ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลสำรวจ “เอแบคเรียลไทม์โพลล์ (ABAC Real-Time Survey)” ที่เป็นการสำรวจจากครัวเรือนที่สุ่มตัวอย่างได้ทั่วประเทศตามหลักสถิติ แล้วนำระบบเทคโนโลยีแบบง่ายของการวิจัยไปมอบ ให้แต่ละครัวเรือนเพื่อทำการสัมภาษณ์ได้อย่างรวดเร็วฉับไวภายในระยะเวลาประมาณ 4 ชั่วโมง จากนั้นประมวลผลด้วยระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ โดยครั้งนี้ได้ทำการสำรวจเรื่อง เสียงสะท้อนจากกลุ่มคนไม่มีสีต่อ กลุ่มเคลื่อนไหวทางการเมืองในปัจจุบัน กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนใน 18 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร พะเยา เพชรบูรณ์ เชียงใหม่ ประจวบคีรีขันธ์ ฉะเชิงเทรา ราชบุรี นนทบุรี ชลบุรี เลย กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด บุรีรัมย์ อุบลราชธานี นครราชสีมา กระบี่ นราธิวาส และสุราษฎร์ธานี จำนวนทั้งสิ้น 1,457 ครัวเรือน ในวันที่ 11 เมษายน 2552 พบว่า ประชาชนที่ถูกศึกษาส่วนใหญ่หรือร้อยละ 72.2 มองว่าการเคลื่อนไหวทางการเมืองของทุกกลุ่มไม่ว่า รัฐบาล ฝ่ายค้าน หรือกลุ่มคนเสื้อสีใดก็ตาม ไม่ ได้ทำไปเพื่อประโยชน์ของประเทศชาติอย่างแท้จริง ในขณะที่ ร้อยละ 27.8 เท่านั้นที่มองว่า กลุ่มที่ตนเองสนับสนุนทำไปเพื่อประโยชน์ของประเทศ ชาติอย่างแท้จริง
อย่างไรก็ตาม ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 63.9 คิดว่า ตำรวจและทหารปฏิบัติหน้าที่ได้เหมาะสมกับสถานการณ์แล้ว ในขณะที่ร้อยละ 36.1 คิดว่ายังไม่เหมาะสม
ที่น่าพิจารณาคือ เมื่อสอบถามความคิดเห็นต่อการปรับเปลี่ยนรูปแบบการเคลื่อนไหวทางการเมืองของกลุ่มรัฐบาล กลุ่มคนเสื้อสีต่างๆ ให้ แตกต่างไปจากอดีตเพื่อแก้ปัญหาแตกแยกของคนในชาติ ผลสำรวจพบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 80.2 เห็นว่าควรปรับเปลี่ยนให้สร้างสรรค์มากขึ้น มอง ความดีของแต่ละฝ่ายบ้าง ไม่มองแต่ความผิดอย่างเดียว ในขณะที่ร้อยละ 19.8 เห็นว่าไม่ควรปรับเปลี่ยนอะไร
ที่สำคัญคือ ประชาชนที่ถูกศึกษาส่วนใหญ่หรือร้อยละ 56.3 เห็นว่ารัฐบาลควรใช้มาตรการทางกฎหมายต่อการชุมนุมประท้วงของกลุ่ม ต่างๆ ในขณะที่ร้อยละ 39.4 ขอรัฐบาลนิ่งสงบแต่มุ่งทำงานหนัก และมีเพียงร้อยละ 4.3 เท่านั้นที่ระบุว่ารัฐบาลควรตอบโต้แบบแรงมาแรงไป และที่ น่าพิจารณาอย่างยิ่งคือ ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 81.3 ไม่เห็นด้วยกับวาทะของ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ที่กล่าวเมื่อคืนที่ผ่านมาทำนองว่า ผมแพ้ไม่ ได้ เท่ากับประชาชนแพ้ ในขณะที่ร้อยละ 18.7 เห็นด้วย
ผอ.เอแบคโพลล์ กล่าวว่า ผลสำรวจล่าสุดครั้งนี้สะท้อนให้เห็นว่า ประชาชนทั่วไปมองว่า สถานการณ์บ้านเมืองขณะนี้จะไม่มีทางออกใน การแก้ปัญหาความแตกแยกของคนในชาติได้ ถ้าต่างฝ่ายต่างแรงเข้าหากัน หรือมองแต่ความผิดของฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด เพราะแต่ละฝ่ายที่เคลื่อนไหวคือผิด พอๆ กัน การมองแต่ความผิดของแต่ละฝ่าย ก็จะทะเลาะกันไม่มีวันจบสิ้น สิ่งที่น่าพิจารณาคือ ให้มองความดีความงามของแต่ละฝ่ายกัน เพราะทุกๆ ฝ่ายต่างก็กล่าวยืนยันมาตลอดว่า รักชาติ รักสถาบัน รักความเป็นประชาธิปไตย และรักประชาชน ดังนั้นทางออกของประเทศน่าจะยังพอมีอยู่ ถ้าทุก ฝ่ายมองส่วนที่ดีของกันและกัน จับเข่าคุยกัน มีส่วนร่วมในการปกครองและแก้ไขปัญหาของประเทศในขณะนี้ อย่างไรก็ตามประชาชนโดยส่วนใหญ่อยาก เห็นท่าทีของรัฐบาลแก้ปัญหากลุ่มผู้ชุมนุมโดยยึดกระบวนการยุติธรรมเป็นหลัก
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 51.8 เป็นหญิง
ร้อยละ 48.2 เป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 6.0 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 21.7 อายุระหว่าง 20 — 29 ปี
ร้อยละ 24.1 อายุระหว่าง 30 — 39 ปี
ร้อยละ 22.9 อายุระหว่าง 40 — 49 ปี
และ ร้อยละ 25.3 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 70.8 มีการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี
ในขณะที่ร้อยละ 23.5 มีการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 5.7 มีการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
นอกจากนี้ ร้อยละ 33.1 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 21.3 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 16.5 ระบุอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน
ร้อยละ 10.3 ระบุข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 7.4 เป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ
ร้อยละ 6.9 เป็นนักเรียน/นักศึกษา
ในขณะที่ร้อยละ 4.5 ระบุว่างงาน/ไม่ประกอบอาชีพ
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ลำดับที่ ความคิดเห็นของประชาชน ค่าร้อยละ 1 คิดว่ากลุ่มที่ตนเองสนับสนุนทำไปเพื่อประโยชน์ของประเทศชาติอย่างแท้จริง 27.8 2 คิดว่ากลุ่มต่างๆ ไม่ได้ทำไปเพื่อประโยชน์ของประเทศชาติจริงๆ 72.2 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นต่อการปฏิบัติหน้าที่ของตำรวจและทหาร ว่าสอดคล้องเหมาะสมกับสถานการณ์ ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ 1 คิดว่าตำรวจและทหารปฏิบัติหน้าที่ได้เหมาะสมกับสถานการณ์แล้ว 63.9 2 ไม่คิดว่าตำรวจและทหารปฏิบัติหน้าที่ได้เหมาะสม 36.1 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นต่อการปรับเปลี่ยนรูปแบบการเคลื่อนไหวทางการเมืองของกลุ่มรัฐบาล กลุ่มคนเสื้อสีต่างๆ ให้แตกต่างไปจากอดีตเพื่อแก้ปัญหาแตกแยกของคนในชาติ ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ 1 ควรปรับเปลี่ยนให้สร้างสรรค์ มองความดีของแต่ละฝ่ายบ้าง ไม่มองแต่ความผิด 80.2 2 ไม่ควรปรับเปลี่ยน 19.8 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ รัฐบาลควรวางท่าทีอย่างไรต่อการชุมนุมประท้วงของกลุ่มต่างๆ ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ 1 นิ่งสงบแต่มุ่งทำงานหนัก 39.4 2 ควรใช้กฎหมาย 56.3 3 ควรตอบโต้แบบแรงมาแรงไป 4.3 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นต่อวาทะของ พ.ต.ท.ทักษิณ ที่กล่าวเมื่อคืนที่ผ่านมาทำนองว่า ผมแพ้ไม่ได้ เท่ากับประชาชนแพ้ ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ 1 เห็นด้วย 18.7 2 ไม่เห็นด้วย 81.3 รวมทั้งสิ้น 100.0 --เอแบคโพลล์-- -พห-