ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเอแบคนวัตกรรมทางสังคม การจัดการและธุรกิจ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผล สำรวจ “เอแบคเรียลไทม์โพลล์ (ABAC Real-Time Survey)” ที่เป็นการสำรวจจากครัวเรือนที่สุ่มตัวอย่างได้ทั่วประเทศตามหลักสถิติก่อน จากนั้น ได้ติดตั้งโทรศัพท์ให้กับครัวเรือนที่เป็นตัวอย่างเพื่อทำการสัมภาษณ์ได้อย่างรวดเร็วฉับไวภายในระยะเวลาประมาณ 24 ชั่วโมง จากนั้นประมวลผลด้วย ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบเรียลไทม์ โดยครั้งนี้ได้ทำการสำรวจเรื่อง การรับรู้และความคิดเห็นของสาธารณชนคนไทยต่อการประชุมสุดยอดผู้ นำอาเซียนที่ภูเก็ต กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนใน 17 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร เชียงใหม่ อุตรดิตถ์ สุโขทัย เพชรบูรณ์ ปทุมธานี ชลบุรี ฉะเชิงเทรา กาญจนบุรี เพชรบุรี หนองบัวลำภู สกลนคร ศรีสะเกษ ขอนแก่น พัทลุง ระนอง และสุราษฎร์ธานี จำนวนทั้งสิ้น 1,302ครัวเรือน ในวัน ที่ 8 พฤษภาคม 2552 พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 79.2 รับรู้ รับทราบข่าวการประชุมสุดยอดอาเซียนที่ภูเก็ต ในขณะที่ร้อยละ 20.8 ไม่ทราบ
เมื่อถามการรับรู้ชื่อเลขาธิการอาเซียน เปรียบเทียบกับการสำรวจช่วงเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา พบว่า คนไทยรับทราบเพิ่มขึ้นว่า ดร. สุรินทร์ พิศสุวรรณ เป็นเลขาธิการอาเซียน จากร้อยละ 16.5 มาอยู่ที่ร้อยละ 52.8 ในเดือนพฤษภาคม นอกจากนี้ เมื่อถามถึงความรู้สึกภูมิใจที่มีคน ไทยเป็นเลขาธิการอาเซียน พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 88.1 ภูมิใจที่ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ เป็นเลขาธิการอาเซียน ในขณะที่ร้อยละ 11.9 ไม่ได้ รู้สึกภูมิใจอะไร
เมื่อถามถึงปัญหาที่อยากให้มีการแก้ไขร่วมกันในกลุ่มประเทศอาเซียน พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 90.9 ระบุเรื่องความร่วมมือทางการค้า ระหว่างประเทศ รองลงมาคือ ร้อยละ 84.8 ระบุปัญหาโรคระบาดและระบบสาธารณสุข แต่ที่น่าพิจารณาคือ ร้อยละ 76.6 ระบุปัญหาการค้าอาวุธ สงคราม ร้อยละ 73.8 ระบุแนวทางแก้ปัญหายาเสพติด ร้อยละ 72.1 ระบุวัฒนธรรมและชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนในกลุ่มประเทศอาเซียน ร้อย ละ 67.7 ระบุปัญหาแรงงานต่างด้าวและการค้ามนุษย์ ร้อยละ 62.5 ระบุปัญหาผู้อพยพ หนีเข้าเมือง ร้อยละ 59.0 ระบุปัญหาพื้นที่ตามแนวชายแดน ร้อยละ 57.4 ระบุปัญหาสิทธิมนุษยชน ตามลำดับ
ที่น่าสนใจคือ เมื่อถามถึงความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของประชาชนในกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เปรียบเทียบกับผลสำรวจช่วง เดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา พบว่า มีสัดส่วนของคนที่คิดว่าประชาชนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันมากถึงมากที่สุดเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 44.0 มาอยู่ที่ร้อยละ 55.3 ในการสำรวจล่าสุด นอกจากนี้ เมื่อถามถึงประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการประชุมร่วมกันครั้งนี้ เปรียบเทียบกับการ สำรวจช่วงเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา พบว่า มีสัดส่วนของคนที่คิดว่าจะได้ประโยชน์เพิ่มขึ้น จากร้อยละ 46.8 มาอยู่ที่ร้อยละ 59.2 เช่นกัน
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า ที่น่าเป็นประโยชน์สำหรับประชาชนแต่ละจังหวัดร่วมพิจารณาคือ ผลสำรวจพบว่า ประชาชนคิดว่าจังหวัดที่มีความ สงบ ปลอดภัยสำหรับนักท่องเที่ยวต่างชาติมากที่สุด ได้แก่ อันดับแรก หรือร้อยละ 23.7 ระบุ หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ รองลงมาอันดับสอง หรือร้อย ละ 20.2 ระบุ ชะอำ จ.เพชรบุรี อันดับที่สามหรือร้อยละ 15.8 ระบุ ภูเก็ต อันดับที่สี่ หรือร้อยละ 9.5 ระบุ จ.เชียงใหม่ และรองๆ ลงไปคือ ระยอง พังงา กระบี่ แม่ฮ่องสอน ที่น่าพิจารณาคือ พัทยา ชลบุรี เชียงราย และกรุงเทพมหานคร กลับอยู่ในอันดับท้ายๆ ของการสำรวจครั้งนี้
ผอ.ศูนย์วิจัยเอแบคฯ กล่าวว่า ผลสำรวจครั้งนี้ พบว่าส่วนที่ดีคือ คนไทยรับรู้มากขึ้นมากว่า ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ เป็นเลขาธิการอา เซียน และส่วนใหญ่ภูมิใจที่มีคนไทยเป็นเลขาธิการอาเซียน และพบว่า คนไทยต้องการให้มีการเร่งหยิบยกความร่วมมือทางการค้าในกลุ่มประเทศอา เซียนขึ้นหารือแก้ปัญหาเศรษฐกิจเป็นอันดับแรก ตามด้วยปัญหาการแพร่ระบาดของโรคและระบบสาธารณสุข แต่ที่น่าพิจารณาคือ ปัญหาการค้าอาวุธ สงคราม กลับกลายเป็นปัญหาในอันดับต้นๆ ที่คนไทยอยากให้บรรดากลุ่มประเทศในอาเซียนหยิบยกขึ้นมาแก้ปัญหาร่วมกัน พอๆ กับปัญหายาเสพติดในการ สำรวจครั้งนี้ และคนไทยเห็นถึงประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับเพิ่มขึ้น แต่ที่น่าพิจารณาในการสำรวจครั้งนี้คือ จังหวัดท่องเที่ยวที่ประชาชนและหน่วยงาน ต่างๆ ในพื้นที่ต้องช่วยกันปรับปรุงคือ จังหวัดที่เคยโดดเด่นด้านการท่องเที่ยวในอดีต เช่น เชียงใหม่ กรุงเทพมหานครและพัทยา กำลังถูกปัญหาความไม่ สงบในบ้านเมืองทำร้ายจนถูกจัดอันดับตกลงไปอยู่ในอันดับท้ายๆ ของการวิจัยครั้งนี้
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 53.7 เป็นหญิง
ร้อยละ 46.3 เป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 5.0 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ร้อยละ 21.0 อายุระหว่าง 20 — 29 ปี
ร้อยละ 22.1 อายุระหว่าง 30 — 39 ปี
ร้อยละ 25.6 อายุระหว่าง 40 — 49 ปี
และร้อยละ 26.3 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 75.4 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี
รองลงมาคือร้อยละ 20.6 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 4.0 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 31.6 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 24.2 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 19.4 ระบุอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน
ร้อยละ 11.1 ระบุข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 5.6 เป็นนักเรียน/นักศึกษา
ร้อยละ 5.2 เป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ
ในขณะที่ร้อยละ 2.9 ระบุว่างงาน/ไม่ประกอบอาชีพ
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ลำดับที่ การรับรู้ รับทราบข่าวการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน ที่ภูเก็ต ค่าร้อยละ 1 ทราบ 79.2 2 ไม่ทราบ 20.8 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ การรับรู้ชื่อเลขาธิการอาเซียน ลำดับที่ การรับรู้ รับทราบ กุมภาพันธ์ค่าร้อยละ พฤษภาคมค่าร้อยละ 1 ทราบว่าคือ ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ 16.5 52.8 2 ไม่ทราบ 83.5 47.2 รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความภูมิใจที่มีคนไทยเป็นเลขาธิการอาเซียน (ค่าร้อยละของกลุ่มคนที่ทราบ) ลำดับที่ ความภูมิใจของคนไทย ค่าร้อยละ 1 ภูมิใจ 88.1 2 ไม่ภูมิใจอะไร 11.9 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุปัญหาที่ควรถูกหยิบยกขึ้นมาแก้ปัญหาร่วมกันในกลุ่มประเทศอาเซียน (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) ลำดับที่ ปัญหาที่อยากให้มีการแก้ไขร่วมกันในกลุ่มประเทศอาเซียน ค่าร้อยละ 1 ความร่วมมือทางการค้าระหว่างกลุ่มประเทศ 90.9 2 ปัญหาโรคระบาด และระบบสาธารณสุข 84.8 3 การแก้ปัญหาการค้าอาวุธสงคราม 76.6 4 แนวทางการแก้ปัญหายาเสพติด 73.8 5 วัฒนธรรมและชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนในกลุ่มประเทศอาเซียน 72.1 6 การแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าวและการค้ามนุษย์ 67.7 7 การแก้ปัญหาด้านผู้อพยพ หนีเข้าเมือง 62.5 8 การแก้ปัญหาพื้นที่ตามแนวชายแดน 59.0 9 ปัญหาอาชญากรรมข้ามชาติ 59.6 10 การแก้ปัญหาด้านสิทธิมนุษยชน 57.4 ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของประชาชนในกลุ่มประเทศเอเซีย ตะวันออกเฉียงใต้ ลำดับที่ ความคิดเห็นต่อความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของประชาชน กุมภาพันธ์ค่าร้อยละ พฤษภาคมค่าร้อยละ 1 มาก ถึงมากที่สุด 44.0 55.3 2 น้อยถึง ไม่มีเลย 56.0 44.7 รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุได้รับประโยชน์จากการประชุมครั้งนี้มากน้อยเพียงใด ลำดับที่ ประโยชน์ที่จะได้รับจากการประชุม กุมภาพันธ์ค่าร้อยละ พฤษภาคมค่าร้อยละ 1 มาก ถึงมากที่สุด 46.8 59.2 2 น้อยถึงไม่มีประโยชน์เลย 53.2 40.8 รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ จังหวัดที่คิดว่ามีความ สงบ ปลอดภัย ที่อยากบอกกับนักท่องเที่ยวต่างชาติมากที่สุด ลำดับที่ จังหวัดที่คิดว่ามีความสงบ ปลอดภัย สำหรับนักท่องเที่ยวต่างชาติมากที่สุด ค่าร้อยละ 1 หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ 23.7 2 ชะอำ จ.เพชรบุรี 20.2 3 ภูเก็ต 15.8 4 เชียงใหม่ 9.5 5 ระยอง 6.4 6 พังงา 4.8 7 กระบี่ 3.2 8 แม่ฮ่องสอน 2.7 9 อื่นๆ เช่น พัทยา ชลบุรี เชียงราย อุบลราชธานี นครราชสีมา และกรุงเทพมหานคร เป็นต้น 13.7 รวมทั้งสิ้น 100.0 --เอแบคโพลล์-- -พห-