ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการศูนย์เครือข่ายวิชาการเพื่อสังเกตการณ์และวิจัยความสุขชุมชน (ศูนย์วิจัยความสุขชุมชน) มหาวิทยาลัย อัสสัมชัญ เปิดเผยผลวิจัยเรื่อง ความตั้งใจทำความดีของเด็กและเยาวชนไทยในโอกาสวันมาฆบูชา กรณีศึกษาเด็กและเยาวชนไทยอายุ 12 — 24 ปีใน เขตกรุงเทพมหานคร จำนวนทั้งสิ้น 2,120 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 2 — 4 กุมภาพันธ์ 2552 ผลการสำรวจพบว่า เด็กและ เยาวชนไทยในเขตกรุงเทพมหานครที่ถูกศึกษาจำนวนมาก หรือร้อยละ 44.5 สามารถระบุได้อย่างถูกต้องว่า วันมาฆบูชาในปีนี้ตรงกับวันจันทร์ที่ 9 กุมภาพันธ์ อย่างไรก็ตามร้อยละ 55.5 ไม่ทราบ
และเมื่อจำแนกกลุ่มตัวอย่างออกตามเพศ พบว่า เด็กและเยาวชนที่เป็นหญิงรับรู้รับทราบวันมาฆบูชาปีนี้ตรงกับวันจันทร์ที่ 9 กุมภาพันธ์ มากกว่าเด็กและเยาวชนที่เป็นชาย คือร้อยละ 51.5 ต่อร้อยละ 36.2 และพบด้วยว่า เด็กและเยาวชนที่อยู่ในระบบการศึกษารับรู้รับทราบวันมาฆบูชา
มากกว่าเด็กและเยาวชนที่ไม่ได้เรียนหนังสือคือร้อยละ 45.2 ต่อร้อยละ 33.1 ตามลำดับ นอกจากนี้ ผลสำรวจยังพบว่า เด็กและ เยาวชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 63.0 ไม่ทราบว่าหลักธรรมคำสอนที่องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงในวันมาฆบูชานั้นคือหลักธรรมอะไร หรือตอบมาไม่ ถูกต้อง แต่มีอยู่ร้อยละ 37.0 ที่สามารถตอบได้ถูกต้องว่าองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงธรรม “โอวาทปาฏิโมกข์”
เมื่อสอบถามถึงความหมายของหลักธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงในวันมาฆบูชาคือโอวาทปาฏิโมกข์นั้นพบว่า เพียงร้อยละ 22.0 สามารถ ระบุได้อย่างถูกต้องว่าโอวาทปาฏิโมกข์หมายถึงการทำความดี ละเว้นความชั่ว ทำจิตใจให้บริสุทธิ์ อย่างไรก็ตาม เมื่อสอบถามถึงกิจกรรม ต่างๆที่ตั้งใจจะทำในวันมาฆบูชาที่กำลังจะมาถึงนี้นั้น พบว่าเยาวชนมากกว่าครึ่งหนึ่งคือร้อยละ 62.7 ระบุตั้งใจจะไปทำบุญตักบาตรในวันมาฆบูชาที่จะถึง นี้ รองลงมาคือร้อยละ 42.4 ระบุจะไปร่วมพิธีเวียนเทียน ร้อยละ 33.3 ระบุจะใช้เวลาอยู่กับครอบครัวของตน ร้อยละ 24.2 ระบุจะไปทำบุญ ถวายสังฆทาน และร้อยละ 23.8 ระบุตั้งใจจะทำความสะอาดบ้านเรือน นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมอื่นๆ ที่เยาวชนตั้งใจจะทำในวันมาฆบูชาในปีนี้ อาทิ การบริจาค ทำทานสงเคราะห์ผู้อื่น ปล่อยนกปล่อยปลา เข้าวัดฟังธรรม การนั่งสมาธิ เจริญภาวนา และการช่วยงานชุมชน/สาธารณะ ตามลำดับ
นอกจากนี้ เมื่อสอบถามถึงสิ่งที่ตั้งใจจะ ลด-ละ-เลิกในวันมาฆบูชานั้น พบว่า ร้อยละ 49.6 ระบุตั้งใจจะ ลด-ละ-เลิก การดื่มเครื่อง ดื่มแอลกอฮอล์ของมึนเมาทุกชนิด/ไม่สูบบุหรี่ รองลงมาคือร้อยละ 48.4 ระบุตั้งใจจะ ลด-ละ-เลิกการยุ่งเกี่ยวกับอบายมุขทุกประเภท/การทำความชั่ว ทุกอย่าง ร้อยละ 15.5 ระบุตั้งใจจะ ลด-ละ-เลิก ความขี้เกียจ/ไม่รับผิดชอบในหน้าที่ ร้อยละ 12.0 ระบุตั้งใจจะ ลด-ละ-เลิกการพูดโกหก ร้อย ละ 10.8 ระบุตั้งใจจะ ลด-ละ-เลิกการพูดจาหยาบคาย ส่วนกรณีการให้ความสำคัญระหว่างวันมาฆบูชา กับวันวาเลนไทน์นั้น ผลสำรวจพบว่า เยาวชนเกินกว่า 1 ใน 3 คือร้อยละ 36.1 ระบุว่าให้ความสำคัญกับ “วันมาฆบูชา” มากกว่า ในขณะนี้ร้อยละ 23.5 ระบุให้ความสำคัญเท่ากัน และ
ร้อยละ 31.6 ไม่ระบุความคิดเห็น ทั้งนี้มีเพียงร้อยละ 8.8 เท่านั้นที่ระบุว่า ให้ความสำคัญกับ “วันวาเลนไทน์”มากกว่า
และเมื่อสอบถามเด็กและเยาวชน ถึงสิ่งที่ต้องการให้รัฐบาลดำเนินการเพื่อส่งเสริมงานด้านพระพุทธศาสนานั้นพบว่า ร้อยละ 55.3 ระบุ ต้องการให้มีการรณรงค์ประชาสัมพันธ์ทางสื่อต่างๆ ถึงเรื่องราวเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา อาทิ การจัดแสดงธรรม การแสดงนิทรรศการเกี่ยวกับพระพุทธ ศาสนา ให้มากขึ้น รองลงมาคือร้อยละ 28.3 ระบุส่งเสริมให้ประชาชนมีโอกาสได้จัดกิจกรรมทางศาสนาร่วมกัน อาทิ การร่วมทำบุญตักบาตร เวียน เทียน ร้อยละ 20.3 ระบุส่งเสริมให้เยาวชนเข้าวัดฟังเทศน์ /ให้นักเรียนนักศึกษาได้มีโอกาสเรียนรู้เรื่องพระพุทธศาสนาในสถานศึกษาให้มากขึ้น ร้อยละ 14.0 ระบุจัดสรรงบประมาณเพื่อทำนุบำรุงพุทธศาสนาในทุกด้าน /บูรณะ-ปฏิสังขรณ์ศาสนสถาน ร้อยละ 5.2 ปลูกจิตสำนึกให้คนไทยตระหนัก ในเรื่องบาป บุญ คุณโทษ และอื่นๆ อาทิ เข้มงวดในเรื่องการผิดวินัยสงฆ์/ปิดสถานบริการ-สถานบันเทิงทุกประเภทในวันสำคัญทางศาสนา เป็นต้น
ผอ.ศูนย์วิจัยความสุขชุมชนกล่าวว่า ผลสำรวจครั้งนี้น่าจะเป็นการยืนยันได้อีกครั้งว่า เด็กและเยาวชนส่วนใหญ่ยังมีจิตใจใฝ่ทำความดี ละเว้นความชั่วตามหลักธรรมคำสอนของพระพุทธศาสนาในวันมาฆบูชา เพียงแต่ว่าการรับรู้ต่อวันสำคัญทางศาสนาอยู่ในกลุ่มจำกัดของเด็กและเยาวชน หญิงมากกว่าชาย เด็กในระบบการศึกษามากกว่าเด็กที่ไม่เรียนหนังสือ ดังนั้น ข้อเสนอแนะคือ กลุ่มบุคคลนัยสำคัญของพวกเขา เช่น พ่อแม่ ผู้ปกครอง ครูอาจารย์ กลุ่มผู้ใหญ่ในสังคมระดับชุมชนและระดับประเทศน่าจะใช้โอกาสวันมาฆบูชาปีนี้และทุกๆ วันสร้างการรับรู้และทำให้ความตั้งใจใฝ่ทำความดี ของเด็กและเยาวชนบรรลุเป็นพฤติกรรมสร้างสรรค์ที่ดีงามในสังคมให้ได้ ด้วยการเป็นตัวอย่างที่ดี ประพฤติปฏิบัติตนอยู่ในครรลองครองธรรม ด้วยการ จัดสร้างบรรยากาศสภาพแวดล้อมของการทำความดีให้เกิดขึ้นรอบตัวเด็กและเยาวชน
“สื่อมวลชนเป็นสถาบันที่สำคัญมีส่วนชี้นำชี้แนะอย่างสร้างสรรค์ต่อพฤติกรรมของกลุ่มเด็กและเยาวชนได้อย่างมาก โดยเฉพาะเด็กและ เยาวชนที่ไม่ได้เรียนหนังสือ และรัฐบาลน่าจะให้กระทรวงวัฒนธรรมเป็นเจ้าภาพร่วมกับองค์กรและคณะบุคคลอื่นๆ กำหนดยุทธศาสตร์ขยายโอกาสและ เสริมสร้างบรรยากาศแห่งการทำความดีให้กับเด็กและเยาวชน กำจัดพื้นที่ที่เสี่ยงต่อการทำผิดศีลธรรมให้อยู่ในขอบเขตเฉพาะของสังคม ผลที่ตามมาคือ เด็กและเยาวชนของสังคมส่วนใหญ่จะสามารถบรรลุถึงความสำเร็จในการทำกิจกรรมที่ดีตามหลักคำสอนของพระพุทธศาสนาได้อย่างยั่งยืนต่อไป” ดร.นพ ดล กล่าว
รายละเอียดงานวิจัย
1. เพื่อสำรวจการรับรู้รับทราบของเด็กและเยาวชนต่อวันมาฆบูชาและความตั้งใจจะทำความดีในกลุ่มเด็กและเยาวชน
2. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
โครงการสำรวจของศูนย์วิจัยความสุขชุมชน มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ครั้งนี้ เรื่อง ความตั้งใจทำความดีของเด็กและเยาวชนไทย ในโอกาสวันมาฆบูชา กรณีศึกษาเด็กและเยาวชนไทยอายุ 12 — 24 ปีในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวนทั้งสิ้น 2,120 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการ ระหว่างวันที่ 2 — 4 กุมภาพันธ์ 2552 กลุ่มประชากรเป้าหมายคือประชาชนอายุ 12 — 24 ปี เทคนิคการสุ่มตัวอย่างคือ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่ม เชิงชั้นภูมิหลายชั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากรเป้าหมายจากการทำสำมะโน ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม วิธีการเก็บรวบ รวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์ หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูลและงบประมาณเป็น ของมหาวิทยาลัย โดยมีคณะผู้วิจัย จำนวนทั้งสิ้น 87 คน
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่างร้อยละ 45.9 เป็นหญิง
ร้อยละ 54.1 เป็นชาย
นอกจากนี้ ร้อยละ 22.7 อายุ 12 — 15 ปี
ร้อยละ 27.3 อายุ 16-18 ปี
ร้อยละ 37.8 อายุ 19-21 ปี
และร้อยละ 12.2 อายุ 22-24 ปี
และเมื่อพิจารณาสถานภาพทางการศึกษาของตัวอย่างพบว่า ร้อยละ 94.0 ระบุเป็นนักเรียน/นักศึกษา
ในขณะที่ร้อยละ 6.0 ระบุไม่ใช่นักเรียน/นักศึกษา
ลำดับที่ การรับรู้รับทราบเกี่ยวกับวันมาฆบูชา ค่าร้อยละ 1 ทราบ และระบุได้อย่างถูกต้องว่าตรงกับวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2552 44.5 2 ไม่ทราบ 55.5 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการรับรู้รับทราบเกี่ยวกับวันมาฆบูชา ลำดับที่ การรับรู้รับทราบเกี่ยวกับวันมาฆบูชา เพศชายค่าร้อยละ เพศหญิงค่าร้อยละ 1 ทราบ และระบุได้อย่างถูกต้องว่าตรงกับวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2552 36.2 51.5 2 ไม่ทราบ 63.8 48.5 รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการรับรู้รับทราบเกี่ยวกับวันมาฆบูชา ลำดับที่ การรับรู้รับทราบเกี่ยวกับวันมาฆบูชา ไม่ใช่นักเรียน/นักศึกษาค่าร้อยละ นักเรียน/นักศึกษาค่าร้อยละ 1 ทราบ และระบุได้อย่างถูกต้องว่าตรงกับวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2552 33.1 45.2 2 ไม่ทราบ 66.9 54.8 รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุคำตอบเมื่อสอบถามถึงหลักธรรมคำสอนที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงในวันมาฆบูชา ลำดับที่ คำตอบเมื่อสอบถามถึงหลักธรรมคำสอนที่พระพุทธเจ้าทรงแสดง ในวันมาฆบูชา ค่าร้อยละ 1 จาตุรงคสันนิบาต 8.1 2 โอวาทปาฏิโมกข์ (คำตอบที่ถูกต้อง) 37.0 3 มัชฌิมาปฏิปทา 2.5 4 ธรรมจักกัปปวัตนสูตร 11.7 5 ไม่ทราบ 40.7 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ คำตอบเมื่อสอบถามถึงเนื้อหาหลักธรรมของโอวาทปาฏิโมกข์ ลำดับที่ คำตอบเมื่อสอบถามถึงเนื้อหาหลักธรรมของโอวาทปาฏิโมกข์ ค่าร้อยละ 1 การดำเนินชีวิตด้วยความไม่ประมาท 3.2 2 การทำความดี ละเว้นความชั่วทำจิตใจให้บริสุทธิ์ (คำตอบที่ถูกต้อง) 22.0 3 การเดินทางสายกลาง 3.5 4 ความละอายและเกรงกลัวต่อบาป 1.8 5 ถูกทุกข้อ 35.5 6 ไม่ทราบ 34.0 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ กิจกรรมที่ตั้งใจจะทำในวันมาฆบูชาที่จะถึงนี้(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) ลำดับที่ กิจกรรมที่ตั้งใจจะทำในวันมาฆะบูชาที่จะถึงนี้ ค่าร้อยละ 1 ทำบุญตักบาตร 62.7 2 ร่วมพิธีเวียนเทียน 42.4 3 ใช้เวลาอยู่กับครอบครัว 33.3 4 ถวายสังฆทาน 24.2 5 ทำความสะอาดบ้านเรือน 23.8 6 บริจาค ทำทานสงเคราะห์ผู้อื่น 21.7 7 ปล่อยนกปล่อยปลา 17.6 8 เข้าวัดฟังธรรม 14.5 9 นั่งสมาธิ เจริญภาวนา 12.5 10 ช่วยงานชุมชน/สาธารณะ 6.3 ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ สิ่งที่ตั้งใจจะ “ลด-ละ-เลิก” ในวันมาฆบูชาที่จะถึงนี้ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) ลำดับที่ สิ่งที่ตั้งใจจะ “ลด-ละ-เลิก” ในวันมาฆบูชาที่จะถึงนี้ ค่าร้อยละ 1 ลด-ละ-เลิก การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของมึนเมาทุกชนิด/ไม่สูบบุหรี่ 49.6 2 ลด-ละ-เลิก การยุ่งเกี่ยวกับอบายมุขทุกประเภท/การทำความชั่วทุกอย่าง 48.4 3 ลด-ละ-เลิก ความขี้เกียจ/ไม่รับผิดชอบในหน้าที่ 15.5 4 ลด-ละ-เลิก การพูดโกหก 12.0 5 ลด-ละ-เลิก การพูดจาหยาบคาย 10.8 6 ลด-ละ-เลิก การใช้จ่ายฟุ่มเฟือย 9.0 7 อื่นๆ อาทิ การขับรถเร็ว/กลับบ้านดึก/เลิกใช้ความรุนแรง/เลิกใจร้อน 3.4 ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ การให้ความสำคัญระหว่าง “วันมาฆบูชา” กับ “วันวาเลนไทน์” ลำดับที่ การให้ความสำคัญระหว่าง วันมาฆบูชา กับ วันวาเลนไทน์ ค่าร้อยละ 1 ให้ความสำคัญ “วันมาฆบูชา” มากกว่า 36.1 2 ให้ความสำคัญ “วันวาเลนไทน์”มากกว่า 8.8 3 ให้ความสำคัญเท่ากัน 23.5 4 ไม่มีความเห็น 31.6 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ สิ่งที่ต้องการให้รัฐบาลดำเนินการเพื่อส่งเสริมงานด้านพระพุทธศาสนา
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ สิ่งที่ต้องการให้รัฐบาลดำเนินการเพื่อส่งเสริมงานด้านพระพุทธศาสนา ค่าร้อยละ 1 การรณรงค์ประชาสัมพันธ์ทางสื่อต่างๆ ถึงเรื่องราวเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา อาทิ การจัดแสดงธรรม - การแสดงนิทรรศการเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา 55.3 2 ส่งเสริมให้ประชาชนมีโอกาสได้จัดกิจกรรมทางศาสนาร่วมกัน อาทิ การร่วมทำบุญตักบาตร เวียนเทียน 28.3 3 ส่งเสริมให้เยาวชนเข้าวัดฟังเทศน์ /ให้นักเรียนนักศึกษาได้มีโอกาสเรียนรู้เรื่องพระพุทธศาสนาในสถานศึกษาให้มากขึ้น 20.3 4 จัดสรรงบประมาณเพื่อทำนุบำรุงพุทธศาสนาในทุกด้าน /บูรณะ-ปฏิสังขรณ์ศาสนสถาน 14.0 5 ปลูกจิตสำนึกให้คนไทยตระหนักในเรื่องบาป บุญ คุณโทษ 5.2 6 อื่นๆ อาทิ เข้มงวดในเรื่องการผิดวินัยสงฆ์/ปิดสถานบริการ-สถานบันเทิงทุกประเภทในวันสำคัญทางศาสนา 5.2 --เอแบคโพลล์-- -พห-