สธ. จับมือ เอแบคโพลล์ เผยผลสำรวจ พบ เยาวชนไทยประมาณ ๗๐% เครียดจากการสอบในระบบ Admission ระบุ พ่อแม่ มีส่วน
สำคัญลดความเครียด
กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับ สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ร่วมแถลงข่าว ผลการสำรวจสภาวะจิตใจของ
เยาวชนที่สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ หรือเทียบเท่า ที่ผ่านการสอบในระบบแอดมิสชั่น (Admission) ในเขตกรุงเทพมหานครและหัวเมือง
ใหญ่ จำนวน ๑,๐๗๙ ตัวอย่าง ระหว่างวันที่ ๑๘-๒๐ เมษายน ๒๕๔๙ พบ ตลอด ๓ เดือนที่ผ่านมา เยาวชน ประมาณ ๗๐ % มีความเครียด ส่วนใหญ่
เกิดจากความคาดหวัง ที่มีต่อตนเอง ความคาดหวังของพ่อแม่ และอิทธิพลเพื่อน
นายอนุทิน ชาญวีรกูล รักษาการรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข แถลงว่า จากปัญหาการคัดเลือกเยาวชนเข้าสู่ระดับอุดมศึกษาใน
ระบบ แอดมิสชั่น ที่กำลังเป็นกระแสวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างกว้างขวางอยู่ในขณะนี้นั้น สิ่งที่น่าเป็นห่วง คือ สภาพจิตใจของเยาวชนที่รอการประกาศผล
สอบอย่างเป็นทางการ ในวันที่ ๓๐ เมษายน ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการดูแลเอาใจใส่อย่างใกล้ชิด เพื่อไม่ให้เกิดความเครียด จนหาทางออกไม่ได้
กระทรวงสาธารณสุข โดย กรมสุขภาพจิต จึงได้ร่วมมือกับสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ทำการสำรวจสภาวะจิตใจของเยาวชนที่
สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ หรือเทียบเท่า ที่ผ่านการสอบในระบบแอดมิสชั่น เพื่อนำมาเป็นข้อมูลในการดำเนินงานเฝ้าระวังและป้องกันปัญหา
สุขภาพจิตของเยาวชนต่อไป
ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ เผยถึงผลสำรวจว่า ในช่วง ๓ เดือนที่ผ่านมา กลุ่มตัวอย่าง ร้อยละ ๖๙.๖
รู้สึกเครียด และเมื่อสอบถามถึงบุคคลที่เป็นสาเหตุของความเครียด พบ มาจากตนเองมากที่สุด ถึงร้อยละ ๗๓.๐ รองลงมา เป็น แม่ ร้อยละ ๒๒.๖
และ พ่อ ร้อยละ ๒๑.๗ โดย กลุ่มตัวอย่าง ร้อยละ ๒๖.๔ ระบุ พ่อแม่มีส่วนทำให้ความเครียดเพิ่มขึ้น เนื่องจาก ตั้งความหวังไว้สูง กดดันอยากให้
เอ็นฯ ติดอย่างที่พ่อแม่หวัง ร้อยละ ๓๒.๓ ระบุ พ่อแม่มีส่วนทำให้ความเครียดลดลง เนื่องจาก คอยดูแลอยู่ห่างๆ ให้คำแนะนำ และไม่ว่าอะไร ใน
ขณะที่ ร้อยละ ๔๑.๓ ระบุ พ่อแม่ไม่มีส่วนทำให้ความเครียดเพิ่มขึ้นหรือลดลง นอกจากนี้ เมื่อถามถึงอนาคต ถ้าผลสอบตามระบบแอดมิสชั่น ออกมาว่า
สอบไม่ได้ตามที่คาดหวังไว้จะทำอย่างไร กลุ่มตัวอย่าง ร้อยละ ๕๘.๖ ระบุ จะเข้ามหาวิทยาลัยเอกชน, ร้อยละ ๒๔.๗ ระบุ เข้ามหาวิทยาลัยเปิด,
ร้อยละ ๑๐ รอสอบปีหน้า ในขณะเดียวกัน กลุ่มตัวอย่าง ร้อยละ ๕๐.๕ คาดว่า พ่อแม่จะให้คำแนะนำถ้าผลสอบตามระบบแอดมิสชั่น ไม่เป็นไปตามที่คาด
หวังไว้ รองลงมา ร้อยละ ๔๘.๐ คาดว่าพ่อแม่จะปลอบใจ, ร้อยละ ๓๖.๑ หาทางออกอื่นให้, ร้อยละ ๑๙.๖ เสียใจ, ร้อยละ ๑๒.๘ เงียบ, ร้อย
ละ ๑๑.๐๐ ตำหนิ และ มีเพียง ร้อยละ ๐.๙ ที่คาดว่า พ่อแม่จะให้กำลังใจ นอกจากนี้ เมื่อถามถึงความคิดเห็นต่อกรณีการฆ่าตัวตายจากความผิดหวัง
ในการสอบเข้ามหาวิทยาลัย กลุ่มตัวอย่าง ร้อยละ ๘๕.๒ ระบุ ไม่น่าทำ เนื่องจาก มีทางออกที่ดีกว่าการฆ่าตัวตาย, หาสถานที่เรียนใหม่, ไม่ใช่
ความคิดที่ดี, สอบไม่ได้ไม่ใช่เป็นการตัดสินอนาคต ฯลฯ และมีเพียง ร้อยละ ๒.๐ ที่ระบุว่า น่าทำ เนื่องจาก ไม่มีคนปลอบใจหรือให้คำแนะนำ,
ต้องการให้ผู้ใหญ่รับรู้ถึงความต้องการของเด็ก และเป็นการประท้วง ส.ท.ศ. และมีร้อยละ ๑๒.๘ ที่ไม่มีความเห็นเรื่องการฆ่าตัวตาย
ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ กล่าวต่อว่า เมื่อถามถึงระดับความเอื้ออาทรของสังคมรอบตัว กลุ่มตัวอย่าง ร้อยละ ๖๗.๘ ระบุว่า
สังคมรอบตัว มีความเอื้ออาทร อยู่ในระดับค่อนข้างมากถึงมาก และเมื่อถามถึงความจริงใจของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาของเยาวชน กลุ่มตัวอย่าง
ร้อยละ ๓๓.๖ ระบุว่า มีความจริงใจ ในขณะที่ ร้อยละ ๔๕.๙ ไม่แสดงความเห็น และนอกจากนี้ ร้อยละ ๗๗.๗ ระบุ ผลงานแก้ไขปัญหา
เยาวชนของรัฐบาลยังไม่มากเพียงพอ
“จากผลสำรวจครั้งนี้ชี้ให้เห็นข้อมูลที่สำคัญอย่างน้อยสามประเด็นคือ ประการแรก นักเรียนที่มีประสบการณ์สอบเข้ามหาวิทยาลัยในระบบ
แอดมิสชั่น ส่วนใหญ่กำลังเครียด ประการที่สอง นักเรียนเหล่านี้คิดว่าตนเองเป็นสาเหตุของความเครียดเหล่านั้นซึ่งการคิดว่าตนเองเป็นสาเหตุเป็น
เรื่องที่น่าเป็นห่วงถ้าไม่รู้จักบริหารจัดการความเครียดและคิดโทษตัวเอง และประการที่สาม สังคมรอบข้างนักเรียนที่ส่วนใหญ่ระบุว่ามีความเอื้ออาทรใน
ระดับค่อนข้างมากถึงมากนั้น มีข้อสังเกตว่า ถ้าความเอื้ออาทรที่มาจากพ่อแม่และคนใกล้ชิดอยู่ในระดับที่เหมาะสมก็น่าจะเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยลดทอน
ความเครียดลงได้แต่ถ้าความเอื้ออาทรนั้นมีมากเกินไปอาจทำให้นักเรียนเหล่านี้รู้สึกว่าตนเองไม่มีคุณค่าหรืออึดอัดไปได้เช่นกัน” ดร.นพดล กล่าว
นายแพทย์ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานติ์ ผู้ทรงคุณวุฒิ กรมสุขภาพจิต กล่าวเพิ่มเติมว่า ในอนาคตเมื่อเยาวชนทราบผลแล้วว่าตนเองเข้า
มหาวิทยาลัยที่คาดหวังไม่ได้ กว่า ๔๐% คาดว่าพ่อแม่จะมีปฏิกิริยาไปในทางลบ เช่น เงียบ เสียใจ ตำหนิ ซึ่งเป็นข้อคิดที่พ่อแม่ พึงระลึกไว้ ทั้ง
นี้ ควรแสดงท่าทีทางบวก เช่น ปลอบใจ ให้กำลังใจ ให้คำแนะนำ และช่วยหาทางออก แทน และสำหรับท่าทีต่อสังคม จะเห็นได้ว่าเยาวชนมี
ทัศนคติในทางบวกเพราะเยาวชน ๒/๓ ยังมีความรู้สึกว่าสังคมรอบตัวมีความเอื้ออาทร ซึ่งน่าจะเป็นเพราะท่าทีของสื่อต่างๆ ที่ผ่านมา ที่แสดงออกถึง
ความเห็นใจ พยายามนำเสนอปัญหาและหาทางออก และมีจำนวนไม่น้อยที่เห็นว่ารัฐบาลมีความจริงใจต่อเยาวชน แต่ทั้งนี้ควรจริงจังกับการแก้ไข
ปัญหาเยาวชนให้มากขึ้น
นอกจากนี้ นายอนุทิน ชาญวีรกูล รักษาการรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ยังแสดงความห่วงใยในปัญหาฆ่าตัวตาย ถึงแม้จะมี
เยาวชนเพียง ๒% ที่มีทัศนคติเห็นด้วยกับการฆ่าตัวตายหากผิดหวังในการสอบเข้ามหาวิทยาลัย เมื่อรวมกับ ร้อยละ ๑๒.๘ ที่ไม่มีความเห็นเรื่องการฆ่า
ตัวตาย เป็นอีกกลุ่มที่ไม่อาจมองข้าม เพราะอาจคิดอยู่ในใจแต่ไม่เปิดเผยก็เป็นได้ พ่อแม่ผู้ปกครองควรเอาใจใส่ เฝ้าสังเกตใกล้ชิดหากลูกหลานมี
ลักษณะเก็บตัวเพิ่มขึ้น ตำหนิตนเอง เบื่ออาหาร นอนไม่หลับ บ่นไม่อยากมีชิวิตอยู่ ซึ่งอาจเป็นอาการของภาวะซึมเศร้าและนำไปสู่การฆ่าตัวตาย ใน
กรณีเช่นนี้ควรหาทางให้เด็กได้ระบายออก คอยให้กำลังใจ เพื่อรับรู้เรื่องภายในใจมากขึ้น โทรสายด่วน 1323 และปรึกษาจิตแพทย์ เพื่อหาทางช่วย
เหลือเยียวยารักษาทางด้านจิตใจต่อไป
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจระดับความเครียดในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา
2. เพื่อสำรวจแนวทางในการสอบเข้ามหาวิทยาลัยและวิธีการแสดงออกของผู้ปกครองต่อผลสอบในระบบ Admission
3. เพื่อเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่เกี่ยวข้องสนใจและศึกษาเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง “สภาวะจิตใจของเยาวชนต่อการสอบในระบบ
Admission : กรณีศึกษานักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือเทียบเท่า ที่ผ่านการสอนในระบบ Admission ในเขตกรุงเทพมหานครและหัวเมืองใหญ่”
ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจในวันที่ 18-20 เมษายน 2549
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือเทียบเท่า ที่ผ่านการสอบในระบบ Admission ในเขตกรุงเทพมหานคร
และหัวเมืองใหญ่
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) เฉพาะผู้ที่ผ่านการสอบในระบบ
Admission
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 1,079 ตัวอย่าง
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ร้อยละ 41.3 ระบุเป็นเพศชาย
และร้อยละ 58.7 ระบุเป็นเพศหญิง
และเมื่อพิจารณาช่วงอายุของกลุ่มตัวอย่างพบว่า ร้อยละ 86.2 ระบุอายุระหว่าง 17-18 ปี
และร้อยละ 13.8 ระบุอายุมากกว่า 18 ปี
สำหรับผลการเรียนเฉลี่ยของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 2.5 ระบุได้คะแนนเฉลี่ยสะสมไม่เกิน 2.00
ร้อยละ 11.6 ระบุได้คะแนนระหว่าง 2.01-2.50
ร้อยละ 26.4 ระบุได้คะแนนระหว่าง 2.51-3.00
ร้อยละ 29.0 ระบุได้คะแนนระหว่าง 3.01-3.50
และร้อยละ 30.5 ระบุได้คะแนนเฉลี่ยมากกว่า 3.50
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความรู้สึกเครียดในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา
ลำดับที่ ความรู้สึกเครียด ค่าร้อยละ
1 รู้สึกเครียด 69.6
2 ไม่รู้สึกเครียด 30.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุระดับความเครียด (เฉพาะตัวอย่างที่รู้สึกเครียดในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา)
ลำดับที่ ระดับความเครียด ค่าร้อยละ
1 เครียดมากที่สุด 9.5
2 มาก 27.4
3 ปานกลาง 51.0
4 น้อย 10.4
5 น้อยที่สุด 1.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุบุคคลที่เป็นสาเหตุของความเครียด (เฉพาะตัวอย่างที่รู้สึก
เครียดในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา และตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ บุคคลที่เป็นสาเหตุของความเครียด ค่าร้อยละ
1 ตนเอง 73.0
2 แม่ 22.6
3 พ่อ 21.7
4 เพื่อน 19.0
5 ผู้ปกครอง 10.7
6 ญาติพี่น้อง 9.6
7 ครู/อาจารย์ 4.4
8 อื่นๆ อาทิ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) /
แฟน / สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) 12.9
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นกรณีที่ว่า พ่อแม่มีส่วนทำให้ความเครียดของคุณ
เป็นอย่างไร เฉพาะตัวอย่างที่รู้สึกเครียดในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา)
ลำดับที่ ความคิดเห็นของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 เพิ่มขึ้น เพราะ ตั้งความหวังไว้สูง กดดันอยากให้เอ็นติดอย่างที่พ่อแม่หวัง 26.4
2 ลดลง เพราะ พ่อแม่คอยดูแลอยู่ห่างๆ ให้คำแนะนะ พ่อแม่ไม่ว่าอะไร 32.3
3 ไม่มีผล/เท่าเดิม 41.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุแนวทางในการเข้ามหาวิทยาลัย ถ้าผลสอบตามระบบ Admission
ออกมาว่าสอบไม่ได้ตามที่คาดหวังไว้
ลำดับที่ แนวทางในการเข้ามหาวิทยาลัย ค่าร้อยละ
1 เข้ามหาวิทยาลัยเปิด 24.7
2 เข้ามหาวิทยาลัยเอกชน 58.6
3 รอสอบปีหน้า 10.0
4 อื่นๆ อาทิ เรียนต่อต่างประเทศ เข้าสถาบันการศึกษาของรัฐ เป็นต้น 6.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการแสดงออกของพ่อ แม่ / ผู้ปกครอง ถ้าผลสอบตามระบบ
Admission ไม่เป็นไปตามที่คาดหวัง (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ การแสดงออกของพ่อ แม่ / ผู้ปกครอง ค่าร้อยละ
1 ให้คำแนะนำ 50.5
2 ปลอบใจ 48.0
3 ลงมือหาทางออกอื่นๆ ให้ 36.1
4 เสียใจ 19.6
5 เงียบ 12.8
6 ตำหนิ 11.0
7 ให้กำลังใจ 0.9
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อกรณีถ้ามีการฆ่าตัวตายจากความผิดหวังในการสอบเข้ามหาวิทยาลัย
ลำดับที่ ความคิดเห็นของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 น่าทำ เพราะ ไม่มีคนปลอบใจหรือให้คำแนะนำ ต้องการให้ผู้ใหญ่รับรู้ถึงความต้องการของเด็ก
เป็นการประท้วง ส.ท.ศ. 2.0
2 ไม่น่าทำ เพราะ มีทางออกที่ดีกว่าการฆ่าตัวตาย หาสถานที่เรียนใหม่ ไม่ใช่ความคิดที่ดี
สอบไม่ได้ไม่ใช่เป็นการตัดสินอนาคต เป็นต้น 85.2
3 ไม่มีความเห็น 12.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุระดับความเอื้ออาทรของสังคมรอบตัว
ลำดับที่ ความเอื้ออาทรของสังคมรอบตัว ค่าร้อยละ
1 มาก 26.0
2 ค่อนข้างมาก 41.8
3 ค่อนข้างน้อย 26.7
4 น้อย 5.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความสัมพันธ์กับคนอื่นๆ รอบตัว ในภาพรวม
ลำดับที่ คนอื่นๆ แย่มาก แย่ ปานกลาง ดี ดีมาก รวมทั้งสิ้น
1 พ่อ 0.2 1.3 14.3 43.5 40.7 100.0
2 แม่ - 0.7 9.0 38.5 51.8 100.0
3 พี่ - 1.6 14.3 48.3 35.8 100.0
4 น้อง 0.4 1.8 18.2 47.3 32.3 100.0
5 ญาติในบ้านเดียวกัน 0.4 1.9 22.6 52.9 22.2 100.0
6 เพื่อนบ้าน 1.0 5.7 37.2 47.0 9.1 100.0
7 เพื่อนในโรงเรียน - 0.7 8.9 47.8 42.6 100.0
8 อาจารย์ 0.2 1.5 19.2 52.7 26.4 100.0
ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความจริงใจของรัฐบาลในอดีตกับรัฐบาลชุดปัจจุบัน
ว่ารัฐบาลชุดไหนจริงใจแก้ไขปัญหาของเยาวชนมากกว่ากัน
ลำดับที่ ความจริงใจ ค่าร้อยละ
1 รัฐบาลในอดีตจริงใจมากกว่า 12.7
2 รัฐบาลชุดปัจจุบันจริงใจมากกว่า 33.6
3 จริงใจพอๆ กัน 7.8
4 ไม่มีความเห็น 45.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 11 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความเพียงพอของผลงานแก้ไขปัญหาเยาวชนของรัฐบาลรักษาการ
ลำดับที่ ความเพียงพอ ค่าร้อยละ
1 มากพอแล้ว 5.7
2 ยังไม่มากเพียงพอ 77.7
3 ไม่มีความเห็น 16.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
ติดต่อขอข้อมูลเพิ่มเติม ได้ที่ กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข (นายแพทย์ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน) โทร. 0-2590-8409
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-
สำคัญลดความเครียด
กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับ สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ร่วมแถลงข่าว ผลการสำรวจสภาวะจิตใจของ
เยาวชนที่สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ หรือเทียบเท่า ที่ผ่านการสอบในระบบแอดมิสชั่น (Admission) ในเขตกรุงเทพมหานครและหัวเมือง
ใหญ่ จำนวน ๑,๐๗๙ ตัวอย่าง ระหว่างวันที่ ๑๘-๒๐ เมษายน ๒๕๔๙ พบ ตลอด ๓ เดือนที่ผ่านมา เยาวชน ประมาณ ๗๐ % มีความเครียด ส่วนใหญ่
เกิดจากความคาดหวัง ที่มีต่อตนเอง ความคาดหวังของพ่อแม่ และอิทธิพลเพื่อน
นายอนุทิน ชาญวีรกูล รักษาการรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข แถลงว่า จากปัญหาการคัดเลือกเยาวชนเข้าสู่ระดับอุดมศึกษาใน
ระบบ แอดมิสชั่น ที่กำลังเป็นกระแสวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างกว้างขวางอยู่ในขณะนี้นั้น สิ่งที่น่าเป็นห่วง คือ สภาพจิตใจของเยาวชนที่รอการประกาศผล
สอบอย่างเป็นทางการ ในวันที่ ๓๐ เมษายน ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการดูแลเอาใจใส่อย่างใกล้ชิด เพื่อไม่ให้เกิดความเครียด จนหาทางออกไม่ได้
กระทรวงสาธารณสุข โดย กรมสุขภาพจิต จึงได้ร่วมมือกับสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ทำการสำรวจสภาวะจิตใจของเยาวชนที่
สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ หรือเทียบเท่า ที่ผ่านการสอบในระบบแอดมิสชั่น เพื่อนำมาเป็นข้อมูลในการดำเนินงานเฝ้าระวังและป้องกันปัญหา
สุขภาพจิตของเยาวชนต่อไป
ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ เผยถึงผลสำรวจว่า ในช่วง ๓ เดือนที่ผ่านมา กลุ่มตัวอย่าง ร้อยละ ๖๙.๖
รู้สึกเครียด และเมื่อสอบถามถึงบุคคลที่เป็นสาเหตุของความเครียด พบ มาจากตนเองมากที่สุด ถึงร้อยละ ๗๓.๐ รองลงมา เป็น แม่ ร้อยละ ๒๒.๖
และ พ่อ ร้อยละ ๒๑.๗ โดย กลุ่มตัวอย่าง ร้อยละ ๒๖.๔ ระบุ พ่อแม่มีส่วนทำให้ความเครียดเพิ่มขึ้น เนื่องจาก ตั้งความหวังไว้สูง กดดันอยากให้
เอ็นฯ ติดอย่างที่พ่อแม่หวัง ร้อยละ ๓๒.๓ ระบุ พ่อแม่มีส่วนทำให้ความเครียดลดลง เนื่องจาก คอยดูแลอยู่ห่างๆ ให้คำแนะนำ และไม่ว่าอะไร ใน
ขณะที่ ร้อยละ ๔๑.๓ ระบุ พ่อแม่ไม่มีส่วนทำให้ความเครียดเพิ่มขึ้นหรือลดลง นอกจากนี้ เมื่อถามถึงอนาคต ถ้าผลสอบตามระบบแอดมิสชั่น ออกมาว่า
สอบไม่ได้ตามที่คาดหวังไว้จะทำอย่างไร กลุ่มตัวอย่าง ร้อยละ ๕๘.๖ ระบุ จะเข้ามหาวิทยาลัยเอกชน, ร้อยละ ๒๔.๗ ระบุ เข้ามหาวิทยาลัยเปิด,
ร้อยละ ๑๐ รอสอบปีหน้า ในขณะเดียวกัน กลุ่มตัวอย่าง ร้อยละ ๕๐.๕ คาดว่า พ่อแม่จะให้คำแนะนำถ้าผลสอบตามระบบแอดมิสชั่น ไม่เป็นไปตามที่คาด
หวังไว้ รองลงมา ร้อยละ ๔๘.๐ คาดว่าพ่อแม่จะปลอบใจ, ร้อยละ ๓๖.๑ หาทางออกอื่นให้, ร้อยละ ๑๙.๖ เสียใจ, ร้อยละ ๑๒.๘ เงียบ, ร้อย
ละ ๑๑.๐๐ ตำหนิ และ มีเพียง ร้อยละ ๐.๙ ที่คาดว่า พ่อแม่จะให้กำลังใจ นอกจากนี้ เมื่อถามถึงความคิดเห็นต่อกรณีการฆ่าตัวตายจากความผิดหวัง
ในการสอบเข้ามหาวิทยาลัย กลุ่มตัวอย่าง ร้อยละ ๘๕.๒ ระบุ ไม่น่าทำ เนื่องจาก มีทางออกที่ดีกว่าการฆ่าตัวตาย, หาสถานที่เรียนใหม่, ไม่ใช่
ความคิดที่ดี, สอบไม่ได้ไม่ใช่เป็นการตัดสินอนาคต ฯลฯ และมีเพียง ร้อยละ ๒.๐ ที่ระบุว่า น่าทำ เนื่องจาก ไม่มีคนปลอบใจหรือให้คำแนะนำ,
ต้องการให้ผู้ใหญ่รับรู้ถึงความต้องการของเด็ก และเป็นการประท้วง ส.ท.ศ. และมีร้อยละ ๑๒.๘ ที่ไม่มีความเห็นเรื่องการฆ่าตัวตาย
ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ กล่าวต่อว่า เมื่อถามถึงระดับความเอื้ออาทรของสังคมรอบตัว กลุ่มตัวอย่าง ร้อยละ ๖๗.๘ ระบุว่า
สังคมรอบตัว มีความเอื้ออาทร อยู่ในระดับค่อนข้างมากถึงมาก และเมื่อถามถึงความจริงใจของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาของเยาวชน กลุ่มตัวอย่าง
ร้อยละ ๓๓.๖ ระบุว่า มีความจริงใจ ในขณะที่ ร้อยละ ๔๕.๙ ไม่แสดงความเห็น และนอกจากนี้ ร้อยละ ๗๗.๗ ระบุ ผลงานแก้ไขปัญหา
เยาวชนของรัฐบาลยังไม่มากเพียงพอ
“จากผลสำรวจครั้งนี้ชี้ให้เห็นข้อมูลที่สำคัญอย่างน้อยสามประเด็นคือ ประการแรก นักเรียนที่มีประสบการณ์สอบเข้ามหาวิทยาลัยในระบบ
แอดมิสชั่น ส่วนใหญ่กำลังเครียด ประการที่สอง นักเรียนเหล่านี้คิดว่าตนเองเป็นสาเหตุของความเครียดเหล่านั้นซึ่งการคิดว่าตนเองเป็นสาเหตุเป็น
เรื่องที่น่าเป็นห่วงถ้าไม่รู้จักบริหารจัดการความเครียดและคิดโทษตัวเอง และประการที่สาม สังคมรอบข้างนักเรียนที่ส่วนใหญ่ระบุว่ามีความเอื้ออาทรใน
ระดับค่อนข้างมากถึงมากนั้น มีข้อสังเกตว่า ถ้าความเอื้ออาทรที่มาจากพ่อแม่และคนใกล้ชิดอยู่ในระดับที่เหมาะสมก็น่าจะเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยลดทอน
ความเครียดลงได้แต่ถ้าความเอื้ออาทรนั้นมีมากเกินไปอาจทำให้นักเรียนเหล่านี้รู้สึกว่าตนเองไม่มีคุณค่าหรืออึดอัดไปได้เช่นกัน” ดร.นพดล กล่าว
นายแพทย์ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานติ์ ผู้ทรงคุณวุฒิ กรมสุขภาพจิต กล่าวเพิ่มเติมว่า ในอนาคตเมื่อเยาวชนทราบผลแล้วว่าตนเองเข้า
มหาวิทยาลัยที่คาดหวังไม่ได้ กว่า ๔๐% คาดว่าพ่อแม่จะมีปฏิกิริยาไปในทางลบ เช่น เงียบ เสียใจ ตำหนิ ซึ่งเป็นข้อคิดที่พ่อแม่ พึงระลึกไว้ ทั้ง
นี้ ควรแสดงท่าทีทางบวก เช่น ปลอบใจ ให้กำลังใจ ให้คำแนะนำ และช่วยหาทางออก แทน และสำหรับท่าทีต่อสังคม จะเห็นได้ว่าเยาวชนมี
ทัศนคติในทางบวกเพราะเยาวชน ๒/๓ ยังมีความรู้สึกว่าสังคมรอบตัวมีความเอื้ออาทร ซึ่งน่าจะเป็นเพราะท่าทีของสื่อต่างๆ ที่ผ่านมา ที่แสดงออกถึง
ความเห็นใจ พยายามนำเสนอปัญหาและหาทางออก และมีจำนวนไม่น้อยที่เห็นว่ารัฐบาลมีความจริงใจต่อเยาวชน แต่ทั้งนี้ควรจริงจังกับการแก้ไข
ปัญหาเยาวชนให้มากขึ้น
นอกจากนี้ นายอนุทิน ชาญวีรกูล รักษาการรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ยังแสดงความห่วงใยในปัญหาฆ่าตัวตาย ถึงแม้จะมี
เยาวชนเพียง ๒% ที่มีทัศนคติเห็นด้วยกับการฆ่าตัวตายหากผิดหวังในการสอบเข้ามหาวิทยาลัย เมื่อรวมกับ ร้อยละ ๑๒.๘ ที่ไม่มีความเห็นเรื่องการฆ่า
ตัวตาย เป็นอีกกลุ่มที่ไม่อาจมองข้าม เพราะอาจคิดอยู่ในใจแต่ไม่เปิดเผยก็เป็นได้ พ่อแม่ผู้ปกครองควรเอาใจใส่ เฝ้าสังเกตใกล้ชิดหากลูกหลานมี
ลักษณะเก็บตัวเพิ่มขึ้น ตำหนิตนเอง เบื่ออาหาร นอนไม่หลับ บ่นไม่อยากมีชิวิตอยู่ ซึ่งอาจเป็นอาการของภาวะซึมเศร้าและนำไปสู่การฆ่าตัวตาย ใน
กรณีเช่นนี้ควรหาทางให้เด็กได้ระบายออก คอยให้กำลังใจ เพื่อรับรู้เรื่องภายในใจมากขึ้น โทรสายด่วน 1323 และปรึกษาจิตแพทย์ เพื่อหาทางช่วย
เหลือเยียวยารักษาทางด้านจิตใจต่อไป
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจระดับความเครียดในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา
2. เพื่อสำรวจแนวทางในการสอบเข้ามหาวิทยาลัยและวิธีการแสดงออกของผู้ปกครองต่อผลสอบในระบบ Admission
3. เพื่อเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่เกี่ยวข้องสนใจและศึกษาเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง “สภาวะจิตใจของเยาวชนต่อการสอบในระบบ
Admission : กรณีศึกษานักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือเทียบเท่า ที่ผ่านการสอนในระบบ Admission ในเขตกรุงเทพมหานครและหัวเมืองใหญ่”
ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจในวันที่ 18-20 เมษายน 2549
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือเทียบเท่า ที่ผ่านการสอบในระบบ Admission ในเขตกรุงเทพมหานคร
และหัวเมืองใหญ่
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) เฉพาะผู้ที่ผ่านการสอบในระบบ
Admission
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 1,079 ตัวอย่าง
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ร้อยละ 41.3 ระบุเป็นเพศชาย
และร้อยละ 58.7 ระบุเป็นเพศหญิง
และเมื่อพิจารณาช่วงอายุของกลุ่มตัวอย่างพบว่า ร้อยละ 86.2 ระบุอายุระหว่าง 17-18 ปี
และร้อยละ 13.8 ระบุอายุมากกว่า 18 ปี
สำหรับผลการเรียนเฉลี่ยของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 2.5 ระบุได้คะแนนเฉลี่ยสะสมไม่เกิน 2.00
ร้อยละ 11.6 ระบุได้คะแนนระหว่าง 2.01-2.50
ร้อยละ 26.4 ระบุได้คะแนนระหว่าง 2.51-3.00
ร้อยละ 29.0 ระบุได้คะแนนระหว่าง 3.01-3.50
และร้อยละ 30.5 ระบุได้คะแนนเฉลี่ยมากกว่า 3.50
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความรู้สึกเครียดในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา
ลำดับที่ ความรู้สึกเครียด ค่าร้อยละ
1 รู้สึกเครียด 69.6
2 ไม่รู้สึกเครียด 30.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุระดับความเครียด (เฉพาะตัวอย่างที่รู้สึกเครียดในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา)
ลำดับที่ ระดับความเครียด ค่าร้อยละ
1 เครียดมากที่สุด 9.5
2 มาก 27.4
3 ปานกลาง 51.0
4 น้อย 10.4
5 น้อยที่สุด 1.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุบุคคลที่เป็นสาเหตุของความเครียด (เฉพาะตัวอย่างที่รู้สึก
เครียดในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา และตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ บุคคลที่เป็นสาเหตุของความเครียด ค่าร้อยละ
1 ตนเอง 73.0
2 แม่ 22.6
3 พ่อ 21.7
4 เพื่อน 19.0
5 ผู้ปกครอง 10.7
6 ญาติพี่น้อง 9.6
7 ครู/อาจารย์ 4.4
8 อื่นๆ อาทิ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) /
แฟน / สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) 12.9
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นกรณีที่ว่า พ่อแม่มีส่วนทำให้ความเครียดของคุณ
เป็นอย่างไร เฉพาะตัวอย่างที่รู้สึกเครียดในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา)
ลำดับที่ ความคิดเห็นของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 เพิ่มขึ้น เพราะ ตั้งความหวังไว้สูง กดดันอยากให้เอ็นติดอย่างที่พ่อแม่หวัง 26.4
2 ลดลง เพราะ พ่อแม่คอยดูแลอยู่ห่างๆ ให้คำแนะนะ พ่อแม่ไม่ว่าอะไร 32.3
3 ไม่มีผล/เท่าเดิม 41.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุแนวทางในการเข้ามหาวิทยาลัย ถ้าผลสอบตามระบบ Admission
ออกมาว่าสอบไม่ได้ตามที่คาดหวังไว้
ลำดับที่ แนวทางในการเข้ามหาวิทยาลัย ค่าร้อยละ
1 เข้ามหาวิทยาลัยเปิด 24.7
2 เข้ามหาวิทยาลัยเอกชน 58.6
3 รอสอบปีหน้า 10.0
4 อื่นๆ อาทิ เรียนต่อต่างประเทศ เข้าสถาบันการศึกษาของรัฐ เป็นต้น 6.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการแสดงออกของพ่อ แม่ / ผู้ปกครอง ถ้าผลสอบตามระบบ
Admission ไม่เป็นไปตามที่คาดหวัง (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ การแสดงออกของพ่อ แม่ / ผู้ปกครอง ค่าร้อยละ
1 ให้คำแนะนำ 50.5
2 ปลอบใจ 48.0
3 ลงมือหาทางออกอื่นๆ ให้ 36.1
4 เสียใจ 19.6
5 เงียบ 12.8
6 ตำหนิ 11.0
7 ให้กำลังใจ 0.9
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อกรณีถ้ามีการฆ่าตัวตายจากความผิดหวังในการสอบเข้ามหาวิทยาลัย
ลำดับที่ ความคิดเห็นของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 น่าทำ เพราะ ไม่มีคนปลอบใจหรือให้คำแนะนำ ต้องการให้ผู้ใหญ่รับรู้ถึงความต้องการของเด็ก
เป็นการประท้วง ส.ท.ศ. 2.0
2 ไม่น่าทำ เพราะ มีทางออกที่ดีกว่าการฆ่าตัวตาย หาสถานที่เรียนใหม่ ไม่ใช่ความคิดที่ดี
สอบไม่ได้ไม่ใช่เป็นการตัดสินอนาคต เป็นต้น 85.2
3 ไม่มีความเห็น 12.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุระดับความเอื้ออาทรของสังคมรอบตัว
ลำดับที่ ความเอื้ออาทรของสังคมรอบตัว ค่าร้อยละ
1 มาก 26.0
2 ค่อนข้างมาก 41.8
3 ค่อนข้างน้อย 26.7
4 น้อย 5.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความสัมพันธ์กับคนอื่นๆ รอบตัว ในภาพรวม
ลำดับที่ คนอื่นๆ แย่มาก แย่ ปานกลาง ดี ดีมาก รวมทั้งสิ้น
1 พ่อ 0.2 1.3 14.3 43.5 40.7 100.0
2 แม่ - 0.7 9.0 38.5 51.8 100.0
3 พี่ - 1.6 14.3 48.3 35.8 100.0
4 น้อง 0.4 1.8 18.2 47.3 32.3 100.0
5 ญาติในบ้านเดียวกัน 0.4 1.9 22.6 52.9 22.2 100.0
6 เพื่อนบ้าน 1.0 5.7 37.2 47.0 9.1 100.0
7 เพื่อนในโรงเรียน - 0.7 8.9 47.8 42.6 100.0
8 อาจารย์ 0.2 1.5 19.2 52.7 26.4 100.0
ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความจริงใจของรัฐบาลในอดีตกับรัฐบาลชุดปัจจุบัน
ว่ารัฐบาลชุดไหนจริงใจแก้ไขปัญหาของเยาวชนมากกว่ากัน
ลำดับที่ ความจริงใจ ค่าร้อยละ
1 รัฐบาลในอดีตจริงใจมากกว่า 12.7
2 รัฐบาลชุดปัจจุบันจริงใจมากกว่า 33.6
3 จริงใจพอๆ กัน 7.8
4 ไม่มีความเห็น 45.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 11 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความเพียงพอของผลงานแก้ไขปัญหาเยาวชนของรัฐบาลรักษาการ
ลำดับที่ ความเพียงพอ ค่าร้อยละ
1 มากพอแล้ว 5.7
2 ยังไม่มากเพียงพอ 77.7
3 ไม่มีความเห็น 16.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
ติดต่อขอข้อมูลเพิ่มเติม ได้ที่ กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข (นายแพทย์ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน) โทร. 0-2590-8409
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-