เอแบคโพลล์เผยเยาวชนไทยในเมืองใหญ่ชอบดูทีวีมากกว่าอ่านหนังสือ ส่วนใหญ่นิยมอ่านหนังสือขำขัน การ์ตูน ขณะที่เพียงร้อยละ 10 อ่าน
หนังสือเรียนทุกวัน ชี้รัฐบาลต้องใส่ใจยกพฤติกรรมรักการอ่านของเด็กเป็นวาระแห่งชาติ พัฒนาห้องสมุดประชาชนเป็นแหล่งมั่วสุมเชิงสร้างสรรค์ให้เด็ก
และเยาวชนทั่วประเทศ
ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลสำรวจ เรื่อง พฤติกรรมการอ่านหนังสือของ
เยาวชน : กรณีศึกษาตัวอย่างเยาวชนที่มีอายุ 12-23 ปีทั้งในระบบการศึกษาและนอกระบบการศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร เชียงใหม่ ชลบุรี
ขอนแก่น และ สงขลา” ครั้งนี้ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2549 ถึงวันที่ 5 มีนาคม 2549 โดยมีขนาดตัวอย่างทั้งสิ้น 4,920
ตัวอย่าง
ดร.นพดล กล่าวว่า มีการสอบถามความชอบทำกิจกรรม 9 อย่างเปรียบเทียบกับความชอบอ่านหนังสือของเยาวชน พบว่า มีกิจกรรม 4
อย่างที่เยาวชนชอบทำมากกว่าการอ่านหนังสือ ได้แก่ ร้อยละ 65.5 ชอบดูทีวีมากกว่า ร้อยละ 45.0 ชอบฟังวิทยุมากกว่า ร้อยละ 46.1 ชอบเล่นกีฬา
มากกว่า และร้อยละ 43.3 ชอบโทรศัพท์มากกว่า ประเด็นที่น่าสนใจคือ เยาวชนในเมืองใหญ่จำนวนมากหรือร้อยละ 42.2 ชอบอ่านหนังสือมากกว่า
เดินห้างฯ ร้อยละ 51.9 ชอบอ่านหนังสือมากกว่าดูภาพยนตร์ในโรงหนัง ร้อยละ 52.9 ชอบอ่านหนังสือมากกว่าเล่นดนตรี ร้อยละ 57.6 ชอบอ่าน
หนังสือมากกว่าเล่นเกมออนไลน์ อย่างไรก็ตาม เยาวชนที่ชอบอ่านหนังสือมากกว่าเล่นอินเตอร์เนตมีสัดส่วนไม่แตกต่างจากเยาวชนที่ชอบเล่นอินเตอร์
เนตมากกว่าอ่านหนังสือ ร้อยละ 37.6 ต่อร้อยละ 37.2
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า ที่น่าเป็นห่วงคือ เมื่อสอบถามถึงพฤติกรรมการอ่านหนังสือเรียนของเยาวชนที่กำลังเรียนหนังสือระดับมัธยมต้นถึง
ปริญญาตรีในช่วงเวลาที่หลายสถาบันมีการทดสอบวัดผลการเรียน กลับพบว่ามีเพียงร้อยละ 20 เท่านั้นที่อ่านหนังสือเรียนทุกวันหรือเกือบทุกวัน ซึ่งดู
เหมือนว่า “ความชอบ” ของเยาวชนในการอ่านหนังสือ กับ “พฤติกรรมอ่านจริง” อาจจะสวนทางกัน เมื่อวิเคราะห์เวลาเฉลี่ยพบเด็กเยาวชนในเมือง
ใหญ่อ่านหนังสือเรียนวันละ 1 ชั่วโมง 37 นาที จำนวนชั่วโมงนี้ใกล้เคียงกับจำนวนชั่วโมงของเด็กเยาวชนในหลายประเทศที่เป็นพฤติกรรมอ่านหนังสือ
ช่วงเวลาปกติของพวกเขา
“ผลสำรวจยังพบว่า เด็กเยาวชนไทยในเมืองใหญ่ยังอ่านหนังสืออื่นๆ นอกจากตำราเรียนอีกด้วย ซึ่งพบว่าส่วนใหญ่หรือร้อยละ 57.2 อ่าน
หนังสือตลก ขำขัน ร้อยละ 54.8 อ่านหนังสือการ์ตูน ร้อยละ 44.5 อ่านหนังสือความรู้รอบตัว ร้อยละ 38.2 อ่านนิยาย ร้อยละ 25.9 อ่านหนังสือ
ท่องเที่ยว ร้อยละ 22.8 อ่านหนังสือคู่มือเตรียมสอบ และร้อยละ 20.8 ที่อ่านหนังสือสารคดี” ดร.นพดล กล่าว
“ผลสำรวจยังชี้ให้เห็นความน่าห่วงใยว่า เด็กและเยาวชนในวัย 12-23 ปีมีค่าเฉลี่ยจำนวนชั่วโมงการอ่านน้อยกว่าจำนวนชั่วโมงการอ่าน
เฉลี่ยในกลุ่มประชากรอายุตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไปของประเทศ กล่าวคือจำนวน 1 ชั่วโมง 37 นาที ในกลุ่มเยาวชนอายุ 12-23 ปี ต่อจำนวน 2 ชั่วโมงใน
กลุ่มประชากรทั่วไป ” ดร.นพดล กล่าว
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า ผลกระทบในทางลบต่อคุณภาพเด็กเยาวชนไทยที่ใช้เวลาของพวกเขาหมดไปกับการดูทีวี ฟังวิทยุ และโทรศัพท์
มากกว่าการอ่านหนังสือ จะทำให้พวกเขาเหล่านี้เสี่ยงที่จะเผชิญกับปัญหาหลายประการ
ในการศึกษาเล่าเรียนของพวกเขา เช่น เบื่อโรงเรียน มีปัญหาในการทำการบ้าน มักจะอายหรือขาดความมั่นใจเมื่ออยู่ต่อหน้าผู้อื่น ได้ผล
การเรียนต่ำ และมีเกียรติภูมิแห่งตนต่ำ เป็นต้น การอ่านหนังสือจึงเป็นประตูสำคัญสู่การเรียนรู้และความสำเร็จในการศึกษาและอาชีพการงาน ในฐานะ
ที่เป็นบิดามารดาก็ย่อมจะต้องมั่นใจว่าบุตรหลานของตนสามารถอ่านและเขียนหนังสือได้ดีถูกต้องตามการสะกดและออกเสียง
“รัฐบาลจึงควรยกระดับนโยบายส่งเสริมการอ่านหนังสือของเด็กเยาวชนเป็นวาระแห่งชาติ จัดให้มีกิจกรรมต่างๆ อย่างต่อเนื่อง ด้วยการ
จัดมุมอ่านหนังสือตามสถานที่ราชการและเอกชนอย่างกว้างขวาง ยกระดับห้องสมุดประชาชนระดับท้องถิ่นต่างๆ ทั่วประเทศเป็นแหล่งรวมข้อมูลเชื่อมโยง
ทั่วโลกและเป็นศูนย์กลางการอ่านหนังสือและกิจกรรมสร้างสรรค์อื่นๆ ของเด็กและเยาวชนไทย” ดร.นพดล กล่าว
รายละเอียดโครงการสำรวจ
ระเบียบวิธีการดำเนินโครงการ
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง “พฤติกรรมการอ่านหนังสือของเยาวชน : กรณีศึกษา
ตัวอย่างเยาวชนที่มีอายุ 12-23 ปีทั้งในระบบการศึกษาและนอกระบบการศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร เชียงใหม่ ชลบุรี ขอนแก่น และ สงขลา”
ครั้งนี้ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2549 ถึงวันที่ 5 มีนาคม 2549 โดยมีขนาดตัวอย่างทั้งสิ้น 4,920 ตัวอย่าง
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนที่มีอายุ 12-23 ปีทั้งในระบบการศึกษาและนอกระบบการศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร เชียงใหม่
ชลบุรี ขอนแก่น และสงขลา
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิหลายขั้น (Stratified Multi-stage Sampling) และกำหนดลักษณะ
ของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากรเป้าหมายจากการทำสำมะโน
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 4,920 ตัวอย่าง
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
การสำรวจในครั้งนี้ได้ทำการสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างเยาวชน แบ่งเป็นเพศของเยาวชนที่เป็นชาย คิดเป็นร้อยละ 50.6 และเป็นหญิง
จำนวนร้อยละ 49.4 ในกลุ่มตัวอย่างซึ่งมีอายุ 12-23 ปี มีสัดส่วนแบ่งตามอายุ พบว่า ช่วงอายุ 12-14 ปี คิดเป็นร้อยละ 23.1 ช่วงอายุ
15-17 ปี คิดเป็นร้อยละ 24.6 และช่วงอายุ 18-23 ปี คิดเป็นร้อยละ 52.3 ดังแสดงไว้ในตารางที่ 1 และ 2
ระดับการศึกษาของกลุ่มตัวอย่างพบว่า มีทั้งผู้ที่กำลังศึกษาอยู่คิดเป็นร้อยละ 82.7 และผู้ที่ไม่ได้ศึกษา คิดเป็นร้อยละ17.3 ในส่วนของผู้
ที่กำลังศึกษาอยู่นั้นมีตั้งแต่กำลังศึกษาอยู่ในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นหรือต่ำกว่าจนถึงระดับปริญญาตรี โดยกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่กำลังศึกษาอยู่ในระดับ
มัธยมศึกษาตอนต้น/ต่ำกว่า คิดเป็นร้อยละ 39.4
รองลงมาเป็นผู้ที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรีคิดเป็นร้อยละ28.7 เป็นผู้ที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย/ป.ว.ช.คิดเป็น
ร้อยละ 27.6 และผู้ที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับอนุปริญญา คิดเป็นร้อยละ 4.4
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบ
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของผู้ตอบ ที่ระบุการทำกิจกรรมต่าง ๆ เมื่อเปรียบเทียบกับการอ่านหนังสือ
กิจกรรมต่าง ๆ ภาพรวมค่าร้อยละ
1.การดูโทรทัศน์/วีซีดี กับการอ่านหนังสือ
อ่านหนังสือมากกว่า 14.1
ดูโทรทัศน์/วีซีดีมากกว่า 65.5
พอ ๆ กัน 20.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
2.การฟังวิทยุกับการอ่านหนังสือ
อ่านหนังสือมากกว่า 31.8
ฟังวิทยุมากกว่า 45.0
พอ ๆ กัน 23.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
3.การเล่นอินเทอร์เน็ตกับการอ่านหนังสือ
อ่านหนังสือมากกว่า 37.6
เล่นอินเทอร์เน็ตมากกว่า 37.2
พอ ๆ กัน 25.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
4.การเล่นเกมออนไลน์กับการอ่านหนังสือ
อ่านหนังสือมากกว่า 57.6
เล่นเกมออนไลน์มากกว่า 22.5
พอ ๆ กัน 19.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
5.การเล่นกีฬากับการอ่านหนังสือ
อ่านหนังสือมากกว่า 33.4
เล่นกีฬามากกว่า 46.1
พอ ๆ กัน 20.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
6.การเล่นดนตรีกับการอ่านหนังสือ
อ่านหนังสือมากกว่า 52.9
เล่นดนตรีมากกว่า 24.9
พอ ๆ กัน 22.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 1(ต่อ) แสดงค่าร้อยละของผู้ตอบ ที่ระบุการทำกิจกรรมต่าง ๆ เมื่อเปรียบเทียบกับการอ่านหนังสือ
กิจกรรมต่าง ๆ ภาพรวมค่าร้อยละ
7.เดินห้างสรรพสินค้ากับการอ่านหนังสือ
อ่านหนังสือมากกว่า 42.2
เดินห้างสรรพสินค้ามากกว่า 35.1
พอ ๆ กัน 22.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
8.การคุยโทรศัพท์กับการอ่านหนังสือ
อ่านหนังสือมากกว่า 35.6
คุยโทรศัพท์มากกว่า 43.3
พอ ๆ กัน 21.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
9.การดูภาพยนตร์ในโรงภาพยนตร์กับการอ่านหนังสือ
อ่านหนังสือมากกว่า 51.9
ดูภาพยนตร์มากกว่า 25.3
พอ ๆ กัน 22.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของผู้ตอบ ที่ระบุความถี่ของการอ่านหนังสือเรียน/ตำราเรียนใน 1 สัปดาห์
ลำดับที่ ความถี่ในการอ่าน ภาพรวมค่าร้อยละ
1 อ่านทุกวัน 11.8
2 อ่าน 5-6 วัน/สัปดาห์ 11.0
3 อ่าน 3-4 วัน/สัปดาห์ 22.5
4 อ่าน 1-2 วัน/สัปดาห์ 34.9
5 อ่านน้อยกว่าสัปดาห์ละ 1 ครั้ง 11.3
6 ไม่ได้อ่าน 8.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของผู้ตอบ ที่ระบุเวลาที่ใช้ในการอ่านหนังสือ (เฉพาะวันที่มีการอ่านหนังสือ)
ลำดับที่ เวลาที่ใช้ในการอ่านหนังสือ เวลาที่ใช้ในการอ่านหนังสือโดยเฉลี่ย/วัน
1 อ่านหนังสือเรียน 1 ชั่วโมง 37 นาที
2 อ่านหนังสืออ่านเล่น/พ็อกเก็ตบุค 1 ชั่วโมง 36 นาที
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของผู้ตอบ ที่ระบุการอ่านหนังสืออ่านเล่น/พ็อกเก็ตบุค (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ประเภทหนังสือ ภาพรวมค่าร้อยละ
1 หนังสือตลก/ขำขัน/เบาสมอง 57.2
2 หนังสือการ์ตูน/หนังสือภาพ 54.8
3 หนังสือความรู้รอบตัว/ความรู้ทั่วไป 44.5
4 หนังสือนิยาย/เรื่องสั้น 38.2
5 หนังสือท่องเที่ยว 25.9
6 คู่มือเตรียมสอบ 22.8
7 หนังสือสารคดี 20.8
8 หนังสือคอมพิวเตอร์และไอที 20.2
9 หนังสือเกี่ยวกับสุขภาพ 19.6
10 หนังสือเกี่ยวกับการพัฒนาตนเอง 18.1
11 วรรณกรรมสำหรับเยาวชน 15.2
12 หนังสืออ่านนอกเวลาตามที่สถานศึกษากำหนด 14.4
13 หนังสือความรู้เกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางเพศ 11.6
14 หนังสือธรรมะ/คำสอนทางศาสนา 9.1
15 อื่น ๆ เช่น หนังสือเกี่ยวกับภาษา บทความการเมือง เป็นต้น 2.9
*ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-
หนังสือเรียนทุกวัน ชี้รัฐบาลต้องใส่ใจยกพฤติกรรมรักการอ่านของเด็กเป็นวาระแห่งชาติ พัฒนาห้องสมุดประชาชนเป็นแหล่งมั่วสุมเชิงสร้างสรรค์ให้เด็ก
และเยาวชนทั่วประเทศ
ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลสำรวจ เรื่อง พฤติกรรมการอ่านหนังสือของ
เยาวชน : กรณีศึกษาตัวอย่างเยาวชนที่มีอายุ 12-23 ปีทั้งในระบบการศึกษาและนอกระบบการศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร เชียงใหม่ ชลบุรี
ขอนแก่น และ สงขลา” ครั้งนี้ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2549 ถึงวันที่ 5 มีนาคม 2549 โดยมีขนาดตัวอย่างทั้งสิ้น 4,920
ตัวอย่าง
ดร.นพดล กล่าวว่า มีการสอบถามความชอบทำกิจกรรม 9 อย่างเปรียบเทียบกับความชอบอ่านหนังสือของเยาวชน พบว่า มีกิจกรรม 4
อย่างที่เยาวชนชอบทำมากกว่าการอ่านหนังสือ ได้แก่ ร้อยละ 65.5 ชอบดูทีวีมากกว่า ร้อยละ 45.0 ชอบฟังวิทยุมากกว่า ร้อยละ 46.1 ชอบเล่นกีฬา
มากกว่า และร้อยละ 43.3 ชอบโทรศัพท์มากกว่า ประเด็นที่น่าสนใจคือ เยาวชนในเมืองใหญ่จำนวนมากหรือร้อยละ 42.2 ชอบอ่านหนังสือมากกว่า
เดินห้างฯ ร้อยละ 51.9 ชอบอ่านหนังสือมากกว่าดูภาพยนตร์ในโรงหนัง ร้อยละ 52.9 ชอบอ่านหนังสือมากกว่าเล่นดนตรี ร้อยละ 57.6 ชอบอ่าน
หนังสือมากกว่าเล่นเกมออนไลน์ อย่างไรก็ตาม เยาวชนที่ชอบอ่านหนังสือมากกว่าเล่นอินเตอร์เนตมีสัดส่วนไม่แตกต่างจากเยาวชนที่ชอบเล่นอินเตอร์
เนตมากกว่าอ่านหนังสือ ร้อยละ 37.6 ต่อร้อยละ 37.2
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า ที่น่าเป็นห่วงคือ เมื่อสอบถามถึงพฤติกรรมการอ่านหนังสือเรียนของเยาวชนที่กำลังเรียนหนังสือระดับมัธยมต้นถึง
ปริญญาตรีในช่วงเวลาที่หลายสถาบันมีการทดสอบวัดผลการเรียน กลับพบว่ามีเพียงร้อยละ 20 เท่านั้นที่อ่านหนังสือเรียนทุกวันหรือเกือบทุกวัน ซึ่งดู
เหมือนว่า “ความชอบ” ของเยาวชนในการอ่านหนังสือ กับ “พฤติกรรมอ่านจริง” อาจจะสวนทางกัน เมื่อวิเคราะห์เวลาเฉลี่ยพบเด็กเยาวชนในเมือง
ใหญ่อ่านหนังสือเรียนวันละ 1 ชั่วโมง 37 นาที จำนวนชั่วโมงนี้ใกล้เคียงกับจำนวนชั่วโมงของเด็กเยาวชนในหลายประเทศที่เป็นพฤติกรรมอ่านหนังสือ
ช่วงเวลาปกติของพวกเขา
“ผลสำรวจยังพบว่า เด็กเยาวชนไทยในเมืองใหญ่ยังอ่านหนังสืออื่นๆ นอกจากตำราเรียนอีกด้วย ซึ่งพบว่าส่วนใหญ่หรือร้อยละ 57.2 อ่าน
หนังสือตลก ขำขัน ร้อยละ 54.8 อ่านหนังสือการ์ตูน ร้อยละ 44.5 อ่านหนังสือความรู้รอบตัว ร้อยละ 38.2 อ่านนิยาย ร้อยละ 25.9 อ่านหนังสือ
ท่องเที่ยว ร้อยละ 22.8 อ่านหนังสือคู่มือเตรียมสอบ และร้อยละ 20.8 ที่อ่านหนังสือสารคดี” ดร.นพดล กล่าว
“ผลสำรวจยังชี้ให้เห็นความน่าห่วงใยว่า เด็กและเยาวชนในวัย 12-23 ปีมีค่าเฉลี่ยจำนวนชั่วโมงการอ่านน้อยกว่าจำนวนชั่วโมงการอ่าน
เฉลี่ยในกลุ่มประชากรอายุตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไปของประเทศ กล่าวคือจำนวน 1 ชั่วโมง 37 นาที ในกลุ่มเยาวชนอายุ 12-23 ปี ต่อจำนวน 2 ชั่วโมงใน
กลุ่มประชากรทั่วไป ” ดร.นพดล กล่าว
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า ผลกระทบในทางลบต่อคุณภาพเด็กเยาวชนไทยที่ใช้เวลาของพวกเขาหมดไปกับการดูทีวี ฟังวิทยุ และโทรศัพท์
มากกว่าการอ่านหนังสือ จะทำให้พวกเขาเหล่านี้เสี่ยงที่จะเผชิญกับปัญหาหลายประการ
ในการศึกษาเล่าเรียนของพวกเขา เช่น เบื่อโรงเรียน มีปัญหาในการทำการบ้าน มักจะอายหรือขาดความมั่นใจเมื่ออยู่ต่อหน้าผู้อื่น ได้ผล
การเรียนต่ำ และมีเกียรติภูมิแห่งตนต่ำ เป็นต้น การอ่านหนังสือจึงเป็นประตูสำคัญสู่การเรียนรู้และความสำเร็จในการศึกษาและอาชีพการงาน ในฐานะ
ที่เป็นบิดามารดาก็ย่อมจะต้องมั่นใจว่าบุตรหลานของตนสามารถอ่านและเขียนหนังสือได้ดีถูกต้องตามการสะกดและออกเสียง
“รัฐบาลจึงควรยกระดับนโยบายส่งเสริมการอ่านหนังสือของเด็กเยาวชนเป็นวาระแห่งชาติ จัดให้มีกิจกรรมต่างๆ อย่างต่อเนื่อง ด้วยการ
จัดมุมอ่านหนังสือตามสถานที่ราชการและเอกชนอย่างกว้างขวาง ยกระดับห้องสมุดประชาชนระดับท้องถิ่นต่างๆ ทั่วประเทศเป็นแหล่งรวมข้อมูลเชื่อมโยง
ทั่วโลกและเป็นศูนย์กลางการอ่านหนังสือและกิจกรรมสร้างสรรค์อื่นๆ ของเด็กและเยาวชนไทย” ดร.นพดล กล่าว
รายละเอียดโครงการสำรวจ
ระเบียบวิธีการดำเนินโครงการ
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง “พฤติกรรมการอ่านหนังสือของเยาวชน : กรณีศึกษา
ตัวอย่างเยาวชนที่มีอายุ 12-23 ปีทั้งในระบบการศึกษาและนอกระบบการศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร เชียงใหม่ ชลบุรี ขอนแก่น และ สงขลา”
ครั้งนี้ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2549 ถึงวันที่ 5 มีนาคม 2549 โดยมีขนาดตัวอย่างทั้งสิ้น 4,920 ตัวอย่าง
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนที่มีอายุ 12-23 ปีทั้งในระบบการศึกษาและนอกระบบการศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร เชียงใหม่
ชลบุรี ขอนแก่น และสงขลา
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิหลายขั้น (Stratified Multi-stage Sampling) และกำหนดลักษณะ
ของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากรเป้าหมายจากการทำสำมะโน
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 4,920 ตัวอย่าง
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
การสำรวจในครั้งนี้ได้ทำการสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างเยาวชน แบ่งเป็นเพศของเยาวชนที่เป็นชาย คิดเป็นร้อยละ 50.6 และเป็นหญิง
จำนวนร้อยละ 49.4 ในกลุ่มตัวอย่างซึ่งมีอายุ 12-23 ปี มีสัดส่วนแบ่งตามอายุ พบว่า ช่วงอายุ 12-14 ปี คิดเป็นร้อยละ 23.1 ช่วงอายุ
15-17 ปี คิดเป็นร้อยละ 24.6 และช่วงอายุ 18-23 ปี คิดเป็นร้อยละ 52.3 ดังแสดงไว้ในตารางที่ 1 และ 2
ระดับการศึกษาของกลุ่มตัวอย่างพบว่า มีทั้งผู้ที่กำลังศึกษาอยู่คิดเป็นร้อยละ 82.7 และผู้ที่ไม่ได้ศึกษา คิดเป็นร้อยละ17.3 ในส่วนของผู้
ที่กำลังศึกษาอยู่นั้นมีตั้งแต่กำลังศึกษาอยู่ในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นหรือต่ำกว่าจนถึงระดับปริญญาตรี โดยกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่กำลังศึกษาอยู่ในระดับ
มัธยมศึกษาตอนต้น/ต่ำกว่า คิดเป็นร้อยละ 39.4
รองลงมาเป็นผู้ที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรีคิดเป็นร้อยละ28.7 เป็นผู้ที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย/ป.ว.ช.คิดเป็น
ร้อยละ 27.6 และผู้ที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับอนุปริญญา คิดเป็นร้อยละ 4.4
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบ
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของผู้ตอบ ที่ระบุการทำกิจกรรมต่าง ๆ เมื่อเปรียบเทียบกับการอ่านหนังสือ
กิจกรรมต่าง ๆ ภาพรวมค่าร้อยละ
1.การดูโทรทัศน์/วีซีดี กับการอ่านหนังสือ
อ่านหนังสือมากกว่า 14.1
ดูโทรทัศน์/วีซีดีมากกว่า 65.5
พอ ๆ กัน 20.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
2.การฟังวิทยุกับการอ่านหนังสือ
อ่านหนังสือมากกว่า 31.8
ฟังวิทยุมากกว่า 45.0
พอ ๆ กัน 23.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
3.การเล่นอินเทอร์เน็ตกับการอ่านหนังสือ
อ่านหนังสือมากกว่า 37.6
เล่นอินเทอร์เน็ตมากกว่า 37.2
พอ ๆ กัน 25.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
4.การเล่นเกมออนไลน์กับการอ่านหนังสือ
อ่านหนังสือมากกว่า 57.6
เล่นเกมออนไลน์มากกว่า 22.5
พอ ๆ กัน 19.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
5.การเล่นกีฬากับการอ่านหนังสือ
อ่านหนังสือมากกว่า 33.4
เล่นกีฬามากกว่า 46.1
พอ ๆ กัน 20.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
6.การเล่นดนตรีกับการอ่านหนังสือ
อ่านหนังสือมากกว่า 52.9
เล่นดนตรีมากกว่า 24.9
พอ ๆ กัน 22.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 1(ต่อ) แสดงค่าร้อยละของผู้ตอบ ที่ระบุการทำกิจกรรมต่าง ๆ เมื่อเปรียบเทียบกับการอ่านหนังสือ
กิจกรรมต่าง ๆ ภาพรวมค่าร้อยละ
7.เดินห้างสรรพสินค้ากับการอ่านหนังสือ
อ่านหนังสือมากกว่า 42.2
เดินห้างสรรพสินค้ามากกว่า 35.1
พอ ๆ กัน 22.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
8.การคุยโทรศัพท์กับการอ่านหนังสือ
อ่านหนังสือมากกว่า 35.6
คุยโทรศัพท์มากกว่า 43.3
พอ ๆ กัน 21.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
9.การดูภาพยนตร์ในโรงภาพยนตร์กับการอ่านหนังสือ
อ่านหนังสือมากกว่า 51.9
ดูภาพยนตร์มากกว่า 25.3
พอ ๆ กัน 22.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของผู้ตอบ ที่ระบุความถี่ของการอ่านหนังสือเรียน/ตำราเรียนใน 1 สัปดาห์
ลำดับที่ ความถี่ในการอ่าน ภาพรวมค่าร้อยละ
1 อ่านทุกวัน 11.8
2 อ่าน 5-6 วัน/สัปดาห์ 11.0
3 อ่าน 3-4 วัน/สัปดาห์ 22.5
4 อ่าน 1-2 วัน/สัปดาห์ 34.9
5 อ่านน้อยกว่าสัปดาห์ละ 1 ครั้ง 11.3
6 ไม่ได้อ่าน 8.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของผู้ตอบ ที่ระบุเวลาที่ใช้ในการอ่านหนังสือ (เฉพาะวันที่มีการอ่านหนังสือ)
ลำดับที่ เวลาที่ใช้ในการอ่านหนังสือ เวลาที่ใช้ในการอ่านหนังสือโดยเฉลี่ย/วัน
1 อ่านหนังสือเรียน 1 ชั่วโมง 37 นาที
2 อ่านหนังสืออ่านเล่น/พ็อกเก็ตบุค 1 ชั่วโมง 36 นาที
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของผู้ตอบ ที่ระบุการอ่านหนังสืออ่านเล่น/พ็อกเก็ตบุค (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ประเภทหนังสือ ภาพรวมค่าร้อยละ
1 หนังสือตลก/ขำขัน/เบาสมอง 57.2
2 หนังสือการ์ตูน/หนังสือภาพ 54.8
3 หนังสือความรู้รอบตัว/ความรู้ทั่วไป 44.5
4 หนังสือนิยาย/เรื่องสั้น 38.2
5 หนังสือท่องเที่ยว 25.9
6 คู่มือเตรียมสอบ 22.8
7 หนังสือสารคดี 20.8
8 หนังสือคอมพิวเตอร์และไอที 20.2
9 หนังสือเกี่ยวกับสุขภาพ 19.6
10 หนังสือเกี่ยวกับการพัฒนาตนเอง 18.1
11 วรรณกรรมสำหรับเยาวชน 15.2
12 หนังสืออ่านนอกเวลาตามที่สถานศึกษากำหนด 14.4
13 หนังสือความรู้เกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางเพศ 11.6
14 หนังสือธรรมะ/คำสอนทางศาสนา 9.1
15 อื่น ๆ เช่น หนังสือเกี่ยวกับภาษา บทความการเมือง เป็นต้น 2.9
*ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-