ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเอแบคนวัตกรรมทางสังคม การจัดการ และธุรกิจ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผล สำรวจ “เอแบคเรียลไทม์โพลล์ (Real-Time Survey)” ที่เป็นการสำรวจแบบรวดเร็วฉับไวภายในระยะเวลา 3 ชั่วโมง หลังจากมีสิ่งที่น่าสนใจ ติดตามในหมู่ประชาชน โดยครั้งนี้ได้ทำการสำรวจเรื่อง เปรียบเทียบแนวโน้มความเชื่อมั่น/ไม่เชื่อมั่นประเทศไทยกับนายกฯอภิสิทธิ์ ในทรรศนะของ ประชาชนทั่วประเทศครั้งที่ 7 ประจำวันอาทิตย์ที่ 8 มีนาคม 2552 ซึ่งดำเนินการสำรวจทันทีที่รายการโทรทัศน์และวิทยุดังกล่าวจบลงภายในระยะ เวลา 3 ชั่วโมงของการสำรวจครอบคลุมประชาชนที่ถูกศึกษาทั่วประเทศ ผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ซึ่งการสำรวจจะดำเนินการเป็นประจำทุก ครั้งที่มีการจัดรายการโทรทัศน์และการเผยแพร่ทางวิทยุของนายกรัฐมนตรี เพื่อดูแนวโน้มและเสียงสะท้อนของประชาชนต่อรายการดังกล่าว ผลการ สำรวจพบว่า
ตัวอย่างร้อยละ 16.8 ระบุติดตามรับชม/รับฟังรายการ ในขณะที่ร้อยละ 83.2 ระบุไม่ได้ติดตามรับชม/รับฟังในวันนี้ทั้งนี้เมื่อสอบถามถึง ความน่าสนใจของรายการเชื่อมั่นประเทศไทยประจำวันอาทิตย์ที่ 8 มีนาคม 2552 (วันนี้) นั้น พบว่าร้อยละ 90.9 ระบุมีความน่าสนใจ ในขณะที่ร้อย ละ 6.5 ระบุไม่น่าสนใจ และร้อยละ 2.6 ไม่ระบุความเห็น สำหรับประโยชน์ต่อการนำไปใช้ในชีวิตประจำวันของเนื้อหาสาระรายการนั้นพบว่า ร้อยละ 87.0 ระบุเนื้อหาสาระที่พูดมีประโยชน์ต่อการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน ในขณะที่ร้อยละ 5.2 ระบุไม่เป็นประโยชน์ และร้อยละ 7.8 ไม่ระบุ ความคิดเห็น
ทั้งนี้ประเด็นที่ชื่นชอบจากการพูดคุยในรายการประจำสัปดาห์นี้นั้นพบว่า ร้อยละ 69.2 ระบุชื่นชอบประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการขึ้นทะเบียน เพื่อรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ รองลงมาคือร้อยละ 66.7 ระบุชื่นชอบเรื่อง การควบคุมคุณภาพนมโรงเรียนให้ได้มาตรฐาน ร้อยละ 65.4 ระบุชื่นชอบการ พูดคุยเกี่ยวกับ การส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนรักการอ่าน ร้อยละ 61.5 ระบุชื่นชอบประเด็นเกี่ยวกับ การจัดตั้งชุมชนพอเพียง ร้อยละ 60.3 ระบุ ชื่นชอบประเด็นเกี่ยวกับการให้ค่าตอบแทนให้กับ อสม. เป็นรายเดือน ในขณะที่ร้อยละ 57.7 ระบุชื่นชอบการพูดคุยเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหายาเสพ ติด และความร่วมมือระหว่างประเทศไทย-ลาว ตามลำดับ
ทั้งนี้เมื่อสอบถามถึงประเด็นที่อยากให้นายกรัฐมนตรีพูดคุยในรายการครั้งต่อไปนั้น พบว่า ร้อยละ 73.1 ระบุแนวทางการแก้ไขปัญหา ความเดือดร้อนของเกษตรกร รองลงมาคือร้อยละ 57.7 ระบุปัญหานมโรงเรียนไม่ได้มาตรฐาน และปัญหาคุณภาพเด็กและเยาวชน ร้อยละ 56.4 ระบุแนวทางการแก้ไขปัญหาโคนม/นมดิบล้นตลาด ร้อยละ 55.1 การลงพื้นที่พบปะประชาชนของนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี การเปิดบัญชีธนาคาร เพื่อรับเบี้ยยังชีพของผู้สูงอายุ และปัญหาการกลับมาแพร่ระบาดของยาเสพติด ตามลำดับ
นอกจากนี้ผลสำรวจเมื่อสอบถามความเชื่อมั่นต่อประเทศไทยภายหลังติดตามรับชม/รับฟังรายการในวันนี้นั้น พบว่าร้อยละ 79.5 ระบุมี ความเชื่อมั่น ในขณะที่ร้อยละ 5.1 ระบุไม่เชื่อมั่น และร้อยละ 15.4 ไม่ระบุความคิดเห็น
สำหรับความคิดเห็นของประชาชนเมื่อสอบถามถึงกรณีการมีสิทธิได้รับเช็ค 2,000 บาทนั้นพบว่า ร้อยละ 27.3 ระบุตนเอง/คนในครอบ ครัวมีสิทธิได้รับเช็ค 2,000 บาท ทั้งนี้ค่าใช้จ่ายโดยเฉลี่ยในการเดินทางไปรับเช็ค เท่ากับ 520 บาท และเมื่อสอบถามถึงการมีสิทธิได้รับเบี้ยยัง ชีพผู้สูงอายุเดือนละ 500 บาทนั้นพบว่าร้อยละ 44.9 ระบุตนเอง/คนในครอบครัวมีสิทธิได้รับเบี้ยยังชีพนี้ทั้งนี้ค่าใช้จ่ายโดยเฉลี่ยในการเดินทางไปขึ้น ทะเบียนรับเบี้ยยังชีพเท่ากับ 244 บาท
"ผลสำรวจเอแบคเรียลไทม์โพลล์ครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่ามีประชาชนติดตามรายการเชื่อมั่นประเทศไทยกับนายกรัฐมนตรีเพิ่มสูงขึ้น และส่วนใหญ่ ของคนที่ติดตามชมรายการดังกล่าวมีความเชื่อมั่นต่อประเทศไทย อย่างไรก็ตาม ที่น่าเป็นห่วงในนโยบายเช็คสองพันบาทที่รัฐบาลแจกให้กับผู้มีรายได้น้อย ของสำนักงานประกันสังคมเนื่องจากสำรวจพบว่า ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยเพื่อได้เช็คสองพันบาทของประชาชนอยู่ที่ประมาณห้าร้อยบาทแล้ว ถือว่าประชาชนเสีย ค่าใช้จ่ายไปแล้วประมาณหนึ่งในสี่ โดยมีการระบุค่าใช้จ่ายเดินทางไปยังสำนักงานประกันสังคมฯ ค่าโทรศัพท์ และการถูกหักออกไปจากเงินที่จะได้รับ จากนายจ้าง เป็นต้น ยิ่งไปกว่านั้น เบี้ยยังชีพของผู้สูงอายุต้องใช้จ่ายไปเกือบครึ่งหนึ่งของวงเงินที่รัฐบาลให้ เงินที่ตกมือถึงประชาชนจริงๆ ผลที่ตามมา คือ นโยบายดังกล่าวอาจสร้างความผิดหวังและไม่พึงพอใจของประชาชนต่อมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจทั้งสองของรัฐบาลได้ ” ผอ.ศูนย์วิจัยเอแบคฯ กล่าว
รายละเอียดงานวิจัย
1. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อรายการเชื่อมั่นประเทศไทยกับนายกฯ อภิสิทธิ์ ครั้งที่ 7 ประจำวันอาทิตย์ ที่ 8 มีนาคม 2552
2. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
โครงการ “เอแบคเรียลไทม์โพลล์ (Real-Time Survey)” ของศูนย์วิจัยเอแบคนวัตกรรมทางสังคม การจัดการ และธุรกิจ มหา วิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้เรื่อง “เปรียบเทียบแนวโน้มความเชื่อมั่น/ไม่เชื่อมั่นประเทศไทยกับนายกฯ อภิสิทธิ์ ในทรรศนะของตัวอย่างประชาชนทั่ว ประเทศ ครั้งที่ 7” ซึ่งดำเนินโครงการในวันอาทิตย์ที่ 8 มีนาคม 2552 ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนทั่วประเทศ เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากรเป้าหมายจากการทำสำมะโน ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ คือ 1,018 ตัวอย่าง ช่วง ความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์ หลังจากนั้น คณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูลและงบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย มีคณะผู้วิจัย จำนวนทั้ง สิ้น 47 คน
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 55.3 เป็นหญิง
ร้อยละ 44.7 เป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 6.3 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 19.4 อายุระหว่าง 20 — 29 ปี
ร้อยละ 22.7 อายุระหว่าง 30 — 39 ปี
ร้อยละ 22.6 อายุระหว่าง 40 — 49 ปี
และร้อยละ 29.0 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 70.9 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี
รองลงมาคือร้อยละ 24.9 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 4.1 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ร้อยละ 29.4 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 21.6 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 18.3 ระบุอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน
ร้อยละ 10.5 ระบุข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 5.3 เป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ
ร้อยละ 6.8 เป็นนักเรียน/นักศึกษา
ในขณะที่ร้อยละ 5.0 ระบุว่างงาน/ไม่ประกอบอาชีพ
และร้อยละ 3.1 ไม่ระบุอาชีพ
ตัวอย่าง ร้อยละ 23.5 ระบุมีรายได้ส่วนตัวไม่เกิน 5,000 บาทต่อเดือน
ร้อยละ 17.3 ระบุมีรายได้ 5,001 — 10,000 บาท
ร้อยละ 10.1 ระบุมีรายได้ 10,001 — 15,000 บาท
ร้อยละ 12.9 ระบุมีรายได้ 15,001 — 20,000 บาท
ร้อยละ 16.2 ระบุมีรายได้ส่วนตัวมากกว่า 20,000 บาทต่อเดือน
และร้อยละ 20.0 ไม่ระบุรายได้ส่วนตัวต่อเดือน
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
เปรียบเทียบตามช่วงเวลาที่สำรวจ
การติดตามรับชม/รับฟังรายการ 25 ม.ค. 2552 1 ก.พ. 2552 8 ก.พ. 2552 15 ก.พ.2552 22 ก.พ.2522 1 มี.ค. 2552 8 มี.ค. 2552 “เชื่อมั่นประเทศไทยกับนายกฯ อภิสิทธิ์” ค่าร้อยละ ค่าร้อยละ ค่าร้อยละ ค่าร้อยละ ค่าร้อยละ ค่าร้อยละ ค่าร้อยละ 1. ติดตามรับชม/รับฟัง 11.3 15.8 11.8 12.3 10.5 12.7 16.8 2. ไม่ได้ติดตามรับชม/ไม่ได้รับฟัง 88.7 84.2 88.2 87.7 89.5 87.3 83.2 รวมทั้งสิ้น 100 100 100 100 100 100 100 ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความน่าสนใจของรายการ “เชื่อมั่นประเทศไทยกับนายกฯ อภิสิทธิ์”เปรียบเทียบตามช่วงเวลาที่สำรวจ
(ค่าร้อยละเฉพาะผู้ที่ได้ติดตามรับชม/รับฟัง)
ความน่าสนใจของรายการ 25 ม.ค. 2552 1 ก.พ. 2552 8 ก.พ.2552 15 ก.พ.2552 22 ก.พ.2522 1 มี.ค. 2552 8 มี.ค. 25 “เชื่อมั่นประเทศไทยกับนายกฯ อภิสิทธิ์” ค่าร้อยละ ค่าร้อยละ ค่าร้อยละ ค่าร้อยละ ค่าร้อยละ ค่าร้อยละ ค่าร้อยละ 1. น่าสนใจ 89.8 91.3 89.4 88.2 86 92.5 90.9 2. ไม่น่าสนใจ 3.4 7.2 4.4 7.9 6 3.8 6.5 3. ไม่มีความเห็น 6.8 1.5 6.2 3.9 8 3.7 2.6 รวมทั้งสิ้น 100 100 100 100 100 100 100 ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการมีประโยชน์ต่อการนำไปใช้ในชีวิตประจำวันของเนื้อหาสาระในรายการ “เชื่อมั่นประเทศไทยกับนายกฯ
อภิสิทธิ์” เปรียบเทียบตามช่วงเวลาที่สำรวจ (เป็นค่าร้อยละเฉพาะผู้ที่ได้ติดตามรับชม/รับฟัง)
การมีประโยชน์ต่อการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน 25 ม.ค. 2552 1 ก.พ. 2552 8 ก.พ.2552 15 ก.พ.2552 22 ก.พ.2522 1 มี.ค. 2552 8 มี.ค.52 ของเนื้อหาสาระในรายการ ค่าร้อยละ ค่าร้อยละ ค่าร้อยละ ค่าร้อยละ ค่าร้อยละ ค่าร้อยละ ค่าร้อยละ 1. เป็นประโยชน์ 85.2 95.7 87.5 87.2 91.8 88.7 87 2. ไม่เป็นประโยชน์ 8 1.4 5.4 7.2 6.2 3.8 5.2 3. ไม่มีความคิดเห็น 6.8 2.9 7.1 5.6 2 7.5 7.8 รวมทั้งสิ้น 100 100 100 100 100 100 100 ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุประเด็นที่ชื่นชอบ จากการพูดคุยของนายกรัฐมนตรีในรายการเชื่อมั่นประเทศไทยกับนายกฯ อภิสิทธิ์” ประจำวันอาทิตย์ที่ 8 มีนาคม 2552 (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ และเป็นค่าร้อยละเฉพาะผู้ที่ได้ติดตามรับชม/รับฟัง) ลำดับที่ ประเด็นการพูดคุยที่ชื่นชอบ ค่าร้อยละ 1 การขึ้นทะเบียนเพื่อรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ 69.2 2 การควบคุมคุณภาพ “นมโรงเรียน” ให้ได้มาตรฐาน 66.7 3 การส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนรักการอ่าน 65.4 4 การจัดตั้งชุมชนพอเพียง 61.5 5 การให้ค่าตอบแทนให้กับ อสม. เป็นรายเดือน 60.3 6 ความร่วมมือระหว่างประเทศไทย-ลาว 57.7 7 การแก้ไขปัญหายาเสพติด 57.7 8 มาตรการส่งเสริม ดึงดูดการลงทุนทั้งภาครัฐและเอกชน 56.4 9 มาตรการแก้ไขปํญหาอุตสาหกรรมยานยนต์ภายในประเทศ 56.4 10 การเพิ่มบทบาทของสตรีในการทำงาน 53.8 11 การแก้ไขปัญหาความรุนแรงที่เกิดขึ้นกับสตรี 52.6 12 ปัญหาน้ำนมดิบล้นตลาด 48.7 ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุประเด็นที่อยากให้นายกรัฐมนตรีพูดคุยในรายการ “เชื่อมั่นประเทศไทยกับนายกฯ อภิสิทธิ์” ในสัปดาห์หน้า (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ และเป็นค่าร้อยละเฉพาะผู้ที่ได้ติดตามรับชม/รับฟัง) ลำดับที่ ประเด็นที่อยากให้นายกรัฐมนตรีพูดคุยในรายการสัปดาห์หน้า ค่าร้อยละ 1 แนวทางการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของเกษตรกร 73.1 2 นมโรงเรียนไม่ได้มาตรฐาน 57.7 3 ปัญหาคุณภาพเด็กและเยาวชน 57.7 4 แนวทางการแก้ไขปํญหาโคนม/นมดิบล้นตลาด 56.4 5 การลงพื้นที่พบปะประชาชนของนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี 55.1 6 การเปิดบัญชีธนาคารเพื่อรับเบี้ยยังชีพของผู้สูงอายุ 55.1 7 ปัญหาการกลับมาแพร่ระบาดของยาเสพติด 55.1 8 การเปลี่ยนแปลงหลักสูตรและตำราเรียน 53.8 9 การป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยแล้ง 48.7 10 ปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ 48.7 11 การแก้ไขกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ 42.3 12 ข่าวพรรคประชาธิปัตย์รับเงิน 258 ล้าน 37.2 13 การอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล 34.6 14 การชุมนุมประท้วงรัฐบาลในพื้นที่ต่างๆ 34.6 15 การตั้งพรรคการเมืองใหม่ของกลุ่มพันธมิตร 28.2 16 ความเคลื่อนไหวทางการเมืองของ พ.ต.ท.ทักษิณ 28.2 ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความเชื่อมั่นต่อประเทศไทยภายหลังได้ติดตามรับชม/รับฟังรายการเชื่อมั่นประเทศไทยกับนายกฯอภิสิทธิ์
เปรียบเทียบตามช่วงเวลาที่สำรวจ (ค่าร้อยละเฉพาะผู้ที่ได้ติดตามรับชม/รับฟัง)
ความเชื่อมั่นต่อประเทศไทย 25 ม.ค. 2552 1 ก.พ. 2552 8 ก.พ.2552 15 ก.พ.2552 22 ก.พ.2522 1 มี.ค. 2552 8 มี.ค. 2552 ภายหลังติดตามรับชม/รับฟังรายการ ค่าร้อยละ ค่าร้อยละ ค่าร้อยละ ค่าร้อยละ ค่าร้อยละ ค่าร้อยละ ค่าร้อยละ 1. เชื่อมั่น 81.8 87 81.9 82.8 77.5 79.7 79.5 2. ไม่เชื่อมั่น 12.5 13 11.2 11.7 9.8 8.5 5.1 3. ไม่มีความคิดเห็น 5.7 - 6.9 5.5 12.7 11.8 15.4 รวมทั้งสิ้น 100 100 100 100 100 100 100 ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการมีสิทธิได้รับเช็ค 2,000 บาทของคนในครอบครัวและค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปรับเช็ค ลำดับที่ การมีสิทธิได้รับเช็ค 2,000 บาทของคนในครอบครัว ค่าร้อยละ 1 มีสิทธิได้รับเช็ค ทั้งนี้ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปรับเช็คโดยเฉลี่ยเท่ากับ 520 บาท 27.3 2 ไม่มีสิทธิได้รับ 72.7 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการมีสิทธิได้รับเบี้ยยังชีพสำหรับผู้สูงอายุของคนในครอบครัวและค่าใช้จ่ายในการเดินทางไป ขึ้นทะเบียนเพื่อรับเบี้ยยังชีพ ลำดับที่ การมีสิทธิได้รับเบี้ยยังชีพสำหรับผู้สูงอายุของคนในครอบครัว ค่าร้อยละ 1 มีสิทธิได้รับ ทั้งนี้ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปขึ้นทะเบียนเพื่อรับเบี้ยยังชีพโดยเฉลี่ยเท่ากับ 244 บาท 44.9 2 ไม่มีสิทธิได้รับ 55.1 รวมทั้งสิ้น 100.0 --เอแบคโพลล์-- -พห-