เอแบคโพลล์: การประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 14 ในประเทศไทย

ข่าวผลสำรวจ Monday February 23, 2009 07:32 —เอแบคโพลล์

ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลวิจัยเชิงสำรวจเรื่อง “คนไทยคิดอย่างไรต่อ การประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 14 ในประเทศไทย กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนใน 18 จังหวัดทั่วประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร เชียงใหม่ แพร่ พิษณุโลก สิงห์บุรี ประจวบคีรีขันธ์ ฉะเชิงเทรา พระนครศรีอยุธยา สุพรรณบุรี สมุทรปราการ หนองบัวลำภู นครพนม มหาสารคาม สกลนคร ชัยภูมิ สุรินทร์ กระบี่ และพัทลุง จำนวนตัวอย่างทั้งสิ้น 2,154 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 18 — 21 กุมภาพันธ์ 2552 ผลสำรวจพบว่า ส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 81.3 ทราบข่าวการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 14 ในประเทศไทยครั้งนี้ ในขณะที่ร้อยละ 18.7 ไม่ทราบ

อย่างไรก็ตาม ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 83.5 กลับไม่ทราบว่าใครคือเลขาธิการอาเซียน ในขณะที่เพียงร้อยละ 16.5 ทราบว่าเลขาธิการอา เซียนคือ ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ

เมื่อถามถึงการรับรู้ข่าวความร่วมมือกันในด้านต่างๆ ในการประชุมอาเซียนครั้งที่จะถึงนี้ พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 73.0 ทราบข่าวการ แก้ปัญหาผู้อพยพ หนีเข้าเมือง รองลงมาคือร้อยละ 72.1 ทราบข่าวการแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าว ร้อยละ 70.0 ทราบข่าวความร่วมมือทางการค้า การลงทุนระหว่างกลุ่มประเทศ ร้อยละ 68.5 ทราบข่าวการแก้ปัญหาพื้นที่ตามแนวชายแดน ร้อยละ 66.5 ทราบข่าวแนวทางแก้ปัญหายาเสพติด ร้อย ละ 60.4 ทราบข่าวแนวทางแก้ปัญหาอาชญากรรมข้ามชาติ ร้อยละ 57.4 ทราบข่าวความร่วมมือเกี่ยวกับวัฒนธรรม/ขนบธรรมเนียมประเพณี ร้อยละ 54.6 ทราบข่าวเกี่ยวกับชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนในกลุ่มประเทศอาเซียน และร้อยละ 43.8 ทราบข่าวการแก้ปัญหาการค้าอาวุธสงคราม

เมื่อถามถึงประเด็นปัญหาใดที่อยากให้มีการหยิบยกขึ้นมาแก้ไขร่วมกันในกลุ่มประเทศอาเซียน พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 79.4 ระบุความ ร่วมมือทางการค้าการลงทุนระหว่างกลุ่มประเทศ รองลงมาคือ ร้อยละ 74.7 ระบุแนวทางแก้ปัญหา ยาเสพติด ร้อยละ 71.7 ระบุชีวิตความ เป็นอยู่ของประชาชนในกลุ่มประเทศอาเซียน ร้อยละ 66.2 ระบุการแก้ปัญหาแรงงานต่างด้าว ร้อยละ 65.9 ระบุการแก้ปัญหาด้านผู้อพยพหนีเข้า เมือง ร้อยละ 65.7 ระบุการแก้ปัญหาพื้นที่ชายแดน ร้อยละ 59.8 ระบุการแก้ปัญหาสิทธิมนุษยชน รองๆ ลงไปคือ การแก้ปัญหาอาชญากรรมข้ามชาติ การแก้ปัญหาค้าอาวุธสงคราม และวัฒนธรรมประเพณี ตามลำดับ

ที่น่าพิจารณาคือ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 56.0 คิดว่าประชาชนในกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในระดับ น้อยถึงไม่มีเลย ในขณะที่ร้อยละ 44.0 คิดว่ามีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในระดับมากถึงมากที่สุด และเมื่อถามถึงประโยชน์ที่คิดว่าจะได้รับจากการ ประชุมครั้งนี้ พบว่า ร้อยละ 53.2 คิดว่าได้ประโยชน์น้อยถึงไม่ได้เลย ในขณะที่ร้อยละ 46.8 คิดว่าได้ประโยชน์มากถึงมากที่สุด อย่างไรก็ตาม ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 84.6 คิดว่าการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งนี้จะประสบความสำเร็จ ในขณะที่เพียงร้อยละ 15.4 ไม่คิดว่าจะประสบความ สำเร็จ

รายละเอียดงานวิจัย

วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย

1. เพื่อสำรวจความคิดเห็นต่อการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 14 ในประเทศไทย

2. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป

ระเบียบวิธีการทำโพลล์

โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้เรื่อง “คนไทยคิดอย่างไรต่อการประชุมสุดยอดอา เซียน ครั้งที่ 14 ในประเทศไทย กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนใน 18 จังหวัดทั่วประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร เชียงใหม่ แพร่ พิษณุโลก สิงห์บุรี ประจวบคีรีขันธ์ ฉะเชิงเทรา พระนครศรีอยุธยา สุพรรณบุรี สมุทรปราการ หนองบัวลำภู นครพนม มหาสารคาม สกลนคร ชัยภูมิ สุรินทร์ กระบี่ และ พัทลุง ระหว่างวันที่ 18 — 21 กุมภาพันธ์ 2552 ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) กลุ่มประชากร เป้าหมาย คือ ประชาชนทั่วประเทศ เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่าง ให้สอดคล้องกับประชากรเป้าหมายจากการทำสำมะโน ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ คือ 2,154 ตัวอย่าง ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์ หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความ ถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูลและงบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย มีคณะผู้วิจัย จำนวนทั้งสิ้น 86 คน

ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง

จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่างร้อยละ 53.6 เป็นเพศหญิง

ร้อยละ 46.4 เป็นเพศชาย

ร้อยละ 6.0 ระบุอายุต่ำกว่า 20 ปี

ร้อยละ 24.8 อายุระหว่าง 20 — 29 ปี

ร้อยละ 24.3 อายุระหว่าง 30 — 39 ปี

ร้อยละ 23.4 อายุระหว่าง 40 — 49 ปี

และ ร้อยละ 21.5 อายุ 50 ปีขึ้นไป

ตัวอย่าง ร้อยละ 67.0 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี

รองลงมาคือร้อยละ 29.6 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี

และร้อยละ 3.4 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี

ตัวอย่าง ร้อยละ 10.8 ระบุอาชีพข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ

ร้อยละ 11.6 ระบุอาชีพลูกจ้าง/พนักงานบริษัท

ร้อยละ 25.9 ระบุอาชีพค้าขายรายย่อย/อิสระ

ร้อยละ 8.4 ระบุอาชีพนักเรียนนักศึกษา

ร้อยละ 33.2 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างใช้แรงงานทั่วไป

ร้อยละ 5.8 ระบุอาชีพพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ

ร้อยละ 3.4 ระบุว่างงาน

ร้อยละ 0.9 ระบุอาชีพอื่น ๆ

ตัวอย่าง ร้อยละ 31.9 ระบุมีรายได้ส่วนตัวไม่เกิน 5,000 บาทต่อเดือน

ร้อยละ 23.8 ระบุมีรายได้ 5,001 — 10,000 บาท

ร้อยละ 14.8 ระบุมีรายได้ 10,001 — 15,000 บาท

ร้อยละ 8.3 ระบุมีรายได้ 15,001 — 20,000 บาท

และร้อยละ 21.2 ระบุมีรายได้ส่วนตัวมากกว่า 20,000 บาทต่อเดือน

โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้

ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการรับรู้ รับทราบ ต่อการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 14 ที่อำเภอหัวหิน จังหวัด
ประจวบคีรีขันธ์
ลำดับที่          การรับรู้ รับทราบข่าวการประชุมสุดยอดอาเซียน     ค่าร้อยละ
1          ทราบ                                          81.3
2          ไม่ทราบ                                        18.7
          รวมทั้งสิ้น                                       100.0

ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ การรับรู้ชื่อเลขาธิการอาเซียน
ลำดับที่          การรับรู้ รับทราบ                          ค่าร้อยละ
1          ทราบว่าคือ ดร.สุรินทร์  พิศสุวรรณ                    16.5
2          ไม่ทราบ                                        83.5
          รวมทั้งสิ้น                                       100.0

ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุรับรู้ / รับทราบข่าวว่ามีการร่วมมือกันในด้านต่างๆ ต่อไปนี้
ลำดับที่          ความร่วมมือกันในด้านต่างๆ                       การรับรู้/ รับทราบข่าว

ทราบ (ร้อยละ) ไม่ทราบ(ร้อยละ)

1          การแก้ปัญหาด้านผู้อพยพ หนีเข้าเมือง                    73.0          27.0
2          การแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าว                        72.1          27.9
3          ความร่วมมือทางการค้าระหว่างกลุ่มประเทศ               70.0          30.0
4          การแก้ปัญหาพื้นที่ตามแนวชายแดน                       68.5          31.5
5          การแก้ปัญหาด้านสิทธิมนุษยชน                          66.5          33.5
6          แนวทางการแก้ปัญหายาเสพติด                         62.4          37.6
7          การแก้ปัญหาอาชญากรรมข้ามชาติ                       60.4          39.6
8          วัฒนธรรม/ ขนบธรรมเนียมประเพณี                     57.4          42.6
9          ชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนในกลุ่มประเทศอาเซียน        54.6          45.4
10          การแก้ปัญหาการค้าอาวุธสงคราม                      43.8          56.2

ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุปัญหาที่ควรถูกหยิบยกขึ้นมาแก้ปัญหาร่วมกันในกลุ่มประเทศอาเซียน (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่          ปัญหาที่อยากให้มีการแก้ไขร่วมกันในกลุ่มประเทศอาเซียน   ค่าร้อยละ
1          ความร่วมมือทางการค้าระหว่างกลุ่มประเทศ                 79.4
2          แนวทางการแก้ปัญหายาเสพติด                           74.7
3          ชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนในกลุ่มประเทศอาเซียน          71.7
4          การแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าว                          66.2
5          การแก้ปัญหาด้านผู้อพยพ หนีเข้าเมือง                      65.9
6          การแก้ปัญหาพื้นที่ตามแนวชายแดน                         65.7
7          การแก้ปัญหาด้านสิทธิมนุษยชน                            59.8
8          ปัญหาอาชญากรรมข้ามชาติ                              59.6
9          การแก้ปัญหาการค้าอาวุธสงคราม                         53.3
10          วัฒนธรรม/ ขนบธรรมเนียมประเพณี                      47.9

ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของประชาชนใน
กลุ่มประเทศเอเซียตะวันออกเฉียงใต้
ลำดับที่          ความคิดเห็นต่อความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของประชาชน   ค่าร้อยละ
1          มาก ถึงมากที่สุด                                     44.0
2          น้อยถึง ไม่มีเลย                                     56.0
          รวมทั้งสิ้น                                          100.0

ตารางที่ 6  แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุได้รับประโยชน์จากการประชุมครั้งนี้มากน้อยเพียงใด
ลำดับที่          ประโยชน์ที่จะได้รับจากการประชุม                  ค่าร้อยละ
1          มาก ถึงมากที่สุด                                     46.8
2          น้อยถึงไม่มีประโยชน์เลย                               53.2
          รวมทั้งสิ้น                                          100.0

ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นต่อความสำเร็จที่คาดว่าจะได้รับจากการประชุมสุดยอดอาเซียนในครั้งนี้
ลำดับที่          ความคิดเห็นต่อการประชุมสุดยอดอาเซียน             ค่าร้อยละ
1          คิดว่าจะประสบความสำเร็จ                             84.6
2          ไม่คิดว่าจะประสบความสำเร็จ                           15.4
          รวมทั้งสิ้น                                          100.0

--เอแบคโพลล์--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ