ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลสำรวจแบบเรียลไทม์ (Real-Time Survey) ที่เป็นการสำรวจแบบรวดเร็วฉับไวภายในระยะเวลา 3 ชั่วโมง หลังจากมีสิ่งที่น่าสนใจติดตามในหมู่ประชาชน โดยครั้งนี้ได้ทำการสำรวจ เรื่อง เปรียบเทียบแนวโน้มความเชื่อมั่น/ไม่เชื่อมั่นประเทศไทยกับนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ในทรรศนะของประชาชนทั่วประเทศครั้งที่ 2 ประจำวัน อาทิตย์ที่ 1 กุมภาพันธ์ 2552 ซึ่งการสำรวจจะดำเนินการเป็นประจำทุกครั้งที่มีการจัดรายการโทรทัศน์และการเผยแพร่ทางวิทยุของนายกรัฐมนตรี เพื่อดูแนวโน้มและเสียงสะท้อนของประชาชนต่อรายการดังกล่าว
ในการศึกษาครั้งนี้มีจำนวนตัวอย่างประชาชนจากทั่วประเทศรวมทั้งสิ้น 1,027 คน ดำเนินการสำรวจทันทีที่รายการโทรทัศน์และวิทยุดัง กล่าวจบลงภายในระยะเวลา 3 ชั่วโมงของการสำรวจครอบคลุมประชาชนที่ถูกศึกษาทั่วประเทศ ผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ผลสำรวจพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 15.8 ระบุติดตามรับชม/รับฟังรายการ ซึ่งเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากการสำรวจในครั้งแรกเมื่อวันอาทิตย์ที่ 25 มกราคม 2552 ที่ผ่านมา ทั้งนี้เมื่อสอบถามถึงความน่าสนใจของรายการเชื่อมั่นประเทศไทยประจำวันอาทิตย์ที่ 1 กุมภาพันธ์ 2552 (วันนี้) นั้น พบว่าร้อยละ 91.3 ระบุมีความ น่าสนใจ ในขณะที่ร้อยละ 7.2 ระบุไม่น่าสนใจ และร้อยละ 1.5 ไม่ระบุความเห็น ทั้งนี้ประเด็นที่ชื่นชอบจากการพูดคุยในรายการประจำสัปดาห์นี้นั้น พบว่า ร้อยละ 75.4 ระบุชื่นชอบการพูดคุยเกี่ยวกับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล ที่ผลการสำรวจก่อนหน้านี้พบว่าประชาชนยังไม่มีความชัดเจน ในเรื่องดังกล่าว แต่เมื่อได้รับชม/รับฟังรายการแบบสดแล้วกลับพบว่าประชาชนให้ความชื่นชอบในเรื่องนี้มากกว่าเรื่องอื่น นอกจากนี้ยังพบว่าร้อยละ 60.9 ระบุชื่นชอบการพูดคุยเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาความมั่นคง ร้อยละ 55.1 ระบุมาตรการด้านการท่องเที่ยว ร้อยละ 53.6 ระบุการเพิ่มวงเงิน กู้เพื่อการศึกษา ร้อยละ 43.5 ระบุมาตรการส่งออกอาหาร และร้อยละ 40.6 ระบุนโยบายด้านการต่างประเทศ ตามลำดับ
สำหรับประโยชน์ต่อการนำไปใช้ในชีวิตประจำวันของเนื้อหาสาระรายการนั้น ผลการสำรวจในครั้งแรกเมื่อวันอาทิตย์ที่ 25 มกราคมที่ผ่าน มาพบว่า ร้อยละ 85.2 ระบุเนื้อหาสาระที่พูดมีประโยชน์ต่อการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน ในขณะที่การสำรวจในวันนี้ พบว่ามีสัดส่วนของผู้ที่ระบุเป็น ประโยชน์ คิดเป็นร้อยละ 95.7
เช่นเดียวกับผลสำรวจเมื่อสอบถามความเชื่อมั่นต่อประเทศไทยภายหลังติดตามรับชม/รับฟังรายการในวันนี้นั้น เปรียบเทียบกับอาทิตย์ที่ผ่าน มาที่พบว่าสัดส่วนของผู้ที่เชื่อมั่นต่อประเทศไทยภายหลังติดตามรับชม/รับฟังรายการนี้มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น จากร้อยละ 81.8 ในการสำรวจครั้งแรก มาอยู่ ที่ร้อยละ 87.0 จากการสำรวจในครั้งนี้
สำหรับความตั้งใจติดตามรับชม/รับฟังรายการเชื่อมั่นประเทศไทยกับนายกฯ อภิสิทธิ์ในสัปดาห์หน้า เมื่อจำแนกตามการติดตามรับชม/รับฟัง รายการในอาทิตย์นี้นั้นพบว่า ร้อยละ 82.7 ของผู้ที่ได้รับชมรายการในวันนี้ระบุจะติดตามรับชม/รับฟังในวันอาทิตย์หน้าอีกอย่างแน่นอน ในขณะที่ร้อย ละ 15.9 ระบุไม่แน่ใจ แล้วแต่โอกาส อย่างไรก็ตามสำหรับผู้ที่ไม่ได้รับชมรับฟังรายการในอาทิตย์นี้นั้น ร้อยละ 42.3 ระบุจะติดตามรับชมรับฟัง อย่างแน่นอนในวันอาทิตย์หน้า
ดร.นพดล กล่าวว่า ผลการสำรวจก่อนหน้านี้พบว่าประชาชนยังไม่มีความชัดเจนในมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล แต่จากการ สำรวจแบบเรียลไทม์ภายหลังการติดตามรับชม/รับฟังรายการในวันนี้แล้วพบว่า มาตรการดังกล่าวกลับได้รับความชื่นชอบจากประชาชนมากกว่าเรื่อง อื่นๆ ซึ่งน่าจะสะท้อนให้เห็นว่าประชาชนได้รับข้อมูลที่ชัดเจนมากขึ้นจากการพูดคุยผ่านรายการ ของนายกรัฐมนตรีในวันนี้
รายละเอียดงานวิจัย
1. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อรายการเชื่อมั่นประเทศไทยกับนายกฯ อภิสิทธิ์ ครั้งที่ 2 2. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจแบบเรียลไทม์ ของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้เรื่อง “เปรียบเทียบแนวโน้มความเชื่อมั่น/ไม่ เชื่อมั่นประเทศไทยกับนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะในทรรศนะของตัวอย่างประชาชนทั่วประเทศ ครั้งที่ 2” ซึ่งดำเนินโครงการในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2552 ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนทั่วประเทศ เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากรเป้าหมายจาก การทำสำมะโน ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ คือ 1,027 ตัวอย่าง ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบ รวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์ หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อน นำเข้าวิเคราะห์ข้อมูลและงบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย มีคณะผู้วิจัย จำนวนทั้งสิ้น 64 คน
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 51.2 เป็นหญิง
ร้อยละ 46.8 เป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 9.2 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 23.4 อายุระหว่าง 20 — 29 ปี
ร้อยละ 23.7 อายุระหว่าง 30 — 39 ปี
ร้อยละ 21.6 อายุระหว่าง 40 — 49 ปี
และร้อยละ 22.1 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 78.9 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี
รองลงมาคือร้อยละ 20.0 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 1.1 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 30.9 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 27.4 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 17.0 ระบุอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน
ร้อยละ 9.7 ระบุข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 8.8 เป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ
ร้อยละ 3.9 เป็นนักเรียน/นักศึกษา
ในขณะที่ร้อยละ 2.3 ระบุว่างงาน/ไม่ประกอบอาชีพ
ตัวอย่าง ร้อยละ 28.4 ระบุมีรายได้ส่วนตัวไม่เกิน 5,000 บาทต่อเดือน
ร้อยละ 22.7 ระบุมีรายได้ 5,001 — 10,000 บาท
ร้อยละ 18.9 ระบุมีรายได้ 10,001 — 20,000 บาท
ร้อยละ 11.5 ระบุมีรายได้ 20,001 — 30,000 บาท
ร้อยละ 5.9 ระบุมีรายได้ส่วนตัว 30,001-40,000 บาทต่อเดือน
ร้อยละ 4.6 มากกว่า 40,000 บาทต่อเดือน
และร้อยละ 8.0 ไม่ระบุรายได้ส่วนตัวต่อเดือน
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ลำดับที่ การติดตามรับชม/รับฟังรายการ “เชื่อมั่นประเทศไทยกับนายกฯ อภิสิทธิ์” ในวันนี้ 25 ม.ค. 2552 1 ก.พ. 2552 ค่าร้อยละ ค่าร้อยละ 1 ติดตามรับชม/รับฟัง 11.3 15.8 2 ไม่ได้ติดตามรับชม/ไม่ได้รับฟัง 88.7 84.2 รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความน่าสนใจของรายการ “เชื่อมั่นประเทศไทยกับนายกฯ อภิสิทธิ์” ประจำ
วันอาทิตย์ที่ 1 กุมภาพันธ์ 2552 (ค่าร้อยละเฉพาะผู้ที่ได้ติดตามรับชม/รับฟัง)
ลำดับที่ ความน่าสนใจของรายการ “เชื่อมั่นประเทศไทยกับนายกฯ อภิสิทธิ์” ในวันนี้ 25 ม.ค. 2552 1 ก.พ. 2552 ค่าร้อยละ ค่าร้อยละ 1 น่าสนใจ 89.8 91.3 2 ไม่น่าสนใจ 3.4 7.2 3 ไม่มีความเห็น 6.8 1.5 รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุประเด็นที่ชื่นชอบ จากการพูดคุยของนายกรัฐมนตรีในรายการเชื่อมั่นประเทศไทยกับนายกฯ อภิสิทธิ์” ประจำวันอาทิตย์ที่ 1 กุมภาพันธ์ 2552 (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ และเป็นค่าร้อยละเฉพาะผู้ที่ได้ติดตามรับชม/รับฟัง) ลำดับที่ ประเด็นการพูดคุยที่ชื่นชอบ ค่าร้อยละ 1 มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ 75.4 2 การแก้ไขปัญหาความมั่นคง 60.9 3 มาตรการด้านการท่องเที่ยว 55.1 4 การเพิ่มวงเงินกู้เพื่อการศึกษา 53.6 5 มาตรการการส่งออกด้านอาหาร 43.5 6 นโยบายด่านต่างประเทศ 40.6 ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการมีประโยชน์ต่อการนำไปใช้ในชีวิตประจำวันของเนื้อหาสาระในรายการ “เชื่อมั่นประเทศไทยกับนายกฯ อภิสิทธิ์” ประจำวันอาทิตย์ที่ 1 กุมภาพันธ์ 2552 (เป็นค่าร้อยละเฉพาะผู้ที่
ได้ติดตามรับชม/รับฟัง)
ลำดับที่ การมีประโยชน์ต่อการนำไปใช้ในชีวิตประจำวันของเนื้อหาสาระในรายการ 25 ม.ค. 2552 1 ก.พ. 2552 ค่าร้อยละ ค่าร้อยละ 1 เป็นประโยชน์ 85.2 95.7 2 ไม่เป็นประโยชน์ 8.0 1.4 3 ไม่มีความคิดเห็น 6.8 2.9 รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความเชื่อมั่นต่อประเทศไทยภายหลังได้ติดตามรับชม/รับฟังรายการประจำ
วันอาทิตย์ที่ 1 กุมภาพันธ์ 2552 (ค่าร้อยละเฉพาะผู้ที่ได้ติดตามรับชม/รับฟัง)
ลำดับที่ ความเชื่อมั่นต่อประเทศไทยภายหลังติดตามรับชม/รับฟังรายการในวันนี้ 25 ม.ค. 2552 1 ก.พ. 2552 ค่าร้อยละ ค่าร้อยละ 1 เชื่อมั่น 81.8 87.0 2 ไม่เชื่อมั่น 12.5 13.0 3 ไม่มีความคิดเห็น 5.7 - รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการติดตามรับชม/รับฟังรายการ “เชื่อมั่นประเทศไทยกับนายกฯ อภิสิทธิ์” ในสัปดาห์หน้า จำแนกตามกลุ่มที่ติดตามรับชมรายการในอาทิตย์นี้ ลำดับที่ การติดตามรับชม/รับฟังรายการ “เชื่อมั่นประเทศไทยกับนายกฯ อภิสิทธิ์” ในสัปดาห์หน้า ได้รับชม/รับฟัง ไม่ได้รับชม/ไม่รับฟัง ค่าร้อยละ ค่าร้อยละ 1 รับชม/รับฟังอย่างแน่นอน 82.7 42.3 2 ไม่รับชม/ไม่รับฟังอย่างแน่นอน 1.4 24.7 3 ไม่แน่ใจแล้วแต่โอกาส 15.9 33.0 รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 --เอแบคโพลล์-- -พห-