เอแบคโพลล์: ความรู้สึกนึกคิดของประชาชนต่อการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์

ข่าวผลสำรวจ Friday March 20, 2009 07:32 —เอแบคโพลล์

ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลสำรวจ “เอแบคเรียลไทม์โพลล์ (Real- Time Survey)” ที่เป็นการสำรวจแบบรวดเร็วฉับไวภายในระยะเวลา 3 ชั่วโมง หลังจากมีสิ่งที่น่าสนใจติดตามในหมู่ประชาชน โดยครั้งนี้ได้ทำการ สำรวจเรื่อง ความรู้สึกนึกคิดของประชาชนต่อการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนใน 17 จังหวัดทั่ว ประเทศ ในวันพฤหัสบดีที่ 19 มีนาคม 2552 โดยการสำรวจครอบคลุมประชาชนที่ถูกศึกษาทั่วประเทศผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ผลการ สำรวจพบว่า

เมื่อสอบถามถึงการติดตามรับชม/รับฟังการถ่ายทอดสดการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลในช่วงเช้าที่ผ่านมา (19 มีนาคม 2552) นั้นพบว่า ประชาชนที่ถูกศึกษาส่วนใหญ่คือร้อยละ 76.7 ระบุไม่ได้ติดตามรับชม/ไม่ได้ติดตามรับฟังการถ่ายทอดสดในครั้งนี้ ในขณะที่ร้อยละ 17.0 ระบุติดตาม บ้าง และร้อยละ 6.3 ระบุติดตามตลอด ทั้งนี้เมื่อสอบถามต่อไปถึงการติดตามรับชมรับฟังการอภิปรายจำแนกตามรายบุคคลนั้นพบว่า ร้อยละ 74.7 ระบุได้ติดตามรับชม/รับฟังการอภิปรายของ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง ในขณะที่ร้อยละ 25.3 ระบุไม่ได้ติดตาม สำหรับการอภิปรายของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะนายกรัฐมนตรีนั้นพบว่า ร้อยละ 69.0 ระบุได้ติดตาม ในขณะที่ร้อยละ 31.0 ระบุไม่ได้ติดตาม

สำหรับความน่าเชื่อถือของข้อมูลที่นำมาอภิปรายนั้น ผลการสำรวจพบว่า ร้อยละ 34.4 ระบุข้อมูลในการอภิปรายของ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง มีความน่าเชื่อถือ ร้อยละ 19.4 ระบุเชื่อครึ่งไม่เชื่อครึ่ง และร้อยละ 46.2 ระบุไม่น่าเชื่อถือ สำหรับข้อมูลในการอภิปรายของ นาย อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะนั้น พบว่าร้อยละ 62.0 ระบุน่าเชื่อถือ ร้อยละ 17.5 ระบุเชื่อครึ่งไม่เชื่อครึ่ง และร้อยละ 20.5 ระบุไม่น่าเชื่อถือ

ดร.นพดล กล่าวต่อว่า เมื่อสอบถามความคิดเห็นของตัวอย่างเกี่ยวกับความนิยมศรัทธาที่มีต่อพรรคประชาธิปัตย์ ภายหลังการอภิปรายไม่ไว้ วางใจโดย ร.ต.อ. เฉลิม อยู่บำรุงนั้น พบว่า ร้อยละ 27.6 ระบุนิยมศรัทธาลดน้อยลง ในขณะที่ร้อยละ 72.4 ระบุไม่ลดน้อยลง และเมื่อสอบ ถามถึงความนิยมศรัทธาที่มีต่อนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ภายหลังการอภิปรายฯ นั้น พบว่า ร้อยละ 29.4 ระบุนิยมศรัทธาลดน้อยลง ใน ขณะที่ร้อยละ 70.6 ระบุไม่ลดน้อยลง นอกจากนี้ เมื่อสอบถามความคิดเห็นของตัวอย่างต่อพรรคเพื่อไทยกรณีควรเป็นฝ่ายค้านต่อไป หรือควรกลับมา เป็นรัฐบาลนั้น พบว่า ร้อยละ 73.1 ระบุพรรคเพื่อไทยควรเป็นฝ่ายค้านต่อไปก่อน ในขณะที่ร้อยละ 26.9 ระบุควรให้พรรคเพื่อไทยกลับมาเป็น รัฐบาล

สำหรับความพึงพอใจต่อการทำหน้าที่ประธานสภาฯ นั้นพบว่า ร้อยละ 19.4 ระบุพอใจมาก-มากที่สุด ในขณะที่ร้อยละ 48.3ระบุพอใจค่อน ข้างมาก ร้อยละ 24.1 ระบุค่อนข้างน้อย และร้อยละ 8.2 ระบุน้อย-น้อยที่สุด และเมื่อสอบถามถึงบรรยากาศในการอภิปรายไม่ไว้วางใจในช่วง เช้าที่ผ่านมานั้น พบว่า ร้อยละ 17.0 ระบุพอใจมาก-มากที่สุด ร้อยละ 53.0 ระบุพอใจค่อนข้างมาก ร้อยละ 23.9 ระบุค่อนข้างน้อย และร้อย ละ 6.1 ระบุน้อย-น้อยที่สุด ตามลำดับ

รายละเอียดงานวิจัย

วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย

1. เพื่อสำรวจการติดตามรับชมการถ่ายทอดสดการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล ในวันที่ 19 มีนาคม 2552

2. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลในวันที่ 19 มีนาคม 2552

3. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป

ระเบียบวิธีการทำโพลล์

โครงการ “เอแบคเรียลไทม์โพลล์ (Real-Time Survey)” ของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้เรื่อง “ความ รู้สึกนึกคิดของประชาชนต่อการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนใน 17 จังหวัดทั่วประเทศ ” ซึ่งดำเนิน โครงการในวันพฤหัสบดีที่ 19 มีนาคม 2552 ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) กลุ่มประชากร เป้าหมาย คือ ประชาชนทั่วประเทศ เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่าง ให้สอดคล้องกับประชากรเป้าหมายจากการทำสำมะโน ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ คือ 1,135 ตัวอย่าง ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์ หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูก ต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูลและงบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย มีคณะผู้วิจัย จำนวนทั้งสิ้น 45 คน

ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง

จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า

ตัวอย่าง ร้อยละ 54.8 เป็นหญิง

ร้อยละ 45.2 เป็นชาย

ตัวอย่าง ร้อยละ 7.6 อายุต่ำกว่า 20 ปี

ร้อยละ 25.0 อายุระหว่าง 20 — 29 ปี

ร้อยละ 23.5 อายุระหว่าง 30 — 39 ปี

ร้อยละ 22.8 อายุระหว่าง 40 — 49 ปี

และ ร้อยละ 21.1 อายุ 50 ปีขึ้นไป

ตัวอย่าง ร้อยละ 74.0 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี

รองลงมาคือร้อยละ 23.4 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี

และร้อยละ 2.6 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี

ร้อยละ 30.4 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป

ตัวอย่าง ร้อยละ 27.7 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว

ร้อยละ 13.9 ระบุอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน

ร้อยละ 10.9 ระบุข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ

ร้อยละ 6.7 เป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ

ร้อยละ 5.8 เป็นนักเรียน/นักศึกษา

ในขณะที่ร้อยละ 4.6 ระบุว่างงาน/ไม่ประกอบอาชีพ

ตัวอย่าง ร้อยละ 22.0 ระบุมีรายได้ส่วนตัวไม่เกิน 5,000 บาทต่อเดือน

ร้อยละ 20.9 ระบุมีรายได้ 5,001 — 10,000 บาท

ร้อยละ 13.6 ระบุมีรายได้ 10,001—15,000 บาท

ร้อยละ 11.1 ระบุมีรายได้ 15,001—20,000 บาท

ร้อยละ 14.8 ระบุมีรายได้ส่วนตัวมากกว่า 20,000 บาทต่อเดือน

และร้อยละ 17.6 ไม่ระบุรายได้ส่วนตัวต่อเดือน

โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้

ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการติดตามรับชม/รับฟัง การถ่ายทอดสด การอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล
ลำดับที่          การติดตามรับชม/รับฟัง การถ่ายทอดสด การอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล        ค่าร้อยละ
1          ติดตามรับชม/รับฟังตลอด                                                  6.3
2          ติดตามรับชม/รับฟังบ้าง                                                  17.0
3          ไม่ได้ติดตามรับชม/ไม่ได้ติดตามรับฟัง                                        76.7
          รวมทั้งสิ้น                                                            100.0

ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการติดตามรับชม/รับฟัง การถ่ายทอดสด การอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลของ ส.ส.
(ค่าร้อยละเฉพาะผู้ที่ได้ติดตาม)
ลำดับที่      การติดตามรับชม/รับฟัง การถ่ายทอดสด      ติดตามค่าร้อยละ   ไม่ได้ติดตามค่าร้อยละ   รวมทั้งสิ้น

การอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล ของ ส.ส.

1          ร.ต.อ. เฉลิม  อยู่บำรุง                    74.7             25.3           100.0
2          นายอภิสิทธิ์  เวชชาชีวะ                     69.0             31.0           100.0

ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความน่าเชื่อถือของข้อมูลที่ ส.ส. นำมาอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล (ค่าร้อยละเฉพาะผู้ที่ได้ติดตาม)
ลำดับที่          ความน่าเชื่อถือของข้อมูลที่นำมาอภิปราย                   น่าเชื่อถือค่าร้อยละ   เชื่อครึ่งไม่เชื่อครึ่งค่าร้อยละ  ไม่น่าเชื่อถือค่าร้อยละ  รวมทั้งสิ้น
1          ข้อมูลในการอภิปรายของร.ต.อ. เฉลิม  อยู่บำรุง  ตัวแทนฝ่ายค้าน          34.4             19.4                46.2          100.0
2          ข้อมูลในการอภิปรายของนายอภิสิทธิ์  เวชชาชีวะนายกรัฐมนตรี              62.0             17.5                20.5          100.0

ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความนิยมศรัทธาต่อพรรคประชาธิปัตย์ ภายหลังการอภิปรายไม่ไว้วางใจของ ร.ต.อ.เฉลิม  อยู่บำรุง
ลำดับที่          ความนิยมศรัทธาต่อพรรคประชาธิปัตย์ หลังการอภิปรายไม่ไว้วางใจของ ร.ต.อ.เฉลิม  อยู่บำรุง  ค่าร้อยละ
1          นิยมศรัทธาลดน้อยลง                                                                27.6
2          ไม่ลดน้อยลง                                                                      72.4
          รวมทั้งสิ้น                                                                        100.0

ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความนิยมศรัทธาต่อนายอภิสิทธิ์  เวชชาชีวะ หลังการอภิปรายไม่ไว้วางใจของ ร.ต.อ.เฉลิม  อยู่บำรุง
ลำดับที่          ความนิยมศรัทธาต่อนายอภิสิทธิ์  เวชชาชีวะ หลังการอภิปรายไม่ไว้วางใจของ ร.ต.อ.เฉลิม  อยู่บำรุง   ค่าร้อยละ
1          นิยมศรัทธาลดน้อยลง                                                                      29.4
2          ไม่ลดน้อยลง                                                                            70.6
          รวมทั้งสิ้น                                                                              100.0

ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อพรรคเพื่อไทยในการเป็นฝ่ายค้านต่อไป หรือกลับมาเป็นรัฐบาล
ภายหลังจากติดตามรับชม/รับฟังการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลของร.ต.อ.เฉลิม  อยู่บำรุง
ลำดับที่          ความคิดเห็น                    ค่าร้อยละ
1          ควรให้เป็นพรรคฝ่ายค้านต่อไปก่อน          73.1
2          ควรให้กลับมาเป็นรัฐบาล                 26.9
          รวมทั้งสิ้น                            100.0

ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความพอใจในการทำหน้าที่ของประธานสภาในการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล
ลำดับที่          ความพอใจในการทำหน้าที่ของประธานสภา          ค่าร้อยละ
1          พอใจมาก-มากที่สุด                                19.4
2          ค่อนข้างมาก                                     48.3
3          ค่อนข้างน้อย                                     24.1
4          น้อย-น้อยที่สุด                                     8.2
          รวมทั้งสิ้น                                       100.0

ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความพอใจต่อบรรยากาศการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล
ลำดับที่          ความพอใจต่อบรรยากาสการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล          ค่าร้อยละ
1          พอใจมาก-มากที่สุด                                          17.0
2          ค่อนข้างมาก                                               53.0
3          ค่อนข้างน้อย                                               23.9
4          น้อย-น้อยที่สุด                                               6.1
          รวมทั้งสิ้น                                                 100.0

--เอแบคโพลล์--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ