ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลสำรวจ “เอแบคเรียลไทม์โพลล์ (ABAC Real-Time Survey)” ที่เป็นการสำรวจจากครัวเรือนที่สุ่มตัวอย่างได้ทั่วประเทศตามหลักสถิติก่อน จากนั้นได้ติดตั้งโทรศัพท์ให้กับครัวเรือนที่เป็น ตัวอย่างเพื่อทำการสัมภาษณ์ได้อย่างรวดเร็วฉับไวภายในระยะเวลาประมาณ 3 ชั่วโมง จากนั้นประมวลผลด้วยระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ โดยครั้งนี้ ได้ทำการสำรวจเรื่อง สำรวจอารมณ์ความรู้สึกของสาธารณชนภายหลังยุติการชุมนุมของกลุ่มเสื้อแดง กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนใน 15 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร พะเยา เชียงราย เชียงใหม่ จันทบุรี พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี ชลบุรี เลย สกลนคร บุรีรัมย์ ขอนแก่น นครราชสีมา ตรัง และนครศรีธรรมราช จำนวนทั้งสิ้น 1,417 ครัวเรือน ในวันที่ 14 เมษายน 2552 พบว่า ประชาชนที่ถูกศึกษาส่วนใหญ่หรือร้อยละ 64.9 ติดตาม ข่าวการชุมนุมของกลุ่มเสื้อแดง หลังประกาศสภาวะฉุกเฉินอย่างใกล้ชิด ในขณะที่ร้อยละ 11.8 ติดตามบ้าง และร้อยละ 23.3 ไม่ได้ติดตามเลย
เมื่อสอบถามถึงคะแนนความพอใจของประชาชนต่อ การทำงานของทหาร ตำรวจ และนายกรัฐมนตรี เมื่อคะแนนเต็ม 10 คะแนน พบว่า ค่าคะแนนความพอใจเฉลี่ยของประชาชนต่อการทำงานของทหาร ได้ 7.35 คะแนน ต่อการทำงานของตำรวจ ได้ 6.38 คะแนน และต่อการทำงาน ของนายกรัฐมนตรีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะได้ 7.23 คะแนน
เมื่อถามถึงความสุขมวลรวมหลังทราบข่าวการยุติการชุมนุมของกลุ่มเสื้อแดง พบว่า ค่าความสุขมวลรวมเพิ่มสูงขึ้นจาก 6.18 จุดในเดือน มีนาคม มาอยู่ที่ 7.87 จุดหลังการยุติการชุมนุมของกลุ่มเสื้อแดง
ที่น่าพิจารณาคือ การเปรียบเทียบคะแนนนิยมศรัทธาของสาธารณชนต่อนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ กับ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร ระหว่าง วันที่ 21 มีนาคม กับ หลังการยุติการชุมนุมของกลุ่มเสื้อแดงวันที่ 14 เมษายน พบว่า ค่าคะแนนความนิยมศรัทธาของสาธารณชนต่อนายอภิสิทธิ์ เวชชา ชีวะ เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 50.6 มาอยู่ที่ร้อยละ 58.2 หรือในหลักการสำรวจความคิดเห็นถือว่า ได้เกรดเพิ่มขึ้นจาก B- มาอยู่ที่ เกรด B ที่จะส่งผลทำ ให้สาธารณชนสนับสนุนการทำงานของรัฐบาลในทางที่เป็นรูปธรรมชัดเจนมากยิ่งขึ้น ในขณะที่คะแนนนิยมศรัทธาของสาธารณชนต่อ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ลด ลงจากร้อยละ 23.6 เหลือร้อยละ 15.9 และที่เหลือร้อยละ 25.9 ไม่นิยมศรัทธาทั้งสองท่านเหล่านี้
อย่างไรก็ตามร้อยละ 69.8 ยังคงกังวลว่าจะมีการชุมนุมประท้วงกันขึ้นมาอีก ในขณะที่ร้อยละ 30.2 ไม่กังวล และส่วนใหญ่หรือร้อยละ 74.0 เห็นด้วยที่รัฐสภาจะออกกฎหมายเกี่ยวกับการชุมนุมประท้วงและการเคลื่อนไหวทางการเมืองของประชาชน ในขณะที่ร้อยละ 26.0 ไม่เห็นด้วย
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 51.8 เป็นหญิง
ร้อยละ 48.2 เป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 7.4 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 12.6 อายุระหว่าง 20 — 29 ปี
ร้อยละ 21.1 อายุระหว่าง 30 — 39 ปี
ร้อยละ 20.5 อายุระหว่าง 40 — 49 ปี
และร้อยละ 38.4 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 65.3 มีการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี
ในขณะที่ ร้อยละ 27.8 มีการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 6.9 มีการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
นอกจากนี้ ตัวอย่าง ร้อยละ 34.6 อาชีพเกษตรกร/ รับจ้างใช้แรงงานทั่วไป
ร้อยละ 18.2 ค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 16.6 พนักงานบริษัทเอกชน
ร้อยละ 10.9 ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 10.2 เป็นนักเรียน/นักศึกษา
ร้อยละ 5.8 แม่บ้าน / เกษียณอายุ
และร้อยละ 3.7 ระบุว่างงาน
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ลำดับที่ การติดตามข่าวการชุมนุม ค่าร้อยละ 1 ติดตามอย่างใกล้ชิด 64.9 2 ติดตามบ้าง 11.8 3 ไม่ได้ติดตาม 23.3 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 2 แสดงค่าคะแนนเฉลี่ยความพอใจของประชาชนต่อ การทำงานของ ทหาร ตำรวจ และนายกรัฐมนตรี (คะแนนเต็ม 10 คะแนน) คะแนนเฉลี่ยความพอใจ เต็ม 10 ทหาร ตำรวจ นายกรัฐมนตรี 7.35 6.38 7.23 ตารางที่ 3 แสดงค่าคะแนนเฉลี่ย ความสุขมวลรวม หลังการยุติการชุมนุมของกลุ่มเสื้อแดง เปรียบเทียบกับค่าความสุขมวลรวมในเดือน มีนาคม (เมื่อคะแนนเต็ม 10 คะแนน) ค่าความสุขมวลรวมในเดือนมีนาคม ค่าความสุขมวลรวม หลังยุติการชุมนุมของกลุ่มเสื้อแดง 6.18 7.87 ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความนิยมศรัทธาระหว่างนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ กับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ลำดับที่ ความนิยมศรัทธา 21 มีนาคม หลังการยุติการชุมนุม 1 นิยมศรัทธา นายนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ มากกว่า 50.6 58.2 2 นิยมศรัทธา พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร มากกว่า 23.6 15.9 3 ไม่นิยมศรัทธาใครเลย 25.8 25.9 รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความกังวลว่าจะมีการชุมนุมใหญ่ขึ้นอีก ลำดับที่ ความกังวล ค่าร้อยละ 1 กังวล 69.8 2 ไม่กังวล 30.2 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นต่อรัฐสภา หรือ สภาผู้แทนราษฎร และ สภาวุฒิสภาควรเร่งประชุมออกกฎหมาย เกี่ยวกับการชุมนุมประท้วง และการเคลื่อนไหวทางการเมืองของประชาชน ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ 1 เห็นด้วย 74.0 2 ไม่เห็นด้วย 26.0 รวมทั้งสิ้น 100.0 --เอแบคโพลล์-- -พห-