ 6.1 ระบุอื่นๆ อาทิ ความจริงจังในการทำงาน ความสามัคคีในพรรค และความเป็นกลาง ตามลำดับ

ผอ.เอแบคโพลล์ กล่าวว่า ผลสำรวจครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า ประชาชนจำนวนมากไม่สนใจติดตามเหตุการณ์สำคัญๆ ทางการเมืองในปัจจุบัน โดยส่วนใหญ่มองว่าสถานการณ์การเมืองโดยรวมดีขึ้นบ้างแล้ว และชอบนโยบายด้านการศึกษาเรียนฟรีของรัฐบาลมากที่สุด แต่ที่น่าเป็นห่วงคือ นโยบาย ด้านเศรษฐกิจของรัฐบาลที่ไม่ได้ขึ้นมาเป็นอันดับแรกของความพอใจในหมู่ประชาชนจากการสำรวจครั้งนี้ อย่างไรก็ตาม จุดแข็งของรัฐบาลชุดปัจจุบัน กำลังอยู่ที่คุณสมบัติของนายกรัฐมนตรีคือนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ที่เป็นคนฉลาด ใจเย็น มีความรู้ความสามารถ และมีความเป็นผู้นำ แต่ จุดอ่อนอยู่ที่การ ตัดสินใจไม่เด็ดขาด และปัญหาทุจริตคอรัปชั่น ที่ปรากฏเป็นความเคลือบแคลงสงสัยในหมู่ประชาชนเสียตั้งแต่ช่วงต้นของรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ และสิ่ง ที่น่าเป็นห่วงอีกประการหนึ่งคือ ความไม่สมดุลในความพยายามของรัฐบาลเรื่องปฏิรูปการเมืองใหม่และการแก้ปัญหาสังคม เพราะหากปล่อยไว้เช่นนี้ต่อ ไปอาจกลายเป็นตัวเร่งทำให้อายุของรัฐบาลสั้นลงเร็วกว่าที่น่าจะเป็น เนื่องจากความเดือดร้อนของประชาชนไม่ได้อยู่ที่ปัญหาปากท้องเพียงอย่าง เดียว จึงแนะให้รัฐบาลกล้าที่จะเร่งปฏิรูปการเมืองใหม่ และมีมาตรการเสริมสร้างความรักความสามัคคีในชาติโดยเร็ว

รายละเอียดงานวิจัย

วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
          1.          เพื่อสำรวจความคิดเห็นต่อจุดตั้งต้นของพรรคประชาธิปัตย์และประเด็นสำคัญทางการเมืองอื่นๆ
          2.          เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป

ระเบียบวิธีการทำโพลล์

โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้เรื่อง ประชาชนคิดอย่างไรต่อการอภิปรายของ รัฐสภาและจุดอ่อนจุดแข็งในจุดตั้งต้นของรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ กรณีศึกษาประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวนตัวอย่างทั้งสิ้น 1,869 ตัวอย่าง มีระยะเวลาการดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 27-31 มกราคม 2552 เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่ง กลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากรเป้าหมายจากการทำสำมะโน ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม วิธี การเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์ หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูลและงบ ประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย โดยมีคณะผู้วิจัย จำนวนทั้งสิ้น 93 คน

ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง

จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่างร้อยละ 54.7 เป็นเพศหญิง

ร้อยละ 45.3 เป็นเพศชาย

ร้อยละ 6.9 ระบุอายุต่ำกว่า 20 ปี

ร้อยละ 24.7 อายุระหว่าง 20 — 29 ปี

ร้อยละ 28.5 อายุระหว่าง 30 — 39 ปี

ร้อยละ 22.3 อายุระหว่าง 40 — 49 ปี

และ ร้อยละ 17.6 อายุ 50 ปีขึ้นไป

ตัวอย่าง ร้อยละ 73.4 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี

รองลงมาคือร้อยละ 24.5 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี

และร้อยละ 2.1 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี

ตัวอย่าง ร้อยละ 33.9 มีธุรกิจส่วนตัว/อาชีพอิสระ/ค้าขาย

ร้อยละ 23.8 ระบุอาชีพรับจ้างใช้แรงงาน

ร้อยละ 21.0 เป็นพนักงานเอกชน/ลูกจ้างเอกชน

ร้อยละ 10.1 อาชีพข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ

ร้อยละ 5.3 เป็นนักเรียน/นักศึกษา

ร้อยละ 4.7 เป็นพ่อบ้าน/เกษียณอายุ

ร้อยละ 1.2 ระบุว่างงาน/ไม่มีรายได้/ไม่ประกอบอาชีพ/ตกงาน

โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้

ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการติดตามรับชม/รับฟังหรือติดตามข่าวการอภิปรายในรัฐสภาเมื่อช่วงสัปดาห์
ที่ผ่านมา
ลำดับที่          การติดตามรับชม/รับฟังหรือติดตามข่าวการอภิปรายในรัฐสภาเมื่อช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา     ค่าร้อยละ
1          ได้รับชม/รับฟังหรือติดตามข่าว                                                  53.3
2          ไม่ได้รับชม/ไม่ได้รับฟัง/ไม่ได้สนใจติดตามข่าว                                      46.7
          รวมทั้งสิ้น                                                                 100.0

ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อการอภิปรายระหว่างฝ่ายค้านกับฝ่ายรัฐบาล  (เฉพาะผู้ที่
ระบุติดตามข่าว)
ลำดับที่          ความคิดเห็นต่อการอภิปรายระหว่างฝ่ายค้านกับฝ่ายรัฐบาล                       ค่าร้อยละ
1          คิดว่าการอภิปรายเป็นไปอย่างสร้างสรรค์แล้ว                                      24.7
2          ยังไม่สร้างสรรค์มากเพียงพอ                                                  46.8
3          ไม่มีความเห็น                                                             28.5
          รวมทั้งสิ้น                                                                100.0

ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุนักการเมืองที่ชอบการอภิปรายในรัฐสภา  (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่          นักการเมืองที่ชอบการอภิปรายในรัฐสภา                                     ค่าร้อยละ
1          นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี                                             50.2
2          ร.ต.อ.ดร.เฉลิม อยู่บำรุง                                                     43.9
3          นายจตุพร พรหมพันธุ์                                                          11.7
4          นายสุนัย  จุลพงศธร                                                           9.3
5          นายสุเทพ เทือกสุบรรณ                                                         6.6
6        อื่นๆ อาทิ นายกษิต ภิรมย์/นายจุลินทร์ ลักษณะวิศิษฎ์/นายสาธิต วงศ์หนองเตย/นายกรณ์  จาติกวณิช  14.4

ตารางที่ 4 แสดงคะแนนเฉลี่ยการอภิปรายของฝ่ายรัฐบาลกับฝ่ายค้าน จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน  (เฉพาะผู้ที่ระบุติดตามข่าว)
ลำดับที่          การอภิปรายของ...          คะแนนเฉลี่ยจากคะแนนเต็ม 10 คะแนน
1          ฝ่ายรัฐบาล                                        6.41
2          ฝ่ายค้าน                                          5.75

ตารางที่ 5  แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อสถานการณ์การเมืองภายหลังรัฐบาลชุดใหม่เข้ามาบริหารประเทศ
ลำดับที่          ความคิดเห็นต่อสถานการณ์การเมืองภายหลังรัฐบาลชุดใหม่เข้ามาบริหารประเทศ         ค่าร้อยละ
1          คิดว่าสถานการณ์ดีขึ้นมาก                                                       7.0
2          ดีขึ้นบ้าง                                                                  67.0
3          แย่ลง                                                                    26.0
          รวมทั้งสิ้น                                                                 100.0

ตารางที่ 6  แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อการออกมาตรการที่เข้มงวดขึ้นในการดูแลความปลอดภัยของ

สถานที่สำคัญทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมของประเทศ เช่น สนามบิน ทำเนียบรัฐบาล

ลำดับที่          ความคิดเห็น             ค่าร้อยละ
1          เห็นด้วย                      89.8
2          ไม่เห็นด้วย                    10.2
          รวมทั้งสิ้น                     100.0

ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุนโยบาย/มาตรการของรัฐบาลนายกรัฐมนตรี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ที่ชอบ
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่          นโยบาย/มาตรการของรัฐบาลที่ชอบ                                                  ค่าร้อยละ
1          นโยบายทางด้านการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ อาทิ ให้เรียนฟรี่ 15 ปี /แจกหนังสือ/ให้ทุนการศึกษา    61.2
2          นโยบายการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ/มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ                                     29.6
3          นโยบายเกี่ยวกับสวัสดิการสังคมช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อย/การให้เงินสงเคราะห์ผู้สูงอายุ/คนพิการ           25.6
4          นโยบายการกระจายรายได้สู่ชุมชน/การช่วยเหลือชุมชน                                          5.2
5          มาตรการช่วยเหลือคนว่างงาน                                                            4.5
6          อื่นๆ อาทิ มาตรการส่งเสริมการท่องเที่ยว/การรักษาพยาบาล/นโยบายด้ายภาษี/การปฏิรูปสื่อ              8.3

ตารางที่ 8  แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุนโยบาย/มาตรการของรัฐบาลนายกรัฐมนตรี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ที่ยังไม่ชอบ

และยังไม่เห็นความชัดเจนในการแก้ปัญหา (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)

ลำดับที่          นโยบาย/มาตรการของรัฐบาลนายกรัฐมนตรี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ -                       ค่าร้อยละ

ที่ยังไม่ชอบและยังไม่เห็นความชัดเจนในการแก้ปํญหา

1          นโยบายด้านเศรษฐกิจ อาทิ การกระตุ้นการใช้จ่ายของประชาชน/ค่าครองชีพ/ -
           ปัญหาหนี้สินของประชาชน/ความยากจน                                                      35.1
2          นโยบายด้านสวัสดิการสังคม อาทิ เงินผู้สูงอายุ/ผู้พิการ/การช่วยเหลือคนว่างงาน                       24.7
3          นโยบายด้านการแก้ไขปัญหายาเสพติด และอาชญากรรม                                          17.5
4          การส่งเสริมความรัก ความสามัคคีของคนในชาติ                                                9.6
5          นโยบายด้านการศึกษา                                                                   8.1
6          การแก้ไขปัญหาความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนใต้                                             6.0
7          มาตรการด้านภาษี                                                                      5.9
8          อื่นๆ อาทิ  การแก้ไขปัญหาทุจริตคอรัปชั่น/นโยบายด้านความมั่นคง/กระบวนการยุติธรรม/การแก้ไขรัฐธรรมนูญ  10.5

ตารางที่ 9  แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อรัฐบาลในการให้ความสำคัญกับการปฏิรูปการเมืองใหม่
ลำดับที่          ความคิดเห็นต่อรัฐบาลในการให้ความสำคัญกับการปฏิรูปการเมืองใหม่          ค่าร้อยละ
1          คิดว่ารัฐบาลให้ความสำคัญกับการปฏิรูปการเมืองใหม่มากถึงมากที่สุด                  50.9
2          ให้ความสำคัญน้อยถึงไม่ให้เลย                                             49.1
          รวมทั้งสิ้น                                                            100.0

ตารางที่ 10  แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุจุดอ่อน/ข้อเสียของรัฐบาลนายกรัฐมนตรี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ที่รับทราบผ่าน

สื่อมวลชน (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)

ลำดับที่          จุดอ่อน/ข้อเสียของรัฐบาลนายกรัฐมนตรี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ  ที่รับทราบผ่านสื่อมวลชน  ค่าร้อยละ
1          ตัดสินใจไม่เด็ดขาด                                                            22.2
2          ปัญหาการทุจริตคอรัปชั่น                                                         18.6
3          ความไม่เป็นเอกภาพ/ไม่มีเสถียรภาพ/ไม่มีจุดยืนที่แน่นอน                                 18.5
4          ความเหมาะสมในการแต่งตั้งรัฐมนตรีบางกระทรวง                                     18.1
5          ความไม่ชัดเจนของนโยบาย/มาตรการต่างๆ                                          12.0
6          ยังไม่มีประสบการณ์ในการบริหารประเทศ                                            11.5
7          เห็นแก่พวกพ้อง                                                                9.7
8          อื่นๆ อาทิ ยังไม่มีวิสัยทัศน์ในการทำงาน/ยังไม่มีผลงาน                                   4.2

ตารางที่ 11  แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุจุดแข็ง/ข้อดีของรัฐบาลนายกรัฐมนตรี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ  ในช่วง 30 วันที่

ผ่านมา (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)

ลำดับที่          จุดแข็ง/ข้อดีของรัฐบาลนายกรัฐมนตรี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ในช่วง 30 วันที่ผ่านมา            ค่าร้อยละ
1          คุณสมบัติที่ดีของนายกรัฐมนตรี  อาทิ ฉลาด มีความรู้ ใจเย็น มีวิสัยทัศน์ในการทำงาน มีความเป็นผู้นำ /-
           ยอมรับฟังความคิดเห็นของทุกฝ่าย ได้รับการยอมรับจากต่างประเทศ                                54.1
2          มีนโยบายการทำงานที่ชัดเจน                                                            17.1
3          ความซื่อสัตย์/ไม่คดโกง                                                                12.0
4          มีทีมเศรษฐกิจที่เข้มแข็ง                                                                 7.9
5          ไม่ละเลยประชาชนในระดับรากหญ้า                                                        7.4
6          อื่นๆ อาทิ มีความจริงจังในการทำงาน/มีความสามัคคีในพรรค/มีความเป็นกลาง                        6.1

--เอแบคโพลล์--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ