เอแบคโพลล์: เปรียบเทียบแนวโน้มความเชื่อมั่น/ไม่เชื่อมั่นประเทศไทยกับนายกฯ อภิสิทธิ์ ในทรรศนะของตัวอย่างประชาชนทั่วประเทศ ครั้งที่ 4

ข่าวผลสำรวจ Monday February 16, 2009 07:32 —เอแบคโพลล์

ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลสำรวจ “เอแบคเรียลไทม์โพลล์ (Real- Time Survey)” ที่เป็นการสำรวจแบบรวดเร็วฉับไวภายในระยะเวลา 3 ชั่วโมง หลังจากมีสิ่งที่น่าสนใจติดตามในหมู่ประชาชน โดยครั้งนี้ได้ทำการ สำรวจเรื่อง เปรียบเทียบแนวโน้มความเชื่อมั่น/ไม่เชื่อมั่นประเทศไทยกับนายกฯอภิสิทธิ์ ในทรรศนะของประชาชนทั่วประเทศครั้งที่ 4 ประจำวัน อาทิตย์ที่ 15 กุมภาพันธ์ 2552 ซึ่งการสำรวจจะดำเนินการเป็นประจำทุกครั้งที่มีการจัดรายการโทรทัศน์และการเผยแพร่ทางวิทยุของนายกรัฐมนตรี เพื่อดูแนวโน้มและเสียงสะท้อนของประชาชนต่อรายการดังกล่าว

ในการศึกษาครั้งนี้มีจำนวนตัวอย่างประชาชนจากทั่วประเทศรวมทั้งสิ้น 1,129 คน ดำเนินการสำรวจทันทีที่รายการโทรทัศน์และวิทยุดัง กล่าวจบลงภายในระยะเวลา 3 ชั่วโมงของการสำรวจครอบคลุมประชาชนที่ถูกศึกษาทั่วประเทศ ผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ผลการสำรวจพบ ว่า ประชาชนที่ถูกศึกษาร้อยละ 12.3 ระบุได้ติดตามรับชม/รับฟังรายการในวันนี้ ในขณะที่ส่วนใหญ่ร้อยละ 87.7 ไม่ได้ติดตามรับชม/รับฟังรายการ โดยในกลุ่มผู้ที่สนับสนุนรัฐบาลติดตามรับชม/รับฟังรายการในวันนี้คิดเป็นร้อยละ 17.1 กลุ่มพลังเงียบติดตามร้อยละ 9.4 และกลุ่มผู้ที่ไม่สนับสนุน รัฐบาลติดตามร้อยละ 1.1

ทั้งนี้เมื่อสอบถามถึงความน่าสนใจของรายการเชื่อมั่นประเทศไทยประจำวันอาทิตย์ที่ 15 กุมภาพันธ์ 2552 (วันนี้) นั้น พบว่าร้อยละ 88.2 ระบุมีความน่าสนใจ ในขณะที่ร้อยละ 7.9 ระบุไม่น่าสนใจ และร้อยละ 3.9 ไม่ระบุความเห็น ทั้งนี้ประเด็นที่ชื่นชอบจากการพูดคุยในรายการ ประจำสัปดาห์นี้นั้นพบว่า ร้อยละ 59.4 ระบุชื่นชอบการพูดคุยเกี่ยวกับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ร้อยละ 57.8 ระบุการช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อย 2,000 บาท ร้อยละ 55.5 ระบุมาตรการด้านการศึกษา อาทิ เรียนฟรี 15 ปี /การสอบคัดเลือกเข้าศึกษาต่อระดับอุดมศึกษา ร้อยละ 50.0 ระบุ โครงการเบี้ยยังชีพและสวัสดิการสำหรับผู้สูงอายุและผู้พิการ และร้อยละ 48.4 ระบุการแก้ไขปัญหาสังคม อาทิ ปัญหายาเสพติด ปัญหาการทะเลาะ วิวาทของนักเรียน/นักศึกษา ตามลำดับ

สำหรับประโยชน์ต่อการนำไปใช้ในชีวิตประจำวันของเนื้อหาสาระรายการนั้นพบว่า ร้อยละ 87.2 ระบุเนื้อหาสาระที่พูดมีประโยชน์ต่อการ นำไปใช้ในชีวิตประจำวัน ในขณะที่ร้อยละ 7.2 ระบุไม่เป็นประโยชน์ และร้อยละ 5.6 ไม่ระบุความคิดเห็นนอกจากนี้ผลสำรวจเมื่อสอบถามความ เชื่อมั่นต่อประเทศไทยภายหลังติดตามรับชม/รับฟังรายการในวันนี้นั้น พบว่าร้อยละ 82.8 ระบุมีความเชื่อมั่น ในขณะที่ร้อยละ 11.7 ระบุไม่เชื่อมั่น และร้อยละ 5.5 ไม่ระบุความคิดเห็น

สำหรับความตั้งใจติดตามรับชม/รับฟังรายการเชื่อมั่นประเทศไทยกับนายกฯ อภิสิทธิ์ในสัปดาห์หน้า เมื่อจำแนกตามการติดตามรับชม/รับฟัง รายการในอาทิตย์นี้นั้นพบว่า ร้อยละ 77.6 ของผู้ที่ได้รับชมรายการในวันนี้ระบุตั้งใจจะติดตามรับชม/รับฟังในวันอาทิตย์หน้าอีก ในขณะที่ร้อยละ 20.8 ระบุไม่แน่ใจแล้วแต่โอกาส อย่างไรก็ตามสำหรับผู้ที่ไม่ได้รับชมรับฟังรายการในอาทิตย์นี้นั้น ร้อยละ 33.1 ระบุตั้งใจจะติดตามรับชมรับฟังวัน อาทิตย์หน้า ทั้งนี้เมื่อสอบถามถึงประเด็นที่อยากให้นายกรัฐมนตรีพูดคุยในรายการครั้งต่อไปนั้น พบว่าร้อยละ 61.7 ระบุปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ ร้อยละ 56.3 ระบุปัญหาคุณภาพเด็กและเยาวชน ร้อยละ 55.5 ระบุปัญหาการทุจริต คอรัปชั่น ร้อยละ 53.9 ระบุมาตรการ การแก้ไขปัญหาการว่างงานอย่างเป็นรูปธรรม และปัญหาความแตกแยกของคนในชาติ

และเมื่อสอบถามความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการนิรโทษกรรมผู้กระทำความผิดทางการเมืองนั้นพบว่า ร้อยละ 5.4 ระบุควรมีการ นิรโทษกรรม(ให้อภัย) ทุกคดี ร้อยละ 14.4 ระบุควรมีการนิรโทษกรรม (ให้อภัย) บางคดี ในขณะที่ร้อยละ 80.2 ระบุควรปล่อยให้กระบวนการ ยุติธรรมดำเนินไปจนถึงที่สุด สำหรับกรณีนักการเมืองที่ถูกดำเนินคดีทุจริตคอรัปชั่นนั้นพบว่า ร้อยละ 3.3 ระบุควรมีการนิรโทษกรรม(ให้อภัย)

ทุกคดี  ร้อยละ 11.1 ระบุควรมีการนิรโทษกรรม (ให้อภัย)  บางคดี ในขณะที่           ร้อยละ 85.6 ระบุควรปล่อยให้กระบวนการยุติธรรม
ดำเนินไปจนถึงที่สุด

นอกจากนี้ เมื่อสอบถามความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการประชุมสุดยอดอาเซียนที่ประเทศไทยจะเป็นเจ้าภาพในช่วงปลายเดือน กุมภาพันธ์นี้นั้น พบว่า ร้อยละ 74.8 ระบุมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในภูมิภาคอาเซียน ร้อยละ 58.5 ระบุอยากให้ที่ประชุมมีการพูดคุยเรื่องปัญหายา เสพติด ร้อยละ 53.0 ระบุอยากให้พูดคุยเรื่องความร่วมมือทางการค้าระหว่างประเทศ ร้อยละ 43.4 ระบุปัญหาผู้อพยพลี้ภัย และร้อยละ 43.8 ระบุปัญหาอาชญากรรมข้ามชาติ ตามลำดับ

ดร.นพดลกล่าวว่า จากการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนผ่านระบบเครือข่ายคอมพิเวตอร์ หรือ “เอแบคเรียลไทม์โพลล์” ที่มีต่อ รายการเชื่อมั่นประเทศไทยกับนายกฯ อภิสิทธิ์ ทั้ง 4 ครั้งที่ผ่านมาพบว่า มีประชาชนเพียงส่วนน้อยที่ติดตามรับชม/รับฟังรายการนี้ โดยแม้แต่ในกลุ่ม ประชาชนที่สนับสนุนรัฐบาลและกลุ่มพลังเงียบก็พบว่ามีคนที่สนใจติดตามรับชม/รับฟังเพียงประมาณร้อยละ 10 ในขณะที่ในกลุ่มผู้ที่ไม่สนับสนุนรัฐบาลนั้นแทบ จะไม่มีผู้ที่ติดตามรับชมรับฟังเลย ซึ่งน่าจะสะท้อนให้เห็นว่าการใช้รายการนี้เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชนยังไม่ประสบผลสำเร็จเท่าใดนัก ดัง นั้น นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีจึงอาจต้องหา “ตัวช่วย” ใ นการสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชนโดยการสลัดคราบความเป็น “หนุ่มเมือง นอก” ลงพื้นที่พบปะรับฟังปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน โดยเฉพาะในพื้นที่ชนบทห่างไกล ซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ เพื่อช่วยเสริมให้ ประชาชนมีความเชื่อมั่นต่อรัฐบาลให้มากขึ้น นอกเหนือไปจากการสื่อสารผ่านรายการดังกล่าวเพียงอย่างเดียว

รายละเอียดงานวิจัย วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย

1. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อรายการเชื่อมั่นประเทศไทยกับนายกฯ อภิสิทธิ์ ครั้งที่ 4 ประจำวันอาทิตย์ที่ 15 กุมภาพันธ์ 2552

2. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป

ระเบียบวิธีการทำโพลล์

โครงการ “เอแบคเรียลไทม์โพลล์ (Real-Time Survey)” ของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้ เรื่อง “เปรียบเทียบแนวโน้มความเชื่อมั่น/ไม่เชื่อมั่นประเทศไทยกับนายกฯ อภิสิทธิ์ ในทรรศนะของตัวอย่างประชาชนทั่วประเทศ ครั้งที่ 4” ซึ่ง ดำเนินโครงการในวันอาทิตย์ที่ 15 กุมภาพันธ์ 2552 ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) กลุ่ม ประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนทั่วประเทศ เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น และกำหนดลักษณะของ ตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากรเป้าหมายจากการทำสำมะโน ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ คือ 1,129 ตัวอย่าง ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับ ร้อยละ 95 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์ หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบ ความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูลและงบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย มีคณะผู้วิจัย จำนวนทั้งสิ้น 49 คน

ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง

จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า

ตัวอย่าง ร้อยละ 53.9 เป็นหญิง

ร้อยละ 46.1 เป็นชาย

ตัวอย่าง ร้อยละ 9.4 อายุต่ำกว่า 20 ปี

ร้อยละ 20.5 อายุระหว่าง 20 — 29 ปี

ร้อยละ 25.0 อายุระหว่าง 30 — 39 ปี

ร้อยละ 23.7 อายุระหว่าง 40 — 49 ปี

และร้อยละ 21.4 อายุ 50 ปีขึ้นไป

ตัวอย่าง ร้อยละ 72.4 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี

รองลงมาคือร้อยละ 24.7 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี

และร้อยละ 2.9 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี

ร้อยละ 28.6 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป

ตัวอย่าง ร้อยละ 26.6 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว

ร้อยละ 16.9 ระบุอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน

ร้อยละ 12.9 ระบุข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ

ร้อยละ 4.7 เป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ

ร้อยละ 6.6 เป็นนักเรียน/นักศึกษา

ในขณะที่ ร้อยละ 2.4 ระบุว่างงาน/ไม่ประกอบอาชีพ

ร้อยละ 1.3ไม่ระบุอาชีพ

ตัวอย่าง ร้อยละ 23.9 ระบุมีรายได้ส่วนตัวไม่เกิน 5,000 บาทต่อเดือน

ร้อยละ 18.8 ระบุมีรายได้ 5,001 — 10,000 บาท

ร้อยละ 16.6 ระบุมีรายได้ 10,001 — 15,000 บาท

ร้อยละ 6.2 ระบุมีรายได้ 15,001 — 20,000 บาท

ร้อยละ 15.4 ระบุมีรายได้ส่วนตัวมากกว่า 20,000 บาทต่อเดือน

และร้อยละ 19.1 ไม่ระบุรายได้ส่วนตัวต่อเดือน

โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้

ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการติดตามรับชม/รับฟังรายการ “เชื่อมั่นประเทศไทยกับนายกฯ อภิสิทธิ์” ประจำวันวัน
อาทิตย์ที่ 15 กุมภาพันธ์ 2552
   การติดตามรับชม/รับฟังรายการ             25 ม.ค.2552 ค่าร้อยละ   1 ก.พ.2552 ค่าร้อยละ   8 ก.พ.2552 ค่าร้อยละ   15 ก.พ.2552 ค่าร้อยละ
“เชื่อมั่นประเทศไทยกับนายกฯ อภิสิทธิ์” ในวันนี้
1. ติดตามรับชม/รับฟัง                             11.3                  15.8                 11.8                12.3
2. ไม่ได้ติดตามรับชม/ไม่ได้รับฟัง                     88.7                  84.2                 88.2                87.7
รวมทั้งสิ้น                                      100.0                 100.0                100.0               100.0

ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการติดตามรับชม/รับฟังรายการ “เชื่อมั่นประเทศไทยกับนายกฯ อภิสิทธิ์” ประจำวันวันอาทิตย์
ที่ 15 กุมภาพันธ์  2552  จำแนกตามจุดยืนทางการเมือง
ลำดับที่          การติดตามรับชม/รับฟังรายการ            สนับสนุนรัฐบาลค่าร้อยละ     ไม่สนับสนุนรัฐบาลค่าร้อยละ   ไม่อยู่ฝ่ายใดค่าร้อยละ

“เชื่อมั่นประเทศไทยกับนายกฯ อภิสิทธิ์” ในวันนี้

1          ติดตามรับชม/รับฟัง                                17.1                    1.1                    9.4
2          ไม่ได้ติดตามรับชม/ไม่ได้รับฟัง                        82.9                   98.9                   90.6
          รวมทั้งสิ้น                                       100.0                  100.0                  100.0

ตารางที่ 3    แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความน่าสนใจของรายการ “เชื่อมั่นประเทศไทยกับนายกฯ อภิสิทธิ์” ประจำวันอาทิตย์ที่ 15

กุมภาพันธ์ 2552 (ค่าร้อยละเฉพาะผู้ที่ได้ติดตามรับชม/รับฟัง)

         ความน่าสนใจของรายการ           25 ม.ค.2552 ค่าร้อยละ    1 ก.พ.2552 ค่าร้อยละ    8 ก.พ.2552 ค่าร้อยละ   15 ก.พ.2552 ค่าร้อยละ
“เชื่อมั่นประเทศไทยกับนายกฯ อภิสิทธิ์” ในวันนี้
1. น่าสนใจ                                     89.8                    91.3                  89.4               88.2
2. ไม่น่าสนใจ                                    3.4                     7.2                   4.4                7.9
3. ไม่มีความเห็น                                  6.8                     1.5                   6.2                3.9
รวมทั้งสิ้น                                      100.0                   100.0                 100.0              100.0

ตารางที่ 4  แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุประเด็นที่ชื่นชอบ จากการพูดคุยของนายกรัฐมนตรีในรายการเชื่อมั่นประเทศไทยกับนายกฯ

อภิสิทธิ์” ประจำวันอาทิตย์ที่ 15 กุมภาพันธ์ 2552 (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ และเป็นค่าร้อยละเฉพาะผู้ที่ได้ติดตามรับชม/รับฟัง)

ลำดับที่          ประเด็นการพูดคุยที่ชื่นชอบ                                                     ค่าร้อยละ
1          มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ                                                            59.4
2          การช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อย 2,000 บาท                                                 57.8
3          มาตรการด้านการศึกษา อาทิ  เรียนฟรี 15 ปี /การสอบคัดเลือกเข้าศึกษาต่อระดับอุดมศึกษา           55.5
4          โครงการเบี้ยยังชีพและสวัสดิการสำหรับผู้สูงอายุและผู้พิการ                                    50.0
5          การแก้ไขปัญหาสังคม อาทิ ปัญหายาเสพติด ปัญหาการทะเลาะวิวาทของนักเรียน/นักศึกษา              48.4
6          มาตรการด้านการท่องเที่ยว                                                           42.2
7          โครงการฝึกอบรมฝีมือแรงงานและการรับประกันการว่างงานสำหรับแรงงานที่ผ่านการฝึกอบรม           40.6
8          มาตรการด้านการส่งออก                                                             36.7

ตารางที่  5  แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการมีประโยชน์ต่อการนำไปใช้ในชีวิตประจำวันของเนื้อหาสาระในรายการ “เชื่อมั่นประเทศไทย

กับนายกฯ อภิสิทธิ์” ประจำวันอาทิตย์ที่ 15 กุมภาพันธ์ 2552 (เป็นค่าร้อยละเฉพาะผู้ที่ได้ติดตามรับชม/รับฟัง)

        การมีประโยชน์ต่อการนำไปใช้          25 ม.ค.2552 ค่าร้อยละ   1 ก.พ.2552 ค่าร้อยละ   8 ก.พ.2552 ค่าร้อยละ   15 ก.พ.2552 ค่าร้อยละ
ในชีวิตประจำวันของเนื้อหาสาระในรายการ
1. เป็นประโยชน์                                  85.2                   95.7                  87.5              87.2
2. ไม่เป็นประโยชน์                                 8.0                    1.4                   5.4               7.2
3. ไม่มีความคิดเห็น                                 6.8                    2.9                   7.1               5.6
รวมทั้งสิ้น                                       100.0                  100.0                 100.0             100.0

ตารางที่  6  แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความเชื่อมั่นต่อประเทศไทยภายหลังได้ติดตามรับชม/รับฟังรายการประจำวันอาทิตย์ที่ 15

กุมภาพันธ์ 2552 (ค่าร้อยละเฉพาะผู้ที่ได้ติดตามรับชม/รับฟัง)

        ความเชื่อมั่นต่อประเทศไทย          25 ม.ค.2552 ค่าร้อยละ    1 ก.พ.2552 ค่าร้อยละ    8 ก.พ.2552 ค่าร้อยละ    15 ก.พ.2552 ค่าร้อยละ
ภายหลังติดตามรับชม/รับฟังรายการในวันนี้
1. เชื่อมั่น                                     81.8                    87.0                    81.9             82.8
2. ไม่เชื่อมั่น                                   12.5                    13.0                    11.2             11.7
3. ไม่มีความคิดเห็น                               5.7                       -                     6.9              5.5
รวมทั้งสิ้น                                     100.0                   100.0                   100.0            100.0

ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการติดตามรับชม/รับฟังรายการ “เชื่อมั่นประเทศไทยกับนายกฯ อภิสิทธิ์” ในสัปดาห์หน้า
จำแนกตามกลุ่มที่ติดตามรับชมรายการในอาทิตย์นี้
ลำดับที่          การติดตามรับชม/รับฟังรายการ           ได้รับชม/รับฟังค่าร้อยละ     ไม่ได้รับชม/ไม่รับฟังค่าร้อยละ
“เชื่อมั่นประเทศไทยกับนายกฯ อภิสิทธิ์” ในสัปดาห์หน้า
1          ตั้งใจว่าจะรับชม/รับฟัง                              77.6                    33.1
2          ไม่รับชม/ไม่รับฟังอย่างแน่นอน                          1.6                    17.4
3          ไม่แน่ใจแล้วแต่โอกาส                               20.8                    49.5
          รวมทั้งสิ้น                                        100.0                   100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุประเด็นที่อยากให้นายกรัฐมนตรีพูดคุยในรายการ “เชื่อมั่นประเทศไทยกับนายกฯ อภิสิทธิ์”
ในสัปดาห์หน้า  (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่          ประเด็นที่อยากให้นายกรัฐมนตรีพูดคุย                       ค่าร้อยละ
ในรายการ “เชื่อมั่นประเทศไทยกับนายกฯ อภิสิทธิ์” ในสัปดาห์หน้า
1          ปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนใต้                        61.7
2          ปัญหาคุณภาพเด็กและเยาวชน                                  56.3
3          ปัญหาการทุจริต คอรัปชั่น                                     55.5
4          มาตรการการแก้ไขปัญหาการว่างงานอย่างเป็นรูปธรรม               53.9
5          ปัญหาความแตกแยกของคนในชาติ                               53.9
6          ปัญหาการแพร่ระบาดของยาเสพติด                              47.7
7          ปัญหาผู้อพยพลี้ภัย                                           43.0
8          การประชุมสุดยอดอาเซียนที่ประเทศไทยจะเป็นเจ้าภาพ               37.5
9          ปัญหาขบวนการค้ามนุษย์                                      34.4
10          ปัญหาพื้นที่ชายแดนทับซ้อน เช่น ไทย-กัมพูชา                      33.6
11          ความคืบหน้าคดีทนายสมชาย                                  32.8
12          ความชัดเจนของแนวคิดในการนิรโทษกรรมคดีความทางการเมือง       27.3

ตารางที่ 9  แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นกรณีผู้กระทำความผิดคดีทางการเมือง
ลำดับที่          ความคิดเห็น                                         ค่าร้อยละ
1          ควรมีการนิรโทษกรรม (ให้อภัย) ทุกคดี                           5.4
2          ควรมีการนิรโทษกรรม(ให้อภัย) บางคดี                          14.4
3          ควรปล่อยให้กระบวนการยุติธรรมดำเนินไปจนถึงที่สุด                 80.2
          รวมทั้งสิ้น                                                100.0

ตารางที่ 10  แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นกรณีนักการเมืองที่ถูกดำเนินคดีทุจริตคอรัปชั่น
ลำดับที่          ความคิดเห็น                                        ค่าร้อยละ
1          ควรมีการนิรโทษกรรม (ให้อภัย) ทุกคดี                           3.3
2          ควรมีการนิรโทษกรรม(ให้อภัย) บางคดี                          11.1
3          ควรปล่อยให้กระบวนการยุติธรรมดำเนินไปจนถึงที่สุด                 85.6
          รวมทั้งสิ้น                                                100.0

ตารางที่ 11  แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุประเด็นที่อยากให้มีการพูดคุยในการประชุมสุดยอดอาเซียนที่จะมาถึงนี้ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่          ประเด็นที่อยากให้มีการพูดคุยในการประชุมสุดยอดอาเซียนที่จะมาถึงนี้       ค่าร้อยละ
1          มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในภูมิภาคอาเซียน                              74.8
2          ปัญหายาเสพติด                                                   58.5
3          ความร่วมมือทางการค้าระหว่างประเทศ                                 53.0
4          ปัญหาอาชญากรรมข้ามชาติ                                           43.8
5          ปัญหาผู้อพยพลี้ภัย                                                  43.4

--เอแบคโพลล์--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ