ดร. นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลวิเคราะห์โครงการรายงานข้อเท็จจริง
(fact findings) เรื่อง ความได้เปรียบ-เสียเปรียบ ของพรรคการเมืองจากการนำเสนอข่าวช่วงเวลาดี (ไพร์มไทม์) ผ่านสื่อโทรทัศน์ ในช่วง
การแข่งขันชนะการเลือกตั้งโค้งที่ 2 ได้ดำเนินการระหว่างวันที่ 12-22 สิงหาคม 2549 โดยใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยวิธีการสังเกตการณ์
(Observation Method) จดบันทึกเทปวีดีโอข้อมูลและวิเคราะห์เนื้อหาการนำเสนอข่าวเกี่ยวกับพรรคการเมืองต่างๆ ผ่านสื่อโทรทัศน์แบบฟรีทีวี
ช่อง 3 ช่อง 5 ช่อง 7 ช่อง 9 ช่อง 11 และ ITV ในช่วงข่าวภาคเช้า (06.00 น. — 08.30 น.) และช่วงข่าวภาคค่ำ (17.00 น. —
20.00 น.)
ดร.นพดล กล่าวว่า จากการเก็บรวบรวมข้อมูลในช่วงเวลาของการแข่งขันเพื่อชนะการเลือกตั้งโค้งที่ 2 นี้พบว่า สื่อโทรทัศน์ยังคงนำ
เสนอข่าวของพรรคไทยรักไทยจำนวนครั้งมากที่สุดคือ 391 ครั้งคิดเป็นร้อยละ 67.5 ของจำนวนครั้งทั้งหมดในการนำเสนอข่าว รองลงมาคือ พรรค
ประชาธิปัตย์ 113 ครั้งคิดเป็นร้อยละ 19.5 พรรคชาติไทย 50 ครั้งคิดเป็นร้อยละ 8.6 พรรคประชาราช 16 ครั้งคิดเป็นร้อยละ 2.8 พรรค
มหาชน 6 ครั้งคิดเป็นร้อยละ 1.1 และพรรคไทยเป็นไท 3 ครั้งคิดเป็นร้อยละ 0.5
เมื่อพิจารณาระยะเวลารวมในการนำเสนอข่าว พบว่า
- พรรคไทยรักไทย ระยะเวลาของข่าวที่ถูกนำเสนอโดยรวม 678.08 นาทีหรือคิดเป็นร้อยละ 76.4
- พรรคประชาธิปัตย์ ระยะเวลาของข่าวที่ถูกนำเสนอโดยรวม 99.54 นาที หรือร้อยละ 11.2
- พรรคชาติไทย ระยะเวลาของข่าวที่ถูกนำเสนอโดยรวม 81.54 นาที หรือร้อยละ 9.2
- พรรคประชาราช ระยะเวลาของข่าวที่ถูกนำเสนอโดยรวม 20.52 นาที หรือร้อยละ 2.3
- พรรคมหาชน ระยะเวลาของข่าวที่ถูกนำเสนอโดยรวม 4.31 นาที หรือร้อยละ 0.5
- พรรคไทยเป็นไท ระยะเวลาของข่าวที่ถูกนำเสนอโดยรวม 3.22 นาทีหรือร้อยละ 0.4
ดร.นพดล กล่าวว่า ที่น่าพิจารณาคือ พรรคไทยรักไทยยังคงครองพื้นที่สื่อโทรทัศน์ในการแข่งขันเพื่อชนะการเลือกตั้งเช่นเดิมทั้งในด้าน
ความถี่และจำนวนเวลาในการนำเสนอ ยิ่งไปกว่านั้น เมื่อวิเคราะห์เนื้อหาทิศทางของข่าวที่ถูกนำเสนอแล้ว ยังคงพบว่า พรรคไทยรักไทยได้รับการนำ
เสนอข่าวในทิศทางที่ดีต่อภาพลักษณ์ของพรรคมากกว่าพรรคการเมืองอื่นๆ อย่างไรก็ตาม ถ้าพรรคการเมืองทุกพรรคถูกนำเสนอในจำนวนครั้งและระยะ
เวลาอย่างเป็นธรรมและเท่าเทียมกัน เนื้อหาข่าวที่ถูกนำเสนอต่อสาธารณชนในทิศทางที่ดีต่อภาพลักษณ์ของพรรคการเมืองอื่นๆ เช่น พรรคประชาธิปัตย์
พรรคชาติไทย พรรคประชาราช พรรคมหาชน อาจสร้างการรับรู้ในสังคมไม่แตกต่างไปจากพรรคไทยรักไทยหรืออาจดีกว่าพรรคไทยรักไทยก็ได้
รายละเอียดของโครงการวิจัย
วัตถุประสงค์โครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจการนำเสนอข่าวของสื่อโทรทัศน์ เกี่ยวกับพรรคการเมืองต่างๆ
2. เพื่อเปรียบเทียบรูปแบบการนำเสนอข่าวของแต่ละพรรคการเมือง
3. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีวิจัย
ผลวิเคราะห์โครงการรายงานข้อเท็จจริง (fact findings) โค้งที่สองของการแข่งขันเอาชนะการเลือกตั้ง ของสำนักวิจัยเอแบ
คโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง ความได้เปรียบ-เสียเปรียบ ของพรรคการเมืองจากการนำเสนอข่าวช่วงเวลาดี (ไพร์มไทม์) ผ่านสื่อโทรทัศน์
ในการแข่งขันชนะการเลือกตั้งโค้งที่ 2 ได้ดำเนินการระหว่างวันที่ 12-22 สิงหาคม 2549 โดยใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยวิธีการสังเกต
การณ์ (Observation Method) และจดบันทึกข้อมูลการนำเสนอข่าวเกี่ยวกับการเลือกตั้งของพรรคการเมือง ผ่านสื่อโทรทัศน์ ช่อง 3 ช่อง 5
ช่อง 7 ช่อง 9 ช่อง 11 และช่อง ITV ในช่วงข่าวภาคเช้า (06.00 น. — 08.30 น.) และช่วงข่าวภาคค่ำ (17.00 น. — 20.00 น.)
ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการวิจัย
ตารางที่ 1 แสดงความถี่และเวลารวมในการเสนอข่าวของพรรคการเมืองต่างๆ ผ่านสื่อโทรทัศน์ในช่วงระยะเวลาทำการสำรวจ
พรรคการเมือง ความถี่ในการนำเสนอข่าว (จำนวนครั้ง/ร้อยละ) เวลารวมในการเสนอข่าว (นาที/ร้อยละ)
1.พรรคไทยรักไทย 391 (67.5) 678.08 (76.4)
2.พรรคประชาธิปัตย์ 113 (19.5) 99.54 (11.2)
3.พรรคชาติไทย 50 (8.6) 81.54 (9.2)
4.พรรคมหาชน 6 (1.1) 4.31 (0.5)
5.พรรคประชาราช 16 (2.8) 20.52 (2.3)
6.พรรคไทยเป็นไท 3 (0.5) 3.22 (0.4)
รวมทั้งสิ้น 579 (100.0) 888.41 (100.0)
ตารางที่ 2 แสดงความถี่และจำนวนนาทีในการนำเสนอข่าวผ่านสื่อโทรทัศน์ของพรรคการเมืองต่างๆ (จำแนกตามประเภทข่าว)
ประเภทข่าว พรรคการเมือง
ไทยรักไทย ประชาธิปัตย์ ชาติไทย มหาชน ประชาราช ไทยเป็นไท
1. ข่าวภารกิจนายกรัฐมนตรี
จำนวนครั้ง 86 - - - - -
จำนวนนาที -264.35
2. ข่าวภารกิจคณะรัฐมนตรี
จำนวนครั้ง 78 - - - - -
จำนวนนาที -88.03
3.ข่าวการให้สัมภาษณ์ของหัวหน้าพรรค
จำนวนครั้ง 53 27 23 4 13 1
จำนวนนาที -70.25 -25.38 -29.54 -3.02 -15.4 -0.23
4.ข่าวการให้สัมภาษณ์ของคนในพรรค
จำนวนครั้ง 99 26 18 - - -
จำนวนนาที -105.55 -24.05 -38.14
5.ข่าวการหาเสียง/สปอตโฆษณา/
การเปิดตัวพรรคการเมือง
จำนวนครั้ง 8 49 1 1 3 2
จำนวนนาที -7.49 -36.07 -0.53 -0.2 -5.12 -2.59
6.ข่าวอื่นๆ เช่น ข่าวการปะทะกันระหว่างกลุ่มสนับสนุนและกลุ่มต่อต้านนายกฯ ทักษิณ, ข่าวครบรอบวันเกิดนายบรรหาร ศิลปอาชา, ข่าวการกำหนดวันเปิด
สนามบินสุวรรณภูมิ,ข่าวกรณีทุจริตสวนป่ายูคาลิปตัสใน จ.มุกดาหาร ฯลฯ
จำนวนครั้ง 67 11 8 1 - -
จำนวนนาที -141.21 -14.04 -12.36 -1.09
ตารางที่ 3 แสดงความถี่และจำนวนนาทีในการนำเสนอข่าว “การหาเสียงเลือกตั้ง” ผ่านสื่อโทรทัศน์ของพรรคการเมืองต่างๆ
(จำแนกตามประเภทข่าว)
ประเภทข่าว พรรคการเมือง
ไทยรักไทย ประชาธิปัตย์ ชาติไทย มหาชน ประชาราช ไทยเป็นไท
1. ข่าวการปราศรัยหาเสียง
จำนวนครั้ง 1 1 - - - -
จำนวนนาที -1.12 -1.26
2. ข่าวการลงพื้นที่หาเสียง
จำนวนครั้ง 2 4 - - - -
จำนวนนาที -1.26 -3.02
3.ข่าวการแถลงนโยบายพรรค
จำนวนครั้ง - 1 1 - 2 -
จำนวนนาที -3.03 -0.53 -2.1
4. สปอตโฆษณา
จำนวนครั้ง - 38 - - - -
จำนวนนาที -19.2
6. ข่าวอื่นๆ เช่น ข่าวการประชุมพรรคเพื่อตรียมพร้อมส่งตัวผู้สมัครลงเลือกตั้งส.ส./ ข่าวการประกาศเตรียมความพร้อมรับการเลือกตั้ง ฯลฯ
จำนวนครั้ง 5 5 - 1 1 2
จำนวนนาที -5.11 -4.16 -0.2 -3.02 -2.59
รวมทั้งสิ้น 8 49 1 1 3 2
-7.49 -31.07 -0.53 -0.2 -5.12 -2.59
ตารางที่ 4 แสดงทิศทางการนำเสนอข่าวผ่านสื่อโทรทัศน์ของพรรคการเมืองต่างๆ
พรรคการเมือง ข่าวที่เป็นแง่บวกต่อพรรค ข่าวที่เป็นแง่ลบต่อพรรค ไม่ใช่ทั้งบวกและลบ รวมทั้งสิ้น
(จำนวนครั้ง) (จำนวนครั้ง) (จำนวนครั้ง/ร้อยละ) (จำนวนครั้ง/ร้อยละ)
1. ไทยรักไทย 143 30 218 391
2. ประชาธิปัตย์ 58 12 43 113
3. ชาติไทย 16 1 33 50
4. มหาชน 3 1 2 6
5. ประชาราช 13 3 - 16
6. ไทยเป็นไท - - 3 3
ตารางที่ 5 แสดงความถี่ของรูปแบบการนำเสนอข่าวผ่านสื่อโทรทัศน์ของกลุ่มการเมืองต่างๆ
รูปแบบการนำเสนอข่าว จำนวนครั้ง / ร้อยละ
1. ผู้ประกาศข่าวรายงาน 496 (85.7)
2. ผู้สื่อข่าวรายงาน 101 (17.4)
3. สัมภาษณ์ 156 (26.9)
4. ภาพประกอบข่าว 490 (84.6)
5. สปอตโฆษณา 38 (6.6)
6. วิเคราะห์ / วิจารณ์ข่าว 47 (8.1)
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-
(fact findings) เรื่อง ความได้เปรียบ-เสียเปรียบ ของพรรคการเมืองจากการนำเสนอข่าวช่วงเวลาดี (ไพร์มไทม์) ผ่านสื่อโทรทัศน์ ในช่วง
การแข่งขันชนะการเลือกตั้งโค้งที่ 2 ได้ดำเนินการระหว่างวันที่ 12-22 สิงหาคม 2549 โดยใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยวิธีการสังเกตการณ์
(Observation Method) จดบันทึกเทปวีดีโอข้อมูลและวิเคราะห์เนื้อหาการนำเสนอข่าวเกี่ยวกับพรรคการเมืองต่างๆ ผ่านสื่อโทรทัศน์แบบฟรีทีวี
ช่อง 3 ช่อง 5 ช่อง 7 ช่อง 9 ช่อง 11 และ ITV ในช่วงข่าวภาคเช้า (06.00 น. — 08.30 น.) และช่วงข่าวภาคค่ำ (17.00 น. —
20.00 น.)
ดร.นพดล กล่าวว่า จากการเก็บรวบรวมข้อมูลในช่วงเวลาของการแข่งขันเพื่อชนะการเลือกตั้งโค้งที่ 2 นี้พบว่า สื่อโทรทัศน์ยังคงนำ
เสนอข่าวของพรรคไทยรักไทยจำนวนครั้งมากที่สุดคือ 391 ครั้งคิดเป็นร้อยละ 67.5 ของจำนวนครั้งทั้งหมดในการนำเสนอข่าว รองลงมาคือ พรรค
ประชาธิปัตย์ 113 ครั้งคิดเป็นร้อยละ 19.5 พรรคชาติไทย 50 ครั้งคิดเป็นร้อยละ 8.6 พรรคประชาราช 16 ครั้งคิดเป็นร้อยละ 2.8 พรรค
มหาชน 6 ครั้งคิดเป็นร้อยละ 1.1 และพรรคไทยเป็นไท 3 ครั้งคิดเป็นร้อยละ 0.5
เมื่อพิจารณาระยะเวลารวมในการนำเสนอข่าว พบว่า
- พรรคไทยรักไทย ระยะเวลาของข่าวที่ถูกนำเสนอโดยรวม 678.08 นาทีหรือคิดเป็นร้อยละ 76.4
- พรรคประชาธิปัตย์ ระยะเวลาของข่าวที่ถูกนำเสนอโดยรวม 99.54 นาที หรือร้อยละ 11.2
- พรรคชาติไทย ระยะเวลาของข่าวที่ถูกนำเสนอโดยรวม 81.54 นาที หรือร้อยละ 9.2
- พรรคประชาราช ระยะเวลาของข่าวที่ถูกนำเสนอโดยรวม 20.52 นาที หรือร้อยละ 2.3
- พรรคมหาชน ระยะเวลาของข่าวที่ถูกนำเสนอโดยรวม 4.31 นาที หรือร้อยละ 0.5
- พรรคไทยเป็นไท ระยะเวลาของข่าวที่ถูกนำเสนอโดยรวม 3.22 นาทีหรือร้อยละ 0.4
ดร.นพดล กล่าวว่า ที่น่าพิจารณาคือ พรรคไทยรักไทยยังคงครองพื้นที่สื่อโทรทัศน์ในการแข่งขันเพื่อชนะการเลือกตั้งเช่นเดิมทั้งในด้าน
ความถี่และจำนวนเวลาในการนำเสนอ ยิ่งไปกว่านั้น เมื่อวิเคราะห์เนื้อหาทิศทางของข่าวที่ถูกนำเสนอแล้ว ยังคงพบว่า พรรคไทยรักไทยได้รับการนำ
เสนอข่าวในทิศทางที่ดีต่อภาพลักษณ์ของพรรคมากกว่าพรรคการเมืองอื่นๆ อย่างไรก็ตาม ถ้าพรรคการเมืองทุกพรรคถูกนำเสนอในจำนวนครั้งและระยะ
เวลาอย่างเป็นธรรมและเท่าเทียมกัน เนื้อหาข่าวที่ถูกนำเสนอต่อสาธารณชนในทิศทางที่ดีต่อภาพลักษณ์ของพรรคการเมืองอื่นๆ เช่น พรรคประชาธิปัตย์
พรรคชาติไทย พรรคประชาราช พรรคมหาชน อาจสร้างการรับรู้ในสังคมไม่แตกต่างไปจากพรรคไทยรักไทยหรืออาจดีกว่าพรรคไทยรักไทยก็ได้
รายละเอียดของโครงการวิจัย
วัตถุประสงค์โครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจการนำเสนอข่าวของสื่อโทรทัศน์ เกี่ยวกับพรรคการเมืองต่างๆ
2. เพื่อเปรียบเทียบรูปแบบการนำเสนอข่าวของแต่ละพรรคการเมือง
3. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีวิจัย
ผลวิเคราะห์โครงการรายงานข้อเท็จจริง (fact findings) โค้งที่สองของการแข่งขันเอาชนะการเลือกตั้ง ของสำนักวิจัยเอแบ
คโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง ความได้เปรียบ-เสียเปรียบ ของพรรคการเมืองจากการนำเสนอข่าวช่วงเวลาดี (ไพร์มไทม์) ผ่านสื่อโทรทัศน์
ในการแข่งขันชนะการเลือกตั้งโค้งที่ 2 ได้ดำเนินการระหว่างวันที่ 12-22 สิงหาคม 2549 โดยใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยวิธีการสังเกต
การณ์ (Observation Method) และจดบันทึกข้อมูลการนำเสนอข่าวเกี่ยวกับการเลือกตั้งของพรรคการเมือง ผ่านสื่อโทรทัศน์ ช่อง 3 ช่อง 5
ช่อง 7 ช่อง 9 ช่อง 11 และช่อง ITV ในช่วงข่าวภาคเช้า (06.00 น. — 08.30 น.) และช่วงข่าวภาคค่ำ (17.00 น. — 20.00 น.)
ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการวิจัย
ตารางที่ 1 แสดงความถี่และเวลารวมในการเสนอข่าวของพรรคการเมืองต่างๆ ผ่านสื่อโทรทัศน์ในช่วงระยะเวลาทำการสำรวจ
พรรคการเมือง ความถี่ในการนำเสนอข่าว (จำนวนครั้ง/ร้อยละ) เวลารวมในการเสนอข่าว (นาที/ร้อยละ)
1.พรรคไทยรักไทย 391 (67.5) 678.08 (76.4)
2.พรรคประชาธิปัตย์ 113 (19.5) 99.54 (11.2)
3.พรรคชาติไทย 50 (8.6) 81.54 (9.2)
4.พรรคมหาชน 6 (1.1) 4.31 (0.5)
5.พรรคประชาราช 16 (2.8) 20.52 (2.3)
6.พรรคไทยเป็นไท 3 (0.5) 3.22 (0.4)
รวมทั้งสิ้น 579 (100.0) 888.41 (100.0)
ตารางที่ 2 แสดงความถี่และจำนวนนาทีในการนำเสนอข่าวผ่านสื่อโทรทัศน์ของพรรคการเมืองต่างๆ (จำแนกตามประเภทข่าว)
ประเภทข่าว พรรคการเมือง
ไทยรักไทย ประชาธิปัตย์ ชาติไทย มหาชน ประชาราช ไทยเป็นไท
1. ข่าวภารกิจนายกรัฐมนตรี
จำนวนครั้ง 86 - - - - -
จำนวนนาที -264.35
2. ข่าวภารกิจคณะรัฐมนตรี
จำนวนครั้ง 78 - - - - -
จำนวนนาที -88.03
3.ข่าวการให้สัมภาษณ์ของหัวหน้าพรรค
จำนวนครั้ง 53 27 23 4 13 1
จำนวนนาที -70.25 -25.38 -29.54 -3.02 -15.4 -0.23
4.ข่าวการให้สัมภาษณ์ของคนในพรรค
จำนวนครั้ง 99 26 18 - - -
จำนวนนาที -105.55 -24.05 -38.14
5.ข่าวการหาเสียง/สปอตโฆษณา/
การเปิดตัวพรรคการเมือง
จำนวนครั้ง 8 49 1 1 3 2
จำนวนนาที -7.49 -36.07 -0.53 -0.2 -5.12 -2.59
6.ข่าวอื่นๆ เช่น ข่าวการปะทะกันระหว่างกลุ่มสนับสนุนและกลุ่มต่อต้านนายกฯ ทักษิณ, ข่าวครบรอบวันเกิดนายบรรหาร ศิลปอาชา, ข่าวการกำหนดวันเปิด
สนามบินสุวรรณภูมิ,ข่าวกรณีทุจริตสวนป่ายูคาลิปตัสใน จ.มุกดาหาร ฯลฯ
จำนวนครั้ง 67 11 8 1 - -
จำนวนนาที -141.21 -14.04 -12.36 -1.09
ตารางที่ 3 แสดงความถี่และจำนวนนาทีในการนำเสนอข่าว “การหาเสียงเลือกตั้ง” ผ่านสื่อโทรทัศน์ของพรรคการเมืองต่างๆ
(จำแนกตามประเภทข่าว)
ประเภทข่าว พรรคการเมือง
ไทยรักไทย ประชาธิปัตย์ ชาติไทย มหาชน ประชาราช ไทยเป็นไท
1. ข่าวการปราศรัยหาเสียง
จำนวนครั้ง 1 1 - - - -
จำนวนนาที -1.12 -1.26
2. ข่าวการลงพื้นที่หาเสียง
จำนวนครั้ง 2 4 - - - -
จำนวนนาที -1.26 -3.02
3.ข่าวการแถลงนโยบายพรรค
จำนวนครั้ง - 1 1 - 2 -
จำนวนนาที -3.03 -0.53 -2.1
4. สปอตโฆษณา
จำนวนครั้ง - 38 - - - -
จำนวนนาที -19.2
6. ข่าวอื่นๆ เช่น ข่าวการประชุมพรรคเพื่อตรียมพร้อมส่งตัวผู้สมัครลงเลือกตั้งส.ส./ ข่าวการประกาศเตรียมความพร้อมรับการเลือกตั้ง ฯลฯ
จำนวนครั้ง 5 5 - 1 1 2
จำนวนนาที -5.11 -4.16 -0.2 -3.02 -2.59
รวมทั้งสิ้น 8 49 1 1 3 2
-7.49 -31.07 -0.53 -0.2 -5.12 -2.59
ตารางที่ 4 แสดงทิศทางการนำเสนอข่าวผ่านสื่อโทรทัศน์ของพรรคการเมืองต่างๆ
พรรคการเมือง ข่าวที่เป็นแง่บวกต่อพรรค ข่าวที่เป็นแง่ลบต่อพรรค ไม่ใช่ทั้งบวกและลบ รวมทั้งสิ้น
(จำนวนครั้ง) (จำนวนครั้ง) (จำนวนครั้ง/ร้อยละ) (จำนวนครั้ง/ร้อยละ)
1. ไทยรักไทย 143 30 218 391
2. ประชาธิปัตย์ 58 12 43 113
3. ชาติไทย 16 1 33 50
4. มหาชน 3 1 2 6
5. ประชาราช 13 3 - 16
6. ไทยเป็นไท - - 3 3
ตารางที่ 5 แสดงความถี่ของรูปแบบการนำเสนอข่าวผ่านสื่อโทรทัศน์ของกลุ่มการเมืองต่างๆ
รูปแบบการนำเสนอข่าว จำนวนครั้ง / ร้อยละ
1. ผู้ประกาศข่าวรายงาน 496 (85.7)
2. ผู้สื่อข่าวรายงาน 101 (17.4)
3. สัมภาษณ์ 156 (26.9)
4. ภาพประกอบข่าว 490 (84.6)
5. สปอตโฆษณา 38 (6.6)
6. วิเคราะห์ / วิจารณ์ข่าว 47 (8.1)
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-