ดร. นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลวิเคราะห์โครงการรายงานข้อเท็จจริง
(fact findings) และบทวิเคราะห์ เรื่อง ยุทธการชิงพื้นที่สื่อโทรทัศน์ของพรรคการเมืองจากการนำเสนอข่าวช่วงเวลาดี (ไพร์มไทม์) จากการ
เก็บรวบรวมข้อมูล ครั้งที่ 3 โดยดำเนินการเก็บข้อมูลระหว่างวันที่ 23 สิงหาคม — 5 กันยายน 2549 และวิเคราะห์ โดยใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล
โดยวิธีการสังเกตการณ์ (Observation Method) จดบันทึกเทปวีดีโอข้อมูลและวิเคราะห์เนื้อหาการนำเสนอข่าวเกี่ยวกับพรรคการเมืองต่างๆ ผ่าน
สื่อโทรทัศน์แบบฟรีทีวี ช่อง 3 ช่อง 5 ช่อง 7 ช่อง 9 ช่อง 11 และ ITV ในช่วงข่าวภาคเช้า (06.00 น. — 08.30 น.) และช่วงข่าวภาค
ค่ำ (17.00 น. — 20.00 น.)
ดร.นพดล กล่าวว่า จากการเก็บรวบรวมข้อมูลครั้งที่ 3 ในช่วงเวลาของการแข่งขันเพื่อชนะการเลือกตั้งนี้พบว่า สื่อโทรทัศน์ยังคงนำ
เสนอข่าวของพรรคไทยรักไทยจำนวนครั้งมากที่สุดคือ 372 ครั้ง หรือคิดเป็นร้อยละ 69.7 ของจำนวนครั้งทั้งหมดในการเสนอข่าวเกี่ยวกับพรรคการ
เมือง รองลงมาคือพรรคประชาธิปัตย์จำนวน 109 ครั้งคิดเป็นร้อยละ 20.4 พรรคชาติไทย 22 ครั้งคิดเป็นร้อยละ 4.1 พรรคมหาชน 20 ครั้งคิดเป็น
ร้อยละ 3.7 พรรคประชาราช 7 ครั้งคิดเป็นร้อยละ 1.3 และพรรคอื่นๆ 4 ครั้งคิดเป็นร้อยละ 0.8 เมื่อเปรียบเทียบกับการเก็บรวบรวมข้อมูลครั้งที่
2 พบว่า อันดับของพรรคต่างๆ ยังคงเหมือนเดิมในการครองพื้นที่สื่อในเรื่องจำนวนครั้งของการนำเสนอข่าว
เมื่อพิจารณาระยะเวลาที่พรรคการเมืองต่างๆ ได้รับในการนำเสนอข่าวช่วงเวลาดี พบว่า พรรคไทยรักไทยยังคงได้รับระยะเวลาในการ
นำเสนอมาที่สุดเช่นเดิมคือ 415.25 นาทีหรือคิดเป็นร้อยละ 72.8 ของระยะเวลาการนำเสนอข่าวทั้งหมดเกี่ยวกับพรรคการเมือง รองลงมาคือ
พรรคประชาธิปัตย์ 113.05 นาทีหรือร้อยละ 19.8 พรรคชาติไทย 19.54 นาทีหรือร้อยละ 3.4 พรรคมหาชน 16.12 นาทีหรือร้อยละ 2.8 พรรค
ประชาราช 5.14 นาทีหรือร้อยละ 0.9 และพรรคอื่นๆ 1.44 นาทีหรือร้อยละ 0.3 และเมื่อเปรียบเทียบกับการเก็บรวบรวมข้อมูลครั้งที่ 2 พบว่า
อันดับของพรรคต่างๆ ยังคงเหมือนเดิมในการครองพื้นที่สื่อในเรื่องระยะเวลาการนำเสนอข่าว
อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาประเภทข่าวของแต่ละพรรคการเมืองที่ถูกนำเสนอและเปรียบเทียบการเก็บข้อมูลครั้งที่ 2 และ 3 พบหลาย
ประเด็นที่น่าสนใจคือ ข่าวภารกิจนายกรัฐมนตรีลดลงทั้งจำนวนครั้งและระยะเวลาในการนำเสนอคือจาก 86 ครั้งเหลือ 44 ครั้ง และจาก 264.35
นาทีเหลือ 50.33 นาทีเท่านั้น เช่นเดียวกับข่าวการให้สัมภาษณ์ของ พ.ต.ท.ทักษิณ หัวหน้าพรรคไทยรักไทยลดลงจาก 53 ครั้งเหลือ 38 ครั้ง และ
จาก 70.25 นาทีเหลือ 48.28 นาที ในขณะที่ ข่าวภารกิจคณะรัฐมนตรีเพิ่มขึ้นเล็กน้อย คือจาก 78 ครั้ง เป็น 84 ครั้ง และจาก 88.03 นาที มา
เป็น 94.20 นาที
ที่น่าสังเกตคือ ข่าวภารกิจนายกรัฐมนตรีและการให้สัมภาษณ์ของหัวหน้าพรรคไทยรักไทยลดลงทั้งในเรื่องจำนวนครั้งและระยะเวลาการนำ
เสนอข่าว แต่กลับเพิ่มที่ข่าวการให้สัมภาษณ์หรือการเปิดแถลงข่าวโดยคนในพรรคไทยรักไทยแทนคือเพิ่มขึ้นจาก 99 ครั้งเป็น 151 ครั้ง และจาก
105.55 นาทีมาเป็น 153.35 นาที เช่นเดียวกับข่าวการหาเสียง สปอตโฆษณาของพรรคไทยรักไทยเริ่มเพิ่มสูงขึ้นจาก 8 ครั้ง 7.49 นาทีมาเป็น
12 ครั้ง 14.04 นาที
ส่วนพรรคประชาธิปัตย์มีการเพิ่มขึ้นของข่าวการให้สัมภาษณ์หัวหน้าพรรคคือนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ จาก 27 ครั้ง 25.38 นาทีมาเป็น
34 ครั้ง 40.04 นาที ข่าวการให้สัมภาษณ์คนในพรรคประชาธิปัตย์เพิ่มขึ้นจาก 26 ครั้ง 24.05 นาทีมาเป็น 43 ครั้ง 33.07 นาที แต่ที่ลดลงอย่าง
เห็นได้ชัดเจนคือข่าวการหาเสียงและสปอตโฆษณาของพรรคประชาธิปัตย์ลดลงจาก 49 ครั้ง 36.07 นาที เหลือ 14 ครั้ง 22.56 นาที
เมื่อพิจารณาทิศทางข่าวพบว่าจำนวนครั้งของการนำเสนอข่าวพรรคการเมืองทุกพรรคที่ผ่านมา พบว่า ส่วนใหญ่ของจำนวนครั้งที่ถูกสื่อ
โทรทัศน์นำเสนอข่าวแต่ละพรรคการเมืองต่างๆ นั้นผลออกมาเป็นกลางๆ คือไม่ทั้งบวกและลบต่อภาพลักษณ์ของพรรคการเมืองใด เช่น พรรคไทยรักไทย
ได้ร้อยละ 65.4 ของจำนวนครั้งทั้งหมดที่พรรคได้ถูกนำเสนอข่าว พรรคประชาธิปัตย์ได้ร้อยละ 60.5 พรรคชาติไทยได้ร้อยละ 63.7 พรรคมหาชนได้
ร้อยละ 65.0 และพรรคประชาราชได้ร้อยละ 71.4 ในขณะที่การนำเสนอข่าวพรรคการเมืองออกมาแล้วทำให้ดูดีมีสัดส่วนไม่แตกต่างกันคือ พรรคไทย
รักไทยได้ร้อยละ 33.3 พรรคประชาธิปัตย์ได้ร้อยละ 35.8 พรรคชาติไทยได้ร้อยละ 31.8 พรรคมหาชนได้ร้อยละ 35.0 และพรรคประชาราชได้ร้อย
ละ 28.6
ดร.นพดล กล่าวว่า หลังจากวิเคราะห์จำนวนครั้งและระยะเวลาในการนำเสนอข่าวที่พรรคการเมืองแต่ละพรรคได้รับ พบว่า พรรคไทย
รักไทยได้รับการนำเสนอข่าวทั้งจำนวนครั้งและระยะเวลาในสัดส่วนที่มากกว่าพรรคอื่นๆ หลายเท่าตัว แต่ภาพลักษณ์ที่ได้กลับไม่แตกต่างกับพรรคอื่นๆ จึง
เป็นประเด็นที่พรรคใหญ่แบบพรรคไทยรักไทยต้องหากลยุทธใหม่ๆ เข้ามาเสริมภาพลักษณ์ให้ดูดีเพื่อเรียกคะแนนนิยม เพราะถ้าปล่อยไว้แบบนี้ ชาวบ้าน
อาจจะรู้สึกเบื่อหน่ายที่เห็นหน้าบ่อยๆ แต่ไม่ได้ช่วยทำให้ดูดีขึ้น
“สังคมจึงต้องติดตามอย่างใกล้ชิดว่าจะมีสถานการณ์ดึงความสนใจของประชาชนทั้งประเทศหรือไม่ ที่ต้องการความเป็นฮีโร่หรือซุปเปอร์
แมนมาแก้ไขสถานการณ์ในฐานะเป็นผู้นำประเทศ เพื่อทำให้ได้คะแนนนิยมเสริมภาพลักษณ์ให้ดูดีได้ในช่วงก่อนการเลือกตั้ง คล้ายๆ กับสถานการณ์การ
เผาสถานทูตไทยในประเทศกัมพูชาที่เกิดขึ้นจริงและผู้นำประเทศออกทีวีสดทันทีแสดงความเป็นผู้นำสามารถเรียกคะแนนนิยมจากประชาชนได้อย่างมาก
มาย ซึ่งในช่วงเวลานั้นพรรคการเมืองดังกล่าวอาจได้ทั้งจำนวนครั้ง ระยะเวลาและภาพลักษณ์ที่ดูดีในการนำเสนอข่าวช่วงเวลาดีหรือไพร์มไทม์”
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า ในขณะที่พรรคการเมืองอื่นๆ อาจหาโอกาสยากที่จะแสดงบทบาทความเป็นผู้นำเข้าแก้สถานการณ์เพราะไม่มีอำนาจ
รัฐในมือที่มากเพียงพอ แต่ที่พรรคการเมืองอื่นๆ พอทำได้คือคอยตำหนิหรือวิพากษ์วิจารณ์สถานการณ์ ถ้าวิจารณ์ไม่ดีก็อาจเสียงคะแนนนิยมไป ดังนั้น
ประชาชนควรมีสติและเหตุผลในการจับจ้องติดตามสถานการณ์การเมืองใกล้ชิดไม่ควรตัดสินใจด้วยอารมณ์ความรู้สึกเพียงชั่วเวลาสั้นๆ เท่านั้น
รายละเอียดของโครงการวิจัย
วัตถุประสงค์โครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจการนำเสนอข่าวของสื่อโทรทัศน์ เกี่ยวกับพรรคการเมืองต่างๆ
2. เพื่อเปรียบเทียบรูปแบบการนำเสนอข่าวของแต่ละพรรคการเมือง
3. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีวิจัย
ผลวิเคราะห์โครงการรายงานข้อเท็จจริง (fact findings) ครั้งที่ 3 ในช่วงเวลาของการแข่งขันเอาชนะการเลือกตั้ง ของสำนัก
วิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง ยุทธการชิงพื้นที่สื่อโทรทัศน์ของพรรคการเมืองจากการนำเสนอข่าวช่วงเวลาดี (ไพร์มไทม์) จากการ
เก็บรวบรวมข้อมูล ครั้งที่ 3 โดยดำเนินการเก็บข้อมูลระหว่างวันที่ 23 สิงหาคม — 5 กันยายน 2549 และวิเคราะห์ โดยใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล
โดยวิธีการสังเกตการณ์ (Observation Method) จดบันทึกเทปวีดีโอข้อมูลและวิเคราะห์เนื้อหาการนำเสนอข่าวเกี่ยวกับพรรคการเมืองต่างๆ ผ่าน
สื่อโทรทัศน์แบบฟรีทีวี ช่อง 3 ช่อง 5 ช่อง 7 ช่อง 9 ช่อง 11 และ ITV ในช่วงข่าวภาคเช้า (06.00 น. — 08.30 น.) และช่วงข่าวภาค
ค่ำ (17.00 น. — 20.00 น.)
ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการวิจัย
ตารางที่ 1 แสดงความถี่และค่าร้อยละของการนำเสนอข่าวพรรคการเมืองผ่านสื่อโทรทัศน์ในช่วงเวลาดี (ไพร์มไทม์)
เปรียบเทียบครั้งที่ 2 และ 3
ลำดับที่ พรรคการเมือง ครั้งที่ 212-22 ส.ค. ครั้งที่ 323 ส.ค.-5 ก.ย.
1 พรรคไทยรักไทย 391 (67.5) 372 (69.7)
2 พรรคประชาธิปัตย์ 113 (19.5) 109 (20.4)
3 พรรคชาติไทย 50 (8.6) 22 (4.1)
4 พรรคมหาชน 6 (1.1) 20 (3.7)
5 พรรคประชาราช 16 (2.8) 7 (1.3)
6 พรรคอื่นๆ เช่น ประชากรไทย /พลังแผ่นดินไทย 3 (0.5) 4 (0.8)
รวมทั้งสิ้น 579 (100.0) 534 (100.0)
ตารางที่ 2 แสดงระยะเวลาและค่าร้อยละของการนำเสนอข่าวพรรคการเมืองผ่านสื่อโทรทัศน์ในช่วงเวลาดี (ไพร์มไทม์)
เปรียบเทียบครั้งที่ 2 และ 3
ลำดับที่ พรรคการเมือง ครั้งที่ 212-22 ส.ค. ครั้งที่ 323 ส.ค.-5 ก.ย.
1 พรรคไทยรักไทย 678.08 (76.4) 415.25 (72.8)
2 พรรคประชาธิปัตย์ 99.54 (11.2) 113.05 (19.8)
3 พรรคชาติไทย 81.54 (9.2) 19.54 (3.4)
4 พรรคมหาชน 4.31 (0.5) 16.12 (2.8)
5 พรรคประชาราช 20.52 (2.3) 5.14 (0.9)
6 พรรคอื่นๆ เช่น ประชากรไทย /พลังแผ่นดินไทย 3.22 (0.4) 1.44 (0.3)
รวมทั้งสิ้น 888.41 (100.0) 571.34 (100.0)
ตารางที่ 3 แสดงความถี่และจำนวนนาทีในการนำเสนอข่าวผ่านสื่อโทรทัศน์ของพรรคการเมืองต่างๆ (จำแนกตามประเภทข่าว)
ประเภทข่าว ครั้งที่ 2 ครั้งที่ 3
ไทยรักไทย ประชาธิปัตย์ ชาติไทย มหาชน ประชาราช พรรคอื่นๆ ไทยรักไทย ประชาธิปัตย์ ชาติไทย มหาชน ประชาราช พรรคอื่นๆ
1. ข่าวภารกิจนายกรัฐมนตรี
จำนวนครั้ง 86 - - - - - 44 - - - - -
จำนวนนาที 264.4 50.33
2. ข่าวภารกิจคณะรัฐมนตรี
จำนวนครั้ง 78 - - - - - 84 - - - - -
จำนวนนาที 88.03 94.2
3.ข่าวการให้สัมภาษณ์ของหัวหน้าพรรค
จำนวนครั้ง 53 27 23 4 13 1 38 34 2 13 6 1
จำนวนนาที 70.25 25.4 29.5 3 15 0.2 48.28 40 3.4 9.6 4.5 0.3
4.ข่าวการให้สัมภาษณ์ของคนในพรรค
จำนวนครั้ง 99 26 18 - - - 151 43 13 - - -
จำนวนนาที 105.6 24.1 38.1 153.4 33.1 8.4
5.ข่าวการหาเสียง/สปอตโฆษณา/
การเปิดตัวพรรคการเมือง
จำนวนครั้ง 8 49 1 1 3 2 12 14 4 3 - 3
จำนวนนาที 7.49 36.1 0.53 0.2 5.1 2.6 14.04 22.6 3.2 2.3 1.1
6.ข่าวอื่นๆ เช่น ข่าวการยกเลิกการลงพื้นที่ของนายกฯ ทักษิณ,
ข่าวครบรอบวันเกิดนายสนั่น ขจรประศาสน์,
ข่าวประฃาชนมาให้กำลังใจนายกฯ ทักษิณ, - - -
เรียกร้องให้รัฐบาลหาข้อเท็จจริงกรณีระเบิดลอบสังหาร
จำนวนครั้ง 67 11 8 1 43 18 3 4 1
จำนวนนาที 141.2 14 12.4 1.1 54.25 16.6 4.2 3.5 0.3
ตารางที่ 4 แสดงความถี่และค่าร้อยละของทิศทางข่าวพรรคการเมืองผ่านสื่อโทรทัศน์ในช่วงเวลาดี
(ไพร์มไทม์) เปรียบเทียบครั้งที่ 2 และ 3
ลำดับที่ พรรคการเมือง แง่บวก แง่ลบ ไม่ทั้งบวกและลบ รวมทั้งสิ้น
1 พรรคไทยรักไทย 124 (33.3) 5 (1.3) 243 (65.4) 372 (100.0)
2 พรรคประชาธิปัตย์ 39 (35.8) 4 (3.7) 66 (60.5) 109 (100.0)
3 พรรคชาติไทย 7 (31.8) 1 (4.5) 14 (63.7) 22 (100.0)
4 พรรคมหาชน 7 (35.0) 0 (0.0) 13 (65.0) 20 (100.0)
5 พรรคประชาราช 2 (28.6) 0 (0.0) 5 (71.4) 7 (100.0)
ตารางที่ 5 แสดงความถี่ของรูปแบบการนำเสนอข่าวผ่านสื่อโทรทัศน์ของกลุ่มการเมืองต่างๆ
รูปแบบการนำเสนอข่าว ครั้งที่ 1 ครั้งที่ 2 ครั้งที่ 3
1. ผู้ประกาศข่าวรายงาน 456 (76.9) 496 (85.7) 506 (94.8)
2. ผู้สื่อข่าวรายงาน 124 (20.9) 101 (17.4) 81 (15.2)
3. สัมภาษณ์ 155 (26.1) 156 (26.9) 192 (36.0)
4. ภาพประกอบข่าว 494 (83.3) 490 (84.6) 491 (91.9)
5. สปอตโฆษณา 14 (2.4) 38 (6.6) 2 (0.4)
6. วิเคราะห์ / วิจารณ์ข่าว 55 (9.3) 47 (8.1) 29 (5.3)
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-
(fact findings) และบทวิเคราะห์ เรื่อง ยุทธการชิงพื้นที่สื่อโทรทัศน์ของพรรคการเมืองจากการนำเสนอข่าวช่วงเวลาดี (ไพร์มไทม์) จากการ
เก็บรวบรวมข้อมูล ครั้งที่ 3 โดยดำเนินการเก็บข้อมูลระหว่างวันที่ 23 สิงหาคม — 5 กันยายน 2549 และวิเคราะห์ โดยใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล
โดยวิธีการสังเกตการณ์ (Observation Method) จดบันทึกเทปวีดีโอข้อมูลและวิเคราะห์เนื้อหาการนำเสนอข่าวเกี่ยวกับพรรคการเมืองต่างๆ ผ่าน
สื่อโทรทัศน์แบบฟรีทีวี ช่อง 3 ช่อง 5 ช่อง 7 ช่อง 9 ช่อง 11 และ ITV ในช่วงข่าวภาคเช้า (06.00 น. — 08.30 น.) และช่วงข่าวภาค
ค่ำ (17.00 น. — 20.00 น.)
ดร.นพดล กล่าวว่า จากการเก็บรวบรวมข้อมูลครั้งที่ 3 ในช่วงเวลาของการแข่งขันเพื่อชนะการเลือกตั้งนี้พบว่า สื่อโทรทัศน์ยังคงนำ
เสนอข่าวของพรรคไทยรักไทยจำนวนครั้งมากที่สุดคือ 372 ครั้ง หรือคิดเป็นร้อยละ 69.7 ของจำนวนครั้งทั้งหมดในการเสนอข่าวเกี่ยวกับพรรคการ
เมือง รองลงมาคือพรรคประชาธิปัตย์จำนวน 109 ครั้งคิดเป็นร้อยละ 20.4 พรรคชาติไทย 22 ครั้งคิดเป็นร้อยละ 4.1 พรรคมหาชน 20 ครั้งคิดเป็น
ร้อยละ 3.7 พรรคประชาราช 7 ครั้งคิดเป็นร้อยละ 1.3 และพรรคอื่นๆ 4 ครั้งคิดเป็นร้อยละ 0.8 เมื่อเปรียบเทียบกับการเก็บรวบรวมข้อมูลครั้งที่
2 พบว่า อันดับของพรรคต่างๆ ยังคงเหมือนเดิมในการครองพื้นที่สื่อในเรื่องจำนวนครั้งของการนำเสนอข่าว
เมื่อพิจารณาระยะเวลาที่พรรคการเมืองต่างๆ ได้รับในการนำเสนอข่าวช่วงเวลาดี พบว่า พรรคไทยรักไทยยังคงได้รับระยะเวลาในการ
นำเสนอมาที่สุดเช่นเดิมคือ 415.25 นาทีหรือคิดเป็นร้อยละ 72.8 ของระยะเวลาการนำเสนอข่าวทั้งหมดเกี่ยวกับพรรคการเมือง รองลงมาคือ
พรรคประชาธิปัตย์ 113.05 นาทีหรือร้อยละ 19.8 พรรคชาติไทย 19.54 นาทีหรือร้อยละ 3.4 พรรคมหาชน 16.12 นาทีหรือร้อยละ 2.8 พรรค
ประชาราช 5.14 นาทีหรือร้อยละ 0.9 และพรรคอื่นๆ 1.44 นาทีหรือร้อยละ 0.3 และเมื่อเปรียบเทียบกับการเก็บรวบรวมข้อมูลครั้งที่ 2 พบว่า
อันดับของพรรคต่างๆ ยังคงเหมือนเดิมในการครองพื้นที่สื่อในเรื่องระยะเวลาการนำเสนอข่าว
อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาประเภทข่าวของแต่ละพรรคการเมืองที่ถูกนำเสนอและเปรียบเทียบการเก็บข้อมูลครั้งที่ 2 และ 3 พบหลาย
ประเด็นที่น่าสนใจคือ ข่าวภารกิจนายกรัฐมนตรีลดลงทั้งจำนวนครั้งและระยะเวลาในการนำเสนอคือจาก 86 ครั้งเหลือ 44 ครั้ง และจาก 264.35
นาทีเหลือ 50.33 นาทีเท่านั้น เช่นเดียวกับข่าวการให้สัมภาษณ์ของ พ.ต.ท.ทักษิณ หัวหน้าพรรคไทยรักไทยลดลงจาก 53 ครั้งเหลือ 38 ครั้ง และ
จาก 70.25 นาทีเหลือ 48.28 นาที ในขณะที่ ข่าวภารกิจคณะรัฐมนตรีเพิ่มขึ้นเล็กน้อย คือจาก 78 ครั้ง เป็น 84 ครั้ง และจาก 88.03 นาที มา
เป็น 94.20 นาที
ที่น่าสังเกตคือ ข่าวภารกิจนายกรัฐมนตรีและการให้สัมภาษณ์ของหัวหน้าพรรคไทยรักไทยลดลงทั้งในเรื่องจำนวนครั้งและระยะเวลาการนำ
เสนอข่าว แต่กลับเพิ่มที่ข่าวการให้สัมภาษณ์หรือการเปิดแถลงข่าวโดยคนในพรรคไทยรักไทยแทนคือเพิ่มขึ้นจาก 99 ครั้งเป็น 151 ครั้ง และจาก
105.55 นาทีมาเป็น 153.35 นาที เช่นเดียวกับข่าวการหาเสียง สปอตโฆษณาของพรรคไทยรักไทยเริ่มเพิ่มสูงขึ้นจาก 8 ครั้ง 7.49 นาทีมาเป็น
12 ครั้ง 14.04 นาที
ส่วนพรรคประชาธิปัตย์มีการเพิ่มขึ้นของข่าวการให้สัมภาษณ์หัวหน้าพรรคคือนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ จาก 27 ครั้ง 25.38 นาทีมาเป็น
34 ครั้ง 40.04 นาที ข่าวการให้สัมภาษณ์คนในพรรคประชาธิปัตย์เพิ่มขึ้นจาก 26 ครั้ง 24.05 นาทีมาเป็น 43 ครั้ง 33.07 นาที แต่ที่ลดลงอย่าง
เห็นได้ชัดเจนคือข่าวการหาเสียงและสปอตโฆษณาของพรรคประชาธิปัตย์ลดลงจาก 49 ครั้ง 36.07 นาที เหลือ 14 ครั้ง 22.56 นาที
เมื่อพิจารณาทิศทางข่าวพบว่าจำนวนครั้งของการนำเสนอข่าวพรรคการเมืองทุกพรรคที่ผ่านมา พบว่า ส่วนใหญ่ของจำนวนครั้งที่ถูกสื่อ
โทรทัศน์นำเสนอข่าวแต่ละพรรคการเมืองต่างๆ นั้นผลออกมาเป็นกลางๆ คือไม่ทั้งบวกและลบต่อภาพลักษณ์ของพรรคการเมืองใด เช่น พรรคไทยรักไทย
ได้ร้อยละ 65.4 ของจำนวนครั้งทั้งหมดที่พรรคได้ถูกนำเสนอข่าว พรรคประชาธิปัตย์ได้ร้อยละ 60.5 พรรคชาติไทยได้ร้อยละ 63.7 พรรคมหาชนได้
ร้อยละ 65.0 และพรรคประชาราชได้ร้อยละ 71.4 ในขณะที่การนำเสนอข่าวพรรคการเมืองออกมาแล้วทำให้ดูดีมีสัดส่วนไม่แตกต่างกันคือ พรรคไทย
รักไทยได้ร้อยละ 33.3 พรรคประชาธิปัตย์ได้ร้อยละ 35.8 พรรคชาติไทยได้ร้อยละ 31.8 พรรคมหาชนได้ร้อยละ 35.0 และพรรคประชาราชได้ร้อย
ละ 28.6
ดร.นพดล กล่าวว่า หลังจากวิเคราะห์จำนวนครั้งและระยะเวลาในการนำเสนอข่าวที่พรรคการเมืองแต่ละพรรคได้รับ พบว่า พรรคไทย
รักไทยได้รับการนำเสนอข่าวทั้งจำนวนครั้งและระยะเวลาในสัดส่วนที่มากกว่าพรรคอื่นๆ หลายเท่าตัว แต่ภาพลักษณ์ที่ได้กลับไม่แตกต่างกับพรรคอื่นๆ จึง
เป็นประเด็นที่พรรคใหญ่แบบพรรคไทยรักไทยต้องหากลยุทธใหม่ๆ เข้ามาเสริมภาพลักษณ์ให้ดูดีเพื่อเรียกคะแนนนิยม เพราะถ้าปล่อยไว้แบบนี้ ชาวบ้าน
อาจจะรู้สึกเบื่อหน่ายที่เห็นหน้าบ่อยๆ แต่ไม่ได้ช่วยทำให้ดูดีขึ้น
“สังคมจึงต้องติดตามอย่างใกล้ชิดว่าจะมีสถานการณ์ดึงความสนใจของประชาชนทั้งประเทศหรือไม่ ที่ต้องการความเป็นฮีโร่หรือซุปเปอร์
แมนมาแก้ไขสถานการณ์ในฐานะเป็นผู้นำประเทศ เพื่อทำให้ได้คะแนนนิยมเสริมภาพลักษณ์ให้ดูดีได้ในช่วงก่อนการเลือกตั้ง คล้ายๆ กับสถานการณ์การ
เผาสถานทูตไทยในประเทศกัมพูชาที่เกิดขึ้นจริงและผู้นำประเทศออกทีวีสดทันทีแสดงความเป็นผู้นำสามารถเรียกคะแนนนิยมจากประชาชนได้อย่างมาก
มาย ซึ่งในช่วงเวลานั้นพรรคการเมืองดังกล่าวอาจได้ทั้งจำนวนครั้ง ระยะเวลาและภาพลักษณ์ที่ดูดีในการนำเสนอข่าวช่วงเวลาดีหรือไพร์มไทม์”
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า ในขณะที่พรรคการเมืองอื่นๆ อาจหาโอกาสยากที่จะแสดงบทบาทความเป็นผู้นำเข้าแก้สถานการณ์เพราะไม่มีอำนาจ
รัฐในมือที่มากเพียงพอ แต่ที่พรรคการเมืองอื่นๆ พอทำได้คือคอยตำหนิหรือวิพากษ์วิจารณ์สถานการณ์ ถ้าวิจารณ์ไม่ดีก็อาจเสียงคะแนนนิยมไป ดังนั้น
ประชาชนควรมีสติและเหตุผลในการจับจ้องติดตามสถานการณ์การเมืองใกล้ชิดไม่ควรตัดสินใจด้วยอารมณ์ความรู้สึกเพียงชั่วเวลาสั้นๆ เท่านั้น
รายละเอียดของโครงการวิจัย
วัตถุประสงค์โครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจการนำเสนอข่าวของสื่อโทรทัศน์ เกี่ยวกับพรรคการเมืองต่างๆ
2. เพื่อเปรียบเทียบรูปแบบการนำเสนอข่าวของแต่ละพรรคการเมือง
3. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีวิจัย
ผลวิเคราะห์โครงการรายงานข้อเท็จจริง (fact findings) ครั้งที่ 3 ในช่วงเวลาของการแข่งขันเอาชนะการเลือกตั้ง ของสำนัก
วิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง ยุทธการชิงพื้นที่สื่อโทรทัศน์ของพรรคการเมืองจากการนำเสนอข่าวช่วงเวลาดี (ไพร์มไทม์) จากการ
เก็บรวบรวมข้อมูล ครั้งที่ 3 โดยดำเนินการเก็บข้อมูลระหว่างวันที่ 23 สิงหาคม — 5 กันยายน 2549 และวิเคราะห์ โดยใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล
โดยวิธีการสังเกตการณ์ (Observation Method) จดบันทึกเทปวีดีโอข้อมูลและวิเคราะห์เนื้อหาการนำเสนอข่าวเกี่ยวกับพรรคการเมืองต่างๆ ผ่าน
สื่อโทรทัศน์แบบฟรีทีวี ช่อง 3 ช่อง 5 ช่อง 7 ช่อง 9 ช่อง 11 และ ITV ในช่วงข่าวภาคเช้า (06.00 น. — 08.30 น.) และช่วงข่าวภาค
ค่ำ (17.00 น. — 20.00 น.)
ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการวิจัย
ตารางที่ 1 แสดงความถี่และค่าร้อยละของการนำเสนอข่าวพรรคการเมืองผ่านสื่อโทรทัศน์ในช่วงเวลาดี (ไพร์มไทม์)
เปรียบเทียบครั้งที่ 2 และ 3
ลำดับที่ พรรคการเมือง ครั้งที่ 212-22 ส.ค. ครั้งที่ 323 ส.ค.-5 ก.ย.
1 พรรคไทยรักไทย 391 (67.5) 372 (69.7)
2 พรรคประชาธิปัตย์ 113 (19.5) 109 (20.4)
3 พรรคชาติไทย 50 (8.6) 22 (4.1)
4 พรรคมหาชน 6 (1.1) 20 (3.7)
5 พรรคประชาราช 16 (2.8) 7 (1.3)
6 พรรคอื่นๆ เช่น ประชากรไทย /พลังแผ่นดินไทย 3 (0.5) 4 (0.8)
รวมทั้งสิ้น 579 (100.0) 534 (100.0)
ตารางที่ 2 แสดงระยะเวลาและค่าร้อยละของการนำเสนอข่าวพรรคการเมืองผ่านสื่อโทรทัศน์ในช่วงเวลาดี (ไพร์มไทม์)
เปรียบเทียบครั้งที่ 2 และ 3
ลำดับที่ พรรคการเมือง ครั้งที่ 212-22 ส.ค. ครั้งที่ 323 ส.ค.-5 ก.ย.
1 พรรคไทยรักไทย 678.08 (76.4) 415.25 (72.8)
2 พรรคประชาธิปัตย์ 99.54 (11.2) 113.05 (19.8)
3 พรรคชาติไทย 81.54 (9.2) 19.54 (3.4)
4 พรรคมหาชน 4.31 (0.5) 16.12 (2.8)
5 พรรคประชาราช 20.52 (2.3) 5.14 (0.9)
6 พรรคอื่นๆ เช่น ประชากรไทย /พลังแผ่นดินไทย 3.22 (0.4) 1.44 (0.3)
รวมทั้งสิ้น 888.41 (100.0) 571.34 (100.0)
ตารางที่ 3 แสดงความถี่และจำนวนนาทีในการนำเสนอข่าวผ่านสื่อโทรทัศน์ของพรรคการเมืองต่างๆ (จำแนกตามประเภทข่าว)
ประเภทข่าว ครั้งที่ 2 ครั้งที่ 3
ไทยรักไทย ประชาธิปัตย์ ชาติไทย มหาชน ประชาราช พรรคอื่นๆ ไทยรักไทย ประชาธิปัตย์ ชาติไทย มหาชน ประชาราช พรรคอื่นๆ
1. ข่าวภารกิจนายกรัฐมนตรี
จำนวนครั้ง 86 - - - - - 44 - - - - -
จำนวนนาที 264.4 50.33
2. ข่าวภารกิจคณะรัฐมนตรี
จำนวนครั้ง 78 - - - - - 84 - - - - -
จำนวนนาที 88.03 94.2
3.ข่าวการให้สัมภาษณ์ของหัวหน้าพรรค
จำนวนครั้ง 53 27 23 4 13 1 38 34 2 13 6 1
จำนวนนาที 70.25 25.4 29.5 3 15 0.2 48.28 40 3.4 9.6 4.5 0.3
4.ข่าวการให้สัมภาษณ์ของคนในพรรค
จำนวนครั้ง 99 26 18 - - - 151 43 13 - - -
จำนวนนาที 105.6 24.1 38.1 153.4 33.1 8.4
5.ข่าวการหาเสียง/สปอตโฆษณา/
การเปิดตัวพรรคการเมือง
จำนวนครั้ง 8 49 1 1 3 2 12 14 4 3 - 3
จำนวนนาที 7.49 36.1 0.53 0.2 5.1 2.6 14.04 22.6 3.2 2.3 1.1
6.ข่าวอื่นๆ เช่น ข่าวการยกเลิกการลงพื้นที่ของนายกฯ ทักษิณ,
ข่าวครบรอบวันเกิดนายสนั่น ขจรประศาสน์,
ข่าวประฃาชนมาให้กำลังใจนายกฯ ทักษิณ, - - -
เรียกร้องให้รัฐบาลหาข้อเท็จจริงกรณีระเบิดลอบสังหาร
จำนวนครั้ง 67 11 8 1 43 18 3 4 1
จำนวนนาที 141.2 14 12.4 1.1 54.25 16.6 4.2 3.5 0.3
ตารางที่ 4 แสดงความถี่และค่าร้อยละของทิศทางข่าวพรรคการเมืองผ่านสื่อโทรทัศน์ในช่วงเวลาดี
(ไพร์มไทม์) เปรียบเทียบครั้งที่ 2 และ 3
ลำดับที่ พรรคการเมือง แง่บวก แง่ลบ ไม่ทั้งบวกและลบ รวมทั้งสิ้น
1 พรรคไทยรักไทย 124 (33.3) 5 (1.3) 243 (65.4) 372 (100.0)
2 พรรคประชาธิปัตย์ 39 (35.8) 4 (3.7) 66 (60.5) 109 (100.0)
3 พรรคชาติไทย 7 (31.8) 1 (4.5) 14 (63.7) 22 (100.0)
4 พรรคมหาชน 7 (35.0) 0 (0.0) 13 (65.0) 20 (100.0)
5 พรรคประชาราช 2 (28.6) 0 (0.0) 5 (71.4) 7 (100.0)
ตารางที่ 5 แสดงความถี่ของรูปแบบการนำเสนอข่าวผ่านสื่อโทรทัศน์ของกลุ่มการเมืองต่างๆ
รูปแบบการนำเสนอข่าว ครั้งที่ 1 ครั้งที่ 2 ครั้งที่ 3
1. ผู้ประกาศข่าวรายงาน 456 (76.9) 496 (85.7) 506 (94.8)
2. ผู้สื่อข่าวรายงาน 124 (20.9) 101 (17.4) 81 (15.2)
3. สัมภาษณ์ 155 (26.1) 156 (26.9) 192 (36.0)
4. ภาพประกอบข่าว 494 (83.3) 490 (84.6) 491 (91.9)
5. สปอตโฆษณา 14 (2.4) 38 (6.6) 2 (0.4)
6. วิเคราะห์ / วิจารณ์ข่าว 55 (9.3) 47 (8.1) 29 (5.3)
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-