ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลสำรวจ “เอแบคเรียลไทม์โพลล์ (Real- Time Survey)” ที่เป็นการสำรวจถึงระดับครัวเรือนผ่านการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิ และประมวลผลผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่รวด เร็วฉับไว หลังจากมีสิ่งที่น่าสนใจติดตามในหมู่ประชาชน โดยครั้งนี้ได้ทำการสำรวจเรื่อง ประชาชนคิดอย่างไรต่อรัฐบาลในประเด็นร้อนมาตรการห้าม ขาย/ ไม่ห้ามขายเหล้า ช่วงเทศกาลสงกรานต์ กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปใน 18 จังหวัดของประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ พระนครศรีอยุธยา อ่างทอง นครปฐม สระแก้ว นครราชสีมา สุรินทร์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี ยโสธร มหาสารคาม เชียงใหม่ ลำปาง อุตรดิตถ์ เชียงราย ระนอง และสงขลา จำนวนทั้งสิ้น 2,147 ครัวเรือน ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 25 — 28 มีนาคม 2552 ประเด็น สำคัญที่ค้นพบ คือ
ประชาชนที่ถูกศึกษาส่วนใหญ่หรือร้อยละ 84.6 เห็นว่าการดื่มเหล้าเป็นสาเหตุสำคัญทำให้เกิดอุบัติเหตุช่วงเทศกาลสงกรานต์ ในขณะที่ ร้อยละ 14.7 ไม่เห็นว่า เหล้าเป็นสาเหตุสำคัญ และร้อยละ 0.7 ไม่มีความเห็น อย่างไรก็ตาม ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 68.5 เห็นด้วยกับมาตรการห้าม ขายเหล้าตลอด 24 ชั่วโมงทุกวันในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ในขณะที่ ร้อยละ 27.3 ไม่เห็นด้วย และร้อยละ 4.2 ไม่มีความเห็น
เมื่อถามว่า ถ้าอนุญาตให้ขายเหล้าได้ “บางช่วงเวลา” ในเทศกาลสงกรานต์ จะช่วยแก้ปัญหาอุบัติเหตุบนท้องถนนได้หรือไม่ พบว่า ส่วน ใหญ่หรือร้อยละ 76.1 ไม่คิดว่าจะช่วยได้ ในขณะที่ร้อยละ 12.1 คิดว่าจะช่วยแก้ปัญหาได้ และร้อยละ 11.8 ไม่มีความเห็น นอกจากนี้ เมื่อถามว่า ถ้าอนุญาตให้ขายเหล้าได้ใน “บางสถานที่” เช่น อนุญาตให้ขายได้ในร้านอาหาร แต่ห้ามขายในร้านสะดวกซื้อ จะช่วยแก้ปัญหาอุบัติเหตุบนท้องถนน ได้ หรือไม่ พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 81.4 ไม่คิดว่าจะช่วยได้ ร้อยละ 8.5 คิดว่าจะช่วยแก้ปัญหาอุบัติเหตุได้ และร้อยละ 10.1 ไม่มีความเห็น
ที่น่าเป็นห่วงคือ ประชาชนที่ถูกศึกษาส่วนใหญ่หรือร้อยละ 77.8 รู้สึกเคลือบแคลงสงสัยต่อรัฐบาลและผู้ใหญ่ในสังคม เอื้อประโยชน์ต่อกลุ่ม นายทุน ถ้าปล่อยให้มีการขายเหล้าได้ช่วงเทศกาลสงกรานต์ ในขณะที่ร้อยละ 13.9 ไม่รู้สึกเคลือบแคลงสงสัยอะไร และร้อยละ 8.3 ไม่มีความเห็น ยิ่งไปกว่านั้น ประชาชนก่ำกึ่งกันคือ ร้อยละ 44.2 คิดว่า รัฐบาลชุดปัจจุบันของพรรคประชาธิปัตย์ยังคงคำนึงถึงชีวิตของประชาชนมากกว่าผลประโยชน์ ของกลุ่มนายทุน ในขณะที่ ร้อยละ 43.1 คิดว่า รัฐบาลชุดปัจจุบันคำนึงถึงผลประโยชน์ของกลุ่มนายทุนมากกว่า และร้อยละ 12.7 ไม่มีความเห็น
ดร.นพดล กล่าวว่า ผลสำรวจครั้งนี้ชี้ให้เห็นสัญญาณที่อันตรายบางอย่างต่อภาพลักษณ์ของรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์อีกครั้งหนึ่งในช่วงเวลา เพียงไม่กี่เดือนของการเริ่มทำงานบริหารราชการแผ่นดิน เนื่องจากประชาชนก่ำกึ่งกันระหว่างคนที่เห็นว่ารัฐบาลกำลังทำตามวาทะรณรงค์ทางการเมือง ที่ว่า “ประชาชนต้องมาก่อน” หรือว่า ผลประโยชน์ของกลุ่มคนชนชั้นนำ กลุ่มนายทุนต้องมาก่อนประชาชน เพราะท่าทีของรัฐบาลที่ผ่านมาทำให้ประชาชน ลังเล มองภาพลักษณ์ของรัฐบาลไม่ชัดเจน
“ยิ่งไปกว่านั้น ผลสำรวจก่อนหน้านี้ยังพบด้วยว่า ภาพลักษณ์ของนายกรัฐมนตรีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะมีจุดอ่อนตกเป็นรองด้อยกว่านายก รัฐมนตรีคนก่อนหน้านี้ในเรื่อง “ความกล้าคิดกล้าทำ” ถ้าปล่อยให้เป็นเช่นนี้อาจเป็นหนึ่งในความรู้สึกนึกคิดที่สะสมทางลบของสาธารณชนต่อเสถียรภาพ ของรัฐบาลโดยรวมได้ ดังนั้น นายกรัฐมนตรีต้องกล้าคิดกล้าตัดสินใจอย่างรวดเร็วฉับไวให้มากขึ้น และมาตรการห้ามขายเหล้าตลอดเวลาในช่วง เทศกาลสงกรานต์เป็นเรื่องท้าทายในบทพิสูจน์อีกบทหนึ่งว่า การตัดสินใจของรัฐบาลชุดปัจจุบันเป็นอิสระไม่อยู่ภายใต้อิทธิพลของใครและเล็งเห็นถึงความ ปลอดภัยและชีวิตของประชาชนชาวบ้านทั่วไปเป็นสำคัญหรือไม่” ผอ.เอแบคโพลล์ กล่าว
รายละเอียดงานวิจัย
1. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อ รัฐบาลในมาตรการห้ามขาย ไม่ห้ามขายเหล้าในช่วงเทศกาลสงกรานต์
2. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
โครงการ “เอแบคเรียลไทม์โพลล์ (Real-Time Survey)” ของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้เรื่อง ประชาชนคิดอย่างไรต่อรัฐบาลในประเด็นร้อนมาตรการห้ามขาย/ ไม่ห้ามขายเหล้า ช่วงเทศกาลสงกรานต์ กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนอายุ 18 ปีขึ้น ไปใน 18 จังหวัดของประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ พระนครศรีอยุธยา อ่างทอง นครปฐม สระแก้ว นครราชสีมา สุรินทร์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี ยโสธร มหาสารคาม เชียงใหม่ ลำปาง อุตรดิตถ์ เชียงราย ระนอง และสงขลา จำนวนทั้งสิ้น 2,147 ครัวเรือน ดำเนิน โครงการระหว่างวันที่ 25 — 28 มีนาคม 2552 ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) กลุ่มประชากร เป้าหมาย คือ ประชาชนทั่วประเทศ เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่าง ให้สอดคล้องกับประชากรเป้าหมายจากการทำสำมะโน ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบ ถาม วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์ หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย มีคณะผู้วิจัย จำนวนทั้งสิ้น 61 คน
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 55.3 เป็นหญิง
ร้อยละ 44.7 เป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 10.2 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 21.9 อายุระหว่าง 20 — 29 ปี
ร้อยละ 21.1 อายุระหว่าง 30 — 39 ปี
ร้อยละ 22.6 อายุระหว่าง 40 — 49 ปี
และ ร้อยละ 24.2 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 68.1 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี
รองลงมาคือร้อยละ 28.4 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 3.5 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ร้อยละ 23.4 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 26.2 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 19.6 ระบุอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน
ร้อยละ 13.7 ระบุข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 5.0 เป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ
ร้อยละ 7.3 เป็นนักเรียน/นักศึกษา
ในขณะที่ร้อยละ 4.8 ระบุว่างงาน/ไม่ประกอบอาชีพ
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ลำดับที่ ความคิดเห็นของประชาชน ค่าร้อยละ 1 เห็นด้วย 84.6 2 ไม่เห็นด้วย 14.7 3 ไม่มีความเห็น 0.7 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นกรณีที่จะมีการห้ามขายเหล้าตลอด 24 ชั่วโมง ทุกวันในเทศกาลสงกรานต์ ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ 1 เห็นด้วย 68.5 2 ไม่เห็นด้วย 27.3 3 ไม่มีความเห็น 4.2 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ คำตอบต่อคำถามที่ว่า ถ้าอนุญาตให้ขายเหล้าได้ “บางช่วงเวลา” ในเทศกาลสงกรานต์
จะช่วยแก้ปัญหาอุบัติเหตุบนท้องถนนได้หรือไม่
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ 1 คิดว่าช่วยแก้ปัญหาได้ 12.1 2 ไม่คิดว่าจะช่วยได้ 76.1 3 ไม่มีความเห็น 11.8 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ คำตอบต่อคำถามที่ว่า ถ้าอนุญาตให้ขายเหล้าได้ใน “บางสถานที่” เช่น อนุญาตให้ขายใน
ร้านอาหาร แต่ห้ามขายในร้านสะดวกซื้อ จะช่วยแก้ปัญหาอุบัติเหตุบนท้องถนนได้หรือไม่
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ 1 คิดว่า จะช่วยแก้ปัญหาอุบัติเหตุได้ 8.5 2 ไม่คิดว่าจะช่วยได้ 81.4 3 ไม่มีความเห็น 10.1 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความเคลือบแคลงสงสัยต่อรัฐบาลและผู้ใหญ่ในสังคม เอื้อประโยชน์กลุ่มนายทุน
ถ้าปล่อยให้มีการขายเหล้าได้ช่วงเทศกาลสงกรานต์
ลำดับที่ ความเคลือบแคลงสงสัยของสาธารณชน ค่าร้อยละ 1 รู้สึกเคลือบแคลงสงสัยต่อรัฐบาลและผู้ใหญ่ในสังคม 77.8 2 ไม่รู้สึกเคลือบแคลงสงสัยอะไร 13.9 3 ไม่มีความเห็น 8.3 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นต่อสิ่งที่รัฐบาลชุดปัจจุบันคำนึงถึง ลำดับที่ ความคิดเห็นต่อสิ่งที่รัฐบาลชุดปัจจุบันคำนึงถึง ค่าร้อยละ 1 คิดว่ารัฐบาลชุดปัจจุบันคำนึงถึงผลประโยชน์ของกลุ่มนายทุนมากกว่า 43.1 2 คิดว่าคำนึงถึงชีวิตของประชาชนมากกว่า 44.2 3 ไม่มีความเห็น 12.7 รวมทั้งสิ้น 100.0 --เอแบคโพลล์-- -พห-