เอแบคโพลล์: ประชาชนคิดอย่างไรต่อ การโฟนอินของอดีตนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร

ข่าวผลสำรวจ Monday March 30, 2009 07:23 —เอแบคโพลล์

ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผล “เอแบคเรียลไทม์โพลล์” ในหัวข้อเรื่อง ประชาชนคิดอย่างไรต่อ การโฟนอินของอดีตนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนใน 18 จังหวัดของประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร อุตรดิตถ์ ลำปาง เชียงราย เชียงใหม่ อ่างทอง สระแก้ว พระนครศรีอยุธยา นครปฐม สมุทรปราการ ยโสธร มหาสารคาม สุรินทร์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี นครราชสีมา สตูล และสุราษฎร์ธานี จำนวนตัวอย่างทั้งสิ้น 1,154 ตัวอย่าง ในวันที่ 29 มีนาคม ที่ผ่านมาด้วยระบบเทคโนโลยีสื่อสารเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในการเก็บข้อมูลและประมวลผลแบบเรียลไทม์ ผลสำรวจพบว่า

ประชาชนที่ถูกศึกษาส่วนใหญ่หรือร้อยละ 95.5 ทราบข่าวการโฟนอินของ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร ในขณะที่ร้อยละ 4.5 ไม่ทราบ ข่าว แต่เมื่อสอบถามความคิดเห็นต่อการโฟนอินของอดีตนายกรัฐมนตรีที่กล่าวพาดพิง บุคคลสำคัญของสังคมไทย พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 73.4 ไม่ เห็นด้วย ในขณะที่ร้อยละ 15.6 เห็นด้วยและร้อยละ 11.0 ไม่มีความเห็น

ที่น่าพิจารณาคือ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 69.4 รู้สึกไม่สบายใจ หลังทราบข่าวการโฟนอินของอดีตนายกรัฐมนตรี เพราะ เกรงว่าบ้านเมือง จะวุ่นวาย เกิดความขัดแย้งรุนแรงขึ้นอีก ปัญหาเยอะมากพออยู่แล้ว มีการโจมตีผู้ใหญ่ในสังคม เกรงอดีตนายกรัฐมนตรีจะได้รับอันตราย และกลัวการ ปฏิวัติยึดอำนาจอีก เป็นต้น ในขณะที่ ร้อยละ 23.3 รู้สึกสบายใจ เพราะ ได้ยิน ได้เห็น พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ และเห็นว่าประเทศไทยยังเป็น ประชาธิปไตยอยู่ เป็นต้น และร้อยละ 7.3 ระบุไม่รู้สึกอะไร เพราะ เป็นเรื่องปกติธรรมดาในสังคมประชาธิปไตย ไม่เกี่ยวข้องอะไรกับใคร ไม่เกี่ยว ข้องอะไรกับตนเอง เป็นต้น

ที่น่าเป็นห่วงคือ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 61.8 คิดว่าจะเกิดความขัดแย้งรุนแรงบานปลายขึ้นอีก ในสถานการณ์การเมืองปัจจุบัน ในขณะที่ร้อย ละ 10.9 ไม่คิดว่าจะเกิดความขัดแย้งรุนแรงบานปลายอีก และร้อยละ 27.3 ไม่มีความเห็น

สิ่งที่น่าพิจารณาอย่างยิ่งในมุมมองของประชาชนที่ถูกศึกษา คือ ทางออกของปัญหาการเมืองที่อยากเห็น พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 88.4 อยากให้คนไทยรักกัน รองลงมาคือ ร้อยละ 86.2 ยึดมั่นในกระบวนการยุติธรรม ร้อยละ 83.5 หยุดการโต้ตอบกันไปมา ร้อยละ 67.9 นำวัฒนธรรม ประเพณีไทยมาแก้ปัญหาแตกแยก ร้อยละ 55.3 ระบุให้เร่งรัดคดีความต่างๆ ให้จบสิ้น ร้อยละ 52.2 ให้จับมือกันกับ อดีตนายกรัฐมนตรี เร่งแก้ปัญหา ของประเทศ และร้อยละ 39.1 ให้นำตัว พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ กลับประเทศ ตามลำดับ

รายละเอียดงานวิจัย

วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย

1. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อการโฟนอินของ อดีตนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร

2. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป

ระเบียบวิธีการทำโพลล์

โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้เป็นการทำ ผล “เอแบคเรียลไทม์โพลล์” ในหัวข้อ เรื่อง ประชาชนคิดอย่างไรต่อ การโฟนอินของอดีตนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนใน 18 จังหวัดของ ประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร อุตรดิตถ์ ลำปาง เชียงราย เชียงใหม่ อ่างทอง สระแก้ว พระนครศรีอยุธยา นครปฐม สมุทรปราการ ยโสธร มหาสารคาม สุรินทร์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี นครราชสีมา สตูล และสุราษฎร์ธานี จำนวนตัวอย่างทั้งสิ้น 1,154 ตัวอย่าง ในวัน ที่ 29 มีนาคม ที่ผ่านมาด้วยระบบเทคโนโลยีสื่อสารเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในการเก็บข้อมูลและประมวลผลแบบเรียลไทม์

ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ เอแบคเรียลไทม์โพลล์ (ABAC Real-Time Poll) กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนทั่ว ประเทศ เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากรเป้า หมายจากการทำสำมะโน ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม วิธีการเก็บรวบรวม ข้อมูลคือ การสัมภาษณ์ หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูลและงบประมาณเป็น ของมหาวิทยาลัย มีคณะผู้วิจัย จำนวนทั้งสิ้น 63 คน

ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง

จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่างร้อยละ 52.8 เป็นเพศหญิง

ร้อยละ 47.2 เป็นเพศชาย

ร้อยละ 8.1 ระบุอายุต่ำกว่า 20 ปี

ร้อยละ 22.4 อายุระหว่าง 20 — 29 ปี

ร้อยละ 23.9 อายุระหว่าง 30 — 39 ปี

ร้อยละ 20.8 อายุระหว่าง 40 — 49 ปี

และ ร้อยละ 24.8 อายุ 50 ปีขึ้นไป

ตัวอย่าง ร้อยละ 72.7 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี

รองลงมาคือร้อยละ 21.6 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี

และร้อยละ 5.7 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี

ร้อยละ 30.9 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างใช้แรงงานทั่วไป

ร้อยละ 23.7 ระบุอาชีพค้าขายรายย่อย/อิสระ

ร้อยละ 14.9 ระบุอาชีพลูกจ้าง/พนักงานบริษัท

ตัวอย่าง ร้อยละ 11.1 ระบุอาชีพข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ

ร้อยละ 7.3 ระบุอาชีพพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ

ร้อยละ 6.2 ระบุอาชีพนักเรียนนักศึกษา

ร้อยละ 5.9 ระบุว่างงาน

โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้

ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ทราบข่าวการโฟนอินของ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร
ลำดับที่          การรับรู้รับทราบข่าวการโฟนอินของ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ   ค่าร้อยละ
1          ทราบข่าว                                          95.5
2          ไม่ทราบข่าว                                         4.5
          รวมทั้งสิ้น                                          100.0

ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นต่อการโฟนอินของอดีตนายกรัฐมนตรีที่กล่าวพาดพิง บุคคลสำคัญของสังคมไทย
ลำดับที่          ความเชื่อ                                    ค่าร้อยละ
1          เห็นด้วย                                           15.6
2          ไม่เห็นด้วย                                         73.4
3          ไม่มีความเห็น                                       21.0
          รวมทั้งสิ้น                                          100.0

ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความรู้สึกหลังรับทราบข่าวการโฟนอินของอดีตนายกรัฐมนตรี
ลำดับที่          ความรู้สึก                                                              ค่าร้อยละ
1          สบายใจ เพราะ ได้ยินเสียง ได้เห็น พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ
           และเห็นว่าประเทศไทยยังเป็นประชาธิปไตยอยู่ เป็นต้น                                   23.3
2          ไม่สบายใจ เพราะ เกรงว่าบ้านเมืองจะวุ่นวาย เกิดความขัดแย้งรุนแรงขึ้นอีก

ปัญหาเยอะมากพออยู่แล้ว มีการโจมตีผู้ใหญ่ในสังคม เกรงอดีตนายกรัฐมนตรีจะได้รับอันตราย

           และ กลัวการปฏิวัติยึดอำนาจ เป็นต้น                                                69.4
3          ไม่รู้สึกอะไร เพราะ เป็นเรื่องปกติธรรมดาในสังคมประชาธิปไตย ไม่เกี่ยวข้องอะไรกับใคร เป็นต้น   7.3
          รวมทั้งสิ้น                                                                    100.0

ตารางที่ 4  แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นต่อความขัดแย้งรุนแรงบานปลาย ในสถานการณ์การเมืองปัจจุบัน
ลำดับที่          ความคิดเห็น                               ค่าร้อยละ
1          คิดว่าจะเกิดความขัดแย้งรุนแรงบานปลายขึ้นอีก           61.8
2          ไม่คิดว่าจะเกิดความขัดแย้งบานปลายอีก                10.9
3          ไม่มีความเห็น                                   27.3
          รวมทั้งสิ้น                                      100.0

ตารางที่ 5  แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ทางออกของปัญหาการเมืองที่อยากเห็น (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่          ทางออกของปัญหาการเมืองที่อยากเห็น           ค่าร้อยละ
1          อยากให้คนไทยรักกัน                              88.4
2          ยึดมั่นในกระบวนการยุติธรรม                        86.2
3          หยุดการโต้ตอบกันไปมา                            83.5
4          นำวัฒนธรรม ประเพณีไทยมาแก้ปัญหาแตกแยก            67.9
5          เร่งรัดคดีความต่างๆ ให้จบสิ้น                       55.3
6          จับมือกันกับ อดีตนายกรัฐมนตรี เร่งแก้ปัญหาของประเทศ    52.2
7          นำตัว พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ กลับประเทศ                 39.1

--เอแบคโพลล์--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ