เอแบคโพลล์: ความกังวลของประชาชนต่อปัญหาในช่วงเทศกาลสงกรานต์ปี 52 และทางออกของปัญหา

ข่าวผลสำรวจ Thursday April 16, 2009 07:37 —เอแบคโพลล์

ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยว่า สสส. ร่วมกับ สำนักงานเครือข่ายองค์กรงด เหล้า และสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ทำวิจัยเชิงสำรวจเรื่อง ความกังวลของประชาชนต่อปัญหาในช่วงเทศกาลสงกรานต์ปี 52 และ ทางออกของปัญหา กรณีศึกษาประชาชนอายุ 12 — 60 ปีใน 12 จังหวัดทั่วประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร พระนครศรีอยุธยา จันทบุรี ราชบุรี สุรินทร์ อุบลราชธานี ขอนแก่น อุดรธานี เชียงใหม่ สุโขทัย นครศรีธรรมราช และสงขลา จำนวนตัวอย่าง ทั้งสิ้น 2,337 คน โดยมีระยะเวลาการ ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 21 มีนาคม 2552 ถึง วันที่ 11 เมษายน 2552 ผลการสำรวจพบว่า

เมื่อถามถึงความกังวลต่อปัญหาในช่วงเทศกาลสงกรานต์ปีนี้ พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 80.0 กังวลเรื่องปัญหาอุบัติเหตุ รองลง มาคือร้อยละ 74.0 กังวลปัญหาทะเลาะวิวาท ร้อยละ 73.6 กังวลปัญหาลวนลาม ล่วงเกินทางเพศ ร้อยละ 71.3 กังวลปัญหาการเล่นน้ำที่ก่อ ความเดือดร้อนรุนแรง ร้อยละ 69.8 กังวลเรื่องความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ร้อยละ 65.5 กังวลเรื่องปัญหาการแต่งกายที่ไม่เหมาะสมของผู้ เล่นน้ำสงกรานต์

อย่างไรก็ตาม เมื่อถามถึงความตั้งใจจะเล่นน้ำสงกรานต์ ปีนี้ พบว่า จำนวนมากหรือร้อยละ 39.0 ตั้งใจจะเล่นน้ำสงกรานต์ปีนี้ ในขณะที่ ร้อยละ 28.7 จะไม่เล่น และร้อยละ 32.3 ยังไม่แน่ใจ แต่เมื่อสอบถามถึงพฤติกรรมการเล่นน้ำสงกรานต์ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในปีนี้ พบว่า ส่วนใหญ่หรือ ร้อยละ 74.2 คิดว่าพฤติกรรมเล่นน้ำของคนทั่วไปจะเหมือนเดิม ในขณะที่ร้อยละ 16.6 คิดว่าจะดีขึ้นเพราะ เจ้าหน้าที่เคร่งครัดควบคุมดูแล สื่อชักจูง ให้ดีขึ้น คนไทยมีสำนึกดีขึ้น มีการรณรงค์ไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เป็นต้น แต่ร้อยละ 9.2 คิดว่าพฤติกรรมเล่นน้ำของคนไทยจะแย่ลง

เมื่อถามความคิดเห็นต่อการจัดระเบียบในการเล่นสงกรานต์ปีนี้ พบว่า ร้อยละ 50.6 เห็นว่าควรมีการจัดระเบียบ เช่น ห้ามเล่นน้ำที่ก่อ ความเดือดร้อน ห้ามลวนลามทางเพศ ห้ามมั่วสุมมอมเมา เจ้าหน้าที่ปฏิบัติตามมาตรการดูแลเคร่งครัด ห้ามแต่งกายไม่เหมาะสม เป็นต้น ในขณะที่ร้อย ละ 16.5 เห็นว่าไม่ควรจัดระเบียบอะไร และร้อยละ 32.9 ไม่มีความเห็น

เมื่อถามถึงการรับรู้ข้อความรณรงค์ที่ว่า “สงกรานต์ สนุก ปลอดภัย ไร้แอลกอฮอล์” พบว่า ร้อยละ 46.1 เคยได้ยินมาก่อน ในขณะที่ร้อย ละ 31.3 ไม่เคยได้ยินการรณรงค์ดังกล่าว และร้อยละ 22.6 ไม่แน่ใจ จำไม่ได้ อย่างไรก็ตาม ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 84.7 เห็นด้วยกับการจัดให้มี

เขตเล่นน้ำสงกรานต์ที่สนุกและปลอดภัย ในขณะที่ร้อยละ 6.4 ไม่เห็นด้วยกับการจัดเขตพิเศษ และร้อยละ 8.9 ไม่มีความเห็น           เมื่อถาม
ถึงความเห็นเกี่ยวกับ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นสาเหตุหลักต่อความเสียหายในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนช่วงเทศกาลสงกรานต์ พบว่า ส่วนใหญ่หรือ
ร้อยละ 82.0 คิดว่าเป็นสาเหตุหลักมากถึงมากที่สุด ในขณะที่ร้อยละ 13.6 ระบุปานกลาง มีเพียงร้อยละ 4.4 ระบุน้อยถึงไม่ใช่สาเหตุหลัก

อนึ่งที่น่าเป็นห่วงต่อวัฒนธรรมประเพณีไทยที่สืบทอดมาช้านานคือ เมื่อสอบถามประชาชนถึงความหมายของ “วันสงกรานต์” กลับพบว่า ส่วน ใหญ่หรือร้อยละ 57.8 กลับตอบไม่ถูกต้องว่าวันสงกรานต์คือวันอะไร และรวมถึงกลุ่มที่ตอบว่าไม่ทราบด้วย ในขณะที่ร้อยละ 42.4 สามารถตอบได้ถูก ต้องว่าคือ วันขึ้นปีใหม่ดั้งเดิม (ปีใหม่ไทย)

และเมื่อถามว่า วันสงกรานต์ปีนี้อยากรดน้ำดำหัวผู้ใหญ่ในสังคมและนักการเมืองคนใดมากที่สุด พบว่า ประชาชนจำนวนมากหรือร้อยละ 43.9 ไม่อยากรดน้ำดำหัวใครเลย อย่างไรก็ตาม ร้อยละ 22.0 อยากรดน้ำดำหัว พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ร้อยละ 13.1 อยากรดน้ำดำหัว นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ร้อยละ 9.0 ระบุเป็น พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร ร้อยละ 5.0 ระบุนายชวน หลีกภัย ร้อยละ 3.2 ระบุ พล.อ.สุ รยุทธ์ จุลานนท์ และร้อยละ 3.8 ระบุอื่นๆ ตามลำดับ

ผอ.เอแบคโพลล์ กล่าวว่า น่าเป็นห่วงสำหรับสังคมไทยที่มีประเพณีอันดีงามมาช้านาน ประชาชนส่วนใหญ่จะมีความสุขกันในช่วงเทศกาล สงกรานต์ แต่สถานการณ์การเมืองทำให้ประชาชนเสียความรู้สึก “ไม่อยากรดน้ำดำหัวผู้อาวุโสและนักการเมือง” ผู้ใหญ่ในสังคมจึงน่าจะใช้โอกาส “วัน ขึ้นปีใหม่แบบดั้งเดิมของคนไทย” คลี่คลายสถานการณ์การเมือง เพราะ ถ้าต่างฝ่ายต่างแรงเข้าหากัน หรือมองแต่ความผิดของฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด ก็จะ ทะเลาะกันไม่มีวันจบสิ้น สิ่งที่น่าพิจารณาคือ ให้มองความดีความงามของแต่ละฝ่ายกัน แต่ใครถูกใครผิดก็ให้เป็นไปตามกระบวนการยุติธรรม ทางออก ของประเทศมีอยู่เนื่องจากทุกฝ่ายต่างก็กล่าวยืนยันมาตลอดว่า รักชาติ รักสถาบัน รักความเป็นประชาธิปไตย และรักประชาชน ดังนั้น จึงเสนอให้ทุก ฝ่ายมองส่วนที่ดีของกันและกัน จับเข่าคุยกัน เข้ามามีส่วนร่วมในการปกครองและแก้ไขปัญหาของประเทศ และเร่งรีบวางระบบแผนที่อนาคตของประเทศ กันใหม่ไว้ให้ลูกหลานชนรุ่นหลังอย่างจริงจัง ผลที่ตามมาคือ เสถียรภาพของสังคมและประโยชน์สุขของประชาชนทุกหมู่เหล่าจะกลับคืนมาได้ไม่ยากนัก

ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง

จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า

ตัวอย่าง ร้อยละ 52.6 เป็นหญิง

ร้อยละ 47.4 เป็นชาย

ตัวอย่าง ร้อยละ 16.0 อายุไม่เกิน 18 ปี

ร้อยละ 17.0 อายุระหว่าง 19-25 ปี

ร้อยละ 23.9 อายุระหว่าง 26-35 ปี

ร้อยละ 21.0 อายุระหว่าง 36-45 ปี

และร้อยละ 22.1 อายุมากกว่า 45 ปี

ตัวอย่าง ร้อยละ 54.9 สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอยต้น/ต่ำกว่า

ร้อยละ 23.0 สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย/ป.ว.ช.

ร้อยละ 7.6 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับอนุปริญญา/ป.ว.ส.

ร้อยละ 13.5 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี

และร้อยละ 1.0 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี

ร้อยละ 31.6 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป

ตัวอย่าง ร้อยละ 29.8 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว

ร้อยละ 16.4 เป็นนักเรียน/นักศึกษา

ร้อยละ 8.1 ระบุอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน

ร้อยละ 5.6 ระบุข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ

ร้อยละ 4.8 เป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ

ในขณะที่ร้อยละ 3.7 ระบุว่างงาน/ไม่ประกอบอาชีพ

ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความกังวลต่อปัญหา ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ วันที่ 13-15 เมษายน 2552
ลำดับที่          ปัญหาในช่วงเทศกาลสงกรานต์ วันที่ 13-15 เมษายน 2552          กังวล        ไม่กังวล     ไม่มีความเห็น    รวม
1          ปัญหาอุบัติเหตุ                                                80.0          15.5        4.5       100.0
2          ปัญหาการทะเลาะวิวาท                                         74.0          20.5        5.5       100.0
3          ปัญหาการลวนลาม ล่วงเกิน  อนาจาร                              73.6          21.5        4.9       100.0
4          ปัญหาการเล่นน้ำที่ก่อความเดือดร้อน/รุนแรง/ไม่มีมารยาท                71.3          23.8        4.9       100.0
5          ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน                                  69.8          25.0        5.2       100.0
6          ปัญหาการแต่งกายที่ไม่เหมาะสม เช่น สายเดี่ยว นุ่งสั้น                  65.5          26.8        7.7       100.0

ตารางที่  2  แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความตั้งใจที่จะร่วมเล่นน้ำสงกรานต์ ในช่วงวันที่ 13-15 เม.ย 52
ลำดับที่          ความตั้งใจที่จะร่วมเล่นน้ำสงกรานต์ ในช่วงวันที่ 13-15 เมษายน 2552          ร้อยละ
1          ตั้งใจจะร่วมเล่นน้ำสงกรานต์                                               39.0
2          จะไม่เล่น                                                             28.7
3          ยังไม่แน่ใจ                                                            32.3
          รวมทั้งสิ้น                                                             100.0

ตารางที่  3  แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ พฤติกรรมการเล่นสงกรานต์ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในปี 2552 นี้
ลำดับที่          พฤติกรรมการเล่นสงกรานต์ที่คาดว่าจะเกิดขึ้น                                     ร้อยละ
1          จะดีขึ้น เพราะ เจ้าหน้าที่เคร่งครัดคอยควบคุมดูแล / สื่อชักจูงให้ดีขึ้น / คนไทยมีสำนึกดีขึ้น /
           มีการรณรงค์ไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เป็นต้น                                        16.6
2          แย่ลง เพราะเล่นกันรุนแรง / สังคมแย่ลง / ไม่รักษาประเพณี / มีคนดื่มเหล้ามากขึ้น            9.2
3          พฤติกรรมเหมือนเดิม                                                           74.2
          รวมทั้งสิ้น                                                                   100.0

ตารางที่  4  แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นต่อการจัดระเบียบในการเล่นสงกรานต์ปี 2552
ลำดับที่          ความคิดเห็น                                                                    ร้อยละ
1          ควรมีการจัดระเบียบ เช่น ห้ามเล่นน้ำที่ก่อความเดือดร้อน / ห้ามลวนลามทางเพศ / ห้ามมั่วสุมมอมเมา /
           เจ้าหน้าที่ปฏิบัติตามมาตรการดูแลเคร่งครัด / ห้ามแต่งกายไม่เหมาะสม เป็นต้น                        50.6
2          ไม่ต้องจัดระเบียบอะไร                                                                 16.5
3          ไม่มีความเห็น                                                                        32.9
          รวมทั้งสิ้น                                                                           100.0

ตารางที่  5  แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ การเคยได้ยินข้อความรณรงค์ที่ว่า “สงกรานต์ สนุก ปลอดภัย ไร้แอลกอฮอลล์”
ลำดับที่          การเคยได้ยินข้อความรณรงค์ที่ว่า “สงกรานต์ สนุก ปลอดภัย ไร้แอลกอฮอลล์”                     ร้อยละ
1          เคยได้ยินมาก่อน  โดยการทราบว่ามีการจัดเขตเล่นน้ำสนุก ปลอดภัย ไร้แอลกอฮอลล์                    46.1
2          ไม่เคยได้ยิน (เพิ่งเคยได้ยิน)                                                            31.3
3          ไม่แน่ใจ/จำไม่ได้                                                                     22.6
          รวมทั้งสิ้น                                                                           100.0

ตารางที่  6  แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นต่อการส่งเสริมให้มีเขตเล่นน้ำสงกรานต์ที่สนุกและปลอดภัย
ลำดับที่          ความคิดเห็นต่อการส่งเสริมให้มีเขตเล่นน้ำสงกรานต์ที่สนุกและปลอดภัย                          ร้อยละ
1          เห็นด้วย                                                                            84.7
2          ไม่เห็นด้วย                                                                           6.4
3          ไม่มีความเห็น                                                                         8.9
          รวมทั้งสิ้น                                                                           100.0

ตารางที่  7  แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ  ความคิดเห็นเกี่ยวกับ “เครื่องดื่มแอลกอฮอล์” เป็นสาเหตุหลักต่อ “ความเสียหายในชีวิต

และทรัพย์สิน” ของประชาชนในช่วงเทศกาลสงกรานต์

ลำดับที่          ความคิดเห็น                                                                    ร้อยละ
1          เป็นสาเหตุหลักมากถึงมากที่สุด                                                            82.0
2          ปานกลาง                                                                           13.6
3          น้อย ถึงไม่ใช่สาเหตุเลย                                                                 4.4
          รวมทั้งสิ้น                                                                           100.0

ตารางที่  8  แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ การรับรู้ต่อความหมายของ “วันสงกรานต์”
ลำดับที่          การรับรู้ของประชาชนต่อความหมายของ “วันสงกรานต์”                                     ร้อยละ
1          ทราบและตอบได้ถูกต้องว่า คือวันขึ้นปีใหม่ดั้งเดิม (ปีใหม่ไทย)                                     42.2
2          บอกว่าทราบแต่ตอบผิด และกลุ่มที่ไม่ทราบความหมาย                                            57.8
          รวมทั้งสิ้น                                                                           100.0

ตารางที่  9  แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ผู้ใหญ่ในสังคมและนักการเมืองที่ประชาชนอยากจะรดน้ำดำหัวในวันสงกรานต์
ลำดับที่          รายชื่อผู้ใหญ่ในสังคมและนักการเมือง                                                   ร้อยละ
1          พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์                                                                22.0
2          นายอภิสิทธิ์  เวชชาชีวะ                                                                13.1
3          พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ  ชินวัตร                                                               9.0
4          นายชวน  หลีกภัย                                                                      5.0
5          พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์                                                                  3.2
6          อื่นๆ                                                                                3.8
7          ไม่อยากรดน้ำดำหัวใครเลย                                                              43.9
          รวมทั้งสิ้น                                                                           100.0

--เอแบคโพลล์--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ