ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง “ความคิดเห็นของสาธารณชนต่อ
บทบาทหน้าที่ของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ: กรณีศึกษาประชาชนใน 14 จังหวัดของประเทศ” ในครั้งนี้ได้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลจากประชาชนที่อายุ
18 ปีขึ้นไป จำนวนทั้งสิ้น 2,607 ตัวอย่าง ซึ่งมีระยะเวลาในการดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 13 — 16 ตุลาคม 2549 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจาก
การสำรวจในครั้งนี้
พบว่าประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 84.8 ติดตามทราบข่าวเกี่ยวกับสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในขณะที่ร้อยละ 15.2 ไม่ได้ติดตาม
เมื่อสอบถามและจัด 10 อันดับบทบาทหน้าที่ของสภานิติบัญญัติแห่งชาติที่ประชาชนคาดหวังและต้องการ พบว่า
อันดับที่ 1 ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 75.1 ต้องการปรับปรุงกฎหมายรัฐสวัสดิการให้ประชาชนอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม
อันดับที่ 2 ร้อยละ 74.6 ระบุการออกกฎหมายยึดทรัพย์นายทุน ข้าราชการและนักการเมืองที่ร่วมกันทุจริตคอรัปชั่น
อันดับที่ 3 ร้อยละ 70.3 ระบุออกกฎหมายที่ดูแลและรักษาคุณภาพเด็กและเยาวชนตั้งแต่ในครรภ์จนถึงวัยผู้ใหญ่ตอนต้น เช่น กฎหมายคุ้ม
ครองดูแลสุขภาพหญิงตั้งครรภ์รายได้น้อย เด็กเล็กห้ามอยู่บ้านเพียงลำพัง ห้ามใช้ความรุนแรงกับเด็ก และการจัดระเบียบสังคม
อันดับที่ 4 ร้อยละ 67.8 ระบุควรมีกฎหมายที่ให้ความเป็นธรรมและเท่าเทียมแก่ประชาชนทั้งประเทศ
อันดับที่ 5 ร้อยละ 65.1 ระบุออกกฎหมายสนับสนุนเครือข่ายประชาชนร่วมแก้ปัญหาวาระแห่งชาติ เช่น ยาเสพติด ความยากจน และ
สถานการณ์ความไม่สงบ
อันดับที่ 6 ร้อยละ 63.9 ระบุควรทบทวนกฎหมายที่เอื้อประโยชน์ให้นายทุนและผู้มีอำนาจใช้และครอบครองทรัพยากรธรรมชาติอย่างไม่
เป็นธรรมและไม่เท่าเทียม
อันดับที่ 7 ร้อยละ 62.4 ระบุควรมีกฎหมายเสริมสร้างชุมชนเข้มแข็ง เช่น ใครทำผิดในพื้นที่ชุมชนใดต้องบำเพ็ญประโยชน์หรือจ่ายเงิน
พัฒนาชุมชนนั้น
อันดับที่ 8 ร้อยละ 61.9 ระบุควรมีกฎหมายเอาผิดรุนแรงกับขบวนการฮั้วและการล็อบบี้ทางการเมืองทุกระดับชั้น
อันดับที่ 9 ร้อยละ 58.8 ระบุควรมีกฎหมายที่ลงโทษการเลือกปฏิบัติต่อประชาชนที่ใช้บริการทางราชการและผู้บริโภคของบริษัทเอกชนต่างๆ
อันดับที่ 10 ร้อยละ 53.2 ระบุควรออกกฎหมายคุ้มครองพยานที่มีประสิทธิภาพ
เมื่อสอบถามถึงสาเหตุที่ทำให้กฎหมายที่มีอยู่ในประเทศไทยไม่ถูกนำไปใช้แก้ปัญหา ผลสำรวจพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่หรือ ร้อยละ 72.9
คิดว่าเป็นเพราะมีการแทรกแซงและอิทธิพลของนักการเมือง รองลงมาคือร้อยละ 69.6 คิดว่าเป็นเพราะข้าราชการกลัวอำนาจการเมือง ร้อยละ
64.9 คิดว่าอำนาจเงินและผลประโยชน์ของกลุ่มนายทุน ร้อยละ 62.7 คิดว่าเป็นเพราะองค์กรอิสระถูกแทรกแซง ร้อยละ 60.7 คิดว่าสื่อมวลชนถูก
แทรกแซง ร้อยละ 54.9 คิดว่าประชาชนไม่เข้มแข็งพอ และร้อยละ 21.0 ระบุอื่นๆ อาทิ ช่องว่างของกฎหมาย ขาดผู้นำที่มีคุณธรรมจริยธรรม
และระบบอุปถัมถ์
เมื่อสอบถามถึงคุณสมบัติที่ควรจะเป็นควรจะมีของประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 81.9 ระบุเป็นคนดีมีคุณธรรม
ซื่อสัตย์สุจริต รองลงมาคือร้อยละ 76.6 ระบุจริงใจจริงจังแก้ปัญหาประเทศ ร้อยละ 58.3 ระบุประสานความร่วมมือได้ดี ร้อยละ 42.1 ระบุมีความรู้
เรื่องกฎหมาย ร้อยละ 38.7 ระบุเป็นผู้มีประสบการณ์บริหารประเทศ ร้อยละ 36.9 ระบุมีวิสัยทัศน์กว้างไกล ร้อยละ 34.2 ระบุมีความรู้ความสามารถ
และร้อยละ 18.6 ระบุ อายุไม่ควรมากเกินไปหรือน้อยเกินไป รวดเร็ว กล้าคิดกล้าตัดสินใจ คลุกคลีเป็นกันเองเข้าถึงปัญหาประชาชน เป็นต้น
ประเด็นที่น่าพิจารณาคือ ประชาชนร้อยละ 51.4 คิดว่าไม่จำเป็นที่ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติต้องเป็นนักกฎหมาย ในขณะที่ร้อยละ
22.9 คิดว่าจำเป็น และร้อยละ 25.7 ไม่มีความเห็น ที่น่าเป็นห่วงคือประชาชนจำนวนก่ำกึ่งกันคือร้อยละ 45.2 และร้อยละ 44.7 เชื่อว่ามีการวิ่ง
เต้นล็อบบี้ตำแหน่งสำคัญในสภานิติบัญญัติแห่งชาติและไม่เชื่อว่ามีจริง ในขณะที่ร้อยละ 10.1 ไม่มีความเห็น
เมื่อสอบถามถึงบุคคลที่เหมาะสมกับตำแหน่งประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ พบว่า ประชาชนร้อยละ 30.3 ระบุเป็นร้อยตำรวจเอก ปุระ
ชัย เปี่ยมสมบูรณ์ รองลงมาคือร้อยละ 19.5 ระบุเป็นนายมีชัย ฤชุพันธุ์ ร้อยละ 5.6 ระบุเป็นร้อยตำรวจเอก นิติภูมิ นวรัตน์ ร้อยละ 5.1 ระบุเป็น
นายโคทม อารียา ร้อยละ 4.0 ระบุเป็นพลตรีจำลอง ศรีเมือง ร้อยละ 6.9 ระบุอื่นๆ เช่น นายวัลลภ ตังคณานุรักษ์ นาวาอากาศตรี ประสงค์ สุ่น
ศิริ นายสมเกียรติ อ่อนวิมล เป็นต้น ในขณะที่ร้อยละ 28.6 ไม่มีความเห็นหรือระบุว่าใครก็ได้
ดร.นพดล กล่าวว่า ผลสำรวจชี้ให้เห็นว่าประชาชนมีจำนวนก้ำกึ่งกัน ที่เชื่อว่ามีการล็อบบี้วิ่งเต้นตำแหน่งสำคัญในสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ซึ่ง
เป็นข้อมูลที่น่าเป็นห่วงสำหรับภาพลักษณ์ของสภา เพราะหลักธรรมาภิบาลจำเป็นต้องมีความโปร่งใสก่อนที่จะดำเนินการและเมื่อหลังดำเนินการแล้วต้อง
สามารถตรวจสอบได้ในทุกขั้นตอน ดังนั้นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติทุกคนต้องแสดงให้สาธารณชนเห็นความโปร่งใสของการได้มาซึ่งตำแหน่งสำคัญเป็นที่
ยอมรับของประชาชนทั่วไป และเมื่อมีการแต่งตั้งตำแหน่งต่างๆ เสร็จสิ้นควรจะให้สังคมตรวจสอบได้ว่ามีการล็อบบี้วิ่งเต้นตำแหน่งกันหรือไม่ นอกจากนี้
สถานการณ์ปัจจุบันอยู่ในช่วงที่เหมาะสมสำหรับการจัดระเบียบกฎหมายที่ประเทศไทยมีอยู่จำนวนมากและเพียงพอที่จะเป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่งในการ
ทำให้ประชาชนทั้งประเทศอยู่เย็นเป็นสุขได้ ในขณะเดียวกันกฎหมายที่ควรพิจารณาปรับปรุงหรือกำหนดออกมาเพิ่มเติม ตัวอย่างเช่น
หนึ่ง กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสภาพแวดล้อมและการจัดสรรทรัพยากรธรรมชาติที่ควรให้ประชาชนทั้งประเทศได้รับความเป็นธรรมและเท่า
เทียมในการครอบครองทรัพยากรธรรมชาติ
สอง กฎหมายที่ควรเสริมสร้างบรรยากาศที่ดีของชุมชนเข้มแข็ง เช่น ทำให้คนในชุมชนมีสิทธิอันชอบธรรมในการสอดส่องดูแลชุมชนของตน
ไม่ใช่เพียงการเป็นอาสาสมัครที่อาจได้รับอันตรายหรือความผิดจากการเป็นอาสาสมัครของตน และกฎหมายที่ลงโทษคนที่มาทำผิดทำร้ายชุมชนต้องบำเพ็ญ
ประโยชน์หรือจ่ายเงินพัฒนาชุมชนนั้นๆ เช่น การขับรถเกินความเร็วที่กำหนดบนถนนภายในชุมชน การทำลายทรัพย์สินส่วนรวมของชุมชน และการค้ายา
เสพติด เป็นต้น
สาม กฎหมายที่ควรปกป้องวัฒนธรรมประเพณีอันดีงามของประเทศโดยส่วนรวมโดยเฉพาะ เช่น ใครทำลายศิลปวัฒนธรรมที่เป็นรูปธรรมจับ
ต้องได้อย่างโบราณวัตถุควรมีกฎหมายที่มีโทษรุนแรงกับผู้ที่ทำลายศิลปวัฒนธรรมไทยเป็นการเฉพาะ นอกจากนี้อาจมีกฎหมายส่งเสริมให้สิ่งปลูกสร้างที่พัก
อาศัยตามแบบสถาปัตยกรรมแบบไทยๆ เป็นต้น
สี่ กฎหมายที่เสริมสร้างสายสัมพันธ์ที่ดีของคนในครอบครัว เพราะครอบครัวเป็นปัจจัยสำคัญในการค้ำจุนเสถียรภาพทางสังคม เช่น
กฎหมายที่ทำให้บิดาหรือมารดามีเวลาดูแลบุตรของตนมากขึ้น กฎหมายที่คุ้มครองเด็กเยาวชนให้ห่างจากการใช้ความรุนแรงทุกรูปแบบ
ห้า กฎหมายที่ควรปรับปรุงเพื่อคุ้มครองและรักษาคุณภาพเยาวชนด้วยการขยายพื้นที่ดี ลดพื้นที่เสี่ยง และสร้างภูมิ เช่น กฎหมายที่ห้าม
จำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ใกล้สถาบันการศึกษา และกฎหมายจัดระเบียบสังคม เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม กฎหมายดีๆ ที่มีอยู่หลายฉบับในประเทศไทยไม่ได้ถูกนำมาแก้ไขปัญหาสังคมของประเทศเพราะเหตุผลในเรื่องของการไม่
เอาจริงเอาจังอย่างต่อเนื่องของเจ้าหน้าที่รัฐ และมีเรื่องผลประโยชน์ เงินใต้โต๊ะ สินบน การทุจริตคอรัปชั่นในกลุ่มนายทุน นักการเมืองและข้า
ราชการเป็นปัจจัยอุปสรรคที่สำคัญ
โปรดพิจารณารายละเอียดของโครงการวิจัย
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. เพื่อสำรวจพฤติกรรมการติดตามข่าวสารของประชาชนเกี่ยวกับสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
2. เพื่อสำรวจความต้องการ ความคิดเห็นต่อประเด็นสำคัญต่างๆ ของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
3. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง “ความคิดเห็นของสาธารณชนต่อบทบาทหน้าที่ของสภา
นิติบัญญัติแห่งชาติ: กรณีศึกษาประชาชนใน 14 จังหวัดของประเทศ” ในครั้งนี้ได้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลจากประชาชนที่อายุ 18 ปีขึ้นไปใน
กรุงเทพมหานคร ปทุมธานี สมุทรปราการ เชียงใหม่ สุโขทัย ขอนแก่น อุบลราชธานี นครราชสีมา สกลนคร ชลบุรี ลพบุรี ตราด สุราษฎร์ธานี และ
สงขลา รวมจำนวนตัวอย่างทั้งสิ้น 2,607 ตัวอย่าง ซึ่งดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 13-16 ตุลาคม พ.ศ. 2549
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป ในกรุงเทพมหานคร ปทุมธานี สมุทรปราการ เชียงใหม่ สุโขทัย ขอนแก่น
อุบลราชธานี นครราชสีมา สกลนคร ชลบุรี ลพบุรี ตราด สุราษฎร์ธานี และสงขลา
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายขั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากร
เป้าหมายจากการทำสำมะโน ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 2,607 ตัวอย่าง ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความ
คลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล
คือ การสัมภาษณ์ หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณทั้งสิ้นเป็น
ของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่างประชาชนทั่วไปพบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 51.7 ระบุเป็นหญิง
ในขณะที่ร้อยละ 49.3 ระบุเป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 8.8 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 19.2 อายุระหว่าง 20—29 ปี
ร้อยละ 26.2 อายุระหว่าง 30—39 ปี
ร้อยละ 23.5 อายุระหว่าง 40—49 ปี
และร้อยละ 22.3 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 75.8 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 20.4 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 3.8 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 38.2 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างแรงงานทั่วไป
ร้อยละ 16.1 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 14.9 ระบุอาชีพพนักงาน/ลูกจ้างเอกชน
ร้อยละ 11.4 ระบุอาชีพข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 6.5 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ
ร้อยละ 8.5 เป็นนักเรียน/นักศึกษา
และร้อยละ 4.4 ระบุว่างงาน
ตัวอย่าง ร้อยละ 68.3 พักอาศัยนอกเขตเทศบาล
ในขณะที่ร้อยละ 31.7 พักอาศัยในเขตเทศบาล
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบ
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ การติดตามข่าวเกี่ยวกับสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
ลำดับที่ การติดตามข่าว ค่าร้อยละ
1 ติดตามข่าว 84.8
2 ไม่ได้ติดตาม 15.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดง 10 อันดับบทบาทหน้าที่ของสภานิติบัญญัติแห่งชาติที่ประชาชนคาดหวังและต้องการในส่วนที่เกี่ยวกับ
กฎหมาย (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ บทบาทหน้าที่ของสภานิติบัญญัติแห่งชาติในการออกกฎหมายที่.... ค่าร้อยละ
1 ปรับปรุงกฎหมายรัฐสวัสดิการให้ประชาชนอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม 75.1
2 ออกกฎหมายยึดทรัพย์นายทุน ข้าราชการ นักการเมืองที่ร่วมกันทุจริตคอรัปชั่น 74.6
3 ออกกฎหมายที่ดูแลและรักษาคุณภาพเด็กและเยาวชนไทยตั้งแต่ในครรภ์จนถึงวัยผู้ใหญ่ตอนต้น
เช่น กฎหมายคุ้มครองและดูแลสุขภาพหญิงตั้งครรภ์ที่มีรายได้น้อย เด็กเล็กห้ามอยู่บ้านเพียงลำพัง
ห้ามใช้ความรุนแรงกับเด็ก และการจัดระเบียบสังคม 70.3
4 มีกฎหมายที่ให้ความเป็นธรรมและเท่าเทียมกันแก่ประชาชนทั้งประเทศ 67.8
5 ออกกฎหมายสนับสนุนเครือข่ายภาคประชาชนในการแก้ปัญหาที่เป็นวาระแห่งชาติ เช่น ปัญหายาเสพติด
ความยากจน และความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ 65.1
6 ทบทวนกฎหมายที่เอื้อประโยชน์ให้นายทุนและผู้มีอำนาจใช้และครอบครองทรัพยากรธรรมชาติ
อย่างไม่เป็นธรรมและไม่เท่าเทียม 63.9
7 มีกฎหมายเสริมสร้างชุมชนเข้มแข็ง เช่น ใครทำผิดในพื้นที่ชุมชนใดต้องจ่ายหรือบำเพ็ญประโยชน์ให้ชุมชนนั้น 62.4
8 มีกฎหมายที่สามารถเอาผิดรุนแรงกับขบวนการฮั้วและการล็อบบี้ทางการเมืองทุกระดับชั้น 61.9
9 มีกฎหมายที่ลงโทษการเลือกปฏิบัติต่อประชาชนที่ใช้บริการทางราชการและผู้บริโภคของบริษัทเอกชนต่างๆ 58.8
10 ออกกฎหมายคุ้มครองพยายานที่มีประสิทธิภาพ 53.2
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ สาเหตุที่ทำให้กฎหมายไม่ถูกนำไปใช้แก้ปัญหาประเทศ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ สาเหตุทำให้กฎหมายไม่ถูกนำไปใช้แก้ปัญหาประเทศ ค่าร้อยละ
1 การแทรกแซงและอิทธิพลของนักการเมือง 72.9
2 ข้าราชการกลัวอำนาจการเมือง 69.6
3 อำนาจเงินและผลประโยชน์ของกลุ่มนายทุน 64.9
4 องค์กรอิสระถูกแทรกแซง 62.7
5 สื่อมวลชนถูกแทรกแซง 60.7
6 ประชาชนไม่เข้มแข็งเพียงพอ 54.9
7 อื่นๆ อาทิ ช่องว่างของกฎหมาย ขาดผู้นำที่มีคุณธรรมจริยธรรม และระบบอุปถัมถ์ เป็นต้น 21.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ คุณสมบัติที่ควรจะเป็นควรจะมีของประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ คุณสมบัติที่ควรจะเป็นควรจะมีของประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ค่าร้อยละ
1 คนดีมีคุณธรรม ซื่อสัตย์สุจริต 81.9
2 จริงใจจริงจังแก้ปัญหาประเทศ 76.6
3 ประสานความร่วมมือได้ดี 58.3
4 มีความรู้เรื่องกฎหมาย 42.1
5 เคยมีประสบการณ์บริหารประเทศ 38.7
6 มีวิสัยทัศน์กว้างไกล 36.9
7 มีความรู้ความสามารถ 34.2
8 อื่นๆ ได้แก่ อายุไม่มากเกินไปไม่น้อยเกินไป รวดเร็ว กล้าตัดสินใจ
คลุกคลีเป็นกันเองเข้าถึงปัญหาของประชาชน เป็นต้น 18.6
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความจำเป็นที่ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติต้องเป็นนักกฎหมาย
ลำดับที่ ความคิดเห็นของประชาชน ค่าร้อยละ
1 จำเป็น 22.9
2 ไม่จำเป็น 51.4
3 ไม่มีความเห็น 25.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความเชื่อต่อกรณีการวิ่งเต้นล็อบบี้ตำแหน่งสำคัญในสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
ลำดับที่ ความเชื่อของประชาชน ค่าร้อยละ
1 เชื่อว่ามีจริง 45.2
2 ไม่เชื่อว่ามีจริง 44.7
3 ไม่มีความเห็น 10.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ บุคคลที่เหมาะสมกับตำแหน่งประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (ตอบได้เพียงข้อเดียว)
ลำดับที่ รายชื่อบุคคล ค่าร้อยละ
1 ร้อยตำรวจเอก ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ 30.3
2 นายมีชัย ฤชุพันธุ์ 19.5
3 ร้อยตำรวจเอก นิติภูมิ นวรัตน์ 5.6
4 นายโคทม อารียา 5.1
5 พลตรี จำลอง ศรีเมือง 4.0
6 อื่นๆ ได้แก่ นายวัลลภ ตังคณานุรักษ์ นาวาอากาศตรี ประสงค์ สุ่นศิริ
นายสมเกียรติ อ่อนวิมล เป็นต้น 6.9
7 ไม่มีความเห็น/ ใครก็ได้ 28.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-
บทบาทหน้าที่ของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ: กรณีศึกษาประชาชนใน 14 จังหวัดของประเทศ” ในครั้งนี้ได้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลจากประชาชนที่อายุ
18 ปีขึ้นไป จำนวนทั้งสิ้น 2,607 ตัวอย่าง ซึ่งมีระยะเวลาในการดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 13 — 16 ตุลาคม 2549 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจาก
การสำรวจในครั้งนี้
พบว่าประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 84.8 ติดตามทราบข่าวเกี่ยวกับสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในขณะที่ร้อยละ 15.2 ไม่ได้ติดตาม
เมื่อสอบถามและจัด 10 อันดับบทบาทหน้าที่ของสภานิติบัญญัติแห่งชาติที่ประชาชนคาดหวังและต้องการ พบว่า
อันดับที่ 1 ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 75.1 ต้องการปรับปรุงกฎหมายรัฐสวัสดิการให้ประชาชนอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม
อันดับที่ 2 ร้อยละ 74.6 ระบุการออกกฎหมายยึดทรัพย์นายทุน ข้าราชการและนักการเมืองที่ร่วมกันทุจริตคอรัปชั่น
อันดับที่ 3 ร้อยละ 70.3 ระบุออกกฎหมายที่ดูแลและรักษาคุณภาพเด็กและเยาวชนตั้งแต่ในครรภ์จนถึงวัยผู้ใหญ่ตอนต้น เช่น กฎหมายคุ้ม
ครองดูแลสุขภาพหญิงตั้งครรภ์รายได้น้อย เด็กเล็กห้ามอยู่บ้านเพียงลำพัง ห้ามใช้ความรุนแรงกับเด็ก และการจัดระเบียบสังคม
อันดับที่ 4 ร้อยละ 67.8 ระบุควรมีกฎหมายที่ให้ความเป็นธรรมและเท่าเทียมแก่ประชาชนทั้งประเทศ
อันดับที่ 5 ร้อยละ 65.1 ระบุออกกฎหมายสนับสนุนเครือข่ายประชาชนร่วมแก้ปัญหาวาระแห่งชาติ เช่น ยาเสพติด ความยากจน และ
สถานการณ์ความไม่สงบ
อันดับที่ 6 ร้อยละ 63.9 ระบุควรทบทวนกฎหมายที่เอื้อประโยชน์ให้นายทุนและผู้มีอำนาจใช้และครอบครองทรัพยากรธรรมชาติอย่างไม่
เป็นธรรมและไม่เท่าเทียม
อันดับที่ 7 ร้อยละ 62.4 ระบุควรมีกฎหมายเสริมสร้างชุมชนเข้มแข็ง เช่น ใครทำผิดในพื้นที่ชุมชนใดต้องบำเพ็ญประโยชน์หรือจ่ายเงิน
พัฒนาชุมชนนั้น
อันดับที่ 8 ร้อยละ 61.9 ระบุควรมีกฎหมายเอาผิดรุนแรงกับขบวนการฮั้วและการล็อบบี้ทางการเมืองทุกระดับชั้น
อันดับที่ 9 ร้อยละ 58.8 ระบุควรมีกฎหมายที่ลงโทษการเลือกปฏิบัติต่อประชาชนที่ใช้บริการทางราชการและผู้บริโภคของบริษัทเอกชนต่างๆ
อันดับที่ 10 ร้อยละ 53.2 ระบุควรออกกฎหมายคุ้มครองพยานที่มีประสิทธิภาพ
เมื่อสอบถามถึงสาเหตุที่ทำให้กฎหมายที่มีอยู่ในประเทศไทยไม่ถูกนำไปใช้แก้ปัญหา ผลสำรวจพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่หรือ ร้อยละ 72.9
คิดว่าเป็นเพราะมีการแทรกแซงและอิทธิพลของนักการเมือง รองลงมาคือร้อยละ 69.6 คิดว่าเป็นเพราะข้าราชการกลัวอำนาจการเมือง ร้อยละ
64.9 คิดว่าอำนาจเงินและผลประโยชน์ของกลุ่มนายทุน ร้อยละ 62.7 คิดว่าเป็นเพราะองค์กรอิสระถูกแทรกแซง ร้อยละ 60.7 คิดว่าสื่อมวลชนถูก
แทรกแซง ร้อยละ 54.9 คิดว่าประชาชนไม่เข้มแข็งพอ และร้อยละ 21.0 ระบุอื่นๆ อาทิ ช่องว่างของกฎหมาย ขาดผู้นำที่มีคุณธรรมจริยธรรม
และระบบอุปถัมถ์
เมื่อสอบถามถึงคุณสมบัติที่ควรจะเป็นควรจะมีของประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 81.9 ระบุเป็นคนดีมีคุณธรรม
ซื่อสัตย์สุจริต รองลงมาคือร้อยละ 76.6 ระบุจริงใจจริงจังแก้ปัญหาประเทศ ร้อยละ 58.3 ระบุประสานความร่วมมือได้ดี ร้อยละ 42.1 ระบุมีความรู้
เรื่องกฎหมาย ร้อยละ 38.7 ระบุเป็นผู้มีประสบการณ์บริหารประเทศ ร้อยละ 36.9 ระบุมีวิสัยทัศน์กว้างไกล ร้อยละ 34.2 ระบุมีความรู้ความสามารถ
และร้อยละ 18.6 ระบุ อายุไม่ควรมากเกินไปหรือน้อยเกินไป รวดเร็ว กล้าคิดกล้าตัดสินใจ คลุกคลีเป็นกันเองเข้าถึงปัญหาประชาชน เป็นต้น
ประเด็นที่น่าพิจารณาคือ ประชาชนร้อยละ 51.4 คิดว่าไม่จำเป็นที่ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติต้องเป็นนักกฎหมาย ในขณะที่ร้อยละ
22.9 คิดว่าจำเป็น และร้อยละ 25.7 ไม่มีความเห็น ที่น่าเป็นห่วงคือประชาชนจำนวนก่ำกึ่งกันคือร้อยละ 45.2 และร้อยละ 44.7 เชื่อว่ามีการวิ่ง
เต้นล็อบบี้ตำแหน่งสำคัญในสภานิติบัญญัติแห่งชาติและไม่เชื่อว่ามีจริง ในขณะที่ร้อยละ 10.1 ไม่มีความเห็น
เมื่อสอบถามถึงบุคคลที่เหมาะสมกับตำแหน่งประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ พบว่า ประชาชนร้อยละ 30.3 ระบุเป็นร้อยตำรวจเอก ปุระ
ชัย เปี่ยมสมบูรณ์ รองลงมาคือร้อยละ 19.5 ระบุเป็นนายมีชัย ฤชุพันธุ์ ร้อยละ 5.6 ระบุเป็นร้อยตำรวจเอก นิติภูมิ นวรัตน์ ร้อยละ 5.1 ระบุเป็น
นายโคทม อารียา ร้อยละ 4.0 ระบุเป็นพลตรีจำลอง ศรีเมือง ร้อยละ 6.9 ระบุอื่นๆ เช่น นายวัลลภ ตังคณานุรักษ์ นาวาอากาศตรี ประสงค์ สุ่น
ศิริ นายสมเกียรติ อ่อนวิมล เป็นต้น ในขณะที่ร้อยละ 28.6 ไม่มีความเห็นหรือระบุว่าใครก็ได้
ดร.นพดล กล่าวว่า ผลสำรวจชี้ให้เห็นว่าประชาชนมีจำนวนก้ำกึ่งกัน ที่เชื่อว่ามีการล็อบบี้วิ่งเต้นตำแหน่งสำคัญในสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ซึ่ง
เป็นข้อมูลที่น่าเป็นห่วงสำหรับภาพลักษณ์ของสภา เพราะหลักธรรมาภิบาลจำเป็นต้องมีความโปร่งใสก่อนที่จะดำเนินการและเมื่อหลังดำเนินการแล้วต้อง
สามารถตรวจสอบได้ในทุกขั้นตอน ดังนั้นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติทุกคนต้องแสดงให้สาธารณชนเห็นความโปร่งใสของการได้มาซึ่งตำแหน่งสำคัญเป็นที่
ยอมรับของประชาชนทั่วไป และเมื่อมีการแต่งตั้งตำแหน่งต่างๆ เสร็จสิ้นควรจะให้สังคมตรวจสอบได้ว่ามีการล็อบบี้วิ่งเต้นตำแหน่งกันหรือไม่ นอกจากนี้
สถานการณ์ปัจจุบันอยู่ในช่วงที่เหมาะสมสำหรับการจัดระเบียบกฎหมายที่ประเทศไทยมีอยู่จำนวนมากและเพียงพอที่จะเป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่งในการ
ทำให้ประชาชนทั้งประเทศอยู่เย็นเป็นสุขได้ ในขณะเดียวกันกฎหมายที่ควรพิจารณาปรับปรุงหรือกำหนดออกมาเพิ่มเติม ตัวอย่างเช่น
หนึ่ง กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสภาพแวดล้อมและการจัดสรรทรัพยากรธรรมชาติที่ควรให้ประชาชนทั้งประเทศได้รับความเป็นธรรมและเท่า
เทียมในการครอบครองทรัพยากรธรรมชาติ
สอง กฎหมายที่ควรเสริมสร้างบรรยากาศที่ดีของชุมชนเข้มแข็ง เช่น ทำให้คนในชุมชนมีสิทธิอันชอบธรรมในการสอดส่องดูแลชุมชนของตน
ไม่ใช่เพียงการเป็นอาสาสมัครที่อาจได้รับอันตรายหรือความผิดจากการเป็นอาสาสมัครของตน และกฎหมายที่ลงโทษคนที่มาทำผิดทำร้ายชุมชนต้องบำเพ็ญ
ประโยชน์หรือจ่ายเงินพัฒนาชุมชนนั้นๆ เช่น การขับรถเกินความเร็วที่กำหนดบนถนนภายในชุมชน การทำลายทรัพย์สินส่วนรวมของชุมชน และการค้ายา
เสพติด เป็นต้น
สาม กฎหมายที่ควรปกป้องวัฒนธรรมประเพณีอันดีงามของประเทศโดยส่วนรวมโดยเฉพาะ เช่น ใครทำลายศิลปวัฒนธรรมที่เป็นรูปธรรมจับ
ต้องได้อย่างโบราณวัตถุควรมีกฎหมายที่มีโทษรุนแรงกับผู้ที่ทำลายศิลปวัฒนธรรมไทยเป็นการเฉพาะ นอกจากนี้อาจมีกฎหมายส่งเสริมให้สิ่งปลูกสร้างที่พัก
อาศัยตามแบบสถาปัตยกรรมแบบไทยๆ เป็นต้น
สี่ กฎหมายที่เสริมสร้างสายสัมพันธ์ที่ดีของคนในครอบครัว เพราะครอบครัวเป็นปัจจัยสำคัญในการค้ำจุนเสถียรภาพทางสังคม เช่น
กฎหมายที่ทำให้บิดาหรือมารดามีเวลาดูแลบุตรของตนมากขึ้น กฎหมายที่คุ้มครองเด็กเยาวชนให้ห่างจากการใช้ความรุนแรงทุกรูปแบบ
ห้า กฎหมายที่ควรปรับปรุงเพื่อคุ้มครองและรักษาคุณภาพเยาวชนด้วยการขยายพื้นที่ดี ลดพื้นที่เสี่ยง และสร้างภูมิ เช่น กฎหมายที่ห้าม
จำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ใกล้สถาบันการศึกษา และกฎหมายจัดระเบียบสังคม เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม กฎหมายดีๆ ที่มีอยู่หลายฉบับในประเทศไทยไม่ได้ถูกนำมาแก้ไขปัญหาสังคมของประเทศเพราะเหตุผลในเรื่องของการไม่
เอาจริงเอาจังอย่างต่อเนื่องของเจ้าหน้าที่รัฐ และมีเรื่องผลประโยชน์ เงินใต้โต๊ะ สินบน การทุจริตคอรัปชั่นในกลุ่มนายทุน นักการเมืองและข้า
ราชการเป็นปัจจัยอุปสรรคที่สำคัญ
โปรดพิจารณารายละเอียดของโครงการวิจัย
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. เพื่อสำรวจพฤติกรรมการติดตามข่าวสารของประชาชนเกี่ยวกับสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
2. เพื่อสำรวจความต้องการ ความคิดเห็นต่อประเด็นสำคัญต่างๆ ของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
3. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง “ความคิดเห็นของสาธารณชนต่อบทบาทหน้าที่ของสภา
นิติบัญญัติแห่งชาติ: กรณีศึกษาประชาชนใน 14 จังหวัดของประเทศ” ในครั้งนี้ได้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลจากประชาชนที่อายุ 18 ปีขึ้นไปใน
กรุงเทพมหานคร ปทุมธานี สมุทรปราการ เชียงใหม่ สุโขทัย ขอนแก่น อุบลราชธานี นครราชสีมา สกลนคร ชลบุรี ลพบุรี ตราด สุราษฎร์ธานี และ
สงขลา รวมจำนวนตัวอย่างทั้งสิ้น 2,607 ตัวอย่าง ซึ่งดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 13-16 ตุลาคม พ.ศ. 2549
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป ในกรุงเทพมหานคร ปทุมธานี สมุทรปราการ เชียงใหม่ สุโขทัย ขอนแก่น
อุบลราชธานี นครราชสีมา สกลนคร ชลบุรี ลพบุรี ตราด สุราษฎร์ธานี และสงขลา
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายขั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากร
เป้าหมายจากการทำสำมะโน ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 2,607 ตัวอย่าง ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความ
คลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล
คือ การสัมภาษณ์ หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณทั้งสิ้นเป็น
ของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่างประชาชนทั่วไปพบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 51.7 ระบุเป็นหญิง
ในขณะที่ร้อยละ 49.3 ระบุเป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 8.8 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 19.2 อายุระหว่าง 20—29 ปี
ร้อยละ 26.2 อายุระหว่าง 30—39 ปี
ร้อยละ 23.5 อายุระหว่าง 40—49 ปี
และร้อยละ 22.3 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 75.8 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 20.4 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 3.8 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 38.2 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างแรงงานทั่วไป
ร้อยละ 16.1 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 14.9 ระบุอาชีพพนักงาน/ลูกจ้างเอกชน
ร้อยละ 11.4 ระบุอาชีพข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 6.5 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ
ร้อยละ 8.5 เป็นนักเรียน/นักศึกษา
และร้อยละ 4.4 ระบุว่างงาน
ตัวอย่าง ร้อยละ 68.3 พักอาศัยนอกเขตเทศบาล
ในขณะที่ร้อยละ 31.7 พักอาศัยในเขตเทศบาล
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบ
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ การติดตามข่าวเกี่ยวกับสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
ลำดับที่ การติดตามข่าว ค่าร้อยละ
1 ติดตามข่าว 84.8
2 ไม่ได้ติดตาม 15.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดง 10 อันดับบทบาทหน้าที่ของสภานิติบัญญัติแห่งชาติที่ประชาชนคาดหวังและต้องการในส่วนที่เกี่ยวกับ
กฎหมาย (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ บทบาทหน้าที่ของสภานิติบัญญัติแห่งชาติในการออกกฎหมายที่.... ค่าร้อยละ
1 ปรับปรุงกฎหมายรัฐสวัสดิการให้ประชาชนอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม 75.1
2 ออกกฎหมายยึดทรัพย์นายทุน ข้าราชการ นักการเมืองที่ร่วมกันทุจริตคอรัปชั่น 74.6
3 ออกกฎหมายที่ดูแลและรักษาคุณภาพเด็กและเยาวชนไทยตั้งแต่ในครรภ์จนถึงวัยผู้ใหญ่ตอนต้น
เช่น กฎหมายคุ้มครองและดูแลสุขภาพหญิงตั้งครรภ์ที่มีรายได้น้อย เด็กเล็กห้ามอยู่บ้านเพียงลำพัง
ห้ามใช้ความรุนแรงกับเด็ก และการจัดระเบียบสังคม 70.3
4 มีกฎหมายที่ให้ความเป็นธรรมและเท่าเทียมกันแก่ประชาชนทั้งประเทศ 67.8
5 ออกกฎหมายสนับสนุนเครือข่ายภาคประชาชนในการแก้ปัญหาที่เป็นวาระแห่งชาติ เช่น ปัญหายาเสพติด
ความยากจน และความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ 65.1
6 ทบทวนกฎหมายที่เอื้อประโยชน์ให้นายทุนและผู้มีอำนาจใช้และครอบครองทรัพยากรธรรมชาติ
อย่างไม่เป็นธรรมและไม่เท่าเทียม 63.9
7 มีกฎหมายเสริมสร้างชุมชนเข้มแข็ง เช่น ใครทำผิดในพื้นที่ชุมชนใดต้องจ่ายหรือบำเพ็ญประโยชน์ให้ชุมชนนั้น 62.4
8 มีกฎหมายที่สามารถเอาผิดรุนแรงกับขบวนการฮั้วและการล็อบบี้ทางการเมืองทุกระดับชั้น 61.9
9 มีกฎหมายที่ลงโทษการเลือกปฏิบัติต่อประชาชนที่ใช้บริการทางราชการและผู้บริโภคของบริษัทเอกชนต่างๆ 58.8
10 ออกกฎหมายคุ้มครองพยายานที่มีประสิทธิภาพ 53.2
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ สาเหตุที่ทำให้กฎหมายไม่ถูกนำไปใช้แก้ปัญหาประเทศ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ สาเหตุทำให้กฎหมายไม่ถูกนำไปใช้แก้ปัญหาประเทศ ค่าร้อยละ
1 การแทรกแซงและอิทธิพลของนักการเมือง 72.9
2 ข้าราชการกลัวอำนาจการเมือง 69.6
3 อำนาจเงินและผลประโยชน์ของกลุ่มนายทุน 64.9
4 องค์กรอิสระถูกแทรกแซง 62.7
5 สื่อมวลชนถูกแทรกแซง 60.7
6 ประชาชนไม่เข้มแข็งเพียงพอ 54.9
7 อื่นๆ อาทิ ช่องว่างของกฎหมาย ขาดผู้นำที่มีคุณธรรมจริยธรรม และระบบอุปถัมถ์ เป็นต้น 21.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ คุณสมบัติที่ควรจะเป็นควรจะมีของประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ คุณสมบัติที่ควรจะเป็นควรจะมีของประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ค่าร้อยละ
1 คนดีมีคุณธรรม ซื่อสัตย์สุจริต 81.9
2 จริงใจจริงจังแก้ปัญหาประเทศ 76.6
3 ประสานความร่วมมือได้ดี 58.3
4 มีความรู้เรื่องกฎหมาย 42.1
5 เคยมีประสบการณ์บริหารประเทศ 38.7
6 มีวิสัยทัศน์กว้างไกล 36.9
7 มีความรู้ความสามารถ 34.2
8 อื่นๆ ได้แก่ อายุไม่มากเกินไปไม่น้อยเกินไป รวดเร็ว กล้าตัดสินใจ
คลุกคลีเป็นกันเองเข้าถึงปัญหาของประชาชน เป็นต้น 18.6
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความจำเป็นที่ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติต้องเป็นนักกฎหมาย
ลำดับที่ ความคิดเห็นของประชาชน ค่าร้อยละ
1 จำเป็น 22.9
2 ไม่จำเป็น 51.4
3 ไม่มีความเห็น 25.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความเชื่อต่อกรณีการวิ่งเต้นล็อบบี้ตำแหน่งสำคัญในสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
ลำดับที่ ความเชื่อของประชาชน ค่าร้อยละ
1 เชื่อว่ามีจริง 45.2
2 ไม่เชื่อว่ามีจริง 44.7
3 ไม่มีความเห็น 10.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ บุคคลที่เหมาะสมกับตำแหน่งประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (ตอบได้เพียงข้อเดียว)
ลำดับที่ รายชื่อบุคคล ค่าร้อยละ
1 ร้อยตำรวจเอก ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ 30.3
2 นายมีชัย ฤชุพันธุ์ 19.5
3 ร้อยตำรวจเอก นิติภูมิ นวรัตน์ 5.6
4 นายโคทม อารียา 5.1
5 พลตรี จำลอง ศรีเมือง 4.0
6 อื่นๆ ได้แก่ นายวัลลภ ตังคณานุรักษ์ นาวาอากาศตรี ประสงค์ สุ่นศิริ
นายสมเกียรติ อ่อนวิมล เป็นต้น 6.9
7 ไม่มีความเห็น/ ใครก็ได้ 28.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-