เอแบคโพลล์: ความคิดเห็นของประชาชนต่อสถานการณ์การเมืองปัจจุบันของประเทศ

ข่าวผลสำรวจ Thursday April 16, 2009 07:29 —เอแบคโพลล์

ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลสำรวจ “เอแบคเรียลไทม์โพลล์ (Real- Time Survey)” ที่เป็นการสำรวจผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ แบบรวดเร็วฉับไวภายในระยะเวลาไม่เกิน 24 ชั่วโมง หลังจากมีสิ่งที่น่าสนใจ ติดตามในหมู่ประชาชน โดยครั้งนี้ได้ทำการสำรวจเรื่อง ความคิดเห็นของประชาชนต่อสถานการณ์การเมืองปัจจุบันของประเทศ กรณีศึกษาตัวอย่าง ประชาชนใน 17 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร สระแก้ว ลพบุรี กาญจนบุรี สมุทรปราการ ชลบุรี กระบี่ ชุมพร สงขลา ตาก ลำปาง นครสวรรค์ เชียงใหม่ ยโสธร สกลนคร บุรีรัมย์ และขอนแก่น จำนวนทั้งสิ้น 1,375 ครัวเรือน ในวันที่ 9 เมษายน พบว่า

ประชาชนที่ถูกศึกษาร้อยละ 40.5 ให้ความสนใจระดับปานกลางติดตามข่าวการชุมนุมของกลุ่มประชาชนในช่วงเวลานี้ ในขณะที่ร้อยละ 20.2 ให้ความสนใจระดับมาก ร้อยละ 15.0 ให้ความสนใจระดับมากที่สุด อย่างไรก็ตาม ร้อยละ 12.9 ให้ความสนใจน้อย และร้อยละ 11.3 ให้ ความสนใจน้อยที่สุด และเมื่อสอบถามความคิดเห็นต่อการชุมนุมของกลุ่มผู้ชุมนุมครั้งนี้ว่าเป็นเรื่องปกติธรรมดาในสังคมประชาธิปไตยหรือไม่ พบว่า เกิน ครึ่งหรือร้อยละ 55.4 ระบุว่าเป็นเรื่องปกติธรรมดา ในขณะที่ร้อยละ 44.6 ระบุว่าไม่ปกติธรรมดา

เมื่อถามถึงความคิดเห็นต่อท่าทีของรัฐบาลที่ไม่ใช้ความรุนแรงกับกลุ่มผู้ชุมนุม พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 89.2 เห็นด้วย ในขณะที่ร้อย ละ 10.8 ไม่เห็นด้วย อย่างไรก็ตาม เมื่อถามถึงระยะเวลาที่รัฐบาลและผู้ใหญ่ในสังคมควรรีบดำเนินการศึกษาความเป็นไปได้ในการทำตามข้อเรียก ร้องของกลุ่มผู้ชุมนุม พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 58.0 ระบุไม่เกิน 3 เดือน รองลงมาคือ ร้อยละ 19.3 ระบุระหว่าง 3 — 6 เดือน ร้อยละ 7.4 ระบุระหว่าง 6 เดือน ถึง 1 ปี และ ร้อยละ 15.3 ระบุนานกว่า 1 ปีขึ้นไป

ที่น่าพิจารณาคือ เมื่อถามประชาชนว่า รู้สึกอย่างไรต่อเหตุการณ์เมื่อวันที่ 7 เมษายน ที่เกิดขึ้นกับนายกรัฐมนตรีที่เมืองพัทยา พบว่า ส่วน ใหญ่หรือร้อยละ 75.8 รู้สึกเห็นใจนายกรัฐมนตรี ในขณะที่ร้อยละ 24.2 ไม่รู้สึกอะไร นอกจากนี้ ที่สำคัญสำหรับการเคลื่อนไหวทางการเมืองใน ปัจจุบันล่าสุด เมื่อสอบถามประชาชนว่า ถ้าเหตุการณ์ชุมนุมครั้งนี้ไม่เกิดความรุนแรง จะมีผลทำให้มีความสุขระดับใด พบว่า ค่าเฉลี่ยความสุขของ ประชาชนอยู่ที่ 7.97 จุด จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน อย่างไรก็ตาม ถ้าเหตุการณ์ชุมนุมเกิดความรุนแรง จะทำให้ประชาชนมีความทุกข์สูงถึง 7.43 จุดในการวิจัยครั้งนี้

ลักษณะทั่วไปของตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้

จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า

ตัวอย่าง ร้อยละ 53.9 เป็นหญิง

ร้อยละ 46.1 เป็นชาย

ตัวอย่าง ร้อยละ 6.6 อายุต่ำกว่า 20 ปี

ร้อยละ 22.4 อายุระหว่าง 20 — 29 ปี

ร้อยละ 25.7 อายุระหว่าง 30 — 39 ปี

ร้อยละ 20.8 อายุระหว่าง 40 — 49 ปี

และร้อยละ 24.5 อายุ 50 ปีขึ้นไป

ตัวอย่าง ร้อยละ 70.3 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี

รองลงมาคือร้อยละ 23.1 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี

และร้อยละ 6.6 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี

ร้อยละ 32.9 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป

ตัวอย่าง ร้อยละ 23.6 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว

ร้อยละ 14.8 ระบุอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน

ร้อยละ 9.0 ระบุข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ

ร้อยละ 8.3 เป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ

ร้อยละ 7.1 เป็นนักเรียน/นักศึกษา

ในขณะที่ร้อยละ 4.3 ระบุว่างงาน/ไม่ประกอบอาชีพ

โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้

ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความสนใจติดตามข่าวการชุมนุมของกลุ่มประชาชนในช่วงเวลานี้
ลำดับที่          ความสนใจติดตามข่าวการชุมนุมของกลุ่มประชาชนในช่วงเวลานี้              ค่าร้อยละ
1          มากที่สุด                                                            15.0
2          มาก                                                               20.2
3          ปานกลาง                                                           40.5
4          น้อย                                                               12.9
5          น้อยที่สุด                                                            11.3
          รวมทั้งสิ้น                                                           100.0

ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อการชุมนุมของกลุ่มผู้ชุมนุมครั้งนี้เป็นเรื่องปกติธรรมดาในสังคมประชาธิปไตย
ลำดับที่          ความคิดเห็น                                                   ค่าร้อยละ
1          เป็นเรื่องปกติธรรมดา                                                  55.4
2          ไม่ใช่เรื่องปกติธรรมดา                                                 44.6
          รวมทั้งสิ้น                                                           100.0

ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความเห็นด้วยกับท่าทีของรัฐบาลที่ไม่ใช้ความรุนแรงกับกลุ่มผู้ชุมนุม
ลำดับที่          ความคิดเห็น                                                   ค่าร้อยละ
1          เห็นด้วย                                                            89.2
2          ไม่เห็นด้วย                                                          10.8
          รวมทั้งสิ้น                                                           100.0

ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุระยะเวลาที่รัฐบาล และผู้ใหญ่ในสังคม ควรรีบดำเนินการศึกษาความเป็นไปได้
ในการทำตามข้อเรียกร้องของกลุ่มผู้ชุมนุม
ลำดับที่          ระยะเวลาในความเห็นของประชาชน                                ค่าร้อยละ
1          ไม่เกิน 3 เดือน                                                      58.0
2          ระหว่าง 3-6 เดือน                                                   19.3
3          6 เดือน - 1 ปี                                                       7.4
4          นานกว่า 1 ปี                                                        15.3
          รวมทั้งสิ้น                                                           100.0

ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความรู้สึกต่อเหตุการณ์เมื่อวันที่ 7 เม.ย. 52 ที่เกิดขึ้นกับนายกรัฐมนตรีที่พัทยา
ลำดับที่          ความรู้สึก                                                    ค่าร้อยละ
1          เห็นใจนายกรัฐมนตรี                                                   75.8
2          ไม่รู้สึกอะไร                                                         24.2
          รวมทั้งสิ้น                                                           100.0

ตารางที่ 6 แสดงค่าเฉลี่ยของตัวอย่างที่ระบุระดับความสุข-ความทุกข์ต่อสถานการณ์
          ความสุข-ความทุกข์ต่อสถานการณ์                                ค่าเฉลี่ยความสุขเต็ม 10 คะแนน
ถ้าเหตุการณ์ครั้งนี้ไม่เกิดความรุนแรง จะมีผลทำให้มีความสุข                                 7.97
แต่ถ้าเกิดความรุนแรง จะมีผลทำให้มีความทุกข์                                           7.43

--เอแบคโพลล์--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ