เอแบคโพลล์: วิกฤตการเมือง วิกฤตเศรษฐกิจ และโอกาสทางสังคมในสายตาประชาชน

ข่าวผลสำรวจ Monday March 2, 2009 07:26 —เอแบคโพลล์

ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลวิจัยเรื่อง วิกฤตการเมือง วิกฤตเศรษฐกิจ และโอกาสทางสังคมในสายตาประชาชน กรณีศึกษาประชาชนใน 18 จังหวัดทั่วประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร พะเยา เพชรบูรณ์ เชียงใหม่ สมุทรสงคราม ปราจีนบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ระยอง กาญจนบุรี หนองคาย สกลนคร สุรินทร์ อุดรธานี ขอนแก่น นครราชสีมา พัทลุง สุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช จำนวนตัวอย่างทั้งสิ้น 2,038 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 20 — 28 กุมภาพันธ์ 2552 ผลสำรวจพบว่า ในช่วง 30 วันที่ผ่านมา ประชาชนที่ถูกศึกษาส่วนใหญ่หรือประมาณร้อยละ 80 ยังคงติดตามข่าวการเมืองผ่านสื่อมวลชนเป็นประจำทุกสัปดาห์

ที่น่าพิจารณาคือ ประชาชนประมาณครึ่งหนึ่งหรือร้อยละ 50.4 ระบุว่าการเมืองอยู่ในสภาวะที่ดีในช่วง 30 วันที่ผ่านมา โดยร้อยละ 31.9 ระบุดีขึ้นและร้อยละ 18.5 ระบุว่าดีเหมือนเดิม อย่างไรก็ตาม อีกประมาณครึ่งหนึ่งเช่นกันหรือร้อยละ 49.6 ระบุว่าการเมืองไทยยังอยู่ใน สภาวะที่แย่ คือร้อยละ 30.5 ระบุแย่เหมือนเดิมและร้อยละ 19.1 ระบุว่าแย่ลง

ที่น่าสนใจคือ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 64.1 คิดว่าการเมืองไทยในช่วง 6 เดือนข้างหน้าจะอยู่ในเกณฑ์ดี โดยร้อยละ 50.9 คิดว่าจะดีขึ้น และร้อยละ 13.2 คิดว่าจะดีเหมือนเดิม ในขณะที่ ร้อยละ 35.9 คิดว่าการเมืองในอีก 6 เดือนข้างหน้ายังจะแย่อยู่ โดยร้อยละ 19.3 คิดว่าจะแย่ เหมือนเดิม และร้อยละ 16.6 คิดว่าจะแย่ลง

เมื่อถามถึง เศรษฐกิจไทยในช่วง 30 วันที่ผ่านมา พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 66.4 มองว่าเศรษฐกิจไทยอยู่ในสภาวะที่แย่ คือร้อยละ 28.5 มองว่าเศรษฐกิจไทยแย่เหมือนเดิม และร้อยละ 37.9 มองว่าแย่ลง ในขณะที่ ร้อยละ 33.6 ยังมองว่าเศรษฐกิจไทยยังอยู่ในเกณฑ์ดี คือร้อย ละ 18.0 มองว่าดีเหมือนเดิม และร้อยละ 15.6 มองว่าดีขึ้น

ที่น่าพิจารณาคือ ผลสำรวจพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 58.1 มีความหวังว่าเศรษฐกิจไทยในอีก 6 เดือนข้างหน้าจะอยู่ในสภาวะ ที่ดี โดยร้อยละ 46.6 หวังว่าเศรษฐกิจไทยในอีก 6 เดือนข้างหน้าจะดีขึ้น ร้อยละ 11.5 คิดว่าจะดีเหมือนเดิม ในขณะที่ร้อยละ 41.9 คิดว่า เศรษฐกิจไทยในอีก 6 เดือนข้างหน้ายังจะแย่อยู่ โดยร้อยละ 19.5 คิดว่าจะแย่เหมือนเดิม และร้อยละ 22.4 คิดว่าจะแย่ลง

ที่น่าเป็นห่วงคือ ในช่วง 30 วันที่ผ่านมา ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 62.4 ได้รับผลกระทบจากสภาวะเศรษฐกิจถดถอยในเรื่องของ ราคาอาหาร รองลงมาคือ ร้อยละ 57.8 ได้รับผลกระทบในเรื่องของหน้าที่การงานโดยภาพรวม ร้อยละ 57.1 รู้สึกไม่มั่นคงในหน้าที่การงาน ร้อย ละ 50.8 กำลังหางานทำ เริ่มหางานใหม่ และหางานเสริมทำ ร้อยละ 50.1 ได้รับผลกระทบในเรื่องสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ในชีวิต ร้อยละ 43.1 ได้รับผลกระทบในเรื่องชีวิตความเป็นอยู่ของคนในครอบครัว ร้อยละ 41.2 ได้รับผลกระทบในเรื่องเสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่ม ร้อยละ 37.0 ได้รับ ผลกระทบในเรื่องที่อยู่อาศัย ร้อยละ 34.5 ได้รับผลกระทบในเรื่องยารักษาโรค การรักษาพยาบาล และประมาณ 1 ใน 3 หรือร้อยละ 33.2 ได้รับ ผลกระทบต่อความสัมพันธ์ของคนในครอบครัว

ผลสำรวจยังพบด้วยว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 86.7 ไม่ได้ติดต่อขอรับเช็ค 2,000 บาทที่รัฐบาลมอบให้ผู้ประกันตนกับสำนักงานประกัน สังคม ในขณะที่ร้อยละ 13.3 ได้ติดต่อขอรับเช็คดังกล่าวแล้ว นอกจากนี้ ที่น่าเป็นห่วงคือ ประชาชนก้ำกึ่งกันคือ ร้อยละ 49.5 ของผู้ที่ติดต่อรับเช็ค 2,000 บาทจากรัฐบาลระบุว่าจะเก็บไว้กับตัวก่อน ในขณะที่ร้อยละ 50.5 บอกว่าจะใช้จ่ายทันที

ดร.นพดล กล่าวต่อว่า โอกาสทางสังคมที่ประชาชนอยากให้คนไทยร่วมกันทำเพื่อให้สถานการณ์ต่างๆ ของประเทศดีขึ้น คือ ส่วนใหญ่หรือ ร้อยละ 84.8 ระบุการปฏิบัติตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงเป็นโอกาสทางสังคมที่อยากให้คนไทยทำเพื่อให้สถานการณ์ของประเทศดีขึ้น รองลงมาคือ ร้อย ละ 82.0 ระบุการแบ่งปันช่วยเหลือกันและกันให้แก่เพื่อนบ้าน ร้อยละ 81.7 ระบุแสดงความเป็นมิตรต่อกันและกัน ร้อยละ 81.1 ระบุเกื้อกูลกันและกัน กับผู้อื่น ร้อยละ 78.6 ระบุทำกิจกรรมทางศาสนาร่วมกัน ร้อยละ 76.2 ระบุช่วยกันดูแลรักษาทรัพย์สินของสาธารณะ เช่น ตู้โทรศัพท์ ไฟฟ้าส่องสว่าง ร้อยละ 74.4 ระบุช่วยกันสอดส่องดูแลความปลอดภัยของคนในชุมชน ร้อยละ 73.9 ระบุทำกิจกรรมสาธารณะประโยชน์ร่วมกัน เช่น ทำความสะอาด ชุมชน ทำอาหารแบ่งกันทาน และร้อยละ 71.3 ระบุสอดส่องดูแลปัญหาอาชญากรรม แจ้งเบาะแสเจ้าหน้าที่ตำรวจ เป็นต้น

นอกจากนี้ เมื่อถามว่า อยากให้คนไทยคนอื่นๆ ทำอย่างไรระหว่าง เอาให้ตัวเองอยู่รอดก่อน กับ เสียสละช่วยเหลือแบ่งปันกัน ผลสำรวจ พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 87.2 ระบุคนไทยคนอื่นๆ ควรจะเสียสละช่วยเหลือแบ่งปันกันมากกว่า ในขณะที่ร้อยละ 12.8 ระบุควรต่างคนต่างอยู่ให้ตัว เองอยู่รอดก่อน

ดร.นพดล กล่าวต่อว่า เมื่อถามว่าและตัวผู้ตอบแบบสอบถามเองจะตัดสินใจอย่างไรระหว่าง เอาให้ตัวเองอยู่รอดก่อน กับเสียสละช่วย เหลือแบ่งปันกัน พบว่า ประชาชนที่เลือกตอบว่า ควรต่างคนต่างอยู่ให้ตัวเองอยู่รอดก่อนมีจำนวนเกินกว่า 1 ใน 3 เล็กน้อยหรือร้อยละ 34.7 อย่างไร ก็ตาม ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 65.3 ยังคงตอบว่าจะเสียสละช่วยเหลือแบ่งปันกัน

ผอ.เอแบคโพลล์ กล่าวว่า ผลสำรวจครั้งนี้อาจจะสวนกระแสหลักของข้อมูลข่าวสารและการชี้นำของคนชนชั้นนำบางกลุ่มที่บ่งบอกถึงสภาวะ ที่ย่ำแย่ของประเทศ เพราะความรู้สึกนึกคิดของประชาชนที่ค้นพบครั้งนี้กลับมีตัวบ่งชี้หลายอย่างที่น่าจะนำไปเป็นจุดตั้งต้นของการแก้ปัญหาที่ถูกทางได้อย่าง มีสติสัมปชัญญะ ไม่ตื่นตูมไปจนทำให้ประเทศชาติระส่ำระสายเกินความเป็นจริง เนื่องจากความอยู่รอดของประชาชนและประเทศอยู่ที่ว่า สาธารณชนมี ความหวังหรือความกลัว ซึ่งผลวิจัยครั้งนี้น่าจะเห็นได้ชัดว่าประชาชนส่วนใหญ่ยังมีความหวังอยู่ ดังนั้น รัฐบาลและประชาชนทุกคนอาจพิจารณาแนวคิด บางอย่างต่อไปนี้

ประการแรก รัฐบาลต้องพูดความเป็นจริงชี้ให้เห็นถึงปัญหาแท้จริงตามแนวทางของรัฐบาลประชาธิปัตย์ในยุคก่อนที่ว่า รัฐบาลรู้อะไร ประชาชนต้องรู้เช่นกัน เพื่อเปิดโอกาสให้สาธารณชนมีส่วนร่วมคิดร่วมแก้ไขปัญหา

ประการที่สอง กลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจและคนชนชั้นนำของสังคมไทยน่าจะชี้นำให้เห็นข้อมูลในทางลบ และเสนอแนะทางออกที่ชัดเจนของ ปัญหาที่ตนเองหยิบยกมาบอกสังคม เพื่อลดความวิตกกังวลและความกลัวในหมู่ประชาชน

ประการที่สาม ประชาชนทุกชนชั้นน่าจะนำ “ทางสายกลาง” มาเป็นหลักของการดำเนินชีวิตในสภาวะปัจจุบันของประเทศที่มีปัญหาทางการ เมือง เศรษฐกิจและสังคม เพราะทางสายกลางเป็นหลักคำสอนสอดคล้องกับวัฒนธรรมประเพณีไทยมาช้านาน ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับสังคมไทยในแต่ละ ยุคแต่ละสมัยเป็นเพราะคนไทยจำนวนมากไม่ตั้งมั่นอยู่บนทางสายกลาง ดังนั้น ปัญหาของประเทศและประชาชนครั้งนี้จึงน่าจะเป็นโอกาสทางสังคมที่คน ไทยทุกคนจะนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงและการแบ่งปันช่วยเหลือเกื้อกูลกันตามวัฒนธรรมประเพณีไทยที่ดีงามมาใช้ภายในครอบครัว ชุมชนและสังคมระดับ ประเทศอย่างจริงจังและต่อเนื่อง

รายละเอียดงานวิจัย

วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
          1.          เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนในเรื่อง วิกฤตการเมือง  วิกฤตเศรษฐกิจกับโอกาสทางสังคม
          2.          เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป

ระเบียบวิธีการทำโพลล์

โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้เรื่อง วิกฤตการเมือง วิกฤตเศรษฐกิจ และโอกาส ทางสังคมในสายตาประชาชน กรณีศึกษาประชาชนใน 18 จังหวัดทั่วประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร พะเยา เพชรบูรณ์ เชียงใหม่ สมุทรสงคราม ปราจีนบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ระยอง กาญจนบุรี หนองคาย สกลนคร สุรินทร์ อุดรธานี ขอนแก่น นครราชสีมา พัทลุง สุราษฎร์ธานี และนครศรี ธรรมราช จำนวนตัวอย่างทั้งสิ้น 2,038 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 20 — 28 กุมภาพันธ์ 2552 ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนใน 18 จังหวัดทั่วประเทศ เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากรเป้าหมายจากการทำสำมะโน ช่วงความเชื่อ มั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์ หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้า วิเคราะห์ข้อมูลและงบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย มีคณะผู้วิจัย จำนวนทั้งสิ้น 75 คน

ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง

จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า

ตัวอย่าง ร้อยละ 56.1 เป็นหญิง

ร้อยละ 43.9 เป็นชาย

ตัวอย่าง ร้อยละ 7.0 อายุต่ำกว่า 20 ปี

ร้อยละ 23.5 อายุระหว่าง 20 — 29 ปี

ร้อยละ 22.7 อายุระหว่าง 30 — 39 ปี

ร้อยละ 24.6 อายุระหว่าง 40 — 49 ปี

และร้อยละ 23.2 อายุ 50 ปีขึ้นไป

ตัวอย่าง ร้อยละ 70.3 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี

รองลงมาคือร้อยละ 25.6 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี

และร้อยละ 4.1 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี

ร้อยละ 32.5 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างใช้แรงงานทั่วไป

ตัวอย่าง ร้อยละ 22.0 ระบุอาชีพค้าขายรายย่อย/อิสระ

ร้อยละ 17.9 ระบุอาชีพลูกจ้าง/พนักงานบริษัทเอกชน

ร้อยละ 10.7 ระบุข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ

ร้อยละ 6.6 เป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ

ร้อยละ 4.2 เป็นนักเรียน/นักศึกษา

ในขณะที่ร้อยละ 4.1 ระบุว่างงาน/ไม่ประกอบอาชีพ

โปรดพิจารณารายละเอียดในตารางต่อไปนี้

ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความถี่ในการติดตามข่าวสารการเมืองผ่านสื่อมวลชน ในช่วง 30 วันที่ผ่านมา
ลำดับที่          ความถี่ในการติดตามข่าวสถานการณ์การเมือง      ค่าร้อยละ
1          ทุกวัน / เกือบทุกวัน                              53.0
2          3-4 วันต่อสัปดาห์                                16.6
3          1-2 วันต่อสัปดาห์                                10.3
4          ติดตามเป็นบางสัปดาห์                              8.9
5          ไม่ได้ติดตามเลย                                 11.2
          รวมทั้งสิ้น                                      100.0

ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อการเมืองไทยในช่วง 30 วันที่ผ่านมา
ลำดับที่          ความคิดเห็นต่อการเมืองไทย          ค่าร้อยละ
1          ดีขึ้น                                  31.9
2          ดีเหมือนเดิม                            18.5
3          แย่เหมือนเดิม                           30.5
4          แย่ลง                                 19.1
          รวมทั้งสิ้น                              100.0

ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อการเมืองไทยในช่วง 6 เดือนต่อจากนี้
ลำดับที่          ความคิดเห็นต่อการเมืองไทย          ค่าร้อยละ
1          ดีขึ้น                                  50.9
2          ดีเหมือนเดิม                            13.2
3          แย่เหมือนเดิม                           19.3
4          แย่ลง                                 16.6
          รวมทั้งสิ้น                              100.0

ตารางที่ 4  แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อเศรษฐกิจไทยในช่วง 30 วันที่ผ่านมา
ลำดับที่          ความคิดเห็นต่อเศรษฐกิจไทย          ค่าร้อยละ
1          ดีขึ้น                                  15.6
2          ดีเหมือนเดิม                            18.0
3          แย่เหมือนเดิม                           28.5
4          แย่ลง                                 37.9
          รวมทั้งสิ้น                              100.0

ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อเศรษฐกิจไทยในอีก 6 เดือนข้างหน้า
ลำดับที่          ความคิดเห็นต่อเศรษฐกิจไทย          ค่าร้อยละ
1          ดีขึ้น                                  46.6
2          ดีเหมือนเดิม                            11.5
3          แย่เหมือนเดิม                           19.5
4          แย่ลง                                 22.4
          รวมทั้งสิ้น                              100.0

ตารางที่ 6  แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ปัญหาด้านต่างๆ ของชีวิตที่ได้รับผลกระทบจากสภาวะเศรษฐกิจถดถอย ในช่วง 30 วันที่ผ่านมา
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่          ปัญหาด้านต่างๆ ของชีวิตที่ได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจถดถอย          ร้อยละ
1          ราคาอาหาร                                                  62.4
2          หน้าที่การงานโดยภาพรวม                                        57.8
3          ความรู้สึกไม่มั่นคงในหน้าที่การงาน                                  57.1
4          การหางานทำ เริ่มหางานใหม่ งานเสริมทำ                           50.8
5          สิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ในชีวิต                                 50.1
6          ชีวิตความเป็นอยู่ของคนในครอบครัว                                 43.1
7          เสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่ม                                            41.2
8          ที่อยู่อาศัย                                                    37.0
9          ยารักษาโรค การรักษาพยาบาล                                    34.5
10          ความสัมพันธ์ของคนในครอบครัว                                   33.2

ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ การติดต่อขอรับเช็คเงินสด 2,000 บาทที่รัฐบาลมอบให้ผู้ประกันตนกับสำนักงานประกันสังคม
ลำดับที่          การติดต่อขอรับเช็คเงินสด 2,000 บาท          ค่าร้อยละ
1          ได้ติดต่อขอรับเช็ค                                13.3
2          ไม่ได้ติดต่อขอรับ                                 86.7
          รวมทั้งสิ้น                                      100.0

ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ สิ่งที่จะทำเมื่อได้รับเช็ค 2,000 บาท (เฉพาะกลุ่มคนที่ได้ติดต่อรับเช็ค 2000 บาท)
ลำดับที่          จะทำอย่างไรเมื่อได้รับเช็ค 2,000 บาท          ค่าร้อยละ
1          จะเก็บไว้กับตัวก่อน                               49.5
2          จะนำออกมาใช้จ่ายทันที                            50.5
          รวมทั้งสิ้น                                      100.0

ตารางที่ 9 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ โอกาสทางสังคมที่อยากให้คนไทยทำเพื่อให้สถานการณ์ต่างๆ ของประเทศดีขึ้น(ตอบได้มากกว่า 1ข้อ)
ลำดับที่          โอกาสทางสังคมที่อยากให้คนไทยทำ                                ร้อยละ
1          ปฏิบัติตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง                                       84.8
2          แบ่งปันช่วยเหลือกันและกันให้แก่เพื่อนบ้าน                                82.0
3          แสดงความเป็นมิตรต่อกันและกัน                                       81.7
4          เกื้อกูลกันและกันกับผู้อื่น                                             81.1
5          ทำกิจกรรมทางศาสนาร่วมกัน                                         78.6
6          ช่วยกันดูแลรักษาทรัพย์สินของสาธารณะ เช่น ตู้โทรศัพท์ ไฟฟ้าส่องสว่าง          76.2
7          สอดส่องดูแลความปลอดภัยของคนในชุมชน                                74.4
8          ทำกิจกรรมสาธารณะประโยชน์ เช่น ทำความสะอาดชุมชน ทำอาหารแบ่งกันทาน    73.9
9          สอดส่องดูแลปัญหาอาชญากรรม แจ้งเบาะแสเจ้าหน้าที่ตำรวจ                  71.3

ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ คำตอบต่อคำถามที่ว่า ในสภาวะปัญหาของประเทศเช่นทุกวันนี้ อยากให้คนไทยคน

อื่นๆ ทำอย่างไรระหว่าง “เอาให้ตัวเองอยู่รอดก่อน” กับ “เสียสละช่วยเหลือแบ่งปันกัน”

ลำดับที่          ความอยากให้คนไทยคนอื่นๆ ทำ          ค่าร้อยละ
1          ควรต่างคนต่างอยู่เอาให้ตัวเองอยู่รอดก่อน        12.8
2          ควรจะเสียสละช่วยเหลือแบ่งปันกันมากกว่า        87.2
          รวมทั้งสิ้น                                100.0

ตารางที่ 11 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ การตัดสินใจของตัวผู้ตอบแบบสอบถามเองว่าจะเลือกทำอย่างไร ระหว่าง “เอาให้

ตัวเองอยู่รอดก่อน” กับ “เสียสละช่วยเหลือแบ่งปันกัน”

ลำดับที่          การตัดสินใจของตัวผู้ตอบแบบสอบถามเอง   ค่าร้อยละ
1          ต่างคนต่างอยู่เอาให้ตัวเองอยู่รอดก่อน           34.7
2          จะเสียสละช่วยเหลือแบ่งปันกันมากกว่า           65.3
          รวมทั้งสิ้น                                100.0

--เอแบคโพลล์--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ