เอแบคโพลล์: เสียงสะท้อนของสาธารณชนต่อการประชุมร่วม 2 สภาเพื่อหาทางออกของวิกฤตของประเทศ

ข่าวผลสำรวจ Friday April 24, 2009 13:23 —เอแบคโพลล์

ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลสำรวจ “เอแบคเรียลไทม์โพลล์ (ABAC Real-Time Survey)” ที่เป็นการสำรวจจากครัวเรือนที่สุ่มตัวอย่างได้ทั่วประเทศตามหลักสถิติก่อน จากนั้นได้ติดตั้งโทรศัพท์ให้กับครัวเรือนที่เป็น ตัวอย่างเพื่อทำการสัมภาษณ์ได้อย่างรวดเร็วฉับไวภายในระยะเวลาประมาณ 24 ชั่วโมง จากนั้นประมวลผลด้วยระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ โดยครั้ง นี้ได้ทำการสำรวจเรื่อง เสียงสะท้อนของสาธารณชนต่อการประชุมร่วม 2 สภาเพื่อหาทางออกของวิกฤตชาติ กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนใน 17 จังหวัดทั่วประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร เชียงใหม่ อุตรดิตถ์ สุโขทัย เพชรบูรณ์ ปทุมธานี ชลบุรี ฉะเชิงเทรา กาญจนบุรี เพชรบุรี หนองบัวลำภู สกลนคร ศรีสะเกษ ขอนแก่น พัทลุง ระนอง และสุราษฎร์ธานี จำนวนทั้งสิ้น 1,436 ครัวเรือน ในวันที่ 24 เมษายน 2552 พบว่า ตัวอย่างมากกว่า ครึ่งหนึ่งได้ติดตามการอภิปรายร่วมของ 2 สภา ทั้งนี้ร้อยละ 11.2 ระบุได้ติดตามอย่างละเอียดต่อเนื่องทั้งสองวัน ในขณะที่ร้อยละ 49.1 ระบุติดตาม บ้าง

ดร.นพดล กล่าวถึงผลสำรวจต่อไปว่ากรณีความคิดเห็นของตัวอย่างต่อลักษณะปัญหาของสังคมไทยในปัจจุบันนี้ โดยพบว่า ร้อยละ 95.8 ระบุข้าวยากหมากแพง มีปัญหาเรื่องการทำมาหากิน ในขณะที่ร้อยละ 94.1 ระบุนักการเมืองมุ่งแต่จะเอาชนะกัน ไม่สนใจปัญหาปากท้องของประชาชน อย่างจริงจัง ร้อยละ 82.5 ระบุประเทศกำลังเข้าใกล้สภาพบ้านป่าเมืองเถื่อน ร้อยละ 81.1 ระบุประชาชนถูกขูดรีด มีปัญหาทุจริตคอรัปชั่น ในขณะ ที่ร้อยละ 72.1 ระบุตนเองยังมีคนคอยช่วยเหลือเกื้อกูลอยู่

เมื่อสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับสมาชิกสภาที่อภิปรายในทางที่สร้างสรรค์เพื่อไปสู่แนวทางที่ทำให้บ้านเมืองสงบสุข พบว่าร้อยละ 34.4 ระบุการอภิปรายของทั้งสองกลุ่ม ในขณะที่ร้อยละ 33.3 ระบุการอภิปรายของ ส.ส. ร้อยละ 21.0 ระบุการอภิปรายของกลุ่มวุฒิสมาชิก อย่างไงก็ ตาม ผลการสำรวจพบว่า ร้อยละ 11.3 ระบุไม่สร้างสรรคทั้งสองกลุ่ม

ประเด็นที่น่าพิจารณาคือเมื่อสอบถามความคิดเห็นต่อข้อเสนอทางออกที่ได้ยินได้ฟังจากการประชุมร่วม 2 สภานั้น พบว่า ร้อยละ 87.2 ระบุเห็นด้วยกับการตั้งคณะกรรมการร่วมอิสระ แก้ปัญหาความไม่เป็นธรรมในสังคม ร้อยละ 84.8 ระบุเห็นด้วยกับการตั้งคณะกรรมการร่วมอิสระ ปฏิรูประบบราชการ ด้านความมั่นคงของประเทศ ร้อยละ 84.2 ระบุเห็นด้วยกับการจัดตั้งคณะกรรมการร่วมอิสระตรวจสอบ เหตุการณ์จลาจลในช่วง เทศกาลสงกรานต์ ร้อยละ 80.8 ระบุเห็นด้วยกับการตั้งคณะกรรมการร่วมอิสระพิจารณาออกกฎหมายว่าด้วยการชุมนุม (จัดระเบียบการชุมนุมของ ประชาชน) และร้อยละ 71.6 ระบุเห็นด้วยกับการตั้งคณะกรรมการร่วมอิสระ ศึกษาแก้ไขรัฐธรรมนูญ ตามลำดับ

นอกจากนี้ผลสำรวจยังพบว่า มีประเด็นสำคัญที่ควรพิจารณาไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากันคือเมื่อสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวคิดในการแก้ปัญหา วิกฤตของประเทศ พบว่า ร้อยละ 63.7 เห็นด้วยที่จะมีการยื่นถอดถอนรัฐมนตรีบางคน ในขณะที่ร้อยละ 36.3 ไม่เห็นด้วย สำหรับในเรื่องการปรับ คณะรัฐมนตรีนั้น พบว่าร้อยละ 53.6 ระบุเห็นด้วย ในขณะที่ร้อยละ 46.4 ระบุไม่เห็นด้วย ร้อยละ 34.9 เห็นด้วยที่จะให้มีการยุบสภาเลือกตั้ง ใหม่ ในขณะที่ร้อยละ 65.1 ไม่เห็นด้วย สำหรับประเด็นการให้นายกรัฐมนตรีลาออกนั้น พบว่าร้อยละ 25.9 ระบุเห็นด้วย ในขณะที่มากกว่า 2 ใน 3 คือร้อยละ 74.1 ระบุไม่เห็นด้วย เช่นเดียวกับการประเด็นการยื่นถอดถอนนายกรัฐมนตรีที่พบว่าร้อยละ 23.1 เห็นด้วย ในขณะที่ร้อยละ 76.9 ระบุ ไม่เห็นด้วย

ดร.นพดล กล่าวถึง ผลสำรวจความคิดเห็นต่อแนวคิดที่จะแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันนั้น พบว่า ร้อยละ 57.3 ระบุเห็นด้วยที่จะให้มีการ แก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยให้เหตุผลว่า รัฐธรรมนูญไม่มีความเป็นธรรมต่อประชาชน/ มีส่วนทำให้เกิดความขัดแย้ง/อยากให้ประเทศชาติสงบสุข/ยังไม่ตรง ตามความต้องการของประชาชน เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ร้อยละ 42.7 ระบุไม่เห็นด้วยที่จะให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยให้เหตุผลว่าอาจเปิด โอกาสให้ผู้กระทำความผิดพ้นผิด/ฉบับนี้ดีอยู่แล้วไม่ต้องแก้ไข/ไม่อยากให้นักการเมืองที่ประวัติไม่ดีกลับเข้ามาอีก เป็นต้น

สำหรับความคิดเห็นของประชาชนต่อประโยชน์ที่ได้รับจากการประชุมร่วม 2 สภาที่ผ่านมานั้นพบว่า ร้อยละ 49.3 ระบุได้รับประโยชน์ค่อน ข้างมาก ถึงมากที่สุด ในขณะที่ในสัดส่วนที่ใกล้เคียงกันคือร้อยละ 51.7 ระบุค่อนข้างน้อย-ไม่ได้รับประโยชน์เลย

ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง

จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า

ตัวอย่าง ร้อยละ 53.4 เป็นหญิง

ร้อยละ 46.6 เป็นชาย

ตัวอย่าง ร้อยละ 7.1อายุต่ำกว่า 20 ปี

ร้อยละ 19.2 อายุระหว่าง 20 — 29 ปี

ร้อยละ 23.0 อายุระหว่าง 30 — 39 ปี

ร้อยละ 25.3 อายุระหว่าง 40 — 49 ปี

และร้อยละ 27.4 อายุ 50 ปีขึ้นไป

ตัวอย่าง ร้อยละ 75.2 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี

รองลงมาคือร้อยละ 20.0 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี

และร้อยละ 4.8 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี

ตัวอย่าง ร้อยละ 30.1 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป

ร้อยละ 25.8 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว

ร้อยละ 17.0 ระบุอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน

ร้อยละ 10.2 ระบุอาชีพข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ

ร้อยละ 7.4 เป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ

ร้อยละ 5.6 เป็นนักเรียน/นักศึกษา

ในขณะที่ร้อยละ 3.9 ระบุว่างงาน/ไม่ประกอบอาชีพ

โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้

ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการติดตามรับชมรับฟังการอภิปรายร่วม 2 สภา เพื่อแก้ไขปัญหาวิกฤตการณ์ของ

ประเทศผ่านสื่อมวลชน

ลำดับที่          การติดตามรับชมรับฟังรายการอภิปรายร่วม 2 สภา     ค่าร้อยละ
1          ติดตามอย่างละเอียดต่อเนื่องทั้งสองวัน                    11.2
2          ติดตามบ้าง                                        49.1
3          ไม่ได้ติดตามเลย                                    39.7
          รวมทั้งสิ้น                                         100.0

ความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่าง +- ร้อยละ 5

ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อลักษณะปัญหาของสังคมไทยในปัจจุบัน
ลำดับที่          ลักษณะปัญหาของสังคมไทยในปัจจุบัน                            ใช่ค่าร้อยละ     ไม่ใช่ค่าร้อยละ    รวมทั้งสิ้น
1          ข้าวยากหมากแพง มีปัญหาเรื่องการทำมาหากิน                            95.8          4.2          100.0
2          นักการเมืองมุ่งแต่จะเอาชนะกัน ไม่สนใจปัญหาปากท้องของประชาชนอย่างจริงจัง   94.1          5.9          100.0
3          ประเทศกำลังเข้าใกล้สภาพบ้านป่าเมืองเถื่อน                             82.5          17.5         100.0
4          ประชาชนถูกขูดรีด มีปัญหาทุจริตคอรัปชั่น                                 81.1          18.9         100.0
5          ตนเองยังมีคนคอยช่วยเหลือเกื้อกูล                                     72.1          27.9         100.0

ตารางที่ 3  แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุสมาชิกสภาที่อภิปรายในทางที่สร้างสรรค์เพื่อไปสู่แนวทางที่ทำให้บ้านเมืองสงบสุข
ลำดับที่          สมาชิกสภาที่อภิปรายในทางที่สร้างสรรค์เพื่อไปสู่แนวทางที่ทำให้บ้านเมืองสงบสุข      ค่าร้อยละ
1          กลุ่มวุฒิสมาชิก                                                            21.0
2          กลุ่มสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร                                                  33.3
3          ทั้งสองกลุ่ม                                                              34.4
4          ไม่สร้างสรรค์ทั้งสองกลุ่ม                                                    11.3
          รวมทั้งสิ้น                                                               100.0

ตารางที่ 4  แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อข้อเสนอทางออกที่ได้ยินได้ฟังจากการประชุมร่วม 2 สภา
ลำดับที่          ความคิดเห็นต่อข้อเสนอทางออกที่ได้ยินได้ฟังจากการประชุมร่วม 2 สภา             เห็นด้วยค่าร้อยละ  ไม่เห็นด้วยค่าร้อยละ รวมทั้งสิ้น
1          ตั้งคณะกรรมการร่วมอิสระ แก้ปัญหาความไม่เป็นธรรมในสังคม                               87.2          12.8        100.0
2          ตั้งคณะกรรมการร่วมอิสระ ปฏิรูประบบราชการ ด้านความมั่นคงของประเทศ                     84.8          15.2        100.0
3          จัดตั้งคณะกรรมการร่วมอิสระตรวจสอบ เหตุการณ์จลาจลในช่วงเทศกาลสงกรานต์                 84.2          15.8        100.0
4          ตั้งคณะกรรมการร่วมอิสระพิจารณาออกกฎหมายว่าด้วยการชุมนุม (จัดระเบียบการชุมนุมของประชาชน)  80.8          19.2        100.0
5          ตั้งคณะกรรมการร่วมอิสระ ศึกษาแก้ไขรัฐธรรมนูญ                                        71.6          28.4        100.0

ตารางที่ 5  แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อแนวคิดในการแก้ปัญหาวิกฤตของประเทศ
ลำดับที่          แนวคิดในการแก้ปัญหาวิกฤตของประเทศ   เห็นด้วยค่าร้อยละ  ไม่เห็นด้วยค่าร้อยละ   รวมทั้งสิ้น
1          ยื่นถอดถอนรัฐมนตรีบางคน                     63.7            36.3          100.0
2          ปรับคณะรัฐมนตรี                            53.6            46.4          100.0
3          ยุบสภาเลือกตั้งใหม่                          34.9            65.1          100.0
4          นายกรัฐมนตรีลาออก                         25.9            74.1          100.0
5          ยื่นถอดถอนนายกรัฐมนตรี                      23.1            76.9          100.0
6          ปฏิวัติยึดอำนาจ                              7.4            92.6          100.0

ตารางที่  6  แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อแนวคิดที่จะแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน
ลำดับที่          ความคิดเห็นต่อแนวคิดที่จะแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน                                 ค่าร้อยละ
1          เห็นด้วย เพราะ...รัฐธรรมนูญไม่มีความเป็นธรรมต่อประชาชน/ มีส่วนทำให้เกิดความขัดแย้ง/
             อยากให้ประเทศชาติสงบสุข/ยังไม่ตรงตามความต้องการของประชาชน  เป็นต้น                  57.3
2          ไม่เห็นด้วย  เพราะ....อาจเปิดโอกาสให้ผู้กระทำความผิดพ้นผิด/ฉบับนี้ดีอยู่แล้วไม่ต้องแก้ไข/
                          ไม่อยากให้นักการเมืองที่ประวัติไม่ดีกลับเข้ามาอีก   เป็นต้น                   42.7
          รวมทั้งสิ้น                                                                       100.0

ตารางที่ 7  แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการได้รับประโยชน์จากการประชุมร่วม 2 สภาที่ผ่านมา
ลำดับที่          การได้รับประโยชน์จากการประชุมร่วม 2 สภาที่ผ่านมา    ค่าร้อยละ
1          ได้รับประโยชน์ค่อนข้างมาก ถึงมากที่สุด                    49.3
2          ค่อนข้างน้อยถึงไม่ได้รับประโยชน์เลย                      51.7
          รวมทั้งสิ้น                                          100.0

--เอแบคโพลล์--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ