ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลสำรวจ “เอแบคเรียลไทม์โพลล์” (Real- Time Survey) ที่เป็นการสำรวจแบบรวดเร็วฉับไวประมาณ 6 ชั่วโมง โดยประมวลผลผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ หลังจากมีสิ่งที่น่าสนใจติดตาม ในหมู่ประชาชน เรื่อง เสียงสะท้อนของสาธารณชนต่อควันหลงผลการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล และแนวโน้มความนิยมศรัทธาต่อนายอภิสิทธิ์ เวชชา ชีวะ กับ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนใน 18 จังหวัดทั่วประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร แม่ฮ่องสอน สุโขทัย นครสวรรค์ สมุทรสงคราม ประจวบคีรีขันธ์ ลพบุรี สุพรรณบุรี นนทบุรี มุกดาหาร หนองคาย สกลนคร ศรีสะเกษ อุดรธานี ขอนแก่น ระนอง ปัตตานี และสงขลา จำนวนทั้งสิ้น 2,040 ตัวอย่าง ในวันเสาร์ที่ 21 มีนาคม 2552
ผลการสำรวจพบว่า ประชาชนที่ถูกศึกษาที่ติดตามรับชม/รับฟังการถ่ายทอดสดการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลเพิ่มสูงขึ้น โดยพบว่า คนที่ ติดตามรับชม/ รับฟังการถ่ายทอดสดตลอด เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 6.3 ในวันแรก มาอยู่ที่ร้อยละ 17.7 ในวันที่สอง ในขณะที่ประชาชนที่ติดตามรับชม/รับ ฟังการถ่ายทอดสดบ้าง เพิ่มขึ้นเช่นกันจากร้อยละ 17.0 ในวันแรก มาอยู่ที่ร้อยละ 39.2 ในวันที่สอง นอกจากนี้ ในกลุ่มประชาชนที่ติดตามรับชม/รับฟัง การถ่ายทอดสดการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล พบว่า ร้อยละ 8.1 ติดตามอย่างละเอียด ร้อยละ 10.8 ติดตามค่อนข้างละเอียด และร้อยละ 81.1 ติดตามบ้างแต่ไม่ละเอียด
ผลสำรวจยังพบด้วยว่า ประชาชนได้ให้คะแนนความน่าเชื่อถือในข้อมูลของนักการเมืองที่นำมาใช้ในการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล จาก คะแนนเต็ม 10 คะแนน พบว่า ร.ต.อ.ดร.เฉลิม อยู่บำรุง ได้คะแนนสูงสุดอยู่ที่ 4.89 คะแนน รองลงมาคือ ร.ต.ท.เชาวริน ลัทธศักดิ์ศิริ ได้ คะแนนอันดับรองลงมาคือ 4.80 คะแนน นอกจากนี้ นายสุนัย จุลพงศธร ได้ 4.75 คะแนน นายจตุพร พรหมพันธุ์ ได้ 4.69 คะแนน นายสุรพงษ์ โตวิจักษ์ชัยกุล ได้ 4.65 คะแนน นายไพจิต ศรีวรขาน ได้ 4.52 คะแนน และนายสุชาติ ลายน้ำเงิน ได้ 4.34 คะแนน
อย่างไรก็ตาม เมื่อสอบถามประชาชนถึงผลงานของฝ่ายค้านในประเด็นสำคัญต่างๆ ที่อภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล พบว่า อันดับแรกหรือ ร้อยละ 49.8 ระบุเป็นเรื่องที่พรรคประชาธิปัตย์รับเงินบริจาคจาก บริษัททีพีไอ โพลีน จำกัด รองลงมาคือร้อยละ 42.5 ระบุเป็น การอภิปรายนายก ษิต ภิรมย์ อันดับสามคือ ร้อยละ 41.1 ระบุการไม่ผ่านการเกณฑ์ทหารของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ร้อยละ 39.6 ระบุการส่งข้อความผ่านโทรศัพท์ มือถือ SMS โดยรัฐบาล ร้อยละ 39.2 ระบุเป็นเรื่องการกู้เงินจากต่างประเทศเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ และร้อยละ 33.3 ระบุเป็นเรื่อง นาย อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีไม่ใช้ยศนำหน้าชื่อทั้งๆ ที่ได้รับการโปรดเกล้าฯ ตามลำดับ
นอกจากนี้ ผลสำรวจพบว่า ประเด็นที่ประชาชนอยากให้มีการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลครั้งต่อไป ได้แก่ ร้อยละ 80.0 ระบุเป็นเรื่อง มาตรการแก้ปัญหาเศรษฐกิจ ร้อยละ 70.7 ระบุแนวทางแก้ปัญหายาเสพติด ร้อยละ 70.1 ระบุปัญหาทุจริตคอรัปชั่น ร้อยละ 67.9 ระบุปัญหาสาม จังหวัดชายแดนภาคใต้ ร้อยละ 61.4 ระบุความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน และร้อยละ 58.5 ระบุปัญหาชายแดนของประเทศ
ที่น่าพิจารณาคือ ความคิดเห็นของประชาชนต่อรัฐมนตรีที่ถูกอภิปรายไม่ไว้วางใจว่าควรถูกปรับออกหรือไม่ควรถูกปรับออก พบว่า อันดับ แรก คือ นายกษิต ภิรมย์ ร้อยละ 41.6 เห็นว่าควรปรับออก แต่ร้อยละ 58.4 เห็นว่าไม่ควรปรับออก รองๆ ลงไปคือ นายบุญจง วงศ์ไตรรัตน์ ร้อยละ 27.6 เห็นควรปรับออก แต่ร้อยละ 72.4 เห็นว่าไม่ควรปรับออก นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล ร้อยละ 23.6 เห็นควรปรับออก แต่ส่วนใหญ่หรือ ร้อยละ 76.4 เห็นว่าไม่ควรปรับออก นายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ ร้อยละ 20.4 เห็นควรปรับออก แต่ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 79.6 เห็นว่าไม่ควรปรับ ออก นายกรณ์ จาติกวณิช ร้อยละ 18.2 เห็นว่าควรปรับออก แต่ส่วนใหญ่ร้อยละ 81.8 เห็นว่าไม่ควรปรับออก นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ร้อยละ 15.6 เห็นควรปรับออก แต่ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 84.4 เห็นว่าไม่ควรปรับออก และนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ร้อยละ 16.5 เห็นว่าควรปรับออก แต่ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 83.5 เห็นว่าไม่ควรปรับออก
ดร.นพดล กล่าวว่า ในการสำรวจครั้งนี้ยังพบแนวโน้มความนิยมศรัทธาของประชาชนต่อ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กับ พ. ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ที่น่าพิจารณาคือ หลังจากเข้าสู่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และหลังการอภิปราย ไม่ไว้วางใจมีประชาชนร้อยละ 50.6 ที่นิยมศรัทธานายกรัฐมนตรีคนปัจจุบัน ซึ่งในหลักการสำรวจความนิยมสาธารณชนถือว่าอยู่ในโซน B- เนื่องจาก เกินร้อยละ 50 มาเพียง 0.6 เท่านั้น และเป็นค่าร้อยละของความนิยมศรัทธาที่ต่ำกว่าความนิยมศรัทธาของประชาชนที่เคยมีให้กับ พ.ต.ท.ดร. ทักษิณ ชินวัตร ในช่วงของการรับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในเดือนพฤษภาคม 2544 ที่อยู่ในโซน B+ โดยได้ร้อยละ 71.9 และในเดือนกุมภาพันธ์ 2548 ที่อยู่ในโซน A- เนื่องจากในช่วงเวลานั้น พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ได้รับความนิยมศรัทธาสูงถึงร้อยละ 77.5 อย่างไรก็ตาม ผลสำรวจครั้งล่า สุดนี้พบว่า ความนิยมศรัทธาของประชาชนที่ถูกศึกษาต่อ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ อยู่ที่ร้อยละ 23.6 หรืออยู่ในโซน D+ เท่านั้น
ผอ.เอแบคโพลล์ กล่าวว่า ถึงแม้ประชาชนส่วนใหญ่จะเห็นว่าไม่ควรปรับรัฐมนตรีคนใดออกไปก็ตาม แต่คะแนนนิยมศรัทธาของสาธารณชนที่ มีต่อนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อยู่ในเกณฑ์ที่พอทำงานต่อไปได้เท่านั้น และพร้อมจะเกิดแรงเสียดทานพอจะทำให้เสถียรภาพรัฐบาลแกว่งตัวได้ตลอด เวลา เป็นผลสำรวจที่แตกต่างไปจากความนิยมศรัทธาของประชาชนที่เคยมีให้แก่ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร ตอนเข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีใหม่ใน ปี 2544 และปี 2548 โดยในเวลานั้น พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ จะพูดอะไรจะทำอะไรก็มีเสียงตอบรับทำตามนโยบายต่างๆ ได้อย่างรวดเร็วฉับไว ไม่มี ปรากฏการณ์ “เกียร์ว่าง” ประชาชนพร้อมสนับสนุนเต็มที่ แต่น่าเสียดายที่ปัจจุบัน ยิ่งมีการโฟนอินด้วยข้อความโจมตีฝ่ายตรงข้ามโดยอดีตนายกรัฐมนตรี บ่อยครั้งเท่าไหร่ เสียงสะท้อนความนิยมศรัทธาของประชาชนครั้งล่าสุดที่มีต่ออดีตนายกรัฐมนตรีท่านนี้กลับลดต่ำสุดกว่าทุกครั้งที่มีการสำรวจในรอบเกือบ 8 ปีที่ผ่านมา
“ทางออกที่น่าพิจารณาคือ นายกอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะต้องเร่งทำงานหนักแก้ปัญหาเดือดร้อนของประชาชนด้วยความรวดเร็ว ฉับไว ต้อง ติดตามไม่ให้มีผู้ใต้บังคับบัญชาคนใดใส่เกียร์ว่าง ขณะที่ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ น่าจะปรับเปลี่ยนเนื้อหาท่าทีและรูปแบบของการเคลื่อนไหวมาเป็น การ เคลื่อนไหวในเชิงบวกที่สร้างสรรค์ มากกว่า การโจมตีฝ่ายตรงข้ามในทางลบเชิงทำลายล้างกันไปมา เพราะประชาชนส่วนใหญ่เบื่อ “ภาพของความขัด แย้งรุนแรง” ชาวบ้านไม่อยู่ในอารมณ์อยากดูละครตบตีกันทางการเมือง แต่กำลังดิ้นรนต่อสู้เรื่องปากท้องในชีวิตจริงของชาวบ้านเป็นหลัก ดังนั้น พ.ต. ท.ดร.ทักษิณ น่าจะเปลี่ยนมาเสนอแนวคิดแนวทางแก้ปัญหาวิกฤตของประเทศร่วมมือกับรัฐบาลชุดปัจจุบันและทุกกลุ่มการเคลื่อนไหวในประเทศ และ ประกาศจัดตั้งมูลนิธิต่างๆ ของ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร เพื่อความอยู่รอดของสังคมและเสถียรภาพทางการเมืองไทย โดยคำนึงถึงผลประโยชน์ส่วน รวมของประชาชนทั้งประเทศมากกว่าความอยู่รอดส่วนตัวและคนใกล้ชิด” ดร.นพดล กล่าว
รายละเอียด
โครงการ “เอแบคเรียลไทม์โพลล์” (Real-Time Survey) ของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้ เรื่อง เสียงสะท้อนของสาธารณชนต่อควันหลงผลการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล และแนวโน้มความนิยมศรัทธาต่อนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ กับ พ.ต. ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนใน 18 จังหวัดทั่วประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร แม่ฮ่องสอน สุโขทัย นครสวรรค์ สมุทรสงคราม ประจวบคีรีขันธ์ ลพบุรี สุพรรณบุรี นนทบุรี มุกดาหาร หนองคาย สกลนคร ศรีสะเกษ อุดรธานี ขอนแก่น ระนอง ปัตตานี และสงขลา จำนวนทั้งสิ้น 2,040 ตัวอย่าง ในวันเสาร์ที่ 21 มีนาคม 2552 ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนทั่วประเทศ เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากรเป้าหมายจากการทำสำมะโน ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 เครื่องมือที่ใช้ในการ เก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์ หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุก ชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูลและงบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย มีคณะผู้วิจัย จำนวนทั้งสิ้น 53 คน
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 52.6 เป็นหญิง
ร้อยละ 47.4 เป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 6.7 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 25.6 อายุระหว่าง 20 — 29 ปี
ร้อยละ 22.2 อายุระหว่าง 30 — 39 ปี
ร้อยละ 21.5 อายุระหว่าง 40 — 49 ปี
และร้อยละ 24.0 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 72.4 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี
รองลงมาคือร้อยละ 23.4 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 4.2 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ร้อยละ 28.6 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 27.3 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 19.0 ระบุอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน
ร้อยละ 10.4 ระบุข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 5.4 เป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ
ร้อยละ 5.7 เป็นนักเรียน/นักศึกษา
ในขณะที่ร้อยละ 3.6 ระบุว่างงาน/ไม่ประกอบอาชีพ
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ลำดับที่ การติดตามรับชม/รับฟัง การถ่ายทอดสด วันแรก วันที่สอง 1 ติดตามรับชม/รับฟังตลอด 6.3 17.7 2 ติดตามรับชม/รับฟังบ้าง 17.0 39.2 3 ไม่ได้ติดตามรับชม/ไม่ได้ติดตามรับฟัง 76.7 43.1 รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความละเอียดในการติดตามการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล (ค่าร้อยละเฉพาะผู้ที่ติดตาม) ลำดับที่ ความละเอียดในการติดตามการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล ค่าร้อยละ 1 ติดตามอย่างละเอียด 8.1 2 ค่อนข้างละเอียด 10.8 3 ติดตามบ้างแต่ไม่ละเอียด 81.1 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 3 แสดงคะแนนเฉลี่ยความน่าเชื่อถือในข้อมูลของนักการเมือง ที่นำมาใช้ในการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล (จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน เฉพาะผู้ที่ติดตามการอภิปราย) ลำดับที่ นักการเมืองที่อภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลในครั้งนี้ คะแนนเฉลี่ย 1 ร.ต.อ. ดร.เฉลิม อยู่บำรุง 4.89 2 ร.ต.ท.เชาวริน ลัทธศักดิ์ศิริ 4.80 3 นายสุนัย จุลพงศธร 4.75 4 นายจตุพร พรหมพันธุ์ 4.69 5 นายสุรพงษ์ โตวิจักษ์ชัยกุล 4.65 6 นายไพจิต ศรีวรขาน 4.52 7 นายสุชาติ ลายน้ำเงิน 4.34 ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ผลงานของฝ่ายค้านในประเด็นสำคัญต่างๆ ที่อภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล (ค่าร้อยละเฉพาะผู้ที่ติดตามและตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) ลำดับที่ ประเด็นการอภิปราย ค่าร้อยละ 1 พรรคประชาธิปัตย์รับเงินบริจาคจาก บริษัท ทีพีไอ โพลีน จำกัด 49.8 2 การอภิปรายนายกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ 42.5 3 การไม่ผ่านการเกณฑ์ทหารของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี 41.1 4 การส่งข้อความผ่านโทรศัพท์มือถือ (SMS) ของรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ 39.6 5 การกู้เงินจากต่างประเทศเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของรัฐบาล 39.2 6 นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ไม่ใช้ยศนำหน้าชื่อ ทั้งๆ ที่ได้รับการโปรดเกล้า ฯ 33.3 ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุประเด็นที่อยากให้มีการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลในครั้งต่อไป (ค่าร้อยละเฉพาะผู้ที่ติดตามและตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) ลำดับที่ ประเด็นที่อยากให้มีการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลในครั้งต่อไป ค่าร้อยละ 1 มาตรการแก้ปัญหาเศรษฐกิจ 80.0 2 แนวทางแก้ปัญหายาเสพติด 70.7 3 ปัญหาทุจริตคอรัปชั่น 70.1 4 ปัญหาสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ 67.9 5 ความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน 61.4 6 ปัญหาชายแดนของประเทศ 58.5 ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อรัฐมนตรีที่ถูกอภิปรายไม่ไว้วางใจ (ค่าร้อยละเฉพาะผู้ที่ติดตาม) ลำดับที่ รัฐมนตรีที่ถูกอภิปรายไม่ไว้วางใจ ควรปรับออกค่าร้อยละ ไม่ควรปรับออกค่าร้อยละ รวมทั้งสิ้น 1 นายกษิต ภิรมย์ รมว.กระทรวงการต่างประเทศ 41.6 58.4 100.0 2 นายบุญจง วงศ์ไตรรัตน์ รมช.กระทรวงมหาดไทย 27.6 72.4 100.0 3 นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล รมว.กระทรวงมหาดไทย 23.6 76.4 100.0 4 นายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ รมช.กระทรวงการคลัง 20.4 79.6 100.0 5 นายกรณ์ จาติกวณิช รมว.กระทรวงการคลัง 18.2 81.8 100.0 6 นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รมว.กระทรวงศึกษาธิการ 15.6 84.4 100.0 7 นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี 16.5 83.5 100.0 --เอแบคโพลล์-- -พห-