ที่มาของโครงการ
การอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน ที่ผ่านมาเป็น
ปรากฏการณ์ทางการเมืองที่ประชาชนผู้ที่สนใจติดตามข่าวกรณีปัญหาในการจัดซื้อจัดจ้างระบบตรวจสอบวัตถุระเบิด ใน
การสร้างสนามบินสุวรรณภูมิ หรือฝักใฝ่ในเรื่องพัฒนาการทางการเมืองของประเทศ ต่างก็ให้ความสำคัญเฝ้าติดตาม
สถานการณ์ตั้งแต่ต้นจนจบ ว่าท้ายที่สุดแล้วรัฐมนตรีผู้ถูกอภิปรายจะสามารถชี้แจงกรณีต่างๆที่เกิดขึ้นได้หรือไม่ ซึ่งใน
การอภิปรายครั้งนี้ได้มีความคิดเห็นที่หลากหลายของประชาชนและผู้เฝ้าติดตามปรากฏการณ์ทางการเมือง
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงได้ทำการสำรวจภาคสนามหาข้อมูลเชิงสถิติศาสตร์ จาก
ประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เกี่ยวกับทัศนคติและความคิดเห็นของประชาชนต่อประเด็นสำคัญดัง
กล่าว ด้วยการจัดส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่ และพนักงานเก็บรวบรวมข้อมูลลงพื้นที่ตัวอย่างที่ถูกสุ่มได้ตามหลักวิชาการ
ด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อรูปแบบการอภิปรายของ ส.ส.
2. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อการชี้แจงของรัฐมนตรีที่ถูกอภิปราย
3. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง “ประชาชนคิดอย่าง
ไรต่อการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กรณีปัญหาในการจัดซื้อจัดจ้างเครื่องตรวจวัตถุระเบิด
ซีทีเอ็กซ์:กรณีศึกษาประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล” ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจระหว่างวันที่ 27-
28 มิถุนายน 2548
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่างได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิ (Stratified Cluster
Sampling) ในการสุ่มเลือกพื้นที่ตัวอย่าง และใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างที่มีลักษณะสอดคล้องกับประชากรเป้าหมายจากการ
ทำสำมะโน
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 1,539 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่
ที่ +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์
ข้อมูล งบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่าตัวอย่างร้อยละ 52.9 เป็นหญิง ร้อยละ 47.1 เป็น
ชาย ตัวอย่างร้อยละ 29.1 อายุระหว่าง 20 — 29 ปี ร้อยละ 23.5 อายุระหว่าง 30 — 39 ปี ร้อยละ 21.3
อายุระหว่าง 40 — 49 ปี ร้อยละ 19.5 อายุ 50 ปีขึ้นไป และร้อยละ 6.6 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ตัวอย่างร้อยละ 72.5 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี รองลงมาคือร้อยละ 23.7 สำเร็จการศึกษา
ปริญญาตรี และร้อยละ 3.8 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี ทั้งนี้เมื่อพิจารณาจำแนกตัวอย่างออกตามอาชีพประจำ
ที่ทำอยู่นั้นพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 27.0 ระบุอาชีพค้าขาย / ธุรกิจส่วนตัว รองลงมาคือ ร้อยละ 19.0 ระบุอาชีพ
พนักงานบริษัทเอกชน ร้อยละ 19.8 ระบุอาชีพรับจ้างทั่วไป ร้อยละ 12.0 ระบุเป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณ
อายุ ร้อยละ 11.1 ระบุอาชีพข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 6.0 ระบุเป็นนักเรียน/นักศึกษา และร้อย
ละ 5.1 ระบุว่างงาน/ไม่ได้ประกอบอาชีพ
โปรดพิจารณารายละเอียดในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการติดตามข่าวการอภิปรายไม่ไว้วางใจ
ลำดับที่ การติดตามข่าวการอภิปรายไม่ไว้วางใจ ค่าร้อยละ
1 ติดตามอย่างต่อเนื่อง 25.0
2 ติดตามบ้าง 75.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ส.ส.ที่พูดได้ดีที่สุดในด้านเนื้อหา
ลำดับที่ ส.ส.ที่พูดดีที่สุดในด้านเนื้อหา ค่าร้อยละ
1 นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ 78.7
2 นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ 7.7
3 นายชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ 5.9
4 นายวิษณุ เครืองาม 2.1
5 นายสุเทพ เทือกสุบรรณ 1.3
6 อื่น อาทิ นายถาวร เสนเนียม /นายอลงกรณ์ พลบุตร/
นายบรรหาร ศิลปอาชา/นายเกียรติ สิทธิอมร เป็นต้น 4.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ส.ส.ที่มีลีลาท่าทางการพูดดีที่สุด
ลำดับที่ ส.ส.ที่มีลีลาท่าทางการพูดดีที่สุด ค่าร้อยละ
1 นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ 44.4
2 นายชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ 37.9
3 นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ 4.1
4 นายถาวร เสนเนียม 3.8
5 นายสุเทพ เทือกสุบรรณ 2.7
6 อื่นๆ อาทิ นายอลงกรณ์ พลบุตร /นายวิษณุ เครืองาม/
นายเกียรติ สิทธิ อมร /นายบรรหาร ศิลปอาชา เป็นต้น 7.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ส.ส.ที่มีความน่าเชื่อถือในข้อมูลที่พูดมากที่สุด
ลำดับที่ ส.ส.ที่มีความน่าเชื่อถือในข้อมูลที่พูดมากที่สุด ค่าร้อยละ
1 นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ 69.0
2 นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ 10.6
3 นายชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ 5.5
4 นายถาวร เสนเนียม 3.0
5 นายวิษณุ เครืองาม 2.7
6 อื่นๆ อาทิ นายบรรหาร ศิลปอาชา/นายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล/
นายสุเทพ เทือกสุบรรณ นายอลงกรณ์ พลบุตร เป็นต้น 9.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ส.ส.ที่สามารถควบคุมอารมณ์ในการพูดได้ดีที่สุด
ลำดับที่ ส.ส.ที่สามารถควบคุมอารมณ์ในการพูดได้ดีที่สุด ค่าร้อยละ
1 นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ 65.9
2 นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ 18.2
3 นายวิษณุ เครืองาม 2.6
4 นายเกียรติ สิทธิอมร 2.1
5 นายบรรหาร ศิลปอาชา 1.8
6 อื่นๆ อาทิ นายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล/นายสุเทพ เทือกสุบรรณ
นายอลงกรณ์ พลบุตร /นายถาวร เสนเนียม เป็นต้น 9.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ส.ส.ที่สามารถพูดโน้มน้าวให้คนเชื่อถือได้มากที่สุด
ลำดับที่ ส.ส.ที่สามารถพูดโน้มน้าวให้คนเชื่อถือได้มากที่สุด ค่าร้อยละ
1 นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ 66.0
2 นายชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ 11.3
3 นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ 7.5
4 นายสุเทพ เทือกสุบรรณ 4.1
5 นายถาวร เสนเนียม 2.2
6 อื่นๆ อาทิ นายบรรหาร ศิลปอาชา/นายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล/
นายอลงกรณ์ พลบุตร/นายวิษณุ เครืองาม/นายชาญชัย อิสระเสนารักษ์ เป็นต้น 8.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ส.ส.ที่พูดแล้วชี้ให้เห็นถึงความจำเป็นของการสร้างสนามบิน
สุวรรณภูมิได้มากที่สุด
ลำดับที่ ส.ส.ที่พูดแล้วชี้ให้เห็นถึงความจำเป็นของการสร้างสนามบินสุวรรณภูมิได้มากที่สุด ค่าร้อยละ
1 นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ 52.6
2 นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ 19.9
3 นายสุเทพ เทือกสุบรรณ 8.2
4 นายบรรหาร ศิลปอาชา 7.0
5 นายวิษณุ เครืองาม 4.1
6 อื่นๆอาทิ นายอลงกรณ์ พลบุตร/นายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล/
นายถาวร เสนเนียม/ม.ร.ว.สุขุมพันธ์ บริพัตร เป็นต้น 8.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ คนที่ทำหน้าที่เป็นประธานควบคุมการอภิปรายในสภาได้ดีที่สุด
ลำดับที่ คนที่ทำหน้าที่เป็นประธานควบคุมการอภิปรายในสภาได้ดีที่สุด ค่าร้อยละ
1 นายโภคิน พลกุล 48.0
2 นายสุชาติ ตันเจริญ 27.6
3 นางลลิตา ฤกษ์สำราญ 24.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุประเด็นที่ต้องการให้นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รมว.คมนาคม
ชี้แจงให้ชัดเจนมากขึ้นกว่าเดิม (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ประเด็นที่ต้องการให้นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ ชี้แจงให้ชัดเจนมากขึ้นกว่าเดิม ค่าร้อยละ
1 ทำไมต้องจ่ายเงินทั้งๆ ที่ยังไม่ได้สินค้า 65.0
2 หลังจากมีการเปิดเผยการทุจริต ทำไมไม่พยายามจะสอบสวนข้อเท็จจริง 57.3
3 ทำไมรัฐบาลไม่เอาเอกสารจากสหรัฐอเมริกาบางอย่างมาเปิดเผย 54.3
4 ทำไมต้องมีการจัดซื้อจัดจ้างด้วยวิธีพิสดาร 52.4
5 ทำไมมีบริษัทรับช่วงรับเหมาหลายทอด 49.1
6 การทุจริตติดสินบน 48.1
7 ทำไมไม่ใช้ราคากลาง 47.6
8 การล็อคสเป็คเครื่องตรวจวัตถุระเบิด 46.2
9 การล็อคผู้รับเหมา 43.7
10 การล็อคบริษัทที่ปรึกษา 41.4
11 การล็อควิธีการโกง 39.2
ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความเชื่อต่อการทุจริตคอรัปชั่นในการสร้างสนามบินแห่งใหม่
ลำดับที่ ความเชื่อต่อการทุจริตคอรัปชั่นในการสร้างสนามบินแห่งใหม่ ค่าร้อยละ
1 เชื่อว่ามีการทุจริตเกิดขึ้นจริง 84.6
2 ไม่เชื่อ 4.2
3 ไม่มีความเห็น 11.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 11 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อภาพลักษณ์ของประเทศไทยในสายตา
นานาประเทศทั่วโลก จากการอภิปรายในครั้งนี้
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 คิดว่าการอภิปรายในครั้งนี้ทำให้ภาพลักษณ์ของประเทศไทยดีขึ้น 13.6
2 ภาพลักษณ์แย่ลง 50.5
3 เหมือนเดิม 35.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 12 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อภาพลักษณ์ของประเทศสหรัฐอเมริกาในเรื่องการ
ป้องกันปัญหาการทุจริตคอรัปชั่น จากการอภิปรายในครั้งนี้
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 ดี 49.6
2 ไม่ดี 19.0
3 ไม่มีความเห็น 31.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 13 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อรัฐบาลในการเร่งสร้างสนามบินสุวรรณภูมิให้เสร็จทัน
ตามที่เคยประกาศไว้
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 ต้องการให้เร่งสร้างให้เสร็จทันตามที่เคยประกาศไว้ 73.1
2 ไม่ต้องการ 16.2
3 ไม่มีความเห็น 10.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 14 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุสิ่งที่นายกรัฐมนตรีควรตัดสินใจดำเนินการ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ สิ่งที่นายกรัฐมนตรีควรตัดสินใจดำเนินการ ค่าร้อยละ
1 ควรเร่งทำสงครามทุจริตคอรัปชั่นให้สำเร็จตามที่เคยประกาศไว้ 59.1
2 ควรเร่งทำงานแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนต่อไป 43.3
3 ควรปรับคณะรัฐมนตรี 36.1
4 เร่งแก้ปัญหาทุจริตในเรื่องอื่นๆ 28.5
5 ควรเร่งชี้แจงให้ประชาชนเข้าใจ 19.1
6 ควรลาออก 3.9
7 อื่นๆ ควรตรวจสอบให้แน่ใจว่ามีการทุจริตหรือไม่/ควรสร้างให้เสร็จ
ตามที่กำหนด/ควรให้ความเป็นธรรมในการตัดสินปัญหา/ควรปลดรัฐมนตรี
ว่าการกระทรวงคมนาคม /ยุบสภา เป็นต้น 14.4
--เอแบคโพลล์--
-พห-
การอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน ที่ผ่านมาเป็น
ปรากฏการณ์ทางการเมืองที่ประชาชนผู้ที่สนใจติดตามข่าวกรณีปัญหาในการจัดซื้อจัดจ้างระบบตรวจสอบวัตถุระเบิด ใน
การสร้างสนามบินสุวรรณภูมิ หรือฝักใฝ่ในเรื่องพัฒนาการทางการเมืองของประเทศ ต่างก็ให้ความสำคัญเฝ้าติดตาม
สถานการณ์ตั้งแต่ต้นจนจบ ว่าท้ายที่สุดแล้วรัฐมนตรีผู้ถูกอภิปรายจะสามารถชี้แจงกรณีต่างๆที่เกิดขึ้นได้หรือไม่ ซึ่งใน
การอภิปรายครั้งนี้ได้มีความคิดเห็นที่หลากหลายของประชาชนและผู้เฝ้าติดตามปรากฏการณ์ทางการเมือง
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงได้ทำการสำรวจภาคสนามหาข้อมูลเชิงสถิติศาสตร์ จาก
ประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เกี่ยวกับทัศนคติและความคิดเห็นของประชาชนต่อประเด็นสำคัญดัง
กล่าว ด้วยการจัดส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่ และพนักงานเก็บรวบรวมข้อมูลลงพื้นที่ตัวอย่างที่ถูกสุ่มได้ตามหลักวิชาการ
ด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อรูปแบบการอภิปรายของ ส.ส.
2. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อการชี้แจงของรัฐมนตรีที่ถูกอภิปราย
3. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง “ประชาชนคิดอย่าง
ไรต่อการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กรณีปัญหาในการจัดซื้อจัดจ้างเครื่องตรวจวัตถุระเบิด
ซีทีเอ็กซ์:กรณีศึกษาประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล” ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจระหว่างวันที่ 27-
28 มิถุนายน 2548
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่างได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิ (Stratified Cluster
Sampling) ในการสุ่มเลือกพื้นที่ตัวอย่าง และใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างที่มีลักษณะสอดคล้องกับประชากรเป้าหมายจากการ
ทำสำมะโน
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 1,539 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่
ที่ +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์
ข้อมูล งบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่าตัวอย่างร้อยละ 52.9 เป็นหญิง ร้อยละ 47.1 เป็น
ชาย ตัวอย่างร้อยละ 29.1 อายุระหว่าง 20 — 29 ปี ร้อยละ 23.5 อายุระหว่าง 30 — 39 ปี ร้อยละ 21.3
อายุระหว่าง 40 — 49 ปี ร้อยละ 19.5 อายุ 50 ปีขึ้นไป และร้อยละ 6.6 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ตัวอย่างร้อยละ 72.5 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี รองลงมาคือร้อยละ 23.7 สำเร็จการศึกษา
ปริญญาตรี และร้อยละ 3.8 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี ทั้งนี้เมื่อพิจารณาจำแนกตัวอย่างออกตามอาชีพประจำ
ที่ทำอยู่นั้นพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 27.0 ระบุอาชีพค้าขาย / ธุรกิจส่วนตัว รองลงมาคือ ร้อยละ 19.0 ระบุอาชีพ
พนักงานบริษัทเอกชน ร้อยละ 19.8 ระบุอาชีพรับจ้างทั่วไป ร้อยละ 12.0 ระบุเป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณ
อายุ ร้อยละ 11.1 ระบุอาชีพข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 6.0 ระบุเป็นนักเรียน/นักศึกษา และร้อย
ละ 5.1 ระบุว่างงาน/ไม่ได้ประกอบอาชีพ
โปรดพิจารณารายละเอียดในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการติดตามข่าวการอภิปรายไม่ไว้วางใจ
ลำดับที่ การติดตามข่าวการอภิปรายไม่ไว้วางใจ ค่าร้อยละ
1 ติดตามอย่างต่อเนื่อง 25.0
2 ติดตามบ้าง 75.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ส.ส.ที่พูดได้ดีที่สุดในด้านเนื้อหา
ลำดับที่ ส.ส.ที่พูดดีที่สุดในด้านเนื้อหา ค่าร้อยละ
1 นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ 78.7
2 นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ 7.7
3 นายชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ 5.9
4 นายวิษณุ เครืองาม 2.1
5 นายสุเทพ เทือกสุบรรณ 1.3
6 อื่น อาทิ นายถาวร เสนเนียม /นายอลงกรณ์ พลบุตร/
นายบรรหาร ศิลปอาชา/นายเกียรติ สิทธิอมร เป็นต้น 4.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ส.ส.ที่มีลีลาท่าทางการพูดดีที่สุด
ลำดับที่ ส.ส.ที่มีลีลาท่าทางการพูดดีที่สุด ค่าร้อยละ
1 นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ 44.4
2 นายชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ 37.9
3 นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ 4.1
4 นายถาวร เสนเนียม 3.8
5 นายสุเทพ เทือกสุบรรณ 2.7
6 อื่นๆ อาทิ นายอลงกรณ์ พลบุตร /นายวิษณุ เครืองาม/
นายเกียรติ สิทธิ อมร /นายบรรหาร ศิลปอาชา เป็นต้น 7.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ส.ส.ที่มีความน่าเชื่อถือในข้อมูลที่พูดมากที่สุด
ลำดับที่ ส.ส.ที่มีความน่าเชื่อถือในข้อมูลที่พูดมากที่สุด ค่าร้อยละ
1 นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ 69.0
2 นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ 10.6
3 นายชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ 5.5
4 นายถาวร เสนเนียม 3.0
5 นายวิษณุ เครืองาม 2.7
6 อื่นๆ อาทิ นายบรรหาร ศิลปอาชา/นายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล/
นายสุเทพ เทือกสุบรรณ นายอลงกรณ์ พลบุตร เป็นต้น 9.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ส.ส.ที่สามารถควบคุมอารมณ์ในการพูดได้ดีที่สุด
ลำดับที่ ส.ส.ที่สามารถควบคุมอารมณ์ในการพูดได้ดีที่สุด ค่าร้อยละ
1 นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ 65.9
2 นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ 18.2
3 นายวิษณุ เครืองาม 2.6
4 นายเกียรติ สิทธิอมร 2.1
5 นายบรรหาร ศิลปอาชา 1.8
6 อื่นๆ อาทิ นายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล/นายสุเทพ เทือกสุบรรณ
นายอลงกรณ์ พลบุตร /นายถาวร เสนเนียม เป็นต้น 9.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ส.ส.ที่สามารถพูดโน้มน้าวให้คนเชื่อถือได้มากที่สุด
ลำดับที่ ส.ส.ที่สามารถพูดโน้มน้าวให้คนเชื่อถือได้มากที่สุด ค่าร้อยละ
1 นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ 66.0
2 นายชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ 11.3
3 นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ 7.5
4 นายสุเทพ เทือกสุบรรณ 4.1
5 นายถาวร เสนเนียม 2.2
6 อื่นๆ อาทิ นายบรรหาร ศิลปอาชา/นายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล/
นายอลงกรณ์ พลบุตร/นายวิษณุ เครืองาม/นายชาญชัย อิสระเสนารักษ์ เป็นต้น 8.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ส.ส.ที่พูดแล้วชี้ให้เห็นถึงความจำเป็นของการสร้างสนามบิน
สุวรรณภูมิได้มากที่สุด
ลำดับที่ ส.ส.ที่พูดแล้วชี้ให้เห็นถึงความจำเป็นของการสร้างสนามบินสุวรรณภูมิได้มากที่สุด ค่าร้อยละ
1 นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ 52.6
2 นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ 19.9
3 นายสุเทพ เทือกสุบรรณ 8.2
4 นายบรรหาร ศิลปอาชา 7.0
5 นายวิษณุ เครืองาม 4.1
6 อื่นๆอาทิ นายอลงกรณ์ พลบุตร/นายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล/
นายถาวร เสนเนียม/ม.ร.ว.สุขุมพันธ์ บริพัตร เป็นต้น 8.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ คนที่ทำหน้าที่เป็นประธานควบคุมการอภิปรายในสภาได้ดีที่สุด
ลำดับที่ คนที่ทำหน้าที่เป็นประธานควบคุมการอภิปรายในสภาได้ดีที่สุด ค่าร้อยละ
1 นายโภคิน พลกุล 48.0
2 นายสุชาติ ตันเจริญ 27.6
3 นางลลิตา ฤกษ์สำราญ 24.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุประเด็นที่ต้องการให้นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รมว.คมนาคม
ชี้แจงให้ชัดเจนมากขึ้นกว่าเดิม (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ประเด็นที่ต้องการให้นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ ชี้แจงให้ชัดเจนมากขึ้นกว่าเดิม ค่าร้อยละ
1 ทำไมต้องจ่ายเงินทั้งๆ ที่ยังไม่ได้สินค้า 65.0
2 หลังจากมีการเปิดเผยการทุจริต ทำไมไม่พยายามจะสอบสวนข้อเท็จจริง 57.3
3 ทำไมรัฐบาลไม่เอาเอกสารจากสหรัฐอเมริกาบางอย่างมาเปิดเผย 54.3
4 ทำไมต้องมีการจัดซื้อจัดจ้างด้วยวิธีพิสดาร 52.4
5 ทำไมมีบริษัทรับช่วงรับเหมาหลายทอด 49.1
6 การทุจริตติดสินบน 48.1
7 ทำไมไม่ใช้ราคากลาง 47.6
8 การล็อคสเป็คเครื่องตรวจวัตถุระเบิด 46.2
9 การล็อคผู้รับเหมา 43.7
10 การล็อคบริษัทที่ปรึกษา 41.4
11 การล็อควิธีการโกง 39.2
ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความเชื่อต่อการทุจริตคอรัปชั่นในการสร้างสนามบินแห่งใหม่
ลำดับที่ ความเชื่อต่อการทุจริตคอรัปชั่นในการสร้างสนามบินแห่งใหม่ ค่าร้อยละ
1 เชื่อว่ามีการทุจริตเกิดขึ้นจริง 84.6
2 ไม่เชื่อ 4.2
3 ไม่มีความเห็น 11.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 11 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อภาพลักษณ์ของประเทศไทยในสายตา
นานาประเทศทั่วโลก จากการอภิปรายในครั้งนี้
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 คิดว่าการอภิปรายในครั้งนี้ทำให้ภาพลักษณ์ของประเทศไทยดีขึ้น 13.6
2 ภาพลักษณ์แย่ลง 50.5
3 เหมือนเดิม 35.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 12 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อภาพลักษณ์ของประเทศสหรัฐอเมริกาในเรื่องการ
ป้องกันปัญหาการทุจริตคอรัปชั่น จากการอภิปรายในครั้งนี้
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 ดี 49.6
2 ไม่ดี 19.0
3 ไม่มีความเห็น 31.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 13 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อรัฐบาลในการเร่งสร้างสนามบินสุวรรณภูมิให้เสร็จทัน
ตามที่เคยประกาศไว้
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 ต้องการให้เร่งสร้างให้เสร็จทันตามที่เคยประกาศไว้ 73.1
2 ไม่ต้องการ 16.2
3 ไม่มีความเห็น 10.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 14 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุสิ่งที่นายกรัฐมนตรีควรตัดสินใจดำเนินการ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ สิ่งที่นายกรัฐมนตรีควรตัดสินใจดำเนินการ ค่าร้อยละ
1 ควรเร่งทำสงครามทุจริตคอรัปชั่นให้สำเร็จตามที่เคยประกาศไว้ 59.1
2 ควรเร่งทำงานแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนต่อไป 43.3
3 ควรปรับคณะรัฐมนตรี 36.1
4 เร่งแก้ปัญหาทุจริตในเรื่องอื่นๆ 28.5
5 ควรเร่งชี้แจงให้ประชาชนเข้าใจ 19.1
6 ควรลาออก 3.9
7 อื่นๆ ควรตรวจสอบให้แน่ใจว่ามีการทุจริตหรือไม่/ควรสร้างให้เสร็จ
ตามที่กำหนด/ควรให้ความเป็นธรรมในการตัดสินปัญหา/ควรปลดรัฐมนตรี
ว่าการกระทรวงคมนาคม /ยุบสภา เป็นต้น 14.4
--เอแบคโพลล์--
-พห-