ที่มาของโครงการ
กระแสข่าวการลาออกของพลเอกจารุภัทร เรืองสุวรรณ หนึ่งในคณะกรรมการการเลือกตั้งชุดปัจจุบัน ก่อให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์กัน
อย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มนักวิชาการ ถึงประเด็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสถานภาพการทำงานของ กกต.อีก 3 ท่านที่เหลืออยู่ว่าจะ
สามารถทำงานต่อไปได้หรือไม่ในท่ามกลางสถานการณ์ปัญหาที่เกิดจากการเลือกตั้ง 2 เมษายนที่ยังไม่คลี่คลายเช่นปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหา
การจ้างวานพรรคการเมืองขนาดเล็กลงสมัครรับเลือกตั้ง ในขณะเดียวกัน คณะกรรมการการเลือกตั้งก็ยังคงเดินหน้ากำหนดให้มีการประชุมหารือ
เพื่อกำหนดวันเลือกตั้งใหม่ ซึ่งได้มติจากพรรคการเมืองที่เข้าร่วมประชุมหารือเมื่อบ่ายวันจันทร์ที่ผ่านมาว่าจะมีการออกพระราชกฤษฎีกาเลือกตั้งในวันที่
24 สิงหาคม 2549 และกำหนดให้มีการเลือกตั้งใหม่ในวันที่ 22 ตุลาคม อย่างไรก็ตาม กระแสข่าวดังกล่าวข้างต้นก็ยังไม่ได้มีความชัดเจนหรือมีข้อ
ยุติใดๆเกิดขึ้น ซึ่งความไม่ชัดเจนต่างๆเหล่านี้สร้างความสับสนให้กับประชาชนผู้บริโภคข้อมูลข่าวสารเป็นอันมาก
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงได้ทำการสำรวจภาคสนามหาข้อมูลเชิงสถิติศาสตร์ จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป
ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ถึงความคิดเห็น อารมณ์ และความรู้สึกของประชาชนต่อสถานการณ์การเมืองที่ยังคงหาข้อยุติไม่ได้เช่นในขณะ
นี้ ทั้งนี้สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ได้จัดส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่ และพนักงานเก็บรวบรวมข้อมูลลงพื้นที่ที่ถูกสุ่มได้ตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทาง
สังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจพฤติกรรมการติดตามข่าวการเมืองของประชาชนในช่วง 30 วันที่ผ่านมา
2. เพื่อสำรวจความคิดเห็น อารมณ์ และความรู้สึกของประชาชนต่อสถานการณ์การเมืองในปัจจุบัน
3. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อภาพลักษณ์ของ กกต.
4. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อกรณีปัญหาการจ้างวานพรรคการเมืองขนาดเล็กลงสมัครรับเลือกตั้ง
5. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้เรื่อง “ประชาชนคิดอย่างไรต่อการลาออกของ
กรรมการการเลือกตั้งและความนิยมของประชาชนต่อพรรคการเมืองในขณะนี้: กรณีศึกษาประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล” ซึ่งมี
ระยะเวลาการดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 15-16 พฤษภาคม 2549
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากร
เป้าหมายจากการทำสำมะโน
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 1,629 อย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณทั้งสิ้นเป็น
ของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 52.9 ระบุเป็นหญิง
ในขณะที่ร้อยละ 47.1 ระบุเป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 4.2 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 22.9 อายุระหว่าง 20—29 ปี
ร้อยละ 23.9 อายุระหว่าง 30—39 ปี
ร้อยละ 25.2 อายุระหว่าง 40—49 ปี
และ ร้อยละ 23.8 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 72.6 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 22.1 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 5.3 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 26.2 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 26.4 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 21.9 ระบุอาชีพพนักงาน/ลูกจ้างเอกชน
ร้อยละ 11.3 ระบุอาชีพข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 6.0 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ
ร้อยละ 5.8 เป็นนักเรียน/นักศึกษา
และร้อยละ 2.4 ระบุว่างงาน
บทสรุปผลสำรวจ
ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง “ประชาชนคิดอย่างไรต่อการ
ลาออกของกรรมการการเลือกตั้งและความนิยมของประชาชนต่อพรรคการเมืองในขณะนี้: กรณีศึกษาประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและ
ปริมณฑล” จำนวนทั้งสิ้น 1,629 ตัวอย่าง ซึ่งมีระยะเวลาการดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 15 -16 พฤษภาคม 2549 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจาก
การสำรวจดังนี้
ผลสำรวจพฤติกรรมการติดตามข่าวการเมืองในช่วง 30 วันที่ผ่านมา พบว่า ตัวอย่างส่วนใหญ่ หรือคิดเป็นร้อยละ 50.6 ติดตามข่าวการ
เมืองทุกวัน / เกือบทุกวัน ร้อยละ 22.0 ติดตาม 3-4 วันต่อสัปดาห์ ร้อยละ 17.6 ติดตาม 1-2 วันต่อสัปดาห์ ในขณะที่ร้อยละ 5.0
ติดตามข่าวการเมืองน้อยกว่า 1 วันต่อสัปดาห์ และร้อยละ 4.8 ไม่ได้ติดตามเลย
ผลสำรวจความรู้สึกต่อสถานการณ์การเมืองในขณะนี้นั้น พบว่า ตัวอย่างส่วนใหญ่ ร้อยละ 97.5 รู้สึกว่าการเมืองเป็นเรื่องสำคัญของ
ประเทศ รองลงมา คือ ร้อยละ 93.6 เรียกร้องให้ทุกฝ่ายหันมาเจรจากันด้วยสันติวิธี ในขณะที่ร้อยละ 77.8 กำลังรู้สึกเบื่อหน่ายต่อเรื่องการ
เมือง ร้อยละ 69.2 ระบุรู้สึกวิตกกังวลต่อเหตุการณ์การเมือง และร้อยละ 42.3 ระบุรู้สึกเครียดต่อเรื่องการเมือง อย่างไรก็ตาม ผลการสำรวจ
ประเด็นความขัดแย้งในเรื่องการเมืองนั้น พบว่าตัวอย่างร้อยละ 16.7 ขัดแย้งกับเพื่อนบ้าน ร้อยละ 17.2 ขัดแย้งกับเพื่อนร่วมงาน และร้อยละ
10.9 ขัดแย้งกับคนในครอบครัว ตามลำดับ
และเมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามตัวอย่างถึงข่าวการลาออกของพลเอกจารุภัทร เรืองสุวรรณ หนึ่งในคณะกรรมการการเลือกตั้งนั้น พบว่า
ตัวอย่างร้อยละ 59.3 ระบุทราบข่าวดังกล่าว ในขณะที่ร้อยละ 40.7 ระบุไม่ทราบข่าว ทั้งนี้เมื่อสอบถามความรู้สึกต่อพลเอกจารุภัทร ลาออกนั้น พบ
ว่า ตัวอย่างร้อยละ 65.4 ระบุคิดว่าน่ายกย่อง เพราะเป็นการแสดงความรับผิดชอบ/ สร้างความน่าเชื่อถือให้กับประชาชน/เพื่อยุติปัญหาต่างๆ/ทำให้
บรรยากาศการเมืองดีขึ้นอย่างไรก็ตาม ตัวอย่างร้อยละ 34.6 ระบุไม่น่ายกย่องโดยให้เหตุผลว่า ถูกกดดันให้ลาออก/มีพรรคการเมืองอยู่เบื้องหลัง/
ทำให้ กกต.ขาดเอกภาพในการทำงาน
สำหรับความคิดเห็นของตัวอย่างต่อภาพลักษณ์ของ กกต.หากคณะกรรมการการเลือกตั้งลาออกนั้น ดร.นพดลกล่าวว่า ตัวอย่างเกินกว่า 1
ใน 3 คือร้อยละ 40.5 ระบุคิดว่าการลาออกของคณะกรรมการการเลือกตั้งน่าจะทำให้ภาพลักษณ์โดยรวมของ กกต. ดีขึ้น ในขณะที่ตัวอย่างร้อยละ
26.6 ระบุไม่คิดว่าภาพลักษณ์จะดีขึ้นเพราะเป็นแค่เกมการเมือง/ไม่ใช่วิธีการแก้ไขปํญหาที่ถูกต้อง/กกต.ไม่เคยมีผลงานน่าประทับใจมาก่อนเลย
อย่างไรก็ตาม ตัวอย่างร้อยละ 32.9 ไม่ระบุความคิดเห็น
ดร.นพดล กล่าวต่อไปถึงความคิดเห็นของตัวอย่างกรณีปัญหาการจ้างวานพรรคเล็กลงสมัครรับเลือกตั้ง ซึ่งผลสำรวจพบว่า ตัวอย่างร้อย
ละ 24.4 ระบุคิดว่าพรรคไทยรักไทยอยู่เบื้องหลังกรณีดังกล่าว ในขณะที่ร้อยละ 13.3 ระบุพรรคประชาธิปัตย์อยู่เบื้องหลัง อย่างไรก็ตาม เป็นที่น่า
สังเกตุว่า ตัวอย่างเกินกว่าครึ่งหนึ่งคือร้อยละ 62.3 ระบุคิดว่าทั้งสองพรรคการเมืองดังกล่าวอยู่เบื้องหลังปัญหาที่เกิดขึ้นในครั้งนี้
“ทรรศนะของประชาชนต่อปัญหาการจ้างวานพรรคเล็กลงสมัครรับการเลือกตั้งหากพบว่าความผิดเรื่องการจ้างวานพรรคการเมืองขนาด
เล็กลงสมัครรับเลือกตั้งปรากฎชัดเจนว่ามีพรรคการเมืองใดเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องนั้น ผลสำรวจพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 53.2 ระบุคิดว่าควรยุบพรรค
การเมืองที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับปัญหาดังกล่าว ในขณะที่ร้อยละ 13.3 ระบุไม่ควรยุบ และร้อยละ 33.5 ไม่ระบุความคิดเห็น ” ดร.นพดลกล่าว
และเมื่อสอบถามถึงบทบาทของอดีตพรรคร่วมฝ่ายค้านในการส่งผู้สมัครรับการเลือกตั้งในการเลือกตั้งครั้งใหม่นี้ พบว่า ตัวอย่างร้อยละ
71.2 ระบุควรส่ง เพื่อเป็นทางเลือกให้กับประชาชน/ควรทำตามที่พูดไว้/เป็นการแสดงศักยภาพทางการเมืองของพรรค/ควรให้ความสำคัญกับระบอบ
ประชาธิปไตย อย่างไรก็ตามตัวอย่างร้อยละ 4.3 ระบุไม่ควรส่ง และร้อยละ 24.5 ไม่ระบุความคิดเห็น
“เมื่อสอบถามตัวอย่างถึงพรรคการเมืองที่ตั้งใจจะเลือกหากมีการเลือกตั้งใหม่ในวันนี้ พบว่าตัวอย่างส่วนใหญ่ยังไม่มีพรรคการเมืองใดอยู่
ในใจ โดยร้อยละ 28.0 ระบุจะเลือกพรรคไทยรักไทย รองลงมาคือร้อยละ 10.3 ระบุจะเลือกพรรคประชาธิปัตย์ ร้อยละ 1.1 ระบุเลือกพรรค
อื่นๆ อาทิ พรรคชาติไทย พรรคมหาชน พรรคประชากรไทย และพรรคประชาราชของนายเสนาะ เทียนทอง ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม ส่วนใหญ่
หรือร้อยละ 60.6 ยังไม่ตัดสินใจ เพราะ ณ วันนี้ยังไม่มีตัวเลือกที่เหมาะสม/ไม่มีพรรคไหนน่าสนใจ/เบื่อพรรคการเมืองเดิมๆ” ดร.นพดลกล่าว
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า เมื่อนำผลสำรวจในวันที่ 8 พฤษภาคมมาเปรียบเทียบกับความตั้งใจของประชาชนที่จะเลือกพรรคการเมืองที่ชอบ
แล้ว พบว่าพรรคการเมืองใหญ่ทั้งสองพรรคคงต้องเร่งทำงานฟื้นฟูความเชื่อมั่นศรัทธาของประชาชนอย่างมากเพราะแนวโน้มลดต่ำลงทั้งคู่คือพรรคไทยรัก
ไทยลดลงจากร้อยละ 42.1 เหลือเพียงร้อยละ 28.0 หรือต่ำสุดในรอบห้าปีของการเป็นรัฐบาลที่ผ่านมาและพรรคประชาธิปัตย์ก็ลดลงจากร้อยละ
16.5 เหลือเพียงร้อยละ 10.3 เท่านั้น สาเหตุน่าจะมาจากกรณีเทปแอบถ่ายเรื่องพรรคใหญ่จ้างพรรคเล็กที่ทำให้พรรคการเมืองขนาดใหญ่เสียหายทั้ง
สองพรรคและนโยบายการทำงานของรัฐบาลรักษาการที่กำลังเริ่มแผ่วลงในหลายเรื่อง เช่น การจัดระเบียบสังคม ปัญหาทุจริตคอรัปชั่น ปัญหายาเสพ
ติด ปัญหากลุ่มผู้มีอิทธิพล ปัญหาความยากจน ปัญหาหนี้นอกระบบ และปัญหาสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นต้น นอกจากนี้ ปัญหาความเดือดร้อนของ
ประชาชนเรื่องเศรษฐกิจราคาสินค้าบริการและราคาน้ำมันที่กำลังเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
“สถานการณ์การเมืองขณะนี้ น่าจะมองได้ว่าอำนาจทางการเมืองของรัฐบาลรักษาการที่อยู่บนพื้นฐานความนิยมศรัทธาของประชาชนกำลัง
อ่อนตัวลง ถ้าพรรคไทยรักไทยและพรรคประชาธิปัตย์ไม่เร่งฟื้นความนิยมศรัทธาของประชาชนกลับคืนมา ในช่วงจังหวะนี้น่าจะเหมาะสำหรับกลุ่มบุคคล
สำคัญมารวมตัวกันตั้งพรรคการเมืองเสนอเป็นทางเลือกให้ประชาชนพิจารณา ซึ่งควรเน้นนโยบายประชานิยมแบบยั่งยืนไม่หวือหวาจนเกินไป ควรเป็น
นโยบายที่ปลูกฝังให้ประชาชนใช้ชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียงและต่อต้านปัญหาทุจริตคอรัปชั่นทุกรูปแบบ รวมไปถึงต่อต้านการสร้างเครือข่ายของกลุ่มนายทุน
ทางการเมืองที่เคยเข้ายึดอำนาจเบ็ดเสร็จเกือบทุกภาคส่วนของสังคม แต่ควรส่งเสริมให้การเมืองภาคประชาชนเข้มแข็งอย่างแท้จริงควบคู่ไปกับการใช้
ปัญญาให้การศึกษาและเหตุผลมากกว่าการใช้อารมณ์และความรุนแรงในการชุมนุมประท้วงต่างๆ เพราะเวลานี้ประชาชนคงจะรับรู้แล้วถึงความเจ็บปวดที่
ต้องประสบกับความเครียดและความเบื่อหน่ายปัญหาการเมืองที่วุ่นวายไม่รู้จักจบสิ้น และถ้าความรู้สึกเช่นนี้เกิดขึ้นในกลุ่มประชาชนภาคอื่นๆ ของประเทศ
ด้วยก็เป็นไปได้สูงว่าประชาชนจะมีรัฐบาลชุดใหม่ที่เป็นรัฐบาลผสมหลายพรรคในอนาคตอันใกล้ อย่างไรก็ตาม คณะผู้วิจัยกำลังเตรียมลงพื้นที่ทั่วประเทศ
เพื่อทำโพลล์ทำนายผลการเลือกตั้งทั้ง 400 เขตและจะรายงานผลสำรวจให้กับพันธมิตรเครือข่ายสื่อมวลชนทราบเป็นระยะๆ โดยจะเชิญสำนักข่าว
ต่างๆ เข้าร่วมวางแผนทำงานเพื่อรายงานผลและประสานการนับคะแนนผลการเลือกตั้งอย่างไม่เป็นทางการให้ประชาชนทราบ ซึ่งขณะนี้คณะผู้วิจัยได้
เตรียมงานสำรวจโพลล์เลือกตั้งทั่วประเทศเกินกว่าร้อยละ 90 แล้ว” ดร.นพดล กล่าว
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความถี่ในการติดตามข่าวการเมือง ในช่วง 30 วันที่ผ่านมา
ลำดับที่ ความถี่ในการติดตามข่าวการเมือง ในช่วง 30 วันที่ผ่านมา ค่าร้อยละ
1 ทุกวัน/เกือบทุกวัน 50.6
2 3-4 วันต่อสัปดาห์ 22.0
3 1-2 วันต่อสัปดาห์ 17.6
4 น้อยกว่า 1 วันต่อสัปดาห์ 5.0
5 ไม่ได้ติดตาม 4.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อความรู้สึกที่ได้รับจากสถานการณ์การเมืองในขณะนี้
ลำดับที่ ความรู้สึกต่อสถานการณ์การเมืองในขณะนี้ ใช่ ไม่ใช่ รวมทั้งสิ้น
1 การเมืองเป็นเรื่องสำคัญของประเทศ 97.5 2.5 100.0
2 วิตกกังวลต่อเหตุการณ์การเมือง 69.2 30.8 100.0
3 เครียดต่อเรื่องการเมือง 42.3 57.7 100.0
4 ขัดแย้งกับคนในครอบครัวในเรื่องการเมือง 10.9 89.1 100.0
5 ขัดแย้งกับเพื่อนบ้านในเรื่องการเมือง 16.7 83.3 100.0
6 ขัดแย้งกับเพื่อนร่วมงานในเรื่องการเมือง 17.2 82.8 100.0
7 เบื่อหน่ายต่อเรื่องการเมือง 77.8 22.2 100.0
8 เรียกร้องให้ทุกฝ่ายหันมาเจรจากันด้วยสันติวิธี 93.6 6.4 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการทราบข่าวที่พลเอกจารุภัทร เรืองสุวรรณลาออกจาก
กรรมการการเลือกตั้ง
ลำดับที่ การทราบข่าวที่พลเอกจารุภัทร เรืองสุวรรณลาออกจากกรรมการการเลือกตั้ง ค่าร้อยละ
1 ทราบข่าว 59.3
2 ไม่ทราบข่าว 40.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความรู้สึกกรณีพลเอกจารุภัทร เรืองสุวรรณลาออกจาก
กรรมการการเลือกตั้ง
ลำดับที่ ความรู้สึกต่อกรณีพลเอกจารุภัทร เรืองสุวรรณลาออกจากกรรมการการเลือกตั้ง ค่าร้อยละ
1 น่ายกย่อง เพราะ...เป็นการแสดงความรับผิดชอบ/สร้างความน่าเชื่อถือให้กับประชาชน/
เพื่อยุติปัญหาต่างๆ/ทำให้บรรยากาศการเมืองดีขึ้น 65.4
2 ไม่น่ายกย่อง เพราะ...ถูกกดดันให้ลาออก/มีพรรคการเมืองอยู่เบื้องหลัง/
ทำให้กกต.ขาดเอกภาพในการทำงาน 34.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อภาพลักษณ์ของ กกต. ถ้าคณะกรรมการ
การเลือกตั้งลาออก
ลำดับที่ ความคิดเห็นต่อภาพลักษณ์ของ กกต. ถ้าคณะกรรมการการเลือกตั้งลาออก ค่าร้อยละ
1 คิดว่าภาพลักษณ์ กกต.จะดีขึ้น 40.5
2 ไม่คิดว่าดีขึ้น เพราะ...เป็นแค่เกมการเมือง/ไม่ใช่วิธีการแก้ปัญหาที่ถูกต้อง/
กกต.ไม่เคยมีผลงานน่าประทับใจมาก่อน 26.6
3 ไม่มีความเห็น 32.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุพรรคการเมืองขนาดใหญ่ที่คิดว่าอยู่เบื้องหลังการจ้างวานพรรค
การเมืองขนาดเล็กลงสมัครรับเลือกตั้ง
ลำดับที่ พรรคการเมืองขนาดใหญ่ที่คิดว่าอยู่เบื้องหลังการจ้างวานพรรคการเมืองขนาดเล็กลงสมัครรับเลือกตั้ง ค่าร้อยละ
1 คิดว่าพรรคไทยรักไทยอยู่เบื้องหลัง 24.4
2 คิดว่าพรรคประชาธิปัตย์อยู่เบื้องหลัง 13.3
3 ทั้ง 2 พรรค 62.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นกรณีการยุบพรรคการเมืองที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับ
การจ้างวานพรรคการเมืองขนาดเล็กลงสมัครรับเลือกตั้ง
ลำดับที่ ความคิดเห็นกรณีการยุบพรรคการเมืองที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจ้างวานพรรคการเมืองขนาดเล็กลงสมัครรับเลือกตั้ง ค่าร้อยละ
1 ควบยุบพรรคการเมืองที่มีส่วนเกี่ยวข้อง 53.2
2 ไม่ควรยุบ 13.3
3 ไม่มีความเห็น 33.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่ออดีตพรรคร่วมฝ่ายค้านในการส่งผู้สมัคร
รับเลือกตั้งในการเลือกตั้งครั้งใหม่
ลำดับที่ ความคิดเห็นต่ออดีตพรรคร่วมฝ่ายค้านในการส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งในการเลือกตั้งครั้งใหม่ ค่าร้อยละ
1 ควรส่ง เพราะ...เพื่อเป็นทางเลือกให้กับประชาชน/ควรทำตามที่พูดไว้/
เป็นการแสดงศักยภาพทางการเมืองของพรรค/ควรให้ความสำคัญกับระบอบประชาธิปไตย 71.2
2 ไม่ควรส่ง เพราะ...ไม่ต้องการนักการเมืองเดิมๆ/ต้องการคนรุ่นใหม่เข้ามาบริหารประเทศ /
เปิดโอกาสให้คนรุ่นใหม่เข้ามาทำงาน 4.3
3 ไม่มีความเห็น 24.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุพรรคการเมืองที่ตั้งใจจะเลือก ถ้ามีการเลือกตั้งใหม่ในวันนี้
ลำดับที่ พรรคการเมืองที่ตั้งใจจะเลือก ถ้ามีการเลือกตั้งใหม่ในวันนี้ ค่าร้อยละ
1 พรรคไทยรักไทย 28.0
2 พรรคประชาธิปัตย์ 10.3
3 อื่นๆ อาทิ พรรคชาติไทย พรรคมหาชน พรรคประชากรไทย พรรคประชาราช 1.1
4 ยังไม่ได้ตัดสินใจ / ยังไม่มีพรรคการเมืองใดในใจ เพราะ ณ วันนี้ยังไม่มีตัวเลือกที่เหมาะสม/
ไม่นิยมศรัทธาพรรคใดเลย/ ไม่มีพรรคไหนน่าสนใจ / เบื่อพรรคการเมืองเดิมๆ ที่มีแต่ปัญหา 60.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-
กระแสข่าวการลาออกของพลเอกจารุภัทร เรืองสุวรรณ หนึ่งในคณะกรรมการการเลือกตั้งชุดปัจจุบัน ก่อให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์กัน
อย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มนักวิชาการ ถึงประเด็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสถานภาพการทำงานของ กกต.อีก 3 ท่านที่เหลืออยู่ว่าจะ
สามารถทำงานต่อไปได้หรือไม่ในท่ามกลางสถานการณ์ปัญหาที่เกิดจากการเลือกตั้ง 2 เมษายนที่ยังไม่คลี่คลายเช่นปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหา
การจ้างวานพรรคการเมืองขนาดเล็กลงสมัครรับเลือกตั้ง ในขณะเดียวกัน คณะกรรมการการเลือกตั้งก็ยังคงเดินหน้ากำหนดให้มีการประชุมหารือ
เพื่อกำหนดวันเลือกตั้งใหม่ ซึ่งได้มติจากพรรคการเมืองที่เข้าร่วมประชุมหารือเมื่อบ่ายวันจันทร์ที่ผ่านมาว่าจะมีการออกพระราชกฤษฎีกาเลือกตั้งในวันที่
24 สิงหาคม 2549 และกำหนดให้มีการเลือกตั้งใหม่ในวันที่ 22 ตุลาคม อย่างไรก็ตาม กระแสข่าวดังกล่าวข้างต้นก็ยังไม่ได้มีความชัดเจนหรือมีข้อ
ยุติใดๆเกิดขึ้น ซึ่งความไม่ชัดเจนต่างๆเหล่านี้สร้างความสับสนให้กับประชาชนผู้บริโภคข้อมูลข่าวสารเป็นอันมาก
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงได้ทำการสำรวจภาคสนามหาข้อมูลเชิงสถิติศาสตร์ จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป
ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ถึงความคิดเห็น อารมณ์ และความรู้สึกของประชาชนต่อสถานการณ์การเมืองที่ยังคงหาข้อยุติไม่ได้เช่นในขณะ
นี้ ทั้งนี้สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ได้จัดส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่ และพนักงานเก็บรวบรวมข้อมูลลงพื้นที่ที่ถูกสุ่มได้ตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทาง
สังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจพฤติกรรมการติดตามข่าวการเมืองของประชาชนในช่วง 30 วันที่ผ่านมา
2. เพื่อสำรวจความคิดเห็น อารมณ์ และความรู้สึกของประชาชนต่อสถานการณ์การเมืองในปัจจุบัน
3. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อภาพลักษณ์ของ กกต.
4. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อกรณีปัญหาการจ้างวานพรรคการเมืองขนาดเล็กลงสมัครรับเลือกตั้ง
5. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้เรื่อง “ประชาชนคิดอย่างไรต่อการลาออกของ
กรรมการการเลือกตั้งและความนิยมของประชาชนต่อพรรคการเมืองในขณะนี้: กรณีศึกษาประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล” ซึ่งมี
ระยะเวลาการดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 15-16 พฤษภาคม 2549
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากร
เป้าหมายจากการทำสำมะโน
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 1,629 อย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณทั้งสิ้นเป็น
ของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 52.9 ระบุเป็นหญิง
ในขณะที่ร้อยละ 47.1 ระบุเป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 4.2 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 22.9 อายุระหว่าง 20—29 ปี
ร้อยละ 23.9 อายุระหว่าง 30—39 ปี
ร้อยละ 25.2 อายุระหว่าง 40—49 ปี
และ ร้อยละ 23.8 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 72.6 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 22.1 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 5.3 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 26.2 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 26.4 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 21.9 ระบุอาชีพพนักงาน/ลูกจ้างเอกชน
ร้อยละ 11.3 ระบุอาชีพข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 6.0 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ
ร้อยละ 5.8 เป็นนักเรียน/นักศึกษา
และร้อยละ 2.4 ระบุว่างงาน
บทสรุปผลสำรวจ
ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง “ประชาชนคิดอย่างไรต่อการ
ลาออกของกรรมการการเลือกตั้งและความนิยมของประชาชนต่อพรรคการเมืองในขณะนี้: กรณีศึกษาประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและ
ปริมณฑล” จำนวนทั้งสิ้น 1,629 ตัวอย่าง ซึ่งมีระยะเวลาการดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 15 -16 พฤษภาคม 2549 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจาก
การสำรวจดังนี้
ผลสำรวจพฤติกรรมการติดตามข่าวการเมืองในช่วง 30 วันที่ผ่านมา พบว่า ตัวอย่างส่วนใหญ่ หรือคิดเป็นร้อยละ 50.6 ติดตามข่าวการ
เมืองทุกวัน / เกือบทุกวัน ร้อยละ 22.0 ติดตาม 3-4 วันต่อสัปดาห์ ร้อยละ 17.6 ติดตาม 1-2 วันต่อสัปดาห์ ในขณะที่ร้อยละ 5.0
ติดตามข่าวการเมืองน้อยกว่า 1 วันต่อสัปดาห์ และร้อยละ 4.8 ไม่ได้ติดตามเลย
ผลสำรวจความรู้สึกต่อสถานการณ์การเมืองในขณะนี้นั้น พบว่า ตัวอย่างส่วนใหญ่ ร้อยละ 97.5 รู้สึกว่าการเมืองเป็นเรื่องสำคัญของ
ประเทศ รองลงมา คือ ร้อยละ 93.6 เรียกร้องให้ทุกฝ่ายหันมาเจรจากันด้วยสันติวิธี ในขณะที่ร้อยละ 77.8 กำลังรู้สึกเบื่อหน่ายต่อเรื่องการ
เมือง ร้อยละ 69.2 ระบุรู้สึกวิตกกังวลต่อเหตุการณ์การเมือง และร้อยละ 42.3 ระบุรู้สึกเครียดต่อเรื่องการเมือง อย่างไรก็ตาม ผลการสำรวจ
ประเด็นความขัดแย้งในเรื่องการเมืองนั้น พบว่าตัวอย่างร้อยละ 16.7 ขัดแย้งกับเพื่อนบ้าน ร้อยละ 17.2 ขัดแย้งกับเพื่อนร่วมงาน และร้อยละ
10.9 ขัดแย้งกับคนในครอบครัว ตามลำดับ
และเมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามตัวอย่างถึงข่าวการลาออกของพลเอกจารุภัทร เรืองสุวรรณ หนึ่งในคณะกรรมการการเลือกตั้งนั้น พบว่า
ตัวอย่างร้อยละ 59.3 ระบุทราบข่าวดังกล่าว ในขณะที่ร้อยละ 40.7 ระบุไม่ทราบข่าว ทั้งนี้เมื่อสอบถามความรู้สึกต่อพลเอกจารุภัทร ลาออกนั้น พบ
ว่า ตัวอย่างร้อยละ 65.4 ระบุคิดว่าน่ายกย่อง เพราะเป็นการแสดงความรับผิดชอบ/ สร้างความน่าเชื่อถือให้กับประชาชน/เพื่อยุติปัญหาต่างๆ/ทำให้
บรรยากาศการเมืองดีขึ้นอย่างไรก็ตาม ตัวอย่างร้อยละ 34.6 ระบุไม่น่ายกย่องโดยให้เหตุผลว่า ถูกกดดันให้ลาออก/มีพรรคการเมืองอยู่เบื้องหลัง/
ทำให้ กกต.ขาดเอกภาพในการทำงาน
สำหรับความคิดเห็นของตัวอย่างต่อภาพลักษณ์ของ กกต.หากคณะกรรมการการเลือกตั้งลาออกนั้น ดร.นพดลกล่าวว่า ตัวอย่างเกินกว่า 1
ใน 3 คือร้อยละ 40.5 ระบุคิดว่าการลาออกของคณะกรรมการการเลือกตั้งน่าจะทำให้ภาพลักษณ์โดยรวมของ กกต. ดีขึ้น ในขณะที่ตัวอย่างร้อยละ
26.6 ระบุไม่คิดว่าภาพลักษณ์จะดีขึ้นเพราะเป็นแค่เกมการเมือง/ไม่ใช่วิธีการแก้ไขปํญหาที่ถูกต้อง/กกต.ไม่เคยมีผลงานน่าประทับใจมาก่อนเลย
อย่างไรก็ตาม ตัวอย่างร้อยละ 32.9 ไม่ระบุความคิดเห็น
ดร.นพดล กล่าวต่อไปถึงความคิดเห็นของตัวอย่างกรณีปัญหาการจ้างวานพรรคเล็กลงสมัครรับเลือกตั้ง ซึ่งผลสำรวจพบว่า ตัวอย่างร้อย
ละ 24.4 ระบุคิดว่าพรรคไทยรักไทยอยู่เบื้องหลังกรณีดังกล่าว ในขณะที่ร้อยละ 13.3 ระบุพรรคประชาธิปัตย์อยู่เบื้องหลัง อย่างไรก็ตาม เป็นที่น่า
สังเกตุว่า ตัวอย่างเกินกว่าครึ่งหนึ่งคือร้อยละ 62.3 ระบุคิดว่าทั้งสองพรรคการเมืองดังกล่าวอยู่เบื้องหลังปัญหาที่เกิดขึ้นในครั้งนี้
“ทรรศนะของประชาชนต่อปัญหาการจ้างวานพรรคเล็กลงสมัครรับการเลือกตั้งหากพบว่าความผิดเรื่องการจ้างวานพรรคการเมืองขนาด
เล็กลงสมัครรับเลือกตั้งปรากฎชัดเจนว่ามีพรรคการเมืองใดเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องนั้น ผลสำรวจพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 53.2 ระบุคิดว่าควรยุบพรรค
การเมืองที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับปัญหาดังกล่าว ในขณะที่ร้อยละ 13.3 ระบุไม่ควรยุบ และร้อยละ 33.5 ไม่ระบุความคิดเห็น ” ดร.นพดลกล่าว
และเมื่อสอบถามถึงบทบาทของอดีตพรรคร่วมฝ่ายค้านในการส่งผู้สมัครรับการเลือกตั้งในการเลือกตั้งครั้งใหม่นี้ พบว่า ตัวอย่างร้อยละ
71.2 ระบุควรส่ง เพื่อเป็นทางเลือกให้กับประชาชน/ควรทำตามที่พูดไว้/เป็นการแสดงศักยภาพทางการเมืองของพรรค/ควรให้ความสำคัญกับระบอบ
ประชาธิปไตย อย่างไรก็ตามตัวอย่างร้อยละ 4.3 ระบุไม่ควรส่ง และร้อยละ 24.5 ไม่ระบุความคิดเห็น
“เมื่อสอบถามตัวอย่างถึงพรรคการเมืองที่ตั้งใจจะเลือกหากมีการเลือกตั้งใหม่ในวันนี้ พบว่าตัวอย่างส่วนใหญ่ยังไม่มีพรรคการเมืองใดอยู่
ในใจ โดยร้อยละ 28.0 ระบุจะเลือกพรรคไทยรักไทย รองลงมาคือร้อยละ 10.3 ระบุจะเลือกพรรคประชาธิปัตย์ ร้อยละ 1.1 ระบุเลือกพรรค
อื่นๆ อาทิ พรรคชาติไทย พรรคมหาชน พรรคประชากรไทย และพรรคประชาราชของนายเสนาะ เทียนทอง ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม ส่วนใหญ่
หรือร้อยละ 60.6 ยังไม่ตัดสินใจ เพราะ ณ วันนี้ยังไม่มีตัวเลือกที่เหมาะสม/ไม่มีพรรคไหนน่าสนใจ/เบื่อพรรคการเมืองเดิมๆ” ดร.นพดลกล่าว
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า เมื่อนำผลสำรวจในวันที่ 8 พฤษภาคมมาเปรียบเทียบกับความตั้งใจของประชาชนที่จะเลือกพรรคการเมืองที่ชอบ
แล้ว พบว่าพรรคการเมืองใหญ่ทั้งสองพรรคคงต้องเร่งทำงานฟื้นฟูความเชื่อมั่นศรัทธาของประชาชนอย่างมากเพราะแนวโน้มลดต่ำลงทั้งคู่คือพรรคไทยรัก
ไทยลดลงจากร้อยละ 42.1 เหลือเพียงร้อยละ 28.0 หรือต่ำสุดในรอบห้าปีของการเป็นรัฐบาลที่ผ่านมาและพรรคประชาธิปัตย์ก็ลดลงจากร้อยละ
16.5 เหลือเพียงร้อยละ 10.3 เท่านั้น สาเหตุน่าจะมาจากกรณีเทปแอบถ่ายเรื่องพรรคใหญ่จ้างพรรคเล็กที่ทำให้พรรคการเมืองขนาดใหญ่เสียหายทั้ง
สองพรรคและนโยบายการทำงานของรัฐบาลรักษาการที่กำลังเริ่มแผ่วลงในหลายเรื่อง เช่น การจัดระเบียบสังคม ปัญหาทุจริตคอรัปชั่น ปัญหายาเสพ
ติด ปัญหากลุ่มผู้มีอิทธิพล ปัญหาความยากจน ปัญหาหนี้นอกระบบ และปัญหาสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นต้น นอกจากนี้ ปัญหาความเดือดร้อนของ
ประชาชนเรื่องเศรษฐกิจราคาสินค้าบริการและราคาน้ำมันที่กำลังเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
“สถานการณ์การเมืองขณะนี้ น่าจะมองได้ว่าอำนาจทางการเมืองของรัฐบาลรักษาการที่อยู่บนพื้นฐานความนิยมศรัทธาของประชาชนกำลัง
อ่อนตัวลง ถ้าพรรคไทยรักไทยและพรรคประชาธิปัตย์ไม่เร่งฟื้นความนิยมศรัทธาของประชาชนกลับคืนมา ในช่วงจังหวะนี้น่าจะเหมาะสำหรับกลุ่มบุคคล
สำคัญมารวมตัวกันตั้งพรรคการเมืองเสนอเป็นทางเลือกให้ประชาชนพิจารณา ซึ่งควรเน้นนโยบายประชานิยมแบบยั่งยืนไม่หวือหวาจนเกินไป ควรเป็น
นโยบายที่ปลูกฝังให้ประชาชนใช้ชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียงและต่อต้านปัญหาทุจริตคอรัปชั่นทุกรูปแบบ รวมไปถึงต่อต้านการสร้างเครือข่ายของกลุ่มนายทุน
ทางการเมืองที่เคยเข้ายึดอำนาจเบ็ดเสร็จเกือบทุกภาคส่วนของสังคม แต่ควรส่งเสริมให้การเมืองภาคประชาชนเข้มแข็งอย่างแท้จริงควบคู่ไปกับการใช้
ปัญญาให้การศึกษาและเหตุผลมากกว่าการใช้อารมณ์และความรุนแรงในการชุมนุมประท้วงต่างๆ เพราะเวลานี้ประชาชนคงจะรับรู้แล้วถึงความเจ็บปวดที่
ต้องประสบกับความเครียดและความเบื่อหน่ายปัญหาการเมืองที่วุ่นวายไม่รู้จักจบสิ้น และถ้าความรู้สึกเช่นนี้เกิดขึ้นในกลุ่มประชาชนภาคอื่นๆ ของประเทศ
ด้วยก็เป็นไปได้สูงว่าประชาชนจะมีรัฐบาลชุดใหม่ที่เป็นรัฐบาลผสมหลายพรรคในอนาคตอันใกล้ อย่างไรก็ตาม คณะผู้วิจัยกำลังเตรียมลงพื้นที่ทั่วประเทศ
เพื่อทำโพลล์ทำนายผลการเลือกตั้งทั้ง 400 เขตและจะรายงานผลสำรวจให้กับพันธมิตรเครือข่ายสื่อมวลชนทราบเป็นระยะๆ โดยจะเชิญสำนักข่าว
ต่างๆ เข้าร่วมวางแผนทำงานเพื่อรายงานผลและประสานการนับคะแนนผลการเลือกตั้งอย่างไม่เป็นทางการให้ประชาชนทราบ ซึ่งขณะนี้คณะผู้วิจัยได้
เตรียมงานสำรวจโพลล์เลือกตั้งทั่วประเทศเกินกว่าร้อยละ 90 แล้ว” ดร.นพดล กล่าว
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความถี่ในการติดตามข่าวการเมือง ในช่วง 30 วันที่ผ่านมา
ลำดับที่ ความถี่ในการติดตามข่าวการเมือง ในช่วง 30 วันที่ผ่านมา ค่าร้อยละ
1 ทุกวัน/เกือบทุกวัน 50.6
2 3-4 วันต่อสัปดาห์ 22.0
3 1-2 วันต่อสัปดาห์ 17.6
4 น้อยกว่า 1 วันต่อสัปดาห์ 5.0
5 ไม่ได้ติดตาม 4.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อความรู้สึกที่ได้รับจากสถานการณ์การเมืองในขณะนี้
ลำดับที่ ความรู้สึกต่อสถานการณ์การเมืองในขณะนี้ ใช่ ไม่ใช่ รวมทั้งสิ้น
1 การเมืองเป็นเรื่องสำคัญของประเทศ 97.5 2.5 100.0
2 วิตกกังวลต่อเหตุการณ์การเมือง 69.2 30.8 100.0
3 เครียดต่อเรื่องการเมือง 42.3 57.7 100.0
4 ขัดแย้งกับคนในครอบครัวในเรื่องการเมือง 10.9 89.1 100.0
5 ขัดแย้งกับเพื่อนบ้านในเรื่องการเมือง 16.7 83.3 100.0
6 ขัดแย้งกับเพื่อนร่วมงานในเรื่องการเมือง 17.2 82.8 100.0
7 เบื่อหน่ายต่อเรื่องการเมือง 77.8 22.2 100.0
8 เรียกร้องให้ทุกฝ่ายหันมาเจรจากันด้วยสันติวิธี 93.6 6.4 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการทราบข่าวที่พลเอกจารุภัทร เรืองสุวรรณลาออกจาก
กรรมการการเลือกตั้ง
ลำดับที่ การทราบข่าวที่พลเอกจารุภัทร เรืองสุวรรณลาออกจากกรรมการการเลือกตั้ง ค่าร้อยละ
1 ทราบข่าว 59.3
2 ไม่ทราบข่าว 40.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความรู้สึกกรณีพลเอกจารุภัทร เรืองสุวรรณลาออกจาก
กรรมการการเลือกตั้ง
ลำดับที่ ความรู้สึกต่อกรณีพลเอกจารุภัทร เรืองสุวรรณลาออกจากกรรมการการเลือกตั้ง ค่าร้อยละ
1 น่ายกย่อง เพราะ...เป็นการแสดงความรับผิดชอบ/สร้างความน่าเชื่อถือให้กับประชาชน/
เพื่อยุติปัญหาต่างๆ/ทำให้บรรยากาศการเมืองดีขึ้น 65.4
2 ไม่น่ายกย่อง เพราะ...ถูกกดดันให้ลาออก/มีพรรคการเมืองอยู่เบื้องหลัง/
ทำให้กกต.ขาดเอกภาพในการทำงาน 34.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อภาพลักษณ์ของ กกต. ถ้าคณะกรรมการ
การเลือกตั้งลาออก
ลำดับที่ ความคิดเห็นต่อภาพลักษณ์ของ กกต. ถ้าคณะกรรมการการเลือกตั้งลาออก ค่าร้อยละ
1 คิดว่าภาพลักษณ์ กกต.จะดีขึ้น 40.5
2 ไม่คิดว่าดีขึ้น เพราะ...เป็นแค่เกมการเมือง/ไม่ใช่วิธีการแก้ปัญหาที่ถูกต้อง/
กกต.ไม่เคยมีผลงานน่าประทับใจมาก่อน 26.6
3 ไม่มีความเห็น 32.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุพรรคการเมืองขนาดใหญ่ที่คิดว่าอยู่เบื้องหลังการจ้างวานพรรค
การเมืองขนาดเล็กลงสมัครรับเลือกตั้ง
ลำดับที่ พรรคการเมืองขนาดใหญ่ที่คิดว่าอยู่เบื้องหลังการจ้างวานพรรคการเมืองขนาดเล็กลงสมัครรับเลือกตั้ง ค่าร้อยละ
1 คิดว่าพรรคไทยรักไทยอยู่เบื้องหลัง 24.4
2 คิดว่าพรรคประชาธิปัตย์อยู่เบื้องหลัง 13.3
3 ทั้ง 2 พรรค 62.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นกรณีการยุบพรรคการเมืองที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับ
การจ้างวานพรรคการเมืองขนาดเล็กลงสมัครรับเลือกตั้ง
ลำดับที่ ความคิดเห็นกรณีการยุบพรรคการเมืองที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจ้างวานพรรคการเมืองขนาดเล็กลงสมัครรับเลือกตั้ง ค่าร้อยละ
1 ควบยุบพรรคการเมืองที่มีส่วนเกี่ยวข้อง 53.2
2 ไม่ควรยุบ 13.3
3 ไม่มีความเห็น 33.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่ออดีตพรรคร่วมฝ่ายค้านในการส่งผู้สมัคร
รับเลือกตั้งในการเลือกตั้งครั้งใหม่
ลำดับที่ ความคิดเห็นต่ออดีตพรรคร่วมฝ่ายค้านในการส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งในการเลือกตั้งครั้งใหม่ ค่าร้อยละ
1 ควรส่ง เพราะ...เพื่อเป็นทางเลือกให้กับประชาชน/ควรทำตามที่พูดไว้/
เป็นการแสดงศักยภาพทางการเมืองของพรรค/ควรให้ความสำคัญกับระบอบประชาธิปไตย 71.2
2 ไม่ควรส่ง เพราะ...ไม่ต้องการนักการเมืองเดิมๆ/ต้องการคนรุ่นใหม่เข้ามาบริหารประเทศ /
เปิดโอกาสให้คนรุ่นใหม่เข้ามาทำงาน 4.3
3 ไม่มีความเห็น 24.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุพรรคการเมืองที่ตั้งใจจะเลือก ถ้ามีการเลือกตั้งใหม่ในวันนี้
ลำดับที่ พรรคการเมืองที่ตั้งใจจะเลือก ถ้ามีการเลือกตั้งใหม่ในวันนี้ ค่าร้อยละ
1 พรรคไทยรักไทย 28.0
2 พรรคประชาธิปัตย์ 10.3
3 อื่นๆ อาทิ พรรคชาติไทย พรรคมหาชน พรรคประชากรไทย พรรคประชาราช 1.1
4 ยังไม่ได้ตัดสินใจ / ยังไม่มีพรรคการเมืองใดในใจ เพราะ ณ วันนี้ยังไม่มีตัวเลือกที่เหมาะสม/
ไม่นิยมศรัทธาพรรคใดเลย/ ไม่มีพรรคไหนน่าสนใจ / เบื่อพรรคการเมืองเดิมๆ ที่มีแต่ปัญหา 60.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-