ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลสำรวจ “เอแบคเรียลไทม์โพลล์ (Real- Time Survey)” ที่เป็นการสำรวจผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ แบบรวดเร็วฉับไวภายในระยะเวลา 3 ชั่วโมง หลังจากมีสิ่งที่น่าสนใจติดตามใน หมู่ประชาชน โดยครั้งนี้ได้ทำการสำรวจเรื่อง ประเมินความรู้สึกของประชาชนผู้มีสิทธิรับเช็คช่วยชาติ ต่อการบริหารจัดการในการแจกเช็ค และความ ตั้งใจจะจับจ่ายใช้สอย กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนผู้มีสิทธิรับเช็คใน 18 จังหวัดของประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ พระนครศรี อยุธยา อ่างทอง สระแก้ว นครราชสีมา สุรินทร์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี ยโสธร มหาสารคาม เชียงใหม่ ลำปาง อุตรดิตถ์ เชียงราย นครปฐม สุราษฎร์ธานี และสตูล จำนวนตัวอย่างทั้งสิ้น 1,192 ตัวอย่าง เก็บข้อมูลในวันที่ 26 มีนาคม 2552 ผลการประเมินพบว่า
ความพอใจของประชาชนที่ได้รับเช็คช่วยชาติโดยภาพรวมต่อการบริหารจัดการให้เช็คประชาชนอยู่ในเกณฑ์ค่อนข้างพอใจเท่านั้น คือ ด้าน ความสามารถของเจ้าหน้าที่ในการอธิบายและตอบข้อคำถามต่างๆ ได้ 5.93 จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน ด้านความยินดีต้อนรับของพนักงานประกัน สังคม เมื่อไปติดต่อขอรับเช็ค ได้ 5.87 ด้านการพูดจาและกิริยามารยาทของพนักงานประกันสังคม ได้ 5.85 ด้านความชัดเจนของข้อมูลที่ได้รับ ได้ 5.50 ด้านการติดต่อทางโทรศัพท์กับสำนักงานประกันสังคม ได้ 5.28 ด้านจำนวนเจ้าหน้าที่ที่แจกเช็คช่วยชาติให้กับผู้ประกันตนได้ 5.10 และด้านความ สะดวกในการเดินทางไปรับเช็ค ได้ 4.92 เท่านั้น
อย่างไรก็ตาม ประชาชนส่วนใหญ่ที่ได้รับเช็คช่วยชาติ ร้อยละ 82.8 ระบุจะใช้จ่ายทันที ในขณะที่ร้อยละ 17.2 ตั้งใจจะเก็บเอาไว้ก่อน โดยในกลุ่มที่จะใช้จ่ายทันที ร้อยละ 10.3 จะใช้หนี้สิน ร้อยละ 70.6 จะซื้ออาหาร ร้อยละ 52.2 จะซื้อของใช้ และ 0.7 จะนำไปรวมเงินดาวน์ซื้อ สินค้า
ดร.นพดล กล่าวว่า สำหรับวงเงินเฉลี่ยที่ตั้งใจจะนำไปใช้จ่ายของประชาชนเท่ากับ 1,558.45 บาท นั่นหมายความว่าในกลุ่มคนที่จะใช้ จ่ายทันทีมีวงเงินเฉลี่ยที่จะยังเก็บออมไว้บางส่วนประมาณ 400 — 500 บาท
ประเด็นที่รัฐบาลชุดปัจจุบันของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะต้องเร่งพิจารณาคือ เมื่อถามว่า การบริหารจัดการให้ความสะดวกแก่ประชาชน ระหว่างรัฐบาล พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ กับ รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ รัฐบาลไหนบริการประชาชนได้ดีกว่ากัน พบว่า ร้อยละ 41.6 ระบุรัฐบาลทักษิณ บริการ ประชาชนได้ดีกว่า ร้อยละ 20.6 ระบุรัฐบาลชุดปัจจุบันของนายอภิสิทธิ์ บริการได้ดีกว่า แต่อย่างไรก็ตาม ร้อยละ 37.8 ระบุพอๆ กัน
จากกรณีมีประชาชนรอรับเช็คนานจนเป็นลม ผลสำรวจพบว่า ร้อยละ 57.8 ระบุส่งผลทำให้รัฐบาลชุดปัจจุบันเสียภาพลักษณ์ ในขณะที่ร้อย ละ 42.2 ระบุไม่ส่งผลกระทบใดๆ ต่อภาพลักษณ์ของรัฐบาล
ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 65.9 ระบุควรมีการให้เช็คช่วยชาติเช่นนี้อีกในอีก 6 เดือนข้างหน้า ในขณะที่ร้อยละ 34.1 ระบุไม่ควรมี อีกแล้ว
ผอ.เอแบคโพลล์ ระบุว่า ผลสำรวจครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า การบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพไม่เพียงพอของหน่วยงานภาครัฐอาจส่งผลทำให้ นโยบายสำคัญของรัฐบาลประสบปัญหาไม่สามารถทำให้ประชาชนพอใจตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ได้ ภาพที่ปรากฏในวันแจกเช็คช่วยชาติ กลับมีสีหน้าของความ กังวลใจในหมู่ประชาชน ไม่เชื่อมั่นว่าจะมีรายชื่อของตนหรือไม่ ประชาชนต่อแถวยาว บัตรคิวไม่เพียงพอ ไม่พบรอยยิ้มจากประชาชนและบางส่วนเป็นลม ขณะต่อแถวนาน ทางออกที่น่าพิจารณาคือ รัฐบาลต้องเร่งปรับปรุงเรื่องการบริหารจัดการทั้งระบบในทุกนโยบายสำคัญของรัฐบาลโดยด่วน อาจจะใช้ โอกาสที่บัณฑิตจำนวนมากกำลังหางานทำมาช่วยงานด้านการบริหารจัดการขับเคลื่อนนโยบายรัฐบาล และรัฐบาลควรมุ่งเน้นไปที่ความสำคัญของประชาชน รากหญ้า หรือรากฐานใหญ่ของสังคม เพื่อกลุ่มข้าราชการจะได้ให้บริการประชาชนส่วนใหญ่เหล่านั้นด้วยความยินดีต้อนรับ มีกิริยามารยาทที่ดีต่อประชาชน ผู้ติดต่อทุกคนโดยไม่แบ่งแยกชนชั้นอย่างเท่าเทียมกัน
รายละเอียดงานวิจัย
1. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการรับเช็ค 2000 บาทช่วยชาติในวันที่ 26 มีนาคม 2552
2. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
โครงการ “เอแบคเรียลไทม์โพลล์ (Real-Time Survey)” ของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้เรื่อง ประเมินความรู้สึกของประชาชนผู้มีสิทธิรับเช็คช่วยชาติ ต่อการบริหารจัดการในการแจกเช็ค และความตั้งใจจะจับจ่ายใช้สอย กรณีศึกษาตัวอย่าง ประชาชนผู้มีสิทธิรับเช็คใน 18 จังหวัดของประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ พระนครศรีอยุธยา อ่างทอง สระแก้ว นครราชสีมา สุรินทร์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี ยโสธร มหาสารคาม เชียงใหม่ ลำปาง อุตรดิตถ์ เชียงราย นครปฐม สุราษฎร์ธานี และสตูล จำนวนตัวอย่างทั้ง สิ้น 1,192 ตัวอย่าง เก็บข้อมูลในวันที่ 26 มีนาคม 2552 ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) กลุ่ม ประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนผู้ประกันตนกับสำนักงานประกันสังคมทั่วประเทศ เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะ เจาะจง (Purposive sampling ) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์ หลังจาก นั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูลและงบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย มีคณะผู้วิจัย จำนวน ทั้งสิ้น 51 คน
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 55.3 เป็นหญิง
ร้อยละ 44.7 เป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 4.2 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 25.9 อายุระหว่าง 20 — 29 ปี
ร้อยละ 26.1 อายุระหว่าง 30 — 39 ปี
ร้อยละ 19.6 อายุระหว่าง 40 — 49 ปี
และร้อยละ 24.2 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 68.1 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี
รองลงมาคือร้อยละ 28.4 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 3.5 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 27.3 ระบุมีรายได้ส่วนตัวไม่เกิน 5,000 บาทต่อเดือน
ร้อยละ 20.5 ระบุมีรายได้ 5,001 — 10,000 บาท
ร้อยละ 12.8 ระบุมีรายได้ 10,001 — 15,000 บาท
ร้อยละ 4.7 ระบุมีรายได้ 15,001 — 20,000 บาท
ร้อยละ 16.9 ระบุมีรายได้ส่วนตัวมากกว่า 20,000 บาทต่อเดือน
และร้อยละ 17.8 ไม่ระบุรายได้ส่วนตัวต่อเดือน
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ลำดับที่ การบริหารจัดการของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการให้เช็คช่วยชาติ คะแนนเฉลี่ย 1 ความสามารถของเจ้าหน้าที่ในการอธิบายและตอบข้อคำถามต่างๆ 5.93 2 ความยินดีต้อนรับของพนักงานประกันสังคม เมื่อไปติดต่อขอรับเช็ค 5.87 3 การพูดจา และกิริยามารยาทของพนักงานประกันสังคม 5.85 4 ความชัดเจนของข้อมูลที่ได้รับ 5.50 5 การติดต่อทางโทรศัพท์กับสำนักงานประกันสังคม 5.28 6 จำนวนเจ้าหน้าที่ ที่แจกเช็คช่วยชาติให้กับผู้ประกันตน 5.10 7 ความสะดวกในการเดินทางไปรับเช็ค 4.92 ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความตั้งใจจะนำเช็คช่วยชาติ 2000 บาทไปจับจ่ายใช้สอย ลำดับที่ ความตั้งใจของประชาชนในการนำเช็คช่วยชาติ 2000 บาท ไปจับจ่ายใช้สอย ค่าร้อยละ 1 ใช้จ่ายทันที 82.8 2 เก็บเอาไว้ก่อน 17.2 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการนำเช็คช่วยขาติ 2000 บาท ไปใช้จ่าย(ค่าร้อยละของคนที่จะใช้จ่ายทันที) ลำดับที่ การนำเช็คช่วยขาติ 2000 บาท ไปใช้จ่าย ค่าร้อยละ 1 ใช้หนี้สิน 10.3 2 ซื้ออาหาร 70.6 3 ซื้อของใช้ 52.2 4 เป็นเงินดาวน์ ซื้อสินค้า 0.7
จำนวนเงินเฉลี่ยที่ตั้งใจจะนำไปใช้จ่ายเท่ากับ 1,558.45 บาท
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ 1 รัฐบาลทักษิณ ชินวัตร บริการประชาชนได้ดีกว่า 41.6 2 รัฐบาลชุดปัจุบัน ของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะบริการประชาชนได้ดีกว่า 20.6 3 บริหารจัดการได้ดีพอกัน 37.8 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นกรณีการส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ในทางลบต่อภาพลักษณ์ของรัฐบาลเมื่อ มีประชาชนรอรับเช็คนานจนเป็นลม ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ 1 ส่งผลทำให้รัฐบาลชุดปัจจุบันเสียภาพลักษณ์ 57.8 2 ไม่ส่งผลกระทบใดๆ 42.2 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นกรณีการให้เช็คช่วยชาติกับประชาชนในอีก 6 เดือนข้างหน้า ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ 1 ควรมีการให้เช็คช่วยชาติเช่นนี้ในอีก 6 เดือนข้างหน้า 65.9 2 ไม่ควรมีอีก 34.1 รวมทั้งสิ้น 100.0 --เอแบคโพลล์-- -พห-