ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลสำรวจ “เอแบคเรียลไทม์โพลล์ (Real- Time Survey)” ที่เป็นการสำรวจแบบรวดเร็วฉับไวภายในระยะเวลา 3 ชั่วโมง หลังจากมีสิ่งที่น่าสนใจติดตามในหมู่ประชาชน โดยครั้งนี้ได้ทำการ สำรวจเรื่อง เปรียบเทียบแนวโน้มความเชื่อมั่น/ไม่เชื่อมั่นประเทศไทยกับ นายกฯ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ในทรรศนะของประชาชนทั่วประเทศครั้งที่ 3 ประจำวันอาทิตย์ที่ 8 กุมภาพันธ์ 2552 ซึ่งการสำรวจจะดำเนินการเป็นประจำทุกครั้งที่มีการจัดรายการโทรทัศน์และการเผยแพร่ทางวิทยุของ นายกรัฐมนตรี เพื่อดูแนวโน้มและเสียงสะท้อนของประชาชนต่อรายการดังกล่าว
ในการศึกษาครั้งนี้มีจำนวนตัวอย่างประชาชนจากทั่วประเทศรวมทั้งสิ้น 1,139 คน ดำเนินการสำรวจทันทีที่รายการโทรทัศน์และวิทยุดัง กล่าวจบลงภายในระยะเวลา 3 ชั่วโมงของการสำรวจครอบคลุมประชาชนที่ถูกศึกษาทั่วประเทศ ผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ผลสำรวจพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 11.8 ระบุติดตามรับชม/รับฟังรายการ ในขณะที่ร้อยละ 88.2 ระบุไม่ได้ติดตามรับชม/รับฟังในวันนี้ทั้งนี้เมื่อสอบถามถึงความน่าสนใจ ของรายการเชื่อมั่นประเทศไทยประจำวันอาทิตย์ที่ 8 กุมภาพันธ์ 2552 (วันนี้) นั้น พบว่าร้อยละ 89.4 ระบุมีความน่าสนใจ ในขณะที่ร้อยละ 4.4 ระบุไม่น่าสนใจ และร้อยละ 6.2 ไม่ระบุความเห็น ทั้งนี้ประเด็นที่ชื่นชอบจากการพูดคุยในรายการประจำสัปดาห์นี้นั้นพบว่า ร้อยละ 74.1 ระบุชื่นชอบ ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ รองลงมาคือร้อยละ 56.0 ระบุชื่นชอบเรื่องการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมในสังคมไทย ร้อยละ 43.1 ระบุชื่นชอบการพูดคุยเกี่ยวกับมาตรการด้านการท่องเที่ยว ร้อยละ 39.7 ระบุชื่นชอบประเด็นเกี่ยวกับนโยบายด้านการต่างประเทศ ร้อยละ 37.9 ระบุชื่นชอบประเด็นเกี่ยวกับการค้าระหว่างประเทศและการส่งเสริมการส่งออก ในขณะที่ร้อยละ 34.5 ระบุชื่นชอบการพูดคุยเกี่ยวกับ นโยบายด้านการคลังของประเทศ
สำหรับประโยชน์ต่อการนำไปใช้ในชีวิตประจำวันของเนื้อหาสาระรายการนั้นพบว่า ร้อยละ 87.5 ระบุเนื้อหาสาระที่พูดมีประโยชน์ต่อการ นำไปใช้ในชีวิตประจำวัน ในขณะที่ร้อยละ 5.4 ระบุไม่เป็นประโยชน์ และร้อยละ 7.1 ไม่ระบุความคิดเห็น
นอกจากนี้ผลสำรวจเมื่อสอบถามความเชื่อมั่นต่อประเทศไทยภายหลังติดตามรับชม/รับฟังรายการในวันนี้นั้น พบว่าร้อยละ 81.9 ระบุมี ความเชื่อมั่น ในขณะที่ร้อยละ 11.2 ระบุไม่เชื่อมั่น และร้อยละ 6.9 ไม่ระบุความคิดเห็น
สำหรับความตั้งใจติดตามรับชม/รับฟังรายการเชื่อมั่นประเทศไทยกับนายกฯ อภิสิทธิ์ในสัปดาห์หน้า เมื่อจำแนกตามการติดตามรับชม/รับฟัง รายการในอาทิตย์นี้นั้นพบว่า ร้อยละ 85.6 ของผู้ที่ได้รับชมรายการในวันนี้ระบุตั้งใจจะติดตามรับชม/รับฟังในวันอาทิตย์หน้าอีก ในขณะที่ร้อยละ 14.4 ระบุไม่แน่ใจแล้วแต่โอกาส อย่างไรก็ตามสำหรับผู้ที่ไม่ได้รับชมรับฟังรายการในอาทิตย์นี้นั้น ร้อยละ 45.3 ระบุตั้งใจจะติดตามรับชมรับฟัง วันอาทิตย์หน้า ทั้งนี้เมื่อสอบถามถึงประเด็นที่อยากให้นายกรัฐมนตรีพูดคุยในรายการครั้งต่อไปนั้น พบว่า ร้อยละ 67.2 ระบุปัญหาการกลับมาแพร่ ระบาดของยาเสพติด รองลงมาคือร้อยละ 65.5 ระบุปัญหาการทุจริต คอรัปชั่น ร้อยละ 61.2 ระบุปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ ร้อยละ 56.9 ระบุปัญหาความแตกแยกของคนในชาติ ร้อยละ 42.2 ระบุ ปัญหาขบวนการค้ามนุษย์ ร้อยละ 40.5 ระบุปัญหาพื้นที่ชายแดนทับซ้อน ร้อยละ 38.8 ระบุปัญหาผู้อพยพลี้ภัย และร้อยละ 30.2 ระบุความคืบหน้าคดีทนายสมชาย ตามลำดับ
รายละเอียดงานวิจัย
1. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อรายการเชื่อมั่นประเทศไทยกับนายกฯ อภิสิทธิ์ ครั้งที่ 3 ประจำวันอาทิตย์
ที่ 8 กุมภาพันธ์ 2552
2. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
โครงการ “เอแบคเรียลไทม์โพลล์ (Real-Time Survey)” ของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้ เรื่อง “เปรียบเทียบแนวโน้มความเชื่อมั่น/ไม่เชื่อมั่นประเทศไทยกับนายกฯ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะในทรรศนะของประชาชนทั่วประเทศ ครั้งที่ 3” ซึ่งดำเนินโครงการในวันอาทิตย์ที่ 8 กุมภาพันธ์ 2552 ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) กลุ่ม ประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนทั่วประเทศ เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น และกำหนดลักษณะของ ตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากรเป้าหมายจากการทำสำมะโน ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ คือ 1,139 ตัวอย่าง ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับ ร้อยละ 95 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์ หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบ ความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูลและงบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย มีคณะผู้วิจัย จำนวนทั้งสิ้น 52 คน
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่าตัวอย่างร้อยละ 55.1 เป็นหญิง ร้อยละ 44.9 เป็นชาย ตัวอย่างร้อยละ 5.0 อายุ ต่ำกว่า 20 ปี ร้อยละ 17.1 อายุระหว่าง 20 — 29 ปี ร้อยละ 20.0 อายุระหว่าง 30 — 39 ปี ร้อยละ 24.5 อายุระหว่าง 40 — 49 ปี และ ร้อยละ 33.4 อายุ 50 ปีขึ้นไป ตัวอย่างร้อยละ 72.4 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี รองลงมาคือร้อยละ 22.5 สำเร็จการศึกษาระดับ ปริญญาตรี และร้อยละ 5.1 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี ร้อยละ 30.0 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป ตัวอย่างร้อยละ 24.2 ระบุอาชีพ ค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว ร้อยละ 9.7 ระบุอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน ร้อยละ 9.0 ระบุข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 5.3 เป็นแม่ บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ ร้อยละ 7.1 เป็นนักเรียน/นักศึกษา ในขณะที่ร้อยละ 2.6 ระบุว่างงาน/ไม่ประกอบอาชีพ ไม่ระบุอาชีพ 12.1
ตัวอย่างร้อยละ 25.0 ระบุมีรายได้ส่วนตัวไม่เกิน 5,000 บาทต่อเดือน ร้อยละ 24.5 ระบุมีรายได้ 5,001 — 10,000 บาท ร้อยละ 17.5 ระบุมีรายได้ 10,001 — 20,000 บาท ร้อยละ 8.4 ระบุมีรายได้ 20,001 — 30,000 บาท ร้อยละ 5.2 ระบุมีรายได้ส่วนตัว 30,001-40,000 บาทต่อเดือน ร้อยละ 5.9 มากกว่า 40,000 บาทต่อเดือน และร้อยละ 13.5 ไม่ระบุรายได้ส่วนตัวต่อเดือน
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ลำดับที่ การติดตามรับชม/รับฟังรายการ“ 25 ม.ค. 2552 1 ก.พ. 2552 8 ก.พ.2552 เชื่อมั่นประเทศไทยกับนายกฯ อภิสิทธิ์” ในวันนี้ ค่าร้อยละ ค่าร้อยละ ค่าร้อยละ 1 ติดตามรับชม/รับฟัง 11.3 15.8 11.8 2 ไม่ได้ติดตามรับชม/ไม่ได้รับฟัง 88.7 84.2 88.2 รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความน่าสนใจของรายการ “เชื่อมั่นประเทศไทยกับนายกฯ อภิสิทธิ์” ประจำ
วันอาทิตย์ที่ 8 กุมภาพันธ์ 2552 (ค่าร้อยละเฉพาะผู้ที่ได้ติดตามรับชม/รับฟัง)
ลำดับที่ ความน่าสนใจของรายการ“ 25 ม.ค. 2552 ค่าร้อยละ 1 ก.พ. 2552 ค่าร้อยละ 8 ก.พ.2552 ค่าร้อยละ
เชื่อมั่นประเทศไทยกับนายกฯ อภิสิทธิ์” ในวันนี้
1 น่าสนใจ 89.8 91.3 89.4 2 ไม่น่าสนใจ 3.4 7.2 4.4 3 ไม่มีความเห็น 6.8 1.5 6.2 รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุประเด็นที่ชื่นชอบ จากการพูดคุยของนายกรัฐมนตรีในรายการ “เชื่อมั่นประเทศไทยกับ นายกฯ อภิสิทธิ์” ประจำวันอาทิตย์ที่ 8 กุมภาพันธ์ 2552 (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ และเป็นค่าร้อยละเฉพาะผู้ที่ได้ติดตาม รับชม/รับฟัง) ลำดับที่ ประเด็นการพูดคุยที่ชื่นชอบ ค่าร้อยละ 1 มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ 74.1 2 การส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมในสังคมไทย 56.0 3 มาตรการด้านการท่องเที่ยว 43.1 4 นโยบายด้านการต่างประเทศ 39.7 5 นโยบายการค้าระหว่างประเทศ/มาตรการด้านการส่งออก 37.9 6 นโยบายด้านการคลัง 34.5 ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการมีประโยชน์ต่อการนำไปใช้ในชีวิตประจำวันของเนื้อหาสาระในรายการ “เชื่อมั่นประเทศไทยกับนายกฯ อภิสิทธิ์” ประจำวันอาทิตย์ที่ 8 กุมภาพันธ์ 2552 (เป็นค่าร้อยละเฉพาะผู้ที่ ได้ติดตามรับชม/รับฟัง) ลำดับที่ การมีประโยชน์ต่อการนำไปใช้ 25 ม.ค. 2552 ค่าร้อยละ 1 ก.พ. 2552 ค่าร้อยละ 8 ก.พ.2552 ค่าร้อยละ
ในชีวิตประจำวันของเนื้อหาสาระในรายการ
1 เป็นประโยชน์ 85.2 95.7 87.5 2 ไม่เป็นประโยชน์ 8.0 1.4 5.4 3 ไม่มีความคิดเห็น 6.8 2.9 7.1 รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความเชื่อมั่นต่อประเทศไทยภายหลังได้ติดตามรับชม/รับฟังรายการประจำ
วันอาทิตย์ที่ 8 กุมภาพันธ์ 2552 (ค่าร้อยละเฉพาะผู้ที่ได้ติดตามรับชม/รับฟัง)
ลำดับที่ ความเชื่อมั่นต่อประเทศไทยภายหลัง 25 ม.ค. 2552 ค่าร้อยละ 1 ก.พ. 2552 ค่าร้อยละ 8 ก.พ.2552 ค่าร้อยละ
ติดตามรับชม/รับฟังรายการในวันนี้
1 เชื่อมั่น 81.8 87.0 81.9 2 ไม่เชื่อมั่น 12.5 13.0 11.2 3 ไม่มีความคิดเห็น 5.7 - 6.9 รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการติดตามรับชม/รับฟังรายการ “เชื่อมั่นประเทศไทยกับนายกฯ อภิสิทธิ์” ในสัปดาห์หน้า จำแนกตามกลุ่มที่ติดตามรับชมรายการในอาทิตย์นี้ ลำดับที่ การติดตามรับชม/รับฟังรายการ ได้รับชม/รับฟังค่าร้อยละ ไม่ได้รับชม/ไม่รับฟังค่าร้อยละ
“เชื่อมั่นประเทศไทยกับนายกฯ อภิสิทธิ์” ในสัปดาห์หน้า
1 ตั้งใจว่าจะรับชม/รับฟัง 85.6 45.3 2 ไม่รับชม/ไม่รับฟังอย่างแน่นอน - 19.0 3 ไม่แน่ใจแล้วแต่โอกาส 14.4 35.7 รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุประเด็นที่อยากให้นายกรัฐมนตรีพูดคุยในรายการ “เชื่อมั่นประเทศไทยกับนายกฯ อภิสิทธิ์” ในสัปดาห์หน้า (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) ลำดับที่ ประเด็นที่อยากให้นายกรัฐมนตรีพูดคุยในรายการ ค่าร้อยละ
“เชื่อมั่นประเทศไทยกับนายกฯ อภิสิทธิ์” ในสัปดาห์หน้า
1 ปัญหาการกลับมาแพร่ระบาดของยาเสพติด 67.2 2 ปัญหาการทุจริต คอรัปชั่น 65.5 3 ปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ 61.2 4 ปัญหาความแตกแยกของคนในชาติ 56.9 5 ปัญหาขบวนการค้ามนุษย์ 42.2 6 ปัญหาพื้นที่ชายแดนทับซ้อน เช่น ชายแดนไทย-กัมพูชา 40.5 7 ปัญหาผู้อพยพลี้ภัย 38.8 8 ความคืบหน้าคดีทนายสมชาย 30.2 --เอแบคโพลล์-- -พห-