เอแบคโพลล์: แหล่งเงินที่พึ่งยามยากของประชาชนในช่วงสภาวะเศรษฐกิจถดถอย และความเห็นต่อการเคลื่อนไหวชุมนุมของกลุ่ม นปช.

ข่าวผลสำรวจ Monday April 27, 2009 07:33 —เอแบคโพลล์

ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเอแบคนวัตกรรมทางสังคม การจัดการและธุรกิจ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ร่วมกับ อาจารย์วีร ศักดิ์ อนุสนธิวงษ์ ผู้ช่วยคณบดีคณะนิติศาสตร์ เอแบค เปิดเผยผลสำรวจ “เอแบคเรียลไทม์โพลล์ (ABAC Real-Time Survey)” ที่เป็นการสำรวจ จากครัวเรือนที่สุ่มตัวอย่างได้ทั่วประเทศตามหลักสถิติก่อน จากนั้นได้ติดตั้งโทรศัพท์ให้กับครัวเรือนที่เป็นตัวอย่างเพื่อทำการสัมภาษณ์ได้อย่างรวดเร็วฉับ ไวภายในระยะเวลาประมาณ 24 ชั่วโมง จากนั้นประมวลผลด้วยระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ โดยครั้งนี้ได้ทำการสำรวจเรื่อง แหล่งเงินที่พึ่งยาม ยากของประชาชนในช่วงสภาวะเศรษฐกิจถดถอย และความเห็นต่อการเคลื่อนไหวชุมนุมของกลุ่ม นปช. กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนใน 17 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร เชียงใหม่ อุตรดิตถ์ สุโขทัย เพชรบูรณ์ ปทุมธานี ชลบุรี ฉะเชิงเทรา กาญจนบุรี เพชรบุรี หนองบัวลำภู สกลนคร ศรีสะเกษ ขอนแก่น พัทลุง ระนอง และสุราษฎร์ธานี จำนวนทั้งสิ้น 1,346 ครัวเรือน ในวันที่ 25 เมษายน 2552 พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่หรือ ประมาณร้อยละ 90 ได้ติดตามข่าวสารผ่านสื่อมวลชนเป็นประจำทุกสัปดาห์

เมื่อถามถึงการออมเงินของประชาชนเปรียบเทียบในช่วงสามเดือนแรกของปีกับในช่วงเดือนเมษายน พบว่า ประชาชนจำนวนมากหรือร้อย ละ 44.8 ไม่มีการเก็บออม ในขณะที่ร้อยละ 27.0 การออมลดลง มีเพียงร้อยละ 19.7 มีการออมเท่าเดิมและร้อยละ 8.5 เท่านั้นที่มีการเก็บออม เงินมากขึ้น

อย่างไรก็ตาม ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 62.7 ของคนที่เก็บออมเงินระบุว่าตั้งใจจะเก็บออมเพื่อทุนการศึกษาของบุตรหลาน/ ตนเอง รองลง มาคือร้อยละ 54.4 เก็บออมเพื่อการรักษาพยาบาล ร้อยละ 45.7 เก็บออมไว้ตอนเกษียณอายุ วัยชรา ร้อยละ 35.2 เก็บออมเพื่อการลงทุน ร้อยละ 34.0 เก็บออมเพื่อการแต่งกาย ร้อยละ 19.3 เก็บออมเพื่อการท่องเที่ยว ร้อยละ 18.5 เก็บออมเพื่อซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้า และร้อยละ 14.8 เก็บออมเพื่อซื้อที่อยู่อาศัย เช่น บ้าน คอนโด ในขณะที่ร้อยละ 11.9 เก็บออมเพื่อจะซื้อรถยนต์ ตามลำดับ

ที่น่าเป็นห่วงคือ ประชาชนเกินครึ่งหรือร้อยละ 52.4 เงินขาดมือในช่วงเดือนเมษายนนี้เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนมกราคม ถึง เดือน มีนาคมที่ผ่านมา ในขณะที่มีเพียงร้อยละ 7.0 มีรายรับมากกว่ารายจ่าย และร้อยละ 40.6 ระบุรายรับกับรายจ่ายพอๆ กัน และเมื่อถามถึงแหล่งเงินที่ พึ่งยามยากในช่วงสภาวะเศรษฐกิจปัจจุบัน พบว่า ร้อยละ 24.4 พึ่งกองทุนหมู่บ้าน สหกรณ์ ร้อยละ 23.9 พึ่งเงินกู้นอกระบบ ร้อยละ 17.1 พึ่งสินเชื่อ จากธนาคาร ร้อยละ 14.6 พึ่งการจำนำทรัพย์สิน ร้อยละ 9.6 พึ่งการจำนองทรัพย์สิน ในขณะที่ร้อยละ 5.6 พึ่งสถาบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคาร และ ร้อยละ 5.0 พึ่งบัตรเครดิต ตามลำดับ

เมื่อถามถึง ปัญหาสำคัญที่ต้องการให้รัฐบาลมุ่งเน้นแก้ไขก่อน พบว่า ร้อยละ 47.9 ระบุให้รัฐบาลมุ่งเน้นแก้ปัญหาปากท้องของประชาชน ก่อน ร้อยละ 42.9 ให้แก้ปัญหาการเมือง ความแตกแยกของคนในชาติก่อน และร้อยละ 9.2 ให้แก้ปัญหาอาชญากรรม ปัญหายาเสพติด และปัญหาสังคม ก่อน ตามลำดับ

อาจารย์วีรศักดิ์ อนุสนธิวงษ์ ผู้ช่วยคณบดีคณะนิติศาสตร์ เอแบค กล่าวว่า ผลวิจัยครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่าแหล่งเงินที่ประชาชนพึ่งในยามยากที่น่า เป็นห่วงคือ แหล่งเงินกู้นอกระบบ ที่มักมีปัญหาเพราะไม่มีหน่วยงานรัฐคอยตรวจสอบอย่างเพียงพอจนก่อให้เกิดการละเมิดกฎหมาย เช่น การเรียกเก็บ ดอกเบี้ยเกินกฎหมายกำหนด คดีอาชญากรรม การติดตามทำร้ายร่างกายเพื่อการทวงหนี้ ดังนั้นประชาชนควรทราบสิทธิเบื้องต้นตามกฎหมายว่าปัจจุบัน กฎหมายให้ความคุ้มครองผู้กู้มากขึ้น เช่น ผู้ให้กู้จะเรียกดอกเบี้ยเกินกว่าร้อยละ 15 เปอร์เซ็นต์ต่อปีหรือ 1.25 เปอร์เซ็นต์ต่อเดือน เป็นต้น การทราบ ถึงสิทธิทางกฎหมายของประชาชนในการกู้ยืมเงินจากแหล่งเงินต่างๆ จึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งในช่วงสภาวะเศรษฐกิจที่กำลังถดถอยเช่นปัจจุบัน

ดร.นพดล กล่าวต่อว่า เมื่อสอบถามประเด็นทางการเมืองถึง การติดตามข่าวการชุมนุมของกลุ่ม นปช. พบว่า ร้อยละ 23.8 ติดตาม อย่างใกล้ชิด ร้อยละ 64.6 ติดตามบ้าง และร้อยละ 11.6 ไม่ได้ติดตามเลย อย่างไรก็ตาม ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 68.9 ยินดีสนับสนุนการ ชุมนุมของกลุ่ม นปช. ถ้ามีการชุมนุมเรียกร้องรัฐบาลด้วยความสงบไม่ก่อความเดือดร้อนแก่ผู้อื่น ในขณะที่ร้อยละ 31.1 ไม่สนับสนุนการชุมนุมของกลุ่ม นปช.

ที่น่าพิจารณาคือ ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 51.9 ต้องการให้รัฐบาลดำเนินการตามข้อเรียกร้อง แต่มีเงื่อนไขว่า ต้องเป็นไปตาม กฎหมายบ้านเมือง ไม่ทำให้ประเทศชาติวุ่นวายเสียหาย ไม่เอื้อประโยชน์ต่อคนใดหรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ในขณะที่ร้อยละ 17.5 ต้องการให้รัฐบาลดำเนิน การตามข้อเรียกร้องโดยไม่มีเงื่อนไข และร้อยละ 30.6 ระบุรัฐบาลไม่ต้องดำเนินการตามข้อเรียกร้องใดๆ

ผอ.ศูนย์วิจัยเอแบคฯ กล่าวว่า การเคลื่อนไหวเพื่อชุมนุมของกลุ่ม นปช. และประชาชนกลุ่มอื่นๆ จะได้รับการสนับสนุนจากสาธารณชน อย่างแน่นอน ถ้าเป็นการชุมนุมอย่างสงบ สร้างสรรค์ ไม่สร้างความเดือดร้อนแก่ผู้อื่น ในขณะที่รัฐบาลต้องรับฟังดำเนินการตามตัวบทกฎหมายบ้านเมือง และที่น่าพิจารณาคือ ผลวิจัยก่อนหน้านี้พบว่าประชาชนส่วนใหญ่ต้องการให้มีการพิจารณาออกกฎหมายว่าด้วยการชุมนุมของประชาชนขึ้นมาโดยเฉพาะ เพื่อ ให้การชุมนุมอยู่ในที่ที่จำกัด มีกองกำลังควบคุมฝูงชนขึ้นมาดูแลความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนทั้งกลุ่มผู้ชุมนุมและผู้อื่น และข้อเสนอแนะที่ สำคัญคือ ห้ามกลุ่มประชาชนในบริเวณที่ชุมนุมดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์โดยเด็ดขาด

“เมื่อกลุ่ม นปช. ชุมนุมกันด้วยความสงบ สร้างสรรค์ มีเหตุมีผล คนไทยโดยส่วนใหญ่ก็ยอมรับได้และพร้อมสนับสนุน ดังนั้น รัฐบาลและกลุ่ม การเมืองต่างๆ น่าจะมีความรวดเร็วฉับไวในการตอบสนองข้อเรียกร้องต่างๆ จัดตั้งคณะกรรมการร่วมอิสระศึกษาข้อเรียกร้องเหล่านั้น เพื่อป้องกันมิให้ การชุมนุมด้วยเหตุผลเปลี่ยนไปสู่การใช้อารมณ์ความรู้สึกที่รุนแรงเกินกว่าจะควบคุมดูแลได้” ดร.นพดล กล่าว

ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง

จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า

ตัวอย่าง ร้อยละ 52.6 เป็นหญิง

ร้อยละ 47.4 เป็นชาย

ตัวอย่าง ร้อยละ 4.9 อายุต่ำกว่า 20 ปี

ร้อยละ 19.0 อายุระหว่าง 20 — 29 ปี

ร้อยละ 22.7 อายุระหว่าง 30 — 39 ปี

ร้อยละ 25.1 อายุระหว่าง 40 — 49 ปี

และร้อยละ 28.3 อายุ 50 ปีขึ้นไป

ตัวอย่าง ร้อยละ 79.2 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี

รองลงมาคือร้อยละ 20.3 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี

และร้อยละ 4.5 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี

ตัวอย่าง ร้อยละ 30.1 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป

ร้อยละ 25.8 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว

ร้อยละ 17.0 ระบุอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน

ร้อยละ 10.2 ระบุข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ

ร้อยละ 7.4 เป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ

ร้อยละ 5.6 เป็นนักเรียน/นักศึกษา

ในขณะที่ร้อยละ 3.9 ระบุว่างงาน/ไม่ประกอบอาชีพ

โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้

ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ การติดตามข่าวสารผ่านสื่อมวลชน
ลำดับที่          การติดตามข่าวสารผ่านสื่อมวลชน             ค่าร้อยละ
1          ทุกวัน/เกือบทุกวัน                              59.8
2          3 — 4 วันต่อสัปดาห์                            17.3
3          1 — 2 วันต่อสัปดาห์                            13.6
4          ติดตามเป็นบางสัปดาห์/ไม่ได้ติดตามเลย               9.3
          รวมทั้งสิ้น                                    100.0

ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการออมเงินเมื่อเปรียบเทียบในช่วงเดือนมกราคม-เดือนมีนาคม
ลำดับที่          การออมเงินเมื่อเปรียบเทียบในช่วงเดือนมกราคม ถึง เดือนมีนาคม         ค่าร้อยละ
1          เพิ่มขึ้น                                                             8.5
2          เท่าเดิม                                                           19.7
3          ลดลง                                                             27.0
4          ไม่มีการเก็บออม                                                     44.8
          รวมทั้งสิ้น                                                          100.0

ตารางที่ 3  แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการใช้เงินออมเพื่อการใช้จ่ายในด้านต่าง ๆ  (กรณีที่มีการออมเงินและตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่          การใช้เงินออมเพื่อการใช้จ่ายในด้านต่าง ๆ          ค่าร้อยละ
1          ทุนการศึกษาของบุตรหลาน/ตนเอง                      62.7
2          การรักษาพยาบาล                                  54.4
3          ตอนเกษียณอายุ วัยชรา                              45.7
4          การลงทุน                                        35.2
5          การแต่งกาย                                      34.0
6          การท่องเที่ยว                                     19.3
7          เครื่องใช้ไฟฟ้า                                    18.5
8          ซื้อที่อยู่อาศัย เช่น บ้าน คอนโด                        14.8
9          ความบันเทิง                                      13.9
10          ซื้อรถยนต์                                       11.9
11          สลากกินแบ่งรัฐบาล/หวย                             9.5

ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ การเปรียบเทียบรายจ่ายในช่วงเดือนมกราคม ถึง เดือนมีนาคม
ลำดับที่          การเปรียบเทียบรายจ่ายในช่วงเดือนมกราคม ถึง เดือนมีนาคม          ค่าร้อยละ
1          เงินขาดมือ (มีรายจ่ายมากกว่ารายรับ)                                52.4
2          มีรายรับมากกว่ารายจ่าย                                            7.0
3          รายรับกับรายจ่ายพอ ๆ กัน                                         40.6
          รวมทั้งสิ้น                                                      100.0

ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ แหล่งเงินที่จะหาในช่วงสภาวะเศรษฐกิจปัจจุบัน (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่          แหล่งเงินที่จะหาในช่วงสภาวะเศรษฐกิจปัจจุบัน        ค่าร้อยละ
1          กองทุนหมู่บ้าน /สหกรณ์                              24.4
2          เงินกู้นอกระบบ                                    23.9
3          สินเชื่อจากธนาคาร                                 17.1
4          จำนำทรัพย์สิน                                     14.6
5          จำนองทรัพย์สิน                                     9.6
6          สถาบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคาร                          5.6
7          บัตรเครดิต                                        5.0

ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุปัญหาที่รัฐบาลควรมุ่งเน้นแก้ไขก่อน
ลำดับที่          ปัญหาที่รัฐบาลควรมุ่งเน้นแก้ไขก่อน                ค่าร้อยละ
1          แก้ปัญหาปากท้องของประชาชนก่อน                      47.9
2          แก้ปัญหาการเมือง ความแตกแยกของคนในชาติก่อน          42.9
3          แก้ปัญหาอาชญากรรม ปัญหายาเสพติด ปัญหาสังคมก่อน         9.2
          รวมทั้งสิ้น                                        100.0

ความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่าง +- ร้อยละ 5

ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ การติดตามข่าวการชุมนุมของ กลุ่ม นปช.
ลำดับที่          การติดตามข่าวการชุมนุมของกลุ่ม นปช.           ค่าร้อยละ
1          ติดตามอย่างใกล้ชิด                                23.8
2          ติดตามบ้าง                                      64.6
3          ไม่ติดตามเลย                                    11.6
          รวมทั้งสิ้น                                       100.0

ความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่าง +- ร้อยละ 5

ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความพร้อมสนับสนุนการชุมนุมของกลุ่ม นปช. ถ้ามีการชุมนุมเรียกร้องรัฐบาลด้วย
ความสงบไม่ก่อความเดือดร้อนแก่ผู้อื่น
ลำดับที่          การสนับสนุน               ค่าร้อยละ
1          ยินดีสนับสนุน                     68.9
2          ไม่สนับสนุน                      31.1
          รวมทั้งสิ้น                       100.0

ความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่าง +- ร้อยละ 5

ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความต้องการให้รัฐบาลรับฟังและพิจารณาดำเนินการตามข้อเรียกร้องของกลุ่ม นปช.
ลำดับที่          ความต้องการ                                                            ค่าร้อยละ
1          ต้องการให้รัฐบาลดำเนินการตามข้อเรียกร้องโดยไม่มีเงื่อนไข                              17.5
2          ต้องการให้รัฐบาลดำเนินการตามข้อเรียกร้อง แต่มีเงื่อนไขว่า ต้องเป็นไปตามกฎหมายบ้านเมือง
           ไม่ทำให้บ้านเมืองวุ่นวาย ไม่เอื้อประโยชน์ต่อคนใดหรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง                        51.9
3          ไม่ต้องดำเนินการตามข้อเรียกร้องใดๆ                                               30.6
          รวมทั้งสิ้น                                                                    100.0

ความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่าง +- ร้อยละ 5

--เอแบคโพลล์--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ