ความเป็นมาของโครงการ
สืบเนื่องจาก การขายหุ้นชินคอร์ปของครอบครัวนายกรัฐมนตรีและเครือญาติ ที่มีหลายฝ่ายออกมาให้ความเห็นถึงความไม่เหมาะสมและมี
ความไม่โปร่งใสในการขาย รวมทั้งกล่าวโยงไปถึง ก.ล.ต. ในฐานะที่มีหน้าที่ในการ “กำกับและพัฒนาตลาดทุนของประเทศให้มีประสิทธิภาพ
ยุติธรรม โปร่งใส และน่าเชื่อถือ” ว่าควรเร่งตรวจสอบและชี้แจงให้ประชาชนทราบถึงข้อเท็จจริงกรณีการขายหุ้นครั้งนี้ หากไม่ดำเนินการแสดงว่า
ก.ล.ต. เลือกปฏิบัติในการตรวจสอบบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ และอาจจะเข้าข่ายมีความผิดฐานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ หรือปฏิบัติ
หน้าที่โดยมิชอบอีกด้วย
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงประสงค์ที่จะทำการสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับผลกระทบของการขายหุ้นชินต่อภาพ
ลักษณ์ของ ก.ล.ต. ของผู้บริหารระดับต่าง ๆ ในภาคสถาบันการเงิน (ธนาคารพาณิชย์) ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ด้วยการให้อาจารย์
เจ้าหน้าที่ และพนักงาน เก็บรวบรวมข้อมูล ตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของผู้ที่ทำงานในภาคการเงินเกี่ยวกับผลกระทบเรื่องการขายหุ้นชินคอร์ปต่อภาพลักษณ์ของ ก.ล.ต.
2. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของผู้ที่ทำงานในภาคสถาบันการเงินต่อกรณีการขายหุ้นชินคอร์ป
3. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของผู้ที่ทำงานในภาคสถาบันการเงินต่อการตัดสินใจในขั้นต่อไปของนายกรัฐมนตรี
4. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาวิจัยในเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการดำเนินโครงการ
โครงการสำรวจภาคสนามเบื้องต้นของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง “ผลกระทบของการขายหุ้นชินต่อภาพลักษณ์
ของ ก.ล.ต. : กรณีศึกษาตัวอย่างผู้ที่ทำงานในภาคสถาบันการเงินในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล” ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจในวันที่ 30 -
31 มกราคม 2549 โดยมีระเบียบวิธีการทำวิจัยดังนี้
ประเภทของการทำวิจัย คือ การวิจัยเชิงสำรวจ
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ผู้ที่ทำงานในภาคสถาบันการเงิน (ธนาคารพาณิชย์) ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
วิธีการสุ่มตัวอย่าง คือ การสุ่มแบบเฉพาะเจาะจง ในการเข้าถึงตัวอย่างผู้ที่ทำงานในภาคสถาบันการเงินในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
ขนาดตัวอย่างทั้งสิ้น 336 ตัวอย่าง
เครื่องมือและวิธีการที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือ แบบสอบถามและการโทรศัพท์สัมภาษณ์
ทั้งนี้ คณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 52.1 เป็นชาย
ร้อยละ 47.9 เป็นหญิง
โดยตัวอย่าง ร้อยละ 7.5 มีอายุต่ำกว่า 30 ปี
ร้อยละ 25.4 อายุอยู่ระหว่าง 30-39 ปี
ร้อยละ 43.1 มีอายุอยู่ระหว่าง 40-49 ปี
และ ร้อยละ 24.0 มีอายุ 50 ปีขึ้นไป
ซึ่งตัวอย่าง ร้อยละ 1.5 เป็นผู้บริหารระดับสูง
ร้อยละ 1.5 เป็นผู้บริหารระดับกลาง
ร้อยละ 63.7 เป็นผู้บริหารระดับต้น และ
ร้อยละ 33.3 เป็นพนักงาน ทั้งนี้ตัวอย่าง
ร้อยละ 3.0 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี
ร้อยละ 80.2 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 16.8 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบ
บทสรุปผลการสำรวจ
ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้เปิดเผยผลสำรวจเบื้องต้นเรื่อง “ผลกระทบของการ
ขายหุ้นชินต่อภาพลักษณ์ของ ก.ล.ต. : กรณีศึกษาผู้ที่ทำงานในภาคสถาบันการเงินในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล” ซึ่งมีจำนวนตัวอย่างทั้งสิ้น
336 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 30 — 31 มกราคม 2549 โดยมีประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจดังนี้
จากตัวอย่างที่สอบถามส่วนใหญ่ ไม่เคยเล่นหุ้น ร้อยละ 61.2 ส่วนผู้ที่เคยเล่นหุ้น แต่ปัจจุบันไม่ได้เล่น และผู้ที่ปัจจุบันเล่นหุ้น มีสัดส่วน
ใกล้เคียงกัน คือ ร้อยละ 19.7 และร้อยละ 19.1 ตามลำดับ
อย่างไรก็ตาม เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามถึงความเห็นของตัวอย่างต่อภาพลักษณ์ของ ก.ล.ต. ในด้านต่าง ๆ ภายหลังจากการขายหุ้นชิน
คอร์ป ผลการสำรวจในแต่ละด้านมีดังนี้
- ด้านความน่าเชื่อถือ ร้อยละ 49.4 เห็นว่าไม่มีความน่าเชื่อถือ ในขณะที่ร้อยละ 33.3 เห็นว่าน่าเชื่อถือ ร้อยละ 15.5 ไม่แน่
ใจ และร้อยละ 1.8 ไม่มีความคิดเห็น
- ด้านความเป็นกลางในการกำกับดูแล ร้อยละ 54.5 เห็นว่าไม่มีความเป็นกลาง ร้อยละ 31.0 เห็นว่าเป็นกลาง ร้อยละ 14.3
ระบุไม่แน่ใจ และ ร้อยละ 0.2 ไม่มีความคิดเห็น
- ด้านความเป็นอิสระจากการเมือง ร้อยละ 66.1 เห็นว่าไม่มีความเป็นอิสระ ในขณะที่ร้อยละ 20.5 เห็นว่ามีความเป็นอิสระ และ
ร้อยละ 13.4 ไม่แน่ใจ
- ด้านการรักษาผลประโยชน์ของประเทศชาติ ร้อยละ 49.4 เห็นว่าไม่รักษาผลประโยชน์ของประเทศชาติ ร้อยละ 29.2 เห็นว่า
รักษาผลประโยชน์ของประเทศชาติ ร้อยละ 20.2 ไม่แน่ใจ และร้อยละ 1.2 ไม่มีความคิดเห็น
- ด้านความโปร่งใสในการดำเนินงาน ร้อยละ 54.8 เห็นว่าไม่มีความโปร่งใส ร้อยละ 26.2 เห็นว่ามีความโปร่งใส ร้อยละ
16.1 ไม่แน่ใจ และร้อยละ 2.9 ไม่มีความคิดเห็น
- ด้านความรู้ความสามารถของผู้บริหาร ร้อยละ 85.7 เห็นว่ามีความรู้ความสามารถ ร้อยละ 6.5 เห็นว่าไม่มีความรู้ความ
สามารถ ร้อยละ 6.5 ไม่แน่ใจ และร้อยละ 1.3 ไม่มีความคิดเห็น
- ด้านความรู้ความสามารถของบุคลากร ร้อยละ 74.4 เห็นว่ามีความรู้ความสามารถ ร้อยละ 8.3 เห็นว่าไม่มีความรู้ความสามารถ
ร้อยละ 16.1 ไม่แน่ใจ และร้อยละ 1.2 ไม่มีความคิดเห็น
- ด้านประสิทธิภาพในการกำกับการซื้อขายหลักทรัพย์ให้เป็นไปด้วยความยุติธรรม ร้อยละ 48.2 เห็นว่าไม่มีประสิทธิภาพ ร้อยละ
34.5 เห็นว่ามีประสิทธิภาพ ร้อยละ 15.8 ไม่แน่ใจ และร้อยละ 1.5 ไม่มีความคิดเห็น
ดร. นพดล กล่าวว่าผลสำรวจครั้งนี้สามารถสรุปได้ว่ากลุ่มผู้ตอบแบบสอบถามในสถาบันการเงินการธนาคารที่ถูกศึกษาส่วนใหญ่มองว่า
บุคลากรของ ก.ล.ต. เป็นผู้มีความรู้ความสามารถ อย่างไรก็ตาม การที่องค์กรเต็มไปด้วยผู้มีความรู้ความสามารถ ไม่ได้เป็นหลักประกันว่าจะสามารถ
ทำให้ภาพลักษณ์ขององค์กรด้านอื่นๆ เป็นที่ยอมรับของประชาชนได้ จึงต้องทำการศึกษาวิจัยอย่างลึกซึ้งต่อไปว่าสังคมในวงกว้างมององค์กรนี้อย่างไรเพื่อ
ค้นหาแนวทางสร้างความมั่นใจและการยอมรับของประชาชนต่อองค์กรนี้ เพราะเป็นองค์กรที่สำคัญต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศ
“ส่วนการให้ข้อมูลของ ก.ล.ต. ต่อสาธารณชนกรณีขายหุ้นชินนั้น ตัวอย่างเกือบครึ่งหนึ่งหรือร้อยละ 47.2 เห็นว่า ก.ล.ต. มีการปกปิด
ข้อมูล โดยเฉพาะข้อมูลการซื้อขายหุ้น (ร้อยละ 84.8) ส่วนตัวอย่างที่เหลือเห็นว่า ก.ล.ต. ไม่ปกปิดข้อมูลแต่ไม่ทราบข้อเท็จจริง (ร้อยละ 22.7)
ซึ่งสัดส่วนใกล้เคียงกับการไม่ปกปิดข้อมูลแต่ยังไม่ต้องการเปิดเผยข้อเท็จจริง (ร้อยละ 27.6) ในขณะที่ ร้อยละ 2.5 เห็นว่าไม่ปกปิดข้อมูลแต่ไม่จำ
เป็นต้องประกาศให้สาธารณชนทราบ” ดร. นพดลกล่าว
สำหรับความเห็นต่อการดำเนินการตรวจสอบการขายหุ้นชินของ ก.ล.ต. นั้น ดร.นพดลกล่าวเพิ่มเติมว่า ตัวอย่างส่วนใหญ่ถึงร้อยละ
80.5 เห็นว่า ก.ล.ต. จะดำเนินการตรวจสอบในเรื่องนี้ตามที่กระแสสังคมเรียกร้อง มีเพียงร้อยละ 19.5 เท่านั้นที่เห็นว่า ก.ล.ต. จะไม่ดำเนิน
การตรวจสอบ โดยระบุเหตุผลว่า เพราะ ก.ล.ต. เกรงกลัวอิทธิพลทางการเมือง(ร้อยละ 59.7 ) การเลือกปฏิบัติที่จะไม่ดำเนินการเกี่ยวกับ
ครอบครัวของนายกรัฐมนตรี (ร้อยละ 59.7)
นอกจากนี้ผลการสำรวจพบว่า ตัวอย่างส่วนใหญ่คือร้อยละ 70.9 ระบุต้องการให้ ป.ป.ง. เข้ามามีบทบาทในการตรวจสอบข้อมูลการ
ขายหุ้นชินเพื่อให้ประชาชนได้ทราบข้อเท็จจริง
สำหรับความคิดเห็นของตัวอย่าง ต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการตรวจสอบการขายหุ้นนั้นพบว่า ร้อยละ 71.7 เห็นว่าประชาชนควร
มีส่วนร่วมในการตรวจสอบด้วย ในขณะที่ร้อยละ 25.3 ระบุไม่ควรมีส่วนร่วมและร้อยละ 3.0 ระบุไม่แน่ใจ อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาประเด็นอื่นที่
จะกระทบต่อภาพลักษณ์ของ ก.ล.ต.นอกเหนือจากการขายหุ้นชินนั้น พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 53.5 เห็นว่าเป็นเรื่องกระบวนการทำงานของ ก.ล.ต. ที่
ไม่โปร่งใส รองลงมาร้อยละ 44.6 เห็นว่าเป็นเรื่องการซื้อขายหุ้นขององค์กรอื่น เช่น หุ้นเบียร์ช้าง หุ้นปิคนิค และหุ้น กฟผ. เป็นต้น
ดร.นพดลยังกล่าวเสริมอีกว่า ความเชื่อของผู้ที่อยู่ในภาคสถาบันการเงิน เกี่ยวกับการใช้ข้อมูลภายใน (Insider Trade) ในการขาย
หุ้นชินนั้น ตัวอย่างที่ถูกศึกษาส่วนใหญ่หรือร้อยละ 81.8 เชื่อว่ามีการใช้ข้อมูลภายใน ร้อยละ 10.7 ไม่แน่ใจ โดยมีเพียงร้อยละ 6.5 เท่านั้นที่ไม่
เชื่อ สำหรับความเหมาะสมของวิธีการซื้อขายหุ้นของคนในครอบครัวนายกรัฐมนตรี ร้อยละ 61.3 เห็นว่าไม่มีความเหมาะสม ร้อยละ 21.7 เห็นว่า
เหมาะสม และร้อยละ 15.8 ระบุไม่แน่ใจ
“อาจกล่าวได้ว่า ในช่วงเวลานี้ภาคสถาบันการเงินยังคงมีความไม่ชัดเจนต่อการขายหุ้นชินคอร์ป ส่งผลให้ร้อยละ 56.0 ของตัวอย่างไม่
มั่นใจในความสามารถของนายกรัฐมนตรี ที่จะแก้ไขปัญหาเรื่องการขายหุ้นชินฯให้ยุติลงได้ด้วยความโปร่งใส อย่างไรก็ตาม แม้จะยังไม่เห็นทางออกของ
ปัญหาจากตัวนายกรัฐมนตรี แต่นายกรัฐมนตรีเคยมีภาพลักษณ์โดดเด่นในเรื่องการแก้ไขความยากจน ปัญหายาเสพติด หนึ่งผลิตภัณฑ์หนึ่งตำบล และ
นโยบายประชานิยมที่ได้รับการตอบรับจากประชาชน จึงทำให้ผู้ตอบถึงร้อยละ 56.0 เช่นเดียวกันที่ยังต้องการให้นายกรัฐมนตรีทำงานต่อไป แต่มี
เงื่อนไขหลายประการ เช่น ต้องรักษาผลประโยชน์ของประเทศ ต้องดำเนินการเอาผิดแม้คนใกล้ชิด ทำทุกอย่างให้โปร่งใส ไม่แทรกแซงองค์กรอิสระ
ไม่เลี่ยงภาษี ไม่ซุกหุ้น และ ผิดก็ยอมรับผิดขอโทษประชาชน เป็นต้น” ดร. นพดล กล่าว
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุเรื่องการเล่นหุ้น
ลำดับที่ การเล่นหุ้น ค่าร้อยละ
1 ปัจจุบันเล่นหุ้น 19.1
2 เคยเล่นหุ้น แต่ปัจจุบันไม่เล่นหุ้น 19.7
3 ไม่เคยเล่นหุ้น 61.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความเห็นต่อภาพลักษณ์ของ ก.ล.ต. ด้านความน่าเชื่อถือ
ลำดับที่ ภาพลักษณ์ด้านความน่าเชื่อถือของ ก.ล.ต. ค่าร้อยละ
1 มีความน่าเชื่อถือ 33.3
2 ไม่มีความน่าเชื่อถือ 49.4
3 ไม่แน่ใจ 15.5
4 ไม่มีความคิดเห็น 1.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความเห็นต่อภาพลักษณ์ของ ก.ล.ต. ด้านความเป็นกลางในการกำกับดูแล
ลำดับที่ ความเป็นกลางในการกำกับดูแล ค่าร้อยละ
1 มีความเป็นกลาง 31.0
2 ไม่มีความเป็นกลาง 54.5
3 ไม่แน่ใจ 14.3
4 ไม่มีความคิดเห็น 0.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความเห็นต่อภาพลักษณ์ของ ก.ล.ต. ด้านความเป็นอิสระจากการเมือง
ลำดับที่ ความเป็นอิสระจากการเมือง ค่าร้อยละ
1 มีความเป็นอิสระ 20.5
2 ไม่มีความเป็นอิสระ 66.1
3 ไม่แน่ใจ 13.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความเห็นต่อภาพลักษณ์ของ ก.ล.ต. ด้านการรักษา
ผลประโยชน์ของประเทศชาติ
ลำดับที่ การรักษาผลประโยชน์ของประเทศชาติ ค่าร้อยละ
1 รักษาผลประโยชน์ของประเทศชาติ 29.2
2 ไม่รักษาผลประโยชน์ของประเทศชาติ 49.4
3 ไม่แน่ใจ 20.2
4 ไม่มีความคิดเห็น 1.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความเห็นต่อภาพลักษณ์ของ ก.ล.ต. ด้านความโปร่งใสในการดำเนินงาน
ลำดับที่ ความโปร่งใสในการดำเนินงาน ค่าร้อยละ
1 มีความโปร่งใสในการดำเนินงาน 26.2
2 ไม่มีความโปร่งใสในการดำเนินงาน 54.8
3 ไม่แน่ใจ 16.1
4 ไม่มีความคิดเห็น 2.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความเห็นต่อภาพลักษณ์ของ ก.ล.ต. ด้านความรู้ความสามารถของผู้บริหาร
ลำดับที่ ความรู้ความสามารถของผู้บริหาร ค่าร้อยละ
1 มีความรู้ความสามารถ 85.7
2 ไม่มีความรู้ความสามารถ 6.5
3 ไม่แน่ใจ 6.5
4 ไม่มีความคิดเห็น 1.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความเห็นต่อภาพลักษณ์ของ ก.ล.ต. ด้านความรู้ ความสามารถของบุคลากร
ลำดับที่ ความรู้ความสามารถของบุคลากร ค่าร้อยละ
1 มีความรู้ความสามารถ 74.4
2 ไม่มีความรู้ความสามารถ 8.3
3 ไม่แน่ใจ 16.1
4 ไม่มีความคิดเห็น 1.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความเห็นต่อภาพลักษณ์ของ ก.ล.ต. ด้านประสิทธิภาพในการกำกับการซื้อขายหลักทรัพย์
ให้เป็นไปด้วยความยุติธรรม
ลำดับที่ ประสิทธิภาพในการกำกับการซื้อขายหลักทรัพย์ให้เป็นไปด้วยความยุติธรรม ค่าร้อยละ
1 มีประสิทธิภาพ 34.5
2 ไม่มีประสิทธิภาพ 48.2
3 ไม่แน่ใจ 15.8
4 ไม่มีความคิดเห็น 1.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความเห็นในเรื่องการให้ข้อมูลของ ก.ล.ต. ต่อสาธารณชนกรณีขายหุ้นชินคอร์ป
ลำดับที่ การให้ข้อมูลของ ก.ล.ต. ต่อสาธารณชนกรณีขายหุ้นชินคอร์ป ค่าร้อยละ
1 ก.ล.ต. ปกปิดข้อมูล โดยปกปิดข้อมูลเกี่ยวกับ 47.2
- ข้อมูลการซื้อขายหุ้น ร้อยละ 84.8
- ข้อมูลการเสียภาษี ร้อยละ 10.9
- ข้อมูลเรื่องผลประโยชน์ของรัฐบาล ร้อยละ 4.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
2 ก.ล.ต. ไม่ปกปิดข้อมูล แต่ไม่ทราบข้อเท็จจริง 22.7
3 ก.ล.ต. ไม่ปกปิดข้อมูล แต่ยังไม่ต้องการเปิดเผยข้อเท็จจริง 27.6
4 อื่น ๆ (ไม่ปกปิดข้อมูล แต่ไม่จำเป็นต้องประกาศให้สาธารณชนทราบ) 2.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 11 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความเห็นต่อการดำเนินการตรวจสอบการขายหุ้นชินคอร์ปของ ก.ล.ต. ตามกระแสเรียกร้องของสังคม
ลำดับที่ การดำเนินการตรวจสอบการขายหุ้นชินคอร์ปของ ก.ล.ต. ค่าร้อยละ
1 ก.ล.ต. จะดำเนินการตรวจสอบ 80.5
2 ก.ล.ต. จะไม่ดำเนินการตรวจสอบเนื่องจาก (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) 19.5
- เกรงกลัวอิทธิพลทางการเมือง 59.7
- เลือกปฏิบัติที่จะไม่ดำเนินการเกี่ยวกับ 59.7
ครอบครัวของนายก
- ผู้บริหารระดับสูงของ ก.ล.ต. เป็นคน 5.2
ของรัฐบาล 4
- ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ เหมือนเช่นที่ 37.1
ครป. กล่าวหา
- กลัวเสียผลประโยชน์ส่วนตัวและพวกพ้อง 43.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 12 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความเห็นต่อหน่วยงานอื่นที่ควรมีบทบาทในการตรวจสอบ
ข้อมูลการขายหุ้นชินคอร์ป เพื่อให้ประชาชนทราบข้อเท็จจริง (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ หน่วยงานอื่นที่ควรมีบทบาทในการตรวจสอบข้อมูลการขายหุ้นชินคอร์ป ค่าร้อยละ
1 คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน(ป.ป.ง.) 70.9
2 ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย 63.3
3 กรมสรรพากร 60.6
4 กระทรวงการคลัง 47.3
5 คณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย (ครป.) 31.5
6 อื่น ๆ ระบุ หน่วยงานด้านการปราบปรามคอร์รัปชั่นตั้ง
คณะกรรมการตรวจสอบโดยเฉพาะ สื่อมวลชน ธนาคารแห่งประเทศไทย 13.9
ตารางที่ 13 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความเห็นในเรื่องการมีส่วนร่วมของประชนในการ ตรวจสอบการขายหุ้นชินคอร์ป
ลำดับที่ ความเห็นในเรื่องการมีส่วนร่วมของประชาชน ค่าร้อยละ
1 ควรมีส่วนร่วม 71.7
2 ไม่ควรมีส่วนร่วม 25.3
3 ไม่แน่ใจ 3.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 14 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความเห็นต่อเรื่องที่จะมีผลกระทบต่อภาพลักษณ์ของ
ก.ล.ต. นอกเหนือจากกรณีการขายหุ้นชินคอร์ป (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ เรื่องที่จะมีผลกระทบต่อภาพลักษณ์ของ ก.ล.ต. ค่าร้อยละ
1 หุ้นการซื้อขายหุ้นของบริษัทอื่น (เช่น เบียร์ช้าง ปิคนิค การไฟฟ้า) 44.6
2 ภาษีในการซื้อขายหุ้น 3.0
3 กระบวนการทำงานของ ก.ล.ต. ไม่โปร่งใส 53.5
ตารางที่ 15 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความเชื่อเกี่ยวกับการใช้ข้อมูลภายใน (Insider Trade)
ในการซื้อขายหุ้นของคนในครอบครัวนายกรัฐมนตรี
ลำดับที่ การใช้ข้อมูลภายใน (Insider Trade) ในการซื้อขายหุ้น ค่าร้อยละ
1 เชื่อว่ามีการใช้ข้อมูลภายใน 81.8
2 ไม่เชื่อว่ามีการใช้ข้อมูลภายใน 6.5
3 ไม่แน่ใจ 10.7
4 ไม่มีความคิดเห็น 1.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 16 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความเห็นเกี่ยวกับความเหมาะสมของวิธีการซื้อขายหุ้นของ คนในครอบครัวนายกรัฐมนตรี
ลำดับที่ ความเหมาะสมของวิธีการซื้อขายหุ้น ค่าร้อยละ
1 มีความเหมาะสม 21.7
2 ไม่มีความเหมาะสม 61.3
3 ไม่แน่ใจ 15.8
4 ไม่มีความคิดเห็น 1.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 17 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความมั่นใจเกี่ยวกับความสามารถของนายกรัฐมนตรีใน
การแก้ไขปัญหาเรื่องการขายหุ้นชินให้ยุติลงด้วยความโปร่งใส
ลำดับที่ ความมั่นใจเกี่ยวกับความสามารถของนายกรัฐมนตรี ค่าร้อยละ
1 มั่นใจ 32.1
2 ไม่มั่นใจ 56.0
3 ไม่แน่ใจ 11.3
4 ไม่มีความคิดเห็น 0.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 18 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความเห็นในต่อการตัดสินใจดำเนินการขั้นต่อไปของ
นายกรัฐมนตรี ภายหลังจากกรณีขายหุ้นชิน
ลำดับที่ ความเห็นในต่อการตัดสินใจดำเนินการขั้นต่อไปของนายกรัฐมนตรี ค่าร้อยละ
1 ทำงานต่อแต่มีเงื่อนไขดังนี้ 56.0
- รักษาผลประโยชน์ของประเทศ
- ดำเนินการเอาผิดแม้คนใกล้ชิด
- ทำทุกอย่างให้โปร่งใส
- ไม่แทรกแซงองค์กรอิสระ
- ไม่เลี่ยงภาษี/ไม่ซุกหุ้น
- ผิดก็ยอมรับผิด/ขอโทษประชาชน เป็นต้น
2 ยุบสภา 8.6
3 ลาออก 19.6
4 ไม่แน่ใจ 14.6
5 ไม่มีความคิดเห็น 1.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-
สืบเนื่องจาก การขายหุ้นชินคอร์ปของครอบครัวนายกรัฐมนตรีและเครือญาติ ที่มีหลายฝ่ายออกมาให้ความเห็นถึงความไม่เหมาะสมและมี
ความไม่โปร่งใสในการขาย รวมทั้งกล่าวโยงไปถึง ก.ล.ต. ในฐานะที่มีหน้าที่ในการ “กำกับและพัฒนาตลาดทุนของประเทศให้มีประสิทธิภาพ
ยุติธรรม โปร่งใส และน่าเชื่อถือ” ว่าควรเร่งตรวจสอบและชี้แจงให้ประชาชนทราบถึงข้อเท็จจริงกรณีการขายหุ้นครั้งนี้ หากไม่ดำเนินการแสดงว่า
ก.ล.ต. เลือกปฏิบัติในการตรวจสอบบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ และอาจจะเข้าข่ายมีความผิดฐานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ หรือปฏิบัติ
หน้าที่โดยมิชอบอีกด้วย
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงประสงค์ที่จะทำการสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับผลกระทบของการขายหุ้นชินต่อภาพ
ลักษณ์ของ ก.ล.ต. ของผู้บริหารระดับต่าง ๆ ในภาคสถาบันการเงิน (ธนาคารพาณิชย์) ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ด้วยการให้อาจารย์
เจ้าหน้าที่ และพนักงาน เก็บรวบรวมข้อมูล ตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของผู้ที่ทำงานในภาคการเงินเกี่ยวกับผลกระทบเรื่องการขายหุ้นชินคอร์ปต่อภาพลักษณ์ของ ก.ล.ต.
2. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของผู้ที่ทำงานในภาคสถาบันการเงินต่อกรณีการขายหุ้นชินคอร์ป
3. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของผู้ที่ทำงานในภาคสถาบันการเงินต่อการตัดสินใจในขั้นต่อไปของนายกรัฐมนตรี
4. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาวิจัยในเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการดำเนินโครงการ
โครงการสำรวจภาคสนามเบื้องต้นของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง “ผลกระทบของการขายหุ้นชินต่อภาพลักษณ์
ของ ก.ล.ต. : กรณีศึกษาตัวอย่างผู้ที่ทำงานในภาคสถาบันการเงินในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล” ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจในวันที่ 30 -
31 มกราคม 2549 โดยมีระเบียบวิธีการทำวิจัยดังนี้
ประเภทของการทำวิจัย คือ การวิจัยเชิงสำรวจ
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ผู้ที่ทำงานในภาคสถาบันการเงิน (ธนาคารพาณิชย์) ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
วิธีการสุ่มตัวอย่าง คือ การสุ่มแบบเฉพาะเจาะจง ในการเข้าถึงตัวอย่างผู้ที่ทำงานในภาคสถาบันการเงินในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
ขนาดตัวอย่างทั้งสิ้น 336 ตัวอย่าง
เครื่องมือและวิธีการที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือ แบบสอบถามและการโทรศัพท์สัมภาษณ์
ทั้งนี้ คณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 52.1 เป็นชาย
ร้อยละ 47.9 เป็นหญิง
โดยตัวอย่าง ร้อยละ 7.5 มีอายุต่ำกว่า 30 ปี
ร้อยละ 25.4 อายุอยู่ระหว่าง 30-39 ปี
ร้อยละ 43.1 มีอายุอยู่ระหว่าง 40-49 ปี
และ ร้อยละ 24.0 มีอายุ 50 ปีขึ้นไป
ซึ่งตัวอย่าง ร้อยละ 1.5 เป็นผู้บริหารระดับสูง
ร้อยละ 1.5 เป็นผู้บริหารระดับกลาง
ร้อยละ 63.7 เป็นผู้บริหารระดับต้น และ
ร้อยละ 33.3 เป็นพนักงาน ทั้งนี้ตัวอย่าง
ร้อยละ 3.0 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี
ร้อยละ 80.2 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 16.8 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบ
บทสรุปผลการสำรวจ
ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้เปิดเผยผลสำรวจเบื้องต้นเรื่อง “ผลกระทบของการ
ขายหุ้นชินต่อภาพลักษณ์ของ ก.ล.ต. : กรณีศึกษาผู้ที่ทำงานในภาคสถาบันการเงินในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล” ซึ่งมีจำนวนตัวอย่างทั้งสิ้น
336 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 30 — 31 มกราคม 2549 โดยมีประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจดังนี้
จากตัวอย่างที่สอบถามส่วนใหญ่ ไม่เคยเล่นหุ้น ร้อยละ 61.2 ส่วนผู้ที่เคยเล่นหุ้น แต่ปัจจุบันไม่ได้เล่น และผู้ที่ปัจจุบันเล่นหุ้น มีสัดส่วน
ใกล้เคียงกัน คือ ร้อยละ 19.7 และร้อยละ 19.1 ตามลำดับ
อย่างไรก็ตาม เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามถึงความเห็นของตัวอย่างต่อภาพลักษณ์ของ ก.ล.ต. ในด้านต่าง ๆ ภายหลังจากการขายหุ้นชิน
คอร์ป ผลการสำรวจในแต่ละด้านมีดังนี้
- ด้านความน่าเชื่อถือ ร้อยละ 49.4 เห็นว่าไม่มีความน่าเชื่อถือ ในขณะที่ร้อยละ 33.3 เห็นว่าน่าเชื่อถือ ร้อยละ 15.5 ไม่แน่
ใจ และร้อยละ 1.8 ไม่มีความคิดเห็น
- ด้านความเป็นกลางในการกำกับดูแล ร้อยละ 54.5 เห็นว่าไม่มีความเป็นกลาง ร้อยละ 31.0 เห็นว่าเป็นกลาง ร้อยละ 14.3
ระบุไม่แน่ใจ และ ร้อยละ 0.2 ไม่มีความคิดเห็น
- ด้านความเป็นอิสระจากการเมือง ร้อยละ 66.1 เห็นว่าไม่มีความเป็นอิสระ ในขณะที่ร้อยละ 20.5 เห็นว่ามีความเป็นอิสระ และ
ร้อยละ 13.4 ไม่แน่ใจ
- ด้านการรักษาผลประโยชน์ของประเทศชาติ ร้อยละ 49.4 เห็นว่าไม่รักษาผลประโยชน์ของประเทศชาติ ร้อยละ 29.2 เห็นว่า
รักษาผลประโยชน์ของประเทศชาติ ร้อยละ 20.2 ไม่แน่ใจ และร้อยละ 1.2 ไม่มีความคิดเห็น
- ด้านความโปร่งใสในการดำเนินงาน ร้อยละ 54.8 เห็นว่าไม่มีความโปร่งใส ร้อยละ 26.2 เห็นว่ามีความโปร่งใส ร้อยละ
16.1 ไม่แน่ใจ และร้อยละ 2.9 ไม่มีความคิดเห็น
- ด้านความรู้ความสามารถของผู้บริหาร ร้อยละ 85.7 เห็นว่ามีความรู้ความสามารถ ร้อยละ 6.5 เห็นว่าไม่มีความรู้ความ
สามารถ ร้อยละ 6.5 ไม่แน่ใจ และร้อยละ 1.3 ไม่มีความคิดเห็น
- ด้านความรู้ความสามารถของบุคลากร ร้อยละ 74.4 เห็นว่ามีความรู้ความสามารถ ร้อยละ 8.3 เห็นว่าไม่มีความรู้ความสามารถ
ร้อยละ 16.1 ไม่แน่ใจ และร้อยละ 1.2 ไม่มีความคิดเห็น
- ด้านประสิทธิภาพในการกำกับการซื้อขายหลักทรัพย์ให้เป็นไปด้วยความยุติธรรม ร้อยละ 48.2 เห็นว่าไม่มีประสิทธิภาพ ร้อยละ
34.5 เห็นว่ามีประสิทธิภาพ ร้อยละ 15.8 ไม่แน่ใจ และร้อยละ 1.5 ไม่มีความคิดเห็น
ดร. นพดล กล่าวว่าผลสำรวจครั้งนี้สามารถสรุปได้ว่ากลุ่มผู้ตอบแบบสอบถามในสถาบันการเงินการธนาคารที่ถูกศึกษาส่วนใหญ่มองว่า
บุคลากรของ ก.ล.ต. เป็นผู้มีความรู้ความสามารถ อย่างไรก็ตาม การที่องค์กรเต็มไปด้วยผู้มีความรู้ความสามารถ ไม่ได้เป็นหลักประกันว่าจะสามารถ
ทำให้ภาพลักษณ์ขององค์กรด้านอื่นๆ เป็นที่ยอมรับของประชาชนได้ จึงต้องทำการศึกษาวิจัยอย่างลึกซึ้งต่อไปว่าสังคมในวงกว้างมององค์กรนี้อย่างไรเพื่อ
ค้นหาแนวทางสร้างความมั่นใจและการยอมรับของประชาชนต่อองค์กรนี้ เพราะเป็นองค์กรที่สำคัญต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศ
“ส่วนการให้ข้อมูลของ ก.ล.ต. ต่อสาธารณชนกรณีขายหุ้นชินนั้น ตัวอย่างเกือบครึ่งหนึ่งหรือร้อยละ 47.2 เห็นว่า ก.ล.ต. มีการปกปิด
ข้อมูล โดยเฉพาะข้อมูลการซื้อขายหุ้น (ร้อยละ 84.8) ส่วนตัวอย่างที่เหลือเห็นว่า ก.ล.ต. ไม่ปกปิดข้อมูลแต่ไม่ทราบข้อเท็จจริง (ร้อยละ 22.7)
ซึ่งสัดส่วนใกล้เคียงกับการไม่ปกปิดข้อมูลแต่ยังไม่ต้องการเปิดเผยข้อเท็จจริง (ร้อยละ 27.6) ในขณะที่ ร้อยละ 2.5 เห็นว่าไม่ปกปิดข้อมูลแต่ไม่จำ
เป็นต้องประกาศให้สาธารณชนทราบ” ดร. นพดลกล่าว
สำหรับความเห็นต่อการดำเนินการตรวจสอบการขายหุ้นชินของ ก.ล.ต. นั้น ดร.นพดลกล่าวเพิ่มเติมว่า ตัวอย่างส่วนใหญ่ถึงร้อยละ
80.5 เห็นว่า ก.ล.ต. จะดำเนินการตรวจสอบในเรื่องนี้ตามที่กระแสสังคมเรียกร้อง มีเพียงร้อยละ 19.5 เท่านั้นที่เห็นว่า ก.ล.ต. จะไม่ดำเนิน
การตรวจสอบ โดยระบุเหตุผลว่า เพราะ ก.ล.ต. เกรงกลัวอิทธิพลทางการเมือง(ร้อยละ 59.7 ) การเลือกปฏิบัติที่จะไม่ดำเนินการเกี่ยวกับ
ครอบครัวของนายกรัฐมนตรี (ร้อยละ 59.7)
นอกจากนี้ผลการสำรวจพบว่า ตัวอย่างส่วนใหญ่คือร้อยละ 70.9 ระบุต้องการให้ ป.ป.ง. เข้ามามีบทบาทในการตรวจสอบข้อมูลการ
ขายหุ้นชินเพื่อให้ประชาชนได้ทราบข้อเท็จจริง
สำหรับความคิดเห็นของตัวอย่าง ต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการตรวจสอบการขายหุ้นนั้นพบว่า ร้อยละ 71.7 เห็นว่าประชาชนควร
มีส่วนร่วมในการตรวจสอบด้วย ในขณะที่ร้อยละ 25.3 ระบุไม่ควรมีส่วนร่วมและร้อยละ 3.0 ระบุไม่แน่ใจ อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาประเด็นอื่นที่
จะกระทบต่อภาพลักษณ์ของ ก.ล.ต.นอกเหนือจากการขายหุ้นชินนั้น พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 53.5 เห็นว่าเป็นเรื่องกระบวนการทำงานของ ก.ล.ต. ที่
ไม่โปร่งใส รองลงมาร้อยละ 44.6 เห็นว่าเป็นเรื่องการซื้อขายหุ้นขององค์กรอื่น เช่น หุ้นเบียร์ช้าง หุ้นปิคนิค และหุ้น กฟผ. เป็นต้น
ดร.นพดลยังกล่าวเสริมอีกว่า ความเชื่อของผู้ที่อยู่ในภาคสถาบันการเงิน เกี่ยวกับการใช้ข้อมูลภายใน (Insider Trade) ในการขาย
หุ้นชินนั้น ตัวอย่างที่ถูกศึกษาส่วนใหญ่หรือร้อยละ 81.8 เชื่อว่ามีการใช้ข้อมูลภายใน ร้อยละ 10.7 ไม่แน่ใจ โดยมีเพียงร้อยละ 6.5 เท่านั้นที่ไม่
เชื่อ สำหรับความเหมาะสมของวิธีการซื้อขายหุ้นของคนในครอบครัวนายกรัฐมนตรี ร้อยละ 61.3 เห็นว่าไม่มีความเหมาะสม ร้อยละ 21.7 เห็นว่า
เหมาะสม และร้อยละ 15.8 ระบุไม่แน่ใจ
“อาจกล่าวได้ว่า ในช่วงเวลานี้ภาคสถาบันการเงินยังคงมีความไม่ชัดเจนต่อการขายหุ้นชินคอร์ป ส่งผลให้ร้อยละ 56.0 ของตัวอย่างไม่
มั่นใจในความสามารถของนายกรัฐมนตรี ที่จะแก้ไขปัญหาเรื่องการขายหุ้นชินฯให้ยุติลงได้ด้วยความโปร่งใส อย่างไรก็ตาม แม้จะยังไม่เห็นทางออกของ
ปัญหาจากตัวนายกรัฐมนตรี แต่นายกรัฐมนตรีเคยมีภาพลักษณ์โดดเด่นในเรื่องการแก้ไขความยากจน ปัญหายาเสพติด หนึ่งผลิตภัณฑ์หนึ่งตำบล และ
นโยบายประชานิยมที่ได้รับการตอบรับจากประชาชน จึงทำให้ผู้ตอบถึงร้อยละ 56.0 เช่นเดียวกันที่ยังต้องการให้นายกรัฐมนตรีทำงานต่อไป แต่มี
เงื่อนไขหลายประการ เช่น ต้องรักษาผลประโยชน์ของประเทศ ต้องดำเนินการเอาผิดแม้คนใกล้ชิด ทำทุกอย่างให้โปร่งใส ไม่แทรกแซงองค์กรอิสระ
ไม่เลี่ยงภาษี ไม่ซุกหุ้น และ ผิดก็ยอมรับผิดขอโทษประชาชน เป็นต้น” ดร. นพดล กล่าว
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุเรื่องการเล่นหุ้น
ลำดับที่ การเล่นหุ้น ค่าร้อยละ
1 ปัจจุบันเล่นหุ้น 19.1
2 เคยเล่นหุ้น แต่ปัจจุบันไม่เล่นหุ้น 19.7
3 ไม่เคยเล่นหุ้น 61.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความเห็นต่อภาพลักษณ์ของ ก.ล.ต. ด้านความน่าเชื่อถือ
ลำดับที่ ภาพลักษณ์ด้านความน่าเชื่อถือของ ก.ล.ต. ค่าร้อยละ
1 มีความน่าเชื่อถือ 33.3
2 ไม่มีความน่าเชื่อถือ 49.4
3 ไม่แน่ใจ 15.5
4 ไม่มีความคิดเห็น 1.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความเห็นต่อภาพลักษณ์ของ ก.ล.ต. ด้านความเป็นกลางในการกำกับดูแล
ลำดับที่ ความเป็นกลางในการกำกับดูแล ค่าร้อยละ
1 มีความเป็นกลาง 31.0
2 ไม่มีความเป็นกลาง 54.5
3 ไม่แน่ใจ 14.3
4 ไม่มีความคิดเห็น 0.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความเห็นต่อภาพลักษณ์ของ ก.ล.ต. ด้านความเป็นอิสระจากการเมือง
ลำดับที่ ความเป็นอิสระจากการเมือง ค่าร้อยละ
1 มีความเป็นอิสระ 20.5
2 ไม่มีความเป็นอิสระ 66.1
3 ไม่แน่ใจ 13.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความเห็นต่อภาพลักษณ์ของ ก.ล.ต. ด้านการรักษา
ผลประโยชน์ของประเทศชาติ
ลำดับที่ การรักษาผลประโยชน์ของประเทศชาติ ค่าร้อยละ
1 รักษาผลประโยชน์ของประเทศชาติ 29.2
2 ไม่รักษาผลประโยชน์ของประเทศชาติ 49.4
3 ไม่แน่ใจ 20.2
4 ไม่มีความคิดเห็น 1.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความเห็นต่อภาพลักษณ์ของ ก.ล.ต. ด้านความโปร่งใสในการดำเนินงาน
ลำดับที่ ความโปร่งใสในการดำเนินงาน ค่าร้อยละ
1 มีความโปร่งใสในการดำเนินงาน 26.2
2 ไม่มีความโปร่งใสในการดำเนินงาน 54.8
3 ไม่แน่ใจ 16.1
4 ไม่มีความคิดเห็น 2.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความเห็นต่อภาพลักษณ์ของ ก.ล.ต. ด้านความรู้ความสามารถของผู้บริหาร
ลำดับที่ ความรู้ความสามารถของผู้บริหาร ค่าร้อยละ
1 มีความรู้ความสามารถ 85.7
2 ไม่มีความรู้ความสามารถ 6.5
3 ไม่แน่ใจ 6.5
4 ไม่มีความคิดเห็น 1.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความเห็นต่อภาพลักษณ์ของ ก.ล.ต. ด้านความรู้ ความสามารถของบุคลากร
ลำดับที่ ความรู้ความสามารถของบุคลากร ค่าร้อยละ
1 มีความรู้ความสามารถ 74.4
2 ไม่มีความรู้ความสามารถ 8.3
3 ไม่แน่ใจ 16.1
4 ไม่มีความคิดเห็น 1.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความเห็นต่อภาพลักษณ์ของ ก.ล.ต. ด้านประสิทธิภาพในการกำกับการซื้อขายหลักทรัพย์
ให้เป็นไปด้วยความยุติธรรม
ลำดับที่ ประสิทธิภาพในการกำกับการซื้อขายหลักทรัพย์ให้เป็นไปด้วยความยุติธรรม ค่าร้อยละ
1 มีประสิทธิภาพ 34.5
2 ไม่มีประสิทธิภาพ 48.2
3 ไม่แน่ใจ 15.8
4 ไม่มีความคิดเห็น 1.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความเห็นในเรื่องการให้ข้อมูลของ ก.ล.ต. ต่อสาธารณชนกรณีขายหุ้นชินคอร์ป
ลำดับที่ การให้ข้อมูลของ ก.ล.ต. ต่อสาธารณชนกรณีขายหุ้นชินคอร์ป ค่าร้อยละ
1 ก.ล.ต. ปกปิดข้อมูล โดยปกปิดข้อมูลเกี่ยวกับ 47.2
- ข้อมูลการซื้อขายหุ้น ร้อยละ 84.8
- ข้อมูลการเสียภาษี ร้อยละ 10.9
- ข้อมูลเรื่องผลประโยชน์ของรัฐบาล ร้อยละ 4.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
2 ก.ล.ต. ไม่ปกปิดข้อมูล แต่ไม่ทราบข้อเท็จจริง 22.7
3 ก.ล.ต. ไม่ปกปิดข้อมูล แต่ยังไม่ต้องการเปิดเผยข้อเท็จจริง 27.6
4 อื่น ๆ (ไม่ปกปิดข้อมูล แต่ไม่จำเป็นต้องประกาศให้สาธารณชนทราบ) 2.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 11 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความเห็นต่อการดำเนินการตรวจสอบการขายหุ้นชินคอร์ปของ ก.ล.ต. ตามกระแสเรียกร้องของสังคม
ลำดับที่ การดำเนินการตรวจสอบการขายหุ้นชินคอร์ปของ ก.ล.ต. ค่าร้อยละ
1 ก.ล.ต. จะดำเนินการตรวจสอบ 80.5
2 ก.ล.ต. จะไม่ดำเนินการตรวจสอบเนื่องจาก (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) 19.5
- เกรงกลัวอิทธิพลทางการเมือง 59.7
- เลือกปฏิบัติที่จะไม่ดำเนินการเกี่ยวกับ 59.7
ครอบครัวของนายก
- ผู้บริหารระดับสูงของ ก.ล.ต. เป็นคน 5.2
ของรัฐบาล 4
- ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ เหมือนเช่นที่ 37.1
ครป. กล่าวหา
- กลัวเสียผลประโยชน์ส่วนตัวและพวกพ้อง 43.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 12 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความเห็นต่อหน่วยงานอื่นที่ควรมีบทบาทในการตรวจสอบ
ข้อมูลการขายหุ้นชินคอร์ป เพื่อให้ประชาชนทราบข้อเท็จจริง (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ หน่วยงานอื่นที่ควรมีบทบาทในการตรวจสอบข้อมูลการขายหุ้นชินคอร์ป ค่าร้อยละ
1 คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน(ป.ป.ง.) 70.9
2 ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย 63.3
3 กรมสรรพากร 60.6
4 กระทรวงการคลัง 47.3
5 คณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย (ครป.) 31.5
6 อื่น ๆ ระบุ หน่วยงานด้านการปราบปรามคอร์รัปชั่นตั้ง
คณะกรรมการตรวจสอบโดยเฉพาะ สื่อมวลชน ธนาคารแห่งประเทศไทย 13.9
ตารางที่ 13 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความเห็นในเรื่องการมีส่วนร่วมของประชนในการ ตรวจสอบการขายหุ้นชินคอร์ป
ลำดับที่ ความเห็นในเรื่องการมีส่วนร่วมของประชาชน ค่าร้อยละ
1 ควรมีส่วนร่วม 71.7
2 ไม่ควรมีส่วนร่วม 25.3
3 ไม่แน่ใจ 3.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 14 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความเห็นต่อเรื่องที่จะมีผลกระทบต่อภาพลักษณ์ของ
ก.ล.ต. นอกเหนือจากกรณีการขายหุ้นชินคอร์ป (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ เรื่องที่จะมีผลกระทบต่อภาพลักษณ์ของ ก.ล.ต. ค่าร้อยละ
1 หุ้นการซื้อขายหุ้นของบริษัทอื่น (เช่น เบียร์ช้าง ปิคนิค การไฟฟ้า) 44.6
2 ภาษีในการซื้อขายหุ้น 3.0
3 กระบวนการทำงานของ ก.ล.ต. ไม่โปร่งใส 53.5
ตารางที่ 15 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความเชื่อเกี่ยวกับการใช้ข้อมูลภายใน (Insider Trade)
ในการซื้อขายหุ้นของคนในครอบครัวนายกรัฐมนตรี
ลำดับที่ การใช้ข้อมูลภายใน (Insider Trade) ในการซื้อขายหุ้น ค่าร้อยละ
1 เชื่อว่ามีการใช้ข้อมูลภายใน 81.8
2 ไม่เชื่อว่ามีการใช้ข้อมูลภายใน 6.5
3 ไม่แน่ใจ 10.7
4 ไม่มีความคิดเห็น 1.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 16 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความเห็นเกี่ยวกับความเหมาะสมของวิธีการซื้อขายหุ้นของ คนในครอบครัวนายกรัฐมนตรี
ลำดับที่ ความเหมาะสมของวิธีการซื้อขายหุ้น ค่าร้อยละ
1 มีความเหมาะสม 21.7
2 ไม่มีความเหมาะสม 61.3
3 ไม่แน่ใจ 15.8
4 ไม่มีความคิดเห็น 1.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 17 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความมั่นใจเกี่ยวกับความสามารถของนายกรัฐมนตรีใน
การแก้ไขปัญหาเรื่องการขายหุ้นชินให้ยุติลงด้วยความโปร่งใส
ลำดับที่ ความมั่นใจเกี่ยวกับความสามารถของนายกรัฐมนตรี ค่าร้อยละ
1 มั่นใจ 32.1
2 ไม่มั่นใจ 56.0
3 ไม่แน่ใจ 11.3
4 ไม่มีความคิดเห็น 0.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 18 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความเห็นในต่อการตัดสินใจดำเนินการขั้นต่อไปของ
นายกรัฐมนตรี ภายหลังจากกรณีขายหุ้นชิน
ลำดับที่ ความเห็นในต่อการตัดสินใจดำเนินการขั้นต่อไปของนายกรัฐมนตรี ค่าร้อยละ
1 ทำงานต่อแต่มีเงื่อนไขดังนี้ 56.0
- รักษาผลประโยชน์ของประเทศ
- ดำเนินการเอาผิดแม้คนใกล้ชิด
- ทำทุกอย่างให้โปร่งใส
- ไม่แทรกแซงองค์กรอิสระ
- ไม่เลี่ยงภาษี/ไม่ซุกหุ้น
- ผิดก็ยอมรับผิด/ขอโทษประชาชน เป็นต้น
2 ยุบสภา 8.6
3 ลาออก 19.6
4 ไม่แน่ใจ 14.6
5 ไม่มีความคิดเห็น 1.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-