เอแบคโพลล์: ถามใจประชาชน อยากแก้รัฐธรรมนูญจริงหรือ

ข่าวผลสำรวจ Monday May 11, 2009 07:33 —เอแบคโพลล์

ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลสำรวจ “เอแบคเรียลไทม์โพลล์ (ABAC Real-Time Survey)” ที่เป็นการสำรวจจากครัวเรือนที่สุ่มตัวอย่างได้ทั่วประเทศตามหลักสถิติแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น (Stratified Multi-Stage Sampling) จากนั้นได้ติดตั้งโทรศัพท์ให้กับครัวเรือนที่เป็นตัวอย่างเพื่อทำการสัมภาษณ์ได้อย่างรวดเร็วฉับไวภายในระยะเวลา ประมาณ 8 ชั่วโมง จากนั้นประมวลผลด้วยระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบเรียลไทม์ โดยครั้งนี้ได้ทำการสำรวจเรื่อง ถามใจประชาชน อยากแก้รัฐ ธรรมนูญจริงหรือ กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนใน 17 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร เชียงใหม่ อุตรดิตถ์ สุโขทัย เพชรบูรณ์ ปทุมธานี ชลบุรี ฉะเชิงเทรา กาญจนบุรี เพชรบุรี หนองบัวลำภู สกลนคร ศรีสะเกษ ขอนแก่น พัทลุง ระนอง และสุราษฎร์ธานี จำนวนทั้งสิ้น 1,348 ครัวเรือน ใน วันที่ 9 พฤษภาคม 2552 พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 81.9 ทราบข่าวการจะแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน

แต่ที่น่าเป็นห่วงคือ ประชาชนครึ่งหนึ่งหรือร้อยละ 50.1 ไม่เคยอ่านรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันเลย ในขณะที่ร้อยละ 45.6 เคยอ่านบ้าง และ เพียงร้อยละ 4.3 เท่านั้นที่เคยอ่านอย่างละเอียดทั้งฉบับ

นอกจากนี้ ผลสำรวจยังพบด้วยว่า ประชาชนจำนวนมาก หรือร้อยละ 42.2 ไม่ทราบว่าตนเองเคยได้รับประโยชน์อะไรจากรัฐธรรมนูญ ในขณะที่ร้อยละ 57.8 ทราบว่าเคยได้รับประโยชน์ เช่น สิทธิต่างๆ ที่รัฐธรรมนูญกำหนด เสรีภาพ ความเป็นธรรม และการเลือกตั้ง เป็นต้น

ที่น่าพิจารณาคือ ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 73.3 เห็นว่า กลุ่มนักการเมือง กลุ่มที่เสียอำนาจ เป็นกลุ่มคนที่จะได้รับประโยชน์จากการ แก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน ในขณะที่รองลงมาคือ ร้อยละ 67.1 ระบุเป็นรัฐบาลได้ประโยชน์ ร้อยละ 42.9 ระบุเป็นกลุ่มนายทุนได้ประโยชน์ ร้อย ละ 26.4 ระบุเป็นกลุ่มข้าราชการ มีเพียงร้อยละ 24.2 เท่านั้นที่เห็นว่า ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศจะได้รับประโยชน์ ยิ่งไปกว่านั้น ร้อยละ 11.7 และร้อยละ 11.2 เท่านั้นที่เห็นว่า เด็กเยาวชน กลุ่มคนพิการ และผู้สูงอายุ จะได้รับประโยชน์จากการแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน

ดร.นพดล กล่าวว่า มีประเด็นที่น่าเป็นห่วงคือ ประชาชนที่เคยอ่านรัฐธรรมนูญเกินครึ่งหรือร้อยละ 54.6 เห็นว่ารัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันดี กว่า รัฐธรรมนูญฉบับก่อนหน้านี้ (ฉบับปี 40) ในขณะที่ร้อยละ 45.4 ของคนเคยอ่านเห็นว่า รัฐธรรมนูญฉบับก่อนหน้านี้ดีกว่ารัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน ดัง นั้น การแก้ไขรัฐธรรมนูญอาจนำไปสู่ความขัดแย้งครั้งใหญ่ได้

เมื่อถามถึงความกังวลใจต่อผลที่จะตามมาจากการแก้ไขรัฐธรรมนูญ พบว่า ร้อยละ 57.7 กังวล สิ่งที่กังวลคือ การแก้ไขเพื่อเอื้อ ประโยชน์กลุ่มคนบางกลุ่ม บ้านเมืองจะวุ่นวายอีก มีการใช้ความรุนแรง ปะทะกัน เศรษฐกิจจะแย่วิกฤตลงไปอีก และกลัวการปฏิวัติยึดอำนาจ เป็นต้น ในขณะที่ร้อยละ 42.3 ไม่รู้สึกกังวลอะไร

ที่น่าพิจารณาคือ เมื่อถามถึงความจริงใจของคนตอบแบบสอบถามว่า ถ้าคุณเป็นคนหนึ่งที่มีอำนาจจะแก้ไขรัฐธรรมนูญได้ คุณจะแก้หรือไม่ ผล สำรวจพบว่า ร้อยละ 19.3 ตอบว่าจะแก้ไขทันที ร้อยละ 44.4 ตอบว่าจะแก้ไข แต่ไม่ใช่เวลานี้ และมีร้อยละ 36.3 จะไม่แก้ไขอะไรเลย

ผอ.เอแบคโพลล์ กล่าวว่า ผลสำรวจครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า ประชาชนส่วนใหญ่ยังไม่เคยอ่านรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันเลย และคนจำนวนมากยัง ไม่ทราบว่าตนเองได้รับประโยชน์อะไรจากรัฐธรรมนูญบ้าง และมองว่าการที่จะแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันนั้น เป็นการแก้ไขเพื่อประโยชน์ของนักการ เมืองมากกว่าประโยชน์ของประชาชนโดยส่วนรวม และกังวลถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นตามมาจากการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ดังนั้นข้อเสนอคือ ให้สถาบันสื่อ มวลชนนำเสนอข้อมูลเกร็ดความรู้เกี่ยวกับรัฐธรรมนูญที่เข้าใจง่ายต่อสาธารณชนที่ติดตามข่าวสารเป็นประจำอย่างน้อย สักสองหรือสามประโยค ที่ชี้ให้ ประชาชนเห็นถึงประโยชน์ที่ได้รับจากรัฐธรรมนูญในชีวิตประจำวันและเป็นเรื่องใกล้ตัวของประชาชนที่จับต้องได้ เพื่อสื่อให้ประชาชนเห็นว่า “รัฐ ธรรมนูญไม่ใช่เรื่องของนักการเมือง” เพียงกลุ่มเดียว แต่เป็นเรื่องราวชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนทุกคน และถ้าหากฝ่ายการเมืองยังต้องการแก้ไข รัฐธรรมนูญจริงๆ ก็ควรรณรงค์ทำความเข้าใจกับสาธารณชนอย่างเข้มข้น ควบคู่กันไปอย่างต่อเนื่อง เพื่อลดแรงเสียดทานที่อาจเกิดขึ้นได้

ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง

จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า

ตัวอย่าง ร้อยละ 53.1 เป็นหญิง

ร้อยละ 46.9 เป็นชาย

ตัวอย่าง ร้อยละ 6.6อายุต่ำกว่า 20 ปี

ร้อยละ 21.9 อายุระหว่าง 20 — 29 ปี

ร้อยละ 24.5 อายุระหว่าง 30 — 39 ปี

ร้อยละ 23.6 อายุระหว่าง 40 — 49 ปี

และร้อยละ 23.4 อายุ 50 ปีขึ้นไป

ตัวอย่าง ร้อยละ 76.7 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี

รองลงมาคือร้อยละ 20.3 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี

และร้อยละ 3.0 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี

ตัวอย่าง ร้อยละ 30.4 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป

ร้อยละ 24.6 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว

ร้อยละ 16.3 ระบุอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน

ร้อยละ 10.9 ระบุข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ

ร้อยละ 7.7 เป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ

ร้อยละ 6.0 เป็นนักเรียน/นักศึกษา

ในขณะที่ร้อยละ 4.1 ระบุว่างงาน/ไม่ประกอบอาชีพ

โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้

ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ การรับทราบข่าวการแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน
ลำดับที่          การรับทราบข่าว                                ร้อยละ
1          ทราบข่าว                                         81.9
2          ไม่ทราบข่าว                                       18.1
          รวมทั้งสิ้น                                         100.0

ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ การอ่านรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน
ลำดับที่          การอ่านรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน                      ร้อยละ
1          อ่านอย่างละเอียดทั้งฉบับ                              4.3
2          อ่านบ้าง                                         45.6
3          ไม่เคยอ่านเลย                                    50.1
          รวมทั้งสิ้น                                        100.0

ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ การรับทราบประโยชน์ที่เคยได้รับจากรัฐธรรมนูญ
ลำดับที่          การรับทราบประโยชน์ที่เคยได้รับจากรัฐธรรมนูญ        ร้อยละ
1          รับทราบ....ว่าเคยได้รับประโยชน์ เช่น สิทธิต่างๆ ที่รัฐธรรมนูญกำหนด / เสรีภาพ /
                ความเป็นธรรม / การเลือกตั้ง เป็นต้น             57.8
2          ไม่ทราบว่าเคยได้รับประโยชน์จากรัฐธรรมนูญ              42.2
          รวมทั้งสิ้น                                        100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความเห็นต่อกลุ่มคนที่คาดจะได้รับประโยชน์จากการแก้ไขรัฐธรรมนูญ

(ตอบได้มากกว่า 1ข้อ)

ลำดับที่          กลุ่มคนที่คาดว่าจะได้ประโยชน์จากการแก้ไขรัฐธรรมนูญ   ร้อยละ
1          นักการเมือง กลุ่มที่เสียอำนาจ                         73.3
2          รัฐบาล                                          67.1
3          กลุ่มนายทุน                                       42.9
4          กลุ่มข้าราชการ                                    26.4
5          ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ                         24.2
6          เด็กและเยาวชน                                   11.7
7          กลุ่มคนพิการ และผู้สูงอายุ                            11.2

ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความเห็นเปรียบเทียบรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน กับ รัฐธรรมนูญฉบับก่อนหน้านี้
(ค่าร้อยละเฉพาะผู้เคยอ่านรัฐธรรมนูญ)
ลำดับที่          ความเห็นเปรียบเทียบรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน กับฉบับก่อนหน้านี้   ร้อยละ
1          รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันดีกว่า                                 54.6
2          รัฐธรรมนูญฉบับก่อนหน้านี้ (ปี 2540) ดีกว่า                     45.4
          รวมทั้งสิ้น                                              100.0

ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความกังวลต่อผลที่จะตามมาจากการแก้ไขรัฐธรรมนูญ
ลำดับที่          ความกังวลต่อผลที่จะตามมาจากการแก้ไขรัฐธรรมนูญ                                       ร้อยละ
1          กังวล .....สิ่งที่กังวลคือ การแก้ไขเพื่อเอื้อประโยชน์กลุ่มคนบางกลุ่ม บ้านเมืองวุ่นวาย

มีการใช้ความรุนแรง ปะทะกัน เศรษฐกิจแย่วิกฤตลงไปอีก และกลัวการปฏิวัติยึดอำนาจ เป็นต้น 57.7

2          ไม่กังวล                                                                            42.3
          รวมทั้งสิ้น                                                                           100.0

ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ คำตอบต่อคำถามที่ว่า ถามความจริงใจว่า ถ้าคุณเป็นคนหนึ่งที่มีอำนาจจะแก้ไข
รัฐธรรมนูญได้ คุณจะแก้ไขหรือไม่
ลำดับที่          ความคิดเห็น                                      ร้อยละ
1          จะแก้ไขทันที                                          19.3
2          จะแก้ไข แต่ไม่ใช้เวลานี้                                 44.4
3          จะไม่แก้ไขอะไรเลย                                    36.3
          รวมทั้งสิ้น                                            100.0

--เอแบคโพลล์--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ