เอแบคโพลล์: ถอดรหัสวาทะทักษิณในความเชื่อหรือไม่เชื่อของคนไทย

ข่าวผลสำรวจ Monday March 16, 2009 07:15 —เอแบคโพลล์

ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผล “เอแบคเรียลไทม์โพลล์” ในหัวข้อเรื่อง ถอดรหัสวาทะทักษิณ ในความเชื่อหรือไม่เชื่อของคนไทย กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนใน 18 จังหวัดของประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร อุตรดิตถ์ ลำปาง เชียงราย เชียงใหม่ อ่างทอง สระแก้ว พระนครศรีอยุธยา นครปฐม สมุทรปราการ ยโสธร มหาสารคาม สุรินทร์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี นครราชสีมา สตูล สุราษฎร์ธานี จำนวนตัวอย่างทั้งสิ้น 2,128 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 13 -14 มีนาคม ด้วยระบบเทคโนโลยีสื่อสารเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในการเก็บข้อมูลและประมวลผลแบบเรียลไทม์หลังจากที่มีข่าวการ โฟนอินและการให้ สัมภาษณ์สื่อต่างประเทศของ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตรที่ผ่านมา ทั้งนี้ผลสำรวจพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ติดตามข่าวสารเป็นประจำทุกสัปดาห์

ประชาชนที่ถูกศึกษาส่วนใหญ่หรือร้อยละ 75.8 ทราบข่าวความเคลื่อนไหวของ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร ในขณะที่ร้อยละ 24.2 ไม่ ทราบข่าว และเมื่อถามถึงความเชื่อของประชาชนว่ารัฐบาลจะสามารถนำตัว พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ กลับมาประเทศไทยได้หรือไม่ พบว่า เกินกว่าครึ่งหรือ ร้อยละ 52.8 ไม่เชื่อว่ารัฐบาลจะสามารถนำตัว พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ กลับมาได้ มีเพียงร้อยละ 23.7 ที่เชื่อ และร้อยละ 23.5 ไม่มีความเห็น

อย่างไรก็ตาม ผลสำรวจพบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 57.7 ไม่เชื่อตามคำกล่าวอ้างของ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ที่ว่า นายอภิสิทธิ์ เร่งให้ส่ง ตัวกลับประเทศเพราะมีเป้าหมายทางการเมืองและต้องการให้ขายหน้าเท่านั้น ในขณะที่ร้อยละ 23.0 เชื่อ และร้อยละ 19.2 ไม่มีความเห็น

ที่น่าเป็นห่วงคือ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 62.3 ไม่เชื่อว่าจะสามารถสมานฉันท์กันได้ระหว่างกลุ่มผู้สนับสนุน พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ กับรัฐบาลนาย อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ในขณะที่ร้อยละ 25.5 เชื่อว่าจะเกิดขึ้นได้ และร้อยละ 12.2 ไม่มีความเห็น

ดร.นพดล กล่าวต่อว่า ตัวอย่างประชาชนเกือบครึ่งหรือร้อยละ 48.3 ไม่เชื่อว่า นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีและคณะทำ งาน “ขาด” วิสัยทัศน์ในการฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศ ในขณะที่ร้อยละ 37.2 เชื่อ และร้อยละ 14.5 ไม่มีความเห็น

นอกจากนี้ เกินครึ่งหรือร้อยละ 54.2 ไม่เชื่อว่าถ้า พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ เป็นนายกรัฐมนตรีแล้วจะไม่กู้เงินมาแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ ในขณะ ที่ร้อยละ 33.1 เชื่อคล้อยตาม พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ และร้อยละ 12.7 ไม่มีความเห็น

ที่น่าพิจารณาคือ เกือบครึ่งหรือร้อยละ 48.6 ไม่เชื่อว่า พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ กลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีแล้ว เศรษฐกิจของประเทศจะดีขึ้น ในขณะที่ร้อยละ 39.9 เชื่อ และร้อยละ 11.5 ไม่มีความเห็น

ที่น่าสนใจคือ ครึ่งหนึ่งหรือร้อยละ 50.5 เชื่อว่า ถ้า พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ หยุดเคลื่อนไหวแล้วประเทศไทยจะกลับสู่สภาวะปกติ ในขณะที่ ร้อยละ 38.7 ไม่เชื่อ และร้อยละ 10.8 ไม่มีความเห็น

นอกจากนี้ ครึ่งหนึ่งหรือร้อยละ 50.4 ไม่เห็นด้วยต่อ แนวคิดเสนอให้มีร่างพระราชบัญญัติปรองดองแห่งชาติเพื่อการนิรโทษกรรม ในขณะที่ ร้อยละ 35.7 เห็นด้วย และร้อยละ 13.9 ไม่มีความเห็น

และประเด็นสำคัญคือ ร้อยละ 45.8 คิดว่า รัฐบาลชุดปัจจุบันจะทำงานต่อไปได้ไม่เกิน 1 ปี ร้อยละ 39.1 คิดว่าจะอยู่ทำงานได้เกิน 1 ปี และร้อยละ 15.1 ไม่มีความเห็น

ผอ.เอแบคโพลล์ กล่าวว่า ผลวิจัยครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า ฐานสนับสนุนที่เชื่อและไม่เชื่อ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ยังมีอยู่มาก สถานการณ์เช่นนี้จะส่ง ผลให้กลุ่มพลังเงียบที่ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด ถูกผลักดันให้เลือกข้างด้วยประเด็นต่างๆ ทางการเมืองของกลุ่มเคลื่อนไหวที่หลากหลาย และเมื่อประเทศ ไทยกำลังมีขบวนการเคลื่อนไหวทางการเมืองที่เข้มข้นแย่งชิงพื้นที่สื่อสารมวลชนเพื่อส่งข้อความสำคัญและภาพสัญลักษณ์ของจุดยืนทางการเมืองไปยังกลุ่มผู้ สนับสนุนให้เกาะกลุ่มอยู่เคียงข้างพรรคพวกของตนเองอย่างเหนียวแน่นเช่นนี้ ผลที่ตามมาคือ การเมืองไทยกำลังเข้าสู่การใช้ความรุนแรงเข้าหากันอีก ครั้งโดยหลีกเลี่ยงได้ยาก

“ดังนั้นทางออกที่น่าพิจารณาคือ “มาตรการทางสังคม” จากคนทุกชนชั้นหนุนเสริมบรรยากาศที่ดีของสังคมไทยสื่อสารไปยังกลุ่มคนที่กำลังขัด แย้งทุกกลุ่มเพื่อหาทางออกร่วมกันที่จะยุติความรุนแรงทุกรูปแบบ เปลี่ยนถ่ายความขัดแย้งมาเป็นการสนทนาถกแถลงหาข้อตกลงร่วมกัน โดยชี้ให้เห็นว่า การใช้ความรุนแรงประลองกำลังกันของทั้งฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายต่อต้านรัฐบาลไม่ใช่ทางออกที่มีประสิทธิภาพ ประชาชนทั่วไปจะเดือดร้อนและอาจสูญเสีย จึงแนะให้กลุ่มการเมืองแต่ละฝ่ายถอด “หัวโขน” แห่งอำนาจออก แต่หันมาสวมบทบาทประชาชนคนไทยธรรมดาแบบชาวบ้านที่จับเข่าคุยกันได้และชี้ชวน ให้ประชาชนคนไทยคนอื่นๆ ทั่วประเทศหันหน้าปรึกษา หารือแก้ไขปัญหาของตนเองและสังคมส่วนรวมร่วมกันสู่ประชาธิปไตยวิวัฒน์อีกขั้นหนึ่ง” ดร.นพดล กล่าว

รายละเอียดงานวิจัย

วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
          1.          เพื่อสำรวจการติดตามอข่าวสารของประชาชน
          2.          เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับความเคลื่อนไหวของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
          3.          เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับประเด้นสำคัญทางการเมืองอื่นๆ
          4.          เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป

ระเบียบวิธีการทำโพลล์

โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้เป็นการทำ ผล “เอแบคเรียลไทม์โพลล์” ในหัวข้อ เรื่อง ถอดรหัสวาทะทักษิณ ในความเชื่อหรือไม่เชื่อของคนไทย กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนใน 18 จังหวัดของประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร อุตรดิตถ์ ลำปาง เชียงราย เชียงใหม่ อ่างทอง สระแก้ว พระนครศรีอยุธยา นครปฐม สมุทรปราการ ยโสธร มหาสารคาม สุรินทร์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี นครราชสีมา สตูล สุราษฎร์ธานี จำนวนตัวอย่างทั้งสิ้น 2,128 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 13 — 14 มีนาคม ที่ผ่านมาด้วยระบบเทคโนโลยีสื่อสารเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในการเก็บข้อมูลและประมวลผลแบบเรียลไทม์

ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ เอแบคเรียลไทม์โพลล์ (ABAC Real-Time Poll) กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนทั่ว ประเทศ เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากรเป้า หมายจากการทำสำมะโน ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม วิธีการเก็บรวบรวม ข้อมูลคือ การสัมภาษณ์ หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูลและงบประมาณเป็น ของมหาวิทยาลัย มีคณะผู้วิจัย จำนวนทั้งสิ้น 75 คน

ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง

จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่างร้อยละ 51.2 เป็นเพศหญิง

ร้อยละ 48.8 เป็นเพศชาย

ร้อยละ 7.4 ระบุอายุต่ำกว่า 20 ปี

ร้อยละ 25.0 อายุระหว่าง 20 — 29 ปี

ร้อยละ 24.7 อายุระหว่าง 30 — 39 ปี

ร้อยละ 21.2 อายุระหว่าง 40 — 49 ปี

และร้อยละ 21.7 อายุ 50 ปีขึ้นไป

ตัวอย่าง ร้อยละ 69.6 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี

รองลงมาคือร้อยละ 26.1 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี

และร้อยละ 4.3 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี

ร้อยละ 31.3 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างใช้แรงงานทั่วไป

ร้อยละ 20.9 ระบุอาชีพค้าขายรายย่อย/อิสระ

ร้อยละ 18.6 ระบุอาชีพลูกจ้าง/พนักงานบริษัท

ตัวอย่าง ร้อยละ 13.0 ระบุอาชีพข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ

ร้อยละ 6.0 ระบุอาชีพพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ

ร้อยละ 4.3 ระบุอาชีพนักเรียนนักศึกษา

ร้อยละ 4.7 ระบุว่างงาน

ร้อยละ 1.2 ระบุอาชีพอื่น ๆ

โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้ ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความถี่ในการติดตามข่าวสารการเมืองผ่านสื่อมวลชน ในช่วง 30 วันที่ผ่านมา

ลำดับที่          ความถี่ในการติดตามข่าวสารการเมือง           ค่าร้อยละ
1          ทุกวัน / เกือบทุกวัน                              46.5
2          3-4 วันต่อสัปดาห์                                16.6
3          1-2 วันต่อสัปดาห์                                12.5
4          ติดตามเป็นบางสัปดาห์                             12.5
5          ไม่ได้ติดตามเลย                                 11.9
          รวมทั้งสิ้น                                      100.0

ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ การรับทราบข่าวความเคลื่อนไหวทางการเมืองของ พ.ต.ท.ทักษิณ
ลำดับที่          การรับทราบข่าวความเคลื่อนไหวของ พ.ต.ท.ทักษิณ     ค่าร้อยละ
1          ทราบข่าว                                          75.8
2          ไม่ทราบข่าว                                        24.2
          รวมทั้งสิ้น                                          100.0

ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความเชื่อต่อรัฐบาลในความสามารถนำตัว พ.ต.ท.ทักษิณกลับมาประเทศไทยได้
ลำดับที่          ความคิดเห็น                    ค่าร้อยละ
1          เชื่อว่ารัฐบาลจะสามารถทำได้             23.7
2          ไม่เชื่อ                              52.8
3          ไม่มีความเห็น                         23.5
          รวมทั้งสิ้น                            100.0

ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความเชื่อต่อ คำกล่าวอ้างของ พ.ต.ท.ทักษิณ ที่ว่านายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะนายกรัฐมนตรี
เร่งให้ส่งตัวกลับประเทศไทยเพราะมีเป้าหมายทางการเมืองและต้องการให้ขายหน้าเท่านั้น
ลำดับที่          ความคิดเห็น          ค่าร้อยละ
1          เชื่อ                      23.0
2          ไม่เชื่อ                    57.7
3          ไม่มีความเห็น               19.2
          รวมทั้งสิ้น                  100.0

ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความเชื่อต่อความสมานฉันท์ระหว่างกลุ่มผู้สนับสนุน พ.ต.ท.ทักษิณ
กับรัฐบาลไทยชุดปัจจุบัน
ลำดับที่          ความคิดเห็น          ค่าร้อยละ
1          เชื่อว่าจะเกิดขึ้นได้จริง        25.5
2          ไม่เชื่อ                    62.3
3          ไม่มีความเห็น               12.2
          รวมทั้งสิ้น                  100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความเชื่อว่านายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะและคณะทำงาน “ขาด” วิสัยทัศน์ในการฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศ
ลำดับที่          ความคิดเห็น          ค่าร้อยละ
1          เชื่อ                      37.2
2          ไม่เชื่อ                    48.3
3          ไม่มีความเห็น               14.5
          รวมทั้งสิ้น                  100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นกรณีที่ว่าถ้า พ.ต.ท.ทักษิณ เป็นนายกรัฐมนตรีแล้วจะไม่กู้เงินมาแก้ไข
ปัญหาเศรษฐกิจ
ลำดับที่          ความคิดเห็น          ค่าร้อยละ
1          เชื่อคล้อยตาม พ.ต.ท.ทักษิณ    33.1
2          ไม่เชื่อ                    54.2
3          ไม่มีความเห็น               12.7
          รวมทั้งสิ้น                  100.0

ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความเชื่อว่า ถ้า พ.ต.ท.ทักษิณ กลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีแล้วเศรษฐกิจของประเทศจะดีขึ้น
ลำดับที่          ความคิดเห็น          ค่าร้อยละ
1          เชื่อ                     39.9
2          ไม่เชื่อ                   48.6
3          ไม่มีความเห็น              11.5
          รวมทั้งสิ้น                 100.0

ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความเชื่อว่า ถ้า พ.ต.ท.ทักษิณ หยุดเคลื่อนไหวแล้วประเทศไทยจะกลับสู่สภาวะปกติ
ลำดับที่          ความคิดเห็น          ค่าร้อยละ
1          เชื่อ                     50.5
2          ไม่เชื่อ                   38.7
3          ไม่มีความเห็น              10.8
          รวมทั้งสิ้น                 100.0

ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นที่เสนอให้มีการร่างพระราชบัญญัติปรองดองแห่งชาติเพื่อการนิรโทษกรรม
ลำดับที่          ความคิดเห็น          ค่าร้อยละ
1          เห็นด้วย                  35.7
2          ไม่เห็นด้วย                50.4
3          ไม่มีความเห็น              13.9
          รวมทั้งสิ้น                 100.0

ตารางที่ 11  แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุระยะเวลาที่คิดว่ารัฐบาลชุดปัจจุบันจะสามารถทำงานต่อไปได้
ลำดับที่          ระยะเวลาที่คิดว่ารัฐบาลชุดปัจจุบันจะสามารถทำงานต่อไปได้    ค่าร้อยละ
1          ไม่เกิน 1 ปี                                            45.8
2          มากกว่า 1 ปี                                           39.1
3          ไม่มีความคิดเห็น                                         15.1
          รวมทั้งสิ้น                                              100.0

--เอแบคโพลล์--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ