เอแบคโพลล์: ความสนใจและการรับรู้ของสาธารณชนต่อโครงการต้นกล้าอาชีพของรัฐบาล และทางออกแก้ไขปัญหาของประเทศ

ข่าวผลสำรวจ Monday May 4, 2009 07:39 —เอแบคโพลล์

ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเอแบค นวัตกรรมทางสังคมการจัดการและธุรกิจ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผล สำรวจ “เอแบคเรียลไทม์โพลล์ (ABAC Real-Time Survey)” ที่เป็นการสำรวจจากครัวเรือนที่สุ่มตัวอย่างได้ทั่วประเทศตามหลักสถิติด้วยการ เลือกตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น (Stratified Multi-stage Sampling) จากนั้นได้ติดตั้งโทรศัพท์ให้กับครัวเรือนที่เป็นตัวอย่างเพื่อ ทำการสัมภาษณ์ได้อย่างรวดเร็วฉับไวภายในระยะเวลาประมาณ 8 ชั่วโมง และประมวลผลด้วยระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบเรียลไทม์ โดยครั้งนี้ได้ ทำการสำรวจเรื่อง ความสนใจและการรับรู้ของสาธารณชนต่อโครงการต้นกล้าอาชีพของรัฐบาลและทางออกแก้ไขปัญหาของประเทศ กรณีศึกษาตัวอย่าง ประชาชนใน 17 จังหวัดของประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร เชียงใหม่ อุตรดิตถ์ สุโขทัย เพชรบูรณ์ ปทุมธานี ชลบุรี ฉะเชิงเทรา กาญจนบุรี เพชรบุรี หนองบัวลำภู สกลนคร ศรีสะเกษ ขอนแก่น พัทลุง ระนอง และสุราษฎร์ธานี จำนวนทั้งสิ้น 1,310 ครัวเรือน ในวันที่ 2 พฤษภาคม 2552 พบว่า

ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 70.4 สนใจโครงการต้นกล้าอาชีพของรัฐบาล ในขณะที่ร้อยละ 29.6 ไม่สนใจ อย่างไรก็ตาม ส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 72.8 ไม่ทราบแหล่งข้อมูลเกี่ยวกับ โครงการต้นกล้าอาชีพที่รัฐบาลกำลังทำอยู่ขณะนี้ มีเพียงร้อยละ 27.2 ที่ทราบ ยิ่งไปกว่านั้น ส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 74.8 ระบุว่า ไม่มีการประชาสัมพันธ์โครงการต้นกล้าอาชีพในหมู่บ้านหรือชุมชนที่ตนเองพักอาศัยอยู่เลย มีเพียงร้อยละ 6.5 เท่านั้นที่ระบุ ว่ามีการประชาสัมพันธ์เพียงพอแล้ว และร้อยละ 18.7 ที่ระบุว่ามีแต่ไม่เพียงพอ

ที่น่าเป็นห่วงคือ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 87.2 ระบุว่าโครงการต้นกล้าอาชีพของรัฐบาลมีปัญหา เช่น การประชาสัมพันธ์ไม่ทั่วถึง ไม่สะดวก ในการเดินทางไปติดต่อ ลงทะเบียนไว้แต่ไม่ได้เรียน ไม่มีการสอนความรู้ใหม่ๆ การกำหนดคุณสมบัติผู้เข้ารับการอบรมไม่ชัดเจน และหลักสูตรที่ต้องการ ไม่มีเปิดให้ประชาชน เป็นต้น ในขณะที่เพียงร้อยละ 12.8 เท่านั้นที่ระบุว่าไม่พบปัญหา

นอกจากนี้ ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 69.2 ระบุ การศึกษาเป็นธุรกิจหรืออุตสาหกรรมที่รัฐบาลควรให้การส่งเสริมหรือกระตุ้นใน สภาวะเศรษฐกิจปัจจุบันนี้ รองลงมาคือ ร้อยละ 68.4 ระบุเป็นด้านสุขภาพ ร้อยละ 62.7 ระบุเป็นด้านอาหาร ร้อยละ 61.7 ระบุเป็นการท่องเที่ยว ร้อยละ 61.7 เช่นกันระบุเป็นธุรกิจนำเข้าส่งออก ร้อยละ 54.8 ระบุเป็นเรื่องที่อยู่อาศัย ร้อยละ 50.4 ระบุเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้า และร้อยละ 48.8 ระบุเป็นอุตสาหกรรมรถยนต์ ตามลำดับ

ที่น่าพิจารณาคือ เมื่อถามถึงความเห็นต่อทางออกแก้ไขปัญหาของประเทศในขณะนี้ พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 83.9 เห็นด้วยที่จะให้การ เมืองนิ่ง สังคมไม่วุ่นวาย แต่ร้อยละ 16.1 ไม่เห็นด้วย รองลงมาคือ ร้อยละ 81.1 เห็นด้วยที่จะให้โอกาสรัฐบาลทำงานต่อไปอีกระยะหนึ่ง แต่ร้อย ละ 18.9 ไม่เห็นด้วย นอกจากนี้ ร้อยละ 69.2 เห็นด้วยที่จะให้มีการนิรโทษกรรมคดีความ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับคดีอาญา แต่ร้อยละ 30.8 ไม่เห็นด้วย

ดร.นพดล กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ ร้อยละ 63.3 เห็นด้วยให้มีการปรับคณะรัฐมนตรี แต่ร้อยละ 36.7 ไม่เห็นด้วย ที่สำคัญและเป็น ประเด็นอ่อนไหวต่อเสถียรภาพทางการเมืองและสังคมขณะนี้คือ เกินครึ่งหรือร้อยละ 56.1 เห็นด้วยกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ แต่จำนวนมากเช่นกัน คือ ร้อยละ 43.9 ไม่เห็นด้วย นอกจากนี้ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 60.1 ไม่เห็นด้วยกับการยุบสภาขณะนี้ และร้อยละ 70.6 ไม่เห็นด้วยต่อแนวคิดให้นายก รัฐมนตรีลาออก

ผอ.ศูนย์วิจัยเอแบคฯ กล่าวว่า มีความชัดเจนในผลสำรวจล่าสุดว่า สาธารณชนส่วนใหญ่อยากให้การเมืองนิ่ง สังคมไม่วุ่นวาย เป็น ทางออกแก้ปัญหาประเทศขณะนี้ และให้โอกาสรัฐบาลทำงานต่อไประยะหนึ่งก่อน อย่างไรก็ตามประเด็นที่ละเอียดอ่อนและได้รับการยอมรับจากประชาชน ส่วนใหญ่คือ การนิรโทษกรรมคดีความทางการเมืองที่ไม่เกี่ยวกับคดีอาญา แต่ถ้าจะแก้ไขรัฐธรรมนูญในเวลานี้อาจเพลี่ยงพล้ำทำให้บ้านเมืองวุ่นวายขึ้นมา อีกได้ แต่ที่เห็นชัดเจนคือ รัฐบาลและกลไกของรัฐที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของประเทศน่าจะนำข้อมูลที่ค้นพบครั้งนี้ประกอบการพิจารณา ปรับปรุงแก้ไขมาตรการต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งโครงการต้นกล้าอาชีพที่มีปัญหามากหลายประเด็นที่สะท้อนให้เห็นว่า รัฐบาลโดยพรรคประชาธิปัตย์อาจ ยังไม่มีประสิทธิภาพด้านการบริหารจัดการมากเพียงพอเมื่อเทียบกับการบริหารจัดการกับรัฐบาลพรรคไทยรักไทย ที่เห็นชัดเจนคือ โครงการเช็คช่วย ชาติ และล่าสุดคือโครงการต้นกล้าอาชีพ ส่วนที่ดูเหมือนจะมีปัญหาน้อยสุดคือ เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุและค่าตอบแทนของ อสม. ที่ใช้ระบบช่องทางการบริหาร จัดการที่มีอยู่เดิมของรัฐบาลชุดก่อนมากกว่า ผลที่อาจตามมาคือ ความไม่เชื่อมั่นศรัทธาไม่สนับสนุนการบริหารจัดการของสาธารณชนต่อรัฐบาลปัจจุบันอาจ เกิดขึ้นได้ในอนาคตอันใกล้

จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า

ตัวอย่าง ร้อยละ 54.5 เป็นหญิง

ร้อยละ 45.5 เป็นชาย

ตัวอย่าง ร้อยละ 6.5อายุต่ำกว่า 20 ปี

ร้อยละ 22.6 อายุระหว่าง 20 — 29 ปี

ร้อยละ 22.6 อายุระหว่าง 30 — 39 ปี

ร้อยละ 24.6 อายุระหว่าง 40 — 49 ปี

และ ร้อยละ 23.7 อายุ 50 ปีขึ้นไป

ตัวอย่าง ร้อยละ 75.1 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี

รองลงมาคือร้อยละ 22.5 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี

และร้อยละ 2.4 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี

ร้อยละ 32.1 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป

ตัวอย่าง ร้อยละ 23.6 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว

ร้อยละ 17.1 ระบุอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน

ร้อยละ 10.5 ระบุข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ

ร้อยละ 7.6 เป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ

ร้อยละ 5.1 เป็นนักเรียน/นักศึกษา

ในขณะที่ร้อยละ 4.0 ระบุว่างงาน/ไม่ประกอบอาชีพ

ตัวอย่าง ร้อยละ 34.0 ระบุมีรายได้ส่วนตัวไม่เกิน 5,000 บาทต่อเดือน

ร้อยละ 25.0 ระบุมีรายได้ 5,001 — 10,000 บาท

ร้อยละ 11.8 ระบุมีรายได้ 10,001—15,000 บาท

ร้อยละ 4.8 ระบุมีรายได้ 15,001—20,000 บาท

ร้อยละ 4.3 ระบุมีรายได้ส่วนตัวมากกว่า 20,000 บาทต่อเดือน

และร้อยละ 20.1 ไม่ระบุรายได้ส่วนตัวต่อเดือน

โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้

ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความสนใจโครงการต้นกล้าอาชีพของรัฐบาล
ลำดับที่          ความสนใจ          ค่าร้อยละ
1          สนใจ                    70.4
2          ไม่สนใจ                  29.6
          รวมทั้งสิ้น                 100.0

ตารางที่ 2  แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการรับทราบแหล่งข้อมูลเกี่ยวกับ โครงการต้นกล้าอาชีพ สร้างรายได้ ที่

รัฐบาลกำลังทำอยู่ขณะนี้

ลำดับที่          การรับทราบแหล่งข้อมูลเกี่ยวกับ โครงการต้นกล้าอาชีพ สร้างรายได้ที่รัฐบาลกำลังทำอยู่ขณะนี้   ค่าร้อยละ
1          ทราบ                                                                         27.2
2          ไม่ทราบ                                                                       72.8
          รวมทั้งสิ้น                                                                      100.0

ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความพอเพียงในการประชาสัมพันธ์โครงการต้นกล้าอาชีพ สร้างรายได้ในหมู่บ้าน/ชุมชน
ลำดับที่          ความพอเพียงในการประชาสัมพันธ์โครงการต้นกล้าอาชีพ สร้างรายได้ในหมู่บ้านหรือชุมชน      ค่าร้อยละ
1          มีพอเพียงแล้ว                                                                   6.5
2          มีแต่ไม่เพียงพอ                                                                 18.7
3          ไม่มีเลย                                                                      74.8
          รวมทั้งสิ้น                                                                     100.0

ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ การพบปัญหาเกี่ยวกับโครงการต้นกล้าอาชีพของรัฐบาล
ลำดับที่          การพบปัญหาเกี่ยวกับโครงการต้นกล้าอาชีพของรัฐบาล                               ค่าร้อยละ
1          พบปัญหา  อาทิ.......การประชาสัมพัน์ไม่ทั่วถึง/ไม่สะดวกในการเดินทางไปติดต่อ/ละทะเบียน

ไว้แต่ไม่ได้เรียน/ไม่มีการสอนความรู้ใหม่ๆ/การกำหนดคุณสมบัติผู้ที่

                             จะเข้าอบรมไม่ชัดเจน/หลักสูตรที่ต้องการเรียนไม่มีเปิดสอน  เป็นต้น        87.2
2          ไม่พบปัญหา                                                                    12.8
          รวมทั้งสิ้น                                                                     100.0

ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุธุรกิจ/อุตสาหกรรมที่รัฐบาลควรให้การส่งเสริม/กระตุ้นในสภาวะเศรษฐกิจปัจจุบัน
ลำดับที่          ธุรกิจ/อุตสาหกรรม          ค่าร้อยละ
1          การศึกษา                      69.2
2          ด้านสุขภาพ                     68.4
3          ด้านอาหาร                     62.7
4          การท่องเที่ยว                   61.7
5          ธุรกิจนำเข้า-ส่งออก              61.7
6          ที่อยู่อาศัย                      54.8
7          เครื่องใช้ไฟฟ้า                  50.4
8          รถยนต์                        48.8

ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ ระบุทางออกแก้ไขปัญหาของประเทศ
ลำดับที่          ทางออกแก้ไขปัญหาประเทศ            เห็นด้วย       ไม่เห็นด้วย
1          การเมืองนิ่ง สังคมไม่วุ่นวาย                83.9          16.1
2          ให้โอกาสรัฐบาลทำงานต่อไปอีกระยะ          81.1          18.9
3          นิรโทษกรรมคดีความไม่เกี่ยวคดีอาญา          69.2          30.8
4          ปรับคณะรัฐมนตรี                         63.3          36.7
5          แก้ไขรัฐธรรมนูญ                         56.1          43.9
6          ยุบสภา                                39.9          60.1
7          นายกรัฐมนตรีลาออก                      29.4          70.6

--เอแบคโพลล์--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ