ที่มาของโครงการ
ถึงแม้ว่านายกรัฐมนตรี จะตัดสินใจยุบสภาไปแล้วเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2549 แต่กระแส “ไม่เอาทักษิณ” นั้นยังคงประทุต่อไป
เรื่อยๆ โดยไม่มีทีท่าว่าจะหมดเชื้อ ยิ่งใกล้วันนัดชุมนุมประท้วงที่สนามหลวงเข้ามามากเท่าไร ความร้อนแรงของสถานการณ์การเมืองยิ่งทวีความ
ร้อนแรงมากขึ้นเท่านั้น เพราะทันทีที่นายกรัฐมนตรีประกาศยุบสภา ฝ่ายพันธมิตรฯ ก็ออกมาตอบโต้อย่างทันทีทันควัน ถึงจุดยืนที่จะยังคงมีการนัดชุมนุม
ที่สนามหลวงในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ นี้ ต่อไปตามเดิม โดยให้เหตุผลว่าเป็นการชุมนุมเพื่อปฏิรูปการเมือง ดังนั้น จึงทำให้เกิดข้อกังขาตามมาว่า
การประกาศยุบสภาของนายกรัฐมนตรีนั้น เป็นทางออกที่เหมาะสมแล้วจริงหรือสำหรับสถานการณ์ปัญหาการเมืองที่เกิดขึ้นเช่นขณะนี้
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในฐานะหน่วยงานวิชาการที่ดำเนินบทบาทการวิจัยเพื่อติดตามสถานการณ์ความเคลื่อนไหว
ทางการเมืองมาอย่างต่อเนื่อง จึงตระหนักถึงความสำคัญในการค้นคว้าและนำเสนอข้อมูลอย่างเป็นวิทยาศาสตร์สู่สาธารณะชน เพื่อให้สถาบันการ
เมืองและทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ได้รับรู้ถึงทรรศนะของประชาชนที่มีต่อความเคลื่อนไหวทางการเมืองต่างๆ และเพื่อให้รัฐ/สถาบันที่เกี่ยวข้องนำไปเป็น
ข้อมูลประกอบการพิจารณาเพื่อตัดสินใจดำเนินการใดๆ เพื่อความมั่นคงของประเทศชาติต่อไป
สำหรับการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนในครั้งนี้ เป็นการสำรวจภาคสนามเพื่อค้นหาข้อมูลเชิงสถิติศาสตร์ที่จะสะท้อนความคิดเห็น
ของประชาชนที่มีต่อความเคลื่อนไหวทางการเมืองต่างๆ ที่เกิดขึ้น ก่อนหน้าที่นายกรัฐมนตรีจะประกาศยุบสภา อาทิ อิทธิพลของสื่อต่อ
การตัดสินใจทางการเมืองของประชาชน ข่าวลือต่างๆ เกี่ยวกับนายกรัฐมนตรี ตลอดจนความรู้สึกนึกคิดของประชาชนที่มีต่อการนัดชุมนุมในวันที่ 26
กุมภาพันธ์ 2549 ด้วยการจัดส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่ และพนักงานเก็บข้อมูลภาคสนามลงพื้นที่ที่ถูกสุ่มได้ตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจความสนใจติดตามข่าวสารของประชาชน
2. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อสื่อในการนำเสนอข่าวสถานการณ์ปัญหาการเมือง
3. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อข่าวลือต่างๆ เกี่ยวกับนายกรัฐมนตรี
4. เพื่อสำรวจความคิดเห็นทางการเมืองของประชาชนในสถานการณ์ปัจจุบัน
5. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้เรื่อง “ ประชาชนคิดอย่างไรต่อการยุบสภา
และสถานการณ์การเมืองในปัจจุบัน : กรณีศึกษาประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ” ซึ่งมีระยะเวลาการดำเนินโครงการใน
วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2549
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่างได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ (Stratified Sampling)
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ คือ 1,603 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ ข้อมูลและงบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 50.8 เป็นหญิง
ร้อยละ 49.2 เป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 7.1 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 23.1 อายุระหว่าง 20—29 ปี
ร้อยละ 26.0 อายุระหว่าง 30—39 ปี
ร้อยละ 21.1 อายุระหว่าง 40—49 ปี
และร้อยละ 22.7 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ซึ่งตัวอย่าง ร้อยละ 73.3 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 23.5 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 3.2 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
เมื่อพิจารณาถึงอาชีพประจำของตัวอย่างพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 30.7 ระบุอาชีพค้าขาย / ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 22.9 ระบุอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน
ร้อยละ 15.8 ระบุอาชีพรับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 12.4 ระบุอาชีพข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 8.2 ระบุเป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ
ร้อยละ 6.2 ระบุเป็นนักศึกษา
และร้อยละ 3.8 ไม่ได้ประกอบอาชีพ
ตัวอย่าง ร้อยละ 41.2 ระบุรายได้ส่วนตัวโดยเฉลี่ยต่อเดือนต่ำกว่า 5,000 บาท
ร้อยละ 39.1 ระบุ 5,001-10,000 บาท
ร้อยละ 7.3 ระบุ 10,001-15,000 บาท
ร้อยละ 6.2 ระบุ 15,001-20,000 บาท
และร้อยละ 6.2 ระบุมากกว่า 20,000 บาท
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบ
บทสรุปผลสำรวจ
ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง “ ประชาชนคิดอย่างไรต่อการยุบสภาและสถานการณ์
การเมืองในปัจจุบัน: กรณีศึกษาประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ในครั้งนี้ได้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลจากประชาชนที่มี
อายุ 18 ปีขึ้นไปที่พักอาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวนทั้งสิ้น 1,603 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการสำรวจในวันที่ 25 กุมภาพันธ์
2549 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจมีดังต่อไปนี้
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ ระบุว่าติดตามข่าวการเมืองเพิ่มขึ้นหรือลดลง
ลำดับที่ การติดตามข่าวการเมือง ค่าร้อยละ
1 เพิ่มขึ้น 36.8
2 เท่าเดิม 44.9
3 ลดลง 13.2
4 ไม่ได้ติดตามเลย 5.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ ระบุว่าเป็นการเหมาะสมหรือไม่ที่นายกรัฐมนตรีประกาศยุบสภา
ลำดับที่ ความคิดเห็นของประชาชน ค่าร้อยละ
1 เหมาะสม 37.4
2 ไม่เหมาะสม 22.5
3 ไม่มีความเห็น 40.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ ระบุความคิดเห็นต่อแนวคิดที่ว่า พรรคการเมืองฝ่ายค้านไม่ส่งผู้สมัครลงรับเลือกตั้ง
ลำดับที่ ความเห็นของประชาชน ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วย 13.6
2 ไม่เห็นด้วย 74.1
3 ไม่มีความเห็น 12.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ ระบุว่าระหว่างการที่นายกรัฐมนตรีประกาศยุบสภากับการชี้แจงความเคลือบแคลงสงสัยกรณีปัญหาของนายกรัฐมนตรี
ท่านต้องการอะไรมากกว่ากัน
ลำดับที่ ความคิดเห็นของประชาชน ค่าร้อยละ
1 ต้องการให้นายกรัฐมนตรีชี้แจงมากกว่า 53.8
2 ต้องการให้ยุบสภามากกว่า 36.1
3 ไม่มีความเห็น 10.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ ระบุว่าหลังจากนายกรัฐมนตรีประกาศยุบสภาแล้วจะทำให้บรรยากาศการเมืองไทยดีขึ้นหรือไม่
ลำดับที่ ความคิดเห็นของประชาชน ค่าร้อยละ
1 ดีขึ้น 34.2
2 ไม่ดีขึ้น 41.6
3 ไม่มีความเห็น 24.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ ระบุว่า ปัจจัยใดบ้างที่มีส่วนชี้นำให้ท่านตัดสินใจลงคะแนนเลือก
พรรคการเมืองเข้ามาบริหารประเทศ
ลำดับที่ ความคิดเห็นของประชาชน ค่าร้อยละ
1 คุณธรรม-จริยธรรม 61.6
2 นโยบาย 60.7
3 ผลงานแก้ปัญหาของประชาชน 59.4
4 สื่อมวลชน 51.2
5 ความสงบเรียบร้อยของประเทศ 50.7
6 นักวิชาการ 37.8
7 คนใกล้ชิด เช่น เพื่อน คนในครอบครัวเดียวกัน คนในที่ทำงานเดียวกัน 36.1
8 ผลสำรวจความนิยม 33.1
9 นักธุรกิจ 30.4
10 อื่นๆ อาทิ ข้าราชการ / แกนนำชุมชน เป็นต้น 11.7
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุผู้ที่ต้องรับผิดชอบหากเกิดเหตุการณ์รุนแรงบานปลาย ในการชุมนุมที่ท้องสนามหลวง ในวันอาทิตย์ที่ 26 ก.พ. 49
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ผู้ที่ต้องรับผิดชอบหากเกิดเหตุการณ์รุนแรงบานปลาย ในการชุมนุมที่ท้องสนามหลวง ในวันอาทิตย์ที่ 26 ก.พ. 49 ค่าร้อยละ
1 พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร 48.8
2 ผู้ที่เป็นแกนนำในการชุมนุมทุกคน 44.3
3 นายสนธิ ลิ้มทองกุล 40.9
4 มือที่สาม 40.1
5 สื่อมวลชน 37.9
6 พล.ต.จำลอง ศรีเมือง 36.6
7 รัฐบาล 30.3
8 ประชาชนที่เข้าร่วมชุมนุม 28.9
9 อื่นๆ อาทิ ฝ่ายค้าน /ตำรวจ/ทหาร เป็นต้น 13.2
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ 5 อันดับแรกผลงานยอดเยี่ยมของรัฐบาล
พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 การแก้ปัญหายาเสพติด 55.8
2 หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ 52.1
3 หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า 50.4
4 แก้ปัญหาความยากจน 47.6
5 ด้านการศึกษา เช่น เรียนก่อนผ่อนทีหลัง / แก้ปัญหาเยาวชน เป็นต้น 43.6
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ ระบุ 5 อันดับแรก ที่รัฐบาลควรเร่งแก้ไขปรับปรุง
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 ปัญหาทุจริตคอรัปชั่น 62.8
2 ปัญหาการทำงานขององค์กรอิสระ 57.3
3 ปัญหากลุ่มผู้มีอิทธิพล / มาเฟีย 54.2
4 การเอื้อประโยชน์ต่อกลุ่มนายทุนต่างชาติ 46.3
5 แทรกแซงสื่อมวลชน 42.7
ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ ระบุความตั้งใจจะเลือกพรรคไทยรักไทยในการเลือกตั้งครั้งใหม่นี้หรือไม่
ลำดับที่ ความตั้งใจ ค่าร้อยละ
1 ตั้งใจจะเลือก 31.6
2 ไม่เลือก 29.3
3 ไม่แน่ใจ 39.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-
ถึงแม้ว่านายกรัฐมนตรี จะตัดสินใจยุบสภาไปแล้วเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2549 แต่กระแส “ไม่เอาทักษิณ” นั้นยังคงประทุต่อไป
เรื่อยๆ โดยไม่มีทีท่าว่าจะหมดเชื้อ ยิ่งใกล้วันนัดชุมนุมประท้วงที่สนามหลวงเข้ามามากเท่าไร ความร้อนแรงของสถานการณ์การเมืองยิ่งทวีความ
ร้อนแรงมากขึ้นเท่านั้น เพราะทันทีที่นายกรัฐมนตรีประกาศยุบสภา ฝ่ายพันธมิตรฯ ก็ออกมาตอบโต้อย่างทันทีทันควัน ถึงจุดยืนที่จะยังคงมีการนัดชุมนุม
ที่สนามหลวงในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ นี้ ต่อไปตามเดิม โดยให้เหตุผลว่าเป็นการชุมนุมเพื่อปฏิรูปการเมือง ดังนั้น จึงทำให้เกิดข้อกังขาตามมาว่า
การประกาศยุบสภาของนายกรัฐมนตรีนั้น เป็นทางออกที่เหมาะสมแล้วจริงหรือสำหรับสถานการณ์ปัญหาการเมืองที่เกิดขึ้นเช่นขณะนี้
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในฐานะหน่วยงานวิชาการที่ดำเนินบทบาทการวิจัยเพื่อติดตามสถานการณ์ความเคลื่อนไหว
ทางการเมืองมาอย่างต่อเนื่อง จึงตระหนักถึงความสำคัญในการค้นคว้าและนำเสนอข้อมูลอย่างเป็นวิทยาศาสตร์สู่สาธารณะชน เพื่อให้สถาบันการ
เมืองและทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ได้รับรู้ถึงทรรศนะของประชาชนที่มีต่อความเคลื่อนไหวทางการเมืองต่างๆ และเพื่อให้รัฐ/สถาบันที่เกี่ยวข้องนำไปเป็น
ข้อมูลประกอบการพิจารณาเพื่อตัดสินใจดำเนินการใดๆ เพื่อความมั่นคงของประเทศชาติต่อไป
สำหรับการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนในครั้งนี้ เป็นการสำรวจภาคสนามเพื่อค้นหาข้อมูลเชิงสถิติศาสตร์ที่จะสะท้อนความคิดเห็น
ของประชาชนที่มีต่อความเคลื่อนไหวทางการเมืองต่างๆ ที่เกิดขึ้น ก่อนหน้าที่นายกรัฐมนตรีจะประกาศยุบสภา อาทิ อิทธิพลของสื่อต่อ
การตัดสินใจทางการเมืองของประชาชน ข่าวลือต่างๆ เกี่ยวกับนายกรัฐมนตรี ตลอดจนความรู้สึกนึกคิดของประชาชนที่มีต่อการนัดชุมนุมในวันที่ 26
กุมภาพันธ์ 2549 ด้วยการจัดส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่ และพนักงานเก็บข้อมูลภาคสนามลงพื้นที่ที่ถูกสุ่มได้ตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจความสนใจติดตามข่าวสารของประชาชน
2. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อสื่อในการนำเสนอข่าวสถานการณ์ปัญหาการเมือง
3. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อข่าวลือต่างๆ เกี่ยวกับนายกรัฐมนตรี
4. เพื่อสำรวจความคิดเห็นทางการเมืองของประชาชนในสถานการณ์ปัจจุบัน
5. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้เรื่อง “ ประชาชนคิดอย่างไรต่อการยุบสภา
และสถานการณ์การเมืองในปัจจุบัน : กรณีศึกษาประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ” ซึ่งมีระยะเวลาการดำเนินโครงการใน
วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2549
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่างได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ (Stratified Sampling)
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ คือ 1,603 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ ข้อมูลและงบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 50.8 เป็นหญิง
ร้อยละ 49.2 เป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 7.1 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 23.1 อายุระหว่าง 20—29 ปี
ร้อยละ 26.0 อายุระหว่าง 30—39 ปี
ร้อยละ 21.1 อายุระหว่าง 40—49 ปี
และร้อยละ 22.7 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ซึ่งตัวอย่าง ร้อยละ 73.3 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 23.5 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 3.2 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
เมื่อพิจารณาถึงอาชีพประจำของตัวอย่างพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 30.7 ระบุอาชีพค้าขาย / ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 22.9 ระบุอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน
ร้อยละ 15.8 ระบุอาชีพรับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 12.4 ระบุอาชีพข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 8.2 ระบุเป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ
ร้อยละ 6.2 ระบุเป็นนักศึกษา
และร้อยละ 3.8 ไม่ได้ประกอบอาชีพ
ตัวอย่าง ร้อยละ 41.2 ระบุรายได้ส่วนตัวโดยเฉลี่ยต่อเดือนต่ำกว่า 5,000 บาท
ร้อยละ 39.1 ระบุ 5,001-10,000 บาท
ร้อยละ 7.3 ระบุ 10,001-15,000 บาท
ร้อยละ 6.2 ระบุ 15,001-20,000 บาท
และร้อยละ 6.2 ระบุมากกว่า 20,000 บาท
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบ
บทสรุปผลสำรวจ
ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง “ ประชาชนคิดอย่างไรต่อการยุบสภาและสถานการณ์
การเมืองในปัจจุบัน: กรณีศึกษาประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ในครั้งนี้ได้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลจากประชาชนที่มี
อายุ 18 ปีขึ้นไปที่พักอาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวนทั้งสิ้น 1,603 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการสำรวจในวันที่ 25 กุมภาพันธ์
2549 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจมีดังต่อไปนี้
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ ระบุว่าติดตามข่าวการเมืองเพิ่มขึ้นหรือลดลง
ลำดับที่ การติดตามข่าวการเมือง ค่าร้อยละ
1 เพิ่มขึ้น 36.8
2 เท่าเดิม 44.9
3 ลดลง 13.2
4 ไม่ได้ติดตามเลย 5.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ ระบุว่าเป็นการเหมาะสมหรือไม่ที่นายกรัฐมนตรีประกาศยุบสภา
ลำดับที่ ความคิดเห็นของประชาชน ค่าร้อยละ
1 เหมาะสม 37.4
2 ไม่เหมาะสม 22.5
3 ไม่มีความเห็น 40.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ ระบุความคิดเห็นต่อแนวคิดที่ว่า พรรคการเมืองฝ่ายค้านไม่ส่งผู้สมัครลงรับเลือกตั้ง
ลำดับที่ ความเห็นของประชาชน ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วย 13.6
2 ไม่เห็นด้วย 74.1
3 ไม่มีความเห็น 12.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ ระบุว่าระหว่างการที่นายกรัฐมนตรีประกาศยุบสภากับการชี้แจงความเคลือบแคลงสงสัยกรณีปัญหาของนายกรัฐมนตรี
ท่านต้องการอะไรมากกว่ากัน
ลำดับที่ ความคิดเห็นของประชาชน ค่าร้อยละ
1 ต้องการให้นายกรัฐมนตรีชี้แจงมากกว่า 53.8
2 ต้องการให้ยุบสภามากกว่า 36.1
3 ไม่มีความเห็น 10.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ ระบุว่าหลังจากนายกรัฐมนตรีประกาศยุบสภาแล้วจะทำให้บรรยากาศการเมืองไทยดีขึ้นหรือไม่
ลำดับที่ ความคิดเห็นของประชาชน ค่าร้อยละ
1 ดีขึ้น 34.2
2 ไม่ดีขึ้น 41.6
3 ไม่มีความเห็น 24.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ ระบุว่า ปัจจัยใดบ้างที่มีส่วนชี้นำให้ท่านตัดสินใจลงคะแนนเลือก
พรรคการเมืองเข้ามาบริหารประเทศ
ลำดับที่ ความคิดเห็นของประชาชน ค่าร้อยละ
1 คุณธรรม-จริยธรรม 61.6
2 นโยบาย 60.7
3 ผลงานแก้ปัญหาของประชาชน 59.4
4 สื่อมวลชน 51.2
5 ความสงบเรียบร้อยของประเทศ 50.7
6 นักวิชาการ 37.8
7 คนใกล้ชิด เช่น เพื่อน คนในครอบครัวเดียวกัน คนในที่ทำงานเดียวกัน 36.1
8 ผลสำรวจความนิยม 33.1
9 นักธุรกิจ 30.4
10 อื่นๆ อาทิ ข้าราชการ / แกนนำชุมชน เป็นต้น 11.7
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุผู้ที่ต้องรับผิดชอบหากเกิดเหตุการณ์รุนแรงบานปลาย ในการชุมนุมที่ท้องสนามหลวง ในวันอาทิตย์ที่ 26 ก.พ. 49
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ผู้ที่ต้องรับผิดชอบหากเกิดเหตุการณ์รุนแรงบานปลาย ในการชุมนุมที่ท้องสนามหลวง ในวันอาทิตย์ที่ 26 ก.พ. 49 ค่าร้อยละ
1 พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร 48.8
2 ผู้ที่เป็นแกนนำในการชุมนุมทุกคน 44.3
3 นายสนธิ ลิ้มทองกุล 40.9
4 มือที่สาม 40.1
5 สื่อมวลชน 37.9
6 พล.ต.จำลอง ศรีเมือง 36.6
7 รัฐบาล 30.3
8 ประชาชนที่เข้าร่วมชุมนุม 28.9
9 อื่นๆ อาทิ ฝ่ายค้าน /ตำรวจ/ทหาร เป็นต้น 13.2
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ 5 อันดับแรกผลงานยอดเยี่ยมของรัฐบาล
พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 การแก้ปัญหายาเสพติด 55.8
2 หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ 52.1
3 หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า 50.4
4 แก้ปัญหาความยากจน 47.6
5 ด้านการศึกษา เช่น เรียนก่อนผ่อนทีหลัง / แก้ปัญหาเยาวชน เป็นต้น 43.6
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ ระบุ 5 อันดับแรก ที่รัฐบาลควรเร่งแก้ไขปรับปรุง
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 ปัญหาทุจริตคอรัปชั่น 62.8
2 ปัญหาการทำงานขององค์กรอิสระ 57.3
3 ปัญหากลุ่มผู้มีอิทธิพล / มาเฟีย 54.2
4 การเอื้อประโยชน์ต่อกลุ่มนายทุนต่างชาติ 46.3
5 แทรกแซงสื่อมวลชน 42.7
ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ ระบุความตั้งใจจะเลือกพรรคไทยรักไทยในการเลือกตั้งครั้งใหม่นี้หรือไม่
ลำดับที่ ความตั้งใจ ค่าร้อยละ
1 ตั้งใจจะเลือก 31.6
2 ไม่เลือก 29.3
3 ไม่แน่ใจ 39.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-