แท็ก
เอแบคโพลล์
ที่มาของโครงการ
สาเหตุสำคัญที่ทำให้คุณภาพของเยาวชนไทยตกต่ำลงไปมากในปัจจุบัน จนกลายเป็นปัญหาวิกฤตคุณภาพเยาวชนไทยนั้น ส่วนหนึ่งเป็นเพราะ
เยาวชนอยู่ใกล้แหล่งอบายมุขและสิ่งเสพติดมากจนเกินไป ซึ่งจากผลวิจัยในโครงการเฝ้าระวังรักษาคุณภาพอนาคตเยาวชนไทยทุกครั้งที่ผ่านมาชี้ชัดให้
เห็นว่า สาเหตุที่เยาวชนเกี่ยวข้องกับอบายมุขและสิ่งเสพติดคือ การอยากลอง และการชักชวนของเพื่อน รวมทั้งการมีค่านิยมในการดำเนินชีวิตที่
ผิดๆ ซึ่งสถาบันครอบครัว/สถาบันการศึกษาต่างๆ ควรเร่งปรับทัศนคติและพฤติกรรมของเยาวชนให้อยู่ในแนวทางที่สร้างสรรค์และหันมาทำกิจกรรมที่พึง
ประสงค์ต่อสังคมให้มากขึ้น
ดังนั้นโครงการเฝ้าระวังรักษาคุณภาพเยาวชนไทยของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ในครั้งนี้ จึงมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาทัศนคติและพฤติกรรม
การใช้สิ่งเสพติดของกลุ่มเยาวชนที่มีอายุ 12-24 ปีในเขตกรุงเทพมหานคร นนทบุรี ปทุมธานี และสมุทรปราการ ทั้งนี้เพื่อทำให้เห็นทิศทางและแนวโน้ม
การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของเยาวชน ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถที่จะนำผลการศึกษาที่ได้ไปประกอบการพิจารณาวางแผน เพื่อดำเนินการ
ป้องกัน และแก้ไขปัญหาต่างๆ อย่างเร่งด่วนต่อไป
วัตถุประสงค์ในการทำวิจัย
1. เพื่อศึกษาถึงทัศนคติของเยาวชนที่มีต่อการใช้สิ่งเสพติดประเภทต่างๆ
2. เพื่อศึกษารูปแบบการใช้สิ่งเสพติดของกลุ่มเยาวชนในช่วงปิดภาคฤดูร้อน
3. เพื่อประมาณการจำนวนเยาวชนที่มีอายุ 12-24 ปี ที่พักอาศัยในระดับครัวเรือน หอพัก อพาร์ตเมนต์ และคอนโดมิเนียม
ที่ใช้สิ่งเสพติด
4. เพื่อเป็นข้อมูลสำคัญและนำเสนอต่อรัฐบาล หน่วยงานราชการ และองค์กรเอกชนที่เกี่ยวข้องใช้ประกอบการพิจารณาตัดสินใจดำเนิน
นโยบายหรือมาตรการที่เหมาะสมในการรักษาคุณภาพที่ดีของเยาวชนไทย
ระเบียบวิธีวิจัย
การวิจัยภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง “ทัศนคติการใช้สิ่งเสพติดในกลุ่มเยาวชนช่วงปิดภาคฤดูร้อน:
กรณีศึกษาตัวอย่างเยาวชนที่มีอายุ 12-24 ปี ที่พักอาศัยในระดับครัวเรือน หอพัก อพาร์ตเมนต์ และคอนโดมิเนียม ในเขตกรุงเทพมหานคร นนทบุรี
ปทุมธานี และสมุทรปราการ” ซึ่งคณะผู้วิจัยได้ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 20 เมษายน — 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2549
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือเยาวชนที่มีอายุ 12 — 24 ปี ในเขตกรุงเทพมหานคร นนทบุรี ปทุมธานี และสมุทรปราการ จำนวนทั้ง
สิ้น 1,562,986 คน (หนึ่งล้านห้าแสนหกหมื่นสองพันเก้าร้อยแปดสิบหกคน)
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified Sampling) ในการเลือกพื้นที่ตัวอย่างในเขตกรุงเทพ
มหานคร นนทบุรี ปทุมธานี และสมุทรปราการ และการสุ่มตัวอย่างแบบความเป็นไปได้ตามสัดส่วนของขนาดประชากร (Probability
Proportionate to Size Sampling) ในการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายระดับครัวเรือน (household) และแหล่งที่พักอาศัยอื่นๆ อาทิ หอพัก
อพาร์ตเมนต์ และคอนโดมิเนียม เป็นต้น
ขนาดของตัวอย่าง คือ 4,078 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องและสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณทั้งสิ้นเป็น
ของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
ตัวอย่าง ร้อยละ 50.4 เป็นเพศชาย
ร้อยละ 49.6 เป็นเพศหญิง
ร้อยละ 31.9 ระบุอายุ 12-15 ปี
ร้อยละ 29.9 ระบุอายุ 16-19 ปี
และร้อยละ 38.2 ระบุอายุ 20-24 ปี
เมื่อพิจารณาสถานภาพทางการศึกษาของตัวอย่างพบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 4.6 ระบุไม่ได้เรียนหนังสือเลย
ในขณะที่ร้อยละ 71.9 ระบุเป็นนักเรียน/นักศึกษา
และร้อยละ 23.5 ระบุสำเร็จการศึกษาแล้ว และไม่ได้ศึกษาต่อ
ตัวอย่าง ร้อยละ 71.3 ระบุประเภทที่พักอาศัยเป็นบ้านเดี่ยว/ทาวน์เฮาส์/อาคารพานิชย์
ร้อยละ 15.2 ระบุเป็นหอพัก
ร้อยละ 8.0 ระบุเป็นอพาร์ตเมนต์/แมนชั่น/คอนโดมิเนียม
และร้อยละ 5.5 ระบุที่พักอาศัยประเภทอื่นอาทิวัด/โบสถ์ /มัสยิด
และเมื่อพิจารณาถึงบุคคลที่ตัวอย่างพักอาศัยอยู่ด้วยในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมานั้นพบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 61.9 พักอาศัยกับบิดามารดา
รองลงมาคือร้อยละ 16.5 พักอาศัยกับญาติ/พี่น้อง
ร้อยละ 7.9 พักอาศัยเพียงลำพังคนเดียว
ในขณะที่ร้อยละ 10.7 พักอาศัยอยู่กับเพื่อน
และร้อยละ 3.0 ระบุพักอาศัยอยู่กับคู่รัก/แฟน/ครูอาจารย์ และผู้ปกครองที่ไม่ใช่ญาติ เป็นต้น
บทสรุปผลสำรวจ
ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในฐานะที่ปรึกษาเครือข่ายวิชาการสารเสพติดของสำนัก
งาน ป.ป.ส. และหัวหน้าโครงการวิจัย ได้เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง “ทัศนคติการใช้สิ่งเสพติดในกลุ่มเยาวชนช่วงปิดภาคฤดูร้อน” ในครั้งนี้ ได้
ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลจากเยาวชนที่มีอายุ 12-24 ปี ที่พักอาศัยในระดับครัวเรือน และที่พักอาศัยประเภทอื่นๆ อาทิ หอพัก อพาร์ตเมนต์ และ
คอนโดมิเนียม ในเขตกรุงเทพมหานคร นนทบุรี ปทุมธานี และสมุทรปราการ จำนวนทั้งสิ้น 4,078 ตัวอย่าง ซึ่งมีระยะเวลาการดำเนินโครงการ
ระหว่างวันที่ 20 เมษายน - 13 พฤษภาคม 2549 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจดังนี้
ดร.นพดลกล่าวว่า ผลการสำรวจของเอแบคโพลล์ในประเด็นความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสิ่งเสพติดประเภทต่างๆนั้นพบประเด็นที่น่า
พิจารณาคือ ความคิดเห็นของตัวอย่างต่อสิ่งเสพติดประเภทเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์ ซึ่งผลสำรวจพบว่าตัวอย่างร้อยละ 66.2 ระบุคิดว่าเหล้าเป็นสิ่ง
เสพติด ในขณะที่ตัวอย่างร้อยละ 22.8 ระบุไม่เป็นสิ่งเสพติด และร้อยละ 11.0 ระบุไม่แน่ใจว่าเหล้าเป็นสิ่งเสพติดหรือไม่ นอกจากนี้ ตัวอย่างร้อย
ละ 56.5 ระบุคิดว่าเบียร์/ไวน์/สปายเป็นสิ่งเสพติด ในขณะที่ร้อยละ 28.8 ระบุไม่เป็นสิ่งเสพติด และร้อยละ 14.7 ระบุไม่แน่ใจว่าเป็นสิ่งเสพติด
หรือไม่ สำหรับเครื่องดื่มประเภทน้ำผลไม้ผสมแอลกอฮอลล์นั้น พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 37.3 ระบุคิดว่าเป็นสิ่งเสพติด ในขณะที่ร้อยละ 40.7 ระบุไม่
เป็นสิ่งเสพติด และร้อยละ 22.0 ระบุไม่แน่ใจว่าเป็นสิ่งเสพติดหรือไม่ และที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่งก็คือ ผลการสำรวจพบว่าเกือบ 1 ใน 3 หรือร้อย
ละ 27.5 ระบุคิดว่ายานอนหลับ/ยาคลายเครียดไม่เป็นสิ่งเสพติด ในขณะที่ตัวอย่างเกินกว่าครึ่งหนึ่งคือ ร้อยละ 53.2 ระบุคิดว่าเป็นสิ่งเสพติด และ
ร้อยละ 19.3 ระบุไม่แน่ใจว่าเป็นสิ่งเสพติดหรือไม่
“สำหรับความคิดเห็นของตัวอย่างเกี่ยวกับความเสี่ยงอันตรายต่อสุขภาพร่างกายจากการใช้สิ่งเสพติดประเภทต่างๆ นั้นพบว่า ตัวอย่างส่วน
ใหญ่คิดว่าการใช้สิ่งเสพติดประเภทต่างๆ นั้นมีความเสี่ยงอันตรายต่อสุขภาพร่างกาย อย่างไรก็ตามผลสำรวจพบว่า ถึงแม้จะรู้ว่าเสี่ยงอันตรายต่อ
สุขภาพ แต่ก็ยังมีเยาวชนบางส่วนที่มีพฤติกรรมเข้าไปใช้สิ่งเสพติดดังกล่าว โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสูบบุหรี่และการดื่มเหล้าหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์
ประเภทต่างๆ ซึ่งผลสำรวจพบว่าตัวอย่างร้อยละ 84.5 ระบุคิดว่าการสูบบุหรี่วันละ 1 ซองนั้นเสี่ยงอันตรายต่อสุขภาพของผู้สูบ ร้อยละ 85.9
ระบุคิดว่าการสูบบุหรี่ตั้งแต่ 1 ซองขึ้นไปต่อวันนั้นเสี่ยงอันตรายต่อสุขภาพของผู้สูบ แต่พบว่ามีตัวอย่างเยาวชนกว่าร้อยละ 10 ที่ระบุว่าตนเองนั้นเคย
สูบบุหรี่ตั้งแต่ 1 ซองขึ้นไปต่อวัน โดยในช่วง 3 เดือนที่ผ่านนั้นมีประมาณ 8 วันที่สูบบุหรี่ตั้งแต่ 1 ซองขึ้นไปต่อวัน สำหรับความคิดเห็นของ
ตัวอย่างต่อการดื่มเหล้านั้นพบว่า ตัวอย่างเกินกว่า 2 ใน 3 คือร้อยละ 78.0 ระบุคิดว่าการดื่มเหล้า 5 แก้วขึ้นไปต่อวันเป็นการเสี่ยงอันตรายต่อ
สุขภาพของผู้ดื่ม ร้อยละ 67.2 ระบุคิดว่าการดื่มเหล้า 5 แก้วขึ้นไปในช่วงสุดสัปดาห์เสี่ยงอันตรายต่อสุขภาพ ในขณะที่ตัวอย่างเกินกว่าครึ่งหนึ่งคือ
ร้อยละ 56.2 ระบุคิดว่าการดื่มเหล้าน้อยกว่า 5 แก้วต่อวันก็เสี่ยงอันตรายต่อสุขภาพของผู้ดื่มเช่นเดียวกัน แต่เป็นที่น่ากังวลว่าถึงแม้ส่วนใหญ่จะ
ตระหนักถึงความเสี่ยงอันตรายต่อสุขภาพที่เกิดจากการดื่มเหล้านั้น ผลสำรวจกลับพบว่ามีตัวอย่างเกือบ 1 ใน 3 คือร้อยละ 28.5 ที่ระบุว่าตนเองเคย
ดื่มเหล้าในช่วงสุดสัปดาห์ตั้งแต่ 5 แก้วขึ้นไปต่อครั้ง โดยในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมานั้นมีประมาณ 9 ครั้งที่ดื่มตั้งแต่ 5 แก้วขึ้นไปต่อวัน” ดร.นพดล
กล่าว
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า ประเด็นสำคัญที่ถือได้ว่าเป็นหัวใจสำคัญของการศึกษาในครั้งนี้ได้แก่ ผลการประมาณการจำนวนเยาวชนทั้งในระบบ
การศึกษาและนอกระบบการศึกษาจำนวนทั้งสิ้น 1,562,986 คน พบกลุ่มเยาวชนไทยที่ใช้สิ่งเสพติดประเภทต่างๆ จำแนกตามช่วงเวลาตลอด
ประสบการณ์ชีวิตที่ผ่านมา 5 อันดับแรก คือ
- บุหรี่ โดยผลประมาณการพบว่ามีจำนวนเยาวชนที่มีประสบการณ์ในการสูบบุหรี่ตลอดประสบการณ์ชีวิตที่ผ่านมาทั้งสิ้น 403,546 คน
(สี่แสนสามพันห้าร้อยสี่สิบหกคน)
- เบียร์/ไวน์/สปาย โดยผลประมาณการพบว่ามีจำนวนเยาวชนที่มีประสบการณ์ในการดื่มเบียร์ ไวน์ สปาย ตลอดประสบการณ์
ชีวิตที่ผ่านมาทั้งสิ้น 678,950 คน (หกแสนเจ็ดหมื่นแปดพันเก้าร้อยห้าสิบคน)
- เหล้า โดยผลประมาณการพบว่ามีจำนวนเยาวชนที่มีประสบการณ์ในการดื่มเหล้าตลอดประสบการณ์ชีวิตที่ผ่านมาทั้งสิ้น 635,816
คน (หกแสนสามหมื่นห้าพันแปดร้อยสิบหกคน)
- น้ำผลไม้ผสมเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์ โดยผลประมาณการพบว่ามีจำนวนเยาวชนที่มีประสบการณ์ในการดื่มน้ำผลไม้ผสมเครื่องดื่มแอลกอ
ฮอลล์ ตลอดประสบการณ์ชีวิตที่ผ่านมาทั้งสิ้น 518,364 คน (ห้าแสนหนึ่งหมื่นแปดพันสามร้อยหกสิบสี่คน) และ
- กัญชา ซึ่งผลประมาณการพบว่ามีจำนวนเยาวชนที่มีประสบการณ์ในการใช้กัญชาจำนวนทั้งสิ้น 111,917 คน (หนึ่งแสนหนึ่งหมื่นหนึ่งพัน
เก้าร้อยสิบเจ็ดคน)
“สิ่งที่น่าเป็นห่วงอย่างยิ่งคือ กลุ่มเยาวชนที่ใช้ยาบ้าในช่วง 30 วันที่ผ่านมาพบว่ามีอยู่มากถึง 41,666 คน เพิ่มขึ้นถึงกว่า 700% จาก
5,060 คนในการวิจัยที่เคยค้นพบช่วง 3 เดือนหลังประกาศสงครามยาเสพติด” ดร.นพดล กล่าว
สำหรับสาเหตุการกลับมาของยาเสพติดในทรรศนะของเยาวชนนั้น ผลการสำรวจของเอแบคโพลล์ พบว่า เจ้าหน้าที่ของรัฐปราบปรามยา
เสพติดไม่จริงจัง (ร้อยละ 69.1) รองลงมา คือ ความไม่ต่อเนื่องของนโยบายแก้ไขปัญหายาเสพติด (ร้อยละ 60.7) ปัญหาผู้มีอิทธิพล (ร้อยละ
53.9) บทลงโทษผู้เกี่ยวข้องกับยาเสพติดยังไม่รุนแรง (ร้อยละ 42.4) และยังมีแหล่งมั่วสุมของเยาวชน (ร้อยละ 38.8) ตามลำดับ
เมื่อสอบถามต่อไปถึงข้อเสนอแนะต่อรัฐบาลในการแก้ไขปัญหายาเสพติด นั้น พบว่า รัฐบาลควรมีการปราบปรามอย่างจริงจัง / มีการ
รณรงค์อย่างต่อเนื่อง (ร้อยละ 72.6) รองลงมา คือ ควรให้ความรู้กับเยาวชนเกี่ยวกับโทษของยาเสพติด (ร้อยละ 70.5) ส่งเสริมการทำกิจกรรม
เชิงสร้างสรรค์ให้กับเยาวชน (ร้อยละ 68.9) แก้ไขปัญหาผู้มีอิทธิพล (ร้อยละ 66.3) และลดพื้นที่เสี่ยงของเยาวชน (ร้อยละ 56.1) ตามลำดับ
ดร.นพดลกล่าวว่า ผลวิจัยครั้งนี้น่าจะสะท้อนให้เห็นว่า รัฐบาลรักษาการกำลังประสบกับความล้มเหลวในการแก้ปัญหายาเสพติดอย่างสิ้น
เชิง ทั้งๆ ที่นโยบายด้านการปราบปรามยาเสพติดของรัฐบาลเป็นนโยบายประชานิยมที่ได้รับความพึงพอใจจากประชาชนในระดับต้นๆ มาโดยตลอด
โดยผลวิจัยในครั้งนี้พบว่า ปัญหายาเสพติดกำลังกลับมาแพร่ระบาดและสร้างความเดือดร้อนให้กับประชาชนในระดับหมู่บ้าน/ชุมชน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
ในกลุ่มเยาวชนที่เป็นอนาคตของชาติ ซึ่งเป็นไปได้ว่าอาจจะเกิดจากความย่อหย่อนและความไม่ต่อเนื่องในการดำเนินนโยบายดังกล่าว ดัง
นั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้ง กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงยุติธรรมและสำนักงานตำรวจแห่งชาติ จำเป็นต้องเข้ามารับผิดชอบต่อสถานการณ์ปัญหายา
เสพติดที่กำลังกลับมารุนแรงมากขึ้นกว่าเดิมในขณะนี้ เพราะจำนวนเยาวชนไทยที่เข้าไปเกี่ยวข้องกับสิ่งเสพติดเพิ่มสูงขึ้นในทุกตัวยาโดยเฉพาะยาบ้าที่
เพิ่มสูงขึ้นหลายร้อยเปอร์เซ็นต์ นี่เฉพาะในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลเท่านั้น อย่างไรก็ตาม นอกเหนือจากหน่วยงานภาครัฐดังกล่าวข้างต้น
แล้ว ภาคเอกชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งร้านค้าที่จำหน่ายสิ่งเสพติดประเภทเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์ และบุหรี่ ควรจะต้องให้ความร่วมมือในการเคร่งครัด
เรื่องการจำหน่ายสิ่งเสพติดประเภทดังกล่าวให้กับกลุ่มเยาวชน ด้วยเช่นกัน
“ผลวิจัยชิ้นนี้น่าจะเป็นประโยชน์แจ้งเป็นสัญญาณเตือนภัยให้กับสังคมไทยตื่นตัวเฝ้าระวังปัญหายาเสพติดที่กำลังกลับมาทำลายคุณภาพของ
เยาวชนไทยที่น่ากลัวกว่าทุกครั้งที่ผ่านมาเพราะมัน (ยาเสพติด) กำลังเข้ามาในช่วงที่ประเทศไทยกำลังเผชิญวิกฤตการณ์สามด้านคือ การเมือง
เศรษฐกิจและสังคม ดังนั้น ประชาชนคงต้องดูแลตนเองในครอบครัวและชุมชนอย่างใกล้ชิดเพราะอำนาจทางการเมืองของรัฐบาลกำลังอ่อนแอ ข้า
ราชการประจำ เช่น ตำรวจ ทหาร เจ้าหน้าที่ ป.ป.ส. และหน่วยงานความมั่นคงภายในคงต้องสร้างความเชื่อมั่นศรัทธาของประชาชนต่อการแก้ไข
ปัญหายาเสพติดแทนกลุ่มนักการเมืองที่ดูเหมือนว่านักการเมืองกำลังให้ความสำคัญกับการช่วงชิงโอกาสเข้าสู่อำนาจและตำแหน่งทางการเมืองเพื่อบริหาร
ประเทศมากกว่าปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนในขณะนี้” ดร.นพดล กล่าวปิดท้าย
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อสิ่งเสพติดประเภทต่างๆ
ประเภท เป็นสิ่งเสพติดค่าร้อยละ ไม่เป็นสิ่งเสพติดค่าร้อยละ ไม่แน่ใจค่าร้อยละ รวมทั้งสิ้น
1. เหล้า 66.2 22.8 11.0 100.0
2. เบียร์/ไวน์/สปาย 56.5 28.8 14.7 100.0
3. น้ำผลไม้ผสมแอลกอฮอลล์ 37.3 40.7 22.0 100.0
4. บุหรี่ 86.3 10.0 3.7 100.0
5. ยาอี/เอ็กตาซี/ยาเลิฟ 90.2 7.7 2.1 100.0
6. ยาบ้า 91.1 7.6 1.3 100.0
7. กัญชา 90.5 8.0 1.5 100.0
8. สาระเหย/กาว/แล็ค 88.8 8.3 2.9 100.0
9. ยานอนหลับ/ยาคลายเครียด 53.2 27.5 19.3 100.0
10.กระท่อม 83.4 10.9 5.7 100.0
11. ยาเค/เคตามีน 87.3 8.2 4.5 100.0
12. ยาไอซ์ 85.6 8.6 5.8 100.0
13. มอร์ฟีน 87.3 8.4 4.3 100.0
14. ฝิ่น 89.2 8.0 2.8 100.0
15.โคเคน 88.3 8.0 3.7 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่มีความคิดเห็นต่อความเสี่ยงของบุคคลที่ใช้สิ่งเสพติดต่างๆ
ลักษณะการใช้ คิดว่าเสี่ยง คิดว่าไม่เสี่ยง ไม่มีความเห็น รวมทั้งสิ้น
1. สูบบุหรี่วันละ 1 ซองต่อวัน 84.5 6.1 9.4 100.0
2. สูบบุหรี่มากกว่า 1 ซองต่อวัน 85.9 5.0 9.1 100.0
3. ดื่มเหล้า 5 แก้วขึ้นไปในช่วงสุดสัปดาห์ 67.2 23.0 9.8 100.0
4. ดื่มเหล้าน้อยกว่า 5 แก้วต่อวัน 56.2 33.7 10.1 100.0
5. ดื่มเหล้า 5 แก้วขึ้นไปต่อวัน 78.0 11.7 10.3 100.0
6. สูบกัญชาบ้างเป็นบางครั้งบางคราว 74.5 14.9 10.6 100.0
7. สูบกัญชาเป็นประจำ 84.2 5.4 10.4 100.0
8. ใช้ยาขยัน ยาม้า หรือ ยาบ้าบ้างเป็นครั้งเป็นคราว 83.5 6.4 10.1 100.0
9. ใช้ยาขยัน ยาม้า หรือยาบ้าเป็นประจำ 85.3 4.7 10.0 100.0
10. ฉีดผงขาว (เฮโรอีน) บ้างบางครั้งบางคราว 84.3 5.5 10.2 100.0
11. ฉีดผงขาว (เฮโรอีน) เป็นประจำ 85.3 4.6 10.1 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการดื่มแอลกอฮอลล์อาทิ เหล้า เบียร์ ไวน์ ในช่วงสุดสัปดาห์
ตั้งแต่ 5 แก้วขึ้นไปต่อครั้งในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา
ลำดับที่ การดื่มแอลกอฮอลล์อาทิ เหล้า เบียร์ ไวน์ในช่วงสุดสัปดาห์ตั้งแต่ 5 แก้วขึ้นไปต่อครั้ง ค่าร้อยละ
1 เคย โดยเฉลี่ยมีประมาณ 9 ครั้ง ที่ดื่มตั้งแต่ 5 แก้วขึ้นไป 28.5
2 ไม่เคย 71.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการสูบบุหรี่ตั้งแต่ 1ซองขึ้นไปต่อวันในช่วง 3เดือนที่ผ่านมา
ลำดับที่ การสูบบุหรี่ตั้งแต่ 1ซองขึ้นไปต่อวัน ค่าร้อยละ
1 เคย โดยเฉลี่ยมีประมาณ 8 วันที่สูบบุหรี่ตั้งแต่ 1 ซองขึ้นไป 10.1
2 ไม่เคย 89.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อการกลับมาแพร่ระบาดของยาเสพติด
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 คิดว่ากลับมาแล้ว 54.3
2 คิดว่ายังไม่กลับมา 10.2
3 ไม่ทราบ 35.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุสถานที่ที่คิดว่ายาเสพติดกำลังกลับมาแพร่ระบาด
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ สถานที่ที่คิดว่ายาเสพติดกำลังกลับมาแพร่ระบาด ค่าร้อยละ
1 เธค/ผับ/สถานบันเทิง 58.0
2 โรงเรียน/สถานศึกษา 30.1
3 บริเวณใกล้เคียงกับชุมชนที่พักอาศัย 29.5
4 ในชุมชนที่พักอาศัย 21.8
5 สถานที่ก่อสร้าง 15.6
6 ที่ทำงาน 4.6
7 อื่น ๆ อาทิ ในชุมชนแออัดต่างๆ /ชุมชนใต้สะพานลอย /ที่รกร้าง เป็นต้น 3.9
ตารางที่ 7 ผลประมาณการจำนวนเยาวชนทั้งในระบบการศึกษาและนอกระบบการศึกษาที่ใช้สิ่งเสพติด
ประเภทต่าง ๆ จำแนกตามช่วงเวลา
ประเภทสิ่งเสพติด ใช้ตลอดประสบการณ์ชีวิต ใช้ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา ใช้ในช่วง 30 วันที่ผ่านมา
1. บุหรี่ 403,546 341,504 313,789
2. เหล้า 635,816 554,731 450,524
3. เบียร์/ไวน์/สปาย 678,950 554,511 442,849
4. น้ำผลไม้ผสมแอลกอฮอล์ 518,364 398,953 316,799
5. ยาบ้า 78,774 52,307 41,666
6. กัญชา 111,917 80,547 56,306
7. สารระเหย/กาว/แล็ค 47,408 29,554 27,683
8. กระท่อม 64,413 44930 36,702
9. ยาอี/เอ็กซ์ตาซี/ยาเลิฟ 49,443 39,062 32,395
10. ยานอนหลับ/ยาคลายเครียด 89,412 63,118 49,595
11. ยาไอซ์ 33,834 27,381 23,281
*** หมายเหตุ ฐานประชากรที่มีอายุ 12-24 ปี ในเขตกรุงเทพมหานคร นนทบุรี ปทุมธานี และสมุทรปราการ
จำนวนทั้งสิ้น 1,562,986 คน (หนึ่งล้านห้าแสนหกหมื่นสองพันเก้าร้อยแปดสิบหกคน)
ตารางที่ 8 เปรียบเทียบผลการประมาณการจำนวนเยาวชนที่ใช้ยาบ้า ระหว่างผลวิจัยช่วง 3 เดือนหลังประกาศ
สงครามยาเสพติด (พฤษภาคม 2546) กับผลวิจัยเดือน พฤษภาคม 2549
ช่วงเวลาของผลวิจัย ผลประมาณการเยาวชนที่ใช้ยาบ้า(คน) ส่วนต่าง (%)
ผลวิจัยช่วง 3 เดือนหลังประกาศสงครามยาเสพติด(พฤษภาคม 2546) 5,060 +723.4%
ผลสำรวจล่าสุด พฤษภาคม 2549 41,666 +723.4%
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุสาเหตุการกลับมาของยาเสพติด (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ สาเหตุการกลับมาของยาเสพติด ค่าร้อยละ
1 เจ้าหน้าที่ของรัฐปราบปรามยาเสพติดไม่จริงจัง 69.1
2 ความไม่ต่อเนื่องของนโยบายแก้ไขปัญหายาเสพติด 60.7
3 ปัญหาผู้มีอิทธิพล 53.9
4 บทลงโทษผู้เกี่ยวข้องกับยาเสพติดยังไม่รุนแรง 42.4
5 ยังมีแหล่งมั่วสุมของเยาวชน 38.8
6 ผู้เสพยังไม่ได้รับการบำบัด / ผู้เสพได้รับการบำบัดแล้วแต่กลับมาเสพอีก 22.4
7 สังคมยังไม่ยอมรับผู้ที่เคยติดยาเสพติดทำให้เกิดปัญหาการหันกลับมาเสพซ้ำ 19.9
8 อื่นๆ อาทิ สภาพเศรษฐกิจตกต่ำ/การฟื้นฟูบุคลากรยังไม่ครบวงจร /
กระบวนการของการสร้างงาน สร้างอาชีพยังไม่ดีพอ 10.3
ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุข้อเสนอแนะต่อรัฐบาลในการแก้ไขปัญหายาเสพติด
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ข้อเสนอแนะต่อรัฐบาล ค่าร้อยละ
1 รัฐบาลควรมีการปราบปรามอย่างจริงจัง / มีการรณรงค์อย่างต่อเนื่อง 72.6
2 ควรให้ความรู้กับเยาวชนเกี่ยวกับโทษของยาเสพติด 70.5
3 ส่งเสริมการทำกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์ให้กับเยาวชน 68.9
4 แก้ไขปัญหาผู้มีอิทธิพล 66.3
5 ลดพื้นที่เสี่ยงของเยาวชน 56.1
6 ส่งเสริมทางด้านอาชีพให้กับผู้ที่ติดยาเสพติด / คนว่างงาน ให้มีรายได้เลี้ยงครอบครัว /
แก้ปัญหาการว่างงาน 49.3
7 ผู้ติดยาเสพติดควรได้รับการบำบัดอย่างถูกต้อง และมีการติดตามผลการบำบัดอย่างต่อเนื่อง 30.5
8 แก้ไขปัญหาทางด้านเศรษฐกิจ/ปัญหาคนว่างงาน 19.8
9 กำจัดแหล่งมั่วสุมต่างๆ และเพิ่มบทลงโทษให้กับผู้ค้า ผู้ผลิต และผู้เสพยาเสพติด 11.2
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-
สาเหตุสำคัญที่ทำให้คุณภาพของเยาวชนไทยตกต่ำลงไปมากในปัจจุบัน จนกลายเป็นปัญหาวิกฤตคุณภาพเยาวชนไทยนั้น ส่วนหนึ่งเป็นเพราะ
เยาวชนอยู่ใกล้แหล่งอบายมุขและสิ่งเสพติดมากจนเกินไป ซึ่งจากผลวิจัยในโครงการเฝ้าระวังรักษาคุณภาพอนาคตเยาวชนไทยทุกครั้งที่ผ่านมาชี้ชัดให้
เห็นว่า สาเหตุที่เยาวชนเกี่ยวข้องกับอบายมุขและสิ่งเสพติดคือ การอยากลอง และการชักชวนของเพื่อน รวมทั้งการมีค่านิยมในการดำเนินชีวิตที่
ผิดๆ ซึ่งสถาบันครอบครัว/สถาบันการศึกษาต่างๆ ควรเร่งปรับทัศนคติและพฤติกรรมของเยาวชนให้อยู่ในแนวทางที่สร้างสรรค์และหันมาทำกิจกรรมที่พึง
ประสงค์ต่อสังคมให้มากขึ้น
ดังนั้นโครงการเฝ้าระวังรักษาคุณภาพเยาวชนไทยของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ในครั้งนี้ จึงมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาทัศนคติและพฤติกรรม
การใช้สิ่งเสพติดของกลุ่มเยาวชนที่มีอายุ 12-24 ปีในเขตกรุงเทพมหานคร นนทบุรี ปทุมธานี และสมุทรปราการ ทั้งนี้เพื่อทำให้เห็นทิศทางและแนวโน้ม
การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของเยาวชน ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถที่จะนำผลการศึกษาที่ได้ไปประกอบการพิจารณาวางแผน เพื่อดำเนินการ
ป้องกัน และแก้ไขปัญหาต่างๆ อย่างเร่งด่วนต่อไป
วัตถุประสงค์ในการทำวิจัย
1. เพื่อศึกษาถึงทัศนคติของเยาวชนที่มีต่อการใช้สิ่งเสพติดประเภทต่างๆ
2. เพื่อศึกษารูปแบบการใช้สิ่งเสพติดของกลุ่มเยาวชนในช่วงปิดภาคฤดูร้อน
3. เพื่อประมาณการจำนวนเยาวชนที่มีอายุ 12-24 ปี ที่พักอาศัยในระดับครัวเรือน หอพัก อพาร์ตเมนต์ และคอนโดมิเนียม
ที่ใช้สิ่งเสพติด
4. เพื่อเป็นข้อมูลสำคัญและนำเสนอต่อรัฐบาล หน่วยงานราชการ และองค์กรเอกชนที่เกี่ยวข้องใช้ประกอบการพิจารณาตัดสินใจดำเนิน
นโยบายหรือมาตรการที่เหมาะสมในการรักษาคุณภาพที่ดีของเยาวชนไทย
ระเบียบวิธีวิจัย
การวิจัยภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง “ทัศนคติการใช้สิ่งเสพติดในกลุ่มเยาวชนช่วงปิดภาคฤดูร้อน:
กรณีศึกษาตัวอย่างเยาวชนที่มีอายุ 12-24 ปี ที่พักอาศัยในระดับครัวเรือน หอพัก อพาร์ตเมนต์ และคอนโดมิเนียม ในเขตกรุงเทพมหานคร นนทบุรี
ปทุมธานี และสมุทรปราการ” ซึ่งคณะผู้วิจัยได้ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 20 เมษายน — 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2549
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือเยาวชนที่มีอายุ 12 — 24 ปี ในเขตกรุงเทพมหานคร นนทบุรี ปทุมธานี และสมุทรปราการ จำนวนทั้ง
สิ้น 1,562,986 คน (หนึ่งล้านห้าแสนหกหมื่นสองพันเก้าร้อยแปดสิบหกคน)
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified Sampling) ในการเลือกพื้นที่ตัวอย่างในเขตกรุงเทพ
มหานคร นนทบุรี ปทุมธานี และสมุทรปราการ และการสุ่มตัวอย่างแบบความเป็นไปได้ตามสัดส่วนของขนาดประชากร (Probability
Proportionate to Size Sampling) ในการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายระดับครัวเรือน (household) และแหล่งที่พักอาศัยอื่นๆ อาทิ หอพัก
อพาร์ตเมนต์ และคอนโดมิเนียม เป็นต้น
ขนาดของตัวอย่าง คือ 4,078 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องและสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณทั้งสิ้นเป็น
ของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
ตัวอย่าง ร้อยละ 50.4 เป็นเพศชาย
ร้อยละ 49.6 เป็นเพศหญิง
ร้อยละ 31.9 ระบุอายุ 12-15 ปี
ร้อยละ 29.9 ระบุอายุ 16-19 ปี
และร้อยละ 38.2 ระบุอายุ 20-24 ปี
เมื่อพิจารณาสถานภาพทางการศึกษาของตัวอย่างพบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 4.6 ระบุไม่ได้เรียนหนังสือเลย
ในขณะที่ร้อยละ 71.9 ระบุเป็นนักเรียน/นักศึกษา
และร้อยละ 23.5 ระบุสำเร็จการศึกษาแล้ว และไม่ได้ศึกษาต่อ
ตัวอย่าง ร้อยละ 71.3 ระบุประเภทที่พักอาศัยเป็นบ้านเดี่ยว/ทาวน์เฮาส์/อาคารพานิชย์
ร้อยละ 15.2 ระบุเป็นหอพัก
ร้อยละ 8.0 ระบุเป็นอพาร์ตเมนต์/แมนชั่น/คอนโดมิเนียม
และร้อยละ 5.5 ระบุที่พักอาศัยประเภทอื่นอาทิวัด/โบสถ์ /มัสยิด
และเมื่อพิจารณาถึงบุคคลที่ตัวอย่างพักอาศัยอยู่ด้วยในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมานั้นพบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 61.9 พักอาศัยกับบิดามารดา
รองลงมาคือร้อยละ 16.5 พักอาศัยกับญาติ/พี่น้อง
ร้อยละ 7.9 พักอาศัยเพียงลำพังคนเดียว
ในขณะที่ร้อยละ 10.7 พักอาศัยอยู่กับเพื่อน
และร้อยละ 3.0 ระบุพักอาศัยอยู่กับคู่รัก/แฟน/ครูอาจารย์ และผู้ปกครองที่ไม่ใช่ญาติ เป็นต้น
บทสรุปผลสำรวจ
ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในฐานะที่ปรึกษาเครือข่ายวิชาการสารเสพติดของสำนัก
งาน ป.ป.ส. และหัวหน้าโครงการวิจัย ได้เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง “ทัศนคติการใช้สิ่งเสพติดในกลุ่มเยาวชนช่วงปิดภาคฤดูร้อน” ในครั้งนี้ ได้
ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลจากเยาวชนที่มีอายุ 12-24 ปี ที่พักอาศัยในระดับครัวเรือน และที่พักอาศัยประเภทอื่นๆ อาทิ หอพัก อพาร์ตเมนต์ และ
คอนโดมิเนียม ในเขตกรุงเทพมหานคร นนทบุรี ปทุมธานี และสมุทรปราการ จำนวนทั้งสิ้น 4,078 ตัวอย่าง ซึ่งมีระยะเวลาการดำเนินโครงการ
ระหว่างวันที่ 20 เมษายน - 13 พฤษภาคม 2549 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจดังนี้
ดร.นพดลกล่าวว่า ผลการสำรวจของเอแบคโพลล์ในประเด็นความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสิ่งเสพติดประเภทต่างๆนั้นพบประเด็นที่น่า
พิจารณาคือ ความคิดเห็นของตัวอย่างต่อสิ่งเสพติดประเภทเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์ ซึ่งผลสำรวจพบว่าตัวอย่างร้อยละ 66.2 ระบุคิดว่าเหล้าเป็นสิ่ง
เสพติด ในขณะที่ตัวอย่างร้อยละ 22.8 ระบุไม่เป็นสิ่งเสพติด และร้อยละ 11.0 ระบุไม่แน่ใจว่าเหล้าเป็นสิ่งเสพติดหรือไม่ นอกจากนี้ ตัวอย่างร้อย
ละ 56.5 ระบุคิดว่าเบียร์/ไวน์/สปายเป็นสิ่งเสพติด ในขณะที่ร้อยละ 28.8 ระบุไม่เป็นสิ่งเสพติด และร้อยละ 14.7 ระบุไม่แน่ใจว่าเป็นสิ่งเสพติด
หรือไม่ สำหรับเครื่องดื่มประเภทน้ำผลไม้ผสมแอลกอฮอลล์นั้น พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 37.3 ระบุคิดว่าเป็นสิ่งเสพติด ในขณะที่ร้อยละ 40.7 ระบุไม่
เป็นสิ่งเสพติด และร้อยละ 22.0 ระบุไม่แน่ใจว่าเป็นสิ่งเสพติดหรือไม่ และที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่งก็คือ ผลการสำรวจพบว่าเกือบ 1 ใน 3 หรือร้อย
ละ 27.5 ระบุคิดว่ายานอนหลับ/ยาคลายเครียดไม่เป็นสิ่งเสพติด ในขณะที่ตัวอย่างเกินกว่าครึ่งหนึ่งคือ ร้อยละ 53.2 ระบุคิดว่าเป็นสิ่งเสพติด และ
ร้อยละ 19.3 ระบุไม่แน่ใจว่าเป็นสิ่งเสพติดหรือไม่
“สำหรับความคิดเห็นของตัวอย่างเกี่ยวกับความเสี่ยงอันตรายต่อสุขภาพร่างกายจากการใช้สิ่งเสพติดประเภทต่างๆ นั้นพบว่า ตัวอย่างส่วน
ใหญ่คิดว่าการใช้สิ่งเสพติดประเภทต่างๆ นั้นมีความเสี่ยงอันตรายต่อสุขภาพร่างกาย อย่างไรก็ตามผลสำรวจพบว่า ถึงแม้จะรู้ว่าเสี่ยงอันตรายต่อ
สุขภาพ แต่ก็ยังมีเยาวชนบางส่วนที่มีพฤติกรรมเข้าไปใช้สิ่งเสพติดดังกล่าว โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสูบบุหรี่และการดื่มเหล้าหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์
ประเภทต่างๆ ซึ่งผลสำรวจพบว่าตัวอย่างร้อยละ 84.5 ระบุคิดว่าการสูบบุหรี่วันละ 1 ซองนั้นเสี่ยงอันตรายต่อสุขภาพของผู้สูบ ร้อยละ 85.9
ระบุคิดว่าการสูบบุหรี่ตั้งแต่ 1 ซองขึ้นไปต่อวันนั้นเสี่ยงอันตรายต่อสุขภาพของผู้สูบ แต่พบว่ามีตัวอย่างเยาวชนกว่าร้อยละ 10 ที่ระบุว่าตนเองนั้นเคย
สูบบุหรี่ตั้งแต่ 1 ซองขึ้นไปต่อวัน โดยในช่วง 3 เดือนที่ผ่านนั้นมีประมาณ 8 วันที่สูบบุหรี่ตั้งแต่ 1 ซองขึ้นไปต่อวัน สำหรับความคิดเห็นของ
ตัวอย่างต่อการดื่มเหล้านั้นพบว่า ตัวอย่างเกินกว่า 2 ใน 3 คือร้อยละ 78.0 ระบุคิดว่าการดื่มเหล้า 5 แก้วขึ้นไปต่อวันเป็นการเสี่ยงอันตรายต่อ
สุขภาพของผู้ดื่ม ร้อยละ 67.2 ระบุคิดว่าการดื่มเหล้า 5 แก้วขึ้นไปในช่วงสุดสัปดาห์เสี่ยงอันตรายต่อสุขภาพ ในขณะที่ตัวอย่างเกินกว่าครึ่งหนึ่งคือ
ร้อยละ 56.2 ระบุคิดว่าการดื่มเหล้าน้อยกว่า 5 แก้วต่อวันก็เสี่ยงอันตรายต่อสุขภาพของผู้ดื่มเช่นเดียวกัน แต่เป็นที่น่ากังวลว่าถึงแม้ส่วนใหญ่จะ
ตระหนักถึงความเสี่ยงอันตรายต่อสุขภาพที่เกิดจากการดื่มเหล้านั้น ผลสำรวจกลับพบว่ามีตัวอย่างเกือบ 1 ใน 3 คือร้อยละ 28.5 ที่ระบุว่าตนเองเคย
ดื่มเหล้าในช่วงสุดสัปดาห์ตั้งแต่ 5 แก้วขึ้นไปต่อครั้ง โดยในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมานั้นมีประมาณ 9 ครั้งที่ดื่มตั้งแต่ 5 แก้วขึ้นไปต่อวัน” ดร.นพดล
กล่าว
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า ประเด็นสำคัญที่ถือได้ว่าเป็นหัวใจสำคัญของการศึกษาในครั้งนี้ได้แก่ ผลการประมาณการจำนวนเยาวชนทั้งในระบบ
การศึกษาและนอกระบบการศึกษาจำนวนทั้งสิ้น 1,562,986 คน พบกลุ่มเยาวชนไทยที่ใช้สิ่งเสพติดประเภทต่างๆ จำแนกตามช่วงเวลาตลอด
ประสบการณ์ชีวิตที่ผ่านมา 5 อันดับแรก คือ
- บุหรี่ โดยผลประมาณการพบว่ามีจำนวนเยาวชนที่มีประสบการณ์ในการสูบบุหรี่ตลอดประสบการณ์ชีวิตที่ผ่านมาทั้งสิ้น 403,546 คน
(สี่แสนสามพันห้าร้อยสี่สิบหกคน)
- เบียร์/ไวน์/สปาย โดยผลประมาณการพบว่ามีจำนวนเยาวชนที่มีประสบการณ์ในการดื่มเบียร์ ไวน์ สปาย ตลอดประสบการณ์
ชีวิตที่ผ่านมาทั้งสิ้น 678,950 คน (หกแสนเจ็ดหมื่นแปดพันเก้าร้อยห้าสิบคน)
- เหล้า โดยผลประมาณการพบว่ามีจำนวนเยาวชนที่มีประสบการณ์ในการดื่มเหล้าตลอดประสบการณ์ชีวิตที่ผ่านมาทั้งสิ้น 635,816
คน (หกแสนสามหมื่นห้าพันแปดร้อยสิบหกคน)
- น้ำผลไม้ผสมเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์ โดยผลประมาณการพบว่ามีจำนวนเยาวชนที่มีประสบการณ์ในการดื่มน้ำผลไม้ผสมเครื่องดื่มแอลกอ
ฮอลล์ ตลอดประสบการณ์ชีวิตที่ผ่านมาทั้งสิ้น 518,364 คน (ห้าแสนหนึ่งหมื่นแปดพันสามร้อยหกสิบสี่คน) และ
- กัญชา ซึ่งผลประมาณการพบว่ามีจำนวนเยาวชนที่มีประสบการณ์ในการใช้กัญชาจำนวนทั้งสิ้น 111,917 คน (หนึ่งแสนหนึ่งหมื่นหนึ่งพัน
เก้าร้อยสิบเจ็ดคน)
“สิ่งที่น่าเป็นห่วงอย่างยิ่งคือ กลุ่มเยาวชนที่ใช้ยาบ้าในช่วง 30 วันที่ผ่านมาพบว่ามีอยู่มากถึง 41,666 คน เพิ่มขึ้นถึงกว่า 700% จาก
5,060 คนในการวิจัยที่เคยค้นพบช่วง 3 เดือนหลังประกาศสงครามยาเสพติด” ดร.นพดล กล่าว
สำหรับสาเหตุการกลับมาของยาเสพติดในทรรศนะของเยาวชนนั้น ผลการสำรวจของเอแบคโพลล์ พบว่า เจ้าหน้าที่ของรัฐปราบปรามยา
เสพติดไม่จริงจัง (ร้อยละ 69.1) รองลงมา คือ ความไม่ต่อเนื่องของนโยบายแก้ไขปัญหายาเสพติด (ร้อยละ 60.7) ปัญหาผู้มีอิทธิพล (ร้อยละ
53.9) บทลงโทษผู้เกี่ยวข้องกับยาเสพติดยังไม่รุนแรง (ร้อยละ 42.4) และยังมีแหล่งมั่วสุมของเยาวชน (ร้อยละ 38.8) ตามลำดับ
เมื่อสอบถามต่อไปถึงข้อเสนอแนะต่อรัฐบาลในการแก้ไขปัญหายาเสพติด นั้น พบว่า รัฐบาลควรมีการปราบปรามอย่างจริงจัง / มีการ
รณรงค์อย่างต่อเนื่อง (ร้อยละ 72.6) รองลงมา คือ ควรให้ความรู้กับเยาวชนเกี่ยวกับโทษของยาเสพติด (ร้อยละ 70.5) ส่งเสริมการทำกิจกรรม
เชิงสร้างสรรค์ให้กับเยาวชน (ร้อยละ 68.9) แก้ไขปัญหาผู้มีอิทธิพล (ร้อยละ 66.3) และลดพื้นที่เสี่ยงของเยาวชน (ร้อยละ 56.1) ตามลำดับ
ดร.นพดลกล่าวว่า ผลวิจัยครั้งนี้น่าจะสะท้อนให้เห็นว่า รัฐบาลรักษาการกำลังประสบกับความล้มเหลวในการแก้ปัญหายาเสพติดอย่างสิ้น
เชิง ทั้งๆ ที่นโยบายด้านการปราบปรามยาเสพติดของรัฐบาลเป็นนโยบายประชานิยมที่ได้รับความพึงพอใจจากประชาชนในระดับต้นๆ มาโดยตลอด
โดยผลวิจัยในครั้งนี้พบว่า ปัญหายาเสพติดกำลังกลับมาแพร่ระบาดและสร้างความเดือดร้อนให้กับประชาชนในระดับหมู่บ้าน/ชุมชน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
ในกลุ่มเยาวชนที่เป็นอนาคตของชาติ ซึ่งเป็นไปได้ว่าอาจจะเกิดจากความย่อหย่อนและความไม่ต่อเนื่องในการดำเนินนโยบายดังกล่าว ดัง
นั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้ง กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงยุติธรรมและสำนักงานตำรวจแห่งชาติ จำเป็นต้องเข้ามารับผิดชอบต่อสถานการณ์ปัญหายา
เสพติดที่กำลังกลับมารุนแรงมากขึ้นกว่าเดิมในขณะนี้ เพราะจำนวนเยาวชนไทยที่เข้าไปเกี่ยวข้องกับสิ่งเสพติดเพิ่มสูงขึ้นในทุกตัวยาโดยเฉพาะยาบ้าที่
เพิ่มสูงขึ้นหลายร้อยเปอร์เซ็นต์ นี่เฉพาะในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลเท่านั้น อย่างไรก็ตาม นอกเหนือจากหน่วยงานภาครัฐดังกล่าวข้างต้น
แล้ว ภาคเอกชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งร้านค้าที่จำหน่ายสิ่งเสพติดประเภทเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์ และบุหรี่ ควรจะต้องให้ความร่วมมือในการเคร่งครัด
เรื่องการจำหน่ายสิ่งเสพติดประเภทดังกล่าวให้กับกลุ่มเยาวชน ด้วยเช่นกัน
“ผลวิจัยชิ้นนี้น่าจะเป็นประโยชน์แจ้งเป็นสัญญาณเตือนภัยให้กับสังคมไทยตื่นตัวเฝ้าระวังปัญหายาเสพติดที่กำลังกลับมาทำลายคุณภาพของ
เยาวชนไทยที่น่ากลัวกว่าทุกครั้งที่ผ่านมาเพราะมัน (ยาเสพติด) กำลังเข้ามาในช่วงที่ประเทศไทยกำลังเผชิญวิกฤตการณ์สามด้านคือ การเมือง
เศรษฐกิจและสังคม ดังนั้น ประชาชนคงต้องดูแลตนเองในครอบครัวและชุมชนอย่างใกล้ชิดเพราะอำนาจทางการเมืองของรัฐบาลกำลังอ่อนแอ ข้า
ราชการประจำ เช่น ตำรวจ ทหาร เจ้าหน้าที่ ป.ป.ส. และหน่วยงานความมั่นคงภายในคงต้องสร้างความเชื่อมั่นศรัทธาของประชาชนต่อการแก้ไข
ปัญหายาเสพติดแทนกลุ่มนักการเมืองที่ดูเหมือนว่านักการเมืองกำลังให้ความสำคัญกับการช่วงชิงโอกาสเข้าสู่อำนาจและตำแหน่งทางการเมืองเพื่อบริหาร
ประเทศมากกว่าปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนในขณะนี้” ดร.นพดล กล่าวปิดท้าย
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อสิ่งเสพติดประเภทต่างๆ
ประเภท เป็นสิ่งเสพติดค่าร้อยละ ไม่เป็นสิ่งเสพติดค่าร้อยละ ไม่แน่ใจค่าร้อยละ รวมทั้งสิ้น
1. เหล้า 66.2 22.8 11.0 100.0
2. เบียร์/ไวน์/สปาย 56.5 28.8 14.7 100.0
3. น้ำผลไม้ผสมแอลกอฮอลล์ 37.3 40.7 22.0 100.0
4. บุหรี่ 86.3 10.0 3.7 100.0
5. ยาอี/เอ็กตาซี/ยาเลิฟ 90.2 7.7 2.1 100.0
6. ยาบ้า 91.1 7.6 1.3 100.0
7. กัญชา 90.5 8.0 1.5 100.0
8. สาระเหย/กาว/แล็ค 88.8 8.3 2.9 100.0
9. ยานอนหลับ/ยาคลายเครียด 53.2 27.5 19.3 100.0
10.กระท่อม 83.4 10.9 5.7 100.0
11. ยาเค/เคตามีน 87.3 8.2 4.5 100.0
12. ยาไอซ์ 85.6 8.6 5.8 100.0
13. มอร์ฟีน 87.3 8.4 4.3 100.0
14. ฝิ่น 89.2 8.0 2.8 100.0
15.โคเคน 88.3 8.0 3.7 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่มีความคิดเห็นต่อความเสี่ยงของบุคคลที่ใช้สิ่งเสพติดต่างๆ
ลักษณะการใช้ คิดว่าเสี่ยง คิดว่าไม่เสี่ยง ไม่มีความเห็น รวมทั้งสิ้น
1. สูบบุหรี่วันละ 1 ซองต่อวัน 84.5 6.1 9.4 100.0
2. สูบบุหรี่มากกว่า 1 ซองต่อวัน 85.9 5.0 9.1 100.0
3. ดื่มเหล้า 5 แก้วขึ้นไปในช่วงสุดสัปดาห์ 67.2 23.0 9.8 100.0
4. ดื่มเหล้าน้อยกว่า 5 แก้วต่อวัน 56.2 33.7 10.1 100.0
5. ดื่มเหล้า 5 แก้วขึ้นไปต่อวัน 78.0 11.7 10.3 100.0
6. สูบกัญชาบ้างเป็นบางครั้งบางคราว 74.5 14.9 10.6 100.0
7. สูบกัญชาเป็นประจำ 84.2 5.4 10.4 100.0
8. ใช้ยาขยัน ยาม้า หรือ ยาบ้าบ้างเป็นครั้งเป็นคราว 83.5 6.4 10.1 100.0
9. ใช้ยาขยัน ยาม้า หรือยาบ้าเป็นประจำ 85.3 4.7 10.0 100.0
10. ฉีดผงขาว (เฮโรอีน) บ้างบางครั้งบางคราว 84.3 5.5 10.2 100.0
11. ฉีดผงขาว (เฮโรอีน) เป็นประจำ 85.3 4.6 10.1 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการดื่มแอลกอฮอลล์อาทิ เหล้า เบียร์ ไวน์ ในช่วงสุดสัปดาห์
ตั้งแต่ 5 แก้วขึ้นไปต่อครั้งในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา
ลำดับที่ การดื่มแอลกอฮอลล์อาทิ เหล้า เบียร์ ไวน์ในช่วงสุดสัปดาห์ตั้งแต่ 5 แก้วขึ้นไปต่อครั้ง ค่าร้อยละ
1 เคย โดยเฉลี่ยมีประมาณ 9 ครั้ง ที่ดื่มตั้งแต่ 5 แก้วขึ้นไป 28.5
2 ไม่เคย 71.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการสูบบุหรี่ตั้งแต่ 1ซองขึ้นไปต่อวันในช่วง 3เดือนที่ผ่านมา
ลำดับที่ การสูบบุหรี่ตั้งแต่ 1ซองขึ้นไปต่อวัน ค่าร้อยละ
1 เคย โดยเฉลี่ยมีประมาณ 8 วันที่สูบบุหรี่ตั้งแต่ 1 ซองขึ้นไป 10.1
2 ไม่เคย 89.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อการกลับมาแพร่ระบาดของยาเสพติด
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 คิดว่ากลับมาแล้ว 54.3
2 คิดว่ายังไม่กลับมา 10.2
3 ไม่ทราบ 35.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุสถานที่ที่คิดว่ายาเสพติดกำลังกลับมาแพร่ระบาด
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ สถานที่ที่คิดว่ายาเสพติดกำลังกลับมาแพร่ระบาด ค่าร้อยละ
1 เธค/ผับ/สถานบันเทิง 58.0
2 โรงเรียน/สถานศึกษา 30.1
3 บริเวณใกล้เคียงกับชุมชนที่พักอาศัย 29.5
4 ในชุมชนที่พักอาศัย 21.8
5 สถานที่ก่อสร้าง 15.6
6 ที่ทำงาน 4.6
7 อื่น ๆ อาทิ ในชุมชนแออัดต่างๆ /ชุมชนใต้สะพานลอย /ที่รกร้าง เป็นต้น 3.9
ตารางที่ 7 ผลประมาณการจำนวนเยาวชนทั้งในระบบการศึกษาและนอกระบบการศึกษาที่ใช้สิ่งเสพติด
ประเภทต่าง ๆ จำแนกตามช่วงเวลา
ประเภทสิ่งเสพติด ใช้ตลอดประสบการณ์ชีวิต ใช้ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา ใช้ในช่วง 30 วันที่ผ่านมา
1. บุหรี่ 403,546 341,504 313,789
2. เหล้า 635,816 554,731 450,524
3. เบียร์/ไวน์/สปาย 678,950 554,511 442,849
4. น้ำผลไม้ผสมแอลกอฮอล์ 518,364 398,953 316,799
5. ยาบ้า 78,774 52,307 41,666
6. กัญชา 111,917 80,547 56,306
7. สารระเหย/กาว/แล็ค 47,408 29,554 27,683
8. กระท่อม 64,413 44930 36,702
9. ยาอี/เอ็กซ์ตาซี/ยาเลิฟ 49,443 39,062 32,395
10. ยานอนหลับ/ยาคลายเครียด 89,412 63,118 49,595
11. ยาไอซ์ 33,834 27,381 23,281
*** หมายเหตุ ฐานประชากรที่มีอายุ 12-24 ปี ในเขตกรุงเทพมหานคร นนทบุรี ปทุมธานี และสมุทรปราการ
จำนวนทั้งสิ้น 1,562,986 คน (หนึ่งล้านห้าแสนหกหมื่นสองพันเก้าร้อยแปดสิบหกคน)
ตารางที่ 8 เปรียบเทียบผลการประมาณการจำนวนเยาวชนที่ใช้ยาบ้า ระหว่างผลวิจัยช่วง 3 เดือนหลังประกาศ
สงครามยาเสพติด (พฤษภาคม 2546) กับผลวิจัยเดือน พฤษภาคม 2549
ช่วงเวลาของผลวิจัย ผลประมาณการเยาวชนที่ใช้ยาบ้า(คน) ส่วนต่าง (%)
ผลวิจัยช่วง 3 เดือนหลังประกาศสงครามยาเสพติด(พฤษภาคม 2546) 5,060 +723.4%
ผลสำรวจล่าสุด พฤษภาคม 2549 41,666 +723.4%
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุสาเหตุการกลับมาของยาเสพติด (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ สาเหตุการกลับมาของยาเสพติด ค่าร้อยละ
1 เจ้าหน้าที่ของรัฐปราบปรามยาเสพติดไม่จริงจัง 69.1
2 ความไม่ต่อเนื่องของนโยบายแก้ไขปัญหายาเสพติด 60.7
3 ปัญหาผู้มีอิทธิพล 53.9
4 บทลงโทษผู้เกี่ยวข้องกับยาเสพติดยังไม่รุนแรง 42.4
5 ยังมีแหล่งมั่วสุมของเยาวชน 38.8
6 ผู้เสพยังไม่ได้รับการบำบัด / ผู้เสพได้รับการบำบัดแล้วแต่กลับมาเสพอีก 22.4
7 สังคมยังไม่ยอมรับผู้ที่เคยติดยาเสพติดทำให้เกิดปัญหาการหันกลับมาเสพซ้ำ 19.9
8 อื่นๆ อาทิ สภาพเศรษฐกิจตกต่ำ/การฟื้นฟูบุคลากรยังไม่ครบวงจร /
กระบวนการของการสร้างงาน สร้างอาชีพยังไม่ดีพอ 10.3
ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุข้อเสนอแนะต่อรัฐบาลในการแก้ไขปัญหายาเสพติด
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ข้อเสนอแนะต่อรัฐบาล ค่าร้อยละ
1 รัฐบาลควรมีการปราบปรามอย่างจริงจัง / มีการรณรงค์อย่างต่อเนื่อง 72.6
2 ควรให้ความรู้กับเยาวชนเกี่ยวกับโทษของยาเสพติด 70.5
3 ส่งเสริมการทำกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์ให้กับเยาวชน 68.9
4 แก้ไขปัญหาผู้มีอิทธิพล 66.3
5 ลดพื้นที่เสี่ยงของเยาวชน 56.1
6 ส่งเสริมทางด้านอาชีพให้กับผู้ที่ติดยาเสพติด / คนว่างงาน ให้มีรายได้เลี้ยงครอบครัว /
แก้ปัญหาการว่างงาน 49.3
7 ผู้ติดยาเสพติดควรได้รับการบำบัดอย่างถูกต้อง และมีการติดตามผลการบำบัดอย่างต่อเนื่อง 30.5
8 แก้ไขปัญหาทางด้านเศรษฐกิจ/ปัญหาคนว่างงาน 19.8
9 กำจัดแหล่งมั่วสุมต่างๆ และเพิ่มบทลงโทษให้กับผู้ค้า ผู้ผลิต และผู้เสพยาเสพติด 11.2
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-