ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลสำรวจ “เอแบคเรียลไทม์โพลล์ (Real- Time Survey)” ที่เป็นการสำรวจผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ แบบรวดเร็วฉับไวภายในระยะเวลา 3 ชั่วโมง หลังจากมีสิ่งที่น่าสนใจติดตาม ในหมู่ประชาชน โดยครั้งนี้ได้ทำการสำรวจเรื่อง เสียงสะท้อนของผู้ชมรายการเชื่อมั่นประเทศไทยกับนายกฯ อภิสิทธิ์ ประจำวันอาทิตย์ที่ 19 เมษายน 2552 และความคิดเห็นต่อเหตุการณ์ลอบทำร้าย/สังหารบุคคลสำคัญทางการเมือง : กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชน 18 จังหวัดทั่วประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร พะเยา พิษณุโลก เชียงใหม่ เพชรบุรี สระบุรี กาญจนบุรี ปทุมธานี ชลบุรี นครพนม ชัยภูมิ ร้อยเอ็ด บุรีรัมย์ อุบลราชธานี นครราชสีมา พัทลุง สุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช ซึ่งการสำรวจจะดำเนินการเป็นประจำทุกครั้งที่มีการจัดรายการโทรทัศน์และการเผยแพร่ ทางวิทยุของนายกรัฐมนตรี เพื่อดูแนวโน้มและเสียงสะท้อนของประชาชนต่อรายการดังกล่าว ในการศึกษาครั้งนี้มีจำนวนตัวอย่างประชาชนจากทั่ว ประเทศที่ถูกศึกษา รวมทั้งสิ้น 1,078 ตัวอย่าง
ผลสำรวจพบว่า ผลสำรวจพบว่าตัวอย่างร้อยละ 17.5 ระบุติดตามรับชม/รับฟังรายการ ในขณะที่ร้อยละ 82.5 ระบุไม่ได้ติดตามรับชม/ รับฟังในวันนี้ ทั้งนี้ประเด็นที่ยอมรับได้จากการพูดคุยในรายการของนายกรัฐมนตรีนั้นพบว่า ร้อยละ 69.7 ระบุยอมรับได้เรื่องการชี้แจงสถานการณ์ที่ เกิดขึ้นในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 63.9 ระบุยอมรับได้เรื่องการออกหมายจับผู้ที่ยังคงกระทำการที่เป็นภัยต่อความมั่นคงของชาติ ร้อยละ 63.0 ระบุเรื่องการชี้แจงเรื่องการคงประกาศการใช้ พรก.ฉุกเฉินในเขตพื้นที่ กทม. และปริมณฑล และแนวทางการสร้างความเป็นธรรมในสังคม ด้วยการเชิญทุกฝ่ายร่วมแก้ไขกฎหมาย ในขณะที่ร้อยละ 60.5 ระบุเรื่องการสร้างความเข้าใจกับต่างชาติต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้น
สำหรับประโยชน์ต่อการนำไปใช้ในชีวิตประจำวันของเนื้อหาสาระรายการนั้นพบว่า ตัวอย่างส่วนใหญ่คือร้อยละ 84.1 ระบุเนื้อหาสาระที่ พูดมีประโยชน์ต่อการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน ในขณะที่ร้อยละ 15.9 ระบุไม่เป็นประโยชน์ ทั้งนี้เมื่อถามถึงประโยชน์ที่ได้รับต่อการนำไปใช้ในชีวิต ประจำวัน หลังจากที่ได้ชมรายการนั้น พบว่า ร้อยละ 65.5 ระบุได้รู้สถานการณ์ความเป็นไปของบ้านเมือง ในขณะที่ร้อยละ 57.1 ระบุสามารถนำ ไปพูดคุยกับคนอื่น ร้อยละ 50.4 ระบุเพื่อตอบสนองความอยากรู้ว่า นายกรัฐมนตรีได้ปฏิบัติหน้าที่อะไรบ้าง ร้อยละ 47.9 ระบุเพื่อใช้ในการวาง แผนการใช้ชีวิต ร้อยละ 42.9 ระบุเก็บข้อมูลไว้ตัดสินใจทางการเมือง และเพื่อตัดสินใจในการจับจ่ายใช้สอย ตามลำดับ
สำหรับความเชื่อมั่นของประชาชนภายหลังการติดตามรับชมรับฟังรายการเชื่อมั่นประเทศไทยประจำวันอาทิตย์ที่ 19 เมษายนนี้นั้น พบว่า ส่วนใหญ่คือร้อยละ 81.5 ระบุมีความเชื่อมั่นต่อประเทศไทยภายหลังติดตามรับชมรับฟังรายการ ในขณะที่ร้อยละ 16.0 ระบุไม่เชื่อมั่น และร้อยละ 2.5 ไม่ระบุความคิดเห็น
ทั้งนี้เมื่อสอบถามถึงประเด็นที่อยากให้นายกรัฐมนตรีพูดคุยในรายการครั้งต่อไปนั้น พบว่า ร้อยละ 69.6 ระบุแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจของ ประเทศ ร้อยละ 65.5 ระบุแนวทางการแก้ไขปัญหาความแตกแยกของคนในชาติ ร้อยละ 65.2 ระบุการฟื้นฟูความเชื่อมั่นของคนในชาติ ร้อยละ 61.6 ระบุปัญหาความมั่นคงของประเทศ ร้อยละ 57.3 ระบุการฟื้นฟูความเชื่อมั่นของต่างชาติ อาทิ การท่องเที่ยว/การลงทุน นอกจากนี้ยังมี ประเด็นอื่นๆ อีก อาทิ การแก้ไขปัญหาการว่างงานอย่างเป็นรูปธรรม ปัญหาการกลับมาแพร่ระบาดของยาเสพติด ปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัด ชายแดนใต้ และการยกเลิก พรก. ฉุกเฉิน
สำหรับความคิดเห็นของประชาชนต่อสถานการณ์การเมืองในขณะนี้นั้น ดร.นพดล กล่าวว่า เมื่อได้สอบถามความรู้สึกของประชาชนภาย หลังเกิดเหตุการณ์ทำร้ายและลอบสังหารบุคคลสำคัญทางการเมืองในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมานั้นพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่คือร้อยละ 90.1 ระบุเป็นห่วง เรื่องความปลอดภัยของคนไทยทุกคน ในขณะที่ร้อยละ 89.0 ระบุอยากให้ระดมกวาดล้างอาวุธสงครามทั่วประเทศ ร้อยละ 78.8 ระบุให้โอกาสผู้ที่ เกี่ยวข้องตามจับคนร้ายให้ได้ แต่ถ้าจับไม่ได้ให้รับผิดชอบด้วยการลาออก ร้อยละ 63.7 ระบุอยากเห็นคนไทยยึดหลักธรรมว่าด้วยการไม่จองเวร และร้อยละ 50.3 ระบุกลัวบ้านเมืองจะเข้าสู่ภาวะบ้านป่าเมืองเถื่อน ตามลำดับ
รายละเอียดงานวิจัย
1. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อรายการเชื่อมั่นประเทศไทยกับนายกฯ อภิสิทธิ์ ครั้งที่ 10 ประจำวันอาทิตย์ที่ 19 เมษายน 2552
2. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อเหตุการณ์ลอบทำร้าย/สังหารบุคคลสำคัญทางการเมืองในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา
3. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
โครงการ “เอแบคเรียลไทม์โพลล์ (Real-Time Survey)” ของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้ เรื่อง “เสียงสะท้อนของผู้ชมรายการเชื่อมั่นประเทศไทยกับนายกฯ อภิสิทธิ์ ประจำวันอาทิตย์ที่ 19 เมษายน 2552 และ ความคิดเห็นต่อ เหตุการณ์ลอบทำร้าย/สังหารบุคคลสำคัญทางการเมือง : กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชน 18 จังหวัด ทั่วประเทศ ” ได้แก่ กรุงเทพมหานคร พะเยา พิษณุโลก เชียงใหม่ เพชรบุรี สระบุรี กาญจนบุรี ปทุมธานี ชลบุรี นครพนม ชัยภูมิ ร้อยเอ็ด บุรีรัมย์ อุบลราชธานี นครราชสีมา พัทลุง สุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช ซึ่งดำเนินโครงการในวันอาทิตย์ที่ 19 เมษายน 2552 ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิง สำรวจ (Survey Research) กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนทั่วประเทศ เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่ม เชิงชั้นภูมิหลายชั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากรเป้าหมายจากการทำสำมะโน ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ คือ 1,078 ตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์ หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจ สอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูลและงบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย มีคณะผู้วิจัย จำนวนทั้งสิ้น 42 คน
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 57.3 เป็นหญิง
ร้อยละ 42.7 เป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 8.4 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 22.1 อายุระหว่าง 20 — 29 ปี
ร้อยละ 20.4 อายุระหว่าง 30 — 39 ปี
ร้อยละ 25.3 อายุระหว่าง 40 — 49 ปี
และร้อยละ 23.8 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 72.6 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี
รองลงมาคือร้อยละ 22.2 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 5.2 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 31.8 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 23.8 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 16.4 ระบุอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน
ร้อยละ 10.7 ระบุข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 7.2 เป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ
ร้อยละ 6.8 เป็นนักเรียน/นักศึกษา
ในขณะที่ร้อยละ 3.3 ระบุว่างงาน/ไม่ประกอบอาชีพ
ตัวอย่าง ร้อยละ 21.6 ระบุมีรายได้ส่วนตัวไม่เกิน 5,000 บาทต่อเดือน
ร้อยละ 21.5 ระบุมีรายได้ 5,001 — 10,000 บาท
ร้อยละ 11.9 ระบุมีรายได้ 10,001 — 15,000 บาท
ร้อยละ 4.9 ระบุมีรายได้ 15,001 — 20,000 บาท
ร้อยละ 18.8 ระบุมีรายได้ส่วนตัวมากกว่า 20,000 บาทต่อเดือน
และร้อยละ 21.3 ไม่ระบุรายได้ส่วนตัวต่อเดือน
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการติดตามรับชม/รับฟังรายการ “เชื่อมั่นประเทศไทยกับนายกฯ อภิสิทธิ์” เปรียบเทียบตามช่วงเวลาที่สำรวจ
การติดตามรับชม/รับฟังรายการ 25 ม.ค. 1 ก.พ. 8 ก.พ. 15 ก.พ. 22 ก.พ. 1 มี.ค. 8 มี.ค. 15 มี.ค. 22 มี.ค. 19 เม.ย.
“เชื่อมั่นประเทศไทย ค่าร้อยละ ค่าร้อยละ ค่าร้อยละ ค่าร้อยละ ค่าร้อยละ ค่าร้อยละ ค่าร้อยละ ค่าร้อยละ ค่าร้อยละ ค่าร้อยละ
ลำดับที่ ประเด็นการพูดคุยของนายกรัฐมนตรีที่ยอมรับได้ ค่าร้อยละ 1 การชี้แจงสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา 69.7 2 การออกหมายจับผู้ที่ยังคงกระทำการที่เป็นภัยต่อความมั่นคงของชาติ 63.9 3 การชี้แจงเรื่องการคงประกาศการใช้ พรก.ฉุกเฉินในเขตพื้นที่ กทม. และปริมณฑล 63.0 4 แนวทางการสร้างความเป็นธรรมในสังคมด้วยการเชิญทุกฝ่ายร่วมแก้ไขกฎหมาย 63.0 5 การสร้างความเข้าใจกับต่างชาติต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้น 60.5 6 การยกนโยบายการท่องเที่ยวเป็นวาระแห่งชาติ ในการประชุม ครม. 49.6 7 การชี้แจงความเข้าใจผิดเรื่องการใช้ 2 มาตรฐานต่อการชุมนุม 49.6 8 การระงับการแพร่ภาพออกอากาศของสื่อบางสถานี 46.2 ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการมีประโยชน์ต่อการนำไปใช้ในชีวิตประจำวันของเนื้อหาสาระในรายการ “เชื่อมั่นประเทศไทยฯ ” ประจำวันอาทิตย์ที่ 19 เมษายน 2552 (เป็นค่าร้อยละเฉพาะผู้ที่ได้ติดตามรับชม/รับฟัง) ลำดับที่ การมีประโยชน์ต่อการนำไปใช้ในชีวิตประจำวันของเนื้อหาสาระในรายการ ค่าร้อยละ 1 ไม่เป็นประโยชน์ 15.9 2 เป็นประโยชน์ 84.1 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุประโยชน์ที่ได้รับต่อการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน หลังจากติดตามรับชม/รับฟังรายการ “เชื่อมั่นประเทศไทยฯ” ประจำวันอาทิตย์ที่ 19 เมษายน 2552 (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) ลำดับที่ ประโยชน์ที่ได้รับต่อการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน ค่าร้อยละ 1 รู้สถานการณ์ความเป็นไปของบ้านเมือง 65.5 2 นำไปพูดคุยกับคนอื่น 57.1 3 ตอบสนองความอยากรู้ว่า นายกรัฐมนตรีได้ปฏิบัติหน้าที่อะไรบ้าง 50.4 4 วางแผนการใช้ชีวิต 47.9 5 เก็บข้อมูลไว้ตัดสินใจทางการเมือง 42.9 6 ตัดสินใจในการจับจ่ายใช้สอย 42.9 ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความเชื่อมั่นต่อประเทศไทยหลังจากติดตามชมรายการ “เชื่อมั่นประเทศไทยฯ”
ประจำวันอาทิตย์ที่ 19 เมษายน 2552 (ค่าร้อยละเฉพาะผู้ติดตาม)
ลำดับที่ ความเชื่อมั่นในประเทศไทยหลังจากติดตามชม รายการ “เชื่อมั่นประเทศไทยฯ” ค่าร้อยละ 1 เชื่อมั่น 81.5 2 ไม่เชื่อมั่น 16.0 3 ไม่มีความเห็น 2.5 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุประเด็นที่อยากให้นายกรัฐมนตรีพูดคุยในรายการ “เชื่อมั่นประเทศไทยฯ” ในสัปดาห์หน้า (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ และเป็นค่าร้อยละเฉพาะผู้ที่ได้ติดตาม) ลำดับที่ ประเด็นที่อยากให้นายกรัฐมนตรีพูดคุย ค่าร้อยละ
ในรายการ “เชื่อมั่นประเทศไทยกับนายกฯ อภิสิทธิ์” ในสัปดาห์หน้า
1 แผนฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศ 69.6 2 แนวทางการแก้ไขปัญหาความแตกแยกของคนในชาติ 65.5 3 การฟื้นฟูความเชื่อมั่นของคนในชาติ 65.2 3 ปัญหาความมั่นคงของประเทศ 61.6 4 การฟื้นฟูความเชื่อมั่นของต่างชาติ อาทิ การท่องเที่ยว/การลงทุน 57.3 5 การแก้ไขปัญหาการว่างงานอย่างเป็นรูปธรรม 55.9 6 ปัญหาการกลับมาแพร่ระบาดของยาเสพติด 53.5 7 ปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ 50.2 8 การยกเลิก พรก. ฉุกเฉิน 39.6 ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความรู้สึกตามประเด็นต่างๆ จากเหตุการณ์ทำร้ายและลอบสังหารบุคคลสำคัญทางการเมือง ลำดับที่ ความรู้สึกตามประเด็นต่างๆ จากเหตุการณ์ทำร้ายและลอบสังหารบุคคลสำคัญทางการเมืองที่ผ่านมา ค่าร้อยละ 1 เป็นห่วงเรื่องความปลอดภัยของคนไทยทุกคน 90.1 2 อยากให้ระดมกวาดล้างอาวุธสงครามทั่วประเทศ 89.0 3 ให้โอกาสทหาร/ตำรวจที่เกี่ยวข้องติดตามจับกุมคนร้ายให้ได้ ถ้าจับไม่ได้ก็ควรการลาออก 78.8 4 อยากเห็นคนไทยยึดหลักธรรมว่าด้วยการไม่จองเวร 63.7 5 กลัวบ้านเมืองจะเข้าสู่ภาวะบ้านป่าเมืองเถื่อน 50.3 --เอแบคโพลล์-- -พห-