ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเอแบคนวัตกรรมทางสังคม การจัดการและธุรกิจ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผล สำรวจ “เอแบคเรียลไทม์โพลล์ (ABAC Real-Time Survey)” ที่เป็นการสำรวจจากครัวเรือนที่สุ่มตัวอย่างได้ทั่วประเทศตามหลักสถิติก่อน จากนั้น ได้ติดตั้งโทรศัพท์ให้กับครัวเรือนที่เป็นตัวอย่างเพื่อทำการสัมภาษณ์ได้อย่างรวดเร็วฉับไวภายในระยะเวลาประมาณ 24 ชั่วโมง จากนั้นประมวลผลด้วย ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ โดยครั้งนี้ได้ทำการสำรวจเรื่อง ไลฟ์สไตล์ของประชาชนในการเลือกซื้อและใช้สินค้าในช่วงสภาวะเศรษฐกิจถดถอย กรณี ศึกษาตัวอย่างประชาชนใน 17 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร เชียงใหม่ อุตรดิตถ์ สุโขทัย เพชรบูรณ์ ปทุมธานี ชลบุรี ฉะเชิงเทรา กาญจนบุรี เพชรบุรี หนองบัวลำภู สกลนคร ศรีสะเกษ ขอนแก่น พัทลุง ระนอง และสุราษฎร์ธานี จำนวนทั้งสิ้น 1,362 ครัวเรือน ในวันที่ 6 พฤษภาคม 2552 พบว่า
เมื่อสอบถามถึงปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกซื้อสินค้า/บริการในสภาวะเศรษฐกิจเช่นปัจจุบันนี้นั้น พบว่าตัวอย่างร้อยละ 89.0 ระบุเลือกซื้อโดย คำนึงถึงคุณภาพของสินค้าเป็นสำคัญ รองลงมาคือร้อยละ 82.4 ระบุเลือกซื้อโดยคำนึงถึงราคา ร้อยละ 64.8 ระบุความสะดวกในการเลือกซื้อ/ใช้ บริการ ร้อยละ 64.1 ระบุมนุษยสัมพัน์ของพนักงานขาย ร้อยละ 55.9 ระบุการบริการหลังการขาย นอกจากนี้ผลการสำรวจในครั้งนี้พบว่ายังมีปัจจัย อื่นๆ ที่มีผลในการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้า/บริการของประชาชน อาทิ โปรโมชั่นส่วนลด/ของแถม ความน่าเชื่อถือของยี่ห้อสินค้า (แบรนด์) ภาพลักษณ์ ของบริษัท และความมีชื่อเสียงของ แบรนด์ ยังคงมีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าและบริการในสายตาผู้บริโภค
เมื่อได้สอบถามถึงรูปแบบของการใช้สินค้าและการดำเนินชีวิตช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา พบว่าส่วนใหญ่หรือ ร้อยละ 82.8 พยายามรักษาข้าว ของเครื่องใช้ให้คงสภาพใช้งานได้ยาวนาน ในขณะที่ส่วนใหญ่เช่นกันหรือร้อยละ 76.1 ระบุว่าตนเองมุ่งทำงานเพื่อให้พออยู่พอกิน และมีเงินเก็บไว้ใช้ ในยามจำเป็น ร้อยละ 70.9 ระบุว่า มีการวางแผนดำเนินการใช้จ่ายและหารายได้อย่างเป็นขั้นตอนและรัดกุม และร้อยละ 66.3 ระบุว่ามีการทำ งานหารายได้พิเศษเพิ่ม
ที่น่าสนใจคือ หลังเปรียบเทียบการซื้อหวยรัฐบาลหรือหวยใต้ดิน พบสัดส่วนของคนที่ซื้อลดน้อยลงจากร้อยละ 54.5 ในเดือนมีนาคม มาอยู่ที่ ร้อยละ 43.5 ในการสำรวจล่าสุด
ดร.นพดล กล่าวว่า การวิจัยครั้งนี้พบความเปลี่ยนแปลงในไลฟ์สไตล์หรือรูปแบบการใช้ชีวิตของประชาชนช่วงสภาวะเศรษฐกิจ สังคมและ การเมืองปัจจุบัน โดยประชาชนมีความเคร่งครัดในการใช้ชีวิตแบบพอเพียงมากขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดือนมีนาคมที่ผ่านมามีสัดส่วนของผู้ที่ใช้ชีวิต แบบพอเพียงค่อนข้างเคร่งครัด-เคร่งครัดอย่างแท้จริงคิดเป็นร้อยละ 46.5 ในขณะที่การสำรวจในครั้งนี้พบว่ามีผู้ที่ใช้ชีวิตแบบพอเพียงค่อนข้างเคร่ง ครัด-เคร่งครัดแท้จริงอยู่ที่ร้อยละ 67.6 ซึ่งเพิ่มขึ้นกว่าร้อยละยี่สิบ
แต่ที่น่าเป็นห่วงอย่างยิ่งคือ ในช่วงสภาวะเศรษฐกิจถดถอย และการเมืองสังคมวุ่นวายเช่นปัจจุบัน ผลวิจัยพบสัดส่วนของคนที่มีทัศนคติว่า การทุจริตคอรัปชั่นเป็นเรื่องปกติธรรมดาในการทำธุรกิจเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 67.4 ในการสำรวจปี 2551 มาอยู่ที่ร้อยละ 74.7 ในการสำรวจครั้งล่า สุด ยิ่งไปกว่านั้น กลุ่มอาชีพพนักงานเอกชน พ่อค้าผู้ประกอบการธุรกิจและกลุ่มข้าราชการ เป็นกลุ่มที่มีสัดส่วนของคนที่มีทัศนคติเห็นว่าการทุจริตคอรัปชั่น เป็นเรื่องปกติธรรมดาสูงสุด และกำลังมีอย่างแพร่ระบาดมากขึ้นในกลุ่มเกษตรกรและรับจ้างใช้แรงงานทั่วไป
ผอ.ศูนย์วิจัยเอแบคฯ กล่าวว่า ในสภาวะเศรษฐกิจถดถอย การเมืองและสังคมกำลังอยู่ช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อขณะนี้ ประชาชนส่วนใหญ่มีการ ปรับเปลี่ยนรูปแบบการใช้ชีวิตในการจับจ่ายใช้สอย โดยคำนึงถึงคุณภาพสินค้า ราคา และการใช้งานได้อย่างคงทนยาวนาน มีการประยุกต์ใช้ชีวิตตาม หลักเศรษฐกิจพอเพียงมากขึ้น แต่ยังไม่ถึงจุดสูงสุดของการใช้ชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงอย่างแท้จริงเพราะ ผลวิจัยครั้งนี้กลับพบว่ายังคงมีทัศนคติต่อ การทุจริตคอรัปชั่นที่รุนแรงมากขึ้นในกลุ่มพนักงานบริษัทเอกชน กลุ่มพ่อค้าผู้ประกอบการธุรกิจ และกลุ่มข้าราชการ หากรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ที่มีนาย อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะเป็นนายกรัฐมนตรีและมีภาพลักษณ์ด้านความซื่อสัตย์สุจริต ถูกทำลายความน่าเชื่อถือในจุดแข็งหลักสำคัญด้านนี้ไป ก็นับเป็นสัญญาณ อันตรายที่จะเริ่มนับถอยหลังของการบริหารราชการแผ่นดิน ทางออกคือ รัฐบาลต้องแสดงผลงานและสนับสนุนอย่างเป็นรูปธรรมให้หน่วยงานต่างๆ ที่เป็น กลไกของรัฐและทุกภาคส่วนของสังคมไทยออกมาต่อต้านต้นตอของปัญหาทุจริตคอรัปชั่นที่อาจถูกรัฐบาลและสังคมมองข้ามไป โดยต้องไม่ลืมว่าปัญหาทุจริต คอรัปชั่นมักเป็นปัจจัยสำคัญของการอ้างความชอบธรรมในการทำลายเสถียรภาพของรัฐบาลทุกยุคทุกสมัย
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 52.6 เป็นหญิง
ร้อยละ 47.4 เป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 4.9อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 19.0 อายุระหว่าง 20 — 29 ปี
ร้อยละ 22.7 อายุระหว่าง 30 — 39 ปี
ร้อยละ 25.1 อายุระหว่าง 40 — 49 ปี
และร้อยละ 28.3 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 76.5 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี
รองลงมาคือร้อยละ 21.4 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 2.1 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 30.4 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 26.2 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 17.2 ระบุอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน
ร้อยละ 10.6 ระบุข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 7.4 เป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ
ร้อยละ 5.6 เป็นนักเรียน/นักศึกษา
ในขณะที่ร้อยละ 2.6 ระบุว่างงาน/ไม่ประกอบอาชีพ
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ลำดับที่ ปัจจัยที่ผลต่อการเลือกซื้อสินค้า/บริการในปัจจุบัน ค่าร้อยละ 1 คุณภาพของสินค้า 89.0 2 ราคา 82.4 3 ความสะดวกในการซื้อ/ใช้บริการ 64.8 4 มนุษยสัมพันธ์ของพนักงานขาย 64.1 5 การบริการหลังการขาย 55.9 6 โปรโมชั่น อาทิ ส่วนลด ของแถม 53.8 7 ความน่าเชื่อถือของยี่ห้อสินค้า (แบรนด์) 53.8 8 ภาพลักษณ์ใส่ใจลูกค้าของบริษัท 48.7 9 ภาพลักษณ์ใส่ใจสิ่งแวดล้อมของบริษัท 43.6 10 ความมีชื่อเสียงของยี่ห้อสินค้า (แบรนด์) 40.6 ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความเป็นจริงของชีวิตในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) ลำดับที่ ความเป็นจริงของชีวิตในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา ค่าร้อยละ 1 รักษาข้าวของเครื่องใช้ให้คงสภาพใช้งานได้ยาวนาน 82.8 2 มุ่งทำงานเพื่อให้พออยู่พอกิน และมีเงินเก็บไว้ใช้ในยามจำเป็น 76.1 3 วางแผนดำเนินการใช้จ่ายและหารายได้อย่างเป็นขั้นตอนและรัดกุม 70.9 4 ทำงานหารายได้พิเศษเพิ่ม 66.3 ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการซื้อหวยรัฐบาลหรือหวยใต้ดินเปรียบเทียบการสำรวจในช่วงเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ลำดับที่ การซื้อหวยรัฐบาล/หวยใต้ดิน มีนาคมค่าร้อยละ พฤษภาคมค่าร้อยละ 1 ซื้อ 54.5 43.5 2 ไม่ซื้อ 45.5 56.5 รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความเคร่งครัดในการใช้ชีวิตแบบพอเพียงเปรียบเทียบการสำรวจในช่วงเดือนมีนาคม ลำดับที่ ระดับความเคร่งครัดในการใช้ชีวิตแบบพอเพียง มีนาคมค่าร้อยละ พฤษภาคมค่าร้อยละ 1 ไม่ค่อยเคร่งครัด-ไม่เคร่งครัดเลย 53.5 32.4 2 ค่อนข้างเคร่งครัด-เคร่งครัดอย่างแท้จริง 46.5 67.6 รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุคิดเห็นกรณีการทุจริตคอรัปชั่นเป็นเรื่องธรรมดาในการทำธุรกิจเปรียบเทียบกับการ
สำรวจในช่วงเดือนเมษายน 2551 ที่ผ่านมา
ลำดับที่ ความคิดเห็นกรณีการทุจริตคอรัปชั่นเป็นเรื่องปกติธรรมดาในการทำธุรกิจ เมษายน 2551 พฤษภาคม 2552
ค่าร้อยละ ค่าร้อยละ
1 ไม่ค่อยเห็นด้วย - ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง 32.6 25.3 2 ค่อนข้างเห็นด้วย — เห็นด้วยอย่างยิ่ง 67.4 74.7 รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นกรณีการทุจริตคอรัปชั่นเป็นเรื่องปกติธรรมดาในการทำธุรกิจจำแนกตามอาชีพ ลำดับที่ ความคิดเห็นกรณีการทุจริตคอรัปชั่น ข้าราชการ/ พนักงาน ธุรกิจส่วนตัว/ นักเรียน/ เกษตรกร/ แม่บ้าน/ เป็นเรื่องปกติธรรมดาในการทำธุรกิจ รัฐวิสาหกิจ เอกชน ค้าขาย นักศึกษา รับจ้างทั่วไป เกษียณอายุ 1 ไม่ค่อยเห็นด้วย - ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง 22.9 22.8 24.3 33.3 25.3 24.7 2 ค่อนข้างเห็นด้วย — เห็นด้วยอย่างยิ่ง 77.1 77.2 75.7 66.7 74.7 75.3 รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 --เอแบคโพลล์-- -พห-