ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลสำรวจ “เอแบคเรียลไทม์โพลล์” (Real- Time Survey) ที่เป็นการสำรวจแบบรวดเร็วฉับไวทันต่อสถานการณ์ โดยประมวลผลผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ หลังจากมีสิ่งที่น่าสนใจติดตามใน หมู่ประชาชนครั้งนี้ เรื่อง ความในใจของสาธารณชนที่อยากบอกกับกลุ่มเคลื่อนไหวทางการเมือง กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนใน 18 จังหวัดของ ประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร ตาก ลำปาง เชียงราย ประจวบคีรีขันธ์ ฉะเชิงเทรา ราชบุรี นนทบุรี ชลบุรี อำนาจเจริญ มหาสารคาม สกลนคร ศรีสะเกษ อุดรธานี ขอนแก่น พัทลุง สุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช จำนวนทั้งสิ้น 2,192 ตัวอย่าง ในวันเสาร์ที่ 4 เมษายน 2552 ผล สำรวจพบว่า ประชาชนที่ถูกศึกษาส่วนใหญ่หรือประมาณร้อยละ 80 ติดตามข่าวสารการเมืองผ่านสื่อมวลชนเป็นประจำทุกสัปดาห์
อย่างไรก็ตาม เกินกว่าครึ่งหนึ่งหรือร้อยละ 54.8 รู้สึกเครียดต่อเรื่องการเมือง และส่วนใหญ่หรือร้อยละ 74.0 เบื่อหน่ายต่อเรื่องการ เมือง และร้อยละ 17.4 ขัดแย้งกับคนรอบข้างเรื่องการเมือง
ที่น่าพิจารณาคือ เมื่อถามถึงสิ่งที่ต้องการให้กลุ่มเคลื่อนไหวทางการเมือง “หยุด” อะไร เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาของประเทศชาติในขณะนี้ ผล สำรวจพบว่า อันดับแรกหรือร้อยละ 70.8 อยากให้หยุดก่อความวุ่นวาย รองลงมาอันดับที่สองคือ ร้อยละ 68.7 อยากให้หยุดทำเพื่อคนใดคนหนึ่งหรือ พวกพ้องของตนเอง อันดับที่สาม ร้อยละ 66.3 อยากให้หยุดใช้ประชาชนเป็นเครื่องมือ และรองๆ ลงไปคือ ร้อยละ 63.9 อยากให้หยุดแบ่งพรรคแบ่ง พวก ร้อยละ 61.8 อยากให้หยุดสนับสนุนกลุ่มผู้ชุมนุมทุกกลุ่ม ร้อยละ 61.2 อยากให้หยุดแทรกแซงสื่อมวลชน เป็นต้น
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า เมื่อถามถึงสิ่งที่อยากให้กลุ่มเคลื่อนไหวทางการเมือง “สร้าง” อะไรเพื่อแก้ไขปัญหาของประเทศชาติในขณะนี้ ผล สำรวจพบว่า อันดับแรกหรือร้อยละ 74.6 อยากให้สร้างความรักความสามัคคีของคนในชาติ รองลงมาอันดับที่สอง คือ ร้อยละ 73.7 อยากให้สร้าง ความดีเพื่อถวายแด่ในหลวงของเรา อันดับที่สามคือร้อยละ 72.9 อยากให้สร้างคนให้มีคุณธรรม และรองๆ ลงไปคือร้อยละ 70.6 อยากให้สร้างความ มั่นใจให้กับประชาชน ร้อยละ 61.4 อยากให้สร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับประเทศเพื่อนบ้าน ร้อยละ 60.5 อยากให้สร้างความสงบใน 3 จังหวัดชายแดน ภาคใต้ ร้อยละ 60.0 อยากให้สร้างความเชื่อมั่นให้กับต่างประเทศ และร้อยละ 35.4 อยากให้สร้างรัฐบาลใหม่ ตามลำดับ
นอกจากนี้ เมื่อถามถึงสิ่งที่อยากให้กลุ่มเคลื่อนไหวทางการเมือง “เร่ง” อะไร เพื่อแก้ไขปัญหาของประเทศชาติขณะนี้ ผลสำรวจพบว่า อันดับแรกหรือร้อยละ 72.4 อยากให้เร่งแก้ปัญหาปากท้องของประชาชน รองลงมาอันดับที่สอง คือ ร้อยละ 71.7 อยากให้เร่งแก้ปัญหายาเสพติด อันดับที่สาม คือร้อยละ 71.0 อยากให้เร่งแก้ปัญหาว่างงาน อันดับที่สี่ คือ ร้อยละ 70.7 อยากให้เร่งสร้างความรักชาติในหมู่ประชาชน อันดับที่ห้า คือ ร้อยละ 69.6 อยากให้เร่งสร้างความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน รองๆ ลงไปคือ ร้อยละ 68.8 อยากให้เร่งปราบปรามทุจริต คอรัปชั่น และร้อยละ 44.7 อยากให้เร่งคืนอำนาจให้กับประชาชน เลือกตั้งใหม่ ตามลำดับ
ผอ.เอแบคโพลล์ กล่าวว่า ผลสำรวจครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า อารมณ์ความรู้สึกของประชาชนที่เคยสำรวจพบตลอดช่วง 3 ปีที่ผ่านมาต่อ บรรยากาศทางการเมืองยังคงเหมือนเดิมทั้ง ความรู้สึกเบื่อ เครียดและความขัดแย้งกับคนรอบข้างในเรื่องการเมือง ยิ่งไปกว่านั้นคือ เริ่มมีเชื้อไฟใน อารมณ์ของประชาชนจำนวนมากที่บอกว่าให้รัฐบาลเร่งคืนอำนาจแก่ประชาชนเลือกตั้งใหม่ อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ประชาชนสะท้อนเสียงมายังกลุ่มเคลื่อน ไหวทางการเมืองกลุ่มต่างๆ ผ่านการสำรวจครั้งนี้ คือ สิ่งที่ประชาชนอยากบอกให้กลุ่มเคลื่อนไหวทางการเมือง “หยุดอะไร” “สร้างอะไร” และ “เร่งอะไร” เพื่อแก้ปัญหาของประเทศชาติขณะนี้ ผลการศึกษาจัดอันดับออกมาเป็นข้อเสนอแนะทางออกฝ่าวิกฤตชาติภายใต้ “หลักแนวคิด 3 หยุด 3 สร้าง และ 5 เร่ง” ประกอบด้วย
หลักแนวคิด 3 หยุด ได้แก่ หยุดก่อความวุ่นวาย หยุดทำเพื่อคนใดคนหนึ่งหรือพวกพ้อง และหยุดใช้ประชาชนเป็นเครื่องมือ
หลักแนวคิด 3 สร้าง ได้แก่ สร้างความรักความสามัคคีของคนในชาติ สร้างความดีเพื่อถวายแด่ในหลวง และสร้างคนให้มีคุณธรรม
และหลักแนวคิด 5 เร่ง ได้แก่ เร่งแก้ปัญหาปากท้องของประชาชน เร่งแก้ปัญหายาเสพติด เร่งแก้ปัญหาการว่างงาน เร่งสร้างความรัก ชาติในหมู่ประชาชน และเร่งสร้างความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน
หลักแนวคิดเหล่านี้หลายประการที่เกินขอบเขตความสามารถของประชาชนทั่วไปจะทำให้เป็นจริงได้เพียงลำพัง ดังนั้น ฝ่ายการเมืองและ กลุ่มชนชั้นนำของสังคม เช่น สื่อมวลชน นักธุรกิจ นักวิชาการ กลุ่มข้าราชการ และแกนนำชุมชน น่าจะพิจารณารณรงค์ขับเคลื่อนให้ข้อมูลความต้องการ ของสาธารณชนครั้งนี้เป็นประโยชน์แก้ปัญหาของประเทศชาติโดยส่วนรวมอย่างแท้จริงและยั่งยืนตลอดไป
รายละเอียดโครงการวิจัย
โครงการ “เอแบคเรียลไทม์โพลล์” (Real-Time Survey) ของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้ เรื่อง ความในใจของสาธารณชนที่อยากบอกกับกลุ่มเคลื่อนไหวทางการเมือง กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนใน 18 จังหวัดของประเทศ ได้แก่ กรุงเทพ มหานคร ตาก ลำปาง เชียงราย ประจวบคีรีขันธ์ ฉะเชิงเทรา ราชบุรี นนทบุรี ชลบุรี อำนาจเจริญ มหาสารคาม สกลนคร ศรีสะเกษ อุดรธานี ขอนแก่น พัทลุง สุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช จำนวนทั้งสิ้น 2,192 ตัวอย่าง ในวันเสาร์ที่ 4 เมษายน 2552 ประเภทของการสำรวจวิจัย ครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนทั่วประเทศ เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การ สุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากรเป้าหมายจากการทำสำมะโน ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ ในระดับร้อยละ 95 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์ หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูลและงบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย มีคณะผู้วิจัย จำนวนทั้งสิ้น 58 คน
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 55.9 เป็นหญิง
ร้อยละ 44.1 เป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 5.5 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 14.0 อายุระหว่าง 20 — 29 ปี
ร้อยละ 17.6 อายุระหว่าง 30 — 39 ปี
ร้อยละ 21.0 อายุระหว่าง 40 — 49 ปี
และร้อยละ 41.9 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 69.3 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี
รองลงมาคือร้อยละ 25.1 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 5.6 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ร้อยละ 30.8 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 26.8 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 14.4 ระบุอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน
ร้อยละ 10.2 ระบุข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 8.7 เป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ
ร้อยละ 8.8 เป็นนักเรียน/นักศึกษา
ในขณะที่ร้อยละ 4.3 ระบุว่างงาน/ไม่ประกอบอาชีพ
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ลำดับที่ การติดตามข่าวการเมืองผ่านสื่อมวลชนในช่วง 30 วันที่ผ่านมา ค่าร้อยละ 1 ทุกวัน/เกือบทุกวัน 53.6 2 3-4 วันต่อสัปดาห์ 13.7 3 1-2 วันต่อสัปดาห์ 13.0 4 ติดตามเป็นบางสัปดาห์ 9.3 5 ไม่ได้ติดตามเลย 10.4 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความรู้สึกต่อสถานการณ์การเมืองในขณะนี้ ลำดับที่ ความรู้สึกต่อสถานการณ์การเมืองในขณะนี้ ใช่ (ค่าร้อยละ) ไม่ใช่(ค่าร้อยละ) รวมทั้งสิ้น 1 เครียดต่อเรื่องการเมือง 54.8 45.2 100.0 2 เบื่อหน่ายต่อเรื่องการเมือง 74.0 26.0 100.0 3 ขัดแย้งกับคนรอบข้างเรื่องการเมือง 17.4 82.6 100.0 ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ สิ่งที่ต้องการให้กลุ่มเคลื่อนไหวทางการเมืองต่างๆ หยุด เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาของประเทศชาติ
ในขณะนี้ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ สิ่งที่ต้องการให้กลุ่มเคลื่อนไหวทางการเมืองต่างๆ หยุด ค่าร้อยละ 1 หยุดก่อความวุ่นวาย 70.8 2 หยุดทำเพื่อคนใดคนหนึ่งหรือพวกพ้องตนเอง 68.7 3 หยุดใช้ประชาชนเป็นเครื่องมือ 66.3 4 หยุดแบ่งพรรคแบ่งพวก 63.9 5 หยุดสนับสนุนกลุ่มผู้ชุมนุมทุกกลุ่ม 61.8 6 หยุดแทรกแซงสื่อมวลชน 61.2 7 อื่นๆ หยุดโกหก /เลิกยั่วยุ/หยุดสร้างกระแส 2.3 ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุสิ่งที่ต้องการให้กลุ่มเคลื่อนไหวทางการเมืองต่างๆ สร้าง เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาของประเทศชาติ
ในขณะนี้ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ สิ่งที่ต้องการให้กลุ่มเคลื่อนไหวทางการเมืองต่างๆ สร้าง ค่าร้อยละ 1 สร้างความรักความสามัคคีของคนในชาติ 74.6 2 สร้างความดีเพื่อถวายแด่ในหลวง 73.7 3 สร้างคนให้มีคุณธรรม 72.9 4 สร้างความมั่นใจให้กับประชาชน 70.6 5 สร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับประเทศเพื่อนบ้าน 61.4 6 สร้างความสงบใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ 60.5 7 สร้างความเชื่อมั่นให้ต่างประเทศ 60.0 8 สร้างรัฐบาลใหม่ 35.4 ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุสิ่งที่ต้องการให้กลุ่มเคลื่อนไหวทางการเมืองต่างๆ เร่ง เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาของประเทศชาติ
ในขณะนี้ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ สิ่งที่ต้องการให้กลุ่มเคลื่อนไหวทางการเมืองต่างๆ เร่ง ค่าร้อยละ 1 เร่งแก้ปัญหาปากท้องของประชาชน 72.4 2 เร่งแก้ปัญหายาเสพติด 71.7 3 เร่งแก้ปัญหาการว่างงาน 71.0 4 เร่งสร้างความรักชาติในหมู่ประชาชน 70.7 5 เร่งสร้างความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน 69.6 6 เร่งปราบปรามทุจริต/คอรัปชั่น 68.8 7 เร่งคืนอำนาจให้กับประชาชน/เลือกตั้งใหม่ 44.7 8 อื่นๆ เร่งช่วยเหลือเกษตรกร/เร่งฟื้นฟูเศรษฐกิจ/เร่งทำความเข้าใจในกลุ่มการเมืองต่างๆ 2.9 --เอแบคโพลล์-- -พห-